Tuesday, 30 April 2024
ประเทศไทย

คุ้มครองผู้ใฝ่ดี ‘พระสยามเทวาธิราช’ บุคลาธิษฐาน เทพยดาผู้คุ้มครองสยามประเทศ

ประเทศไทยนั้นมีความหมิ่นเหม่ในการเสียบ้าน เสียเมืองตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ อาจจะเบาบางการรุกรานจากด้านพม่าแต่กับประเทศมหาอำนาจทางตะวันตกที่ใช้การค้าขายมาเป็นปัจจัย บ้านเมืองใดไม่รู้ทันเหตุการณ์ภายนอกประเทศว่าทางตะวันตกมีอำนาจจากเรือปืน ใครไม่รู้จักโอนอ่อนผ่อนปรนก็ล้วนแล้วแต่ตกเป็นเมืองขึ้น ทั้งฝั่งซ้ายและขวาของเมืองสยามล้วนไม่มีรอดพ้น (อันนี้ไม่ขอพาดพิงเรื่องของผู้รู้ที่ออกมาแสดงทัศนคติเรื่องเราไม่เก่งภาษาอังกฤษเพราะเราไม่ได้เป็นเมืองขึ้น น่าตีปากจริงๆ) 

เรามีดีอันใด?  มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์สิ่งไหน? หรือเราจะมีเทพยดาคุ้มครองประเทศให้ปลอดภัย 

วันนี้ขอเล่าเรื่องเทวดาผู้คุ้มครองประเทศไทยบ้างนะ…

ใช่ครับ!! ผมกำลังจะเล่าถึง ‘พระสยามเทวาธิราช’ แต่เรื่องนี้แล้วแต่วิจารณญาณของแต่ละบุคคลนะครับ ผมไม่ก้าวล่วง 

โดยในช่วงสิงหาคมของปีก่อนมี ‘เพจราษฎรสเปช’ (หรือ ‘เปรต’ ดี) เล่าประวัติศาสตร์ได้ น่าปวดหัวมาก โยง ‘พระสยามเทวธิราช’ เป็น ‘ผี’ เพียงเพราะไปเห็นภาพ พระสยามเทวาธิราช ที่มีรูปร่างคล้ายรัชกาลที่ 4 (อันนั้นเขาเรียกพระป้าย) เลยทึกทักไปเองว่า ‘เป็นลัทธินับถือผีสาง’ โดยส่วนตัว (ซึ่งแล้วแต่วิจารณญาณนะครับ) มันก็ถูกเรื่อง ‘ผี’ แต่มัน ‘ไม่ใช่ลัทธิ’ หากแต่มันคือ ‘ความเชื่อ’ ที่แตกต่างไปจากศาสนาหลัก มันเป็นเฉพาะของภูมิภาค (ที่ไอ้บางพวกยังทะลึ่งไปกราบฝาส้วม กินขี้ เชื่อแต่เรื่องไม่จริงได้เลย แอบแรงเล็กน้อย) ซึ่งนับเป็นเรื่องตลกของคนที่ไม่ได้เรียนประวัติศาสตร์ อะไรเลย 

เรื่องนี้เอง ผมเคยนำมาเล่ามาแล้วครั้งหนึ่งใน Meet THE STATES TIMES โดยไปโยงกับความเรื่องการไหว้ผีบ้าน นับถือผีเมือง (ผีเสื้อเมือง ทรงเมือง หลักเมือง ก็ล้วนแล้วอยู่ในหลักนี้) แต่กระนั้นการไหว้ดังนี้มันก็ไม่ใช่จะเพิ่งเกิดมา แต่มันเป็นความเชื่อที่มีอยู่อย่างยาวนานคู่ดินแดนอุษาคเนย์ ซึ่งคติความเชื่อเรื่องเทวดาผู้คุ้มครองบ้านเมืองนั้นเป็นความเชื่อที่สืบต่อกันมาอย่างยาวนาน และสร้างความร่มเย็นให้เกิดแก่บ้านเมืองนั้นๆ มานับร้อย นับพันปี 

อย่างภาคอีสานนั้นจะมีความเชื่อเรื่อง ‘มเหสักข์’ ซึ่งถือว่าเป็น ‘ผีผู้ทรงศักดิ์’ หรือ ‘เทวดาผู้คุ้มครองบ้านเมือง’ ให้อยู่อย่างร่มเย็น เป็นสุข โดยจังหวัดอย่าง ขอนแก่น, มหาสารคาม, ร้อยเอ็ด ฯลฯ ก็มีศาลมเหสักข์ ภาคเหนือเขาก็มี ‘ผีเสื้อเมือง’ ในหลายพื้นที่ ในกรุงเทพฯ ก็มี ‘พระเสื้อเมือง’ ในศาลหลักเมืองกรุงเทพ ฯ  โดย ‘มเหสักข์’ ก็คือเทพยดาผู้ให้ความร่มเย็นแก่จังหวัดนั้นๆ ส่วน ‘พระสยามเทวาธิราช’ นั้นก็มีคติที่เหมือนกัน เพียงแต่ท่านเป็นเทวดาที่ยกชั้นสูงขึ้นมาจากเทวดาผู้คุ้มครองเมือง เป็นเทวดาที่รวมเมืองต่างๆ ไว้ด้วยกัน ปกครองเมืองต่างๆ ไว้ด้วยบารมี โดยอาจจะเรียกได้ว่า เป็น ‘มเหสักข์หรือบุคลาธิษฐานแห่งสยามประเทศ’ เป็น ‘เทวดาผู้คุ้มครองประเทศ’ 

‘พระสยามเทวาธิราช’ เป็นเทวรูป หล่อด้วยทองคำสูง 8 นิ้ว กว้าง 2 นิ้ว ประทับยืนทรงเครื่องกษัตริยาธิราช ทรงฉลองพระองค์อย่างเครื่องของเทพารักษ์ มีมงกุฎเป็นเครื่องศิราภรณ์ พระหัตถ์ขวาทรงพระแสงขรรค์ พระหัตถ์ ซ้ายยกขึ้นจีบดรรชนีเสมอพระอุระ

หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล ทรงเล่าว่า “พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดการศึกษาประวัติศาสตร์ มีพระราชดำริว่า ประเทศไทยมีเหตุการณ์ที่เกือบจะต้องเสียอิสรภาพมาหลายครั้ง แต่เผอิญให้มีเหตุรอดพ้นภยันตรายมาได้เสมอ คงจะมีเทพยดาที่ศักดิ์สิทธิ์คอยอภิบาลรักษาอยู่ สมควรที่จะทำรูปเทพยดาองค์นั้นขึ้นสักการบูชา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ ปั้นหล่อเทวรูปขึ้น ถวายพระนามว่า ‘พระสยามเทวาธิราช”ประดิษฐาน ณ พระที่นั่งทรงธรรมในหมู่พระที่นั่งพุทธมณเฑียร ในพระอภิเนาว์นิเวศน์’ 

