Tuesday, 17 September 2024
INSIGHT

‘ราชพัฒนา เอ็นเนอร์ยี’ ทุ่ม 2,700 ล้านบาท เปิดตัวโรงไฟฟ้าใหม่ หวังยกระดับเสถียรภาพ - ความมั่นคงด้านพลังงานให้กับประเทศ

(21 พ.ค.67) ราชพัฒนา เอ็นเนอร์ยี หรือชื่อเดิม สหโคเจน (ชลบุรี) พร้อมก้าวสู่ปีที่ 28 มุ่งขับเคลื่อนองค์กรสู่ความยั่งยืน เดินหน้าขยายการลงทุนพลังงานครบวงจร ล่าสุดใช้งบลงทุน 2.7 พันล้าน เปิดตัวโรงไฟฟ้าใหม่ กำลังผลิตไฟฟ้า 79.5 เมกะวัตต์ ไอน้ำ 75 ตัน/ชั่วโมง เพิ่มศักยภาพการผลิตไฟฟ้า ยกระดับเสถียรภาพและความมั่นคงด้านพลังงานให้กับประเทศอย่างต่อเนื่อง

ด้าน นายสุจริต ปัจฉิมนันท์ ประธานกรรมการ บริษัท ราชพัฒนา เอ็นเนอร์ยี จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า นับตั้งแต่บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ได้เข้าถือหุ้นร่วมกับเครือสหพัฒน์ โดยถือหุ้นบริษัทในสัดส่วนร้อยละ 51.67 ในเดือนธันวาคม 2564 คณะกรรมการบริษัทได้วางนโยบายมุ่งขยายการลงทุนโรงไฟฟ้าขนาดย่อมทั้งภายในประเทศและประเทศต่าง ๆ ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายและรองรับแผนขยายการลงทุนดังกล่าว จึงมีมติให้เปลี่ยนชื่อในการดำเนินธุรกิจจาก บริษัท สหโคเจน (ชลบุรี) จำกัด (มหาชน) เป็น บริษัท ราชพัฒนา เอ็นเนอร์ยี จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา

ด้าน นางสาวสุวิมล ประทักษ์นุกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ราชพัฒนา เอ็นเนอร์ยี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัท สหโคเจน (ชลบุรี) จำกัด (มหาชน) ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าและไอน้ำมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2539 โดยใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ จำหน่ายให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ภายใต้โครงการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) ประเภท Firm ระบบ Cogeneration และไฟฟ้าส่วนที่เหลือ รวมทั้งไอน้ำ จำหน่ายแก่โรงงานอุตสาหกรรมในสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์-ศรีราชา เพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการลงทุนของผู้ประกอบการอุตสาหกรรม

ล่าสุด บริษัทได้ดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ ภายใต้งบประมาณการลงทุนรวม 2,700 ล้านบาท เพื่อทดแทนโรงไฟฟ้าเดิมที่จะครบอายุสัญญา (SPP Replacement) ซึ่งได้ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2567 โดยมี นายบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา ประธานเครือสหพัฒน์ เป็นประธานในพิธี และได้รับเกียรติจาก นายนิทัศน์ วรพนพิพัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)  นายณัฐวุฒิ ผลประเสริฐ รองผู้ว่าการระบบส่ง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พร้อมด้วย นายสุจริต ปัจฉิมนันท์ ประธานกรรมการบริษัท คณะกรรมการบริษัท ผู้บริหาร พนักงานบริษัท ลูกค้า คู่ค้า และแขกผู้มีเกียรติเข้าร่วมพิธีและเป็นสักขีพยานในงาน ณ บริษัท ราชพัฒนา เอ็นเนอร์ยี จำกัด (มหาชน) สวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์-ศรีราชา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี 

ทั้งนี้ การเปิดตัวโรงไฟฟ้าใหม่มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มเสถียรภาพและความมั่นคงด้านพลังงานให้กับประเทศอย่างไม่มีสะดุด โดยมีกำลังการผลิตไฟฟ้าติดตั้ง 79.5 เมกะวัตต์ และไอน้ำ 75 ตันต่อชั่วโมง ซึ่งจะช่วยเพิ่มศักยภาพกำลังการผลิตไฟฟ้ารวมของบริษัททะยานสู่ 153 เมกะวัตต์และไอน้ำ 110 ตันต่อชั่วโมง โรงไฟฟ้าใหม่นี้ได้เริ่มจำหน่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) แล้วตั้งแต่วันที่ 19 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา 

ก่อนหน้านี้ บริษัทได้เปลี่ยนชื่อในการดำเนินธุรกิจสู่ บริษัท ราชพัฒนา เอ็นเนอร์ยี จำกัด (มหาชน) เพื่อแสดงถึงความเป็นพันธมิตร ระหว่าง บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และ เครือสหพัฒน์ พร้อมเดินหน้าขยายธุรกิจสู่พลังงานหมุนเวียน โดยการลงทุนในธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ทั้งแบบติดตั้งบนหลังคา (Solar Rooftop) แบบติดตั้งบนพื้นดิน (Solar  Farm) และแบบติดตั้งบนทุ่นลอยน้ำ (Solar Floating) ซึ่งในปี 2567 นี้ คาดการณ์ว่า บริษัท และบริษัทในเครือ จะมีกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ แบบติดตั้งบนหลังคา (Solar Rooftop) รวมประมาณ 21 เมกะวัตต์ ตามสัดส่วนการถือหุ้น

มองไทยรอบทิศ กับ ‘ดร.วิศิษฐ์ ลิ้มลือชา’ 

มองไทยรอบทิศ กับ ‘ดร.วิศิษฐ์ ลิ้มลือชา’ 

กิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศไทยและรวมถึงทั่วโลกเริ่มหวนคืน ภายหลังเชื้อโควิด-19 เริ่มจาง เราเริ่มเห็นตัวเลขการลงทุนจากต่างประเทศที่ไหลเวียนเข้ามาตั้งแต่ต้นปี จนกระทั่งถึงเดือนตุลาคม (65) 

เราเริ่มเห็นภาพชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยจนแน่นสนามบินสุวรรณภูมิ 

ภาพเหล่านี้ ชี้ให้เห็นถึงสัญญาณเด่นชัดว่า ‘ประเทศไทย’ กำลังจะดีขึ้น 

ไม่เพียงเท่านั้น เครื่องจักรเศรษฐกิจส่วนอื่นๆ ก็กำลังเคลื่อนตัวไปในทิศทางที่น่าสนใจ ไม่ว่าเป็น ‘การส่งออก’ โดยเฉพาะการส่งออกอาหาร ซึ่งถือเป็น ‘พระรองรูปหล่อ’ ที่ผลักออกสู่ตลาดและสร้างแรงกระเพื่อมได้อย่างน่าสนใจ จนคาดว่าจะช่วยเสริมแรงให้เศรษฐกิจไทยฟื้นกลับมาในเร็ววัน

เรื่องนี้ไม่ใช่การมโน แต่ได้รับคำยืนยันจาก ‘ดร.วิศิษฐ์ ลิ้มลือชา’ รองประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ในฐานะผู้คลุกวงในอยู่ในความเคลื่อนไหวของการผลิตและการส่งออกมาอย่างยาวนาน มาช่วยแถลง ผ่านบทสัมภาษณ์ที่ทำให้ THE STATES TIMES รู้สึกว่า ‘ประเทศไทย’ ไปรอด!!

Q: ข่าวดีประเทศไทยช่วงนี้มีเยอะมากจริงเลยนะครับ!!
A: ใช่ครับ!! ตอนนี้เครื่องยนต์หลักของเศรษฐกิจเริ่มถูกขับเคลื่อยด้วย ‘ส่งออก’ กับ ‘ท่องเที่ยว’ อย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงของไตรมาสสุดท้าย ซึ่งถือเป็นหน้าท่องเที่ยว มีอากาศดี โดนใจคนในหลายๆ ประเทศฝั่งตะวันตกที่หนีหนาวมาพึ่งอากาศ ยิ่งเปิดประเทศชัด2-3 เดือนมานี้ สารพัดทิศก็มาทัวร์ที่ไทย แม้จะมีการติดขัดในเรื่องของสายการบินที่ยังไม่สามารถกลับมาให้บริการได้เต็มที่อยู่บ้าง ซึ่งในหลายๆ ประเทศก็เจอปัญหานี้ 

ขณะเดียวกันในส่วนของธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็น นวด, ผับบาร์, ร้านอาหาร ก็กลับมาเปิดบริการกันค่อนข้างเยอะแล้ว ทุกคนคึกคัก เพราะการหยุดไป 2 ปีกว่าๆ นี่คือช่วงเวลาที่กลุ่มธุรกิจซึ่งอยู่ในห่วงโซ่นี้จะกลับมาพลิกฟื้นตัว 

