Saturday, 5 July 2025
Hard News Team

หลายประเทศในอาเซียนเริ่มทิ้งนโยบายโควิดเป็นศูนย์ หันหน้าสู่การอยู่ร่วมกับโควิด ด้านผู้เชี่ยวชาญกังวล อาจจะเกิดความสูญเสียอีกครั้ง

หลายชาติในอาเซียนละทิ้งนโยบาย “Zero-Covid” หรือ โควิดเป็นศูนย์ เพื่อเปิดประเทศฟื้นฟูเศรษฐกิจ ท่ามกลางความกังวลของผู้เชี่ยวชาญว่าอาจจะสร้างความเสียหายครั้งใหญ่

ผู้เชี่ยวชาญหลายคนมองว่า หากเปิดพรมแดนรับนักท่องเที่ยว ทั้งที่ประชาชนในประเทศที่ได้รับวัคซีนต้านโควิด-19 ครบถ้วน ยังมีจำนวนต่ำอยู่ อาจทำให้ระบบสาธารณสุขต้องรับผู้ป่วยโควิดจนล้นมืออีกครั้ง

สำนักข่าว CNN รายงานว่า โควิด-19 ได้ระบาดหนักในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมา เนื่องจากเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ Delta ที่แพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว

แต่หลังจากใช้มาตรการล็อกดาวน์ หรือ จำกัดการเคลื่อนที่ตั้งแต่เดือนมิถุนายน - สิงหาคม เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดไวรัสโควิด ขณะนี้หลายชาติในอาเซียน เช่น เวียดนาม อินโดนีเซีย และไทย กำลังละทิ้งนโยบาย “Zero-Covid” หรือ “โควิดเป็นศูนย์” หันมาหาทางใช้ชีวิตอยู่กับโควิด-19 ให้ได้ และกำลังมองหาการฟื้นฟูเศรษฐกิจโดยเฉพาะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ด้วยการเปิดพรมแดนรับนักเดินทางจากต่างประเทศอีกครั้ง

จบนโยบาย ‘โควิดเป็นศูนย์’

มาเลเซียและอินโดนีเซีย บังคับใช้มาตรการล็อกดาวน์ทั่วประเทศ ขณะที่ไทยและเวียดนามล็อกดาวน์ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง ภายใต้ข้อจำกัดเหล่านี้, ผู้คนนับล้านได้รับคำสั่งให้อยู่บ้าน และห้ามการเดินทางภายในประเทศ โรงเรียนปิดทำการเรียนการสอน การขนส่งสาธารณะถูกระงับ และห้ามการชุมนุม

ผลที่ได้คือ ผู้ติดเชื้อรายใหม่ลดลงทั่วทั้งภูมิภาค แม้ว่าจะยังอยู่ในระดับสูง โดยข้อมูลจากมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ระบุว่า ฟิลิปปินส์มีรายงานผู้ป่วยรายใหม่เกือบ 20,000 คนต่อวัน

ส่วนไทย เวียดนาม และมาเลเซีย มีการบันทึกผู้ป่วยรายใหม่ประมาณ 15,000 คน ทุกๆ 24 ชั่วโมง ขณะที่อัตราการติดเชื้อของอินโดนีเซียลดลงมากที่สุด มีรายงานผู้ติดเชื้อ ไม่กี่พันคนต่อวัน

ผ่านจุดพีค เริ่มเปิดประเทศ

จุดสูงสุดของการระบาดเพิ่งผ่านพ้นไป ขณะที่อัตราการฉีดวัคซีนต้านโควิด-19 ก็ยังต่ำมากในหลายพื้นที่ แต่รัฐบาลหลายชาติในอาเซียน ก็เตรียมจะเปิดประเทศรับนักเดินทางต่างชาติอีกครั้งแล้ว

สำนักข่าว Reuters รายงานว่า เวียดนามวางแผนที่จะเปิดเกาะฟูกว๊อก รีสอร์ทตากอากาศชื่อดัง สำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติอีกครั้งในเดือนหน้า รัฐบาลเวียดนามให้เหตุผลว่า แรงกดดันทางเศรษฐกิจทำให้ต้องตัดสินใจเช่นนี้

