Tuesday, 30 April 2024
ประเทศไทย

‘ศักดิ์สยาม’ ตั้งเป้า 3 ปี ไทยเป็นฮับในอาเซียน ถ่ายทอดนวัตกรรมและเทคโนโลยีระบบราง

เมื่อไม่นานมานี้ (15 ธ.ค. 65) นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานและสักขีพยานในพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือ ‘ผนึกกำลังพันธมิตรพัฒนาเทคโนโลยีระบบรางของภูมิภาค’ ระหว่างสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) และกลุ่มธุรกิจระบบรางฝรั่งเศส โดยการสนับสนุนของสถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศส ว่า การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือครั้งนี้ ไม่มีกำหนดกรอบระยะเวลา เป็นการต่อยอดความร่วมมือการผนึกกำลังพัฒนาศักยภาพบุคลากร เทคโนโลยี และนวัตกรรม ระหว่างสถาบันวิจัยฯ และกลุ่มอุตสาหกรรมระบบรางจากประเทศฝรั่งเศส 5 บริษัท โดยเป็นบริษัทที่มีความรู้ด้านเทคโนโลยีระบบราง ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับโลก

นายศักดิ์สยาม กล่าวอีกว่า ความร่วมมือนี้จะทำให้เกิดการทำงานร่วมกันที่เป็นรูปธรรมเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ 

1. การสร้างสถาบันพัฒนาบุคลากรระบบราง ที่เป็นกลไกการพัฒนาบุคลากรระบบราง ทั้งระดับช่างเทคนิคทักษะสูง และระดับวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ โดยร่วมกับสถาบันและหน่วยงานเครือข่าย เช่น การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนที่เกี่ยวข้อง

2. การสร้างความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนฝรั่งเศส และภาคเอกชนไทย เพื่อสร้างอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนระบบรางภายในประเทศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย Thai First ของกระทรวงคมนาคม โดยไม่เพียงแค่ผลิตได้ แต่คาดหวังให้เกิดผู้ประกอบการไทยที่มีความเข้มแข็ง สามารถแข่งขันในเวทีโลกได้

และ 3. การวิจัยและพัฒนาร่วมกัน และถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมระบบรางชั้นแนวหน้าระหว่างกลุ่มธุรกิจระบบรางชั้นนำของฝรั่งเศส และเครือข่ายการวิจัยและพัฒนาของประเทศไทย เพื่อส่งเสริม และผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง (ฮับ) การถ่ายทอด และการสร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรมของภูมิภาคอาเซียนภายใน 2-3 ปีหลังจากนี้

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า ดังนั้นเวลานี้ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องรับความรู้ และเทคโนโลยีจากหลากหลายประเทศที่มีความเชี่ยวชาญ ซึ่งนอกจากจะนำความรู้เพื่อมาใช้ผลิตบุคลากรในการเตรียมรองรับทางคู่ 4,000 กิโลเมตร (กม.) ทั่วประเทศ และสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ให้กับประเทศไทยแล้ว ยังสามารถนำไปถ่ายทอดให้กับประเทศอื่น ๆ เพื่อร่วมพัฒนาระบบขนส่งทางรางในระดับอาเซียนด้วย

รัฐบาล ปลื้ม 11 เดือน ต่างชาติลงทุนในไทยพุ่ง 74% ส่งสัญญาณเศรษฐกิจฟื้นตัว สร้างงานกว่า 5 พันตำแหน่ง

โฆษกรัฐบาล โว ต่างชาติเชื่อมั่นลงทุนไทย เพิ่มขึ้นถึง 74% รัฐบาล เร่ง สร้างงานสร้างรายได้ เศรษฐกิจฟื้นตัว

เมื่อวันนี้ (22 ธ.ค. 65) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า มีเรื่องน่ายินดี ตัวเลขการลงทุนของชาวต่างชาติในประเทศไทย ภายใต้พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ตลอด 11 เดือนของปี 2565 (มกราคม - พฤศจิกายน) มูลค่ารวมกว่า 112,466 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2564 ถึงร้อยละ 74 เกิดการจ้างงานคนไทยกว่า 5,000 คน โดยพล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยินดีที่นักลงทุนต่างชาติยังคงเชื่อมั่นในศักยภาพทางเศรษฐกิจของไทย และมีการขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งขอบคุณหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ขานรับและดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาลอย่างแข็งขัน ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยมีสัญญาณบวกต่อเนื่อง ฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว สร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนชาวต่างชาติ และสร้างงานสร้างอาชีพให้แก่คนไทย