Q: ข้ามเรื่องของท่องเที่ยวไปก่อน แล้วไปมองย้อนไปยังเรื่องของ ‘การส่งออก’ คุณมองว่าทิศทางส่งออกของไทยจะเป็นอย่างไรต่อไป?
A: ถ้ามองภาพรวมการส่งออกในส่วนที่เป็นสินค้าประเภทต่างๆ ยังเติบโตต่อเนื่อง โดยเราได้อานิสงฆ์จริงๆ มาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว หลังจากหลายๆ ประเทศเริ่มกลับมาทำธุรกิจ ทำให้การหมุนเวียนทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นมาก คนออกมาจากบ้านได้ ไปร้านอาหารได้ คนออกมาทำธุรกิจได้ ก็ต้องมีการซื้อรถยนต์ ต้องมีการบริโภคต่างๆ เพิ่มเข้ามา ตัวเลขมันเริ่มดีมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว แล้วต้นปีนี้ก็ถือว่าเติบโตดีพอสมควร

ดังนั้นตัวเลขการส่งออกของเรา จึงยังแตะเลขสองหลักอยู่ ภายใต้การเติบโตเกิน 10% จากที่ทั้งปีเราคิดว่าน่าจะโตแค่ 8% เท่านั้น แต่ถ้าหากตัวเลขจะตกลงกว่านี้ ก็คงมาจากเรื่องของความกังวลของตัวแปร ‘เศรษฐกิจถดถอย’ มาเป็นตัวดึง ก่อนหน้านี้เท่าที่เราติดตามกัน ทุกท่านคงทราบดีว่า ประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกามีเงินเฟ้อสูงมาก ก็พยายามมีวิธีการที่จะสกัดเงินเฟ้อให้ได้ด้วยการขึ้นดอกเบี้ย การขึ้นดอกเบี้ยแรงๆ หลายๆ ครั้ง มันก็ส่งผลให้การใช้จ่ายมันลดลง ซึ่งเขาต้องการอย่างนี้อยู่แล้ว เพราะเงินในระบบเขามีเยอะ อย่างก่อนหน้านี้เขามีอัดฉีดเงินเข้ามาในระบบเยอะ รวมทั้งในช่วงโควิดด้วย เนื่องจากเขาเป็นประเทศเศรษฐกิจใหญ่เขามีความสามารถสูง เวลาเกิดสถานการณ์อย่างโควิด คนไม่ต้องทำงานก็มีเงินเดือน ยังมีเงินจับจ่ายเพียงพอ ถึงแม้ข้าวของที่ต้องซื้อเข้ามามันแพงขึ้นเรื่อยๆ 

ฉะนั้นต่อให้ของมันแพงขึ้น แต่ถ้าเขายังมีอำนาจจับจ่ายอยู่ ก็จบ เพียงแต่เงินมันจะยังเฟ้อไปเรื่อยๆ เท่านั้นเอง แล้วพอเฟ้อก็แก้ด้วยการสกัดผ่านการขึ้นดอกเบี้ยแรงๆ หลายๆ ครั้ง เพื่อกดให้คนไม่ต้องใช้จ่าย เพียงแต่ถ้าให้หยุดการใช้จ่าย มันก็จะนำมาซึ่งเรื่องของความชะงักงันทางเศรษฐกิจ หรือถ้าเป็นต่อเนื่องยาวๆ ก็จะถึงขั้นถดถอย แต่ประเทศมหาอำนาจจะไม่กังวลเรื่องนี้เท่าไหร่ เพราะเขามีความสามารถพอในการที่จะอัดฉีดเข้ามาในระบบใหม่ได้เร็ว

แต่ประเทศอื่นๆ ที่เห็นผลกระทบชัดเจนก็คือเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน ทุกประเทศในโลกนี้ค่าเงินอ่อนหมดเลยเพราะมีสหรัฐฯ แข็งอยู่ประเทศเดียว นั่นแปลว่าอะไร แปลว่า เวลาเราเจอสถานการณ์เช่นนี้ ก็ควรมองว่าทุกประเทศทั่วโลกอยู่ในสภาพไม่ต่างจากเรา ไม่ใช่ว่านำตัวเราไปเทียบเคียงกับสหรัฐฯ เพราะเราเทียบไม่ได้ ถ้าสหรัฐฯ บอกว่าขึ้นดอกเบี้ยเรื่อยๆ แล้วเราจะขึ้นตามเขาไปเรื่อยๆ ก็แปลว่าเราอาจจะมาถึงจุดที่ไปต่อไม่ได้ในที่สุด แต่ถ้าเราวางตัวเองอยู่ในกลุ่มของประเทศที่ไม่ใช่มหาอำนาจ และมองประเทศที่อยู่ในสถานภาพเดียวกันเป็นพื้นฐาน ค่าเงินเราอ่อน เขาก็อ่อน แต่เราจะดีกว่า คือ อ่อนอยู่ในระดับกลางๆ เมื่อเทียบกับคู่ค้าคู่แข่งของเรา นั่นก็จะหมายความว่า เรายังมีความสามารถในการแข่งขันได้อยู่ แต่ถ้าหากเราไปวางตัวอยากจะแข็งเหมือนสหรัฐฯ เครื่องยนต์สองตัวของเรา ก็อาจจะล้มทันที เพราะคู่ค้าของเรารับไม่ไหว ทำให้เราส่งออกไม่ได้ ส่งออกยาก นั่นคือแง่ ‘ส่งออก’ ขณะเดียวกัน คนก็จะไม่มาเที่ยวไทย อยากมาแล้วเจอแต่ของแพง ฉะนั้นตอนนี้เราอยู่ในระหว่างประเทศคู่ค้าคู่แข่ง และประเทศอื่นๆ ที่เหลือทั่วโลกที่คบค้ากันต่อได้ 

Q: พูดถึงอาหาร ตอนนี้ ‘ฮาลาลไทย’ ดูจะไปได้ส่วย แต่กลับกันก็มีความท้าทายอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะในเรื่องมาตรฐาน เราต้องฝ่าเรื่องนี้ยังไง?
A: เนื่องจากจำนวนประชากรที่นับถือศาสนาอิสลามในโลกมีจำนวนมาก และพวกเขาก็มองว่าอาหารฮาลาล คือ มาตรฐานที่เข้มข้น และมาตรฐานนี้ก็ยังส่งผลไปถึงภาพของความสะอาด ปลอดภัย คุณภาพสูง ซึ่งส่งผลให้คนที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลาม ก็เริ่มสนใจ แต่ก็อย่างที่บอกว่าฮาลาลมีมาตรฐานที่เข้มข้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโซนประเทศที่เขาเป็นประเทศมุสลิม ฉะนั้นถ้าเราบอกว่ามาตรฐานฮาลาลไทย มุสลิมทุกคนที่อยู่ในไทยอาจจะเชื่อมั่นและยอมรับ แต่พอเราจะขายไปประเทศที่เป็นมุสลิมแท้ๆ อย่างมาเลเซีย, อินโดนีเซีย เราก็ต้องไปเจรจากับเขาก่อน ว่ายอมรับฮาลาลไทยไหม ถ้าไม่ยอมรับ อย่างช่วงที่ผ่านมา วิธีการแก้ไขแบบเฉพาะหน้าก็คือต้องยอมให้มาเลเซียมาเป็นคนรับรองแทน โดยใช้มาตรฐานที่ออกโดยมาเลเซีย หรือออกโดยอินโดนีเซีย เพื่อให้การค้าไม่สะดุด แต่วิธีการที่ถูกต้องจริงๆ แล้วมันต้องเทียบเคียงกันได้ หมายความว่าองค์กรมุสลิมไม่ว่าจะเป็นของไทย มาเลย์ฯ อินโดฯ ต้องคุยกันแล้วร่วมเป็นอันเดียวกัน โดยเฉพาะถ้าทำเป็นมาตรฐานฮาลาลของอาเซียนได้อันนี้จะดีมาก เรื่องนี้ขอฝากไว้

Q: ถามต่อว่า ‘ฮาลาลของไทย’ มีจุดเด่นหรือมีความน่าสนใจตรงไหนในสายตาคนทั่วโลกตอนนี้?
A: ฮาลาลของเราพยายามจะผลักดันในเรื่องของวิทยาศาสตร์ คือ การรับรองฮาลาลทั่วไปในอดีตที่ผ่านมา สมมติว่าโรงงานแปรรูปเนื้อไก่ คนที่จะเชือดไก่ก็ต้องเป็นคนมุสลิม แล้วตอนจะเชือดไก่ ไก่ต้องมีสติดีอยู่ ซึ่งคนละมาตรฐานกับทางยุโรปที่จะต้องช็อตให้มันสลบก่อนแล้วค่อยเชือด คนละวิธีกันเลย แต่ว่าในความเป็นฮาลาลไทย ถูกนำเรื่องของวิทยาศาสตร์เข้าไปเกี่ยว ก็คือการที่ใช้แลปทดลองว่ามันมีอะไรที่มันปนเปื้อนมาจากเนื้อสัตว์อื่นๆ หรือมีข้อต้องห้ามอะไรหรือไม่ อันนี้ก็เป็นอีกจุดเด่นหนึ่ง ถ้าสามารถทำให้ทั่วโลกยอมรับได้ก็จะเป็นทางออกที่ดี สำคัญที่สุดคือคำว่า เขายอมรับเราหรือเปล่า เพราะบางทีเราก็คิดว่า ของเราดีที่สุดแล้ว แต่ว่าสุดท้ายมันเจรจาได้หรือไม่ อันนี้ก็สำคัญ 

