Tuesday, 30 April 2024
ประเทศไทย

ส่อง!! 5 ประเทศในเอเชีย ที่ต่างชาติเป็นเจ้าของที่ดินได้ พร้อมชั่งน้ำหนัก ‘ผลดี-ผลเสีย’ หากต่างชาติครองที่ดินในไทย

จากการที่ คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2564 เห็นชอบมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ชาวต่างชาติเข้ามาอยู่ในประเทศไทยแบบระยะยาว พร้อมกับสามารถซื้ออสังหาริมทรัพย์ต่างๆ ได้ในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น โดยเป็นผู้พำนักอาศัยในไทยระยะยาว 4 กลุ่ม ได้แก่ 1.) กลุ่มประชากรโลกผู้มีความมั่งคั่งสูง (Wealthy Global Citizen) 2.) กลุ่มผู้เกษียณอายุจากต่างประเทศ (Wealthy Pensioner) 3.) กลุ่มที่ต้องการทำงานจากประเทศไทย (Work from Thailand Professional) 4.) กลุ่มผู้มีทักษะเชี่ยวชาญพิเศษ (Highly Skilled Professional)    

โดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดว่ามาตรการนี้จะช่วยดึงดูดชาวต่างชาติกลุ่มมั่งคั่งจำนวน 1 ล้านคน ให้ย้ายถิ่นฐานมาพำนักอาศัยในประเทศไทยภายในระยะเวลา 5 ปีงบประมาณ (พ.ศ. 2565-2569) ของการดำเนินมาตรการ และหากเป็นไปตามเป้าหมายจะช่วยเพิ่มปริมาณเงินใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจตั้งแต่ 1-2.5 แสนล้านบาท (สมมติฐานการใช้จ่ายในประเทศเฉลี่ย 1 ล้านบาทต่อคนต่อปี)   

ต่อมาวันที่ 25 ต.ค. คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของคนต่างด้าว ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดคนต่างด้าวที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย พ.ศ. …. ซึ่งร่างกฎกระทรวงนี้ จะมีระยะเวลาบังคับใช้ 5 ปี นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา  

‘ไตรรัตน์ จารุทัศน์’ นักวิชาการ อาจารย์ภาควิชาเคหการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้เขียนบทความลง TerraBKK ไว้ว่า ข้อเท็จจริง มีเกือบ 100 ประเทศทั่วโลกที่อนุญาตให้ต่างชาติมีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน

1.) สำหรับประเทศอื่นๆ แบ่งเป็น 
- ประเทศที่ไม่มีข้อจำกัดในการเป็นเจ้าของทรัพย์สิน สำหรับชาวต่างชาติ เช่น สเปน ฝรั่งเศส อิตาลี คอสตาริกา 

- ประเทศที่มีข้อตกลงการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน เช่น โครเอเชีย ตุรกี และเกาหลีใต้ เปิดให้เฉพาะบางสัญชาติที่มีข้อตกลงการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน อียิปต์อนุญาตสิทธิการเช่า 99 ปี 

2.) มีมาตรการเสริมเพื่อป้องกันราคาอสังหาริมทรัพย์ที่สูงขึ้น หรือเพื่อเหตุผลความมั่นคง เช่น สวิส มีการจำกัดจำนวนชาวต่างชาติที่สามารถซื้ออสังหาริมทรัพย์ได้ในแต่ละปี สหราชอาณาจักร เก็บภาษีกำไรจากการขายที่สูงกว่ามากซึ่งเรียกเก็บจากกำไรที่ได้จากการขายบ้านในสหราชอาณาจักรโดยชาวต่างชาติ ออสเตรเลีย

ปัจจุบันจำกัดเฉพาะประเภทอสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อได้ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะเป็นโครงการก่อสร้างใหม่เท่านั้น ผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายสามารถถูกตัดสินจำคุกหรือปรับจำนวนมาก

>> ศรีลังกา ให้ชาวต่างชาติได้รับอนุญาตให้ถือครองที่ดิน แต่มีภาษีการโอน 100% สำหรับชาวต่างชาติในศรีลังกา 

>>  แคนาดา จังหวัดชายฝั่งตะวันออกอื่นๆ รวมถึงจังหวัดควิเบก ออนแทรีโอ และบริติชโคลัมเบียไม่มีข้อจำกัดในการเป็นเจ้าของในต่างประเทศ