ต่อมาในสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงโปรดเกล้าฯ ให้รื้อหมู่พระที่นั่งพุทธมหามณเฑียรรวมทั้งพระที่นั่งทรงธรรม โปรดให้อัญเชิญ องค์พระสยามเทวาธิราชไปประดิษฐานอยู่ในเรือนแก้วทำด้วยไม้จันทน์ ลักษณะแบบวิมานเก๋งจีน มีคำจารึกเป็นภาษาจีนที่ผนังเบื้องหลัง แปลว่า ‘ที่สถิตแห่งพระสยามเทวาธิราช’ (暹國顯靈神位敬奉) อยู่ในมุขกลางของพระวิมานไม้แกะสลักปิดทอง ตั้งอยู่เหนือลับแลบังพระทวารเทวราชมเหศวร์ ตอนกลางพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระบรมมหาราชวัง จวบจนทุกวันนี้

มีความเชื่อกันว่า ‘พระสยามเทวาธิราช’ ทรงเป็นประมุขของเทพารักษ์ที่ปกปักษ์รักษาบ้านเมือง มีเทพบริวารสำคัญ ได้แก่ พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง และพระหลักเมือง เป็นต้น ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระจอมกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงเคารพบูชาพระสยามเทวาธิราชเป็นอย่างสูง ทรงถวายเครื่องสักการะเป็นประจำทุกวัน และทรงถวายเครื่องสังเวยทุกวันอังคารและวันเสาร์ก่อนเวลาเพล กับโปรดเกล้าฯ ให้จัดพิธีสังเวยเทวดาในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 อันตรงกับวันขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติแบบโบราณด้วย ทั้งเป็นที่ร่ำลือกันว่าพระสยามเทวาธิราชนั้นศักดิ์สิทธิ์เป็นอย่างมาก

พระราชพิธีบวงสรวงใหญ่ ‘พระสยามเทวาธิราช’ ตามประเพณีกำหนดไว้ในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ของทุกปี อันเป็นวันขึ้นปีใหม่ตามจันทรคติแบบโบราณ ส่วนเครื่องสังเวยที่ใช้บูชาพระสยามเทวาธิราชตามประเพณีโบราณที่ปฏิบัติสืบต่อกันมานั้นประกอบด้วย หัวหมู เป็ด ไก่ เมี่ยงส้ม ทองหยิบ ฝอยทอง ส้มเขียวหวาน องุ่น มะตูมเชื่อม มะพร้าวอ่อน กล้วย หอมจันทร์ ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว ผลทับทิม และเทียนเงิน เทียนทอง ความสอดคล้องทางความเชื่อและพิธีกรรมของการบูชาพระสยามเทวาธิราช กับการ ‘ไหว้-พลี’ ให้กับ ‘พระขพุงผี’ ทำให้ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อธิบายว่า การบูชา ‘พระสยามเทวาธิราช’ เข้าลักษณะเป็น ‘พิธีผี’ ประการหนึ่ง…

“...การเซ่นสังเวยพระสยามเทวาธิราช การสังเวยเทพารักษ์ต่างๆ พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง พระหลักเมือง เหล่านี้จะเรียกว่าเกี่ยวกับศาสนาใดก็ไม่ได้ เพราะเทวดาเหล่านี้ก็ไม่มีในศาสนาพราหมณ์ ในศาสนาพุทธก็ไม่มี เห็นจะเป็นความเชื่อของคนไทยโดยเฉพาะที่นับถือผีมาตั้งแต่โบราณ...”

ความเชื่อเรื่องผีบ้านผีเมืองเมืองนี้ นับเป็นสิ่งที่แพร่หลายไปทั่วในกลุ่มวัฒนธรรมไทยและใกล้เคียง ซึ่งเป็นการบูชาผีบรรพบุรุษ แต่มิใช่บรรพบุรุษของชาวบ้านทั่วไป หากเป็นผีเจ้าเมืองที่เป็นผู้สร้างเมืองและเคยปกครองเมืองมาก่อน และเจ้าเมืองรุ่นหลังก็อัญเชิญให้ผีเจ้าเมืองผู้ผูกพันกับชุมชนให้ช่วยปกปักคุ้มครองรักษาบ้านเมือง ฉะนั้นเรื่องนี้จบไป แต่มันก็มีเรื่องอื่นที่วุ่นวายกับ พระสยามฯ ท่านไปอีก 

การไปวุ่นวายกับ ‘พระสยามเทวาธิราช’ ท่านนั้นก็มีในช่วงหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 มีการเปลี่ยนชื่อประเทศสยามเป็นประเทศไทย (จอมพล ป. ผู้พิบูลสงคราม นั่นเอง)  และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (ก็ ‘ปรีดี พนมยงค์’ นั่นแหละ) ได้หารือกับทางสำนักพระราชวังเรื่องการเปลี่ยนนาม ‘พระสยามเทวาธิราช’ เป็น ‘พระไทยเทวาธิราช’ ในครั้งนั้น โดยไปขอความเห็นจากทางกรมศิลปากร ซึ่งกรมศิลปากรมีความเห็นว่า…

“ให้คงชื่อเดิมไว้ แต่ยกเลิกการสังเวยประจำปีหรืองานพิธีอื่นๆ เกี่ยวกับพระสยามเทวาธิราช แต่ถ้าไม่สามารถยกเลิกพิธีการที่เกี่ยวข้อง กรมศิลปากรก็มีข้อเสนอให้ 2 แนวทางคือ ให้เปลี่ยนชื่อเป็น ‘พระไทยเทวาธิราช’ หรือสร้าง พระไทยเทวาธิราชขึ้นมาอีกองค์ ในที่สุดคณะรัฐมนตรีลงความเห็นว่า ให้คงไว้ตามเดิมเพราะ ‘พระสยามเทวาธิราช’ ก็ไม่ได้มีการทำพิธีเป็นทางการแต่อย่างใด” (ผมขอกราบกรมศิลปากรและคณะรัฐมนตรี  1 คำรบ !!!) 

