Saturday, 26 April 2025
NEWS

ศ.นพ.ยง แสดงความเห็นกรณีแพทย์รุ่นน้อง bully แพทย์รุ่นพี่

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ข้อโต้แย้งวัคซีนไข้หวัดใหญ่ กับ Hippocratic Oath

มีเสียงวิจารณ์กันมากในสื่อสังคม ในฐานะที่เป็นกลาง และพยายามให้ความรู้ ที่เกิดจากงานวิจัยของเรามาโดยตลอด เมื่อได้รับฟังในสื่อสังคม ก็อดไม่ได้ ที่อยากจะให้ความคิดเห็นของแพทย์รุ่นพี่ ที่รุ่นน้องเรียกว่าลุง

ต้องยอมรับก่อนว่า วัคซีนป้องกันโรคทางเดินหายใจไม่ว่าจะเป็นไข้หวัดใหญ่ หรือโควิด 19 ที่มีระยะฟักตัวสั้น และมีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์อยู่ตลอดเวลา ประสิทธิภาพของวัคซีน ไม่ได้สูงอย่างวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี หรือวัคซีนป้องกันหัด และป้องกันโรคต่างๆ ในเด็กเล็ก วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ป้องกันการติดเชื้อได้ต่ำมาก แต่เชื่อว่าลดความรุนแรงของโรค ลดการนอนโรงพยาบาล

ปีที่แล้วผมได้ฉีดวัคซีนให้กับลูกหลานทุกคน แต่ก็ติดไข้หวัดใหญ่เกือบทุกคน แต่ไม่มีใครนอนโรงพยาบาลเลย ผมเองก็ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่มามากกว่า 20 ปีแล้วไม่เคยขาด แต่ก็เป็นไข้หวัดใหญ่ ปีเว้น 1 หรือ 2 หรือ 3 ปีมาโดยตลอดเหมือนกัน แต่ก็ไม่เคยนอนโรงพยาบาล ด้วยเรื่องไข้หวัดใหญ่ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ มีประสิทธิภาพในสถานการณ์จริงในการลดการนอนโรงพยาบาล 40-60% เท่านั้น

ถ้าถามว่า ปีนี้จะฉีดให้กับลูกหลานและตัวเองหรือไม่ ตอบได้เลยว่า “ฉีด” อีก ทั้งนี้เพราะวัคซีนไข้หวัดใหญ่เป็นวัคซีนที่ปลอดภัย ใช้กันมานานมาก และมีราคาไม่แพง ซึ่งตรงข้ามกับวัคซีนโควิด 19 ถ้าถามว่าจะฉีดไหม ผมตอบได้เลยว่า “ไม่ฉีด” โรคโควิด 19 ขณะนี้ไม่ต่างเลยกับไข้หวัดใหญ่ ที่ไม่ฉีดก็เพราะว่าวัคซีนมีราคาแพงมาก แพงกว่าวัคซีนไข้หวัดใหญ่มากกว่า 10 เท่า และอาการข้างเคียงก็มีมากกว่า ถึงจะเป็นเด็กเล็กที่ยังไม่เคยเป็นมาเลยก็ไม่ฉีด เมื่อก่อนที่ฉีด ก็เพราะโรคในความรุนแรงลงปอดได้สูงมาก ปัจจุบันเปลี่ยนไป ตามวิวัฒนาการ และเป็นเหตุที่ทำให้วัคซีนโควิด 19 จึงเลิกผลิตกันถึงเกือบหมด วัคซีน mRNA ที่มีการชื่นชอบกันมากในช่วงของโควิด 19 มีการศึกษาระยะสั้นเร่งด่วน ขณะนี้ก็ไปไม่รอด แนวโน้มก็คงจะเลิกผลิตทั้งหมด

งานทางด้านวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะการศึกษาวิจัย ถ้าสมมติทำการศึกษาวิจัย 10 โครงการ แน่นอนใน 10 โครงการนั้นมีทั้งโครงการที่ให้ผลบวกและผลลบ แล้วแต่ใครจะหยิบโครงการไหนมาพูด จึงเป็นเหตุหนึ่งที่ผมให้ความรู้ จะใช้จากงานวิจัยที่เราได้ทำ โดยเฉพาะทำในประเทศไทย สังคมไทย มากกว่าที่จะอ่านวารสารมาให้ฟัง และไม่เคยทำวิจัยในเรื่องนั้นเลย สิ่งที่สำคัญก็คือบางครั้งแค่อ่านหนังสือได้ ไม่ได้วิเคราะห์หรืออ่านหนังสือเป็น ก็มาวิพากษ์วิจารณ์กันทำให้ประชาชนสับสน

ในทางการแพทย์ ก่อนจบแพทย์ จะมีการอบรมปัจฉิมนิเทศ และมีการแจก ให้อ่านและเป็นเอกสารที่สวยงาม โดยเฉพาะ Hippocratic Oath ที่แพทย์ทุกคนควรจะได้พึงปฏิบัติเช่นเดียวกันกับ Hippocratis ซึ่งสามารถค้นอ่านได้จากออนไลน์ได้ง่ายมาก ถ้ากระดาษแผ่นนั้นหาย และจะต้องอยู่ในจิตใจ

ในการที่แพทย์รุ่นน้อง bully แพทย์รุ่นพี่ ผมเห็นว่า แนวทางการปฏิบัติไม่ได้ถูกอบรมตามแบบอย่าง Hippocratic Oath หรือไม่เช่นนั้นก็ไปอยู่เมืองนอกเสียนานเลยลืมหมด ผมคงไม่ได้แตะต้องเนื้อหาความรู้ เพราะผมเชื่อว่าสมัยนี้ความรู้ที่พูดออกมาจากการอ่านวารสารให้ฟัง ประชาชนทั่วไปในสื่อสังคมสามารถตัดสินใจได้

ในช่วงของโควิด 19 ผมเองก็ถูกบุลลีอย่างหนัก แต่ไม่เคยตอบโต้ และมีการพูดจาอย่างสุภาพเสมอในฐานะที่เราเป็นแพทย์ และไม่เคยโกรธเกลียดใคร การพูดครั้งนี้ก็พยายามพูดเป็นกลาง

ไทย-จีนร่วมเฉลิมฉลอง 50 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูต ด้วยภาพยนตร์ 'สายใยรักสองแผ่นดิน' ถ่ายทอดมิตรภาพผ่านศิลปะบนแผ่นฟิล์ม

เมื่อวันที่ (24 เม.ย.68) ผ่านมา สมาคมมิตรภาพไทย-จีน ร่วมกับสมาคมผู้สื่อข่าวไทย-จีน จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวภาพยนตร์ 'สายใยรักสองแผ่นดิน' เพื่อเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 50 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-จีน ณ โรงแรมแม่น้ำ รามาดาพลาซา

นายกร ทัพพะรังสี นายกสมาคมมิตรภาพไทย-จีน กล่าวว่าความสัมพันธ์ระหว่างไทยและจีนที่เริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ. 2518 ได้เติบโตและลึกซึ้งขึ้นอย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมทั้งระดับรัฐบาลและภาคประชาชน พร้อมย้ำว่านี่คือ 'ความสัมพันธ์ที่พิเศษยิ่ง'

ภาพยนตร์เรื่องนี้กำกับโดย ปรัชญา ปิ่นแก้ว ถ่ายทอดประวัติศาสตร์ผ่านโครงเรื่องแนวดราม่าโรแมนติก นำแสดงโดย มุก วรนิษฐ์ และ เอส ชิษณุพงศ์ ขณะที่ดนตรีประกอบจะได้รับการออกแบบโดย ดร.ณรงค์ ปรางค์เจริญ โดยมีเป้าหมายสานสายใยมิตรภาพไทย-จีนให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นในอนาคต

เครื่องบินตำรวจตก ขณะปฏิบัติภารกิจทดสอบการบิน ฝึกกระโดดร่ม อ.หัวหิน จว.ประจวบคีรีขันธ์ เสียชีวิตทั้ง 6 นาย

(25 เม.ย.68)เวลาประมาณ 08.00 น. พล.ต.ท.อาชยน ไกรทอง โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยว่า เกิดเหตุเครื่องบินของสำนักงานตำรวจแห่งชาติตกระหว่างการปฏิบัติภารกิจทดสอบการบิน เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการฝึกกระโดดร่ม ณ พื้นที่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจอยู่ในเครื่องบินจำนวน 
6 นาย คือ 
1. พ.ต.อ.ประธาน เขียวขำ นักบิน เสียชีวิต
2.พ.ต.ท.ปานเทพ มณิวชิรางกูร นักบิน เสียชีวิต
3.ร.ต.อ.จตุรงค์ วัฒนไพรสาณฑ์ นักบิน ได้รับบาดเจ็บ นำส่งรพ.หัวหิน เสียชีวิตที่โรงพยาบาลในเวลาต่อมา
4.ร.ต.ท.ธนวรรษ เมฆประเสริฐสุข วิศวกร เสียชีวิต
5.จ.ส.ต.ประวัติ พลหงษ์สา ช่างเครื่อง เสียชีวิต
6.ส.ต.ต.จิราวัฒน์ มากสาขา ช่างเครื่อง เสียชีวิต

โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติระบุว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบหาสาเหตุของอุบัติเหตุ โดยจะมีการเก็บข้อมูลจากซากเครื่องบิน กล่องบันทึกการบิน (Black Box) และพยานแวดล้อมทางเทคนิค พร้อมประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านอากาศยานเข้าตรวจสอบร่วมกันอย่างละเอียด

ทั้งนี้ พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้สั่งการให้ดูแลครอบครัวของผู้เสียชีวิตอย่างใกล้ชิด และจัดพิธีอย่างสมเกียรติ พร้อมกำชับให้เร่งสืบสวนหาข้อเท็จจริง เพื่อป้องกันเหตุการณ์ลักษณะเดียวกันไม่ให้เกิดขึ้นซ้ำในอนาคต สำนักงานตำรวจแห่งชาติขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อการสูญเสียเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้เสียสละจากเหตุการณ์ครั้งนี้

ผบ.ตร. ลงพื้นที่หัวหิน แสดงความเคารพ 5 วีรบุรุษตำรวจ พร้อมยกย่องนักบินเสียสละบังคับเครื่องเลี่ยงชุมชนก่อนตกทะเล

(25 เม.ย. 2568) พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ลงพื้นที่จุดเกิดเหตุเครื่องบินกองบินตำรวจตกในทะเล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ขณะปฏิบัติภารกิจทดสอบการบิน โดยแสดงความเคารพร่างตำรวจ 5 นายที่เสียชีวิต พร้อมยกย่องความเสียสละของนักบินที่ควบคุมเครื่องหลบเลี่ยงเขตชุมชน ก่อนตกในทะเล ทั้งนี้มีตำรวจอีก 1 นายบาดเจ็บจากเหตุการณ์ อยู่ระหว่างการรักษาตัวที่โรงพยาบาลหัวหิน

ผบ.ตร.ได้สั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนหาสาเหตุ พร้อมมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการเก็บกู้เครื่องบินจากทะเลโดยไม่ให้กระทบพยานหลักฐาน พร้อมกำชับให้ดูแลครอบครัวผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บอย่างใกล้ชิด จัดพิธีเคลื่อนย้ายร่างและประกอบพิธีกรรมทางศาสนาอย่างสมเกียรติ และให้สวัสดิการแก่ครอบครัวอย่างเหมาะสม

จากนั้น ผบ.ตร.ได้เข้าเยี่ยม ร.ต.อ.จตุรงค์ วัฒนไพรสาณฑ์ นักบินที่รอดชีวิต ซึ่งขณะนี้อยู่ในความดูแลของแพทย์ มีอาการกระดูกใบหน้าหักและเจาะปอดเพื่อระบายของเสีย โดยไม่พบภาวะกระทบกระเทือนทางสมอง เบื้องต้นได้ประสานโรงพยาบาลตำรวจเพื่อเตรียมความพร้อมหากต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเข้ารักษาต่อ

POLITICS

‘ภูมิธรรม’ เผยผลพูดคุย ‘ไทย-มาเลเซีย’ คืบหน้า ย้ำปัญหาชายแดนใต้ไม่ง่าย แต่พร้อมเดินหน้าพัฒนาเพื่ออนาคตร่วมกัน

(24 เม.ย. 68) นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้สัมภาษณ์ถึงการที่นายฉัตรชัย บางชวด เลขาธิการ สมช. เข้าร่วมประชุมสภาความมั่นคงอาเซียนที่มาเลเซีย โดยระบุว่ามีการพูดคุยกับนายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ซึ่งเป็นประธานอาเซียนในปีนี้ด้วย

นายภูมิธรรมกล่าวว่า ประเด็นสำคัญของการหารือคือปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งถือเป็นเรื่องเร่งด่วน และผลการพูดคุยของผู้นำทั้งสองประเทศเป็นไปในทิศทางที่ดี โดยเน้นย้ำว่าทั้งไทยและมาเลเซียมีความตั้งใจร่วมกันในการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ เพื่อสร้างประโยชน์ร่วมกัน

อย่างไรก็ตาม นายภูมิธรรมยอมรับว่า ปัญหาดังกล่าวไม่สามารถแก้ไขได้ง่าย เนื่องจากมีความซับซ้อนและสั่งสมมานาน แต่การหารือครั้งนี้อาจนำไปสู่แนวทางใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ ซึ่งรัฐบาลกำลังเร่งดำเนินการในหลายมิติควบคู่กันไป

‘สนธิญา’ ยื่น ป.ป.ช. สอบจริยธรรม ‘พีระพันธุ์’ ปม อ้างองคมนตรี - ถือหุ้น 3 บริษัท หลังรับตำแหน่ง รมต.