>> ออสเตรเลีย ชาวต่างชาติ ที่ไม่ได้อาศัยอยู่ในออสเตรเลียและบริษัทต่างๆ สามารถซื้อการพัฒนาที่อยู่อาศัยได้ถึง 50% และได้รับอนุญาตให้ซื้ออสังหาริมทรัพย์หรือที่ดินใหม่เพื่อสร้างอาคารได้ตราบเท่าที่การก่อสร้างเริ่มขึ้นภายใน 12 เดือนนับจากวันที่ซื้อ สามารถซื้อทรัพย์สินที่เก่ากว่าได้โดยมีเงื่อนไขว่าอย่างน้อย 50% ของราคาซื้อจะใช้ในการปรับปรุง

3.) ข้อจำกัดอื่นๆ ในการซื้อที่ดินของต่างชาติ ประมาณ 40% ของ 195 ประเทศ มีข้อจำกัด ในการอนุญาตให้ชาวต่างชาติเป็นเจ้าของทรัพย์สิน เช่น (1) ที่ดินอยู่ห่างจากพรมแดนระหว่างประเทศ เช่น ปานามา ที่ดินอยู่ห่างจากพรมแดนระหว่างประเทศไม่เกิน 6 ไมล์ เม็กซิโก ชาวต่างชาติ ชาวต่างชาติไม่ได้รับอนุญาตให้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ภายใน 62 ไมล์จากชายแดนระหว่างประเทศหรือ 31 ไมล์จากชายฝั่ง สเปน ที่ดินทางทหารและที่ดินใกล้พรมแดนระหว่างประเทศ (2) ทรัพย์สินริมน้ำบางแห่ง นิวซีแลนด์ ที่ดิน ‘อ่อนไหว’ รวมถึงเขตสงวน เกาะที่ระบุ และที่ดินและทะเลสาบทางประวัติศาสตร์หรือมรดก ปานามา การจำกัดที่ดินบนเกาะ ริมชายหาด

>> 5 ประเทศที่ชาวต่างชาติสามารถเป็นเจ้าของที่ดินได้ในเอเชีย  

1.) มาเลเซีย มาเลเซียเป็นที่เดียวที่ชาวต่างชาติสามารถเป็นเจ้าของที่ดินในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ อสังหาริมทรัพย์ประเภทเดียวที่ชาวต่างชาติไม่สามารถซื้อได้คือ ‘อสังหาริมทรัพย์ที่เป็นมรดก’ หรืออสังหาริมทรัพย์เก่าแก่ในยุคอาณานิคม ชาวต่างชาติสามารถขอที่พักอาศัยในมาเลเซียได้โดยการลงทุนผ่าน My Second Home Program (MM2H) ซึ่งช่วยให้ชาวต่างชาติได้รับวีซ่า 10 ปีโดยฝากเงินประมาณ 70,000 เหรียญสหรัฐ และเก็บไว้ในธนาคาร

2.) เกาหลีใต้ เกาหลีใต้ไม่มีข้อจำกัดมากมายในการถือครองที่ดิน การเปิดกว้างสำหรับการลงทุนจากต่างประเทศนี้ค่อนข้างสมเหตุสมผลเมื่อพิจารณาถึงความเป็นสากลของเกาหลี ชาวต่างชาติเหล่านี้มักต้องการซื้ออสังหาริมทรัพย์ของตนเอง สาธารณรัฐเกาหลีนั้นพิถีพิถันในการออกวีซ่าระยะยาว ยกเว้นที่ เกาะเชจู เกาะเล็กๆ แห่งนี้ตั้งอยู่นอกชายฝั่งทางตอนใต้ของคาบสมุทรเกาหลี เป็นเขตปกครองพิเศษที่อนุญาตให้ทุกคนเข้าชมได้โดยไม่ต้องมีวีซ่า ในทำนองเดียวกัน เชจูยังมีใบอนุญาตผู้พำนักสำหรับนักลงทุนทุกคนที่ต้องการลงทุนอสังหาริมทรัพย์มูลค่าประมาณ 430,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ บนเกาะนี้ ใบอนุญาตผู้พำนักดังกล่าวสามารถนำไปสู่การถือสัญชาติเกาหลีได้

3.) ไต้หวัน ไต้หวันเป็นประเทศพัฒนาแล้วที่มีข้อจำกัดในการเป็นเจ้าของทรัพย์สินในต่างประเทศเพียงเล็กน้อย การซื้ออสังหาริมทรัพย์ในไต้หวันไม่ได้ให้สิทธิ์ชาวต่างชาติในการพักอาศัยที่นั่นโดยอัตโนมัติ ต่างจากประเทศมาเลเซียและเกาหลีใต้ โดยมีโปรแกรมการอยู่อาศัยสำหรับนักลงทุนบางรูปแบบสำหรับเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ ชาวต่างชาติจะต้องผ่านช่องทางการย้ายถิ่นฐานปกติเพื่ออาศัยอยู่ในไต้หวันอย่างถาวร ชาวต่างชาติสามารถซื้อบ้านหรือที่ดินที่ยังไม่พัฒนาในไต้หวันได้ 

