Tuesday, 30 April 2024
ประเทศไทย

'เพื่อไทย' กังวล!! หวั่นเงินทุนสำรองไทยลดฮวบ แนะ 'ธปท.' จับตา หลังสหรัฐฯ ปรับขึ้นดอกเบี้ย

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ (18 ต.ค. 65) ที่พรรคเพื่อไทย (พท.) นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รองประธานยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทยด้านเศรษฐกิจ กล่าวว่า ตามที่มีกระจายคลิปของโน้ส อุดม แต้พานิช ที่วิพากษ์วิจารณ์การทำงานที่ล้มเหลวของพล.อ.ประยุทธ์ จนเป็นกระแสฮือฮาทั่วโซเซียล และเป็นแนวทางเดียวกับที่คณะทำงานเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทยได้วิพากษ์วิจารณ์ และเคยแถลงความล้มเหลว 10 ข้อไว้แล้ว ทั้งการเป็นรัฐบาลที่พึ่งไม่ได้ การกู้หนี้จากหลายชาติ ชาตินี้ใช้หนี้ไม่หมด แกล้งโกรธเพื่อกลบปัญหา โปร่งใสแต่ห้ามตรวจสอบ โดยเฉพาะเรื่องสร้างปัญหาต่อ ก่อปัญหาใหม่ ทั้งเรื่องเงินเฟ้อของไทยที่ยังสูงอยู่ที่ 6.41 % ในเดือนก.ย. การขาดดุลการค้าและขาดดุลบัญชีเดินสะพัด การขาดดุลการคลังจำนวนมากที่จะมีแผนกู้ใหม่ถึง 1.05 ล้านล้านบาทในปี 2566 ปัญหาดอกเบี้ยขาขึ้น เป็นปัญหาใหม่ที่พล.อ.ประยุทธ์ยังไม่รู้เลยว่าจะรับมืออย่างไร หรือพึ่งไม่ได้จริงตามที่โน้สบอก

นายพิชัย กล่าวต่อว่า ล่าสุดอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ในเดือนก.ย. อยู่ที่ 8.2% ซึ่งยังสูงมาก ทั้งที่ธนาคารกลางสหรัฐได้ขึ้นดอกเบี้ยแล้ว 3 ครั้ง แต่เงินเฟ้อของสหรัฐก็ยังไม่ลดลง จึงเป็นไปได้สูงที่การประชุมของธนาคารกลางสหรัฐในครั้งหน้า น่าจะขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.75% และอาจจะขึ้นถึง 2 ครั้งก่อนสิ้นปี และอาจจะต้องขึ้นดอกเบี้ยอีกในปีหน้า ซึ่งจะกดดันให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ต้องขึ้นดอกเบี้ยตาม ส่งผลกระทบต่อเงินเฟ้อให้มากขึ้น อีกทั้งป้องกันไม่ให้เงินทุนสำรองระหว่างประเทศไหลออก โดยในเดือนก.ย. ลดลงถึง 14,017 ล้านเหรียญ ทำให้เงินทุนสำรองระหว่างประเทศไทยลดลงมาเหลือ 199,444 ล้านเหรียญ หลุดจาก 2 แสนล้านเหรียญแล้ว ซึ่งนับเป็นระดับที่ต่ำที่สุดในรอบ 5 ปี จึงอยากเรียกร้องให้รัฐบาลและธปท. ระมัดระวัง เพราะอาจจะเป็นปัญหาหนักได้ในอนาคต

“ผู้นำที่ดีต้องเปิดใจรับฟังเสียงสะท้อนจากทุกด้าน เพื่อนำมาปรับปรุงการทำงานของตนเอง แม้กระทั่งเสียงจากคุณโน้ส ที่นำเรื่องจริงมาทำเป็นเรื่องตลก สะท้อนผู้นำที่ในต่างประเทศก็ทำกันเสมอ เพราะนั่นเป็นการสะท้อนความรู้สึกนึกคิดของคนส่วนใหญ่ ถ้ายังปิดหูปิดตาส่งลิ่วล้อมาโต้แบบมั่ว ๆ ก็ควรจะต้องดีดตัวออกจากเครื่องบิน ที่บรรทุกคนไทยทั้งประเทศกันได้แล้ว มิเช่นนั้นก็คงไม่พ้นที่จะสร้างปัญหาต่อ ก่อปัญหาใหม่ให้คนไทยลำบากกันต่อไป” นายพิชัย กล่าว

