Tuesday, 30 April 2024
ประเทศไทย

‘ไทย’ เตรียมดัน ‘FTAAP’ ในการประชุม APEC 2022 สร้างเขตการค้าเสรีใหญ่ที่สุดในโลก พาศก.ไทยโตหลายมิติ

(18 พ.ย. 65) นายอนุชา บรูพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ในการประชุมเอเปกวันที่ 17-19 พฤศจิกายน 2565 นี้ จะมีการประชุมประเด็น เขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก หรือ Free Trade Area of the Asia-Pacific (FTAAP) ซึ่งรัฐบาลได้ประชุมและร่างถ้อยแถลงร่วมรัฐมนตรีเอเปก ครอบคลุมประเด็นสำคัญ 47 หัวข้อ ซึ่งแบ่งเป็น 3 ประเด็นหลัก คือ 

1.) การเปิดกว้างต่อทุกโอกาส 
2.) การเชื่อมโยงในทุกมิติ 
และ 3.) ความสมดุลในทุกด้านในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ FTAAP

นายอนุชา กล่าวว่า นอกจากนี้ ไทยจะเสนอแผนงานขับเคลื่อน FTAAP ได้รวบรวมประเด็นที่สมาชิกเอเปกสนใจร่วมกัน ทั้งการค้าดั้งเดิม การค้าใหม่และการฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยตั้งเป้าหมายของ FTAAP เพื่อขยายการค้าการลงทุนภายในเอเชีย-แปซิฟิก รวมทั้งลดอุปสรรคการค้าการลงทุนที่ไม่จำเป็น และเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของสมาชิกเอเปก และลดช่องว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจการค้าระหว่างกัน ทั้งนี้ ปัจจุบันกำลังทำแผนงาน FTAAP ระยะ 4 ปี (2566-2569) ที่มุ่งสู่การจัดทำ FTAAP เพื่อตอบสนองสถานการณ์เศรษฐกิจโลก ด้านการค้า การลงทุน นวัตกรรม การเข้าสู่ยุคดิจิทัล

'ไทย-ซาอุฯ' ย้ำสัมพันธ์!! ร่วมมือทวิภาคีใน 'ทุกด้าน-ทุกระดับ' ด้าน ซาอุฯ ยาหอม พร้อมอยู่เคียงข้างไทยในทุกโอกาส

นายกฯ เข้าเฝ้าฯ หารือกับมกุฎราชกุมารและนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย พร้อมต่อยอดความสัมพันธ์และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกันในทุกด้าน ในโอกาสนี้ ซาอุดีฯ ย้ำพร้อมอยู่เคียงข้างไทยในทุกโอกาส

เมื่อเวลา 22.40 น. ของคืนวันที่ 18 พ.ย.65 ณ ตึกสันติไมตรี (หลังใน) ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เข้าเฝ้าฯ หารือทวิภาคีกับเจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อาล ซะอูด (His Royal Highness Prince Mohammed bin Salman bin Abdulaziz Al Saud) มกุฎราชกุมาร และนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ในโอกาสเยือนไทยอย่างเป็นทางการ และ ในฐานะแขกพิเศษของการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ปี 2565 

นอกจากนี้ ทางซาอุดีอาระเบีย ยังประกอบไปด้วย รัฐมนตรีกระทรวงต่างๆ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นเจ้าชาย (พี่น้อง) ที่มกุฎราชกุมาร และนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ทรงวางพระทัยให้ดูแลงานในเป็นแต่ละกระทรวง ได้แก่...

เจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะชีช อาล ซะอูด (His Royal Highness Prince Mohammed bin Salman bin Abdulaziz Al Saud) มกุฎราชกุมารและนายกรัฐมนตรีราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย (แขกพิเศษที่รัฐบาลไทยเชิญเข้าร่วม)

เจ้าชายอับดุลอะชีช บิน ซัลมาน บิน อับตุลอะชีข อาล ซะอูด (His Royal Highness Prince Abdulaziz bin Salman bin Abdulaziz Al Saud) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน

เจ้าชายตุรกิ บิน มุฮัมมัด บิน ฬะฮัด บิน อับดุลอะชีซ อาล ซะอุด (His Royal Highness Prince Turki bin Muhammed bin Fahd bin Abdulaziz Al Saud) รัฐมนตรีแห่งรัฐและสมาชิกคณะรัฐมนตรี

เจ้าชายอับตุลอะซีช บิน ซะอุด บิน นายิฟ บิน อับตุลอะซีซ อาล ซะอูด (His Royal Highness Prince Abdulaziz bin Saud bin Naif bin Abdulaziz Al Saud) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

เจ้าชายอับดุลเลาะฮ์ น บันดัร บิน อับดุลอะซีซ อาล ซะอูด (His Royal Highness Prince Abdullah bin Bandar bin Abdulaziz Al Saud) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการรักษาดินแดน

เจ้าขายซะอูด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อาล ซะอูด (His Royal Highness Prince Saud bin Salman bin Abdulaziz Al Saud)

เจ้าขายฟัยอล บิน ฟัรฮาน บิน อับดุลเลาะฮ์ อาล ซะอุด (His Highness Prince Faisal bin Farhan bin
Abdullah Al Saud) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

โดยขณะเดียวกัน ในการหารือประกอบด้วยบุคคลสำคัญของไทย ได้แก่...

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข 

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ 

นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ 

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน 

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา 

นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 

พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย 

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม 

นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 

ม.ล. ชโยทิต กฤดากร ผู้แทนการค้าไทย 

นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี 

และนายดิสทัต โหตระกิตย์ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี

นายกรัฐมนตรี กล่าวซาบซึ้งสำหรับการตอบรับการเสด็จพระราชดำเนินเยือนไทยอย่างเป็นทางการ และการตอบรับเข้าร่วมการประชุมเอเปค ในฐานะแขกพิเศษของไทย พร้อมกล่าวถวายพระพรชัยมงคลแด่สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย และแสดงความยินดีที่มกุฎราชกุมารแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียทรงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี 

โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีย้ำถึงความพร้อมของไทยที่จะทำงาน เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างทั้งสองประเทศ โดยยินดีที่ความร่วมมือทวิภาคีในทุกด้านมีความคืบหน้า และมีการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างกันในทุกระดับ

ขณะที่มกุฎราชกุมาร และนายกรัฐมนตรีแห่งซาอุดีอาระเบีย มีพระราชดำรัสตอบว่า ระหว่างที่นายกรัฐมนตรีเดินทางเยือนซาอุดีฯ เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ได้หารือในประเด็นต่างๆ และมีการทำข้อตกลงที่ทั้งสองฝ่ายให้ความสำคัญ ซึ่งผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการรื้อฟื้นความสัมพันธ์ระหว่างกันจะทำให้เกิดประโยชน์ร่วมกันอีกมาก โดยซาอุดีฯ ให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์และความร่วมมือในด้านต่างๆ กับไทย อาทิ การลงทุน สาธารณสุข และโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น

ความสัมพันธ์ 'ไทย-ฝรั่งเศส' จากอดีตถึงปัจจุบัน สู่การยกระดับหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ในปี 2024

จากภาพปรากฏตั้งแต่ นายเอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส ก้าวเท้าเข้าสู่ทำเนียบและเข้าทักทายนายกรัฐมนตรีของไทย ด้วยความจริงใจและดูนอบน้อม ในฐานะแขกรับเชิญคนสำคัญจากประเทศไทยเพื่อร่วมการประชุม APEC 2022 หนนี้

ยิ่งทำให้รู้สึกถึงแนวโน้มอันดีงามในการหารือแบบทวิภาคีของ ‘ไทย-ฝรั่งเศส’ โดยเฉพาะในแง่ของความคืบหน้าการยกระดับสถานะความสัมพันธ์สู่การเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ (Strategic Partner) ระหว่างกันภายในปี ค.ศ. 2024 

