Monday, 29 April 2024
ดร.ปุณกฤษ ลลิตธนมงคล

ความจริงที่คนไทยต้องทำใจ!! หาก 'สหรัฐฯ' และ 'โซรอส' ยังไม่หยุด ความพยายามแทรกแซงการเลือกตั้งของไทยจะไม่สูญสิ้น

ความพยายามในการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของชาติตะวันตกทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น โดยเฉพาะก่อนการเลือกตั้งในประเทศไทยที่กำลังจะมีขึ้น กลุ่มฝ่ายค้านที่พยายามเข้ามามีอำนาจทางการเมือง และอ้างสารพัดเหตุว่า กองทัพซึ่งเป็นองค์กรที่ทรงพลังที่สุดของไทยยุ่งเกี่ยวกับการเมืองไทย โดยมี NGO นักเคลื่อนไหว พรรคการเมือง และนักการเมือง ได้รับเงินทุนสนับสนุนและการสนับสนุนทางการเมืองอย่างเต็มที่จาก วอชิงตัน ลอนดอน บรัสเซลส์ และองค์กรชาติตะวันตก รวมถึงมูลนิธิที่มีชื่อเสียงที่สุดของGeorge Soros นั่นก็คือ มูลนิธิ Open Society (OSF)

หนึ่งในผู้เคลื่อนไหวแถวหน้าดังกล่าว คือ Human Rights Watch (HRW) ซึ่งเคยเผยแพร่รายงานประณามการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2562 ว่าบ่อนทำลาย ‘สิทธิในการลงคะแนนเสียง’ เพื่อทำความเข้าใจกับโฆษณาชวนเชื่อที่ได้รับทุนสนับสนุนจาก Soros ที่เผยแพร่โดย HRW ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจว่าทำไมประเทศไทยจึงตกเป็นเป้าหมายของการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองตั้งแต่แรก

ทำไมต้องประเทศไทย? ราชอาณาจักรไทยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางที่สำคัญของภูมิภาคทั้งในด้านเศรษฐกิจและภูมิรัฐศาสตร์ มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของอาเซียน และยังคงเป็นเพียงชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพียงชาติเดียวที่รอดพ้นจากการตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก

ในขณะที่นักวิเคราะห์บางคนยังคงยึดติดกับการเหมารวมในยุคสงครามเย็นเกี่ยวกับบทบาทของไทยในสงครามที่นำโดยสหรัฐฯ แต่ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ไทยได้หันเหออกจากวอชิงตันเป็นอย่างมาก

โดยเฉพาะอย่างยิ่งกองทัพของไทยได้เริ่มเปลี่ยนอาวุธของอเมริกาที่มีอายุมากแล้วด้วยอาวุธของจีน รัสเซีย และยุโรป ซึ่งรวมถึงทุกอย่างตั้งแต่อาวุธขนาดเล็กไปจนถึงเฮลิคอปเตอร์ขนส่ง Mi-17 ของรัสเซีย เครื่องบินรบของยุโรป รถถังหลักของจีน และเรือบรรทุกบุคลากรติดอาวุธ (APCs) และแม้แต่เรือและเรือดำน้ำที่สร้างโดยจีน ทั้งไทยยังได้เป็นหุ้นส่วนหลักในโครงการ One Belt, One Road (OBOR) ของจีนอีกด้วย และเส้นทางรถไฟความเร็วสูงเชื่อมทั้งสองประเทศกำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง

ในขณะที่ประเทศไทย โดยความจำเป็น ยังคงต้องรักษาความสัมพันธ์กับชาติตะวันตกและพันธมิตรของชาติตะวันตกอย่างเช่น ญี่ปุ่น ซึ่งที่สุดแล้วไทยสามารถรักษาสมดุลของความสัมพันธ์เหล่านี้เป็นอย่างดี แม้จะมีแรงกดดันมากมายมหาศาลให้ไทยต้องเลือกข้างฝ่ายก็ตามที ด้วยเหตุผลทั้งหมดนี้และอื่น ๆ อีกมากมาย สหรัฐฯ ได้มีส่วนร่วมในความพยายามเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองในประเทศไทยมาอย่างยาวนาน โดยเริ่มต้นอย่างน้อยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 ที่ ทักษิณ ชินวัตร มหาเศรษฐี และอดีตที่ปรึกษาของ Carlyle Group ก้าวขึ้นสู่อำนาจทางการเมือง