แต่กระนั้นพิธีการบวงสรวง ‘พระสยามเทวาธิราช’ ก็ไม่ได้มีอย่างสม่ำเสมอดังเช่น ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง นี่กระมังทำให้ประเทศชาติเต็มไปด้วยความวุ่นวาย คณะราษฎรแก่งแย่งอำนาจกัน มีการใช้ประเทศเป็นเครื่องงัดข้อกันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และเหตุการณ์ใหญ่อีกหลายต่อหลายครั้งกระทบไปถึงความมั่นคงของชาติและราชบัลลังก์ 

ปรินเซสรอยัล พระเจ้าลูกเธอในล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 ผู้ทรงสิริโฉมงดงามราวกับเทวดา

‘ปรินเซสรอยัล’ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร 
พระเจ้าลูกเธอในรัชกาลที่ 5 ผู้ทรงสิริโฉมงดงามราวกับเทวดา ผู้เป็นดัง ‘ศรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์’

หลังจากเล่าเรื่องหนักๆ มาหลายตอนแล้ว ในตอนนี้ผมจะขอย้ายฝั่งมาเล่าเรื่องของพระเจ้าลูกเธอในล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระราชธิดาพระองค์นี้ของพระองค์ได้รับการยกย่องเรื่องของความงาม พระกริยาอันเรียบร้อย ทรงเป็นราชเลขานุการิณีในพระองค์พระพุทธเจ้าหลวงและได้มีโอกาสตามเสด็จประพาสต้นหลายครั้ง ผมกำลังจะเล่าเรื่องของ ‘สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร’ นั่นเอง 

สมเด็จฯ เจ้าฟ้า กรมหลวงศรีรัตนโกสินทรเป็นพระราชธิดาพระองค์ที่ 19 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี เมื่อเวลา 09.21 น. ของวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2420 ถือเป็นทูลกระหม่อมหญิงพระองค์แรกในเศวตฉัตร (เมื่อทรงครองราชย์แล้ว) ชาววังจึงเรียกว่า ‘ทูลกระหม่อมหญิง’ โดยไม่ต้องเอ่ยพระนามเนื่องจากทรงอาวุโสสูงสุดพระองค์แรก

เล่ากันว่าก่อนที่พระองค์จะประสูตินั้น มีเจ้านายสตรีคือพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภาพรรณี พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ยังเป็นทาริกาอยู่ เล่าขานนิยมชมชื่นกันในหมู่ชาววังและเจ้านายว่ามีพระรูปโฉมสวยงามนัก ครั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชธิดาพระองค์นี้ ความที่ทูลกระหม่อมหญิงมีพระรูปโฉมงดงาม ถึงกับพระบิดารับสั่งกับพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ว่า “ฉันไม่แพ้เธอแล้ว กรมพิชิตฯ” หมายความว่าทรงมี ‘ลูกสาว’ สวยไม่แพ้พระธิดากรมหลวงพิชิตฯ แต่ที่สำคัญคือพระองค์มีพระพักตร์และพระรูปโฉมคล้ายคลึงกับสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี พระบรมราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (อันนี้ผมจะเล่ายืนยันตอนท้าย) 

แต่ความ ‘งามเหมือนเทวดา' ที่แม้จะยังความปีติโสมนัสให้สมเด็จพระบรมชนกนาถและพระชนนีเป็นอย่างยิ่งนั้น ในอีกด้านหนึ่ง ก็ทำให้ทรงวิตกกังวลอย่างยิ่งเช่นกัน เพราะความงามบริสุทธิ์ พระฉวีผุดผ่องไม่มีไฝฝ้าราคี ในสมัยโบราณมีความเชื่อกันว่า ผู้ที่เกิดมางดงามมากยากจะเลี้ยงให้รอดชีวิต จนเวลาผ่านมาจนพระชนมายุขวบเศษ ก็มีเหตุการณ์ที่ทำทั้ง 2 พระองค์คลายพระปริวิตก กล่าวคือ ในขณะที่สมเด็จพระบรมชนกนาถกำลังอุ้มส่งให้พระชนนีนั้น ได้ทรงดิ้นไปมาจนพระขนง (คิ้ว) ถูกชามแก้วบนโต๊ะเสวยถึงกับเป็นแผลพระโลหิตตก กันแสงลั่นพระตำหนัก พระบรมวงศ์ฝ่ายในจึงปลอบว่า “ความวิตกกังวลว่าจะมีพระชนมายุสั้นนั้น เป็นอันผ่านไปแล้วเพราะทรงมีบาดแผลแล้ว” (อันนี้เป็นความเชื่อโบราณนะครับ)  

เมื่อพระชนม์ได้ 11 พรรษา ได้รับพระราชพิธีโสกันต์เต็มยศ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท มีสวด 3 วัน สมโภช 3 คืน เสร็จพระราชพิธีแล้วตอนฟังสวดทรงเครื่องขาวพระเกี้ยวยอด สมเด็จพระบรมชนกนาถทรงรับและส่งพระกรทุกคราว ระหว่างสมโภชทรงแต่งพระองค์สีต่างกันทั้ง 3 วัน เมื่อทรงเครื่องสวมชฏา รัชกาลที่ 5 ถึงกับออกพระโอษฐ์ว่า “ลูกพ่องามเหมือนเทวดา” 

ตามโบราณราชประเพณี พระขัตติยราชนารีต้อง ‘งด’ เสด็จฯ ออกข้างนอกเมื่อทรงโสกันต์แล้ว ต้องเก็บตัวอยู่ฝ่ายในและต้องทรงสะพัก (ห่มผ้า) แต่ทูลกระหม่อมหญิงทรงกันแสง เพราะปรารถนาจะรับใช้สมเด็จพระบรมชนกนาถทางฝ่ายหน้าอีก ถึงกับไปกราบบังคมทูลพระกรุณา ‘รับสั่งให้เป็นเด็กต่อ’ พระองค์โปรดไปตามนั้น แต่ยอมเพียง ‘เมื่ออายุครบ 18 เมื่อใดพ่อจะไม่ยอมลูกหญิงอีก’ ทูลกระหม่อมหญิงจึงได้รับใช้เบื้องพระยุคลบาทอย่างใกล้ชิดมาจนครบเวลา

หลังจากนั้นเป็นต้นมา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร ทรงศึกษาและปฏิบัติตนเป็นเจ้านายฝ่ายในตามอย่างโบราณราชประเพณีอย่างเคร่งครัด นอกจากนั้นยังทรงศึกษาภาษาอังกฤษจาก ‘ครูมีทินและครูทิม’ จนแตกฉาน พระองค์มีพระปรีชาสามารถด้านการถักนิตติง (Knitting) และแท็ตติง (Tatting) ระดับรางวัลงานประกวดเลยทีเดียว พระองค์เป็นผู้ประดิษฐ์พวงมาลัยที่ผูกห้อยจากริบบิ้นเป็นพระองค์แรก พระองค์โปรดการถ่ายภาพ สามารถล้างและอัดภาพได้ด้วยพระองค์เอง โดยภาพถ่ายของพระองค์ก็ได้รับรางวัลจากการประกวดเช่นเดียวกัน (เอาสิ !!!! ) งานพระนิพนธ์ พระองค์มีพระนิพนธ์จำนวนหนึ่ง หนึ่งในนั้นคือ "ฉันท์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงวิสุทธิกระษัตริย์" ในรูปแบบอินทรวิเชียรฉันท์ 11 คือเรียกได้ว่า ทรงมีความสามารถครบจบในพระองค์