ทำไมไทยต้องนำเข้าน้ำมัน? ทั้งที่ผลิตน้ำมันได้

รู้ไหม? ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ผลิตน้ำมัน แล้วไม่พอต่อการใช้งานของคนในประเทศ

ราคาน้ำมันที่มีการผันผวนตลอดเวลา ไม่ว่าจะเนื่องด้วยเหตุผลใดก็ตาม ย่อมส่งผลต่อความไม่พอใจของประชาชนมาตลอด และเมื่อไม่พึงพอใจก็จะเกิดการเปรียบเทียบ ในวิกฤติราคาน้ำมันทุก ๆ ครั้ง ดังที่จะเห็นจนคุ้นตา คือการที่มักมีบางกลุ่ม เปรียบเทียบราคาพลังงานไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะมาเลเซีย

เมื่อไม่นานมานี้ ก็มีกรณีผู้มีชื่อเสียงคนหนึ่ง ที่ลงทุนเดินทางไปถึงมาเลเซียเพื่อเติมน้ำมันที่นั่น ก่อนจะเปรียบเทียบราคาน้ำมันของไทยกับมาเลเซียลงสื่อโซเชียล ส่งผลให้รัฐบาลมาเลเซียสั่งการให้มีการตรวจสอบผู้มาขอรับบริการว่าเป็นพลเมืองมาเลเซียหรือไม่ เนื่องจากราคาน้ำมันของมาเลเซีย ได้รับการชดเชยราคาโดยตรงด้วยภาษีของคนมาเลเซีย

แต่หากมองย้อนกลับไปที่ประเทศลาว จะเห็นว่าประเทศลาวนั้น มีราคาน้ำมันที่สูงกว่าไทยตลอด เนื่องจากว่าลาวนั้น ไม่มีแหล่งเชื้อเพลิงของตนเอง ราคาน้ำมันในลาว จึงเป็นราคาที่เพิ่มค่าใช้จ่ายในการขนส่งจากประเทศไทยเข้าไปร่วมด้วย เป็นสาเหตุให้มีราคาที่สูงกว่าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้นั่นเอง

นั่นทำให้คนลาวบางส่วน เข้ามาเติมน้ำมันในประเทศไทย และประเทศไทยก็สั่งห้ามเช่นเดียวกับมาเลเซีย

หันกลับมาพิจารณาถึงที่มาของราคาน้ำมัน ประเทศที่มีความสามารถในการขุดเจาะน้ำมันได้เอง และกลั่นน้ำมันได้เอง จะมีราคาน้ำมันสำหรับการใช้ในประเทศที่มีราคาถูกลงมากกว่าประเทศที่ต้องนำเข้าพลังงานทั้งหมด

แต่จะถูกมากน้อยเท่าไรนั้น ขึ้นอยู่กับว่า ประเทศนั้น ๆ มีปริมาณน้ำมันสำรอง และกำลังการผลิตมากเพียงพอที่จะตอบสนองของคนทั้งประเทศหรือไม่

จากข้อมูลของ Worldometer ระบุว่า ใน พ.ศ. 2559 มาเลเซียมีปริมาณน้ำมันสำรอง 3,600,000,000 บาร์เรล มากเป็นอันดับที่ 28 ของโลก ในขณะที่ประเทศไทยมีเพียง 404,890,000 บาร์เรล อยู่อันดับที่ 50 อีกทั้งมีปริมาณน้อยกว่ามาเลเซียถึง 8.9 เท่า

นอกจากนี้ กำลังการผลิตของมาเลเซียนั้น เพียงพอต่อการบริโภคในประเทศ สำหรับประชากรเพียงแค่ 32 ล้านคน มีน้ำมันเหลือใช้มากถึงวันละ 54,168 บาร์เรลต่อวัน ในขณะที่ไทย ทั้ง ๆ ที่ผลิตได้น้อยกว่า แต่กลับมีอัตราการบริโภคที่สูงกว่า จนทำให้กำลังการผลิตต่อวัน น้อยกว่าอัตราการบริโภคมากถึง 770,671 บาร์เรลต่อวันเลยทีเดียว