ภายในปี พ.ศ. 2544 เป็นที่ชัดเจนอยู่แล้วว่า การผงาดขึ้นของจีนในระดับภูมิภาคและระดับโลกนั้นใกล้เข้ามาทุกที และกระบวนการปิดล้อมและโดดเดี่ยวปักกิ่งได้กลายเป็นสิ่งสำคัญสำหรับนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ การให้ผู้รับมอบหมายอย่าง ทักษิณ ชินวัตร เข้าสู่อำนาจทางการเมืองในไทยมีเป้าหมายเพื่อสร้างแนวร่วมที่เป็นหนึ่งเดียวของพันธมิตรของสหรัฐฯ ที่รายรอบจีน

Soros กับประเทศไทย จากบทความของ Jean Perier นักวิเคราะห์ภูมิรัฐศาสตร์เรื่อง ‘หลังจาก สูบเลือดไทยจนแห้งแล้ว Soros ก็เข้าสู่กระบวนการสังหาร’ นำเสนอเรื่องราวโดยละเอียดของวิกฤตการเงินในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปี พ.ศ. 2540 และบทบาทในการเก็งกำไรทางการเงินของ Soros เริ่มจากขั้นแรก เร่งรัดกดดันด้วยกลยุทธทางการเงินต่าง ๆ แล้วจึงหาประโยชน์จากความเสียหายของไทย วิกฤตการณ์ดังกล่าวยังสร้างโอกาสในการโค่นล้มทางการเมืองของรัฐบาลไทยด้วยฝีมือของชาติตะวันตกอีกด้วย

การขึ้นสู่อำนาจของทักษิณหลังจากหายนะทางการเงินนั้นหมายถึงการสร้างประเทศไทยขึ้นใหม่ตามการออกแบบของวอชิงตัน ทักษิณรวบรวมอำนาจทางการเมืองอย่างรวดเร็ว พยายามสร้างพรรคการเมืองพรรคเดียวภายใต้การควบคุมของเขาและผู้สนับสนุนชาติตะวันตก

นอกจากนี้ เขายังได้ดำเนินการในหลากหลายขั้นตอนเพื่อเปลี่ยนแปลงไทยให้เป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิดของสหรัฐฯ รวมทั้งการส่งทหารไทยเข้าร่วมการรุกรานอิรักของสหรัฐฯ ในปี พ.ศ. 2546 เชิญชวนให้ CIA ของสหรัฐฯ ใช้ดินแดนของไทยเป็นฐานปฏิบัติการ การแปรรูป ปตท. กลุ่มบริษัทน้ำมันและก๊าซ อันเป็นรัฐวิสาหกิจของชาติ และพยายามที่จะผ่านข้อตกลงการค้าเสรีสหรัฐฯ-ไทย แต่ไม่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา

นอกจากนี้ เขายังหลงระเริงไปกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการใช้อำนาจโดยมิชอบอย่างมากมาย ซึ่งในที่สุดทำให้มีเหตุผลในการโค่นเขาออกจากอำนาจด้วยการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2549 ในขณะที่ผู้สนับสนุนทักษิณ รวมถึงสื่อตะวันตก อ้างว่า ข้อกล่าวหาการคอร์รัปชันของเขา เกิดจากแรงจูงใจทางการเมือง จาก Wikileaks ซึ่งเปิดเผยว่า สถานทูตสหรัฐฯ ส่งข้อมูลกลับไปยังกระทรวงการต่างประเทศว่า มีการผ่านกฎหมายที่เกี่ยวกับภาษีในวันเดียวกับที่เขาขายหุ้นบริษัทของเขาให้กับกลุ่มทุนของสิงคโปร์โดยปลอดภาษี