โดยเชื่อว่า ‘ไทย-ฝรั่งเศส’ จะได้มีการเผยแพร่ถ้อยแถลงข่าวร่วม (Joint Press Statement) ซึ่งมีสาระสำคัญเกี่ยวกับความร่วมมือเร่งด่วนที่ทั้งสองฝ่ายจะดำเนินการก่อนตามแผนการ (Roadmap) สำหรับการดำเนินความสัมพันธ์ไทย-ฝรั่งเศส (2022-2024) ที่ได้ลงนามเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ กรุงปารีส ภายใต้ 5 เสาหลัก ได้แก่... การเมืองและความมั่นคง เศรษฐกิจ ประชาชน และประเด็นระดับโลก 

ภาพความสัมพันธ์ในอนาคตระหว่าง ‘ไทย-ฝรั่งเศส’ จะเป็นเช่นไร อาจจะยังตอบแบบชัดๆ ได้ยาก แต่ถ้าย้อนไปตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ต้องขอบอกว่า ไทยและฝรั่งเศส มีการเจริญสัมพันธไมตรีอันดีต่อกันในหลายด้านแล้วด้วย

>> ด้านการทูต : พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ได้ส่งราชทูตมาเจริญสัมพันธไมตรีในปี 2228 ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและฝรั่งเศสพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทั้ง 2 ประเทศได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต โดยการลงนามในสนธิสัญญาทางไมตรีทางการค้าและการเดินเรือ (Treaty - of Friendship, Commerece and Navigation) เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2399 

>> ด้านการเมือง : ดำเนินไปด้วยความราบรื่น ไม่มีปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างไทยและฝรั่งเศสได้รับการยกระดับเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างกัน โดยมีแผนปฎิบัติการร่วมไทย - ฝรั่งเศส ความร่วมมือทั้ง 2 ฝ่ายมีผลประโยชน์ร่วมกัน และสามารถปฎิบัติได้จริงในช่วง 5 ปี ครอบคลุมทั้งด้าน เศรษฐกิจ การเมือง และความร่วมมือระหว่างประเทศ ฯลฯ

>> ด้านเศรษฐกิจ : มีการส่งออกของไทย และสินค้าที่นำเข้าจากฝรั่งเศสหลายประการ ได้แก่...
- สินค้าส่งออกของไทย ได้แก่ เลนส์แว่นตา เครื่องนุ่งห่ม อัญมณี เครื่องประดับ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ข้าว
- สินค้านำเข้าจากฝรั่งเศส ได้แก่ เครื่องบินแอร์บัส เครื่องร่อน อุปกรณ์การบินและส่วนประกอบ เครื่องสำอาง

>> ด้านการร่วมมือด้านการค้า : ในภาครัฐ มีคณะทำงานร่วมด้านการค้าไทย-ฝรั่งเศส และมีการจัดทำข้อตกลงการหารือของเจ้าหน้าที่ระดับสูงด้านเศรษฐกิจระหว่างไทยกับฝรั่งเศส (The High Level Economic Dialogue between Thailand and France) ปี 2553-2557 ภายใต้แผนปฏิบัติการร่วมไทย-ฝรั่งเศส ฉบับที่ 2 เพื่อเป็นกรอบความร่วมมือและส่งเสริมผลประโยชน์ด้านการค้าและการลงทุน ระหว่างสองประเทศทั้งในกรอบทวิภาคี ภูมิภาค และพหุภาคี รวมทั้งเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความเห็นเพื่อแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุนระหว่างกัน ซึ่งกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้รับผิดชอบ