นายอนุชา กล่าวว่า ตั้งแต่เดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2565 กระทรวงพาณิชย์ได้อนุญาตให้ชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจในประเทศไทย จำนวน 530 ราย โดยชาวต่างชาติที่เข้ามาลงทุนมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 

1) ญี่ปุ่น 137 ราย (ร้อยละ 26) เงินลงทุน 39,000 ล้านบาท 
2) สิงคโปร์ 85 ราย (ร้อยละ 16) เงินลงทุน 11,999 ล้านบาท 
และ 3) สหรัฐอเมริกา 70 ราย (ร้อยละ 13) เงินลงทุน 3,343 ล้านบาท

‘หมอชลน่าน’ ชู 2 เสาหลักสร้าง ศก.ดิจิทัล ตั้งเป้าปี 2570 สร้างคนดิจิทัล 2 ล้านคน

(22 ธ.ค. 65) นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน หัวหน้าพรรคเพื่อไทย และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร แสดงวิสัยทัศน์ในงานสัมมนา ‘NEXT STEP THAILAND 2023 ทิศทางแห่งอนาคต’ จัดโดยสปริงนิวส์ เนชั่นทีวี และโพสต์ทูเดย์ โดยในโอกาสนี้นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย นางสาวลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย นายชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ รองโฆษกพรรคเพื่อไทย นางสาวตรีชฎา ศรีธาดา รองโฆษกพรรคเพื่อไทย นางสาวชญาภา สินธุไพร รองโฆษกพรรคเพื่อไทย เข้าร่วมงานสัมมนาด้วย

นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว กล่าวว่า ภายในปี 2570 พรรคเพื่อไทยตั้งเป้าหมายให้ประเทศไทยต้องเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาค คนไทยต้องรู้เท่าทัน รู้การเปลี่ยนแปลง และก้าวไปได้ทันกับเศรษฐกิจดิจิทัล เพราะเศรษฐกิจดิจิทัล มีทั้งโอกาสและอันตรายซ่อนอยู่ คือ เค้กชิ้นใหญ่ที่ทุกฝ่ายอยากไขว่คว้ามาแบ่งกัน ปัญหาคือประเทศไทยไม่มีคนผลิตเค้ก พรรคเพื่อไทยจึงต้องตอก 2 เสาหลัก เพื่อวางอนาคตด้านเศรษฐกิจดิจิทัล ได้แก่

1. โครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล ซึ่งคือเครื่องผลิตเค้ก พรรคเพื่อไทยไม่ได้หยุดอยู่ที่อินเทอร์เน็ตฟรีทุกหมู่บ้าน หรือแท็ปเล็ตฟรีทุกครอบครัว แต่พรรคเพื่อไทยต้องการวางโครงสร้างระบบการเงินของประเทศด้วย Central Bank Digital Currency (CBDC) ให้คนไทยทุกคนมีกระเป๋าสตางค์ดิจิทัล มี digital ID ของตนเอง ทลายกำแพงการชำระเงินข้ามพรมแดนด้วย Blockchain สัญชาติไทย รวมทั้งการตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

พรรคเพื่อไทยประกาศเปิดเขตธุรกิจใหม่ 4 แห่ง เชียงใหม่ กรุงเทพ ขอนแก่น หาดใหญ่ เพื่อสร้างกฎหมายธุรกิจใหม่ ดึงดูดการลงทุนต่างชาติด้านดิจิทัล และธุรกิจในโลกยุคใหม่ เขตธุรกิจใหม่นี้จะสร้างและเชื่อมเอสเอ็มอีที่มีตลาดในมือ กับ สตาร์ตอัปที่มีไอเดียและเทคโนโลยี และยังดึงดูดแรงงานทักษะสูงจากต่างชาติเข้าทำงานระยะยาวในไทย