ด้านรัฐมนตรีกระทรวงการท่องเที่ยวเวียดนามระบุว่า การระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบร้ายแรง ต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ขณะที่ล่าสุดรายงานจาก CNN ระบุว่า มีประชากรน้อยกว่า 7% ของประชากรที่ได้รับวัคซีนต้านโควิดครบถ้วน

อย่างไรก็ตามเวียดนามก็เพิ่ง ลงนามในข้อตกลงสั่งซื้อวัคซีนอับดาลา 10 ล้านโดสจากคิวบา กลายเป็นประเทศต่างชาติประเทศแรกที่อนุมัติใช้วัคซีนอับดาลาเป็นกรณีฉุกเฉินเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (18 กันยายน) คิวบายังจะถ่ายทอดเทคโนโลยีในการผลิตวัคซีนนี้ให้เวียดนามภายในสิ้นปีนี้ด้วย

และก่อนหน้านี้รัฐบาลเวียดนามแถลงบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับการถ่ายโอนเทคโนโลยีสำหรับผลิตวัคซีนต้านโควิด-19 ของรัสเซียและสหรัฐฯ ด้วยความพยายามที่จะเพิ่มขีดความสามารถด้านวัคซีนของประเทศ

เปิดเกาะบาหลีและลังกาวี

อินโดนีเซีย ซึ่งฉีดวัคซีนต้านให้กับประชากรครบถ้วนมากกว่า 16% ได้ผ่อนคลายข้อจำกัดต่างๆ เช่นกัน โดยอนุญาตให้เปิดใช้พื้นที่สาธารณะอีกครั้ง และอนุญาตให้โรงงานกลับมาทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ส่วนนักท่องเที่ยวต่างชาติอาจได้รับอนุญาตให้เข้าไปในบางที่ของประเทศ รวมทั้งเกาะบาหลี ภายในเดือนตุลาคม

มาเลเซีย มีอัตราการฉีดวัคซีนต้านโควิดสูงสุดแห่งหนึ่งในภูมิภาค ประชากรมากกว่า 56% ได้รับการฉีดวัคซีนครบแล้ว เมื่อสัปดาห์ที่แล้วได้เปิดเกาะลังกาวีสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ ให้นักท่องเที่ยวต่างประเทศได้เดินทางไปพักผ่อนอีกครั้ง ขณะที่หลายรัฐได้เริ่มผ่อนคลายมาตรการ และข้อจำกัดต่างๆ สำหรับผู้ได้รับวัคซีนต้านโควิด รวมถึงการรับประทานอาหารภายในร้านและการเดินทางระหว่างรัฐ รัฐบาลมาเลเซียเตรียมจะประกาศเข้าสู่ระยะโควิดเป็นโรคประจำถิ่นในเดือนตุลาคมนี้

กองทัพอากาศ โดยกองบิน 4 จัดเครื่องบิน DA-42 บินลาดตระเวนถ่ายภาพทางอากาศ ติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่นครสวรรค์-ชัยนาท

พลอากาศเอก แอร์บูล  สุทธิวรรณ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ในฐานะ ผู้บัญชาการศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพอากาศ สั่งการให้ นาวาอากาศเอก เนาวมรัตน์  ประพัฒน์ทอง ผู้บังคับการกองบิน 4 ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองบิน 4 จัดเครื่องบินตรวจการณ์และฝึกแบบที่ 20 (DA-42) ของหน่วยบิน 4021 พร้อมติดตั้งกล้องถ่ายภาพทางอากาศ ขึ้นทำการบินในภารกิจลาดตระเวนถ่ายภาพทางอากาศ ติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดชัยนาท เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2564 

เพื่อหาแนวทางป้องกันปัญหาอุทกภัยที่อาจจะเกิดขึ้นอันเนื่องมาจากอิทธิพลของร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลาง ส่งผลให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากในพื้นที่ดังกล่าว ประกอบกับระดับน้ำบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง 