>> ด้านการทหารและความมั่นคง : ไทยและฝรั่งเศสมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดผ่านกิจกรรมและโครงการที่สำคัญ เช่น ความร่วมมือด้านการฝึกปฎิบัติการร่วมทางเรือ การแลกเปลี่ยนการเยือนของนายทหารในระดับผู้นำเหล่าทัพและผู้บังคับบัญชาระดับสูง และการลงนามข้อตกลงด้านการป้องกันประเทศระหว่างรัฐบาลไทย กับรัฐบาลฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2556 ซึ่งครอบคลุมความร่วมมือด้านการวิเคราะห์ยุทธศาสตร์ การวิจัยและการพัฒนา การทหาร การส่งกำลังบำรุง และความร่วมมือด้านยุทโธปกรณ์

จากอดีต มาสู่ปัจจุบัน ซึ่งหากลองพิจารณาถึงการยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างไทยและฝรั่งเศส (2022 - 2024) ที่ลงนามไว้เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา ภายใต้ 5 เสาหลัก ได้แก่ ด้านการเมืองและความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจ ด้านประชาชน และประเด็นประดับโลกนั้น จะมีความน่าสนใจใดให้ติดตามต่อบ้าง...

>> ด้านการเมืองและความมั่นคง : ทั้ง 2 ฝ่ายพร้อมจัดตั้งกลไกการเจรจา 2+2 (กระทรวงการต่างประเทศ + กระทรวงกลาโหม) การสนับสนุนความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ รวมถึงการจัดทำความตกลงการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางราชการระหว่างไทยกับฝรั่งเศสโดยเร็ว เพื่อสนับสนุนการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูง สำหรับด้านความมั่นคง นายกรัฐมนตรียินดีกับความร่วมมือทางการทหารที่ใกล้ชิด บนพื้นฐานของความเชื่อมั่นและไว้วางใจ ตลอดจนยินดีที่ฝรั่งเศสให้ความสำคัญกับภูมิภาคอินโด -แปซิฟิกรวมถึงไทย โดยนายกรัฐมนตรีพร้อมเร่งรัดการจัดตั้งกลไกการหารือ 2+2 dialogue ไทย - ฝรั่งเศส เพื่อหารือในประเด็นท้าทายด้านความมั่นคง ด้านประธานาธิบดีฝรั่งเศสเห็นว่า ไทยกับฝรั่งเศสมีศักยภาพที่จะเพิ่มพูนความร่วมมือด้านความมั่นคง โดยเฉพาะการส่งเสริมความเชื่อใจและความใกล้ชิดระหว่างทหารของทั้งสองฝ่าย การสร้างฐานอุตสาหกรรมในประเทศไทยการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการวิจัยทางทะเล เป็นต้น

>> ด้านเศรษฐกิจ : ทั้ง 2 ฝ่ายยินดีกับความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง โดยเห็นพ้องกันว่า ทั้ง 2 ฝ่ายยังมีศักยภาพที่จะขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกันได้อีกมาก ซึ่งรัฐบาลไทยได้ปรับนโยบายที่เน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ผ่านโมเดลเศรษฐกิจ BCG ซึ่งสอดคล้องกับแผนปฏิรูปสีเขียวของ EU จึงเป็นโอกาสดีที่ทั้งสองฝ่ายจะสนับสนุนการส่งออกสินค้าสิ่งแวดล้อมและการลงทุนในธุรกิจสีเขียว ไทยร่วมกับสมาชิกเขตเศรษฐกิจเอเปกลดอัตราภาษีนำเข้าทั่วไปสำหรับรายการสินค้าสิ่งแวดล้อมจำนวน 54 รายการ นายกรัฐมนตรีจึงเชิญชวนให้ฝรั่งเศสใช้ประโยชน์จากนโยบายดังกล่าว ด้านประธานาธิบดีฝรั่งเศสพร้อมมีความร่วมมือกับไทยในด้านการผลิตและพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และเกษตรกรรม ตลอดจนพร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการพัฒนา EEC