‘โครงสร้างพื้นฐาน - เขต EEC’ จุดเปลี่ยนประเทศ ดูดนักลงทุนต่างชาติทุ่มเงินลงทุนกว่าแสนล้านบาท

ต้องบอกว่า ปีนี้ประเทศไทยเนื้อหอมมากจริง ๆ เนื่องจากนักลงทุนหลาย ๆ เจ้ากำลังทยอยเข้ามาปักหลักปักธงทำธุรกิจในไทย ไม่ว่าจะเป็น BYD ที่ได้ลงหลักในเขต EEC ไปแล้ว ที่จะตามมาคือ MG, เกรท วอลล์ มอเตอร์ (GWM) หรือข่ายรถยนต์ไฟฟ้าจากประเทศซาอุดีอาระเบียที่ก็เล็ง ๆ ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตเช่นกัน ขอบอกเลยว่าไทยมีเสน่ห์สุด ๆ แถมยังสามารถดูดเงินลงทุนได้มาถึงแสนล้านบาทเลย

แต่ที่น่าสนใจอย่างยิ่งก็คือ นักลงทุนทั้งต่างชาติและจีน ที่เคยลงทุนในจีนนั้นกำลังเตรียมแผนย้ายฐานการผลิตออกจากจีนเพื่อไปลงทุนในประเทศอื่นแทน จึงเป็นเรื่องที่น่าจับตามองว่าเพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้จีนได้รับฉายาว่า ‘โรงงานของโลก’ เชียวนะ

สำหรับเรื่องนี้ ช่องยูทูบ ‘Property Expert Live’ ของคุณคิม ชัชวาลย์ วัฒนะโชติ ได้อธิบายไว้อย่างน่าสนใจ โดยสามารถสรุปใจความได้ว่า…

ปัจจัยที่ทำให้นักลงทุนมองหาฐานการผลิตนอกประเทศจีน ได้แก่

1. สงครามการค้า หรือ Trade War ระหว่างจีนกับสหรัฐฯ จึงทำให้การลงทุนในจีนแล้วส่งออกไปยังสหรัฐฯ นั่นมีอุปสรรคในด้านกำแพงภาษี รวมถึงสหรัฐฯ มีนโยบายกีดกันทางด้านเทคโนโลยีและการลงทุนในประเทศจีน จึงเป็นจุดที่ทำให้นักลงทุนรู้สึกไม่ปลอดภัยหากยังลงทุนในจีนต่อไป ไม่เพียงแต่นักลงทุนต่างชาติเท่านั้น แต่นักลงทุนจีนก็มองหาทางหนีทีไล่ไว้เช่นกัน

2. ราคาค่าแรง จากเดิมค่าแรงในจีนถูก จึงเป็ดจุดเด่นดึงดูดนักลงทุน แต่มีเศรษฐกิจขยายใหญ่ขึ้น มีรายได้มากขึ้น ค่าแรงก็เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย 

3. นโยบาย Zero Covid-19 ที่เข้มงวด

4. นโยบายควบคุมด้านเศรษฐกิจ ที่มีวลีเท่ๆ ว่า ‘มั่งคั่งทั่วกัน’ ทว่านโยบายเหล่านี้ไม่ส่งเสริมด้านการลงทุน จึงทำให้บริษัทต่อชาติที่อยู่ในจีนทยอยปิด และออกมาลงทุนนอกประเทศจีน เช่น Apple ที่ก่อนหน้ามีฐานการผลิตที่จีน แต่ก็ย้ายฐานไปที่เวียดนามและอินเดียแทน รวมถึงบริษัทสัญชาติจีนก็ย้ายออกเช่นกัน

24 ธันวาคม พ.ศ. 2483 ประเทศไทย ประกาศให้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่เหมือนนานาชาติ

วันนี้สำหรับชาวคริสต์ ถือเป็นวันคริสต์มาสอีฟ แต่สำหรับประเทศไทย ย้อนไปเมื่อ 82 ปีก่อน หรือเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2483 เป็นวันที่ทางการประกาศให้วันขึ้นปีใหม่ ตรงกับวันที่ 1 มกราคม เป็นครั้งแรก