แต่ถึงแม้มาเลเซียจะมีกำลังการผลิตน้ำมันที่ล้นเหลือ แต่มาเลเซียก็ยังมีการนำเข้าน้ำมันมากถึง 197,489 บาร์เรลต่อวัน และส่งออกน้ำมัน 390,000 บาร์เรลต่อวัน ซึ่งนี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ราคาน้ำมันในมาเลเซียเองก็ผันผวนตามราคาน้ำมันของโลกด้วยเหมือนกัน เพียงแต่ไม่ส่งผลกระทบมากเท่ากับประเทศไทยนั่นเอง

จากรายงานของ Worldometer ระบุว่า มาเลเซียมีน้ำมันสำรอง 0.2% เมื่อเทียบกับปริมาณน้ำมันสำรองของโลก (1,650,585,140,000 บาร์เรล อ้างอิงข้อมูล พ.ศ. 2559) ในขณะที่ประเทศไทย มีปริมาณน้ำมันสำรองเพียง 0.02345% เพียงเท่านั้น

'อัษฎางค์' แปล!! ความยากจนในไทยลดลงจาก 58% เหลือเพียง 6.8% ไม่ใช่จากก้าวหน้า 58% ในปี 2533 แล้วเหลือ 6.8% ในปี 2563

(27 ต.ค. 65) นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์เฟซบุ๊ก เอ็ดดี้ อัษฎางค์ ยมนาค ระบุว่า...

“ตื่นเถอะสามกีบ”
เอาคนไม่รู้ข่าว มาบอกข่าว มันก็เป็นจังซี่

ข่าวต้นทางจากต่างประเทศรายงานว่า…

>>ความยากจน ลดลงจาก 58% เหลือเพียง 6.8%

แล้วหันไปดูผู้บอกข่าว ให้ข้อมูลอะไรกับประชาชน

สาเหตุที่ความยากจนลดลงมากมายขนาดนี้ก็ด้วยเพราะ...

อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงลิ่วและการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง

'สธ.' ยก 'อสม.' อาวุธลับไทย สู้ทุกภัยด้านสาธารณสุข ต่างชาติให้ความสนใจ ยกไทยประเทศเดียวที่ทำได้

เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2565 นายวัชรพงศ์ คูวิจิตรสุวรรณ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวภายหลังจากที่การประชุม World Bio Hub  ที่กรุงโซล ประเทศ เกาหลีใต้ เสร็จสิ้น โดยในงานนี้ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมคณะผู้บริหารกระทรวง ได้เข้าร่วมประชุมด้วย

นายวัชรพงศ์ ระบุว่า การประชุมในครั้งนี้ เราได้ประโยชน์ในเรื่องหลัก ๆ คือ การบรรลุสัญญาร่วมเป็นภาคีกับสถาบันวัคซีนนานาชาติ ซึ่งจะทำให้ไทยได้แลกเปลี่ยนข้อมูล และผู้เชี่ยวชาญด้านวัคซีน กับนานาชาติ ไปจนถึงการบรรลุข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุขไทย กับกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการของประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งจะเป็นการพัฒนาองค์ความรู้ของประเทศไทย โดยเฉพาะ ด้านเทคโนโลยีการสื่อสารสุขภาพ ซึ่งทางเกาหลีมีความโดดเด่นในเรื่องดังกล่าวเป็นอย่างมาก 

นอกจากนั้น การร่วมประชุมในระดับโลกยังเป็นการสะท้อนความยอดเยี่ยมของระบบสาธารณสุขไทย ที่นานาชาติยอมรับ และหวังจะได้รับการถ่ายทอดประสบการณ์จากไทยโดยเฉพาะในการประเด็นของประสิทธิภาพระหว่างจัดการวิกฤติโรคระบาด 