กลับมาที่ความงามและพระจริยาวัตรของพระองค์ที่ชาววังเล่าต่อๆ กันมานั้น ผมจะยกมาให้ได้อ่านกันสักหลายๆ ตัวอย่างดังนี้…

หม่อมเจ้าจงจิตรถนอม ดิศกุล บันทึกไว้เมื่อครั้งเกษากันต์ว่า “ข้าพเจ้าพอใจจะอยู่กับ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงศรีรัตนโกสินทร เมื่ออยู่ในวังเคยทรงเล่าประทานว่า ข้าพเจ้าไปเดินตามทูลกระหม่อมหญิงติดอกต้องใจที่จะอยู่กับท่าน ไปงานในวังครั้งใดก็มุ่งที่จะไปเฝ้าทูลกระหม่อมนี้อยู่เสมอ”

หม่อมเจ้ามารยาตรกัญญา ดิศกุล บันทึกไว้ว่า “ในชั่วชีวิต 5 ขวบของข้าพเจ้า ยังไม่เคยเห็นใครที่งามและน่ารักเหมือนพระองค์ท่านเลย”

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ บันทึกไว้ใน ‘เกิดวังปารุสก์’ ว่า “ข้าพเจ้าจำได้ว่าท่านงามมาก แต่ค่อนข้างจะน่ากลัว ครั้งหนึ่งข้าพเจ้าไปเรียกท่านผิดว่าทูลหม่อมป้าหญิง เลยถูกท่านเอ็ดเอาว่า อะไรทูลหม่อมป้าชายมีที่ไหน”

หม่อมราชวงศ์สุดใจ บรรยงกะเสนา ผู้ที่ได้มาพึ่งพระบารมีทูลกระหม่อมหญิงมาตั้งแต่อายุ 11 ปี จนถึงสิ้นพระชนม์ ได้เขียนเล่าถึงทูลกระหม่อมหญิงว่า “พระรูปพระโฉมงดงามยิ่ง พระมรรยาท พระอิริยาบถ ก็ได้ยินแต่คนสรรเสริญ และยอพระเกียรติ ว่าด้วยพระกุศลที่ได้ทรงทำไว้แต่หนหลังบันดาลให้งามพร้อมทั้งพระรูปโฉม พระนิสัย และน้ำพระทัย เป็นยอดขัตติยนารี”

สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ยังทรงชมว่า “พี่หญิงช่างงามจริง แม้ท่าบ้วนน้ำหมากก็ไม่เหมือนใคร”

งามขนาดที่ “สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร” ซึ่งพระชันษาเยาว์กว่าเพียงไม่กี่เดือนทรงมีพระหฤทัยผูกพัน เหตุที่มีพระทัยสนิทเสน่หา สืบเนื่องมาจากความใกล้ชิดเมื่อครั้งทรงรับใช้เบื้องพระยุคลบาทพระราชชนกด้วยกัน เมื่อเกิดวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 โดยทรงแสดงความในพระทัยออกมาเป็นสักวา ที่หน้าพระที่นั่งคราวหนึ่ง เชื่อว่าเป็น พ.ศ. 2437 ซึ่งเจ้านายและชาววังแอบจำต่อกันมา ความว่า…

ได้ยลพักตร์ลักขณาสุดาพี่        จะหาไหนไม่มีเสมอสอง
เสงี่ยมงามทรามสงวนนวลละออง        ไฉนน้องไร้คู่อยู่เอกา
ถ้าอยู่ได้ก็จะอยู่เป็นคู่ชื่น            สำราญรื่นร่วมจิตขนิษฐา
จะบนบวงสรวงเทพเทวา            ขอให้สมปรารถนาครานี้เอย

S&P คงอันดับความน่าเชื่อถือไทย BBB+ ชูความน่าเชื่อถือที่ระดับมีเสถียรภาพ

'ทิพานัน' ชี้เศรษฐกิจฟื้นตัว 'พล.อ.ประยุทธ์' บริหารถูกทาง โชว์ S&P คงอันดับความน่าเชื่อถือ BBB+ และคงมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Outlook) ที่ระดับมีเสถียรภาพ (Stable Outlook) จากปัจจัยท่องเที่ยวโตเกินคาด ประมาณ 10 ล้านคนในปี 65 ชี้ EEC การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน 

น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า บริษัท S&P Global Ratings (S&P) ได้คงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Sovereign Credit Rating) ที่ BBB+ และคงมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Outlook) ที่ระดับมีเสถียรภาพ (Stable Outlook) ถือเป็นข่าวดีของประเทศไทยที่ได้ภาพลักษณ์ที่ดีในสายตาชาวโลกและจะดึงดูดความสนใจจากนักลงทุนทั่วโลก เนื่องจาก S&P ถือเป็นบริษัทในเครือของ S&P Global Inc สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือชั้นนำของโลก 

น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า โดยจากรายงานของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ระบุเหตุผลสำคัญที่ S&P คงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยมาจากการคลี่คลายของสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตลอดจนการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดของ COVID-19 และอนุญาตให้มีการเดินทางเข้าราชอาณาจักรไทย และการที่ประชาชนได้รับวัคซีนป้องกัน COVID-19 อย่างทั่วถึง เป็นปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและการเติบโตของเศรษฐกิจไทย โดย S&P คาดว่า จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาในประเทศไทยจะเพิ่มขึ้นจาก 428,000 คน ในปี 2564 เป็นประมาณ 10 ล้านคนในปี 2565 ซึ่งสูงกว่าที่คาดการณ์ และเศรษฐกิจไทย (Real GDP) จะเติบโตอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 2.9 ในปี 2565 เป็นเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 3.2 ในช่วงปี 2565-2568

‘ยุทธพงศ์’ ซัด ‘ประยุทธ์’ แก้ปัญหาล้มเหลว ‘คอร์รัปชัน-ยาเสพติด-ธุรกิจสีเทา’ ยังเกลื่อนเมือง