แม้ว่า สถานทูตสหรัฐฯ จะรับรู้ถึงการทุจริตของทักษิณ แต่ก็ยังคงสนับสนุนเขา และตั้งข้อสังเกตว่า การเคลื่อนไหวดังกล่าวจะทำให้กฎหมายการถือครองของชาวต่างชาติมีโอกาสที่จะเปิดเสรีมากขึ้น โดยอ้างว่า : “ข้อเท็จจริงที่ว่าข้อตกลงดังกล่าวมีโครงสร้างเพื่อให้ครอบคลุมข้อจำกัดของประเทศไทยในการลงทุนจากต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ทำให้เกิดคำถามร้อนแรงเกี่ยวกับบรรยากาศการลงทุนในประเทศไทย และแสดงให้เห็นถึงข้อจำกัดของการเปิดเสรีจนถึงปัจจุบัน ผลลัพธ์ที่หวังว่าจะก้าวไปข้างหน้าคือการถกเถียงทางการเมืองภายในประเทศเกี่ยวกับประเด็นนโยบาย เช่น การถือครองสินทรัพย์โทรคมนาคมของต่างชาติอาจทำให้คนไทยบางส่วนเลิกกลัวการเปิดเสรีตลาด และโดยการต่ออายุข้อตกลงการค้าเสรีกับสหรัฐอเมริกา”

ตั้งแต่นั้นมา เนื่องจากทักษิณถูกดำเนินคดี และถูกตัดสินว่า มีความผิดในคดีทุจริตและถูกตัดสินจำคุก 2 ปี จึงทำให้เขาต้องหลบหนีตั้งแต่นั้นมาในฐานะผู้หลบหนีที่ซ่อนตัวในต่างประเทศ ทักษิณได้พยายามกลับคืนสู่อำนาจผ่านระบอบการปกครองแบบตัวแทนต่าง ๆ ที่ดำเนินการอย่างเปิดเผยโดยสมาชิกในครอบครัว รวมทั้งน้องเขยของเขา สมชาย วงศ์สวัสดิ์ ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในช่วงสั้น ๆ ในปี พ.ศ. 2551 ก่อนที่จะถูกศาลพิพากษาถอดถอน และยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาวของทักษิณ ซึ่งทำหน้าที่เป็น นายกรัฐมนตรีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 - 2557 จนกระทั่งมีการรัฐประหารครั้งที่สองเพื่อโค่นเธอออกจากอำนาจเช่นเดียวกับพี่ชายของเธอ

Soros และพรรคพวก ให้การสนับสนุนการกลับมาของทักษิณ เมื่อพิจารณาถึงประโยชน์ที่จะได้จากทักษิณในฐานะพรรคพวกของสหรัฐฯ และความพยายามอย่างกระตือรือร้นของเขาในช่วงปี พ.ศ. 2544 - 2549 ที่จะเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นชาติพันธมิตรของสหรัฐฯ ที่มีการบูรณาการได้อย่างสมบูรณ์ จึงเห็นได้ชัดว่า เหตุใดสหรัฐฯ และพันธมิตรในยุโรป พยายามที่จะพาเขาและพรรคพวกกลับคืนสู่อำนาจ

อย่างไรก็ตาม มันได้กลายเป็นการต่อสู้ที่ยากเย็นแสนเข็ญมากขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะที่ยังสามารถโกงการเลือกตั้งผ่านการซื้อเสียงอย่างโจ่งแจ้งในต่างจังหวัด และการใช้การก่อการร้ายอย่างเป็นระบบเป็นประจำ ตัวทักษิณเองก็ผ่านความล้มเหลวทางการเมืองต่อเนื่อง และการถูกยึดทรัพย์สินโดยศาลไทย ขยับจากอันดับ 4 ที่ร่ำรวยที่สุดในประเทศไทยตกลงมาอยู่อันดับที่ 14 การประท้วงต่อต้านทักษิณที่มีคนเข้าร่วมอย่างมากมายมหาศาลในปี พ.ศ. 2557 ถือเป็นการต่อต้านทั่วประเทศอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนเพื่อไม่ให้เขากลับคืนสู่อำนาจ ซึ่งเป็นความรู้สึกที่มีแนวโน้มนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

แต่ถึงแม้เขาจะไม่สามารถกลับคืนสู่อำนาจได้ แต่ความสามารถของเขาในการสร้างความแตกแยก และความพยายามในการทำให้ประเทศไทยถอยหลัง รวมถึงการใช้ความรุนแรงมากขึ้น ก็เป็นการสนองตอบวัตถุประสงค์ของวอชิงตันและวอลล์สตรีทในการต่อต้านประเทศที่ไม่พึงประสงค์อย่างจีนได้