แรกเริ่มเดิมที เมืองสยามของเรากำหนดให้วันขึ้นปีใหม่ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย โดยคำว่าเดือนอ้าย หมายถึงเดือน 1 หากนับตามปฏิทินจันทรคติไทย มักจะเริ่มในเดือนพฤศจิกายน หรือ ธันวาคม ต่อมา ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้กำหนดใหม่ให้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่แทน กระทั่งเวลาผันผ่านมาจนถึง วันที่ 24 ธันวาคม ปี พ.ศ. 2483 ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้ประกาศเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ให้เป็นวันที่ 1 มกราคม

‘ดร.วินัย’ ชี้ เหตุผลที่การอยู่เมืองไทยดีกว่าหลายประเทศ ‘สงบปลอดภัย - ศก.มั่นคง' ขัดแย้งบ้างแต่ค่อนข้างต่ำ

(24 ธ.ค. 65) ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ผอ.ศวฮ.) ได้โพสต์เฟซบุ๊ก ‘Dr.Winai Dahlan’ เกี่ยวกับสุขภาพกับชีวิตในกรุงเทพฯ ว่า…

เคยใช้ชีวิตอยู่ในยุโรปตะวันตกต่อเนื่องนานห้าปี เดือนธันวาคมใกล้คริสตมาสเป็นช่วงอากาศหนาวถึงหนาวจัดแม้ไม่สาหัสเท่าเดือนมกราคมก็ตาม จำไม่ได้ว่าเป็นปีไหน อากาศเดือนธันวาคมในบรัสเซลส์ลดต่ำเกิน -30 องศา แย่ที่สุดเวลานั้นคือการต้องไปตลาดเช้าย่านแซงค์จิลส์ใกล้บ้าน หนาวจัดถึงขนาดต้องเอาผ้าพันคอปิดหน้าเหลือเฉพาะลูกตา มือสวมถุงมือหนังแล้วยังไม่กล้าดึงออกจากกระเป๋าเสื้อโคท หนาวจนนิ้วแทบหลุด เทียบไม่ได้เลยกับเดือนธันวาคมในปีที่หนาวที่สุดของเมืองไทย

ธันวาคมปีนี้ กรุงเทพฯ อากาศดีที่สุดในรอบหลายปี เช้านี้ 22 องศา หนาวกว่าออฟฟิศติดแอร์เสียอีก ผมตื่นตามปกติคือตีสาม หลังละหมาดเช้าตอนตีห้า ลงมาเดินหน้าบ้านซึ่งเป็นถนนภายในกว้าง 4-5 เมตรยาว 50 เมตร เดินเร็ววนไปมาสัก 45 นาทีได้ 5 พันก้าวก็หยุด ระหว่างเดินบางช่วงนำเวท 2.5 กก. มาสร้างกล้ามแขนเป็นพักๆ นี่คือการออกกำลังกายที่วงการแพทย์แนะนำให้ปฏิบัติ สำหรับผู้สูงอายุในวัยผมนั่นคือ 60-70 ปี อย่างที่เคยบอก ผมเดินวันละหมื่นก้าวทุกวัน ประโยชน์ที่ได้คือนอนหลับง่ายขึ้น ความดันโลหิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวล่างลดลง จังหวะการหายใจ การเต้นของหัวใจสม่ำเสมอขึ้น เสริมด้วยการอดอาหารแบบไอเอฟสองวันต่อสัปดาห์หรือ 5:2 diet ซึ่งผมใช้การถือศีลอดแบบสุนนะฮฺ คืออดอาหารช่วงเวลาตื่น 13-14 ชม. ต่างจาก 16/8 IF ที่นิยมทำกัน 

CNN ยก ‘กรุงเทพฯ’ ติด 1 ใน 10 เมืองน่าเคานต์ดาวน์ช่วงเทศกาลปีใหม่ 2566

CNN ยก ‘กรุงเทพฯ’ ติด 1 ใน 10 เมืองที่น่าเคานต์ดาวน์ ต้อนรับเทศกาลขึ้นปีใหม่ 2566 ร่วมกับอีกหลายเมืองทั่วโลก