‘ยุทธพงศ์’ ชี้ ผลงานรัฐบาล 3 ปี ให้คะแนนศูนย์ ซัด ‘นายกฯ’ ล้มเหลวแก้ทุจริต-ยาเสพติด-ธุรกิจสีเทาทุนจีน เกลื่อนเมือง บี้ ตรวจสอบที่มาเงินบริจาคพรรคการเมืองใหญ่

ศธ. รับนโยบายปรับหลักสูตรปลูกฝังเด็กนักเรียน เน้นรัก ‘ชาติ-ศาสน์-กษัตริย์’ หวงแหนแผ่นดินเกิด

เมื่อวันที่ 26 พ.ย.นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้พัฒนาและปรับปรุงการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ ให้มีความน่าสนใจ และมีนโยบาย 8+1 กำหนดโครงสร้างเวลาเรียน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานจัดรายวิชาพื้นฐานประวัติศาสตร์ ออกมา 1 รายวิชา เพื่อบ่มเพาะให้นักเรียนภาคภูมิใจรักความเป็นไทย หวงแหนในสิ่งที่บรรพชนให้ไว้เป็นมรดกทางปัญญา รักษา สืบสาน ต่อยอดและนำมาปรับประยุกต์ในปัจจุบัน 

โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จะเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ในวันที่ 28 พ.ย.นี้ เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ‘การบริหารจัดการโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และ 1 รายวิชาพื้นฐานประวัติศาสตร์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน’ และพิจารณาแนวทางขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมือง ปีงบประมาณ 2566 เพื่อเป็นแนวทางให้ต้นสังกัดของสถานศึกษา และสถานศึกษาสามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นายอนุชา กล่าวว่า ในร่างประกาศ ศธ. ฉบับดังกล่าว กําหนดให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานจัดโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และรายวิชาพื้นฐานประวัติศาสตร์ 1 รายวิชา โดยจัดเวลาเรียนรายวิชาประวัติศาสตร์ ระดับประถมศึกษา 40 ชั่วโมงต่อปี ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 40 ชั่วโมงต่อปี (1 หน่วยกิตต่อปี) และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย รวม 3 ปี 80 ชั่วโมง (2 หน่วยกิต) ซึ่งสถานศึกษาสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาประวัติศาสตร์ โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ด้วยวิธีการที่หลากหลาย เช่น การใช้พิพิธภัณฑ์เป็นสื่อ การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและต่อยอดประวัติศาสตร์สู่งานอาชีพ การบูรณาการประวัติศาสตร์กับรายวิชาอื่น และการศึกษานอกสถานที่และแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ เป็นต้น หากบอร์ด กพฐ.พิจารณาให้ความเห็นชอบ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้ลงนามในประกาศ ศธ. จะมีการแยกรายการประเมินผลการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ใหม่ โดยในแบบรายงานผู้สำเร็จการศึกษา (ปพ.3) จะมีการแสดงผลการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์แยกออกมา จากเดิมที่รวมอยู่ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 

'ดร.สมเกียรติ' โพสต์ 14 เหตุผลส่วนตัว ที่ทำให้ประเทศไทยน่าอยู่ที่สุดในโลก

(28 พ.ย. 65) ด้าน ดร.สมเกียรติ โอสถสภา อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์เหตุผลส่วนตัว 14 ข้อที่สะท้อนประเทศไทยน่าอยู่ที่สุดในโลก ว่า...

หนื่ง ผมชอบกินอาหารไทยทุกภาค ถ้าจะกินอาหารชาติต่าง ๆ ตอนนี้เมืองไทยมีหมด ยกเว้นอาหารเอสกิโม แนวแมวน้ำซึ่งผมไม่กิน อยู่ต่างประเทศไม่สะดวกครับ

สอง เมืองไทยอากาศกำลังดี ไม่มีหน้าหนาวที่โหด หน้าร้อนที่ทารุณ ยกเว้นภาคอีสาน แต่ก็แก้ไขได้โดยฟังลำเพลิน ลำซิ่ง โปงลาง ตอนกลางคืน เมืองไทยผลิตแอร์ขายอันดับต้นของโลกด้วย ไม่มีปัญหา

สาม อากาศระดับนี้ ผมไม่ต้องใส่โอเวอร์โค้ตหนักสี่ห้ากิโลไปโน่นนี่ ประหยัดพลังงานเยอะ หายใจสบายมาก ต่างจากอากาศที่เมืองจีน

สี่ เมื่ออายุมากขึ้น ผมชินกับการนอนบ้าน อยากไปไหนก็ขับรถออกไป ตีสอง ตีสาม ตีสี่ก็ได้ กรุงเทพไม่เคยหลับ ผมทำอย่างนี้ในประเทศอื่นไม่ได้ ไปทำแบบนี้แถวสิงคโปร์ มาเลย์มีโดนขอดูพาสปอร์ต นอนโรงแรมเมืองนอกตื่นขื้นมาไม่รู้จะทำอะไร เป็นท่าฝืนธรรมชาติ แก่เข้า ไม่มีอะไรให้ตื่นเต้นมากนัก

ห้า ที่สำคัญผมติดนวดสองอาทิตย์ครั้ง นวดแนวสาธารณสุขนี่ประเทศอื่นไม่มี มีโรงพยาบาลที่ผมรู้จัก เดินเข้าร้านขายยาเองก็ได้ สบายจัง ผมมีเพื่อนเป็นหมอเยอะ ปรึกษาได้ทุกเรื่อง คิดว่าคุยกับหมอต่างชาติลำบาก รักษาผิดโรคล่ะแย่เลย ต่างชาติยังต้องมาเมืองไทยกัน

หก เมืองไทยไฟฟ้าดี น้ำใช้ดี น้ำดื่มมีขายทั่วไป ยกเว้นตอนน้ำท่วมใหญ่ ซื้อน้ำในต่างประเทศแถวยุโรป สิงคโปร์ดื่ม จ้าก ทำไมมันแพงมาก 

เจ็ด แม้กรุงเทพรถจะติด ผมก็ยังเห็นที่อื่นที่ติดมากกว่าที่นี่ และประเทศไทยสวยงาม มีอะไรเพลิน ๆ ให้ดู ถ้าออกจากบ้านตีห้าสบายมาก กลับเร็วหน่อย หรือดึกหน่อย ก็ลงตัว แล้วยังมีวันหยุดยาวเยอะ ช่วงนั้นเดินเล่นแถบสีลมไปอัสสัมบรรยากาศอลังมาก