>> ด้านประชาชน : ทั้ง 2 ฝ่ายย้ำความสำคัญของการเดินทางที่ปลอดภัยโดยส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งในภูมิภาค การเพิ่มพูนการฝึกอบรมวิชาชีพและการศึกษาให้บุคลากรไทยเพื่อรองรับการขยายตัวทางธุรกิจของฝรั่งเศส และยินดีที่ปีหน้ากำหนดให้เป็นปีแห่งนวัตกรรมไทย - ฝรั่งเศส ค.ศ. 2023 (พ.ศ. 2566)

>> ด้านการศึกษาและวิชาการ : ไทยกับฝรั่งเศสมีความร่วมมือในด้านการศึกษามาอย่างยาวนาน โดยประธานาธิบดีฝรั่งเศสพร้อมสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนนักศึกษา นักวิชาการ และนักวิจัยระหว่างกันมากขึ้น ซึ่งในปีหน้าคาดว่าทั้งสองฝ่ายจะสามารถลงนามในความตกลงด้านการศึกษาระหว่างกันได้ ซึ่งจะทำให้ความร่วมมือของทั้งสองประเทศมีความใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น

>> สำหรับประเด็นเร่งด่วนระดับโลก : เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การสร้างความหลากหลายทางชีวภาพ การรับมือกับโรคระบาดรวมถึงย้ำความเป็นหุ้นส่วนที่จะร่วมมือกับประชาคมโลกในการแสวงหาทางออกที่สันติผ่านการหารือต่อความขัดแย้งในภูมิภาคต่างๆ รวมถึงสถานการณ์ในยูเครนและในเมียนมา เพื่อลดผลกระทบที่มีต่อความมั่นคงด้านอาหารและพลังงานของโลกรวมถึงการเร่งบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยังยืนของสหประชาชาติภายในปี ค.ศ. 2030 (พ.ศ. 2573)

‘สี จิ้นผิง’ กล่าวสุนทรพจน์แนะนำ 4 ประการ สร้างความรุ่งโรจน์ใหม่ของความร่วมมือแห่งเอเชียแปซิฟิก

เมื่อวันที่ 18 พ.ย. 65 นาย ‘สี จิ้นผิง’ ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนได้กล่าวสุนทรพจน์ในที่ประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจ APEC ครั้งที่ 29 ในหัวข้อ ‘สามัคคี ร่วมมือ และกล้ารับผิดชอบ เพื่อประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของเอเชียแปซิฟิก’ 

โดยนายสี จิ้นผิงได้กล่าวขอบคุณ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของไทย ที่ตั้งใจและใช้ความพยายามเพื่อเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปคในครั้งนี้

ทั้งนี้ยังได้กล่าวถึง สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เกิดขึ้นซ้ำหลายระลอกและจะยืดเยื้อต่อไป การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกกำลังเผชิญกับความท้าทายต่างๆ ลัทธิฝ่ายเดียวและลัทธิคุ้มครองได้ทวีความรุนแรง ห่วงโซ่การผลิตและห่วงโซ่อุปทานของโลกได้รับผลกระทบ ปัญหาภาวะเงินเฟ้อ ความปลอดภัยด้านธัญญาหาร ความมั่นคงด้านพลังงาน รวมถึงปัญหาอื่นๆ มีความซับซ้อนและรุนแรงอย่างหนัก

โดยนายสี จิ้นผิงได้กล่าวเสนอแนะ 4 ประการ เพื่อสร้างความรุ่งโรจน์ใหม่ของความร่วมมือแห่งเอเชียแปซิฟิก ดังนี้

ประการแรก ปกป้องความยุติธรรมและความเที่ยงธรรมระหว่างประเทศ สร้างสรรค์เอเชียแปซิฟิกให้มีสันติภาพและความมั่นคง

ประการที่สอง ยึดมั่นในความเปิดกว้าง สร้างสรรค์เอเชียแปซิฟิกให้มีความมั่งคั่งร่วมกัน