‘สนธิญา สวัสดี’ ยื่นร้องเรียนต่อ ป.ป.ช.สอบจริยธรรม ‘พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค’ ปมอ้างองคมนตรี - ถือหุ้น 3 บริษัท หลังเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรี

(23 เม.ย. 68) นายสนธิญา สวัสดี อดีตที่ปรึกษากรรมาธิการ การกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร ยื่นร้องเรียนต่อ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ให้ไต่สวนตรวจสอบหาข้อเท็จจริง กรณี นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงาน หัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ ดังต่อไปนี้

1. มีการอ้างถึงองคมนตรี ซึ่งเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 12 หรือไม่ 

2. ประเด็นการถือหุ้นอยู่ในบริษัท จำนวน 3 บริษัท หลังจาก นายพีระพันธุ์ รับตำแหน่ง เมื่อวันที่ 2 ก.ย. 2566  

นายสนธิญา เรียกร้องให้ ป.ป.ช. ดำเนินการให้เป็นไปตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ มาตรา 234 และมาตรา235 เพื่อไต่สวนและมีความเห็น ว่า เป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ในมาตรา 187 ประกอบมาตรา 170 (4) (5) และ มาตรา 219 การกระทำที่ฝ่าฝืน ต่อจริยธรรมร้ายแรง ในข้อที่ 7 ข้อที่ 8 ข้อที่ 11 ข้อที่ 17 ข้อที่ 21 ประกอบข้อที่ 27 

ทั้งนี้เพื่อไต่สวนและตรวจสอบข้อเท็จจริง หากมีการกระทำการดังกล่าว ที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ และฝ่าฝืนจริยธรรมร้ายแรง ก็ให้ ป.ป.ช. ดำเนินการให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 234 235 ต่อไป 

นายสนธิญา กล่าวว่า เป็นการใช้สิทธิตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 41 (1)(2) ประกอบ มาตรา 50 เพื่อ ป.ป.ช. ไต่สวน และตรวจสอบหาข้อเท็จจริง อันเป็นที่ประจักษ์ ตามที่ได้รับการร้องเรียน จากประชาชนมา เพื่อเป็นไปตามกระบวนการรัฐธรรมนูญ และจริยธรรมของนักการเมือง และ คณะรัฐมนตรี 

‘จุลพันธ์-พิชัย’ สองรมต.คลังร่วมย้ำ โครงการแจกเงิน 10,000 บาท ยังเดินตามแผน กลุ่มวัยรุ่น 16-20 ปี จำนวน 2.7 ล้านคน เริ่มจ่าย เม.ย.-มิ.ย. นี้ ตรวจสอบสิทธิผ่านแอป ‘ทางรัฐ’

(23 เม.ย. 68) รัฐบาลยังคงเดินหน้าโครงการ 'ดิจิทัลวอลเล็ต' แจกเงิน 10,000 บาท ตามกำหนดเดิม โดยนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ครั้งที่ 1/2568 ซึ่งมีนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ว่าที่ประชุมมีมติเห็นชอบโครงการเฟส 3 สำหรับประชาชนกลุ่มอายุ 16-20 ปี รวม 2.7 ล้านคน

ผู้มีสิทธิจะได้รับเงินดิจิทัลภายหลังช่วงเทศกาลสงกรานต์ โดยวางแผนทยอยโอนผ่านระบบดิจิทัลวอลเล็ต ระหว่างเดือนเมษายนถึงมิถุนายน 2568 ทั้งนี้ จะมีการเปิดให้ตรวจสอบสิทธิผ่านแอป 'ทางรัฐ' และสามารถใช้จ่ายในพื้นที่ที่กำหนดเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับฐานราก

ด้านนายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ยืนยันว่าโครงการยังเป็นไปตามกำหนดการเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลง และจะเร่งเสนอรายละเอียดเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีภายใน 2 สัปดาห์ข้างหน้า

ส่วนเฟสถัดไป ซึ่งครอบคลุมกลุ่มอายุ 21-59 ปีนั้น จะเร่งดำเนินการหลังระบบมีความเสถียรและปลอดภัย โดยตั้งเป้าเสนอ ครม. ภายในเดือนกันยายน 2568 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มใหญ่ได้รับประโยชน์อย่างทั่วถึง

ECONBIZ

ไทย เกิดพีคไฟฟ้ารอบ 4 ของปี 2568 ช่วงค่ำ 24 เม.ย. หลังพบยอดใช้ไฟฟ้าพุ่ง 34,620.4 เมกะวัตต์

ไทยร้อนจัด 42-43 องศาเซลเซียส ดันยอดใช้ไฟฟ้าพุ่งทำสถิติสูงสุดของปี 2568 เกิดพีคไฟฟ้าขึ้นอีกเป็นครั้งที่ 4 หลังจากเพิ่งเกิดพีคไฟฟ้าครั้งที่ 3 ไปได้เพียง 2 วันเท่านั้น โดยพีคไฟฟ้าล่าสุดเกิดในช่วงค่ำของวันที่ 24 เม.ย. 2568 เวลา 20.48 น. เกิดความต้องการใช้ไฟฟ้าถึง 34,620.4 เมกะวัตต์ ไต่ระดับเทียบเคียงกับพีคไฟฟ้าที่เคยทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ของประเทศไทยเมื่อเดือน พ.ค. ปี 2567 ที่ 36,792.1 เมกะวัตต์ พลังงานคาดยอดใช้ไฟฟ้าปี 2568 อาจใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา มั่นใจไฟฟ้ามีเพียงพอรองรับพีคได้  

สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) รายงานว่า ประเทศไทยเกิดความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (พีคไฟฟ้า) ขึ้นอีก เป็นครั้งที่ 4 ของปี 2568 หลังจากเพิ่งจะเกิดพีคไฟฟ้าไปเมื่อ 2 วันที่ผ่านมา โดยพบว่า ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของ 3 การไฟฟ้า (การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. , การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือ PEA และการไฟฟ้านครหลวง หรือ กฟน.) พุ่งสูงขึ้นจนเกิดพีคไฟฟ้าอีกครั้งในวันที่ 24 เม.ย. 2568 ช่วงกลางคืนเวลา 20.48 น. มีการใช้ไฟฟ้าสูงสุดถึง 34,620.4 เมกะวัตต์ (เพิ่มขึ้นจากครั้งก่อนที่เกิดพีคไฟฟ้า เมื่อวันที่ 22 เม.ย. 2568 เวลา 20.47 น. ที่มีการใช้ไฟฟ้า 34,130.1 เมกะวัตต์)

ทั้งนี้เนื่องจากสภาพอากาศร้อนสะสมต่อเนื่องตลอดสัปดาห์นี้ ส่งผลให้การใช้ไฟฟ้าเพื่อคลายร้อนพุ่งสูงขึ้น สำหรับอุณหภูมิสูงสุดของวันที่ 24 เม.ย. 2568 ที่รายงานโดยกรมอุตุนิยมวิทยาพบว่า ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนืออุณหภูมิพุ่งสูงถึง 42-43 องศาเซลเซียส ขณะที่ภาคกลางและภาคตะวันออกอุณหภูมิสูงสุดอยู่ที่ 40-42 องศาเซลเซียส ส่วนกรุงเทพฯ และปริมณฑลอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย อยู่ที่ 38-39 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ตามกรมอุตุฯ ได้คาดการณ์ว่าสัปดาห์หน้าอาจจะเกิดพายุฤดูร้อนในหลายพื้นที่ ซึ่งจะช่วยลดอุณหภูมิและการใช้ไฟฟ้าลงได้

สำหรับยอดการใช้ไฟฟ้าของไทยในปี 2568 นับตั้งแต่เดือน ม.ค.ถึงปัจจุบัน พบว่ามีความต้องการใช้เพิ่มขึ้นทุกเดือน โดยเดือน ม.ค. 2568 ยอดใช้ไฟฟ้าสูงสุดเกิดขึ้นในวันที่ 25 ม.ค. 2568 เวลา 18.48 น. ที่ระดับ 27,953.3 เมกะวัตต์ 

เดือน ก.พ. 2568 ยอดใช้ไฟฟ้าสูงสุดเกิดขึ้นในวันที่ 28 ก.พ. 2568 เวลา 19.18 น. ที่ระดับ 30,942 เมกะวัตต์ 

เดือน มี.ค. 2568  ยอดใช้ไฟฟ้าสูงสุดเกิดขึ้นในวันที่ 29 มี.ค. 2568 เวลา 20.33 น. ที่ระดับ 33,658.3 เมกะวัตต์

เดือน เม.ย. 2568 ยอดใช้ไฟฟ้าสูงสุดเกิดขึ้นในวันที่ 24 เม.ย. 2568 เวลา 20.48 น. ที่ระดับ 34,620.4 เมกะวัตต์

อย่างไรก็ตามสถิติพีคไฟฟ้าดังกล่าวเกิดขึ้นเฉพาะในปี 2568 แต่เมื่อพิจารณาพีคไฟฟ้าระดับประเทศพบว่า สถิติพีคไฟฟ้าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ยังคงอยู่ในวันที่ 2 พ.ค. 2567 เวลา 22.24 น. เกิดความต้องการใช้ไฟฟ้าถึง 36,792.1 เมกะวัตต์  ดังนั้นพีคไฟฟ้าของปี 2568 ยังไม่ทำลายสถิติพีคไฟฟ้าสูงสุดของประเทศแต่อย่างใด

ส่วนการใช้ไฟฟ้าล่าสุดของวันที่ 25 เม.ย. 2568 เวลา 14.10 น. ยังคงอยู่ในระดับสูงที่ 33,155.4 เมกะวัตต์ เนื่องจากสภาพอากาศยังคงร้อนอบอ้าวและสะสมความร้อนมาต่อเนื่องตลอดสัปดาห์นี้ 

อย่างไรก็ตามแม้ความต้องการใช้ไฟฟ้าจะเพิ่มสูงขึ้นทุกปี แต่ปริมาณการผลิตไฟฟ้าของไทย (จากระบบไฟฟ้าของ 3 การไฟฟ้า) ยังมีเพียงพอรองรับพีคไฟฟ้าได้อย่างแน่นอน โดยในร่างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของไทย พ.ศ. 2567-2580 (ร่าง PDP 2024) ที่ยังไม่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) แต่มีข้อมูลระบุว่าการผลิตไฟฟ้าของไทยในปี 2568 ยังใกล้เคียงกับปี 2567 ที่ประมาณ 55,947 เมกะวัตต์ โดยเมื่อวันที่ 27 ธ.ค. 2567 กระทรวงพลังงานระบุว่าไทยยังมีสำรองไฟฟ้าเหลืออยู่ 25.5% ดังนั้นจึงเพียงพอรองรับพีคไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน

ทั้งนี้เมื่อย้อนกลับไปในปี 2567 จะพบว่าตลอดปี 2567 ได้เกิดพีคไฟฟ้าขึ้นถึง 11 ครั้ง เนื่องจากประเทศไทยอยู่ในปรากฏการณ์เอลนีโญ ส่งผลให้เกิดความร้อนสะสมทั่วประเทศ โดยบางพื้นที่อุณหภูมิพุ่งสูงถึง 44 องศาเซลเซียส โดยในเดือน เม.ย.-พ.ค. 2567 เกิดพีคไฟฟ้าทำลายสถิติการใช้ไฟฟ้าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ไปถึง 4 ครั้ง โดยไปจบที่สถิติการใช้ไฟฟ้าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ณ วันที่ 2 พ.ค. 2567 เวลา 22.24 น. ที่ระดับ 36,792.1 เมกะวัตต์

ปตท.สผ. เผย Q1/68 กำไรสุทธิ 1.6 หมื่นล้าน พร้อมส่งเงินเข้ารัฐกว่า 6.8 พันล้านบาท

(25 เม.ย. 68) ปตท.สผ. เผยความคืบหน้าการดำเนินงานในไตรมาสแรกของปี 2568 และความก้าวหน้าที่สำคัญ เพื่อส่งเสริมความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศ และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมทั้ง สามารถนำส่งรายได้จากการดำเนินงานให้กับรัฐกว่า 6,800 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน และการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

นายมนตรี ลาวัลย์ชัยกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. กล่าวว่าในไตรมาสที่ 1 และในช่วงที่ผ่านมา บริษัทมีความก้าวหน้าในการดำเนินธุรกิจหลายด้าน โดยล่าสุด ปตท.สผ. ได้ลงนามสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติส่วนเพิ่มของแหล่งอาทิตย์ กับ ปตท. ซึ่งเป็นผู้ซื้อ เพื่อเพิ่มปริมาณการขายก๊าซธรรมชาติต่อวันตามสัญญา (Daily Contract Quantity หรือ DCQ) ขึ้นเป็น 330 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน จากเดิมที่ปริมาณ 280 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ซึ่งจะมีผลตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2568 เป็นต้นไป ซึ่งจะช่วยตอบสนองความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติของประชาชน และส่งเสริมการสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศ นอกจากนี้ ในเดือนเมษายน 2568 ปตท.สผ. ยังได้เข้าซื้อสัดส่วนการถือหุ้นเพิ่มเติมในบริษัท APICO LLC ซึ่งเป็นผู้ร่วมทุนในโครงการสินภูฮ่อม แหล่งปิโตรเลียมบนบกที่สำคัญในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ส่งผลให้ ปตท.สผ. ถือหุ้นทั้งทางตรงและทางอ้อมในโครงการสินภูฮ่อมเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 90 จากเดิมร้อยละ 80.487 และได้รับปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นตามสัดส่วนการลงทุนที่เพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งในปี 2567 โครงการสินภูฮ่อมมีปริมาณการผลิตก๊าซธรรมชาติเฉลี่ย 105 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และคอนเดนเสท 222 บาร์เรลต่อวัน

สำหรับการพัฒนาโครงการดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Capture and Storage หรือ CCS) ที่โครงการอาทิตย์ ได้รับการบรรจุอยู่ในแผนปฏิบัติการด้านการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศปี 2564-2573 (Nationally Determined Contribution Action Plan Mitigation 2021-2030) แล้วในปี 2567 ที่ผ่านมา โดยขณะนี้ บริษัทอยู่ระหว่างดำเนินการทำข้อตกลงต่าง ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่การตัดสินใจลงทุนขั้นสุดท้าย (FID) โดยคาดว่าจะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ประมาณ 700,000 – 1,000,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี 