Q: มีข้อแนะนำใดต่อผู้ประกอบการไทยที่สนใจส่งออกอาหารไปสู่อาเซียนบ้าง?
A: ประเทศไทยเรามีผู้ประกอบการจำนวนมาก โดยเฉพาะ SME กับ Micro SME ที่อยู่ในหมวดอาหาร ซึ่งผมน่าจะ 70-80% เลยทีเดียว ผมขอกล่าวแบบนี้เวลาเราดูตัวเลขเรื่องส่งออก ตัวเลขมักจะไปโผล่ในเรื่องของยานยนต์ เรื่องของสินค้าที่เป็นสินค้าอุตสาหกรรมที่ผลิตเยอะๆ แล้วก็มียอดจำหน่ายสูงๆ ราคาแพงๆ แต่เรื่องอาหาร ถึงแม้ไม่ได้อยู่ในอันดับต้นสุด อาจจะมีสัดส่วนประมาณสัก 10% ของ GDP แต่มันเกี่ยวข้องกับคนจำนวนมากและที่สำคัญประชาชนหรือผู้ประกอบการไทยได้มีโอกาสเป็นเจ้าของสินค้าเอง ซึ่งต่างจากสินค้าตัวอื่นที่ต้องเชิญต่างชาติมาลงทุน

เพราะฉะนั้นโอกาสของผู้ประกอบการด้านนี้ ต้องมีเอกลักษณ์เฉพาะ นึกภาพง่ายๆ ถ้าเวลาสั่งอาหาร เช่น ผัดกะเพรา เราจะรู้ดีว่าผัดกะเพราแต่ละร้านรสชาติมักไม่เหมือนกัน แม้จะเป็นผัดกะเพราเหมือนกัน มีวัตถุดิบส่วนประกอบที่เหมือนกัน แต่รสชาติที่ออกมาอาจจะต่างกัน ซึ่งความแตกต่างตรงนี้ จะทำให้เราสร้างกลุ่มเป้าหมายเฉพาะขึ้นได้ เช่น คนกลุ่มไหนไม่กินเผ็ด บางคนบอกว่าต้องมีเค็มบ้างนิดหน่อยอะไรอย่างนี้ คนที่เป็น SME ต้องมองนิชมาร์เก็ตเป็นหลัก ไม่ใช่บอกว่า ฉันจะทำสินค้าออกมาแล้วขายให้ทุกคนได้ นั่นแปลว่าคุณกำลังคิดอยากจะไปแข่งกับรายใหญ่ ซึ่งการฆ่าตัวตายชัดๆ ไม่รอดแน่นอนครับ

Q: ภาพรวมของธุรกิจอาหารตอนนี้สดใสแค่ไหน?
A: ก่อนไปถึงจุดนั้น ผมขอเล่าว่าใน 9 เดือนแรก ภาคการส่งออกอาหารของเราเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 20 ส่วนสินค้าเกษตร หรืออาหารที่ยังไม่แปรรูป เช่น พืชผัก/เนื้อสัตว์ จะเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 16 แต่ถ้ามองกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรคือที่แปรรูปแล้ว ยกตัวอย่างเช่นผักผลไม้กระป๋อง ปลากระป๋อง 9 เดือนแรกยังเติบโตถึงร้อยละ 30 

สินค้าเหล่านี้ที่เป็นพื้นฐาน ที่มีราคาไม่แพง แต่คุณภาพดีมากๆ และมีความปลอดภัยสูง มันจึงเข้าถึงง่าย และทุกครั้งที่สัญญาณทางเศรษฐกิจกลับมา อาหารก็จะเป็นกิจกรรมหนึ่งทางเศรษฐกิจที่ขาดไม่ได้ พอประกอบกับจุดแข็งของประเทศที่มีความหลากหลายของวัตถุดิบอาหารด้วยแล้ว รวมถึงค่าเงินที่อ่อนตัว และการเติบโตในตัวเลขระดับ 2 หลัก หรือเกินกว่า 10% ในภาพรวมของตลาดส่งออกอาหาร ก็ไม่ยากเกินไป 

Q: Soft Power จะช่วยให้อาหารไทยไปไกลขึ้นอีกขั้นตามที่มีการพูดถึงจริงหรือไม่?
A: จริงๆ แล้วอาหารมันเป็น Soft Power ในตัวเองอยู่แล้ว เพียงแต่ว่ามันจะเข้าถึงกลุ่มคนตรงไหนบ้างและมีคนเอาไปกระจายต่อให้เราได้อย่างไร อย่างช่วงที่ผ่านมาเราก็มีศิลปินดังๆ ช่วย อันนี้เป็นตัวอย่างที่ดี และการประชุมเอเปคที่ผ่านมา อินฟลูเอนเซอร์สำคัญ ก็คือผู้นำประเทศต่างๆ นี่แหละ ถ้าเขามาแล้วได้ทดลองอาหารของไทยที่มันมีเอกลักษณ์ ที่ไปหาที่อื่นไม่ได้ ก็จะยิ่งช่วงให้ภาพรวมของอุตสาหกรรมอาหารไทยในทุกระดับ เช่น Local / GI (Geopolitical Indications) ไปได้ดียิ่งขึ้นอีก

Q: โดยรวมแล้วในภาพของการส่งออกภาคอาหารไปได้สวย!! ทีนี้ถ้าให้คุณมองตัวแปรต่างๆ เช่น สงครามรัสเซียกับยูเครน ‘ยืดเยื้อ’ จะมีผลดีหรือเสียต่อเศรษฐกิจไทยในอนาคต?
A: ถ้าโดยรวมแล้วไม่มีประเทศไหนได้รับผลดีจากเรื่องนี้เลยนะครับ เพียงแต่ว่าเราจะสามารถเดินต่อไปภายใต้ภาวะความขัดแย้งนี้อย่างไร อันนี้คือเรื่องสำคัญ ถ้าเรายังวางตัวว่าเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจเล็ก ซึ่งยังต้องพึ่งพาทุกๆ ฝ่าย ไม่ว่าใครจะขัดแย้งกับใคร แต่เรายังรักษาเรื่องสันติภาพ เรารักษาเรื่องของความเป็นกลางที่เข้าได้กับทุกคน ก็จะเป็นทางรอดของเรา อันนี้เป็นเรื่องสำคัญ 

Q: มองการฟื้นฟูความสัมพันธ์กับประเทศซาอุดีอาระเบีย ซึ่งห่างหายไปนานมาก จะส่งผลดีต่อไทยในด้านใดบ้าง? เช่น การส่งออก, การลงทุน และแรงงาน
A: เรียนอย่างนี้นะครับว่า ตอนนี้ตลาดที่เราให้ความสำคัญ คือ ตะวันออกกลาง แล้วก็เน้นไปที่ซาอุดีอาระเบีย เรื่องความสัมพันธ์ที่เราขาดช่วงไปถึง 30 ปี แล้ววันนี้กลับมามีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน มันทำให้เกิดการดำเนินธุรกิจหรือมีเศรษฐกิจระหว่างกันที่ดีขึ้นแน่นอน เหมือนเราได้ตลาดใหม่กลับมาอีกหนึ่งตลาด ซึ่งก่อนหน้าเราก็ยังค้าขายกัน ไม่ได้ตัดขาดกันทั้งหมด แบบร้อยเปอร์เซ็นต์อาจจะเหลือแค่สิบเปอร์เซ็นต์ เพราะติดทั้งปัญหาการขอวีซ่าเอย การเข้าไปเจรจาธุรกิจ หรือนำเสนอสินค้าใหม่ๆ แต่พอสัมพันธ์กลับมา ไม่ใช่เพียงแค่เปิดโอกาสให้เราขายสินค้าเข้าไป แต่เขาก็ต้องการให้เราไปลงทุนด้วย และเขาก็สนใจมาลงทุนในประเทศไทยด้วยเช่นกัน ผมจึงมองว่าตัวเลขการค้าการลงทุนหลังจากนี้ระหว่างไทยกับซาอุฯ จะดีขึ้น สถานภาพแบบร้อยเปอร์เซ็นต์ของไทย-ซาอุฯ จะเกิดขึ้นภายในหนึ่งปีหรือสองปี 