ประการที่สาม ยึดมั่นในการพัฒนาสีเขียวและคาร์บอนต่ำ สร้างสรรค์เอเชียแปซิฟิกให้สะอาดและสวยงาม

ประการที่สี่ เราต้องยึดมั่นในการร่วมทุกข์ร่วมสุข สร้างสรรค์เอเชียแปซิฟิกให้สนับสนุนและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

‘สี จิ้นผิง’ เยือนทำเนียบฯ หารือความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ไทย - จีน พร้อมพัฒนาความมั่นคง โครงสร้างพื้นฐาน และรถไฟไทย-จีน

วันที่ 19 พ.ย. 65 ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง และศาสตราจารย์เผิง ลี่หยวน ภริยา ได้ลงนามในสมุดเยี่ยมและชมของที่ระลึก ณ บริเวณโถงกลาง ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กห. ให้การต้อนรับ

โดยการเยือนไทยของประธานสีในรอบนี้ นับว่าเป็นการเยือนไทยครั้งแรกในรอบ 11 ปี และเป็นการเยือนครั้งแรกนับตั้งแต่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี

ทั้งสองร่วมกันหารือถึงการกระชับความสัมพันธ์และความร่วมมือ โดยนายกฯ ฝ่ายไทย เสนอให้เสริมสร้างปฏิสัมพันธ์ และหารือยุทธศาสตร์ในระดับสูงอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงกระชับความร่วมมือในด้านความมั่นคง

‘บิ๊กตู่’ ปลื้ม!! IMF ชี้ เศรษฐกิจไทยขยายตัว ท่ามกลางการชะลอตัวของทั่วโลก

เมื่อวันที่ 21 พ.ย. 65 น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ได้รับทราบถึงรายงานที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ประมาณการเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ร้อยละ 3.7 ในปี 2566 จากร้อยละ 2.8 ในปีนี้ พร้อมกับคาดว่าการว่างงานของไทยจะอยู่ในอัตราต่ำที่สุดในเอเชียแปซิฟิกที่ 1.0% โดยไทยเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศในเอเชียที่ IMF มองว่าเศรษฐกิจจะยังขยายตัวได้ท่ามกลางการชะลอตัวของทั่วโลกที่เผชิญกับความท้าทายจากภาวะเงินเฟ้อ และต้นทุนการครองชีพที่สูงขึ้น

นายกรัฐมนตรี ยินดีกับผลการประเมินของ IMF และเห็นว่าความชัดเจนของนโยบายรัฐบาลมีผลสำคัญอย่างยิ่งต่อประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจไทยขององค์กรทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งนับแต่สามารถจัดการกับสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ให้อยู่ภายใต้การควบคุมได้ รัฐบาลได้เร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจโดยเฉพาะการเตรียมภาคการท่องเที่ยวซึ่งเป็นภาคเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่ แรงงานจำนวนมากให้พร้อมรับนักท่องเที่ยว การมีมาตรการดึงดูดนักลงทุน เปิดพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ๆ มาตรการดึงดูดผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มศักยภาพสูงเข้าสู่ประเทศไทย

'สี จิ้นผิง' เข้าเฝ้าฯ 'ในหลวง-พระราชินี' พร้อมกราบบังคมทูลจะทำงานร่วมกับไทยต่อไป เพื่อสานสายสัมพันธ์พิเศษที่ใกล้ชิดสนิทสนมดั่งเครือญาติของทั้งสองประเทศ

ฮวา ชุนอิง ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของจีน ได้โพสต์รูปภาพนายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ขณะเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีของไทย พร้อมข้อความผ่าน Twitter โดยระบุว่า…

เบอร์ 2 AWS พบ ‘บิ๊กตู่’ ตอกย้ำลงทุนในไทย 1.9 แสนล้าน ช่วยขับเคลื่อนศก.ดิจิทัลไทย สอดรับกลยุทธ์ 3 แกน