นอกจากนี้ ปตท.สผ. ยังได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม เทคโนโลยีขั้นสูง ต่อยอดองค์ความรู้ รวมทั้ง การพัฒนาบุคลากร ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อภาคการศึกษาและภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ รวมถึงจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศต่อไปในอนาคต 

สำหรับผลประกอบการในไตรมาส 1 ปี 2568 ปตท.สผ. มีรายได้รวม 74,196 ล้านบาท (เทียบเท่า 2,185 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) โดยมีปริมาณขายปิโตรเลียมเฉลี่ยอยู่ที่ 484,218 บาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2 เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2567 ซึ่งส่วนใหญ่มาจากอัตราการผลิตปิโตรเลียมของโครงการ G1/61 ที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ราคาขายผลิตภัณฑ์เฉลี่ยอยู่ที่ 45.74 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ ปรับตัวลดลงตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก จึงส่งผลให้ไตรมาสที่ 1 นี้ บริษัทมีกำไรสุทธิ 16,561 ล้านบาท (เทียบเท่า 488 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) 

จากผลการดำเนินงานดังกล่าว ปตท.สผ. ได้นำส่งรายได้ให้กับรัฐในรูปของภาษีเงินได้ ค่าภาคหลวง และส่วนแบ่งผลประโยชน์อื่น ๆ ในไตรมาส 1 ปี 2568 จำนวนกว่า 6,800 ล้านบาท เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ เช่น การพัฒนาชุมชน การศึกษา และการวิจัยและพัฒนา เป็นต้น นอกจากนี้ รัฐยังได้รับส่วนแบ่งของผลผลิตปิโตรเลียมจากโครงการ G1/61 และ G2/61 ซึ่งอยู่ภายใต้สัญญาแบ่งปันผลผลิต (PSC) เป็นรายได้ทางตรงจากการผลิตปิโตรเลียมที่รัฐนำมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศอีกส่วนหนึ่งด้วย

ททท. เปิดเวทีเจรจาธุรกิจสินค้าบริการท่องเที่ยว เน้นกลุ่ม Health and Wellness หวังดึง นทท. คุณภาพ

(25 เม.ย.68) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จัดกิจกรรม Amazing Thailand Health & Wellness Trade Meet 2025 เวทีเจรจาธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการไทยและต่างชาติ สำหรับสินค้าบริการทางการท่องเที่ยวกลุ่ม Health and Wellness ของไทย พร้อมจัดสำรวจและทดสอบสินค้าและบริการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในประเทศไทยให้ผู้ประกอบการต่างชาติที่เข้าร่วมงาน หวังดึงนักท่องเที่ยวคุณภาพจากทั่วโลก 

นางจิระวดี คุณทรัพย์ รองผู้ว่าการด้านตลาดยุโรป อเมริกา ตะวันออกกลาง และแอฟริกา ททท. กล่าวว่า ททท. มุ่งส่งเสริมการท่องเที่ยวกลุ่ม Health and Wellness ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมาย High Value ที่มีการใช้จ่ายสูง ผ่านการจัดกิจกรรม Amazing Thailand Health & Wellness Trade Meet 2025 ซึ่งอยู่ภายใต้โครงการ Amazing Thailand Health & Wellness Journey เพื่อนำเสนอสินค้าและบริการด้าน Health and Wellness ของประเทศไทยให้เป็นที่รู้จัก โดยนำผู้ประกอบการจากต่างประเทศทั่วโลกจำนวน 100 ราย ได้แก่ ภูมิภาคยุโรป 19 ราย ภูมิภาคอเมริกา ตะวันออกกลาง และแอฟริกา 11 ราย ภูมิภาคเอเชียตะวันออก 40 ราย และภูมิภาคอาเซียน เอเชียใต้ และแปซิฟิกใต้ 30 ราย ร่วมเจรจาธุรกิจกับผู้ประกอบการไทยจำนวน 50 ราย ที่มาร่วมนำเสนอสินค้าและบริการทางด้านสุขภาพที่หลากหลาย ได้แก่ สปาบำบัด บริการการแพทย์เพื่อสุขภาพในโรงพยาบาล โรงแรมสุขภาพชั้นนำ อาทิ Chiva-Som, Kamalaya และ Sri Panwa ศูนย์สุขภาพที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล อาทิ BDMS Wellness Clinic, RAKxa Integrative Wellness และ โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา เป็นต้น พร้อมนี้ยังได้จัดกิจกรรมทัศนศึกษาสำรวจและทดสอบสินค้าและบริการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในประเทศไทยตามพฤติกรรมและความสนใจของนักท่องเที่ยวในแต่ละภูมิภาค เพื่อกระตุ้นการส่งเสริมตลาดและตอกย้ำภาพลักษณ์ประเทศไทยในฐานะ Quality Destination สู่สายตานักท่องเที่ยวต่างชาติ

กิจกรรมภายในงาน Amazing Thailand Health & Wellness Trade Meet 2025 ประกอบด้วย กิจกรรม Thailand Health and Wellness Product Update นำเสนอสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพให้แก่ผู้เข้าร่วมงาน โดยนางสาว เอิบลาภ ศรีภิรมย์ ผู้อำนวยการฝ่ายสินค้าการท่องเที่ยว ททท. กิจกรรมเสวนาในหัวข้อ Wellness Hub Thailand โดยนายแพทย์ตนุพล วิรุฬหการุญ ประธานคณะผู้บริหาร บีดีเอ็มเอส เวลเนส คลินิก และ บีดีเอ็มเอส เวลเนส รีสอร์ท บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน)

นอกจากนี้ยังมี การจัด Showcase และกิจกรรม DIY ด้าน Wellness ได้แก่ การทำยาดมสูตรเฉพาะในแบบฉบับของตนเอง อาหารสุขภาพ และ การตรวจธาตุเจ้าเรือนตามภูมิปัญญาไทยพร้อมวิธีการดูแลตนเอง นอกจากนี้ยังได้นำผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวต่างชาติร่วมสำรวจและทดสอบสินค้าและบริการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในประเทศไทย (Amazing Thailand Health & Wellness Fam Trip) โดยแบ่งกลุ่มผู้ประกอบการเดินทางทัศนศึกษาในพื้นที่ศักยภาพ อาทิ กรุงเทพมหานคร, เชียงใหม่, หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์, นครปฐม, กาญจนบุรี, พัทยา ชลบุรี, ปราจีนบุรี, เกาะสมุย สุราษฎร์ธานี, ภูเก็ต, พังงา, กระบี่, เขาใหญ่ นครราชสีมา ใน 2 ช่วงก่อนและหลังกิจกรรม Trade Meet ได้แก่ Pre Trip ในวันที่ 21 – 24 เมษายน 2568 และ Post Trip ในวันที่ 26 -29  เมษายน 2568

ทั้งนี้ นักท่องเที่ยวกลุ่ม Health and Wellness ถือเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวศักยภาพมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 100,259 บาทต่อคนต่อทริป โดยสินค้ายอดนิยมในประเทศไทย นอกจากสินค้าประเภทการนวดแผนไทยและสปาแล้ว ยังมีกิจกรรมเชิงสุขภาพ อาทิ โยคะ อาหารสุขภาพ Wellness Program for Antiaging, Retreat, สุขภาวะองค์รวม (Holistic Wellness ) รวมไปถึงด้าน Medical อาทิ การศัลยกรรมความงาม การมีบุตร เป็นต้น ที่ได้รับความนิยมจากกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยจังหวัดที่ได้รับความนิยมในด้าน Health and Wellness ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ชลบุรีภูเก็ต สุราษฎร์ธานี และ กระบี่

LITE

26 เมษายน พ.ศ. 2431 จุดเริ่มต้นแห่งสาธารณสุขไทย รัชกาลที่ 5 ทรงเปิด ‘ศิริราช’ โรงพยาบาลแห่งแรกของชาติ เพื่อดูแลประชาชนทุกชนชั้น

เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2431 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบพิธีเปิดโรงพยาบาลศิริราชอย่างเป็นทางการ นับเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกของประเทศไทย ที่จัดตั้งขึ้นด้วยพระราชดำริเพื่อให้บริการรักษาพยาบาลแก่ประชาชนอย่างทั่วถึง สะท้อนพระมหากรุณาธิคุณและวิสัยทัศน์อันก้าวไกลในด้านสาธารณสุขของพระองค์

โรงพยาบาลศิริราชก่อตั้งขึ้นบนพื้นที่ฝั่งธนบุรี ริมแม่น้ำเจ้าพระยา โดยได้รับการสนับสนุนจากทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อพัฒนาสถานพยาบาลที่สามารถรองรับผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม ทั้งยังตั้งชื่อเพื่อเป็นอนุสรณ์แด่สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ พระราชโอรสที่สิ้นพระชนม์ด้วยพระโรคบิดในวัยเยาว์

การเปิดโรงพยาบาลศิริราชถือเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาระบบสาธารณสุขไทยอย่างมีระบบและยั่งยืน ต่อมาโรงพยาบาลแห่งนี้ได้กลายเป็นสถานศึกษาของแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ เป็นที่ตั้งของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

ตลอดเวลากว่า 130 ปีที่ผ่านมา โรงพยาบาลศิริราชมีบทบาทสำคัญในการดูแลสุขภาพประชาชนไทย ทั้งในด้านการรักษา การวิจัย และการพัฒนาวิชาชีพทางการแพทย์ พร้อมยึดมั่นในอุดมการณ์การให้บริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ สมดังพระราชปณิธานของรัชกาลที่ 5 ที่ทรงวางรากฐานไว้ตั้งแต่วันแรกแห่งการก่อตั้ง

25 เมษายน พ.ศ. 2148 ครบรอบปีที่ 420 วันสวรรคต ‘สมเด็จพระนเรศวรมหาราช’ รำลึกพระมหากษัตริย์ผู้ปลุกสำนึกรักชาติให้คนไทยชั่วนิรันดร์

วันที่ 25 เมษายน พุทธศักราช 2148 เป็นวันสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์ไทย เนื่องจากเป็นวันที่ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เสด็จสวรรคต ขณะมีพระชนมพรรษา 50 พรรษา ขณะนั้นพระองค์ทรงยกทัพไปยังเมืองหาง เพื่อจะตีเมืองอังวะของพม่า และสวรรคตระหว่างการตั้งทัพอยู่ที่เมืองสวางคบุรี (เมืองสองแควในจังหวัดพิษณุโลกปัจจุบัน)

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถ ทรงมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการกอบกู้เอกราชของชาติไทยจากพม่า โดยเฉพาะเหตุการณ์สำคัญคือ ยุทธหัตถี ที่ทรงกระทำกับพระมหาอุปราชาแห่งพม่า ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งชัยชนะและอิสรภาพของไทย

พระองค์ทรงเป็นแบบอย่างของผู้นำที่กล้าหาญ เสียสละ และทรงอุทิศพระวรกายเพื่อบ้านเมืองอย่างแท้จริง ภายใต้การปกครองของพระองค์ ประเทศชาติมีความมั่นคง แข็งแกร่ง และได้รับการฟื้นฟูจากภัยสงคราม จนสามารถยืนหยัดเป็นอิสระได้อีกครั้ง

ปัจจุบัน วันที่ 25 เมษายนของทุกปี ได้รับการน้อมรำลึกในฐานะ วันคล้ายวันสวรรคตของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีการจัดกิจกรรมวางพวงมาลา พิธีถวายราชสักการะ และจัดงานทางประวัติศาสตร์ในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ เพื่อยกย่องพระเกียรติคุณของพระองค์ และปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนตระหนักถึงคุณค่าของชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์

ภาชนะใครขนาดใหญ่สุดดดดดดด!!!! รับรางวัล Swensen’s Voucher มูลค่าสูงสุด 30,000 บาท

ภาชนะใครขนาดใหญ่สุดดดดดดด!!!! รับรางวัล Swensen’s Voucher มูลค่าสูงสุด 30,000 บาท
- เลือกภาชนะคู่ใจที่จะมาใส่ไอศกรีม
- เลือกสั่งไอศกรีมรสที่ชอบ (สามารถเลือกได้ทุกรสชาติ) เริ่มต้น 10 สกู๊ป เพียง 199.- / 20 สกู๊ป เพียง 398.- / 30 สกู๊ป เพียง 597.- / 40 สกู๊ป เพียง 796.- / 50 สกู๊ป เพียง 995.- / 100 สกู๊ป เพียง 1,990.- เท่านั้น 
- วัดขนาดภาชนะคู่ใจ* ที่พกมาใส่ไอศกรีม ถ่ายรูปภาชนะคู่กับป้ายกิจกรรม Earth Day หน้าร้านและคอมเมนต์ภาพพร้อมระบุรายละเอียดขนาดของปากภาชนะใต้โพสต์กิจกรรมนี้
* สามารถให้พนักงานที่หน้าสาขาวัดปากภาชนะให้เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมได้เลย!!