ผู้ตรวจการแผ่นดินชี้ ศอ.บต.ทำถูกต้องตามกฎหมายในกรณีรับฟังความคิดเห็นของ”เมืองต้นแบบ”อ.จะนะ 

พล.ร.ต.สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)เปิดเผยว่า จากการที่ได้มีประชาชนในพื้นที่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ได้ยื่นหนังสือถึงสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ให้มีการตรวจสอบการดำเนินการของ ศอ.บต.ในกรณีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในเรื่องของ”เมืองต้นแบบที่ 4” ว่าไม่ครอบคลุม และสร้างความขัดแย้งให้เกิดขึ้นนั้น เมื่อวันที่ 13 กันยายน ที่ผ่านมา ผู้ตรวจราชการแผ่นดิน ได้มีหนังสือมายัง ศอ.บต.เพื่อแจ้งให้ทราบว่า ผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้มีการวินิจฉัยและตรวจสอบข้อมูลทั้งหมดแล้ว มีความเห็นให้ยุติเรื่องของการร้องเรียนทั้งหมด เนื่องจากขบวนการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการรับฟังความคิดเห็นของ”เมืองต้นแบบที่ 4” หรือ”เมืองอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต”นั้น ศอ.บต.ดำเนินการถูกต้อง เป็นไปตามระเบียบการเปิดรับฟังความคิดเห็นของสำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ.2548 ทุกประการ

สำหรับการรับฟังความคิดเห็นในเรื่อง”เมืองต้นแบบที่ 4 “ ที่ อ.จะนะนั้น มีการเปิดช่องทางรับฟังความคิดเห็น 5 วิธีการด้วยกัน 1แสดงความคิดเห็นทางเว็ปไซต์ 2. จัดประชุมกลุ่ม  3. แสดงความคิดเห็นทางเอกสาร 4 .สัมภาษณ์บุคคล และ 5 .การจัดเวทีให้แสดงความคิดเห็น ซึ่ง ศอ.บต.ได้ดำเนินการครบทุกประการ เริ่มตั้งแต่วันที่ 1. เม.ย.สิ้นสุดในเดือน ก.ค. 63 

แต่อย่างไรก็ตามในส่วนของผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น เพื่อประโยชน์ของการเกิดขึ้นของ”เมืองต้นแบบที่ 4” ที่ อ.จะนะ ยังสามารถแสดงความคิดเห็นได้ ด้วยการส่งข้อคิดเห็นเป็นเอกสาร จดหมาย มายังคณะกรรมการบริหารเขตพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมจะนะ หรือที่ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ตลอดเวลา 

 

'หมอธีระวัฒน์' แนะ ฉีดวัคซีนเชื้อตายให้เด็กก่อน ตามด้วย mRNA ใน 'ปริมาณน้อยที่สุด'

'หมอธีระวัฒน์' ห่วง!! เด็กหัวใจผิดปกติหลังฉีดไฟเซอร์ แนะทางเลือก เพื่อความปลอดภัยสูงสุดในเด็กอายุ 3 ขวบขึ้นไปอาจเป็นเชื้อตาย 2 เข็มก่อน ตามด้วยวัคซีน mRNA ในปริมาณน้อยที่สุด

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก 'ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha' ระบุว่า หัวใจผิดปกติในเด็กชาย หลังฉีดวัคซีนไฟเซอร์ (162.2 คน ใน 1 ล้านคน)

การวิเคราะห์ข้อมูล โดย คุณหมอ Tracy Hoeg และคณะ จาก University of California, Davis ภาควิชา Physical Medicine and Rehabilitation

ทั้งนี้โดยใช้ข้อมูลที่มีการรายงานมาในระบบ เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากวัคซีน ของชาติ (VAERS) โดยใช้ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมถึง 18 มิถุนายน 2564 เด็กอายุ 12 ถึง 17 ปี ที่ไม่มีโรคประจำตัวที่ได้รับวัคซีน mRNA ที่มีอาการและลักษณะเข้าได้กับกล้ามเนื้อหัวใจและเยี่อหุ้มหัวใจอักเสบ