แปด ที่เมืองไทยผมมีเพื่อนเยอะ ทั้งเพื่อนนักเรียน มหาวิทยาลัย เพื่อนร่วมงานเก่า เพื่อนเฟส เพื่อนบ้าน เพื่อนภูมิลำเนา เพื่อนร่วมเมือง ร่วมชุมชน ร่วมประเทศ เพื่อนร้านกาแฟ ฟิตเนส ชาววัด คนรู้จักตามสถานที่ต่าง ๆ อบอุ่นมาก อยู่ในต่างประเทศ เราจะขาดสิ่งนี้

เก้า ผมรู้จักประเเทศไทยดี ผมไม่ต้องหาความรู้อะไรเพิ่ม กินที่ไหน เที่ยวที่ไหน ไปวัดไหน มีอะไรอยู่ที่ไหน อยู่ต่างประเทศมันเหนื่อยหาข้อมูลพวกนี้ วัฒนธรรม การกินอยู่ เราต้องเรียนรู้หมด มันเหนื่อย ผิดธรรมชาติ ยกเว้นว่าอยู่นานเป็นพลเมืองไปเลย

'บิ๊กป้อม' เปิดงาน 'Thailand 4.0 ประเทศไทยไปไกลกว่าที่คิด' ชู!! ดิจิทัลไทยก้าวหน้าไม่แพ้ชาติใดในโลก

พล.อ.ประวิตร เปิดงาน 'Thailand 4.0 ประเทศไทยไปไกลกว่าที่คิด' ผลักดันเศรษฐกิจดิจิทัล สู่ผู้นำภูมิภาค เร่งให้ความรู้ ปชช. สร้างภูมิคุ้มกัน ปก.ภัยออนไลน์ ลดเสี่ยงไซเบอร์  

(28 พ.ย. 65) พล.ท.พัชร์ชศักดิ์ ปฏิรูปานนท์ ผช.โฆษก รอง นรม. เปิดเผยว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้ไปเป็นประธานพิธีเปิด งานสัมมนาและนิทรรศการเศรษฐกิจดิจิทัล 'Thailand 4.0 ประเทศไทยไปไกลกว่าที่คิด : THAILAND 4.0 THE FUTURE AND BEYOND' ซึ่งจัดขึ้น ณ ห้องประชุมวิภาวดีบอลรูม โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว ระหว่างวันที่ 28-29 พ.ย.65 โดยมีกระทรวงดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นเจ้าภาพจัดกิจกรรมดังกล่าว

‘ชัยวุฒิ’ เผย ‘เศรษฐกิจดิจิทัล’ พาศก.ไทยก้าวหน้า ชี้ รัฐบาลหนุนเต็มกำลัง มุ่งยกระดับประเทศอย่างยั่งยืน

‘ดีอีเอส’ จัดสัมมนาและนิทรรศการ ‘Thailand 4.0 ประเทศไทยไปไกลกว่าที่คิด : Thailand 4.0 The Future and Beyond’ มุ่งผลักดันเศรษฐกิจดิจิทัล ยกระดับการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) จัดงานสัมมนาและนิทรรศการเศรษฐกิจดิจิทัล ‘Thailand 4.0 ประเทศไทยไปไกลกว่าที่คิด : Thailand 4.0 The Future and Beyond’ โดยมี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงาน พร้อมด้วยนายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม, ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม, นายภุชพงค์ โนดไธสง เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ร่วมกิจกรรม ในวันที่ 28 - 29 พฤศจิกายน 2565 ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายสำคัญ ในการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล สร้างความตระหนักให้แก่ประชาชนนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อการพัฒนาประเทศ ก้าวสู่ Thailand 4.0

พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวในการเป็นประธานเปิดงานสัมมนาและนิทรรศการเศรษฐกิจดิจิทัล ‘Thailand 4.0 ประเทศไทยไปไกลกว่าที่คิด: Thailand 4.0 The Future and Beyond’ ว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีดิจิทัล เข้ามามีบทบาท ในทุกกิจกรรมของประชาชน และยังเป็นเครื่องมือหลัก ในการช่วยให้ การประกอบธุรกิจ เกิดผลสำเร็จ ได้ง่ายขึ้น และที่ผ่านมาประเทศไทยเอง มีความก้าวหน้า ไม่แพ้ชาติใดในโลก ในด้านการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อการเพิ่ม ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศเท่านั้น แต่ยังทำให้เกิดพฤติกรรมการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีดิจิทัล ในการขับเคลื่อนสังคมอีกด้วย อันเป็นการตอบโจทย์นโยบายของรัฐบาลในการขับเคลื่อนประเทศ เป็น ‘ประเทศไทย 4.0’ ที่มุ่งเน้นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศด้วยนวัตกรรม รวมทั้งการสร้างความรู้ ความเข้าใจ และสร้างเกราะป้องกันให้ประชาชนรู้เท่าทันภัยคุกคามทางไซเบอร์ ซึ่งเป็นภารกิจที่รัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญ สอดคล้องกับการจัดงานสัมมนาและนิทรรศการเศรษฐกิจดิจิทัล ‘Thailand 4.0 ประเทศไทยไปไกลกว่าที่คิด : Thailand 4.0 The Future and Beyond’ ที่นับว่าเป็นประโยชน์กับภาคธุรกิจและประชาชนในการสร้างองค์ความรู้ ในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างถูกต้อง และสร้างสรรค์ รวมถึงเปิดโอกาสให้ประชาชนได้รับรู้เทคโนโลยีสมัยใหม่ และความรู้เกี่ยวกับภัยอันตรายต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น จากการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อลดความเสี่ยง ในการใช้เทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสม สามารถรู้ทันภัยออนไลน์ต่างๆ เกิดความตระหนักรู้ และสามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างถูกทาง เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการใช้ชีวิตในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล 

ด้านนายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เปิดเผยว่า เศรษฐกิจดิจิทัล หรือ Digital Economy เป็นเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ที่รัฐบาลให้ความสำคัญ เนื่องจากจะเข้ามาขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้หลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง ซึ่งจะเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยในอีก 10 - 20 ปี ข้างหน้าต่อจากนี้ด้วย และจากการสนับสนุนของรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง จึงเห็นได้ว่า ปัจจุบันเศรษฐกิจดิจิทัลของไทยมีการเติบโตขึ้นจากปีก่อน ๆ เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ประเทศไทยถูกโจมตีด้วยการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่เข้ามาเป็นแรงผลักดันให้ภาคประชาชน ภาคการศึกษา และกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมหันมาใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล 

อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันดีว่า ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิทัล มักแฝงมาด้วยภัยคุกคามทางไซเบอร์ รัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญ และได้มุ่งเน้นการสร้างองค์ความรู้ให้กับประชาชนในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างถูกต้องและสร้างสรรค์ สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างถูกทาง