รางวัลผู้สร้างสถิติ Swensen’s Love The Earth World Records ด้วยภาชนะขนาดใหญ่ที่สุดจะได้รับรางวัลทั้งหมด 3 อันดับ เป็น...
รางวัลที่ 1 Swensen’s Voucher มูลค่า 30,000 บาท
รางวัลที่ 2 Swensen’s Voucher มูลค่า 20,000 บาท
รางวัลที่ 3 Swensen’s Voucher มูลค่า 10,000 บาท

ระยะเวลาร่วมสนุกตั้งแต่วันที่ 22 เม.ย. 68 เวลา 00:00 น. - 23:59 น.
ประกาศผู้โชคดีวันที่ 24 เม.ย. 68 เวลา 18:00 น. ที่ใต้โพสต์ เพจ We Love Swensen's

PODCAST

‘ตำรวจลับราชวงศ์หมิง’ จุดเริ่มต้น ‘ราชวงศ์หมิง’ ล่มสลาย | THE STATES TIMES Story EP.162

ประวัติศาสตร์จีนในยุค ‘ราชวงศ์หมิง’ ได้ถือกำเนิดตำรวจลับขึ้นเพื่อใช้จัดการขุนนางฉ้อฉลและคอยปกป้ององค์จักรพรรดิ แต่กลุ่มตำรวจลับนี้เอง ที่กลับกระทำพฤติกรรมไม่เหมาะสม จนต้องเกิดกลุ่มตำรวจลับใหม่ ๆ ขึ้นเพื่อใช้ปราบปราม ทว่า กลับกลายเป็นวัฏจักรอันน่าอดสู และทำให้ราชวงศ์หมิงมีอายุได้เพียง 200 ปี เท่านั้น

วันนี้ THE STATES TIMES Story ได้รวบรวมเรื่องราวของตำรวจลับแห่งราชวงศ์หมิงมาเล่าสู่กันฟัง ถ้าพร้อมแล้ว ไปฟังกัน…

ไขปริศนา 1 มกราคม: วันปีใหม่เกิดขึ้นได้อย่างไร? | THE STATES TIMES Story EP.161

ทำไมวันที่ 1 มกราคม ถึงกลายเป็นวันปีใหม่? 🎆
รู้หรือไม่ว่า วันปีใหม่มีที่มาจากประวัติศาสตร์อันยาวนาน ตั้งแต่ยุคบาบิโลเนีย จนถึงปฏิทินเกรกอเรียนที่เราใช้กันในปัจจุบัน 🌍
มาดูกันว่าทำไมโลกถึงเลือกวันนี้เพื่อเริ่มต้นปีใหม่!

📖 อ่านเพิ่มเติม: https://thestatestimes.com/post/2023122702

ตำนานวันปีใหม่ไทย เปลี่ยนผ่านจาก 1 เมษา สู่ 1 มกรา | THE STATES TIMES Story EP.160

รู้หรือไม่? ประเทศไทยเคยเริ่มต้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน! 
จากบทเพลง 'เถลิงศก' สู่ 'พรปีใหม่' เพลงพระราชนิพนธ์ที่คนไทยร้องรับพรกันในวันปีใหม่ทุกปี 🎶
มาร่วมย้อนรอยตำนานการเปลี่ยนแปลงวันปีใหม่ไทย ที่สะท้อนประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และน้ำพระทัยของพระมหากษัตริย์ไทย 💛

VIDEO

ป้าหมาย ‘ท่องเที่ยวไทยเชิงคุณภาพ’ ผ่านมุมมอง ‘วีระศักดิ์ โควสุรัตน์’ | CONTRIBUTOR EP.30

เมืองไทยมีดี มีจุดขายที่งดงามในภาคการท่องเที่ยว แต่จะพอใจเพียงเท่านี้ พอใจเพียงจำนวนนักท่องเที่ยวและรายได้ลูกเดียว อาจจะไม่ยั่งยืน

มิติใหม่ของการท่องเที่ยวไทย ต้องปรับประยุกต์ เพื่อสร้างการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ
กระตุ้นให้เกิดความหลากหลายในแต่ละเขตแดน เมือง จังหวัด ที่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง

แต่สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ ต้องร้อยห่วงโซ่ของ ‘ความยิ้มแย้ม-ความยืดหยุ่น-ไม่หย่อนยาน’ 
รวมถึงปรับแนวทางสู่ความยั่งยืน ด้วยการพัฒนาระบบการท่องเที่ยวใต้วิธีคิดที่ทันโลก

เพราะนี่คือวาระสำคัญของอนาคตการท่องเที่ยวไทยในวันข้างหน้า 
ในวันที่ ‘หินก้อนใหญ่’ ยังกดทับ ‘หญ้าสีเขียว’ ในบางพื้นที่อยู่

ปลดล็อกร่างทอง ‘ท่องเที่ยวไทยเชิงคุณภาพ’ ไปด้วยกันกับ Contributor EP นี้ กับผู้ที่เข้าใจระบบนิเวศการท่องเที่ยวยั่งยืนแบบถ่องแท้ได้จาก... คุณวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ สมาชิกวุฒิสภา รองประธานกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

ถึงเวลาสร้าง ‘ไทย’ ให้เติบใหญ่ในยุคดิจิทัล l รศ.ดร.ดนุวัศ สาคริก

ความ ‘เท่า’ ที่ยากจะ ‘เทียม’ หากระบบการศึกษาไทยยังย่ำอยู่กับที่และทิศทางไทยยังคงหลงอยู่กับนโยบาย

ประชานิยมที่คอยกระตุกกระตุ้นเศรษฐกิจได้เพียงแค่ครั้งคราว

กลับกันประเทศไทย ในวันที่เริ่มตั้งตัว ต้องหาทางตั้งทรงแบบยกแผงต้องแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะผลักดันอนาคตชาติเริ่มตั้งแต่การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของประเทศในทุกภาคส่วนระบบการเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา และอื่นๆ ให้เกิดรากอันแข็งแกร่ง เพื่อเป็นฐานรองรับให้ ‘คนในชาติ’ กลายเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ

Contributor EP นี้ ขอกระตุกมุมคิดคนไทยให้ร่วมมองความเจริญแห่งอนาคตที่ถูกทิศผ่านมุมคิดของ... 
รศ.ดร.ดนุวัศ สาคริก รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) NIDA ที่ขอเป็นตัวแทนพูดดังๆ ถึงทุกภาคส่วน ว่า…

ถึงเวลาแล้วที่ ‘ประเทศไทย’ ต้องปฏิรูป!!

ผู้พิทักษ์ ‘สันติ’ ราษฎร์ พล.ต.ท.ไตรรงค์ ผิวพรรณ | CONTRIBUTOR EP.28

ค่านิยม ‘ท้าทาย’ กฎหมายของคนในยุคนี้ ยุคที่ใคร ‘แหก’ กฎได้มากเท่าไร ก็จะยิ่งยกย่องกันแบบผิดๆ ว่า 'เจ๋ง' และดูเก่งในสายตากลุ่มก้อนความคิดเดียวกัน ... เริ่มลุกลาม!!

แต่เมื่อ 'กฎหมาย' คือ กฎที่คนส่วนใหญ่ ทำตาม!!

ผู้ใด 'ท้าทาย' ก็ต้องพร้อมรับผิดชอบในทุกการกระทำ

และนี่คือเรื่องราวของอีกหนึ่งผู้บังคับใช้กฎหมาย ที่อยากฝากบอกถึง 'นักแหกกฎ' ให้ปลดความคิดสุดระห่ำออกไปจากระบบคิด และจงเชื่อเถอะว่าชีวิตของพวกคุณจะไม่มีวันถูกหล่อเลี้ยงได้อย่างยั่งยืนผ่านคำยกย่องผิดๆ

พล.ต.ท.ไตรรงค์ ผิวพรรณ ผู้บัญชาการสำนักงานกฎหมายและคดี 

ผู้พิทักษ์ ‘สันติ’ ราษฎร์

Y WORLD

ซักด่วน !!! ใช้ผ้าขนหนูเกิน 3 วัน เหมือนเช็ดตัวด้วยโถส้วม !!! | Y WORLD EP.75

Y WORLD ตอนนี้ แค่หัวข้อก็อึ้งกันแล้วค่ะ แค่ไม่ได้ซักผ้าขนหนู 3 วัน ก็สกปรกขนาดนี้เลยหรอ ? ส่งผลอย่างไรบ้าง และควรแก้ยังไง คลิปนี้มีคำตอบค่ะ 

‘Roman Charity’ ภาพวาดที่ไม่ได้ลามก แต่คือความกตัญญู | Y WORLD EP.74

Y WORLD ตอนนี้พาคุณไปชมภาพวาดหญิงสาวกำลังป้อน ‘นม’ ของตัวเองให้ชายชรา ที่บอกเลยว่า 'เห็นครั้งแรก ก็คิดดีไม่ได้จริงๆ' แต่แท้จริงแล้ว ภาพนี้ไม่ได้เป็นสื่อลามกอนาจาร แต่คือการแสดงความกตัญญู เรื่องราวจะเป็นอย่างไรนั้น ไปติดตามชมกันได้เลยค่ะ

ปลิดชีพ "ชาย" ขู่ฆ่า "โจ ไบเดน" แม้ไม่มี112 | Y WORLD EP.73

Y WORLD ตอนนี้จะพาคุณไปฟังเรื่องราวการ "ปกป้องผู้นำ" ของตนขั้นสุดแบบสหรัฐอเมริกา ในกรณีที่ FBI ปลิดชีพ 'ชาย’ ขู่ฆ่า 'โจ ไบเดน' แม้สหรัฐอเมริกาจะไม่มีกฎหมายมาตรา 112 แบบประเทศไทย แต่ก็ต้องยอมรับว่า หากใครมาหมิ่นหรือคิดร้ายผู้นำในประเทศของเขา โดนดีทันที เรื่องราวจะเป็นอย่างไร ไปรับชมกันเลย

SPECIAL

ธรรมะประจำวันอาทิตย์ที่ 13 เมษายน 2568

ผีร้ายทำลายชาติ
ประเทศใด ชาติใดก็ตาม
ถ้ารัฐส่งเสริมให้มีการพนัน
ไม่ว่าประเภทใด
ก็เรียกว่าเปิดประตู
แห่งความเสื่อมความเสีย
ให้เกิดขึ้นแก่คนในชาตินั้น

หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ

ธรรมะประจำวันอาทิตย์ที่ 6 เมษายน 2568

การพนันเป็นอบายมุข
นำมาแต่ความเสื่อมเสีย แก่ตัวเองและหมู่คณะ
ตลอดแก่พระพุทธศาสนา

.....นำมาแต่ภัยเวร
นำมาแต่ความประมาท

เพราะฉะนั้นผู้ปฏิบัติธรรม จึงไม่ควรเล่นการพนัน

หลวงปู่ทอง สิริมงฺคโล

ธรรมะประจำวันอาทิตย์ที่ 23 มีนาคม 2568

ความจริงนั้นก็เป็นประโยชน์แก่ชีวิตของเรา
เราจะหนีหรือจะสู้ ความจริงก็อยู่นั่น
ถ้าเรากลัวความจริง ความจริงก็เป็นโทษแก่เรา
แต่ถ้าเรารู้ความจริง ความจริงก็เป็นประโยชน์แก่เรา

INFO & TOON

‘วิว กุลวุฒิ’ ทะยานขึ้นมือ 2 โลก หลังสร้างประวัติศาสตร์คว้าแชมป์แบดฯ เอเชีย พร้อมตั้งเป้าภารกิจใหม่ซิวแชมป์ ‘ออลอิงแลนด์’

(21 เม.ย. 68) สหพันธ์แบดมินตันโลก (BWF) ประกาศอันดับโลกล่าสุดเมื่อวันที่ 15 เมษายนที่ผ่านมา โดยมีข่าวดีสำหรับวงการแบดมินตันไทยเมื่อ ‘วิว’ กุลวุฒิ วิทิตศานต์ นักแบดมินตันชายเดี่ยวเจ้าของเหรียญเงินโอลิมปิก 2024 สร้างประวัติศาสตร์ให้กับประเทศไทยอีกครั้ง ด้วยการคว้าแชมป์ แบดมินตัน “เอเชีย แชมเปียนชิพส์ 2025” ที่เมืองหนิงโป ประเทศจีน เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2568

การคว้าแชมป์ในครั้งนี้ทำให้ วิว กุลวุฒิ กลายเป็นนักแบดมินตันชายเดี่ยวคนแรกจากประเทศไทยที่สามารถคว้าแชมป์เอเชียได้สำเร็จ สร้างความภาคภูมิใจและความสุขให้กับคนไทยในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2568 ที่ผ่านมา

นอกจากนี้ยังส่งผลให้ วิว กุลวุฒิ วิทิตศานต์ ขยับอันดับโลกขึ้นมาถึง 3 อันดับ จากเดิมที่เคยอยู่ในอันดับที่ 5 ของโลก ขึ้นมาเป็นมือ 2 ของโลกในประเภทชายเดี่ยว ซึ่งถือเป็นอันดับโลกที่ดีที่สุดในชีวิตของเขา โดยก่อนหน้านี้ ‘วิว’ เคยทำได้สูงสุดที่อันดับ 3 ของโลก

“เป้าหมายต่อไปของผมคือการคว้าแชมป์ออลอิงแลนด์ให้ได้ ผมเคยได้แชมป์โลกและเหรียญเงินโอลิมปิกมาแล้ว แต่ยังไม่เคยประสบความสำเร็จที่ออลอิงแลนด์เลย หวังว่าปีหน้าผมจะทำได้ดีขึ้นครับ” สุดยอดนักตบลูกขนไก่ไทยวัย 23 ปีกล่าว

สำหรับ 5 อันดับ นักแบดมินตันมือวางระดับโลก ประเภทชายเดี่ยว ประกอบด้วย

1. ฉือ หยู่ฉี (Shi Yuqi)  อายุ 29 ปี / จีน / 99,435 คะแนน

2. กุลวุฒิ วิทิตศานต์ (Kunlavut Vitidsarn) อายุ 23 ปี / ไทย / 89,138 คะแนน

3. อันเดรส แอนทอนเซ่น (Anders Antonsen) อายุ 27 ปี / เดนมาร์ก / 87,693 คะแนน

4. วิคเตอร์ แอ็กเซลเซ่น (Viktor Axelsen) อายุ 31 ปี / เดนมาร์ก / 87,610 คะแนน

5. หลี่ ซือเฟิง (Li Shifeng) อายุ 25 ปี / จีน / 81,656 คะแนน

เศรษฐกิจในยุค 'ทรัมป์' ป่วนโลก

‘ดร.อมรเทพ จาวะลา’ แนะแนวทางการรับมือเศรษฐกิจยุค ‘ทรัมป์’ ป่วนโลก พร้อมคู่มืออยู่รอด มีอะไรต้องเตรียมพร้อมบ้างไปดูกัน 