“เวทีนี้ ให้ความสำคัญกับเรื่องของการพัฒนาและกระจายวัคซีนสำหรับประเทศไทย นอกจากจะสามารถพัฒนาวัคซีนโควิด19 ได้ในประเทศ ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขยังได้ยกย่องชื่นชม อสม. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่ทำหน้าที่กระจายข้อมูลข่าวสารในการให้บริการวัคซีนของภาครัฐให้พี่น้องประชาชนได้รับทราบ ทั้งยังเป็นผู้ที่ทำงานหนัก อำนวยความสะดวกให้ประชาชนไปถึงจุดบริการด้วย แม้ประเทศไทยจะนำวัคซีนเข้ามาในระบบบริการเป็นจำนวนมาก แต่หากประชาชนไม่ร่วมมือความสำเร็จก็เกิดขึ้นยาก”

8 วาทะเด็ด 'บิ๊กตู่' ความสำเร็จที่อยากบอกให้คนไทยได้รู้ | THE STATES TIMES Y WORLD EP.13

นายก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหมเป็นประธานในงาน และกล่าวปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ 'Accelerating Thailand (พลิกโฉมประเทศไทย)' และได้แชร์ถึงแนวทางในการบริหารประเทศ ที่ยึด 3 คำ 'ทำให้สำเร็จ' มุ่งงานใหญ่สร้างอนาคตไทย

.

ติดตามสาระดีๆ ได้ใน THE STATES TIMES Y WORLD

ใครที่สนใจเรื่องใดเป็นพิเศษ อยากให้เรานำมาเล่าก็คอมเมนต์ไว้ใต้คลิปกันได้เลย!

 

มาตรการกระตุ้นศก.ภาครัฐ ดันอสังหาฯ พลิกฟื้น ยอดใบอนุญาตก่อสร้างที่อยู่อาศัยทั่วประเทศพุ่ง

‘ทิพานัน’ เผยการออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัยทั่วประเทศในไตรมาส 2 ปี 2565 กลับมาขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 และมีการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยครึ่งปีแรกพุ่งกว่า มูลค่า 480,510 ล้านบาท สะท้อนผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และประชาชนให้ความเชื่อมั่นมาตรการรัฐบาล 'พล.อ.ประยุทธ์' เกิดการจ้างงาน กระตุ้นเศรษฐกิจที่เกี่ยวเนื่องและเศรษฐกิจฐานราก

น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลได้มีมาตรการสนับสนุนการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่องประกอบกับการเร่งตัวของภาคบริการหลังการผ่อนคลายมาตรการควบคุม การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 ส่งผลให้ผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีความเชื่อมั่นต่อการลงทุนมากขึ้น  

จากรายงานของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ พบว่า ในช่วงไตรมาส 2 ปี 2565 มีการออกใบอนุญาตก่อสร้างที่อยู่อาศัยทั่วประเทศ ทั้งประเภท บ้านที่ประชาชนสร้างเอง และบ้านในโครงการจัดสรร มีจำนวนประมาณ 80,704 หน่วย เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2564 ที่มีจำนวน 75,803 หน่วย และหากเทียบกับข้อมูลย้อนหลัง พบว่า มีการออกใบอนุญาตก่อสร้างที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นเป็นไตรมาสแรก หลังจากที่ลดลงติดต่อกันมาถึง 9 ไตรมาส นับตั้งแต่ ไตรมาส 1 ปี 2563 

ขณะที่ในด้านการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย ทั่วประเทศ จำนวน 95,316 หน่วย มูลค่า 257,009 ล้านบาท เพิ่มขึ้นทั้งจำนวนหน่วยและมูลค่า ร้อยละ 9.0 และ 7.1 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2564 และในภาพรวมครึ่งปีแรกของปี 2565 มีการโอนกรรมสิทธิทั่วประเทศจำนวน 180,636 หน่วย มูลค่า 480,510 ล้านบาท เพิ่มขึ้นทั้งจำนวนและมูลค่าร้อยละ 6.4และ 3.1 ตามลำดับ

‘คามาลา แฮร์ริส’ จะเข้าร่วม APEC 2022 ในฐานะตัวแทนของประธานาธิบดีโจ ไบเดน

ทำเนียบขาวยืนยันแล้ว รองประธานาธิบดีสหรัฐ ‘คามาลา แฮร์ริส’ มาไทยร่วมเอเปกซัมมิต 18-19 พ.ย.นี้แทนปธน.โจ ไบเดน 