นับตั้งแต่ทักษิณถูกขับไล่ในปี พ.ศ. 2549 เขาและพรรคการเมืองฝ่ายค้าน กลุ่ม “สิทธิต่าง ๆ นักศึกษา  นักกิจกรรม และสื่อต่าง ๆ” ได้รับการสนับสนุนอย่างเปิดเผยจาก วอชิงตัน ลอนดอน และบรัสเซลส์ ผ่านการสนับสนุนทางการเมืองและการล็อบบี้โดยตรง และผ่านสหรัฐฯ และองค์กรพัฒนาเอกชนที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสหราชอาณาจักร (องค์กรพัฒนาเอกชน) ซึ่งเกือบทั้งหมดได้รับทุนบางส่วนจากมูลนิธิ Open Society ของ Soros ด้วย

การเลือกตั้งกับค่าไฟแพง (2) เหตุใด ‘คสช.’ ไม่ใช้ ม.44 จัดการ ปม ‘ไฟฟ้าสำรอง’ ที่แม้ไม่ได้ดึงพลังงานมาใช้ แต่รัฐก็ต้องจ่ายค่ากระแสไฟฟ้า

 

ยิ่งใกล้วันเลือกตั้ง พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ผู้เป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ก็ถูกโจมตีเรื่องค่าไฟฟ้าแพงเป็นอย่างหนัก โดยถูกกล่าวหาว่าเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มทุนพลังงานไฟฟ้า ทั้งๆ ที่ทุกวันนี้ในสภาวะอากาศร้อนขนาดนี้บ้านเรายังคงมีไฟฟ้าใช้อย่างไม่ขาดแคลน ด้วยเพราะมาตรการจัดการสำรองกระแสไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ประเทศไทยมีความมั่นคงแข็งแกร่งทางพลังงานไฟฟ้า ซึ่งประเด็นที่นักการเมืองและนักเคลื่อนไหวมากมายหลายคนมักจะหยิบยกขึ้นมาพูดคือ โรงงานไฟฟ้าสำหรับผลิตไฟฟ้าของกลุ่มทุนพลังงานไฟฟ้าบางโรงนั้นไม่ได้ผลิตไฟฟ้าเลย แต่ก็ต้องจ่ายค่าไฟฟ้าให้ด้วย แน่นอนสถานการณ์ที่กระแสไฟฟ้าพอใช้โรงงานที่ผลิตกระแสไฟฟ้าสำรองจึงไม่ต้องเดินเครื่องทำงาน เพราะไม่มีความจำเป็น หากแต่กระแสไฟฟ้าไม่เพียงพอต่อการใช้งานแล้วโรงงานเหล่านั้นถึงจะเดินเครื่องจักรผลิตไฟฟ้า แต่โรงงานเหล่านั้นสร้างขึ้นโดยผู้ประกอบการด้านพลังงานไฟฟ้าที่ได้รับอนุญาต มีการลงทุนในการสร้างโรงไฟฟ้าแต่ละแห่งมากมายมหาศาล ซึ่งเป็นต้นทุนที่ผู้ประกอบการด้านพลังงานไฟฟ้าต้องจ่ายเอง ไม่ใช้เงินงบประมาณของรัฐแต่อย่างใด คนที่พูดนั้นไม่ได้รับผิดชอบต้องการลงทุนมูลค่ามหาศาลเหล่านี้เลย แถมยังเจตนาจงใจที่จะไม่พูดถึงอีกด้วย 

เราท่านในฐานะเจ้าของสิทธิในการเลือกตั้งอันมีค่าในการเลือกตั้งครั้งนี้ ก่อนการใช้สิทธิกาบัตรลงคะแนนจึงต้องคิด ทบทวน และพิจารณาโดยใช้สติและปัญญาอย่างรอบคอบด้วยเหตุและผลที่ถูกต้องและแท้จริงประกอบ ผู้เขียนได้เคยเสนอบทความเรื่อง ‘การเลือกตั้งกับค่าไฟแพง “สำรองไฟฟ้าเกินความจำเป็น” วาทกรรมฮิตใช้โจมตีรัฐบาล โดยไม่คำนึงถึงความเสียหาย หากสำรองไฟฟ้าไว้ไม่เพียงพอ’ https://thestatestimes.com/post/2023042021 ซึ่งผู้อ่านสามารถใช้เพื่อประกอบการพินิจพิจารณาให้รอบด้านและถูกต้องได้ 