บิล เกตส์ ฟันธง!! 3 อาชีพที่ปลอดภัย ไม่ถูก AI แย่งงาน

ยุค AI กำลังจะครองโลก!! หลายอาชีพส่อตกงาน ส่วนอาชีพไหนจะไปรอดในมุมมอง ‘บิล เกตส์’ ไปดูกัน

COLUMNIST

‘ซูรับ เซเรเตลี’ กับการเมืองของรัสเซีย ในบทบาทผู้สร้างสัญลักษณ์แห่งชาติ

ในโลกที่การเมืองและศิลปะมักถูกเชื่อมโยงกันอย่างแยกไม่ออกซูรับ เซเรเตลี (Zurab Tsereteli) «Зураб Константинович Церетели» ศิลปินชาวจอร์เจีย-รัสเซียผู้ยิ่งใหญ่ยุคหลังโซเวียตได้สร้างผลงานที่สะท้อนถึงอำนาจรัฐและอุดมการณ์ทางการเมืองอย่างชัดเจน ด้วยประติมากรรมขนาดใหญ่ที่ออกแบบมาเพื่อยกย่องความยิ่งใหญ่ของรัฐและสัญลักษณ์แห่งอำนาจของผู้นำ เช่น อนุสาวรีย์พระเจ้าปีเตอร์มหาราช (Peter the Great) ที่แสดงถึงอำนาจและอุดมการณ์ของรัฐได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการส่งเสริมอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์และการยืนยันความมั่นคงของรัฐบาลรัสเซียภายใต้การนำของประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน

การเสียชีวิตของซูรับ เซเรเตลีในวันนี้จึงไม่เพียงแค่การสูญเสียศิลปินผู้ยิ่งใหญ่เท่านั้นหากแต่ยังเป็นการสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในรัสเซียภายใต้สภาพแวดล้อมที่ศิลปะและการเมืองถูกเชื่อมโยงกันอย่างแนบแน่น ผลงานของเขาสะท้อนถึงการใช้งานศิลปะในฐานะเครื่องมือของรัฐในการเสริมสร้างอำนาจและการสร้างภาพลักษณ์แห่งชาติในการช่วงชิงอำนาจและยืนยันสถานะของรัสเซียในเวทีโลก บทความนี้จะนำเสนอบทบาทของซูรับ เซเรเตลีในการสร้างสัญลักษณ์ทางการเมืองและการใช้งานศิลปะในฐานะเครื่องมือของรัฐในการเสริมสร้างอำนาจ พร้อมทั้งพิจารณาถึงการสะท้อนการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในรัสเซียและการใช้ศิลปะเพื่อสร้างสรรค์อัตลักษณ์แห่งชาติในยุคหลังโซเวียต

ซูรับ เซเรเตลีเกิดเมื่อปี ค.ศ. 1934 ณ กรุงทบิลิซี ประเทศจอร์เจีย เริ่มต้นชีวิตทางศิลปะด้วยความมุ่งมั่นตั้งแต่วัยเยาว์และก้าวเข้าสู่เวทีศิลปะระดับชาติอย่างมั่นคงในช่วงทศวรรษ 1960s–1980s กลายเป็นหนึ่งในศิลปินชั้นนำของสหภาพโซเวียต ผลงานของเขามีลักษณะเฉพาะที่สะท้อนการรวมอำนาจของรัฐ ความภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์ชาติ และการแสดงออกทางการเมืองที่เด่นชัด ผ่านรูปแบบศิลปะขนาดใหญ่ในพื้นที่สาธารณะ หนึ่งในผลงานที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือ อนุสาวรีย์ “พระเจ้าปีเตอร์มหาราช” (Peter the Great) ที่ตั้งตระหง่านอยู่ริมแม่น้ำมอสโก เป็นประติมากรรมขนาดมหึมาที่ไม่เพียงแสดงถึงบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์รัสเซีย แต่ยังสะท้อนนัยทางอำนาจ ความทันสมัย และการสร้างชาติในบริบทร่วมสมัย รูปปั้นดังกล่าวกลายเป็นทั้งจุดสนใจของประชาชนและเป็นเครื่องยืนยันบทบาทของศิลปะในฐานะสื่อแห่งอุดมการณ์ ซูรับ เซเรเตลียังมีผลงานอื่นที่สอดรับกับวาระแห่งรัฐ เช่น อนุสาวรีย์แห่งชัยชนะในสงครามโลกครั้งที่สอง อนุสรณ์แห่งความภาคภูมิใจในความเป็นชาติรัสเซีย และ "ระฆังแห่งสันติภาพ" (The Bell of Peace) 

ซึ่งสะท้อนแนวคิดการสร้างสันติภาพระหว่างประเทศ นอกจากนี้เขายังมีผลงานศิลปะในต่างประเทศหลายแห่ง เช่น อิตาลี สหรัฐอเมริกา และเกาหลีใต้ แสดงให้เห็นถึงการเผยแพร่อุดมการณ์ผ่านเครือข่ายศิลปะระดับนานาชาติ ในทางการเมืองซูรับ เซเรเตลีมีบทบาทที่โดดเด่นในรัสเซียโดยเฉพาะในฐานะประธาน Russian Academy of Arts ที่ส่งผลต่อทิศทางของศิลปะและวัฒนธรรมของประเทศอย่างลึกซึ้ง เขาเป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนนโยบายวัฒนธรรมในยุคหลังโซเวียตโดยเฉพาะในยุคของประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ซึ่งเน้นการใช้ศิลปะเป็นเครื่องมือในการรวมชาติและยืนยันอัตลักษณ์รัสเซียในเวทีโลก ศิลปะของซูรับ เซเรเตลีจึงไม่ใช่เพียงการประดับเมืองแต่คือ “สัญลักษณ์ทางการเมือง” ที่ถูกออกแบบมาเพื่อสร้างความภาคภูมิใจ ความสามัคคี และการยืนยันสถานะของรัฐ บ่อยครั้งที่ผลงานของเขามีขนาดใหญ่โต โอ่อ่า สื่อถึงความยิ่งใหญ่และอำนาจที่อยู่เหนือปัจเจก ซึ่งสอดรับกับแนวโน้มของรัฐรัสเซียในการสร้าง "ความมั่นคงเชิงวัฒนธรรม" และ "การปกครองผ่านความทรงจำ" (governing through memory) ในบริบทดังกล่าว ซูรับ เซเรเตลีจึงเป็นมากกว่าศิลปินหากแต่เป็น “ผู้สร้างวาทกรรม” ผ่านประติมากรรมที่มีชีวิต และมีพลังในการหล่อหลอมอุดมการณ์ของชาติอย่างลึกซึ้งและยาวนาน

ซูรับ เซเรเตลี เคยกล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า “การสร้างสรรค์งานศิลปะที่เชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์และอำนาจของรัฐจะช่วยเสริมสร้างความภาคภูมิใจของชาติ และช่วยให้ประชาชนรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของอัตลักษณ์ร่วม” คำกล่าวนี้สะท้อนให้เห็นบทบาทของศิลปะในฐานะกลไกทางอุดมการณ์ (ideological apparatus) ที่มิได้จำกัดอยู่แค่การถ่ายทอดความงามในเชิงสุนทรียะเท่านั้น หากแต่ยังทำหน้าที่ “สถาปนา” ความชอบธรรมให้แก่รัฐผ่านการสร้างสัญลักษณ์ที่ทรงพลัง หนึ่งในตัวอย่างที่ชัดเจนคือ อนุสาวรีย์ “พระเจ้าปีเตอร์มหาราช” (Peter the Great) ใจกลางกรุงมอสโก ประติมากรรมขนาดมหึมาสูงกว่า 90 เมตร แสดงให้เห็นพระเจ้าปีเตอร์ทรงยืนอยู่บนเรือรบ ซึ่งสื่อถึงการปฏิรูปรัสเซียในศตวรรษที่ 18 และการเปิดประเทศสู่โลกภายนอก สัญลักษณ์นี้ไม่เพียงแค่ย้อนรำลึกถึงอดีต แต่ยังถูกนำมาใช้ซ้ำเพื่อเน้นย้ำแนวคิดเรื่อง “ความต่อเนื่องของอำนาจ” (continuity of power) โดยเฉพาะในยุคของประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ที่พยายามสานต่อความยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์เข้ากับอัตลักษณ์ของรัฐร่วมสมัย ในเชิงทฤษฎีบทบาทของศิลปะในลักษณะนี้สามารถวิเคราะห์ผ่านกรอบแนวคิดของ มิเชล ฟูโกต์ (Michel Foucault) โดยเฉพาะแนวคิดเกี่ยวกับ อำนาจอธิปไตย (sovereign power) และ ชีวการเมือง (biopolitics) ดังนี้

1) อำนาจอธิปไตย (Sovereign Power)
ตามแนวคิดของฟูโกต์ อำนาจอธิปไตยคืออำนาจที่ควบคุม “ชีวิตและความตาย” ของปัจเจก รัฐที่สร้างอนุสาวรีย์ขนาดใหญ่ซึ่งสะท้อนถึงความยิ่งใหญ่ของอดีตนั้น กำลังสถาปนาอำนาจของตนผ่านการเชื่อมโยงกับบุคคลในประวัติศาสตร์ที่ได้รับการยกย่อง อนุสาวรีย์ในลักษณะนี้จึงเป็นมากกว่าการรำลึก หากแต่คือ “การสร้างร่างชาติ” (body politic) ใหม่ภายใต้การนำของผู้นำ เซเรเตลีจึงไม่ใช่เพียงศิลปิน หากแต่เป็น “ช่างหล่อความชอบธรรม” (legitimacy sculptor) ให้กับรัฐ และในบางกรณีอาจนับได้ว่าเป็น “ช่างหล่ออำนาจ” (power sculptor) โดยปริยาย ผ่านผลงานที่สื่อถึงความมั่นคง ความยิ่งใหญ่ และความเป็นนิรันดร์ของรัฐ

2) ชีวการเมือง (Biopolitics)
ในขณะที่อำนาจอธิปไตยควบคุมชีวิตจากเบื้องบน ชีวการเมืองเป็นอำนาจที่จัดการกับชีวิตประชากรในเชิงระบบและกลไก อนุสาวรีย์และศิลปะในพื้นที่สาธารณะจึงเป็นส่วนหนึ่งของ “เครื่องมือชีวการเมือง” ที่รัฐใช้ในการควบคุมความคิด ความเชื่อ และพฤติกรรมของประชาชน ผ่านงานศิลปะเหล่านี้ รัฐสามารถ “ปลูกฝัง” ความภาคภูมิใจในชาติ ความยิ่งใหญ่ในอดีตหรือแนวคิดชาตินิยม ซึ่งจะก่อเกิดเป็นทุนทางอารมณ์ (emotional capital) ที่รัฐสามารถนำมาใช้เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจจากปัญหาภายใน เช่น วิกฤตเศรษฐกิจ การจำกัดเสรีภาพ หรือการรวมศูนย์อำนาจ อนุสาวรีย์ในบริบทของรัสเซียจึงมิใช่เพียงสัญลักษณ์ของอดีต แต่เป็นองค์ประกอบสำคัญของวาทกรรมทางอำนาจ (discourse of power) ที่รัฐร่วมสมัยใช้ในการนิยามความเป็นชาติและความยิ่งใหญ่ของผู้นำ ผ่านการควบคุมความทรงจำร่วมและอารมณ์ร่วมของสังคม

แนวคิดของเบเนดิกต์ แอนเดอร์สัน (Benedict Anderson) ว่าด้วย “ชาติ” ในฐานะชุมชนจินตกรรม (imagined community) ช่วยอธิบายบทบาทของศิลปะและอนุสาวรีย์ในฐานะเครื่องมือทางอุดมการณ์ได้อย่างลุ่มลึก แอนเดอร์สันเสนอว่า แม้สมาชิกของชาติมิได้รู้จักกันเป็นการส่วนตัวแต่ก็สามารถรู้สึกถึงความเป็นส่วนหนึ่งร่วมกันได้ผ่าน “สัญลักษณ์ร่วม” อาทิ ภาษา วรรณกรรม ธงชาติ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง สื่อวัฒนธรรมอย่างศิลปะและอนุสาวรีย์ ในบริบทนี้ผลงานของซูรับ เซเรเตลีโดยเฉพาะอนุสาวรีย์ Peter the Great และประติมากรรมขนาดใหญ่อื่น ๆ ที่เชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ของรัสเซียทำหน้าที่เสมือน “เครื่องจักรผลิตความทรงจำ” (memory-making machinery) ที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างและหล่อหลอมจินตนาการแห่งชาติให้กลายเป็นสิ่งที่ “จับต้องได้” ในพื้นที่สาธารณะศิลปะเชิงสัญลักษณ์เหล่านี้เป็นกระบวนการ “ทำให้ชาติปรากฏขึ้น” (making the nation visible) ในจินตนาการของประชาชน ผ่านรูปธรรมที่สามารถมองเห็น สัมผัสและระลึกถึงได้ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของปิแอร์ โนรา (Pierre Nora) เรื่อง “สถานที่แห่งความทรงจำ” (Lieux de Mémoire) โดยโนราเสนอว่าในยุคที่ “ความทรงจำตามธรรมชาติ” เริ่มเลือนหายไปจากชีวิตประจำวัน สังคมจึงจำเป็นต้อง “บรรจุ” ความทรงจำเหล่านั้นไว้ในรูปของวัตถุ พิธีกรรม หรือสถานที่ เช่น อนุสาวรีย์ พิพิธภัณฑ์ หรือสถานที่รำลึก ในแง่นี้อนุสาวรีย์ที่รัฐสร้างขึ้น เช่น อนุสาวรีย์เฉลิมฉลองชัยชนะในสงครามโลกครั้งที่สอง (WWII) จึงมิใช่เพียงการรำลึกถึงเหตุการณ์ในอดีต หากแต่เป็นการจัดระเบียบความทรงจำ (organized remembering) ของสังคม โดยเน้นคุณค่าเฉพาะ เช่น ความกล้าหาญ ความเสียสละ และความชอบธรรมของอำนาจรัฐ ซึ่งเป็นกระบวนการคัดเลือกความทรงจำ (selective memory) ที่ทำให้บางเรื่องราวถูกจดจำอย่างมีเกียรติ ขณะที่เรื่องอื่นถูกละเลยหรือถูกลืมไปโดยเจตนา