'อภิสิทธิ์' ห่วง สมาชิกพรรค ปชป.ลาออก พร้อมแจงร่วมโต๊ะ 'เสี่ยหนู' ไม่มีนัยการเมือง

(29 พ.ย. 65) ที่รัฐสภา นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรีและอดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.ว่า ตอนนี้ทุกคนรอคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้เกิดความชัดเจน บนเวทีทุกคนก็เห็นตรงกันว่าตอนนี้มีปัญหา ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ผ่านมาทำไม่ครบถ้วน ทำให้เกิดปัญหา แต่ในวันพรุ่งนี้ (30 พ.ย.) ศาลก็จะเป็นผู้กำหนดทางออก ถ้าศาลวินิจฉัยว่ามีปัญหาและขัดกันในเรื่องของกฎหมายลูก คงต้องมีการดำเนินการทางกฎหมายใหม่ แต่ถ้าชี้ว่าไม่ขัด มาตราที่มีการผูกติดกับระบบเดิมก็ไม่ต้องใช้ ค้างไว้เช่นนั้น ทั้งนี้ก็คงไม่มีเหตุผลอะไรเลวร้ายถึงขั้นที่ต้องลงถนน ทุกอย่างอย่างยังคงต้องอยู่ในกติกา ซึ่งทุกคนเห็นตรงกันว่าภายในปีหน้าต้องมีการเลือกตั้ง เพียงแต่ว่าการจัดการเลือกตั้งจะจัดให้ราบรื่นได้อย่างไร ภายใต้ข้อจำกัดที่อาจมีปัญหาในข้อกฎหมาย ที่อาจจะไม่ทันแต่เชื่อว่าจะไม่มีอะไรที่นำไปสู่ความขัดแย้งได้

‘พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าผ่องประไพ’ พระราชธิดาที่รัชกาล 5 ไม่ทรงโปรด

จากคราวที่แล้วที่ผมได้เล่าเรื่องของพระเจ้าลูกเธอที่ ‘ล้นเกล้ารัชกาลที่ 5’ รักและสำคัญยิ่ง ทรงกรมเป็นถึง ‘กรมหลวง’ คือ ‘สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร’ บทความนี้ผมจะมาเล่าถึงพระเจ้าลูกเธอในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ‘ที่ไม่ทรงโปรด’ หรือ ทรงโปรดน้อยกันบ้าง ซึ่งบันทึกเกี่ยวกับพระองค์มีน้อยมาก แม้จะเป็นพระราชธิดาพระองค์โต แต่ก็ไม่ได้รับการยกย่องอะไรนัก พระราชธิดาพระองค์นั้นคือ ‘พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าผ่องประไพ’ 

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าผ่องประไพ หรือ พระองค์เจ้าผ่อง เป็นพระราชธิดาพระองค์แรกในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ก่อนขึ้นครองราชย์) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์แข (มรว.แข พึ่งบุญ) เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2410 ขณะนั้นพระบิดาดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานาถ ส่วนพระมารดาเป็นพระพี่เลี้ยงของพระบิดา ขณะพระบิดามีพระชนมายุเพียง 14-15 พรรษา ส่วนพระมารดามีอายุมากกว่าพระบิดาประมาณ 3 ปี 

ซึ่งความสัมพันธ์ในครั้งนั้น พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ทรงทราบ จนเมื่อประสูติเป็นพระธิดา เจ้าจอมมารดาเที่ยง ซึ่งเป็นเจ้าจอมที่ทรงโปรดปราน ได้อุ้มพระกุมารีขึ้นให้ทอดพระเนตรเป็นการกราบทูลให้ทรงทราบ เมื่อตรัสถามว่าพระกุมารีนี้เป็นธิดาของใคร เจ้าจอมมารดาเที่ยงมิได้ทูลตอบทันที กลับกราบทูลเลี่ยง ๆ ให้ทอดพระเนตรเองว่า พระกุมารีนั้นพระพักตร์เหมือนผู้ใด จึงตรัสว่า “เหมือนแม่เพย” คือสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ พระอัครมเหสี พระบรมราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั่นเอง 

'พระองค์เจ้าผ่องประไพ' ตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ทรงอาภัพมาก ๆ เพราะพระองค์อาศัยอยู่ในตำหนักเก่า ๆ ต่างจากตำหนักของเจ้าน้อง ๆ ที่มีขนาดใหญ่โตหรูหรา เล่ากันว่าพระองค์เป็นพระบรมวงศ์ศานุวงศ์เพียงพระองค์เดียวที่เก็บตัวอยู่แต่ในพระตำหนัก แทบจะไม่ได้ย่างก้าวออกจากประตูพระบรมมหาราชวังตั้งแต่วันประสูติจนถึงวันสิ้นพระชนม์เลย อย่าเพิ่งดราม่านะ!!! มาลองมาดูปัจจัยที่น่าจะทำให้ไม่ทรงโปรดกันก่อน

เริ่มจากการที่พระมารดาเจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์แข มีปัญหากับพระบิดาโดยสาเหตุมาจากเมื่อ พระองค์เจ้าผ่องฯ  ขณะทรงพระเยาว์ประชวรหวัด พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จ ฯ เยี่ยมพระธิดา ตรัสถามเจ้าจอมมารดาแข ถึงพระอาการประชวรของพระธิดาถึง 3 ครั้ง เจ้าจอมมารดาแขก็มิได้ทูลตอบ จึงทรงพิโรธมิได้ตรัสด้วยอีกต่อไป และโปรดมอบพระองค์เจ้าผ่อง ฯให้ “สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาสุดารัตนราชประยูร” หรือ “ทูลกระหม่อมแก้ว” เป็นผู้ทรงอภิบาลพระราชธิดาแทน เมื่อไม่ทรงโปรดเจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์แข จึงน่าจะทำให้ไม่ได้ทรงมีความใกล้ชิดกับพระราชธิดาพระองค์นี้ (เรื่องนี้เกิดจากรพระมารดา แต่กระทบพระธิดานะ !!! ) 