4.) ญี่ปุ่น ชาวต่างชาติสามารถซื้ออสังหาริมทรัพย์ในญี่ปุ่นได้ โดยไม่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับประเภทของอสังหาริมทรัพย์ ชาวต่างชาติสามารถเป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในชื่อตนเองได้ ทั้งนี้ชาวต่างชาตินั้นจะต้องมีงานทำ หรือทำธุรกิจ หรือใช้วีซ่าประเภทใช้ชีวิตในญี่ปุ่นแบบเต็มเวลา 

5.) สิงคโปร์ ในสิงคโปร์ ชาวต่างชาติสามารถเป็นเจ้าของคอนโด บ้าน และที่ดินได้ตามกฎหมาย สิงคโปร์เป็นหนึ่งในประเทศที่ง่ายที่สุดในเอเชียในการซื้อคอนโด อย่างไรก็ตาม แม้ว่าชาวต่างชาติจะได้รับอนุญาตให้เป็นเจ้าของบ้านหรือที่ดินในทางทฤษฎี แต่จริงๆ แล้วการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ประเภทนี้อาจเป็นเรื่องยากและมีราคาแพงอย่างเหลือเชื่อในทางปฏิบัติ การจะถือครองที่ดินเป็นคนต่างด้าวนั้นต้องได้รับอนุญาตจากทางราชการเสียก่อน การอนุมัติดังกล่าวต้องมีการซื้อจำนวนมาก (คิดมูลค่าที่ดินมากกว่า 20 ล้านดอลลาร์) และพิสูจน์ว่าการซื้อดังกล่าว ‘เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของสิงคโปร์’

ซาอุฯ เตรียมขน 200 นักธุรกิจ ร่วมลงทุนในไทย ล็อกเป้า ‘EEC’ จ่อลงทุนใน 3 อุตสาหกรรมหลัก

รัฐมนตรีกระทรวงการลงทุนซาอุดิฯ นำทัพ 200 นักธุรกิจบุกไทย ลุยจับคู่ร่วมลงทุน 3 ธุรกิจใหญ่ ‘ท่องเที่ยวโรงแรม-สร้างเมืองใหม่-พลังงาน’ เอกชนชี้เป็นโอกาสดีสุด ๆ รอบ 32 ปีหลังฟื้นสัมพันธ์ เล็งเป้าดึงลงทุนระลอกใหญ่ลงอีอีซี ขณะ 3 อุตฯ ไทยเนื้อหอม เวลคัมร่วมลงทุนในซาอุดิฯ

(5 พ.ย. 65) รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรือสำนักงานอีอีซี เผยว่า ในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2565 นี้ Mr.Khalid Abdulaziz Al-Falih รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการลงทุนแห่งซาอุดิอาระเบียจะนำคณะภาคเอกชนที่เป็นนักธุรกิจ และนักลงทุนของซาอุดิฯ รวมกว่า 200 คน ร่วมงาน ‘Thai - Saudi Investment Forum’ ในประเทศไทย

ไฮไลต์สำคัญ จะมีการลงนาม MOU ร่วมกันในธุรกิจเป้าหมาย ไทย-ซาอุดิฯ, การนำเสนอภาพรวมกลยุทธ์การลงทุนร่วมไทย-ซาอุดิฯ โดย นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) และนายคณิศ แสงสุพรรณ ประธานที่ปรึกษาอีอีซี 

นอกจากนี้จะมีเวทีเสวนาร่วมระหว่างผู้บริหารของคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) และหอการค้าซาอุดิฯ โดย นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย และ Mr. Bads Aldadr, Deputy Minister of Investor Outreach, MISA

นอกจากนี้จะมีการเสวนาและจับคู่ธุรกิจ (บิซิเนส แมชชิ่ง) ร่วมลงทุนธุรกิจเป้าหมายภาคเอกชนและนักธุรกิจของไทย-ซาอุดิฯ ใน 3 เวทีได้แก่ ในธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรม, ธุรกิจการสร้างมืองใหม่ และธุรกิจด้านพลังงาน ซึ่งจะเป็นการเปิดมิติใหม่ในการร่วมลงทุนไทย-ซาอุดิฯ ในรอบ 32 ปี หลังฟื้นความสัมพันธ์

นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) หรือสภาผู้ส่งออก เผยว่า ไทยและซาอุดิฯ ได้แลกเปลี่ยนการเดินทางเยือนของคณะภาครัฐ-เอกชนกันหลายรอบแล้วในรอบปีนี้ หลังพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้นำคณะเดินทางเยือนราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย เมื่อปลายเดือนมกราคม 2565 และประกาศการฟื้นความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการ

สำหรับการเดินทางเยือนไทยและร่วมเวทีเชื่อมสัมพันธ์ด้านการลงทุนกันในครั้งนี้ ถือเป็นการตอกย้ำความสัมพันธ์ให้มีความแน่นแฟ้นมากขึ้นตามลำดับ โดยทั้งสองฝ่ายได้เชิญชวนในการแลกเปลี่ยน และร่วมลงทุนทั้งในไทยและในซาอุดิฯ

ในส่วนของไทยมีเป้าหมายเชิญชวนทางซาอุดิฯ มาลงทุนในไทย โดยเฉพาะในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี ที่มีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานรองรับ ในเบื้องต้นมีธุรกิจที่ซาอุดิฯ ให้ความสนใจลงทุน หรือร่วมลงทุนในอีอีซี เช่น ยานยนต์สมัยใหม่ เครื่องใช้ไฟฟ้า การแพทย์ เกษตรชีวภาพ อาหารแปรรูป อัญมณีและเครื่องประดับ ก่อสร้าง ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และภาคการเงิน เป็นต้น

ฟังจากปาก ‘ต่างชาติตัวจริง’ ที่ได้มาเยือนไทย ‘ทุกอย่างที่เป็นไทย’ ดึงดูดให้อยากกลับมา

หากใครตามข่าวหรือเข้าโซเชียลบ่อย ๆ ก็คงได้เห็นข่าวที่หลาย ๆ องค์กรทั่วโลกได้จัดอันดับให้ ‘ประเทศไทย’ อยู่ในระดับสูงหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการท่องเที่ยว, อาหาร, เมืองน่าอยู่, สายการบิน หรือแม้กระทั้งระบบสาธารณะสุข 

แต่หากใครคิดไม่ออก หรือไม่คุ้น แล้วยังมีความแอบเอ๊ะ!! ไม่แน่ใจว่าเคยมีการจัดอันดับให้ไทยด้วยหรือไม่? ก็ไม่เป็นไร เพราะเดี๋ยวจะยกตัวอย่างมาให้ดูกัน

ตัวอย่างล่าสุดสด ๆ ร้อน ๆ ก็คือนิตยสารธุรกิจและท่องเที่ยวอย่าง ‘Business traveller’ จัดอันดับให้ ‘กรุงเทพมหานคร’ เป็นอันดับ 1 ‘เมืองที่น่าพักผ่อนหย่อนใจมากที่สุดในเอเชียแปซิฟิก’ (Best Leisure time city in Asia-Pacific) ต่อเนื่อง 6 ปีซ้อน!! การจัดอันดับครั้งนี้สะท้อนว่าไทยยังเป็นจุดหมายปลายทางที่นักท่องเที่ยวทั่วโลกชื่นชอบ

นอกจากนี้ ในการจัดอันดับจากที่เดียวกัน ไทยยังคว้าอันดับ 3 เมืองสำหรับธุรกิจที่ดีที่สุด (Best Business Cities in Asia) ส่วนสายการบินแห่งชาติอย่าง ‘การบินไทย’ ก็ไม่น้อยหน้า ติด Top 3 ประเภทสายการบินที่ดีที่สุดในเอเชีย-แปซิฟิก ด้วยเช่นกัน

ทั้งนี้หากย้อนกลับไปก่อนหน้านี้อีกสักหน่อย นิตยสาร ‘Time Out’ ก็เคยจัดให้ ‘เยาวราช’ ติดอันดับที่ 8 ในหมวดถนนสุดเจ๋งของโลก ที่รายล้อมไปด้วยวัฒนธรรมและสตรีตฟู้ดที่ถูกใจต่างชาติ

เท่านั้นยังไม่พอ ข้อมูลจากเว็บไซต์ ‘Travel Daily News’ ระบุว่า ประเทศไทยเป็นอันดับ 1 ของโลก ด้านสถานบริการเพื่อสุขภาพ (Wellness Retreats) และยังได้รับขนานนามว่าเป็น ‘เมืองหลวงของสปาแห่งทวีปเอเชีย’ อีกด้วย

ข้ามมาทางฝั่งของสถานที่ท่องเที่ยว!! หนังสือพิมพ์ ‘Daily Star’ ของประเทศอังกฤษ ได้เปิดเผยว่า หาดซันไรส์ เกาะหลีเป๊ะ ติดอันดับ 6 และ อ่าวมาหยา เกาะพีพี ติดอันดับ 12 จาก 20 อันดับของชายหาดที่สวยที่สุดในโลก