ส่อง ‘นิวสเปคทีฟ กรุ๊ป’ โชว์กึ๋นฝ่าวิกฤตโควิด ดัน BLUESKY ชูแกร่งโฆษณา ไม่แพ้ใคร

พลิกเกมธุรกิจสไตล์ ‘นิวสเปคทีฟ กรุ๊ป’ ย้ำเก่งที่สุดคือ ธุรกิจโฆษณา ดัน BLUESKY เชี่ยวชาญงานโฆษณาแบบ Activation และ Local Media ที่ไม่เหมือนใคร

นิวสเปคทีฟ กรุ๊ป (Newspective Group) ปรับแผนดัน BLUESKY แม่เหล็กใหม่ในการโฆษณา ลุย Activation และ Local Media ยึดสื่อในตลาดสด-ค้าส่งท้องถิ่นทั่วประเทศ พร้อมรุกเปิดตลาดสื่อภาคใต้ 3 จังหวัดชายแดนทำเลทองแห่งใหม่ หลัง 2 ปีโควิด พ่นพิษ จนธุรกิจอีเวนต์ซึม

ธุรกิจอีเวนต์ และโฆษณา ถือเป็นอีกหนึ่งในตลาดที่มีความคึกคักและเติบโตสูง ก่อนช่วงที่โควิด-19 จะระบาดหนักเมื่อ 2 ปีก่อน ซึ่งส่งผลให้ทั้งอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องได้รับผลกระทบเป็นวงกว้าง 

นิวสเปคทีฟ กรุ๊ป อีกหนึ่งผู้เล่นในตลาดดังกล่าว ตกอยู่ในภาวะยากลำบากจากมาตรการล็อกดาวน์ ปิดสถานที่ งดจัดกิจกรรม ขณะที่แบรนด์ต่างๆ พับเก็บแคมเปญการตลาดและชะลอการใช้จ่ายอย่างมีนัยสำคัญ

นาย ณัฐภูมิ รัฐชยากร กรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัท นิวสเปคทีฟ เปิดเผยว่า ปัจจุบัน นิวสเปคทีฟ มี 9 บริษัท ในมือ แต่สิ่งที่ นิวสเปคทีฟ กรุ๊ป เชี่ยวชาญมากที่สุดคือ ธุรกิจโฆษณา ซึ่งประกอบไปด้วย 3 บริษัทย่อย คือ Brand Square เน้นการสร้าง Branding, Strategy คิดสร้างอัตลักษณ์ให้กับตราสินค้า, NEWAGE ธุรกิจ Event Management & Digital Production House และ BLUESKY ดูแลการโฆษณาแบบ Activation และ Local Media

“ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาธุรกิจโฆษณาต้องใช้คำว่าเละเทะ เป็นช่วงที่ยากลำบากของทั้งวงการ โดยธุรกิจของเราที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ NEWAGE ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในเรื่องของการจัดงานเลี้ยง แต่เมื่อตลาด Event ถูกล็อก งานเล็กงานใหญ่ไม่สามารถจัดได้ เราก็ต้องปรับตัวไปเป็น Digital Production House หรือหันมาทำคลิปวิดีโอ และ Live Streaming เสิร์ฟ Event ออนไลน์แก่ลูกค้าแทน

“อย่างไรก็ตาม ภาพรวมของธุรกิจอีเวนต์ในปีนี้ น่าจะขยับตัวเติบโตขึ้นได้มากขึ้น แต่จะมากน้อยแค่ไหน ก็ขึ้นกับภาพรวมของประเทศต่างๆ ภาพถึงรวมของเศรษฐกิจโลกกว่า จะเปิดหน้าหรือล่าถอยแค่ไหน ซึ่งหากไม่มีเหตุอันใดสะดุด คาดว่าปลายปีธุรกิจอีเวนต์จะกลับมาคึกคักแน่นอน”

ความน่าสนใจของ นิวสเปคทีฟ กรุ๊ป ที่ถือเป็นกรณีศึกษาของธุรกิจรายย่อยที่ ไม่ปล่อยให้ธุรกิจล้มครืนไปตามคลื่น Crisis คือ แม้ว่าธุรกิจอีเวนต์จะอยู่ในช่วงขาลง แต่ นิวสเปคทีฟ กรุ๊ป พยายามพัฒนายูนิตธุรกิจอื่นๆ ที่มี โดยเลือกความเป็นไปได้ที่สอดรับกับกระแสธารของตลาด เพื่อดันสวนขึ้นมา จนสามารถก้าวขึ้นมาเป็นสัดส่วนรายได้หลักกว่า 80% ของกรุ๊ป ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา

BLUESKY เป็นหนึ่งธุรกิจในเครือ ที่ถูกยกขึ้นมาเติมเต็มในช่วงที่ตลาด Event หดหาย โดย BLUESKY ดำเนินธุรกิจด้านการโฆษณาแบบ Activation และ Local Media มีประสบการณ์มากกว่า 10 ปี ทำงานแบบ Local Partnership หรือพัฒนาสื่อให้ตอบโจทย์กับเอเจนซี่โฆษณา นักการตลาด และเจ้าของสินค้าต่างๆ

“ข้อได้เปรียบของ BLUESKY โดยเฉพาะในด้าน Local Media นั้น มาจากการพัฒนาสื่อท้องถิ่น ให้เป็นประโยชน์ต่อเจ้าของพื้นที่ และสามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้ในเวลาเดียวกันมาอย่างต่อเนื่อง เรียกว่าได้คลุกคลีทั้งแบรนด์ใหญ่และคนท้องถิ่นมาตลอด ทำให้เราเข้าใจแบรนด์ หรือสินค้าแบบไหนควรสื่อสารอะไรกับคนในจังหวัดนั้นๆ หรือพื้นที่นั้นๆ อย่างไรได้เป็นอย่างดีซึ่งถ้าเป็นนักการตลาดทั่วไปก็จะเน้นซื้อบิลบอร์ดหรือสื่อวิทยุ หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น แต่การที่จะเข้าใจและเข้าไปอยู่ในใจเขา จำเป็นต้อง Customize คอนเทนต์ให้เข้ากับพื้นที่ พอ BLUESKY มีจุดแข็งแบบนี้เป็นพื้นฐาน เราก็นำธุรกิจนี้วิ่งเข้าหานักการตลาด นักโฆษณา เอเจนซี่ เจ้าของสินค้า ได้ทันที ภายใต้การทำงานที่ยืดหยุ่น ซึ่งลูกค้าชื่นชอบอย่างมาก” ณัฐภูมิ กล่าว

ด้าน นางสาวหนึ่งฤทัย บางนาชาด ผู้จัดการทั่วไป BLUESKY เผยเพิ่มเติมว่า ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาเป็นช่วงที่กิจกรรมทางการตลาดเงียบ ทั้งเอเจนซี่และแบรนด์ต่างๆ ลดงบในการทำโฆษณาลง หรือเทงบไปที่ออนไลน์เป็นส่วนใหญ่ แต่สื่อ Local Media ยังเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์สังคมอยู่ เพราะคนยังต้องใช้ชีวิตกันนอกบ้าน ในท้องถิ่น

“ในช่วงนั้น เรามีการสร้างสรรค์ สื่อ Local Media ขึ้นมาเอง และได้รับการตอบรับที่ดีมากจากลูกค้ามีการซื้อซ้ำจากลูกค้าหลายแคมเปญ นั่นคือ สื่อที่เหยียบเจลแอลกอฮอล์ ใช้จังหวะของโควิดพลิกมาเป็นโอกาสในการสร้างเสริมภาพลักษณ์แก่แบรนด์ โดยการ Tie In สินค้าเข้าไปตรงจุดที่เหยียบเจลแอลกอฮอล์ ซึ่งสามารถติดตั้งได้หลากหลายพื้นที่ ทั้งตลาดสด ร้านสะดวกซื้อขนาดใหญ่ หรือสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ทำให้ แคมเปญของลูกค้าที่ลงโฆษณาเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายท้องถิ่นได้ในวงกว้าง

“หรือกรณี Activation แคมเปญอย่าง แบรนด์น้ำปลาร้าแม่บุญล้ำ ที่ต้องการโปรโมตเพลงของตนให้เป็นที่รู้จักในกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าในตลาดและออนไลน์ทั่วไป เราก็สามารถสร้างสรรค์แคมเปญขึ้นมา เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าได้อย่างรอบด้าน มีการ Integrate ระหว่างสื่อ Online & On Ground โดยใช้ แฮปปี้ มาร์เก็ต ชาแนล สื่อวิทยุกระจายเสียงตามสายในตลาดของเราเองเป็นฐาน ในการโปรโมตเพลง เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายคนเดินตลาดโดยตรง เริ่มจากปล่อยเพลงแม่บุญล้ำของลูกค้าในวิทยุกระจายเสียงตามสายในตลาด เพื่อแทรกซึมให้คนในตลาดได้ยินบ่อยๆ พอคนเริ่มได้ฟังเพลงและเริ่มรู้จัก เราก็จัดกิจกรรมการแข่งขันที่มีส่วนร่วมกับเพลง และเติมเงินรางวัลเป็นตัวกระตุ้น ให้คนอยากร่วมสนุกกับกิจกรรม 