>> เด็กผู้ชายอายุ 12 ถึง 15 เกิดหัวใจอักเสบ 162.2 ต่อล้าน

>> เด็กผู้ชายอายุ 16 ถึง 17 = 94 ต่อล้าน

>> เด็กผู้หญิงอายุ 12 ถึง 15 เกิดหัวใจอักเสบ 13.0 ต่อล้าน

>> เด็กผู้หญิงอายุ 16 ถึง 17 = 13.4 ต่อล้าน

ผบช.น. นำทัพ ว่าที่ น.1 ผู้แทนกองทัพบก แจกถุงยังชีพ เลี้ยงอาหาร ชาวแฟลตดินแดง

พล.ต.ท.ภัคพงศ์ พงษ์เภตรา ผบช.น. พร้อมด้วย พล.ต.ต.สำราญ นวลมา, พล.ต.ต.ปิยะ ต๊ะวิชัย, พล.ต.ต.สหรัฐ ศักดิ์ศิลปชัย, พล.ต.ต.สมนึก น้อยคง รอง ผบช.น. ผู้แทนจากโรงพยาบาลตำรวจ ผู้แทนกองทัพบก เดินทางไปยังลานกีฬา ตรงข้าม สน.ดินแดง เพื่อแจกถุงยังชีพให้กับพี่น้องประชาชนชาวแฟลตดินแดง ที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุม ก่อความไม่สงบ บริเวณโดยรอบ 

พล.ต.ท.ภัคพงศ์ ได้กล่าวกับพี่น้องประชาชนที่มารับถุงยังชีพว่า “ผมอยากจะให้ตรงนี้เป็นชุมชนตัวอย่างว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน คนในชุมชนจะรู้ดีที่สุดและต้องร่วมกับเจ้าหน้าที่ ช่วยกันแก้ เจ้าหน้าที่จะคอยช่วยเหลือ ให้คำแนะนำ สนับสนุน ซึ่งผมเองก็อยากจะนำเรียนว่า ห้วงที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ตำรวจก็มีความยากลำบากในเรื่องการแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะในเรื่องการแยกกลุ่มผู้ชุมนุมกับคนที่พักอาศัยในบริเวณนี้ และเมื่อมีการก่อเหตุแล้วผู้ก่อความไม่สงบมักจะเข้าไปหลบปะปนกับผู้พักอาศัยในพื้นที่ ใช้ที่พักอาศัยของคนในแฟลตเป็นที่พักคอย ซ่อนตัว แล้วออกมาทำร้ายเจ้าหน้าที่ ซึ่งข้อจำกัดตรงนี้ทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจมีความยากลำบากในการปฏิบัติ เพราะสิ่งที่เจ้าหน้าที่ตำรวจพยายามดูแล ปกป้อง ไม่ใช่เฉพาะคนที่อาศัยอยู่ที่นี่ แต่รวมถึงผู้มาชุมนุมโดยสุจริตและประชาชนที่สัญจรไปมา เพราะฉะนั้นตำรวจที่ทำการปฏิบัติหน้าที่ต้องคำนึงถึงในเรื่องพวกนี้ พอชุมชนแฟลตดินแดงออกมาชี้แจงให้สังคมรับทราบว่าเรื่องจริงๆ มันคืออะไร แล้วมาช่วยตำรวจในการแยกคน มันก็ทำให้สถานการณ์เริ่มคลี่คลาย”

'หญิงหน่อย' บินลัดฟ้าหารือ สว.แทมมี่ จับมือไทย-สหรัฐฯ สู้โควิด พร้อมชวนทัพนักธุรกิจสหรัฐฯ เยี่ยมไทย

23 ก.ย. 64 คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานพรรคไทยสร้างไทย ได้เข้าพบนางแทมมี่ ดักเวิร์ธ สมาชิกวุฒิสภาสหรัฐอเมริกา พรรคเดโมแครต จากรัฐอิลลินอยส์ ณ สำนักงานวุฒิสมาชิกแทมมี่ ที่กรุงวอชิงตันดีซี เมื่อวันที่ 22 กันยายนที่ผ่านมา