นอกจากนี้ เว็บไซต์ ‘William Russell’ ซึ่งดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการประกันสุขภาพ ชีวิต และรายได้ ก็จัดอันดับให้เกาะพะงัน เป็นที่ 1 ของโลกในด้านปลายทางเพื่อการ Workation 

มาดูด้านอาหารบ้าง ‘ข้าวซอย’ ก็เป็นหนึ่งในซุปที่อร่อยที่สุดในโลก หรือกระทั่งไส้กรอกอีสาน ไข่เจียวปู ก็อร่อยถูกใจ จนต่างชาติยกให้เป็นสุดยอดสตรีตฟู้ดแห่งเอเชีย

ร่ายมาขนาดนี้ อ่านมาถึงตรงนี้ ก็คงคิดว่า…อวยเกินไปหรือเปล่า!! 

แน่นอนว่า คนไทยอาจจะเฉย ๆ เพราะเราคงคุ้นชินและไม่ได้รู้สึกตื่นเต้นอะไร แต่หากเป็น ‘ชาวต่างชาติ’ ที่อยู่ในไทย ที่ไม่ว่าจะมาท่องเที่ยว พักผ่อนระยะสั้น หรืออยู่ยาว ๆ เขาตื่นเต้นกับสิ่งเหล่านี้ ‘อย่างมาก!!’

จากช่อง YouTube ‘YakcuteTV’ ได้เผยแพร่คลิปวิดีโอความยาว 8.06 นาที โดยเป็นคลิปสัมภาษณ์ความรู้สึกของชาวต่างชาติจากทั่วโลก ที่ได้เข้ามาใช้ชีวิตในประเทศไทย ซึ่งได้ถามหลายคำถาม และได้รับคำตอบหลากมุมที่เมื่อฟังแล้วก็ต้องยิ้มตาม พร้อมยืดอกด้วยความภาคภูมิใจเลยล่ะ

โดยคำถามแรกได้มีการถามถึงความรู้สึกที่อยู่ในประเทศไทยในช่วงล็อกดาวน์ ซึ่งนักท่องเที่ยวหญิงจากประเทศอังกฤษระบุว่า…คนไทยหลายคนที่ได้เจอน่ารักมากจริง ๆ คอยถามตลอดว่าอยากได้อะไรเพิ่มไหม น่ารักมาก นิสัยดีมาก นอกจากนี้เธอยังบอกอีกว่า “บอกตรง ๆ ว่า อยู่ที่นี่ เราได้รับความช่วยเหลือมากกว่าตอนอยู่อังกฤษอีก”

ส่วนชาวต่างชาติผู้ชาย จากประเทศเยอรมนี กล่าวทั้งรอยยิ้มว่า เขาอยู่เมืองไทยตั้งแต่ช่วงต้นปี มีแผนจะไปกัมพูชาและเวียดนาม แต่ดันมาติดอยู่ที่เกาะพะงันช่วงล็อกดาวน์ ถึงแม้ต้องใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา แต่ที่ไทยก็ชิลกว่าที่เยอรมนีหลายเท่า “ดีใจมากที่ได้มาอยู่ประเทศไทย”

ขณะที่นักท่องเที่ยวหญิงชาวอังกฤษ บอกเล่าความประทับใจว่า เธอโชคดีมากที่อยู่เมืองไทย คนไทยให้ความร่วมมือเรื่องโควิด-19 ดีมาก “ทุกคนยอมรับว่ามันแย่ แต่ก็ร่วมมือกันดี การ์ดไม่ตก” 

เมื่อถามว่าชอบที่ไหนมากที่สุดในประเทศไทย นักท่องเที่ยวชายชาวอังกฤษ ตอบคำถามอย่างกระตือรือร้นว่า เขาชอบหลายที่ในประเทศไทย เช่น บางลำพู, สวนรถไฟ, ภูเขาทอง, วัดสระเกศ (เคยพาครอบครัวไป) เขาเที่ยวในเมืองไทยเยอะมาก เช่น กาญจนบุรี, เชียงใหม่, หนองคาย, อุดรธานี, โคราช, เกาะเต่า, เกาะสมุย, เกาะพะงัน, ภูเก็ต ตรัง, ฉะเชิงเทรา พร้อมระบุด้วยว่า “ขอพูดในฐานะคนอังกฤษละกัน อย่างแรกเลย คือ เมืองไทยอากาศดีมากครับ ขณะที่การใช้ชีวิตคนลอนดอนจะยุ่งตลอดเวลา แต่จังหวะชีวิตในเมืองไทยยืดหยุ่นกว่า มีความเป็นมิตร ดูสบายๆ ส่วนธรรมชาติของเมืองไทยนั้นงดงาม เหมาะอย่างยิ่งกับชาวตะวันตกอย่างเรา ๆ ครับ” 