(29 ต.ค. 65) ‘คารีน ฌอง ปิแอร์’ โฆษกทำเนียบขาว แถลงยืนยันว่า รองประธานาธิบดีแฮร์ริส จะเป็นตัวแทนของประธานาธิบดีโจ ไบเดน เดินทางมาที่กรุงเทพ เพื่อเข้าร่วมการประชุมกับผู้นำเอเปกในระหว่างวันที่ 18-19 พ.ย. โดยการมีส่วนร่วมของรองประธานาธิบดีสหรัฐจะเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นในความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกของสหรัฐฯ รวมถึงพูดถึงเป้าหมายสำหรับการเป็นเจ้าภาพเอเปกของสหรัฐในปี 2566 ด้วย

ขณะที่เยือนประเทศไทยรองประธานาธิบดีสหรัฐยังจะได้พบกับผู้นำไทยและตัวแทนภาคประชาสังคม เพื่อยืนยันและเสริมสร้างความเข้มแข็งของการเป็นพันธมิตรระหว่างสหรัฐและไทย รวมถึงเพื่อหารือเกี่ยวกับประเด็นความร่วมมือต่างๆ หลังจากนั้น เธอจะเดินทางไปเยือนกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์

การมาเยือนประเทศไทยของรองประธานาธิบดี ‘คามาลา แฮร์ริส’ ถือว่าสมเกียรติส
มศักดิ์ศรีมากแค่ไหน ‘นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว’ อดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศและที่ปรึกษาพิเศษด้านการต่างประเทศของสำนักงานเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ได้แสดงความคิดเห็นไว้ดังนี้…

'สุทิน' ถามสด ต่างชาติซื้อที่ดิน 1 ไร่แลก 40 ลบ. คุ้มหรือ? ชี้!! นโยบายนี้เอื้อนายทุน - ซ้ำเติมประชาชนในชาติ

(3 พ.ย. 65) สุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคาม รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย และประธานวิปฝ่ายค้าน ตั้ง #กระทู้สดด้วยวาจา กรณีมติคณะรัฐมนตรีแก้ไขกฎกระทรวงว่าด้วยการได้มาที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยของชาวต่างชาติ 

กระทู้สดด้วยวาจานี้ถามต่อนายกรัฐมนตรี โดยมีพลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รองนายกรัฐมนตรีมาเป็นผู้ตอบกระทู้ 

สาระสำคัญคือ ชี้ชวนจูงใจให้ต่างชาตินำเงินมาลงทุนไม่ต่ำกว่าคนละ 40 ล้านบาท เพื่อแลกกับการถือครองที่ดินได้คนละ 1 ไร่ โดยอ้างว่าเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ กรณีดังกล่าวเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์และวิตกกังวลสำหรับพี่น้องประชาชนคนไทยโดยทั่ว

การส่งเสริมให้คนต่างชาติถือครองที่ดิน คือการเปิดช่องให้ต่างชาติเข้ามาเป็นเจ้าของที่ดินในขณะที่คนไทยกำลังอ่อนแอ เพราะคนไทยกว่าร้อยละ 80 ยังไม่มีที่ดินเป็นของตัวเอง ความเหลื่อมล้ำในการถือครองที่ดินสูงมากไปกระจุกอยู่กับนายทุนคนละหลายแสนไร่ และยังจะซ้ำเติมด้วยต่างชาติเข้ามาถือครองอีก เรื่องนี้ชาวบ้านวิตกกันถึงขั้นว่าเป็นการ ‘ขายชาติ’ 

แม้รัฐบาลในอดีตเคยทำ แต่ทำบนข้อจำกัดและความจำเป็น คือเมื่อปี 2542 และปี 2545 รัฐบาลไปกู้เงินกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ ไอเอ็มเอฟ ก็ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ไอเอ็มเอฟกำหนด แต่ก็ออกกฎกระทรวงหรือมีมาตรการที่ระมัดระวัง รอบคอบและรัดกุม จนในที่สุดแล้วมีต่างชาติมาซื้อที่ดินเพียงแค่ประมาณ 7-8 ราย ก็ถือว่าเราไม่ได้เกิดการสูญเสียที่ดิน

แต่รัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา อ้างว่าเพื่อความจำเป็นด้านเศรษฐกิจ อันมาจากวิกฤต เสมือนรัฐบาลยอมรับว่า วันนี้รัฐบาลได้จนมุมทางเศรษฐกิจ และจำเป็นแล้วที่ต้องใช้มาตรการนี้ หมายความว่าการเงินการคลังเรากำลังลำบาก ต้องรอแต่เงินต่างชาติอย่างเดียวแล้วหรือ? 