อีกไม่กี่วันก็จะถึงเทศกาลปีใหม่ ซึ่งทุกประเทศก็จะมีการจัดกิจกรรม เคานต์ดาวน์ ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่กันอย่างอลังการ ล่าสุด สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น (CNN) ได้เผย 10 เมืองที่น่าเคานต์ดาวน์ปีใหม่ที่จะถึงนี้ โดย กรุงเทพฯ ติด 1 ใน 10 ด้วย

โดยกรุงเทพได้ถูกจัดให้เป็นเมืองที่น่าเคานต์ดาวน์ ร่วมกับอีกหลายเมือง อาทิ นครซิดนีย์ ของออสเตรเลีย / ไทเป เมืองหลวงของไต้หวัน / ดูไบ ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ / เคปทาวน์ ในแอฟริกาใต้ /กรุงโรม ของอิตาลี / กรุงลอนดอน ของอังกฤษ / นครรีโอเดจาเนโร ของบราซิล / นครนิวยอร์ก ที่มีงานเคาต์ดาวน์ที่เลื่องชื่อที่จัตุรัสไทม์สแควร์ / นครลาสเวกัส สหรัฐอเมริกา

‘บิ๊กตู่’ ปลื้ม ส่วนแบ่งยอดขายรถ EV ไทยสูงสุดในอาเซียน เร่งส่งเสริมการลงทุน - สร้างระบบนิเวศรองรับในอนาคต

นายกฯ ยินดีไทย มีส่วนแบ่งยอดขายรถ EV ประจำไตรมาสที่ 3 ปี 65 มากที่สุดในภูมิภาค พร้อมเดินหน้าส่งเสริมการลงทุน-สร้างระบบนิเวศรองรับตลาด

(28 ธ.ค. 65) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยินดีที่ประเทศไทยมีส่วนแบ่งยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าส่วนบุคคล (EV) ประจำไตรมาสที่ 3 ปี 2565 เกือบร้อยละ 60 ซึ่งมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

นายอนุชา กล่าวว่า ตลาดยานยนต์ไฟฟ้าในไทยมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง สะท้อนจากรายงานของบริษัทวิจัยตลาด Counterpoint ซึ่งเปิดเผยว่า ในไตรมาสที่ 3 ปี 2565 ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความต้องการรถยนต์ไฟฟ้าส่วนบุคคล (EV) เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 35 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปี 2564 และพบว่าประเทศไทยมีมูลค่าการซื้อขายรถ EV สูงที่สุดในภูมิภาค คิดเป็นส่วนแบ่งทั้งหมดประมาณร้อยละ 59.2 ตามมาด้วยอินโดนีเซียร้อยละ25.2 และสิงคโปร์ ร้อยละ 11.8 

โดยรถยนต์ไฟฟ้าประเภทแบตเตอรี่ไฟฟ้า (Battery Electric Vehicle) มีมูลค่าการซื้อขายคิดเป็นร้อยละ 61 ของทั้งหมด ในขณะที่เหลือเป็นแบบปลั๊กอินไฮบริด (Plug-in Hybrid Electric Vehicle) โดยบริษัทที่มียอดขายสูงสุดอันดับแรกคือ Wuling ตามด้วย Volvo, BMW, ORA และ Mercedes-Benz ตามลำดับ

งานประชุมระดับโลก ที่คนไทยภาคภูมิใจ

นับเป็นความภาคภูมิใจของคนไทยทั้งชาติที่ได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับโลกอย่าง APEC 2022 เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ต้องบอกเลยว่าช่วงที่มีการประชุม ประเทศไทยเราได้ต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองที่เป็นถึงผู้นำระดับโลก ไม่ว่าจะเป็น สี จิ้นผิง ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน, เอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีของฝรั่งเศส, จัสติน ทรูโด นายกรัฐมนตรีของแคนาดา, เจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อาล ซะอูด มกุฎราชกุมาร และนายกรัฐมนตรีแห่งซาอุดีอาระเบีย และผู้นำของเขตเศรษฐกิจอื่น ๆ อีกหลายท่าน

โดยการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมในครั้งนี้ ไทยได้กำหนดหัวข้อหลักการประชุมไว้ว่า Open. Connect. Balance. หรือ ‘เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล’ และมีเป้าหมายที่สำคัญ เรียกว่า ‘เป้าหมายกรุงเทพฯ Bangkok’s Goals’