“พร้อมทั้งเปิดกว้างให้คอนซูเมอร์สามารถสร้างคลิป Style ของตัวเอง ได้แบบไม่จำกัดรูปแบบ เลือกใช้ Platform Tiktok ในการสร้างสรรค์คลิปเพราะผู้ร่วมกิจกรรม สามารถเข้าถึงได้ง่าย และ Tiktok เป็น Platform มี Engagement สูง เลือกใช้ Influencer ในรูปแบบที่แตกต่างกัน เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ได้หลากหลาย เช่น แนวตลก วาไรตี้ อย่างคุณพีท พามานา กลุ่มเด็กๆ ที่สร้างสรรค์คลิปเชิงบวกอย่างน้องๆ เด็กเซราะกราว กลุ่มคนทำกับข้าว อย่างพ่อตาพาแซ่บ หรือ Idol วัยรุ่นทั่วไปใน tiktok อย่างอายรดา หรือล็อตเต้ Etc.  

“หลังจากนั้นก็มีการลงพื้นที่ทำทรูปในตลาดเพื่อเชิญชวนพ่อค้า แม่ค้าและคนเดินตลาด ให้เข้ามาร่วมกิจกรรมใน Online ซึ่งผลตอบรับของกิจกรรมนี้ได้ผลตอบรับที่ดีมากๆ มีพ่อค้า แม่ค้าในตลาดและคนใน Online เข้าร่วมกิจกรรมกับเราเป็นจำนวนมากค่ะ

“ไม่เพียงเท่านี้ ในส่วนของ Local Media อีกชิ้นที่เรากำลังทำคือ เคสเครื่องดื่มชูกำลังฉลาม ซึ่งเราลุยในตลาดสดภาคใต้ รวมถึง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 

“‘ตลาดสด’ นอกจากจะเป็นที่สำหรับจับจ่ายใช้สอยของกินของใช้แล้ว ยังเป็นสถานที่ ที่ทำให้เราได้มีโอกาสเรียนรู้วิถีชีวิต วัฒนธรรมการกินอยู่ ของคนท้องถิ่นในพื้นที่นั้นๆ ได้เป็นอย่างดี เรียกว่าเป็นสถานที่แสนจะธรรมดาและเรียบง่าย แต่เต็มไปด้วยเสน่ห์ของความแตกต่างหลากหลายในแต่ละท้องถิ่นนั้นๆ

“เราจึงแนะนำให้ลูกค้าสร้างแลนด์มาร์คที่ตลาดเลยค่ะ โดยการ Dominate พื้นที่ตลาดให้เป็นแบรนด์สินค้า โดดเด่น และดึงดูดสายตา สร้างความจดจำได้เป็นอย่างดี รวมถึงมีประโยชน์กับทางสถานที่ด้วยค่ะ”

'ทุเรียนไทย' ในตลาดจีน กำลังสั่นคลอน หลัง 'จีน-เพื่อนบ้านอาเซียน' รุมแย่งตลาด

รายงานจาก Reporter Journey ได้เปิดเผยถึงสถานการณ์ทุเรียนไทยในตลาดจีน ที่เริ่มจะไม่สดใสเหมือนเก่า หลังจากทางจีน รวมถึงหลายประเทศเพื่อนบ้านในย่านอาเซียนเข้ามาเป็นผู้เล่นที่กำลังสะเทือนบัลลังก์เบอร์ 1 ตลาดทุเรียนในจีนจากไทย ว่า...

'ทุเรียน' ผลไม้ยอดฮิตครองใจผู้บริโภคจีน และตลาดยังคงมีความต้องการบริโภคทุเรียนมากขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี อย่างปี 2564 ที่ผ่านมา ไทยมีเนื้อที่ปลูกทุเรียน 854,986 ไร่ เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ร้อยละ 7.20 ให้ผลผลิต 1,201,458 ตัน โดยกว่า 8 แสนตัน ส่งออกมาตลาดจีน เรียกได้ว่าผลผลิตเกือบร้อยละ 70 ป้อนสู่ตลาดจีนอย่างต่อเนื่อง

ในขณะที่จีนเริ่มปลูกทุเรียนเองในมณฑลไห่หนาน เพื่อเป็นการตอบสนองต่อความต้องการในตลาดได้อย่างเต็มที่ โดยจีนได้ทดลองปลูก ทุเรียนเองตั้งแต่ปี 2558 โดยเริ่มจากสวนเงาะหัวเซิ่งเป่าถิง เขตปกครองตนเองชนชาติหลี และเหมียวเป่าถิง (Baoting li and Miao Autonomous Country) ในมณฑลไห่หนาน ปลูกทุเรียนจำนวนราว 40 ต้น และต้นทุเรียนได้ออกดอกและติดผลแล้วเมื่อปี 2562 และได้ให้ผลติดต่อกันมาเป็นเวลา 3 ปี

ในช่วงหลายปีมานี้ ทางสวนเงาะหัวเซิ่งเป่าถิงยังได้ทยอยขยายการเพาะปลูกทุเรียนจำนวน 200 หมู่ หรือราว 83 ไร่ (2.4 หมู่ เท่ากับ 1 ไร่) สิ่งที่น่าสนใจคือ ความสำเร็จของการปลูกทุเรียนในครั้งนี้เป็นพลังขับเคลื่อนสู่การพัฒนาการเพาะปลูกทุเรียนในจีนอย่างมีนัยสำคัญ ส่งผลให้เกษตรกรและผู้ประกอบการชาวจีนหันมาลงทุนเพาะปลูกทุเรียนในเชิงพาณิชย์กันมากขึ้น

ปัจจุบันการเพาะปลูกทุเรียนในมณฑลไห่หนานจะกระจุกตัวอยู่ที่อำเภอและเมืองทางตอนใต้ของไห่หนาน เช่น เป่าถิง, ซานย่า, เล่อตง และหลิงสุ่ย เป็นต้น

สถิติจากสำนักวิจัยไม้ผลเขตร้อน สถาบันวิทยาศาสตร์การเกษตรมณฑลไห่หนาน พบว่า ขณะนี้ มณฑลไห่หนานมีพื้นที่ เพาะปลูกทุเรียนจำนวนกว่า 30,000 หมู่ หรือประมาณ 12,500 ไร่ โดยทุเรียนที่ปลูกในมณฑลไห่หนานเป็นพันธุ์ต้นกล้าที่มาจากไทย, มาเลเซีย และเวียดนาม ซึ่งอยู่ระหว่างการทดลองและพิจารณาเพื่อเลือกสายพันธุ์ทุเรียนที่ดีและเหมาะแก่การเพาะปลูกในประเทศจีน

>> มาเลเซียส่งทุเรียนมูซานคิงท้าชน แถมจีนปลูกเองทุน 400 ล้าน

แม้ว่าไทยจะเป็นเพียงประเทศเดียวที่จีนอนุญาตให้ส่งออกทุเรียนสดก็ตาม แต่ไทยก็ยังมีคู่แข่งในตลาดที่สำคัญอย่างมาเลเซีย โดยตั้งแต่วันที่ 30 พฤษภาคม 2562 เป็นต้นมา จีนได้อนุญาตให้มาเลเซียนำเข้าเนื้อทุเรียนแช่แข็งและทุเรียนติดเปลือกแช่แข็งทั้งลูกมายังจีนได้ ทำให้ทุเรียนพันธุ์มูซานคิงจากมาเลเซียได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในตลาดจีน และยังพบว่ามีผู้ประกอบการจีนลงทุนทำสวนเพาะปลูกทุเรียนพันธุ์มูซานคิงแล้วเมื่อปี 2562 ซึ่งเป็นสวนทุเรียนพันธุ์มูซานคิงขนาดใหญ่สวนแรกของจีน ตั้งอยู่ ณ ตำบลจื้อจ้ง ในอำเภอเล่อตง มณฑลไห่หนาน มีพื้นที่ขนาด 3,300 หมู่ หรือ 1,375 ไร่ ลงทุนโดยบริษัท Hainan Rouminghongxinhuolongguo ด้วยเงินทุนมูลค่ากว่า 80 ล้านหยวน (ประมาณ 400 ล้านบาท) และคาดว่าผลผลิตในแต่ละหมู่จะสูงถึง 2,500 กิโลกรัม