โดยคุณหญิงสุดารัตน์ และวุฒิสมาชิกแทมมี่ ได้หารือกันถึงความร่วมมือระหว่างไทยและอเมริกาในการต่อสู้กับการระบาด covid-19 ซึ่งสว.แทมมี่ มีส่วนสำคัญในการสนับสนุนให้รัฐบาลสหรัฐฯ บริจาควัคซีนไฟเซอร์จำนวน 2.5 ล้านโดส ให้ประเทศไทย สว.แทมมี่ได้แสดงความห่วงใยต่อการแพร่ระบาดของ covid-19 ในไทย และประสงค์จะช่วยผลักดันรัฐบาลสหรัฐฯ ให้บริจาควัคซีนให้ประเทศไทยเพิ่มเติม จากที่ได้แสดงเจตจำนงบริจาคไปแล้ว 2.5 ล้านโดส และส่งมอบมาแล้ว 1.5 ล้านโดส

สว. แทมมี่ ดักเวิร์ธกล่าวว่า สหรัฐฯ พร้อมที่จะส่งมอบวัคซีนที่เหลืออีก 1 ล้านโดส แต่ขณะนี้รัฐบาลไทย ยังไม่ส่งเอกสารตอบรับมา จึงทำให้ยังไม่สามารถส่งมอบอีก 1 ล้านโดสที่เหลือให้ชาวไทยได้ ถ้าประเทศไทยรีบดำเนินการเข้าโครงการโคแวกซ์ จะทำให้ไทยมีโอกาสในการได้รับจัดสรรวัคซีนเพิ่มเติม เพื่อมาเร่งฉีดให้คนไทยได้มากขึ้น ซึ่งสหรัฐฯ พร้อมจะสนับสนุนวัคซีนให้ประเทศที่เข้าโครงการโคแวกซ์ใน อินโดแปซิฟิก หลายประเทศ เช่น อินโดนีเซีย ได้ 12.6 ล้านโดส เกาหลีใต้ได้ 1.5 ล้านโดสเป็นต้น

กาแฟ ‘ดอยช้าง’ ดังไกลระดับโลก ความภูมิใจแห่งสยาม มรดกตกทอดจาก ‘ล้นเกล้ารัชกาลที่ 9’

นายพงศ์พรหม ยามะรัต ได้โพสต์เรื่องราวเกี่ยวกับกาแฟสัญชาติไทยดังไกลระดับโลก ที่คนไทยต้องภูมิใจผ่านเฟซบุ๊ก ‘Ponprom Yamarat’ ว่า…

ทราบมั้ยครับว่าเดี๋ยวนี้เมืองไทยมี Coffee Master เก่งระดับโลกอยู่มากมาย

แถมมีกาแฟถิ่น ที่ส่งออกไปขายตาม New York, London ได้ในระดับ Signature Series

คนไทยใน 5-8 ปีนี้ ก็สามารถหากาแฟเทพๆ ดื่มกันได้ง่ายขึ้น

ทว่า ความน่าสนใจตามการระบุของ พงศ์พรหม คือ…

1 ในกาแฟ Signature Series ระดับโลกนี้ ก็มีกาแฟ ‘ดอยช้าง’ รวมอยู่ด้วย

คลังเข็นเบิกจ่ายรัฐวิสาหกิจหวังดันเศรษฐกิจปีนี้ขยับ

นางปานทิพย์ ศรีพิมล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า ในเดือนส.ค. 2564 รัฐวิสาหกิจส่วนใหญ่มีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การเบิกจ่ายลงทุน โดยพยายามปรับเปลี่ยนการดำเนินงานเพื่อลดผลกระทบจากสถานการแพร่ระบาดของโควิด-19 และผลกระทบจากการปิดแคมป์คนงาน ทั้ง การปรับแก้ไขสัญญาเรื่องค่าปรับที่ส่งผลกระทบต่อเอกชน การเร่งรัดการเบกจ่ายค่าจ้างล่วงหน้าตามสัญญาให้แก่เอกชน การปรับแผนเบิกจ่ายในส่วนงานจัดซื้อพัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องจักร เพื่อทดแทนงานก่อสร้างที่ไม่สามารถดำเนินการได้ การปรับรูปแบบการดำเนินงานจากการใช้แรงงานคนเป็นการใช้ระบบอุตสาหกรรมเพื่อให้สามารถดำเนินงานต่อไปได้ 