ด้วยเหตุนี้ศิลปะของรัฐจึงกลายเป็น “พื้นที่” แห่งความทรงจำที่รัฐใช้ควบคุม “การจำได้–ลืมไป” (remembering and forgetting) ของประชาชน ทั้งเพื่อสร้างความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชาติและเพื่อรักษาอำนาจผ่านการควบคุมการนิยามอดีตในแบบที่รัฐต้องการ เมื่อพิจารณาจากมุมมองทางความคิดของรัสเซียจะพบว่าวิสัยทัศน์ในการใช้ศิลปะเป็นเครื่องมือทางการเมืองนั้นมีรากฐานลึกซึ้งในแนวคิดเรื่อง “อุดมการณ์รัสเซีย” (Russian Idea – «Идея русской духовности») ซึ่งปรากฏชัดในผลงานของนักปรัชญาคลาสสิกอย่างฟีโอดอร์ ดอสโตเยฟสกี้ (Fyodor Dostoevsky) นิโคไล เบอร์เดียเยฟ (Nikolai Berdyaev) และ วลาดีมีร์ โซโลเวียฟ (Vladimir Solovyov) ที่ล้วนมองว่าภารกิจทางประวัติศาสตร์ของรัสเซียคือการผสมผสานศาสนา ศีลธรรม และจิตวิญญาณเข้ากับพันธกิจทางการเมืองและวัฒนธรรม 

โดยศิลปะและวรรณกรรมถูกมองว่าเป็นเครื่องมือสำคัญในการแสดงออกซึ่งอัตลักษณ์ของชาติ และปกป้องความยิ่งใหญ่ของรัสเซียในกระแสประวัติศาสตร์ แนวคิดนี้สะท้อนอย่างเด่นชัดในงานของยูริ ลอตมัน (Yuri Lotman) ซึ่งวิเคราะห์วัฒนธรรมรัสเซียผ่านกรอบสัญญะวิทยา (semiotics) โดยเสนอว่า "พื้นที่ทางวัฒนธรรม" (semiosphere) คือสนามของการต่อสู้เชิงอุดมการณ์ที่ซึ่งอนุสาวรีย์และงานศิลปะสาธารณะทำหน้าที่จัดระเบียบความคิด ความทรงจำ และโครงสร้างของอำนาจอย่างแยบยล ในทำนองเดียวกัน เลฟ กูมิเลฟ «Лев Гумилёв» ได้เสนอแนวคิด “ความหลงใหลแห่งชาติ” (passionarnost’) เพื่ออธิบายพลวัตของชาติพันธุ์ โดยรัฐสามารถใช้ผลงานศิลปะโดยเฉพาะอนุสาวรีย์ขนาดใหญ่เป็นเครื่องมือสะท้อนพลังทางจิตวิญญาณของชาติ เพื่อรวมศูนย์พลังทางสังคมและความภาคภูมิใจในช่วงวิกฤต ในขณะที่อเล็กเซย์ โลเซฟ «Алексей Лосев» เสนอให้มอง “สัญลักษณ์” และ “ตำนาน” ในฐานะพลังเชิงอภิปรัชญา (metaphysical) ที่หล่อหลอมรัฐ ศาสนา และศิลปะให้เป็นหนึ่งเดียว การสร้างอนุสาวรีย์ เช่น Peter the Great โดยศิลปินอย่างซูรับ เซเรเตลีจึงไม่ใช่เพียงการรำลึกถึงอดีต หากแต่เป็นการสร้าง “ตำนานทางการเมือง” ที่ยังดำรงอยู่เพื่อยืนยันอำนาจและความต่อเนื่องของชาติในปัจจุบัน ดังนั้นการสร้างผลงานศิลปะของซูรับ เซเรเตลีจึงไม่อาจแยกออกจากยุทธศาสตร์การเมืองของรัฐรัสเซียได้โดยเฉพาะในยุคของปูตินซึ่งรัฐให้ความสำคัญกับการฟื้นฟู "ความยิ่งใหญ่ของชาติ" (Russian greatness) ทั้งในเชิงประวัติศาสตร์และภูมิรัฐศาสตร์ งานของเขาทำหน้าที่ผลิตและสถาปนาความทรงจำร่วม (collective memory) ที่เอื้อต่ออัตลักษณ์แบบอนุรักษนิยมและชาตินิยม

ในบริบทของรัฐที่เน้นความเข้มแข็งของชาติ ความต่อเนื่องของประวัติศาสตร์และความชอบธรรมของอำนาจ ศิลปะจึงไม่ใช่เพียงเครื่องมือของการแสดงออกส่วนบุคคล แต่กลายเป็นกลไกของรัฐที่ใช้ผลิตซ้ำอุดมการณ์สร้าง “ภาพแทน” ของความเป็นชาติ และปลูกฝังอารมณ์ร่วมแห่งความภาคภูมิใจในหมู่ประชาชนศิลปะจึงอยู่ในฐานะการสร้างสัญลักษณ์ทางการเมืองและชาติพันธุ์ ดังนี้

1) การสร้างภาพลักษณ์แห่งชาติผ่านงานศิลปะ
รัฐรัสเซียในยุคหลังโซเวียตโดยเฉพาะภายใต้การนำของประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ที่ให้ความสำคัญกับการรื้อฟื้นอัตลักษณ์แห่งชาติผ่านภาพจำทางศิลปะที่เชื่อมโยงอดีตกับปัจจุบัน เช่น อนุสาวรีย์ต่าง ๆ ที่ยกย่องบุคคลในประวัติศาสตร์เช่น พระเจ้าปีเตอร์มหาราช, พระนางเจ้าแคทเธอรีน หรือแม่ของชาติถูกใช้เป็นสื่อกลางในการส่งผ่านนัยแห่งความต่อเนื่อง ความเข้มแข็ง และเกียรติภูมิของรัสเซีย ในทางหนึ่งสิ่งเหล่านี้ทำหน้าที่เป็นสัญลักษณ์เชิงอุดมการณ์ที่บอกแก่ประชาชนว่า "ชาติ" คือสิ่งที่ยิ่งใหญ่ มีรากเหง้า และควรภาคภูมิใจ ทั้งยังเป็นการตอบโต้กระแสโลกาภิวัตน์ที่ถูกมองว่าอาจกัดกร่อนอัตลักษณ์รัสเซียได้

2) ศิลปะและการยกย่องผู้นำ: ความชอบธรรมในนามของประวัติศาสตร์
ในรัสเซียงานศิลปะจำนวนมากมีหน้าที่สร้างภาพลักษณ์เชิงบวกให้แก่ผู้นำโดยผ่านการเปรียบเปรยกับบุคคลในประวัติศาสตร์ การสร้างอนุสาวรีย์ การจัดนิทรรศการ และพิธีเฉลิมฉลองในวาระทางการเมืองล้วนมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างความชอบธรรมของผู้นำปัจจุบัน โดยเฉพาะเมื่อผู้นำเหล่านั้นถูกวางไว้ในสายธารประวัติศาสตร์ของ "ผู้กอบกู้ชาติ" งานของซูรับ เซเรเตลี เช่น อนุสาวรีย์แห่งมิตรภาพกับสหรัฐฯ (มอบให้หลังเหตุการณ์ 9/11), อนุสาวรีย์พระเจ้าปีเตอร์, และงานแสดงความยินดีในวาระทางการเมืองล้วนมีนัยของ การผลิตซ้ำความภักดีและยกย่องรัฐโดยใช้รูปแบบศิลปะอันโอ่อ่าและยิ่งใหญ่

3) การเสริมสร้างรัฐในเชิงอุดมการณ์
ในระบอบที่มุ่งเน้นการควบคุมทางวัฒนธรรมและการเมือง ศิลปะทำหน้าที่เป็นหนึ่งใน “แนวป้องกันทางอุดมการณ์” (ideological defense line) ของรัฐ รัฐอาจไม่ได้ใช้อำนาจกดขี่แบบเผด็จการแบบเดิมเสมอไป แต่ใช้กลไกทางวัฒนธรรม เช่น ศิลปะ, พิธีกรรมรัฐ, และสื่อมวลชน เพื่อจัดระเบียบความคิด ความรู้สึก และจินตนาการของพลเมืองให้เป็นไปตาม “มาตรฐานชาติ” การสร้างศิลปะที่ สะท้อนอัตลักษณ์รัสเซียในฐานะชาติที่ยิ่งใหญ่ กล้าหาญ เคร่งศีลธรรม และต่อต้านตะวันตก คือการปลูกฝังอารมณ์ร่วมที่รัฐสามารถเรียกใช้งานในช่วงเวลาวิกฤต ไม่ว่าจะเพื่อเสริมอำนาจทางการเมือง หรือเพื่อสร้างความสามัคคีในเวลาสงคราม

บทสรุป การจากไปของซูรับ เซเรเตลีมิได้เป็นเพียงการสูญเสียของแวดวงศิลปะ หากแต่เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่สะท้อนถึงการสิ้นสุดของยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์ศิลปะร่วมสมัยของรัสเซีย ยุคที่ศิลปะมิได้ทำหน้าที่เพียงในเชิงสุนทรียศาสตร์ หากแต่เป็น “เครื่องมือของรัฐ” ในการกำหนดอัตลักษณ์ทางการเมือง วัฒนธรรม และอุดมการณ์ของชาติ เซเรเตลีไม่ได้เป็นเพียงประติมากรผู้สร้างผลงานขนาดยักษ์ที่ตระหง่านอยู่ในพื้นที่สาธารณะ หากแต่เป็น “ผู้สื่อสารอุดมการณ์ของรัฐ” ผ่านงานศิลปะที่มีลักษณะของการเป็นทั้งสัญลักษณ์แห่งความทรงจำ และเครื่องกลไกทางอำนาจ ผลงานของเขาสะท้อนให้เห็นกระบวนการของ “การปกครองผ่านความทรงจำ” (governance through memory) ซึ่งรัฐใช้ในการกำหนดกรอบการรับรู้ของประชาชนต่อชาติ ผู้นำและอดีต เมื่อพิจารณาผลงานของเซเรเตลีผ่านกรอบแนวคิดของนักคิดอย่าง เบเนดิกต์ แอนเดอร์สัน มิเชล ฟูโกต์ และ ยูริ ลอตมันเราจะเห็นว่าอนุสาวรีย์เหล่านี้มิใช่เพียงโครงสร้างทางกายภาพ หากแต่เป็น สนามความหมาย (semantic field) ที่เชื่อมโยงอำนาจ วาทกรรม และความทรงจำเข้าด้วยกันอย่างแนบแน่น

ในบริบทของรัสเซียร่วมสมัย มรดกของซูรับ เซเรเตลีจะยังคงส่งอิทธิพลต่อไป ไม่ว่าจะในฐานะเครื่องเตือนใจถึงสายสัมพันธ์ระหว่างศิลปินกับอำนาจรัฐ หรือในฐานะจุดตั้งต้นของการทบทวนบทบาทของศิลปะต่อการเมืองในโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ศิลปะในที่นี้จึงมิใช่เพียงภาพสะท้อนของสังคม หากแต่เป็นส่วนหนึ่งของกลไกในการจัดระเบียบสังคมผ่านความทรงจำ ประวัติศาสตร์ และอุดมการณ์ที่รัฐเลือกจะจารึกไว้

มหากาพย์แห่งสงครามอินโดจีน EP#14 พันธมิตรเวียตนามเหนือ จากหลายชาติคอมมิวนิสต์

“เเชโกสโลวาเกีย” สาธารณรัฐสังคมนิยมเชโกสโลวาเกีย (ปัจจุบันแยกเป็น 2 ประเทศแล้วคือ เช็ก และ สโลวัก) เป็นสมาชิกของสนธิสัญญาวอร์ซอว์ (องค์การพันธมิตรทางทหารของฝ่ายคอมมิวนิสต์ในยุคสงครามเย็น (Cold War)) และตลอดสงครามเวียตนามได้จัดส่งความช่วยเหลือไปยังเวียตนามเหนือมากมายทั้งปืนเล็กยาวหลายหมื่นกระบอก รวมถึงปืนค.และปืนใหญ่ อาวุธยุทโธปกรณ์ที่เชโกสโลวาเกียส่งให้เวียตนามเหนือได้แก่ ปืนพกกล VZ 61 ŠKORPION และปืนเล็กยาวจู่โจม VZ 58 ความร่วมมือกับเชโกสโลวาเกียทำให้มีการพัฒนาความสามารถทางอากาศของเวียตนามเหนือตั้งแต่ปี 1956 ครูการบินขาวเชโกสโลวาเกียได้ทำการฝึกให้นักบินชองกองทัพอากาศเวียตนามเหนือ (VPAF) ในประเทศจีน และช่วยในการพัฒนากองทัพอากาศเวียตนามที่ทันสมัยด้วยเครื่องบินรบแบบ Aero Ae-45, Aero L-29 Delfín และ Zlín Z 26ที่สร้างโดยเชโกสโลวาเกียเอง ตลอดสงครามระหว่างปี 1966 ถึง 1972 มีนักบินเวียตนามเหนือทั้งหมด 17 นายสามารถยิงเครื่องบินรบสหรัฐฯ ตกตั้งแต่ 5 ลำขึ้นไป และตัดเป็น “เสืออากาศ (ACE)”