นักท่องเที่ยวหญิงชาวสเปน บอกเล่าว่า ถึงแม้ว่าเธอยังไม่ได้ไปเที่ยวทั่วประเทศไทย แต่ว่าที่ชอบมากๆ คือ เกาะพะงัน, เกาะหลีเป๊ะ เพราะบรรยากาศดี ทะเลสวย น้ำใสราวกับกระจก นอกจากนี้ยังระบุอีกว่า “ผู้คนที่นั่น น่ารักมาก ต้อนรับขับสู้อบอุ่นดีมากค่ะ”

ขณะที่นักท่องเที่ยวชายชาวฝรั่งเศส บอกว่า เขาชื่นชอบหลายเกาะในประเทศไทยมากๆ เช่น เกาะพีพี เกาะเต่า เกาะพะงัน ช่วงที่ล็อกดาวน์ ไม่มีนักท่องเที่ยวเลย ธรรมชาติและสิ่งมีชีวิตได้พักหายใจ ซึ่งดีมาก ๆ 

เมื่อถามว่า ชาวต่างชาติชอบอะไรในเมืองไทย นักท่องเที่ยวสาวชาวอังกฤษ พูดพร้อมรอยยิ้ม ว่า เธอชอบคนไทย เพราะคนไทยเป็นมิตรมาก ๆ ต้อนรับขับสู้ดีมากด้วย อีกทั้งคนไทยไม่เคยตัดสินฉัน และแน่นอนว่า อาหารไทยอร่อยมากค่ะ 

ส่วนนักท่องเที่ยวหนุ่มชาวสหรัฐอเมริกา กล่าวพร้อมกับยิ้มว่า วงการสเก็ตบอร์ดในไทยกำลังเติบโต และเขาชอบเล่นสเก็ตบอร์ดมากๆ อีกทั้งชอบทุกอย่างในประเทศไทย เพราะที่นี่ชิลมาก ๆ และมีคนหลากหลายเชื้อชาติ “ตอนที่อยู่เท็กซัส ไม่ค่อยได้เจอใครใหม่ ๆ เลย แต่พอมาอยู่เมืองไทยได้เจอคนหลากหลายเชื้อชาติเลย”

Sony โยกฐานผลิตเซมิคอนดัคเตอร์จากญี่ปุ่นมาไทย ทุ่มงบ 2.5 พันล้าน สร้างงานได้กว่า 2 พันตำแหน่ง

Sony จะลงทุนราว 2,500 ล้านบาท สร้างโรงงานเซมิคอนดัคเตอร์ในไทย โดยย้ายการผลิตออกจากญี่ปุ่น เพื่อลดต้นทุนการผลิต

(11 พ.ย. 65) Nikkei Asia รายงานว่า การย้ายฐานการผลิตกำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการ โดยคาดว่าโรงงานจะพร้อมดำเนินงานภายในเดือนมีนาคมปี 2025 สามารถสร้างงานได้กว่า 2,000 ตำแหน่ง โรงงานดังกล่าวจะรับหน้าที่ผลิตเซนเซอร์รับภาพที่มีส่วนช่วยให้รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติรับรู้สภาพสิ่งกีดขวางและผู้คนรอบ ๆ

15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 การเลือกตั้งครั้งแรกในประเทศไทย หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

วันนี้เมื่อ 89 ปีที่แล้ว เกิดการเลือกตั้งแรกของประเทศไทย ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สู่ระบอบประชาธิปไตย และเป็นการเลือกตั้งที่เรียกว่า 'เลือกตั้งทางอ้อม' ซึ่งเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวอีกด้วย

พระราชกฤษฎีกากำหนดให้กรมการอำเภอดำเนินการเลือกตั้งผู้แทนตำบล ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม - 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 เพื่อให้ได้ผู้แทนตำบล ซึ่งผู้แทนตำบลนี้จะเป็นผู้เลือกตั้งผู้แทนราษฎรอีกครั้งหนึ่ง โดยแต่ละจังหวัดจะมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ 1 คนต่อราษฎร 200,000 คน

ภายหลังทางการได้ดำเนินการเลือกผู้แทนตำบลเสร็จสิ้นแล้ว จึงได้ดำเนินการเลือกผู้แทนราษฎรในวันที่ 15 พฤศจิกายน ตามกำหนด ผลการเลือกผู้แทนปรากฏว่าได้ผู้แทนราษฎร 78 คน

จับตาวิสัยทัศน์ไทย ชู BCG บนเวที APEC 2022 คนไทยจะได้อะไร? พัฒนาอย่างไรให้สอดคล้อง?