และที่รัฐบาลอ้างว่ามีมาตรการนั้น มาตรการดังกล่าวก็หละหลวมมาก คือที่อ้างว่าเปิดการลงทุนเพื่อให้ได้ผู้เชี่ยวชาญ ได้เงินลงทุน ได้เทคโนโลยี แต่ดูไปดูมา รัฐบาลนี้แค่อยากได้เงินเขาเท่านั้น เพราะแต่ละกลุ่มที่รัฐบาลเลือกมาคือ เศรษฐี ผู้เกษียณอายุ ซึ่งนี่ตรงกันข้ามกันกับที่บอกว่าอยากได้ผู้เชี่ยวชาญ ได้เทคโนโลยีได้การลงทุนสร้างงาน และมากกว่านั้น 

สุทินย้ำว่า เงินลงทุนแค่ 40 ล้านบาทคือ โอนเงินข้ามประเทศมาก็ได้ที่ดินเลย คนไม่ต้องมา โรงงานไม่ต้องมา เทคโนโลยีไม่ต้องมา นี่คือไม่ได้เกิดงานที่แท้จริง ไม่ได้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยี แต่เอาเงินมา 40 ล้าน ครบ 3 ปีได้ดอกก็ถอนออกไป ตรงนี้อันตราย 

จึงเกิดข้อสงสัยถัดมาว่า จริงๆ แล้ว รัฐบาลเจตนาช่วยเหลือกลุ่มทุนที่วันที่ถือที่ดินไว้เต็มมือหรือไม่? บางรายมีที่ดินหลายแสนไร่ บางรายมีคอนโดมิเนียมนับหมื่นห้อง ซึ่งวันนี้ขายไม่ออก ตรงนี้เป็นแรงจูงใจหรือแรงผลักดันจากกลุ่มทุนหรือไม่ว่าให้ต่างชาติมาช่วยซื้อที่ดินซื้อบ้าน ดังนั้นจึงมีข้อสงสัยว่า รัฐบาลมีเจตนาหรือไม่เจตนาที่จะเอื้อกฎหมายนี้ให้เกิดประโยชน์กับกลุ่มนายทุนใหญ่ ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง คนได้ประโยชน์คือทุนใหญ่ คนเสียประโยชน์คือชาวบ้าน 

วันนี้ พรรคเพื่อไทย จึงตั้งกระทู้ เพื่อถามนายกรัฐมนตรีว่า

1.) คณะรัฐมนตรีมีความจำเป็นหรือมีเหตุผลอะไรที่หนักหนาสาหัส ถึงขนาดต้องมีมติคณะรัฐมนตรีแบบนี้ออกมา

‘คอนโดปะการัง’ ระบบนิเวศแห่งใหม่ใต้แท่นขุดน้ำมัน ที่พี่ไทยคิดไว้แล้ว ผ่านแนวคิด 'ทะเลเพื่อชีวิต'

(4 พ.ย. 65) เพจ Open Up ได้โพสต์เรื่องราวดี ๆ เกี่ยวกับ ‘บ้านหลังใหม่ของเหล่าสัตว์ทะเล’ ที่สร้างระบบนิเวศแห่งใหม่ด้วยการเปลี่ยนแท่นขุดน้ำมันเป็นปะการังเทียมให้เหล่าน้อง ๆ ไว้ว่า...