นอกจากนี้ยังมีความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างสองประเทศเริ่มขึ้นในปี 1956 ด้วยโครงการระยะสั้น โดยเด็กนักเรียนชาวเวียดนามเหนือประมาณ 100 คนถูกส่งไปยังเมือง Chrastava ในภูมิภาค Liberec เด็กส่วนใหญ่กลับเวียตนามเหนือหลังจากโครงการสี่ปีสิ้นสุดลง แต่มีเพียงไม่กี่คนที่ยังคงศึกษาต่อและก่อตั้งชุมชนเวียตนามที่ยังคงอยู่ในเมือง Chrastava จนถึงทุกวันนี้ ความร่วมมืออย่างเป็นทางการมากขึ้นระหว่างสองประเทศเริ่มขึ้นในอีกสิบปีต่อมา เชโกสโลวาเกียและเวียตนามเหนือลงนามในสนธิสัญญาสองฉบับในปี 1967 อนุญาตให้ชาวเวียตนามเหนือทำงานหรือศึกษาในเชโกสโลวาเกีย ซึ่งส่วนใหญ่ทำงานในอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรและสิ่งทอ 

“เกาหลีเหนือ” ผลมาจากการตัดสินใจของพรรคแรงงานเกาหลีในเดือนตุลาคม 1966 เกาหลีเหนือ (สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี) ได้ส่งฝูงบินเครื่องบินขับไล่ที่ 921 และ 923 ของกองทัพอากาศเกาหลีเหนือไปยังเวียตนามเหนือเพื่อสนับสนุนเวียตนามเหนือในต้นปี 1967 มีนักบินเกาหลีเหนือ 200 นาย และหน่วยปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานของเกาหลีเหนือ 2 หน่วยประจำการในเวียตนามเหนือ ในช่วงสงครามเวียตนาม เกาหลีเหนือยังส่งอาวุธกระสุนและเครื่องแบบสองล้านชุดให้กับสหายของพวกเขาในเวียดนามเหนือ Kim Il Sung ผู้นำเกาหลีเหนือในขณะนั้นได้บอกกับนักบินของเขาว่า "ให้สู้รบในสงครามเหมือนกับว่าท้องฟ้าเวียตนามเป็นของพวกเขาเอง" เกาหลีเหนือให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและการทหารแก่เวียตนามเหนือเป็นจำนวนมาก ในปี 1968 นักเรียนเวียตนามเหนือประมาณ 2,000 คนได้รับการศึกษาในเกาหลีเหนือโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย อย่างไรก็ตามจากปี 1968 ความสัมพันธ์ระหว่างเปียงยางและฮานอยเริ่มเสื่อมลงด้วยเหตุผลหลายประการ อาทิ การที่เกาหลีเหนือไม่เห็นด้วยกับการตัดสินใจของเวียตนามเหนือที่จะเข้าร่วมการเจรจาสันติภาพกับสหรัฐอเมริกาและตอบสนองต่อข้อตกลงสันติภาพปารีส  ในช่วงสงครามกลางเมืองกัมพูชาเกาหลีเหนือได้เข้าร่วมแผนการจีนในการสร้าง "แนวร่วมของอาณาจักรทั้งห้าในเอเชีย" (จีน เกาหลีเหนือ เวียดนาม ลาว และกัมพูชา) ในขณะที่เวียตนามเหนือปฏิเสธ เมื่อสงครามเวียตนามสิ้นสุดลงในปี 1975 รัฐบาลเวียตนามเหนือประสบความสำเร็จในการรวมประเทศซึ่งแตกต่างจากเกาหลีเหนือ ในช่วงสงครามกัมพูชา – เวียดนาม ผู้นำเกาหลีเหนือได้ประณามการรุกรานของกองกำลังเวียดนามในกัมพูชา และให้การสนับสนุนเขมรแดง (Khmer Rouge)  อีกทั้งยังสนับสนุนจีนในช่วงสงครามชิโน-เวียดนาม เวียดนามมาไม่พอใจสิ่งที่เห็นว่าเป็นพฤติกรรมที่เห็นแก่ตัวของเกาหลีเหนือ และ 2 ชาติคอมมิวนิสต์นี้กลายเป็นคู่แข่งมากกว่ามิตรประเทศ ในช่วงเวลาเดียวกัน Pol Pot เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชาและผู้นำเขมรแดงได้ไปเยือนเกาหลีเหนือซึ่งเป็นเพียงหนึ่งในสองประเทศ Pol Pot ได้ไปเยือน

“คิวบา” การมีส่วนร่วมในเวียตนามเหนือของสาธารณรัฐคิวบาภายใต้ Fidel Castro นั้น ทั้งเวียดนามและคิวบาไม่ได้เปิดเผยข้อมูลใด ๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้มากนัก จึงไม่ทราบว่า ในช่วงสงครามมีที่ปรึกษาทางทหารของคิวบาจำนวนมากในเวียตนามเหนือ มีรายงานหลายฉบับระบุว่า นักบินคิวบาได้บินเครื่องบินขับไล่ในการรบทางอากาศกับนักบินอเมริกันเหนือเวียตนามเหนือ ที่ปรึกษาชาวอเมริกันคนหนึ่งที่อยู่ในเฮลิคอปเตอร์แบบ Sikorsky H-34 ได้ใช้เครื่องยิงลูกระเบิดแบบ M-79 ยิงเครื่องบินลำเลียง An-2 ซึ่งบินนักบินชาวคิวบาในภาคเหนือของลาว ซึ่งเป็นเครื่องบินชนิดที่ถูกใช้ในการโจมตี Lima 85 ฐานลับสุดยอดของสหรัฐฯ ในลาว เชื่อว่าบินโดยนักบินชาวคิวบาเช่นกัน (Lima 85 ทำหน้าที่ชี้เป้าให้เครื่องบินอเมริกันในการทิ้งระเบิดเวียตนามเหนือ) มีข้อกล่าวหามากมายจากอดีตเชลยศึกของสหรัฐฯ ที่ถูกชาวคิวบาทำทารุณกรรมในเรือนจำของเวียตนามเหนือในช่วงสงคราม ซึ่งถูกเรียกว่า "โปรแกรมคิวบา" (ซึ่งเวียตนามเหนืออ้างว่า เป็นการศึกษาทางจิตวิทยาของมหาวิทยาลัยฮานอย) พยานในเรื่องนี้รวมถึง จอห์น แมคเคน วุฒิสมาชิก และผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯในปี 2008 ผู้เคยเป็นเชลยศึกในเวียตนามเหนือ

ในบรรดาที่ปรึกษาทางทหารชาวคิวบาเหล่านี้หลายพันคนที่เรียกกันว่า "Giron Brigade" ทำหน้าที่รักษาเส้นทางหมายเลขเก้า หรือ เส้นทางโฮจิมินห์ที่เริ่มจากเวียตนามเหนือผ่านลาวและกัมพูชาไปยังเวียตนามใต้ มีทหารอเมริกันจำนวนมากที่ปฏิบัติหน้าที่ทั้งในเวียตนามและลาวถูกจับหรือถูกฆ่าตายตามเส้นทางโฮจิมินห์ โดยทุกครั้งมักจะมีปรึกษาทางทหารชาวคิวบาหลายคนร่วมอยู่ด้วยเสมอ รายงานฉบับหนึ่งของสหรัฐฯ ระบุว่า เชลยศึอเมริกัน 18 นายถูกควบคุมตัวที่ค่าย Phom Thong ในลาวโดยมีปรึกษาทางทหารจากโซเวียตและคิวบาสอบสวนอย่างใกล้ชิด โดยมีทหารเวียตนามเหนือรักษาการณ์ภายนอก

“เยอรมนีตะวันออก” สงครามเวียดนามเป็นโอกาสที่จะปรับปรุงการดำเนินนโยบายต่างประเทศของตนเองภายใต้สหภาพโซเวียต และมีโอกาสเผชิญหน้ากับ "จักรวรรดินิยมอเมริกัน...ผู้รุกราน" โดยกระทรวงความมั่นคงสาธารณะของเวียตนามเหนือ (BộCông an) มีความสนใจเป็นพิเศษที่จะรับความช่วยเหลือจากหน่วยงานความมั่นคงแห่งรัฐ (STASI) ของเยอรมนีตะวันออกในการจัดตั้งหน่วยข่าวกรองและอุปกรณ์รักษาความปลอดภัย ด้วย STASI ได้รับการยกย่องว่ามี "เทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีสไตล์ในการทำงานที่มีความเป็นวิทยาศาสตร์" กระทรวงความมั่นคงสาธารณะเวียตนามได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยข่าวกรองโซเวียตและเยอรมันตะวันออกจนได้รับการจัดอันดับว่ามีความสำคัญที่สุดในกลุ่มสังคมนิยม เยอรมนีตะวันออกได้ให้ความช่วยเหลือเป็นจำนวนมากเพื่อช่วยให้เวียตนามเหนือ อาทิ การจัดทำ "Green Dragon" บัตรประจำตัวนักรบเวียตนามเหนือที่แฝงตัวในเวียตนามใต้ซึ่งยากที่จะปลอมแปลงหรือทำซ้ำ 

การมีส่วนร่วมของเยอรมนีตะวันออกในสงครามเวียตนามนั้นกว้างขวางและมากมายหลากหลายมิติ ความช่วยเหลือที่จับต้องได้เช่น การฝึกอบรมงานด้านข่าวกรองให้เจ้าหน้าที่เวียตนามเหนือ และในปี 1967 ได้เพิ่มงบประมาณเพื่อส่งอาวุธยุทโธปกรณ์ เสบียง เวชภัณฑ์ ไปยังเวียตนามเหนือ รวมไปถึงความช่วยเหลือทางการเงิน ความช่วยเหลือด้านการแพทย์และมนุษยธรรม การศึกษาและการฝึกอบรมเฉพาะด้าน และการศึกษาสำหรับกลุ่มชาวเวียตนามเหนือในเยอรมนีตะวันออก การรณรงค์ที่สำคัญในเยอรมนีตะวันออกที่ประสบความสำเร็จ อาทิ "Blood for Vietnam" ในปี 1968 ซึ่งสมาชิกสหภาพการค้าของเยอรมนีตะวันออก 50,000 คนได้ร่วมกันบริจาคเลือดให้กับเวียตนามเหนือ 

หลังจากการรวมชาติของสองเวียตนามประสบความสำเร็จในปี 1975 ความสัมพันธ์อันใกล้ชิดระหว่างเยอรมนีตะวันออกและเวียดนามยังคงดำเนินต่อไป เนื่องจากการขาดแคลนแรงงานในเยอรมนีตะวันออกอย่างรุนแรง เยอรมนีตะวันออกและเวียดนามได้ลงนามในสัญญาในเดือนเมษายน 1980 สำหรับการจัดส่งพนักงานรับเชิญชาวเวียดนาม 200,000 คนไปทำงานในเยอรมนีตะวันออก ในทางกลับกันเยอรมนีตะวันออกให้ความช่วยเหลือเวียดนามในการพัฒนาด้านต่าง ๆ และนำเข้าสินค้าเช่น กาแฟ ชา ยาง และพริกไทย จากเวียดนาม ปัจจุบัน ชาวเวียดนามเป็นชนกลุ่มน้อยชาวเอเชียที่มีจำนงนมากที่สุดในเยอรมนี

หมายเหตุ ผู้เขียนใช้คำว่า “เวียตนาม” ตัว ‘ต’ สะกด เพราะเอกสารสมัยก่อนใช้เช่นนี้ ต่อมาภายหลังจึงเปลี่ยนมาเป็น “เวียดนาม” สะกดด้วยตัว ‘ด’

ตลอดเดือนเมษายน 2568 พบกับเรื่องราวของมหากาพย์แห่งสงครามอินโดจีน 
ในโอกาสครบ 50 ปีแห่งการสิ้นสุดสงคราม วันที่ 30 เมษายน 2518

ไทย–จีน ความสัมพันธ์บนเส้นทางไมตรี กับตำนานใช้ลูกผูกใจของ ‘สังข์ พัธโนทัย’

(24 เม.ย. 68) ในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 โลกทั้งใบกำลังอยู่ในห้วงแห่งการสั่นสะเทือน ประเทศมหาอำนาจล้วนแบ่งขั้วกันอย่างชัดเจนระหว่างโลกเสรีและกลุ่มคอมมิวนิสต์ เวลานั้นประเทศไทยภายใต้การนำของจอมพลปพิบูลสงครามได้เข้าร่วมกับฝ่ายอักษะทำสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 2 ไทยในเวลานั้นมีความสัมพันธ์กับจีนที่เบาบางมากเนื่องจากไม่ลงรอยกัน

จนกระทั่งในที่สุดวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) ญี่ปุ่นลงนามยอมจำนนต่อฝ่ายสัมพันธมิตร ถือเป็นการสิ้นสุดของสงครามโลกอย่างเป็นทางการ สำหรับประเทศไทย แม้จะเคยประกาศสงครามต่ออังกฤษและสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2485 (ค.ศ. 1942) แต่ภายหลังได้ประกาศว่าการประกาศสงครามนั้นเป็นโมฆะ เนื่องจากขัดต่อรัฐธรรมนูญและไม่ใช่เจตจำนงของประชาชนชาวไทย

ก่อนหน้านั้น พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2478 ขณะมีพระชนมพรรษาเพียง 9 พรรษา โดยประทับอยู่ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และมีคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน

พระองค์เสด็จนิวัติพระนครครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 ก่อนจะเสด็จกลับไปทรงศึกษาต่อ ดังนั้นการตัดสินใจเข้าร่วมสงครามในปี 2485 ภายใต้การนำของจอมพลป.ถึงไม่ได้เกี่ยวข้องกับรัชกาลที่ 8 นั่นเอง

รัชกาลที่ 8 นั้นเสด็จนิวัติอีกครั้งเป็นครั้งที่สองเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2488 หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 การเสด็จกลับครั้งนี้ไม่เพียงเป็นการกลับมาขององค์พระประมุขผู้ทรงบรรลุนิติภาวะ หากแต่ยังเป็นสัญลักษณ์สำคัญของการฟื้นฟูศักดิ์ศรีของชาติไทยในสายตาประชาคมโลก หลังการยุติสงครามและการถูกครอบงำโดยญี่ปุ่น