(15 พ.ย. 65) จากเพจ 'โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure' ได้โพสต์ข้อความ ระบุว่า...

คุณรู้รึเปล่าว่า ประชุม APEC ครั้งนี้ มีหัวข้อหลักคือ BCG (Bio-Circular-Green Economy)

แล้วคุณเข้าใจคำว่า BCG รึยัง???

BCG คืออะไร สำคัญอย่างไร ทำไมเป็นหัวข้อหลักของการประชุม APEC แล้วจะมาเกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเทศ และระดับโลกอย่างไร….

วันนี้ขอเกาะกระแส การประชุม APEC ซึ่งเป็นหนึ่งในการประชุมระหว่างประเทศที่มีความสำคัญที่สุดในโลก ซึ่งประเทศที่อยู่ใน APEC มีปริมาณประชากร ถึง 1 ใน 3 ของโลก 

ซึ่งจะมีการจัดประชุมประเทศสมาชิกทุกปี โดยครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 ที่ไทยเราเป็นเจ้าภาพอีกครั้ง หลังจากปี 2546 

แต่สิ่งที่สำคัญมากกว่าการประชุม คือการแสดงวิสัยทัศน์ ของประเทศ 

โดยในการประชุมครั้งนี้ ไทย เรานำเสนอ การพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม เพื่อความยั่งยืน หรือ BCG (Bio-Circular-Green Economy) มาเป็นจุดเชื่อมโยงการพัฒนาในอนาคต

แล้ว BCG คืออะไร คนไทยจะได้อะไร? ประเทศไทยจะพัฒนาอย่างไรให้สอดคล้องกับ BCG

ก่อนอื่น เรามาทำความรู้จัก BCG กันก่อน ซึ่งมาจาก 3 คำคือ Bio Circular Green ซึ่งเป็นการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน แบ่งออกมาเป็นข้อๆ คือ...

- Bio Economy หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ 

เป็นการใช้ทรัพยากรทางชีวภาพ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์ เช่นการแปรรูป สินค้าทางการเกษตร เป็น Bio Plastic ที่ย่อยสลายได้

- Circular Economy หรือ เศรษฐกิจหมุนเวียน

เป็นการนำวัสดุ และผลิตภัณฑ์ ที่ใช้แล้ว กลับมาใช้งานใหม่

- Green Economy หรือ เศรษฐกิจสีเขียว เพื่อสิ่งแวดล้อม

เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่กับการรักษาสิ่งแวดล้อม และพัฒนาสังคม

ซึ่งทั้งหมดนี้ ไทยเรามีพื้นฐานรองรับทั้งหมดแล้ว โดยสอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง (Sustainable Economy) 

โดยการพัฒนา BCG จะมุ่งเน้นการพัฒนาจากทรัพยากรทางธรรมชาติที่มีอยู่เดิม เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้งด้านกระบวนการผลิต และในการนำไปใช้

ซึ่งจะเน้นกับอุตสาหกรรม 4 ด้าน ได้แก่...
- เกษตรและอาหาร 
- สุขภาพและการแพทย์ 
- พลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ 
- การท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์

แล้วปัจจุบัน อุตสาหกรรม BCG มีอะไรเกิดขึ้นแล้วบ้าง??? เรามาดูกันทีละด้านเลย

1. Bio Economy หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ 

- การพัฒนาธุรกิจน้ำตาล จาก อ้อย สู่น้ำตาล แปรรูปเป็น เอทานอล พร้อมกับการสกัดขั้นสูง (Bio Refinery) สู่ Bio Plastics และ Bio Chemical 

- การพัฒนาน้ำมันจากธรรมชาติ (Oleo Chemical) ซึ่งเป็นกระบวนการผลิตที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของไขมันพืชและสัตว์ 

ปัจจุบันนั้นมีการนำไปใช้งานหลากหลายมาก เนื่องจากเป็นสารกลุ่มชนิดที่สามารถย่อยสลายเองได้ตามธรรมชาติ และนำกลับมาใช้ได้อีก จึงเป็นสารชนิดหนึ่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมาก

- การพัฒนาอาหารทดแทนเนื้อสัตว์ (plant base meat)

2. Circular Economy หรือ เศรษฐกิจหมุนเวียน

- การจัดการขยะชุมชน และขยะจากเศษอาหาร เพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงาน

- การแปรรูปขยะพลาสติก เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่นเสื้อผ้า

ททท.เปิดตัวเลขนักท่องเที่ยวทะลุ 7.3 ล้านคน คาดสิ้นปีเป้า 10 ล้าน ไม่พลาดแน่นอน

(16 พ.ย. 65) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เผยตั้งแต่ 1 มกราคม ถึง 26 ตุลาคม 65 มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยแล้ว 7,349,843 ล้านคน และตั้งเป้าไว้ทั้งหมดในปีนี้ราว 10 ล้านคน โดยจำแนกจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติรายเดือนได้ดังนี้...