โดยเป้าหมายกรุงเทพฯ คือ การต่อยอดจากโมเดลเศรษฐกิจ Bio-Circular-Green Economy หรือ BCG ของประเทศไทยที่วางอยู่บนแนวคิดสำคัญคือ ‘ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง’ และความต้องการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (UN SDGs 2030) ที่ประเทศไทยต้องการเชิญชวนให้ทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก ร่วมกันสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่มีความรับผิดชอบ (Responsible Economies) 

ทั้งนี้ เป้าหมายกรุงทพฯ ต้องการให้ทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก มีเป้าหมายร่วมกันใน 4 มิติ ได้แก่
1. ร่วมกันสร้างระบบการค้าและการลงทุนที่ยั่งยืน (Sustainable Trade and Investment)
2. ร่วมกันบริหารจัดการทรัพยากรและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน
3. ร่วมกันรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อบรรลุเป้าหมายการเป็นเขตเศรษฐกิจผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์
4. ร่วมกันบริหารจัดการของเสียและขยะอย่างยั่งยืน
และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทั้ง 4 นี้ ประเทศไทยเสนอให้ต้องมีการดำเนินการพร้อมกันใน 4 ด้าน ได้แก่
1. สร้างกรอบการกำกับดูแลทางนโยบาย และบังคับใช้กฎเกณฑ์ในรูปแบบที่ทำได้จริง
2. ร่วมกันพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง
3. สร้างโครงสร้างพื้นฐาน และสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อไปสู่การบรรลุเป้าหมาย
4. ผลักดันให้เกิดเครือข่ายการทำงานร่วมกันในระดับโลก

จะเห็นได้ว่า เป้าหมายกรุงเทพฯ ที่ประเทศไทยต้องการผลักดัน คือ กลไกสำคัญที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรกว่า 2 พันล้านคน ใน 21 เขตเศรษฐกิจ และต่อเนื่องถึงระดับโลก ให้ทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น ผ่านความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่มีความรับผิดชอบที่สูงขึ้นของทุกภาคส่วน

‘เพื่อไทย’ ยก 5 ปัจจัยเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทย เตือนรัฐบาลหาทางรับมือก่อนเศรษฐกิจย่ำแย่

(3 ม.ค. 66) จุฑาพร เกตุราทร โฆษกคณะทำงานเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทย และ ผู้ประสงค์ลงสมัครรับเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร ว่าพรรคเพื่อไทยได้เตือนไว้ก่อนแล้วว่าเป็นสัญญาณเศรษฐกิจที่ไม่ดี และแนวโน้มจะทำให้การส่งออกของไทยในปีนี้น่าจะไม่สดใส ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจโลกที่อาจจะเข้าสู่ภาวะถดถอย ทีมเศรษฐกิจจึงขอเตือน 5 ปัจจัยเสี่ยงดังนี้ 

1. ปัญหาหนี้ที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งหนี้สาธารณะ หนี้ครัวเรือน หนี้จากธุรกิจหลังสถานการณ์โควิด ส่งผลกระทบให้มีหนี้เสียในระบบธนาคาร และหนี้นอกระบบมากขึ้น ซึ่งจะเป็นเหมือนระเบิดเวลาทางเศรษฐกิจ หากรัฐบาลไม่สามารถจัดการกับเรื่องหนี้เหล่านี้ได้ 

2. ปัญหาเศรษฐกิจโลกที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอย จากการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐฯ เพื่อหยุดเงินเฟ้อ ซึ่งจะส่งผลกระทบไปทั้งโลก ทั้งเศรษฐกิจของ สหรัฐ ยุโรป จีน และ ญี่ปุ่น ก็จะไม่ดี ซึ่งจะทำให้การส่งออก การท่องเที่ยว และการลงทุนของไทยลดลงได้ 

3. ปัญหาอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น และยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นซึ่งจะส่งผลให้ไทยอาจจะต้องขึ้นดอกเบี้ยตาม และจะเป็นการเพิ่มภาระให้กับประชาชน


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top