แม้จะยังทรงพระเยาว์ แต่รัชกาลที่ 8 ทรงสามารถเอาชนะใจประชาชนได้อย่างรวดเร็ว พระราชกรณียกิจที่เป็นที่กล่าวถึงมากคือ การเสด็จเยือนย่านสำเพ็งเพื่อสมานรอยร้าวระหว่างชาวไทยกับชาวจีนหลังสงคราม นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงรับเสด็จ ลอร์ด หลุยส์ เมานต์แบตเทน ผู้บัญชาการทหารฝ่ายสัมพันธมิตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในการตรวจพลสวนสนามที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2489 โดยทรงฉลองพระองค์จอมทัพไทยอย่างสง่างาม เป็นการแสดงออกว่าประเทศไทยไม่ได้ตกเป็นเมืองขึ้นหรืออยู่ในสถานะพ่ายแพ้สงคราม

เหตุการณ์นี้ได้เปลี่ยนทัศนคติของประชาชนชาวไทยที่มีต่อสงครามและต่อสถานะของชาติอย่างมาก นับเป็นช่วงเวลาที่รัชกาลที่ 8 ทรงมีบทบาทในเชิงสัญลักษณ์ทางการเมืองและการทูตระหว่างประเทศอย่างแท้จริง

ขณะเดียวกัน จอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในช่วงสงคราม ถูกจับกุมเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) ในข้อหาเป็นอาชญากรสงคราม เนื่องจากบทบาทของเขาในการนำประเทศไทยเข้าสู่สงครามเคียงข้างญี่ปุ่น เขาถูกควบคุมตัว ณ เรือนจำศาลาแดง ร่วมกับผู้ใกล้ชิดทางการเมืองคนสำคัญ — สังข์ พัธโนทัย ที่ปรึกษาและนักโฆษณาชวนเชื่อผู้ทรงอิทธิพล

ทั้งสองอยู่ในห้องขังด้วยกันราว 6 เดือน ก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งปล่อยตัวในช่วงต้นปี พ.ศ. 2489 โดยเห็นว่าไม่มีหลักฐานเพียงพอ และคำประกาศสงครามของไทยในยุคสงครามนั้นเป็นโมฆะตามรัฐธรรมนูญ การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่ตามมาหลังสงคราม และการเสด็จกลับของรัชกาลที่ 8 เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้บรรยากาศของความขัดแย้งในประเทศผ่อนคลายลง

หลังจากนั้น สังข์ พัธโนทัย กลับมาทำงานด้านสื่อและกลายเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการเชื่อมสัมพันธ์กับจีน เขาไม่ได้มีตำแหน่งทางการทูต แต่กลายเป็นผู้นำเสนอแนวทาง "การทูตสองหน้า" เพื่อเปิดประตูไปยังจีนโดยไม่ขัดกับท่าทีที่ไทยใกล้ชิดกับสหรัฐ

ในปี พ.ศ. 2499 (ค.ศ. 1956) สังข์ทำสิ่งที่โลกในเวลานั้นแทบไม่เข้าใจ — เขาส่ง ลูกชายและลูกสาว ไปอยู่ภายใต้การอุปการะของ โจว เอินไหล นายกรัฐมนตรีจีน เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของ “มิตรภาพที่ฝากทั้งชีวิตไว้ได้”

สิรินทร์ พัธโนทัย วัย 8 ขวบในขณะนั้น เป็นหนึ่งในเด็กสองคนนั้น เธอเติบโตอยู่ในประเทศจีน 14 ปี และได้รับความรักเฉกเช่นสมาชิกในครอบครัวของโจว เธอให้สัมภาษณ์ในภายหลังว่า “ได้รับความรักและความเมตตาอย่างแท้จริงจากโจวเอินไหล” ปัจจุบันเธอยังพูดภาษาจีนได้คล่อง และถ่ายทอดภาษานั้นไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน

สายสัมพันธ์นี้เป็นมากกว่าการทูต — มันคือความไว้วางใจที่ลงลึกในระดับครอบครัว

ในเวลาเดียวกัน สังข์พยายามอย่างเงียบ ๆ ที่จะฟื้นความสัมพันธ์ระหว่างอดีตคณะราษฎรสองสาย — จอมพล ป. พิบูลสงคราม กับ ปรีดี พนมยงค์ ให้กลับมาจับมือกันอีกครั้ง โดยหวังว่าความร่วมมือของทั้งสองอาจเปลี่ยนอนาคตของประเทศได้

ทั้งสองเริ่มติดต่อกันผ่านรหัสลับ พูดถึงการกลับมาดื่มไวน์ด้วยกันที่กรุงเทพฯ เหมือนเมื่อครั้งยังเรียนอยู่ที่ปารีส

แต่...วันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2507 (ค.ศ. 1964) จอมพล ป. เสียชีวิตกะทันหันด้วยโรคหัวใจ สะพานที่สังข์ปูไว้จึงจบลงก่อนที่ใครจะทันข้าม

ต่อมาในปี พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) ความพยายามเหล่านั้นได้ออกดอกผล เมื่อ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช นายกรัฐมนตรีของไทย ลงนามสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีนอย่างเป็นทางการ และจีน...คือฝ่ายที่จำได้ดีว่า คนไทยคนแรกที่กล้าไว้ใจเขาคือใคร

สังข์ พัธโนทัย ไม่ได้มีชื่ออยู่ในรายนามเอกอัครราชทูต หรือรัฐมนตรีต่างประเทศ แต่ชื่อของเขา คือไม้แผ่นแรกของสะพานที่ทุกคนเดินตามในภายหลัง

WORLD

‘ทรัมป์’ เผยเริ่มเจรจากับจีนแล้ว แต่ฝั่งปักกิ่งบอกไปคุยตอนไหน สหรัฐฯ ‘คุยกับใครเหรอ ไม่เห็นรู้เรื่อง!’ ยันยังไม่เจอตัวแทนวอชิงตัน

ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ของสหรัฐฯ ยืนยันว่า ได้มีการเจรจากับทางการจีนเกี่ยวกับมาตรการภาษีศุลกากร แม้ว่ารัฐบาลปักกิ่งจะออกมาปฏิเสธการเจรจาดังกล่าว โดยระบุว่า “ยังไม่มีการพูดคุยทางการค้าใดๆ” ระหว่างสองฝ่ายในขณะนี้ ท่ามกลางความตึงเครียดทางเศรษฐกิจที่ดำเนินมายาวนาน

ทรัมป์กล่าวระหว่างการประชุมกับนายกรัฐมนตรีนอร์เวย์ที่ทำเนียบขาวว่า “พวกเขาประชุมกันเมื่อเช้านี้” และเสริมว่า “เราได้ประชุมกับจีนแล้ว” อย่างไรก็ตาม เขาปฏิเสธที่จะเปิดเผยตัวแทนของฝ่ายจีน โดยระบุเพียงว่าอาจมีการเปิดเผยในภายหลัง แต่ยืนยันว่าการเจรจาเกิดขึ้นแล้ว

ด้านกระทรวงพาณิชย์ของจีนออกมาปฏิเสธรายงานดังกล่าว โดยโฆษกเหอ หยาตง (He Yadong) ย้ำว่า ขณะนี้ยังไม่มีการเจรจาการค้าระหว่างสองประเทศ และข่าวใด ๆ ที่ระบุว่ามีความคืบหน้าเป็นเพียงการคาดเดา โดยไม่มีข้อเท็จจริงรองรับ พร้อมระบุว่าจีนยังยึดมั่นในแนวทางการเจรจาบนพื้นฐานของความเสมอภาค

แม้ยังไม่มีความชัดเจนในข้อเท็จจริง แต่นักลงทุนมองว่าการแสดงท่าทีเชิงบวกของสหรัฐฯ อาจช่วยผ่อนคลายความกังวล ส่งผลให้ตลาดหุ้นทั่วโลกเริ่มฟื้นตัวจากภาวะขาดทุนในเดือนเมษายน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังมีรายงานว่ารัฐบาลทรัมป์กำลังพิจารณาลดภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนลงมาอยู่ในช่วง 50% ถึง 65%

ทรัมป์ยังใช้แพลตฟอร์ม Truth Social กล่าวโจมตีจีนเพิ่มเติม ทั้งในประเด็นการชะลอรับมอบเครื่องบินโบอิ้ง และการปล่อยให้เฟนทานิลไหลเข้าสหรัฐฯ ผ่านเม็กซิโกและแคนาดา พร้อมเรียกร้องให้โบอิ้งเป็นฝ่ายเรียกร้องจีนที่ผิดนัดชำระหนี้ ไม่ยอมรับมอบ พร้อมกำหนดอัตราภาษีนำเข้าต่อจีน แคนาดา และเม็กซิโก เพื่อกดดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการค้าและควบคุมปัญหายาเสพติด

ตำรวจเมียนมารวบ ‘หมอดู’ TikTok ร้อนวิชาวัย 21 ปี ทำนายแผ่นดินไหวใหญ่ล่วงหน้าสุดมั่ว ทำคนตื่นตระหนก

(25 เม.ย. 68) ทางการเมียนมาจับกุมนายจอห์น โม (John Moe) หมอดูหนุ่มวัย 21 ปี ผู้มีผู้ติดตามกว่า 300,000 คนบน TikTok หลังโพสต์คลิปทำนายว่าแผ่นดินไหวรุนแรงจะเกิดขึ้นอีกครั้งทั่วประเทศภายใน 12 วัน ซึ่งสร้างความวิตกในหมู่ประชาชน โดยเฉพาะหลังเหตุแผ่นดินไหวเมื่อเดือนมีนาคมที่คร่าชีวิตผู้คนกว่า 3,700 ราย

ในวิดีโอทำนายของหมอดูรายนี้ มียอดเข้าชมถึง 3.3 ล้านครั้ง เขาแนะนำให้ผู้คน “อย่าอยู่ในตึกสูง” และ “พกของสำคัญหนีออกจากอาคารเมื่อเกิดแผ่นดินไหว” โดยคำเตือนนี้ถูกโพสต์เมื่อวันที่ 9 เมษายน เพียงไม่กี่สัปดาห์หลังเหตุแผ่นดินไหวใหญ่ครั้งก่อน ซึ่งทำให้ผู้รอดชีวิตจำนวนมากยังไม่กล้ากลับเข้าไปอยู่ในบ้าน

ส่งผลให้เจ้าหน้าที่บุกจับเขาที่บ้านในเมืองโมนยวา เมื่อวันที่ 22 เมษายน ที่ผ่านมา และแถลงผ่านสื่อของรัฐในวันที่ 24 เมษายนว่า การทำนายดังกล่าวเข้าข่ายเผยแพร่ข่าวปลอม ทำให้ประชาชนตื่นตระหนก และอาจกระทบต่อความสงบเรียบร้อยในประเทศ

‘จีน’ ผนึกกำลัง ‘รัสเซีย’ สร้างบ้านหลังแรกของมนุษย์บนดวงจันทร์ ตั้งเป้าฐานถาวรพร้อมแหล่งพลังงานนิวเคลียร์ภายในปี 2035

(25 เม.ย. 68) จีนและรัสเซียเดินหน้าขยายความร่วมมือด้านอวกาศอย่างต่อเนื่อง โดยลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อพัฒนาสถานีวิจัยดวงจันทร์นานาชาติ (ILRS) ร่วมกันตั้งแต่เดือนมีนาคม 2021 และกำหนดเริ่มภารกิจสำรวจดวงจันทร์ภายในปี 2026 ทั้งสองประเทศยืนยันเป้าหมายจะสร้างฐานทัพที่มนุษย์สามารถอาศัยอยู่ได้อย่างถาวรภายในทศวรรษหน้า

หนึ่งในเป้าหมายหลักคือการติดตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์บนดวงจันทร์ เพื่อรองรับการใช้พลังงานในช่วงกลางคืนอันยาวนานของดวงจันทร์ที่ไร้แสงอาทิตย์ โดย เป่ย เจ้าอวี่ (Pei Zhaoyu) หัวหน้าวิศวกรของภารกิจฉางเอ๋อ-8 (Chang’e-8) เผยว่าโรงไฟฟ้าจะช่วยสนับสนุนการดำเนินงานของ ILRS ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เมื่อวันที่ 24 เมษายน ซึ่งเป็นวันอวกาศของจีน ตัวแทนของจีนและรัสเซียได้พบปะเพื่อย้ำจุดยืนร่วมด้านความร่วมมืออวกาศ โดยรัสเซียได้นำเสนอแผนการสำรวจทรัพยากรแร่ธาตุและน้ำบนดวงจันทร์ พร้อมทั้งแนวคิดใช้วัสดุจากดวงจันทร์เป็นเชื้อเพลิงในอนาคต ขณะที่จีนตั้งเป้าส่งมนุษย์เหยียบดวงจันทร์ภายในปี 2030

ระหว่างปี 2033-2035 จีนและรัสเซียมีแผนสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ร่วมบนดวงจันทร์ ขณะนี้มี 17 ประเทศเข้าร่วมโครงการ ILRS และจีนตั้งเป้าขยายพันธมิตรเพิ่มเป็น 50 ประเทศ โดยเน้นกลุ่ม BRICS และประเทศกำลังพัฒนา

โครงการ ILRS ได้รับการแบ่งเป็น 3 ระยะ เริ่มจากการสำรวจและระบุตำแหน่งฐาน ทดสอบเทคโนโลยี ต่อด้วยการสร้างระบบสื่อสารและการขนส่ง ก่อนเข้าสู่ระยะสุดท้ายคือการขยายสถานีวิจัยและส่งมนุษย์ขึ้นสำรวจดวงจันทร์ โดยประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ระบุว่า โครงการนี้ “น่าสนใจและมีแนวโน้มดีมาก” ในระหว่างการเยือนจีนปี 2024

© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top