ส่วนใหญ่คนมักจะคิดว่าแท่นขุดเจาะน้ำมันเป็นเหมือนกับปราสาทของเหล่าตัวร้ายจากในการ์ตูนหรือหนัง เพราะคนยังติดภาพจำที่ว่าแท่นขุดเจาะน้ำมันเหล่านี้อาจจะไปสร้างทับบ้านของเหล่าน้อง ๆ สัตว์ทะเลหรือไม่ก็ทำให้ระบบนิเวศในบริเวณนั้นเกิดความเสียหาย 

แต่ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ ถ้าจะบอกว่าแท่นขุดน้ำมันเหล่านี้มันถูก ‘คิดค้น’ มาเพื่อเป็นบ้านของสิ่งมีชีวิตทางทะเลด้วยนะ 

เรื่องมันเป็นอย่างนี้ เมื่อประมาณ 2 อาทิตย์ก่อนผมได้ไปเจอเข้ากับวิดีโอตัวหนึ่งในยูทูป เขาเล่าเกี่ยวกับเรื่องของโครงการ 'Rigs-to-Reef' หรือการเปลี่ยนแท่นขุดเจาะที่ปลดประจำการแล้วให้กลายเป็นปะการังเทียมเพื่อให้สิ่งมีชีวิตทางทะเลได้เข้ามาตั้งรกรากใต้แท่นขุดเจาะ 

แล้วมันมีข้อดีอะไรหลาย ๆ คนอาจจะสงสัย เพราะถ้าพูดถึงของเทียมมันก็ต้องดีไม่เท่าของแท้อยู่แล้ว แต่ผมบอกเลยว่าไม่ใช่แบบนั้นถึงจะขึ้นชื่อว่าปะการังเทียมแต่จริง ๆ แล้วมันมีข้อดีมากกว่าปะการังแท้ ๆ อีกนะ ก็อย่างเช่น ...

ส.ส.เพื่อไทย ขยี้ปม ‘นักท่องเที่ยว’ รอคิวแน่นสุวรรณภูมิ ซัด!! รัฐบาลหวังการท่องเที่ยวฟื้น แต่กลับไม่เตรียมพร้อม

(4 พ.ย. 65) จักรพล ตั้งสุทธิธรรม ส.ส.เชียงใหม่ และรองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า หลังจากวันที่ 30 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา ปรากฏภาพข่าวจากสื่อต่างประเทศและโซเชียลมีเดีย มีการแชร์ภาพนักท่องเที่ยวจำนวนมากรอเข้ารับการตรวจหนังสือเดินทางที่ด่านขาเข้าของนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมินั้น

จากการตรวจสอบพบว่า ขณะนี้มีการให้บริการจากสายการบิน จำนวน 76 เที่ยวบิน เฉลี่ยมีผู้ใช้บริหารชั่วโมงละ 3,000-4,000 คน คิดเป็น 40,000 - 50,000 คน/วัน ส่วนตัวมีความเห็นดังนี้

1.) ถือเป็นสัญญาณที่ดีของการท่องเที่ยวไทย ที่จำนวนนักท่องเที่ยวและจำนวนเที่ยวบินที่เพิ่มมากขึ้น
2.) รัฐบาลที่นำโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม  ไม่มีการเตรียมแผนรองรับตั้งแต่แรก ทั้งที่รัฐบาลเองคาดหวังจะฟื้นฟูเศรษฐกิจผ่านการท่องเที่ยวเป็นสำคัญ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น การดำเนินการเป็นไปด้วยความล่าช้าในแต่ละขั้นตอน คนแน่นล้นแออัด จนนักท่องเที่ยวต้องโวยวายจนออกสื่อ จนสร้างภาพลักษณ์ที่ไม่ดีต่อการท่องเที่ยวไทย

สำหรับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิของไทย ถือว่าเป็นห้องรับแขกห้องแรกของประเทศที่ไว้คอยต้อนรับและสร้างความประทับใจแรกในการมาเยือน เคยติดอันดับที่ 5 ในปี พ.ศ. 2558 ในฐานะสนามบินที่ดีที่สุดในโลก ในหมวดสนามบินที่ให้บริการผู้โดยสาร 40-50 ล้านคนต่อปี จากการจัดอันดับและมอบรางวัลของ สกายแทร็กซ์ (Skytrax) หากไม่รีบแก้ไข อันดับสนามบินที่ดีของสุวรรณภูมิอาจจะร่วงกว่านี้ไปอีกแน่นอน


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top