นอกจากสวนดังกล่าวจะปลูกทุเรียนพันธุ์มูซานคิงแล้ว บางส่วนยังทำการเพาะปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทอง และพันธุ์โอวฉี (หนามดำ) นอกจากนี้ บริษัทดังกล่าวยังได้ลงนามความร่วมมือในด้านการ เพาะปลูกทุเรียนพันธุ์มูซานคิงกับทางรัฐบาลมาเลเซียอีกด้วย

สำหรับผลผลิตทุเรียนพันธุ์มูซานคิงในสวนคาดว่าจะสามารถออกจำหน่ายสู่ท้องตลาดจีนได้ประมาณปี 2566 นี้ ซึ่งนอกจากการวางจำหน่าย ภายในประเทศแล้ว ทางบริษัทฯ ยังมีเป้าหมายที่จะส่งออกทุเรียนพันธุ์มูซานคิงไปต่างประเทศอีกด้วย

รู้ไหม? ชื่อเดิมของ 'มาม่า' คือ 'เพรซิเดนท์'

'ยำมาม่า, มาม่าผัด, ลาบมาม่า หรือแม้แต่การต้มมาม่า' นั้น คงเป็นเมนูติดใจของใครหลายคนมานานจากซองบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปยี่ห้อ 'มาม่า'

แต่ทราบหรือไม่ว่าเดิมที 'มาม่า' นั้นชื่อว่า 'เพรซิเดนท์' ซึ่งเป็นชื่อเดียวกับบริษัทไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) ในปัจจุบันที่เป็นผู้ผลิต 'มาม่า'

แล้วชื่อ 'มาม่า' เกิดขึ้นมาได้อย่างไร? 

ย้อนไปเมื่อ ช่วงปี 2500 – 2510 ซึ่งเป็นยุคที่สังคมไทยมีความเป็นเมืองมากขึ้น รสนิยมและวิถีชีวิตด้านการรับประทานอาหารของคนไทยเริ่มเปลี่ยนไปมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น

โดยในช่วงเริ่มต้น 'มาม่า' เป็นสินค้าที่มีราคาใกล้เคียงกันกับอาหารหรือก๋วยเตี๋ยวในช่วงเวลานั้น

‘มาคาเลียส’ ชี้!! โจทย์ใหญ่การท่องเที่ยวปีเสือ ‘เที่ยวที่ใกล้ - ไปเป็นครอบครัว - ทัวร์ถิ่นมาตรฐาน’

มาคาเลียส (Makalius) เผยภาพรวมธุรกิจปี 64 อัตราการเติบโตยังคงที่ ชี้ปัจจัยบวกการซื้อมาจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป เน้นคุณภาพและความยืดหยุ่นเรื่องเวลา พร้อมปรับแผนการตลาดชูกลยุทธ์ Customize & Quality Traveler ปรับแพ็กเกจ เพิ่มพันธมิตร สร้างความต้องการที่ตรงใจนักท่องเที่ยวยุคนิวนอร์มัลอย่างแท้จริง

นางสาวณีรนุช ไตรจักร์วนิช ประธานกรรมการบริหาร บริษัท มาคาเลียส ประเทศไทย จำกัด (Makalius) สตาร์ตอัปธุรกิจท่องเที่ยวออนไลน์ชั้นนำของประเทศไทย กล่าวว่า "ภาพรวมด้านธุรกิจการจัดจำหน่ายวอเชอร์ท่องเที่ยวของมาคาเลียส ในปี 2564 ที่ผ่านมาอยู่ในระดับคงที่ มียอดจำหน่ายวอเชอร์รวมกว่า 20,000 วอเชอร์ หรือประมาณ 50 ล้านบาท แม้จะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 แต่กลุ่มลูกค้ายังคงให้การตอบรับเป็นอย่างดีในการซื้อวอเชอร์ทั้งที่พักและร้านอาหาร อันเป็นผลมากจากพฤติกรรมการท่องเที่ยวที่เปลี่ยนไป ประกอบกับความไม่แน่นอนของนโยบายด้านการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ลูกค้าส่วนใหญ่หันมาใช้บริการในรูปแบบวอเชอร์ “ซื้อก่อนเที่ยวที่หลัง” เพิ่มมากขึ้น เพราะปัจจัยสำคัญคือเรื่องของความยืดหยุ่นด้านเวลา หากเกิดความไม่แน่นอนก็สามารถเลื่อนการท่องเที่ยวออกไปได้ 

นอกจากนี้ มาคาเลียสยังพบพฤติกรรมที่น่าสนใจจากการทำผลสำรวจความเพิ่งพอใจของกลุ่มลูกค้าที่มาใช้บริการกว่า 10,000 คน พบว่า 65% นิยมท่องเที่ยวในเขตพื้นที่ใกล้ตัว อย่างเช่น พัทยา, หัวหิน, เขาใหญ่, กาญจนบุรี เป็นต้น เพราะมองว่าการท่องเที่ยวในพื้นที่ใกล้ๆ ไม่ต้องวางแผนอะไรมากนัก และช่วยผ่อนคลายความเครียดได้ง่าย 50% ลองท่องเที่ยวแบบใหม่เพื่อเพิ่มประสบการณ์ อาทิ การรับประทานอาหารค่ำบนเรือบนเรือสำราญ เป็นต้น และยังพบว่า 48% นิยมท่องเที่ยวแบบกลุ่มเล็กกับเพื่อนหรือครอบครัว จำนวนไม่เกิน 5-10 คน เพราะเชื่อว่าการเที่ยวกับบุคคลใกล้ตัวจะช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ และที่สำคัญที่สุดคือ กว่า 80% มองหาที่พัก ร้านอาหารที่มีความสะอาดและถูกสุขอนามัย มีตราสัญลักษณ์รับรองมาตรฐาน 

เจาะศักยภาพ ‘รถไฟฟ้าสายสีแดง’ โปรเจกต์เชื่อม ‘เศรษฐกิจ-อนาคต’ ชาติ

ตามที่ทราบกันดีว่า การขนส่งและการเดินทางด้วยระบบราง มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ทั่วโลก นับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน 

นั่นเพราะการขนส่งระบบราง มีต้นทุนที่ถูกกว่าการขนส่งทางถนนถึง 2 เท่า อีกทั้งยังสามารถกำหนดเวลาจัดส่งได้ค่อนข้างแน่ชัด ทำหลายๆ ประเทศเดินหน้าพัฒนาระบบราง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้กับระบบโลจิสติกส์ของตนเองกันอย่างต่อเนื่อง

เฉกเช่นเดียวกันกับประเทศไทย ภายใต้รัฐบาลที่พยายามยก ‘ระบบราง’ ให้กลายเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญ โดยเฉพาะการเชื่อมโยงระบบรางระหว่างกรุงเทพฯ และปริมณฑลเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อให้ประชาชนเดินทางจากย่านชานเมืองเข้าสู่ใจกลางเมืองได้สะดวกยิ่งขึ้น ผ่าน ‘รถไฟฟ้าหลากสี’ ที่ทยอยเปิดให้บริการมาอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม หนึ่งในเส้นสายรถไฟฟ้าที่มีบทบาทดังกล่าวชัดสุดในตอนนี้ คือ ‘รถไฟฟ้าสายสีแดง’ ซึ่งนอกจากจะทำให้การเดินทางจากชานเมืองเข้าสู่ใจกลางเมืองได้สะดวกมากขึ้นแล้ว ยังเชื่อมโยงความเจริญ รวมถึงโอกาสในการพัฒนาธุรกิจใหม่ๆ ตลอดแนวเส้นทาง 41 กิโลเมตร และพื้นที่โดยรอบ 13 สถานี ให้มีความคึกคักยิ่งขึ้นได้อย่างน่าสนใจ

ทั้งนี้หากมองย้อนโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ตามนโยบายเดิมที่ถูกสร้างขึ้นมานั้น เกิดขึ้นมาเพื่อทดแทนระบบรถไฟดีเซลระบบเดิม รวมทั้งขยายขอบเขตการให้บริการรถไฟฟ้าสู่ย่านชานเมืองให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น จากตอนเหนือของกรุงเทพฯ เริ่มตั้งแต่อยุธยา ไปจรดตอนใต้กรุงเทพฯ คือ ‘มหาชัย’ แต่ในระยะแรกที่เปิดให้บริการไปแล้วคือ ‘รังสิต - บางซื่อ’ และ ‘ตลิ่งชัน - บางซื่อ’ 

(ส่วนต่อขยายอื่นๆ คาดว่า จะเริ่มทยอยเปิดประมูลภายในปลายปี 2565)