• มกราคม 133,903 คน

• กุมภาพันธ์ 152,954 คน

• มีนาคม 210,836 คน 

• เมษายน 293,350 คน 

• พฤษภาคม 521,410 คน

‘คิชิดะ - สี จิ้นผิง’ ไว้ใจ ‘ประเทศไทย’ ล็อกหมุดหมายจัดประชุมซัมมิต ‘ญี่ปุ่น-จีน’

ไม่เพียงแค่การประชุม APEC 2022 ที่ประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพ ที่ถือเป็นอีกความภาคภูมิใจของคนไทยทั้งประเทศ ที่ได้โชว์ศักยภาพและความเป็นไทยออกสู่สายตาชาวโลก

แต่ข่าวใหญ่ที่น่าจะเป็นข่าวดีอีกระลอก คือ ประเทศไทยได้รับความไว้วางใจจาก ‘ญี่ปุ่น-จีน’ ให้เป็นเวทีในการจัดประชุมซัมมิตสุดยอดผู้นำระหว่าง ‘ญี่ปุ่น-จีน’ ครั้งแรกในรอบ 3 ปี ในอนาคตอันใกล้อีกด้วย

ทั้งนี้ต้องบอกก่อนว่า ระยะหลังความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นและจีนนั้นไม่ค่อยสู้ดีเท่าไหร่นัก หรือเรียกอีกอย่างคือ ‘ร้าวฉาน’ สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เกิดจากการที่จีนแผ่อิทธิพลและเพิ่มมาตราการทางการทหารอย่างแข็งกร้าวต่อไต้หวัน ประเทศในภูมิภาค รวมถึงแถบโพ้นทะเล

หนำซ้ำ หนึ่งในมิสไซล์ของจีนที่ยิงออกไปเพื่อตอบโต้การเยือนไต้หวันครั้งสำคัญของแนนซี เพโลซี ดันไปตกในเขตเศรษฐกิจจำเพาะทางทะเลญี่ปุ่นอีกด้วย 

นอกจากนี้ จีนยังได้มีการเคลื่อนไหวรอบๆ หมู่เกาะพิพาทเซ็งกากุ (Senkaku Islands) หรือหมู่เกาะเตียวหยูในภาษาจีน ซึ่งหมู่เกาะนี้อยู่ในการครอบครองของญี่ปุ่น แต่จีนกลับอ้างสิทธิ

เท่านั้นยังไม่พอ จุดยืนในการเมืองโลกของทั้งสองประเทศก็ต่างกันอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากญี่ปุ่นสนับสนุนยูเครนร่วมกับพันธมิตรชาติตะวันตก แต่จีนยืนหยัดเคียงข้าง ‘รัสเซีย’ ซึ่งถือเป็นคู่ขัดแย้งโดยตรงของยูเครนและชาติตะวันตก 

ผลบวกเน้นๆ 'กระตุ้นศก. - หนุน Soft Power' โอกาสที่ไทยจะได้จากการประชุมเอเปคหนนี้

(18 พ.ย. 65) The World Echo ได้เผยข้อมูลประโยชน์ที่คนไทยจะได้รับผ่านการประชุมเอเปคครั้งนี้ ว่า…

หลายคนอาจสงสัยในฐานะที่ไทยเป็นเจ้าภาพ จัดงานเลี้ยงอย่างใหญ่โตด้วยเงินภาษีของประชาชน แล้วประชาชนอย่างเรา ๆ จะได้ประโยชน์อะไรจากงานนี้ ขอสรุปเป็นข้อ ๆ...

ข้อแรก-การจัดงานจะส่งผลช่วยเศรษฐกิจไทย ทั้งรายย่อยและรายใหญ่ หลังการระบาดของโควิด 19  เรื่องนี้นับเป็นประโยชน์ที่คนไทยจะได้รับทั่วหน้า โดยเฉพาะด้านธุรกิจการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นตัวหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

ข้อสอง-นี่คือช่องทางให้ไทยได้แสดงศักยภาพและความพร้อม ในการจัดการประชุมระดับโลก หลังการระบาดของโควิด-19 ซึ่งทั้งโลกอยู่ในภาวะซบเซา โดยเฉพาะครั้งนี้เป็นการประชุมแบบพบปะกัน ไม่ใช่เป็นการประชุมแบบออนไลน์


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top