ทั้งนี้การดำเนินงานดังกล่าวช่วยให้รัฐวิสาหกิจมีผลการเบิกจ่ายลงทุนในระดับที่ดีและเป็นไปตามแผน โดยการเบิกจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจยังคงเป็นเครื่องมือที่ช่วยพยุงและกระตุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศไทยต่อไป โดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจปีปฏิทินสามารถเบิกจ่ายงบลงทุนได้ดีและเป็นไปตามแผน อย่างไรก็ดี การแพร่ระบาดของโรค ส่งผลกระทบต่อบางโครงการหรือแผนงานเนื่องจากบุคลากรไม่สามารถเข้าพื้นที่ก่อสร้างหรือตรวจรับงานได้ ขาดแคลนแรงงานและไม่สามารถนำเข้าอุปกรณ์จากต่างประเทศที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้ 

ระบบราชการล้าหลังทำพิษ "บุญสืบ" จะทำวัคซีนพาสปอร์ต ระบบแจ้งให้นัดหมายล่วงหน้า แต่โทรไม่ติด-เว็บล่ม 

นายบุญสืบ จันทร์แจ่มศรี ผู้เสนอตัวสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.กทม. พรรคกล้า อดีตผู้บริหารบริษัทเอกชน กล่าวถึงปัญหาการทำวัคซีนพาสปอร์ตว่า ได้รับวัคซีน AstraZeneca ครบ 2 เข็มแล้ว มีความจำเป็นต้องเดินทางไปต่างประเทศ จึงติดต่อไปที่กองควบคุมโรค เพื่อขอทำวัคซีนพาสปอร์ต โดยพบว่า 1.) สถาบันบําราศนราดูร รับ Walk in วันละ 160 คิว เจ้าหน้าที่เล่าว่า คิวแรกออกจากบ้ามาตั้งแต่ 04:00น. ตอนนี้เต็มทุกวัน , 2.) สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตดอนเมือง (รับเฉพาะผู้นัดหมายล่วงหน้า) โทรไปไม่มีคนรับสาย เว็บไซต์ล่มเข้าไม่ได้ , 3.) ด่านควบคุมโรคฯ สุวรรณภูมิ (รับเฉพาะผู้ที่มีตั๋วเครื่องบินแล้ว) 4.) กองโรคติดต่อทั่วไปจังหวัดนนทบุรี (รับเฉพาะผู้นัดหมายล่วงหน้า) เว็บไซต์ล่มเข้าไม่ได้ โทรศัพท์ก็ไม่มีคนรับ 

'หมอยง' เผยผลซิโนแวค 2 เข็ม บวกกระตุ้นเข็ม 3 แอสตราฯ ภูมิต้านทานสูง สามารถต้านสายพันธุ์ 'เดลตา' ได้

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กหัวข้อ "โควิด-19 วัคซีน การกระตุ้นเข็มที่ 3" โดยระบุว่า การเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ของไวรัส covid-19 ทำให้ประสิทธิภาพของวัคซีนลดลง การกระตุ้นภูมิต้านทานให้สูงขึ้นจึงมีความจำเป็น การฉีดวัคซีน มีการให้เบื้องต้น และกระตุ้น เช่น ไวรัสตับอักเสบบี จะให้เบื้องต้น 2 เข็ม ห่างกัน 1 เดือน และกระตุ้นเข็มที่ 3 อีก 6 เดือนต่อมา ทำนองเดียวกัน วัคซีน covid-19 ถ้ามีการกระตุ้นเข็ม 3 ภูมิต้านทานจะสูงขึ้นมาก

การให้วัคซีนเบื้องต้น 2 เข็ม เช่น เชื้อตาย เปรียบเสมือนให้ร่างกายรู้จักเหมือนการติดเชื้อ เมื่อกระตุ้นด้วยวัคซีนชนิด virus vector หรือ mRNA กระตุ้นภูมิต้านทานได้สูงมาก


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top