ศูนย์รวมแห่งระบบราง
นอกจากนี้ หากสังเกตให้ดี เส้นทางส่วนใหญ่ของรถไฟฟ้าสายสีแดง จะขนานไปกับแนวเดียวกับรถไฟระบบเดิม เหตุผลก็เพื่อให้บริการเชื่อมต่อกับระบบรถไฟทางไกล รถไฟความเร็วสูง และรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน ในอนาคตได้ด้วยนั่นเอง พูดง่ายๆ ก็คือ รถไฟฟ้าสายสีแดง เหมือนจะถูกวางตำแหน่งให้เป็นแกนกลางหลักของระบบขนส่งทางราง ก็คงจะดูไม่ผิดนัก

เนื่องจากรถไฟฟ้าสายสีแดง มีพิกัดของสถานีหลักอยู่ตรง ‘บางซื่อ’ ซึ่งเป็นสถานีรถไฟที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในอาเซียน และจะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการเดินทางด้วยระบบรางจากกรุงเทพฯ ไปยังภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ รองรับทั้งรถไฟฟ้าในเมือง (สายสีน้ำเงิน) รถไฟฟ้าชานเมือง (สายสีแดง) รถไฟทางไกล และรถไฟความเร็วสูงในอนาคตนั่นเอง 

กระจายความแออัดของสังคมเมือง
ไม่เพียงเท่านั้น หากมองข้อดีของ รถไฟฟ้าสายสีแดง ในมิติการเดินทางของพี่น้องประชาชนแล้ว จะช่วยสร้างการกระจายของพื้นที่อยู่อาศัยจากใจกลางเมือง ไหลไปสู่พื้นที่รอบนอก ช่วยลดปัญหาการจราจร และความแออัดของกรุงเทพฯ ภายใต้รถไฟฟ้าสายสีแดงที่ช่วยพาคนเข้าสู่ใจกลางเมืองได้อย่างว่องไว

โอกาสทางเศรษฐกิจจากเส้นเลือด (สีแดง) สายใหม่
ขณะเดียวกัน หากมองในมิติด้านเศรษฐกิจ การมาของรถไฟฟ้าสายสีแดง ยังจะทำให้เกิดพื้นที่อสังหาริมทรัพย์ใหม่ๆ ในแถบชานเมือง ทั้งบ้านและคอนโดมิเนียม โดยเฉพาะโครงการบ้านจัดสรร ซึ่งจะมีราคาที่ดินถูกกว่าบ้านในกรุงเทพฯ

เรียกว่าไล่ไปตั้งแต่รอบ ‘สถานีกลางบางซื่อ’ จะเริ่มถูกเรียกขานให้เป็นทำเลทองแห่งใหม่ของกรุงเทพฯ ชัดขึ้น โดยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เริ่มมีโครงการที่อยู่อาศัยทั้งบ้านและคอนโดมิเนียม อาคารสำนักงาน และสิ่งอำนวยความสะดวกเกิดขึ้นในย่านบางซื่อ และบริเวณใกล้เคียง จากแบรนด์ระดับท็อปของไทยเรียงหน้ากันมาจับจองทำเล

ทั้งนี้ มีการคาดเดากันว่า หากในช่วง 2 ปี ที่ผ่านมา ไม่เกิดวิกฤตโรคร้ายโควิด-19 เชื่อว่าในแต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าสู่ประเทศไทยเกือบ 40 ล้านคน ซึ่งในจำนวนนักท่องเที่ยวเฉพาะที่เข้ามาผ่านสนามบินดอนเมือง จะเลือกใช้งานรถไฟฟ้าสายสีแดงเดินทางเข้าสู่ใจกลางเมืองโดยอัตโนมัติ 

อย่างไรก็ตาม แม้ตอนนี้จะยังไม่มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาได้เท่าเหมือนก่อนโควิด-19 ระบาด แต่ในอนาคตเมื่อสถานการณ์คลี่คลาย ทุกอย่างกลับมาเหมือนเดิม ก็เชื่อได้ว่า ‘รถไฟฟ้าสายสีแดง’ จะเป็นพระเอกหลักในการนำพานักท่องเที่ยว เข้าสู่กรุงเทพมหานครได้อย่างแน่นอน

ได้เวลาคืนสู่สังคม! ‘NT’ จัดสัมมนา ‘Recharge & Comeback Stronger’ เผยเทคนิค เพิ่มพลังชีวิตรับมือยุค New Normal

NT กระชับมิตรกลุ่มลูกค้า จัดงานสัมมนาออนไลน์ภายใต้หัวข้อ ‘Recharge & Comeback Stronger’ เพิ่มพลังในการทำงานทั้งพลังสมองและพลังจิตใจ ในยุค New Normal

เมื่อวาน 17 พ.ย. 64 บริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) (NT) ได้จัดงานโครงการ The Exclusive Webinar การสัมมนาออนไลน์ผ่านระบบ Zoom ภายใต้หัวข้อ ‘Recharge & Comeback Stronger’ โดยมี นายรังสรรค์ จันทร์นฤกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานขายลูกค้าองค์กร เป็นประธานในการเปิดงาน และร่วมงานสัมมนาออนไลน์ (Webinar) พร้อมด้วย นางรังสิมา ประดิษฐพงษ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่กลุ่มขายและบริการลูกค้าองค์กร

โดยงานนี้ มีวัตถุประสงค์ในการเพิ่มพูนความรู้ให้กับลูกค้า พร้อม ๆ ไปกับสานต่อความสัมพันธ์กับลูกค้าในยุค New Normal หลังจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ทำให้เกิดความห่างไกลกันไปพักใหญ่ โดยได้เชิญลูกค้าองค์กรกว่า 300 ท่าน เข้าร่วมสัมมนา พร้อมทีมผู้บริหาร, Key Account ของกลุ่มขาย และส่วนงานบริการลูกค้าองค์กรร่วมงานในครั้งนี้

"จากภาวะวิกฤตที่เกิดจาก Covid-19 นั้น ทำให้หลายองค์กร ต้องมีการปรับตัว ต้องมีการ Work From Home และมีโอกาสได้พบปะกันน้อยลง เช่นเดียวกันกับทาง บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) ที่พบปะและจัดกิจกรรมกับลูกค้าได้น้อยลงด้วยเช่นกัน ฉะนั้นการจัดสัมมนาผ่านออนไลน์ในครั้งนี้ จึงเป็นโอกาสที่ดีในการสร้างปฏิสัมพันธ์ พร้อมทั้ง Refresh ความรู้ รวมถึงสร้างพลังทางจิตใจ ให้ทุกท่านได้ก้าวเดินอย่างแข็งแกร่งต่อไป” นายรังสรรค์ กล่าว

สำหรับสาระสำคัญของงานสัมมนาออนไลน์ The Exclusive Webinar ภายใต้หัวข้อ ‘Recharge & Comeback Stronger’ นี้ ประกอบไปด้วยเนื้อหาหลักที่จะคืนชีวิตของผู้คนให้เผชิญยุค New Normal ได้อย่างราบรื่นผ่าน 2 Session 2 วิทยากรผู้เชี่ยวชาญ...

>> Recharge your brain
โดยในส่วนของ Session แรก : Recharge your brain ซึ่งมี ‘อาจารย์ฝน นรินทร์ฤทธิ์ เปรมอภิวัฒโนกุล’ ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ มาแลกเปลี่ยนความรู้ผ่านหัวข้อ ‘Cybersecurity Trends To Know’ ซึ่งครอบคลุมเนื้อหาที่เกี่ยวกับ ‘ภัยไซเบอร์รูปแบบใหม่’ ที่คนยุคนี้ต้องเตรียมรับมือ

อาจารย์ฝน เผยว่า ภัยไซเบอร์ในยุค 2021 ที่สามารถจำแนกออกได้หลายระดับ ตั้งแต่ผู้ใช้งานทั่วไป ผู้ใช้งานระดับองค์กรธุรกิจ รวมไปถึงหน่วยงานระดับความมั่นคงของชาติ ซึ่งรูปแบบของภัยไซเบอร์ จะมีทั้งการแฮกบัญชีการใช้งานธุรกรรมต่าง ๆ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ มือถือ รหัส WiFi รวมไปถึง บัตรเครดิต/บัตรเดบิต เช่น เช่นกรณีการดูดเงินจากบัญชีธนาคาร โดยตัดออกไปในมูลค่าน้อย ๆ ขณะที่การผูกบัญชีกับแอปพลิเคชันต่าง ๆ ก็นับเป็นอีกช่องโหว่ ที่ทำให้มิจฉาชีพสามารถแฮกข้อมูลได้ด้วยเช่นกัน