เหตุต่อมาเมื่อพระองค์เจ้าผ่องฯ มีพระชนมายุ 6 พรรษา รัชกาลที่ 5 ทรงลาผนวช ในวันที่เสด็จออกผนวชนั้นพระราชวงศ์ ขุนนาง ข้าราชการก็ต่างพากันมาหมอบเข้าเฝ้าตามธรรมเนียมชาววัง แต่รัชกาลที่5 ทรงรับสั่งให้ทุกคนยืนเข้าเฝ้าได้ตามธรรมเนียมฝรั่ง ดังนั้นบรรดาพระราชวงศ์ ขุนนาง และข้าราชการจึงพากันยืนเข้าเฝ้า แต่ทว่า พระองค์เจ้าผ่องฯ ผู้เป็นเด็กที่ยึดมั่นตามโบราณประเพณีจึงไม่ยอมยืนขึ้น ยังคงหมอบกราบอยู่ รัชกาลที่ 5 เห็นดังนั้นก็ทรงกริ้ว ถึงกับเสด็จฯ ไปดึงพระเมาลี (จุกผม) ให้ยืน แต่พระองค์เจ้าผ่องฯ ก็มิทรงยืน เหตุนี้พระพุทธเจ้าหลวงจึงน่าจะไม่โปรดพระเจ้าลูกเธอพระองค์นี้มากนัก ถึงแม้จะเป็นพระราชธิดาพระองค์แรกก็ตาม อันนี้ว่ากันว่าคือการยึดมั่นของพระองค์ที่ทรงมีอยู่ตลอดพระชนม์ชีพ

นอกจากนี้ด้วยพระอัธยาศัยเงียบขรึมเก็บพระองค์ ไม่โปรดปรานการสังสรรค์กับผู้ใด เล่าลือกันว่าทรง “ดื้อเงียบ” หากทรงไม่พอพระทัยสิ่งใดแล้วจะไม่ทรงปฏิบัติเด็ดขาด แม้จะทรงถูกกริ้วหรือถูกลงโทษก็ทรงเงียบเฉย จึงทำให้ไม่ทรงสนิทชิดเชื้อกับผู้ใดรวมทั้งพระบรมราชชนก นอกจากพระอุปนิสัย ก็ว่ากันว่าพระองค์ไม่ได้ทรงฉลาดนัก อีกทั้งพระโฉมไม่ค่อยงาม 

ในเวลาที่ ในหลวง ร. 5 เสด็จฯ ไปที่ใด พระราชโอรสและพระราชธิดาต่างๆ ก็จะได้รับพระบรมราชานุญาตให้ตามเสด็จอยู่เสมอๆ แต่มีเพียงพระองค์เจ้าผ่องฯ ที่ไม่เคยได้ตามเสด็จพระราชบิดาไปไหนเลย อย่างคราวสร้างพระราชวังดุสิต บรรดาพระราชโอรสและพระราชธิดาก็ได้รับพระราชทานตำหนักใหญ่น้อยอยู่ในพระราชวังดุสิต แต่พระองค์เจ้าผ่องฯ ก็ไม่เคยได้รับพระราชทานตำหนักในพระราชวังดุสิต และพระองค์ก็พอพระทัยที่จะประทับอยู่แต่ในเขตพระราชฐานชั้นใน พระบรมมหาราชวังนั่นเอง ทำให้ห่างเหินกับพระราชบิดาจนกระทั่งสวรรคต 

อีกเรื่องที่น่าสนใจคือการ ‘ตรัสอย่างตรงไปตรงมา’ อย่างที่เรียกกันว่า ‘ขวานผ่าซาก’ จนเป็นที่กล่าวขวัญร่ำลือกันถึงพระอัธยาศัยนี้ ตัวอย่างเช่น เมื่อครั้งการไป ‘ตากอากาศ’ กำลังเป็นที่นิยมของสังคมชั้นสูงในสมัยนั้น พระองค์เจ้าผ่องก็มิเคยเสด็จฯ ด้วย เมื่อมีพระญาติตรัสถามว่า ไม่เสด็จไปทรงตากอากาศบ้างหรือ ? ก็จะทรงตอบว่า “ไปตากอากาศ ฉันก็เห็นพวกเธอตายกันโครมๆ” ซึ่งก็เป็นการตรัสที่มีส่วนของความจริง เพราะทรงเป็นพระราชนารีที่มีพระชนมายุยืนยาวมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (ก็นะ ถามเฉยๆ อ่ะ)

ส่วนการยึดมั่นในขนบดั้งเดิมก็มีตัวอย่างที่ฟังแล้วก็อึ้งๆ เรื่องมีอยู่ว่า ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เป็นเวลาที่เจ้าพระยารามราฆพ (เฟื้อ พึ่งบุญ ณ อยุธยา) ราชสกุล พึ่งบุญ ณ อยุธยา (ซึ่งเป็นสกุลของเจ้าจอมมารดาแข พระมารดา) ซึ่งเป็นที่โปรดปรานและมีอำนาจสูงในแผ่นดิน พระองค์เจ้าผ่องก็ไม่ทรงสนิทสนมด้วย แม้เจ้าพระยารามราฆพ จะทูลเชิญให้เสด็จเป็นเกียรติยศ ณ บ้านของท่าน ก็ทรงปฏิเสธ เพราะทรงยึดถือขนบประเพณีเก่าที่ว่าขุนนางจะต้องเป็นฝ่ายมาเฝ้าเจ้านาย การที่เจ้านายจะเสด็จไปบ้านขุนนางนั้นเป็นการไม่ควร เสื่อมเสียพระเกียรติยศ แม้ลงเอยจะยอมเสด็จ ฯ แต่นั่นก็คือเพียงครั้งเดียว จากนั้นก็ไม่ยอมเสด็จฯ ไปอีก หรืออย่างพิธีถวายน้ำสงกรานต์พระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ประจำปี ก็จะเสด็จฯ ไปถวายตามพระอิสริยยศ อิสริยศักดิ์ ตามลำดับอย่างเคร่งครัด โดยไม่ทรงคำนึงถึงความสะดวกหรือระยะทางใกล้ไกล (สุดจริงๆ) 

แต่กระนั้นแม้ว่า ร.5 จะทรงโปรดน้อย แต่เหตุการณ์ประทับใจของความเป็น พ่อ-ลูก ก็มีอยู่เล็กๆ เล่ากันว่าครั้งที่โปรดฯ พระราชทานที่ดินสวนนอกให้เจ้าจอมมารดาและพระราชธิดาบางพระองค์ไป แต่สำหรับพระองค์เจ้าผ่องฯ นั้นโปรดฯ พระราชทานพระราชทรัพย์ 100 ชั่งสำหรับเป็นทุนเลี้ยงพระชนมชีพ ด้วยทรงตระหนักพระราชหฤทัยถึงพระอัธยาศัยของพระราชธิดา ประกอบกับที่ทรงมีพระราชดำริว่าพระราชธิดาไม่ทรงคุ้นเคยกับชีวิตนอกพระบรมมหาราชวังและไม่มีมารดาคอยดูแล เกรงจะทรงได้รับอันตราย (ก็คือทรงตระหนักแล้วว่าพระธิดาพระองค์นี้ไม่ออกจากพระบรมมหาราชวังแน่ๆ) 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top