รัฐบาลไทย ปลื้ม!! เบอร์ 2 AWS เยือนไทย ชี้ ความร่วมมือกับ AWS (Amazon web service) ผู้ให้บริการระบบคลาวด์ชั้นนำของโลก จะทำให้ไทยยกระดับโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์ระดับโลกที่ปลอดภัยและยืดหยุ่นมาสู่ประเทศ สอดคล้องกับภารกิจในการนำดิจิทัลเทคโนโลยีมาส่งเสริมกิจการของประเทศ ภายใต้ 3 แกนกลยุทธ์ ที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เคยได้กล่าวไว้

ไมเคิล พังก์ รองประธานด้านนโยบายสาธารณะ เอมะซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (Amazon Web Services: AWS) / (Mr.Michael Punke, Global Vice President, Public Policy AWS : ยืนข้างนายกรัฐมนตรี) เปิดเผยว่า การกำกับดูแลเป็นเรื่องท้าทายของรัฐบาลทั่วโลก โดยบทบาทของรัฐบาลต้องทำให้เรื่องซับซ้อนนั้นง่ายขึ้น และจัดการปัญหาให้เล็กลง เช่น การคุ้มครองด้านความปลอดภัย และความเป็นส่วนตัว ดังนั้นรัฐบาลต้องมีการพูดคุยเพื่อหาทางออกร่วมกันกับภาคเอกชน

"สำหรับภูมิภาคนี้มีศักยภาพ รัฐบาลจะต้องให้ธุรกิจเทคโนโลยีสามารถทำงานได้ตามข้อบังคับ เพื่อที่ทำให้ผู้บริโภคมั่นใจว่าพวกเขาสามารถไว้ใจแบรนด์ไหนได้บ้าง เพราะการทำให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นในเทคโนโลยีของเรา เป็นพื้นฐานที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใด ที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าหลายอย่างถูกใช้ในทางที่ผิด โดยเฉพาะเรื่อง Data localization มีผลสำรวจว่า ประเทศที่มีข้อบังคับเรื่องนี้มากเกินไป มีค่าใช้จ่ายด้านไอทีเพิ่มขึ้น 30% ด้วยต้นทุนขนาดนี้ ดังนั้นจึงยากมากที่จะสร้างการแข่งขันได้ในระดับโลก"

พังก์ กล่าวอีกว่า สำหรับ AWS เทคโนโลยีคลาวด์เป็นพื้นฐานของการสร้างนวัตกรรม คลาวด์เป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาได้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม โดย ปัญญาประดิษฐ์ (AI) อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT) การเรียนรู้ของเครื่องจักร (machine learning) และ 5G เทคโนโลยีเหล่านี้ต่างดำรงอยู่ได้เพราะมีระบบคลาวด์รองรับทั้งสิ้น

ทั้งนี้การประกาศแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์ของ AWS ได้มีการเผยงบลงทุนในไทยราว 1.9 แสนล้านบาท เป็นการเปิดตัว Region ในประเทศไทย ภายใต้ชื่อ AWS เอเชียแปซิฟิก (กรุงเทพฯ) เพื่อให้ลูกค้าสามารถใช้งานและจัดเก็บข้อมูลในประเทศไทยได้อย่างปลอดภัย

โดย AWS Asia Pacific (Bangkok) จะประกอบด้วย Availability Zone 3 แห่ง ซึ่งเพิ่มเติมจาก Availability Zone ของ AWS ที่มีอยู่แล้ว 87 แห่งใน 27 ภูมิภาคทั่วโลก

นอกจากนี้ AWS ได้ประกาศแผนที่จะสร้าง Availability Zone ทั่วโลกอีก 24 แห่งและ AWS Region อีก 8 แห่งในออสเตรเลีย, แคนาดา, อินเดีย, อิสราเอล, นิวซีแลนด์, สเปน, สวิตเซอร์แลนด์ รวมถึงประเทศไทย AWS Region ที่กําลังจะมีขึ้นในประเทศไทย