สำหรับวิธีการป้องกันภัยไซเบอร์ อาจารย์ฝน ได้แนะนำไว้ดังนี้…

1.) ตั้งรหัสผ่านให้เดายาก หรือการตั้งรหัสผ่าน 2 ชั้น 
2.) ตั้งรหัสผ่านให้เป็นประโยคหรือตั้งรหัสผ่านจากคำ 3 คำ โดยใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ พิมพ์เล็ก ตัวเลขใช้เครื่องหมายต่าง ๆ เข้ามาแทนเพื่อให้ยากขึ้นในการแฮกข้อมูล
3.) ในกรณีที่ใช้โมบาย แอปพลิเคชัน ก็ควรตั้งวงเงินบัตรในการกดเงิน โอนเงิน หรือรูดบัตรซื้อสินค้าให้เป็น 0 บาท

เศรษฐกิจไทยน่าห่วง แบงก์ชาติจับตาผู้ว่างงานพุ่ง

ธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่า ในช่วงปี 2563-2564 รายได้จากการจ้างงานหายไปถึง 1.8 ล้านล้านบาท ขณะที่ปี 2565 คาดว่ารายได้จากการจ้างงานจะหายไปอีก 8 แสนล้านบาท ทำให้ตั้งแต่ปี 2563-2565 รายได้จากการจ้างงานจะหายไปรวมกว่า 2.6 ล้านล้านบาท

ขณะที่การจ้างงานในระบบถูกกระทบรุนแรง โดยในช่วงไตรมาส 2/2564 พบว่ามีจำนวนผู้ว่างงาน หรือเสมือนว่างงาน (ผู้ที่มีงานทำไม่ถึง 4 ชั่วโมงต่อวัน) อยู่ที่ 3 ล้านคน และคาดว่าสิ้นปีนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 3.4 ล้านคน สูงกว่าช่วงก่อนเกิดการระบาดของโควิดถึง 3 เท่าตัว

ขณะที่ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยอัตราการว่างงานของไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 64 ว่า ปัจจุบันตลาดแรงงานยังคงเปราะบาง โดยการว่างงานยังอยู่ที่ระดับ 1.9% ใกล้เคียงกับ 2% ในไตรมาสก่อน แต่ยังคงอยู่สูงกว่า 1% ในปี 62 ช่วงก่อนหน้าการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยเมื่อพิจารณาในรายสาขาการผลิตพบว่าสาขาท่องเที่ยว และบริการที่เกี่ยวเนื่อง รวมทั้งสาขาด้านการผลิตสื่อและกิจกรรมบันเทิงอื่น ๆ ยังได้รับผลกระทบรุนแรง และมีอัตราการว่างงานอยู่ในระดับสูง ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของประชาชนในช่วงนี้ที่กำลังเกิดวิกฤตจากการบาดของไวรัสโควิดอย่างหนัก  


Q : ประกันอะไร? ได้ตั้ง 4 ต่อ!!
A : ก็ประกันภัยรถยนต์จาก @THESHOPTIMES ไง!! 
>> ฟรี!!! ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) 100,000 บาท
>> รับคอมมิชชั่นหรือส่วนลดทันที ในอัตราที่สูงกว่า แถมได้สิทธิซื้อประกัน พ.ร.บ.ราคาถูกตลอดชีพ
>> สามารถผ่อนได้สูงสุด 6 งวด ดอกเบี้ย 0% โดยไม่ต้องใช้บัตรเครดิต
>> แถมขายดีมีรายได้เพิ่มให้กับตัวเองด้วย
***สนใจติดต่อ Line@ THE SHOPS TIMES คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

‘Wisesight’ ผู้ให้บริการด้านการวิเคราะห์ข้อมูลโซเชียลมีเดียรายใหญ่ในประเทศไทย สะท้อนมุมมองโซเชียลกับวัคซีนต้านโควิด 5 แบรนด์ ที่ทุกคนกำลังจะได้ฉีดเร็ว ๆ นี้ พบ วัคซีน ‘Sinovac’ ถูกโลกโซเชียลพูดถึงมากสุด กว่า 5.5 ล้านครั้ง

ข่าวการฉีดและจัดหาวัคซีนป้องกันโควิด-19 ถือเป็นประเด็นร้อนแรงบนโลกโซเชียลในปัจจุบัน ซึ่งล่าสุดรัฐบาลได้ประกาศให้ประชาชนเริ่มลงทะเบียนจองคิวฉีดวัคซีนโควิดผ่านช่องทาง Line Official Account และ Application หมอพร้อม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม ที่ผ่านมา

บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด (Wisesight) ส่องความคิดเห็นของคนไทยบนโลกโซเชียลเรื่องวัคซีนต้านโควิด ทั้ง 5 แบรนด์ ที่รัฐได้ทำการนำเข้ามาเพื่อให้บริการแก่ประชาชน ได้แก่ ซิโนแวค (Sinovac), ไฟเซอร์ (Pfizer), แอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca), ซิโนฟาร์ม (Sinopharm) และ สปุตนิก วี (Sputnik V)

ไวซ์ไซท์ได้ทำการเก็บข้อมูลผ่านเครื่องมือ ZOCIAL EYE ในช่วงวันที่ 20-30 เมษายน พ.ศ.2564 พบว่าประเด็นดังกล่าวได้รับ Engagement สูงกว่า 10,000,000 Engagement จากช่องทาง Facebook และ Twitter เป็นหลัก โดยความคิดเห็นของชาวโซเชียลส่วนใหญ่ได้ให้ความสำคัญกับประเด็นเรื่องประสิทธิภาพ และกังวลถึงผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนเป็นอันดับต้น ๆ เรามาดูกันครับว่าในสถานการณ์นี้ชาวโซเชียลพูดถึงวัคซีนแบรนด์ไหนกันมากที่สุด!

อันดับ 1 : ซิโนแวค (Sinovac) 5,520,197 Engagement

วัคซีนเทคโนโลยีชนิดเชื้อตายที่มีชื่อว่า "โคโรนาแวค" (CoronaVac) ผลิตโดย บริษัท ซิโนแวค ไลฟ์ ไซแอนซ์ ประเทศจีน มีประสิทธิภาพป้องกันสายพันธ์ดั้งเดิมได้ 49.6% แต่ประสิทธิภาพจะลดลงอีกเมื่อเจอสายพันธุ์แอฟริกา อังกฤษ และบราซิล โดยประเด็นหลักที่เกี่ยวข้องและได้รับการพูดถึงควบคู่กันคือไม่อยากฉีด และคุณภาพต่ำ

อันดับ 2 : ไฟเซอร์ (Pfizer) 3,022,726 Engagement

วัคซีนชนิดสารพันธุกรรม (mRNA) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่เคยใช้กับวัคซีนป้องกันโรคอีโบล่า และมีประสิทธิภาพป้องกันไวรัสกลายพันธ์ุได้สูง ร่วมกันผลิตโดยบริษัทไฟเซอร์ ประเทศสหรัฐอเมริกาและบริษัทไบโอเอ็นเทค ประเทศเยอรมนี (Pfizer-BioNTech) โดยประเด็นหลักที่เกี่ยวข้อง และได้รับการพูดถึงควบคู่กันคือความต้องการฉีด และคุณภาพดีที่สุด

อันดับ 3 : แอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca) 925,936 Engagement

วัคซีนที่ใช้วิธีการผลิตแบบเวกเตอร์ ผลิตโดยบริษัท AstraZeneca สัญชาติอังกฤษ-สวีเดน ร่วมกับมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด มีประสิทธิภาพป้องกันสายพันธุ์ดั้งเดิมได้ 76% ส่วนสายพันธุ์อื่น ๆ ยังไม่มีผลระบุที่ชัดเจน โดยประเด็นหลักที่เกี่ยวข้องและได้รับการพูดถึงควบคู่กันคือเรื่องการผูกขาด และคุณภาพดี

อันดับ 4 : ซิโนฟาร์ม (Sinopharm) 671,431 Engagement

วัคซีนเทคโนโลยีชนิดเชื้อตาย ที่พัฒนาโดยบริษัทชิโนฟาร์ม ประเทศจีน มีประสิทธิภาพป้องกันสายพันธ์ุดั้งเดิมได้ 70% แต่ประสิทธิภาพจะลดลงเมื่อเจอสายพันธุ์แอฟริกา โดยประเด็นหลักที่เกี่ยวข้องและได้รับการพูดถึงควบคู่กันคือความต้องการฉีด และราคาแพง

อันดับ 5 : สปุตนิก วี (Sputnik V) 294,338 Engagement

วัคซีนที่ใช้วิธีการผลิตแบบเวกเตอร์เช่นเดียวกับวัคซีนของแอสตราเซเนกาที่ต้องฉีดทั้งหมด 2 เข็ม ผลิตโดยประเทศรัสเซีย ตั้งชื่อตามดาวเทียมดวงแรกที่ถูกส่งขึ้นไปโคจรรอบโลก มีประสิทธิภาพสูงถึง 91.6% โดยประเด็นหลักที่เกี่ยวข้องและได้รับการพูดถึงควบคู่กันคือความต้องการฉีด และคุณภาพดีที่สุด


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top