โดยการลงทุนในครั้งนี้ จะช่วยให้นักพัฒนา สตาร์ตอัพ และองค์กรต่างๆ รวมถึงภาครัฐ, การศึกษา และองค์กรไม่แสวงผลกําไร สามารถเรียกใช้แอปพลิเคชันของตนและให้บริการผู้ใช้ปลายทางจากศูนย์ข้อมูล AWS ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย เพื่อให้ลูกค้าที่ต้องการเก็บข้อมูลของตนไว้ในประเทศไทยสามารถทําได้ โดยส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นที่ AWS มีต่อภูมิภาคนี้ AWS วางแผนที่จะลงทุนมากกว่า 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ (หรือ 1.9 แสนล้านบาท) ในประเทศไทยในระยะเวลา 15 ปี

'คนขายปลา' อึ้ง!! คนเขียนเยาะเย้ยชาติไทย เป็นคนไทย กรณีเพจบอลใส่ธงคอสตาริกาผิด เป็น ธงไทย

(24 พ.ย.65) นายนิธิพัฒน์ พันธุ์ธุมจินดา ผู้จำกัดนิยามตนเองว่าเป็น 'คนขายปลา' ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก 'Nithipat Bhandhumachinda' ว่า...

มีเพจบอลต่างประเทศเพจหนึ่งรายงานผลบอลคู่  สเปน กับ คอสตาริกา แล้วใส่ธงคอสตาริกา ผิด เป็นธงไทย เพราะมีความคล้ายคลึงกัน

ในช่องความเห็นก็มีชาวต่างชาติหลายๆ ท่านมาเขียนเตือนว่าใช้ภาพธงผิด เพราะนี่คือธงไทย แล้วผมก็สะดุดตากับความเห็นบางความเห็น เช่นเขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า ไม่ใช่ทีมไทยหรอก เพราะถ้าเป็นทีมไทยคงจะแพ้สเปน เฉียด ๆ ร้อยศูนย์

ก็คิดในใจว่า คนเขียนความเห็นเป็นคนชาติไหนถึงดูถูกประเทศไทยกลางบอร์ดนานาชาติเยี่ยงนั้น

‘นายกฯ’ ปลื้ม!! ยอดนักท่องเที่ยวในประเทศ ถึงสิ้น ต.ค.65 พุ่งแตะ 200 ล้านคน

โฆษกรัฐบาล เผย ยอดนักท่องเที่ยวในประเทศถึงสิ้น ต.ค. 65 พุ่งแตะ 200 ล้านคน นายกฯ ปลื้มไทยเที่ยวไทยมากขึ้น ช่วยอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในประเทศกลับมาคึกคักอีกครั้ง

(25 พ.ย. 65) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รับทราบข้อมูลและยินดีที่ตัวเลขนักท่องเที่ยวไทยเที่ยวในประเทศ ตั้งแต่ต้นปี 2565 ถึงสิ้นเดือน ต.ค. 2565 มีคนไทยเที่ยวไทยมากถึง 200 ล้านคน-ครั้งแล้ว ขณะที่ตัวเลขก่อนโควิดในปี 2562 คนไทยเที่ยวไทยอยู่ที่ 222 ล้านคน-ครั้ง จากเดิมที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ตั้งเป้าคนไทยเที่ยวไทย ปี 2565 ไว้ 160 ล้านคน-ครั้ง โดย ททท. เตรียมทบทวนเป้าหมายนักท่องเที่ยวไทยเที่ยวในประเทศใหม่ เพราะคาดว่าตัวเลขจะสูงกว่าช่วงก่อนโควิด ขณะที่รายได้ของตลาดไทยเที่ยวไทย ททท. คาดว่าจะแตะ 8 แสนล้านบาท จากเดิมตั้งไว้ 6.56 แสนล้านบาท เนื่องจากคนไทยมีความต้องการเดินทางเที่ยวในประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะการเดินทางเที่ยวแบบครอบครัวและการประชุมสัมมนา


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top