อีกเรื่องหนึ่งที่ถูกนำมาเชื่อมโยงกันก็คือ แล้วทำไมรัฐบาลคสช. โดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคสช. จึงไม่นำ ม.44 มาใช้ในกรณีนี้ หากเราท่านได้ย้อนไปดูถึงการใช้ ม.44 ของรัฐบาลคสช. นั้น ส่วนใหญ่มาก ๆ จะใช้เป็นคำสั่งในทางปกครองเพื่อให้สามารถบังคับใช้ได้อย่างรวดเร็วแทนที่กระบวนการปกติซึ่งมีความล่าช้า ด้วยกระบวนการปกติมีระบบระเบียนขั้นตอนต่าง ๆ มากมาย การบริหารบ้านเมืองเพื่อให้เกิดความถูกต้องโปร่งใส ลดการทุจริตโกงกิน แก้ปัญหาความล่าช้าในการแก้ปัญหาอันเป็นความทุกข์ยากเดือดร้อนของประชาชนให้รวดเร็วขึ้น ต่างจากการใช้กฎหมายพิเศษลักษณะนี้ในอดีต อาทิ ม.17 (จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จอมพลถนอม กิตติขจร และศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์) ม. 21 และ ม.27 (พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่) ซึ่งมักจะถูกนำมาใช้ในการแก้ปัญหาสังคมและอาชญากรรม เช่น ใช้ประหารชีวิตผู้กระทำผิดคดีอุกฉกรรจ์ สะเทือนขวัญ ต่อประชาชน ฯลฯ ซึ่งการใช้ ม.44 แตกต่างไปโดยสิ้นเชิงดังที่ได้กล่าวมา ด้วยไม่มีใครที่บาดเจ็บล้มตายด้วย ม.44 ของรัฐบาลคสช.เลย

การใช้ ม.44 โดยรัฐบาลคสช.ที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมมีน้อยเรื่องน้อยรายมากในกรณีที่มีผลกระทบสร้างความเดือดร้อนแกประชาชนจริง ๆ อย่างเช่นกรณีการใช้ ม.44 ในการปิดเหมืองทองคำชาตรีที่ดำเนินกิจการโดยบริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) ด้วยเหตุผลว่าทางเหมืองทองคำชาตรีสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้ชาวบ้านได้รับผลกระทบต่าง ๆ หลายด้าน แต่ว่าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 ถึง พ.ศ. 2559 ได้ถูกเรียกร้องจากประชาชนในพื้นที่สัมปทานเหมืองล้วนได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะการสร้างปัญหามลพิษปัญหาสุขภาพ และปัญหาสิ่งแวดล้อม มีการเคลื่อนไหวคัดค้านจากประชาชนในพื้นที่และหยุดกิจการเหมือง จากปัญหาร้องเรียนจากชาวบ้านซึ่งเพิ่มมากขึ้นทุกปี เนื่องจากมลพิษจากเหมือง ที่ให้เกิดปัญหาสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสารพิษปนเปื้อนที่มากับดิน น้ำ และอากาศ รวมถึงยังมีสภาวะเครียดที่เกิดขึ้นจากเสียงของอุตสาหกรรม และกลายเป็นข้อพิพาทต่อมาอีกหลายปี

ถ้าการทำรัฐประหารแล้วกลุ่มทุนผูกขาดประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งมีแต่กลุ่ม SM ที่ผูกขาดแทบทุกธุรกิจ การที่รัฐบาลคสช.ไม่ได้ยกเลิกสัญญาการผลิตกระแสไฟฟ้าสำรอง โดยใช้ ม.44 ถือเป็นการใช้กฎหมายพิเศษอย่างถูกต้อง เหมะสม ไม่ลุแก่อำนาจ ด้วยการใช้กระบวนการทางศาลปกติ ซึ่งเรื่องนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ตีความมานานแล้วว่า สัญญาระหว่างรัฐกับเอกชนในลักษณะเช่นนี้ไม่สามารถยกเลิกได้ และถ้าหากรัฐบาลคสช.ใช้ ม.44 กับเอกชนในทางธุรกิจ จะทำให้นานาชาติไม่ยอมรับประเทศไทย และไม่มีบริษัทต่างชาติใดเข้ามาลงทุนเลย ด้วยประเทศล้มละลายทางความน่าเชื่อถือ ดังเช่นประเทศเพื่อนบ้าน เพราะเพียงแค่รัฐบาลคสช.ใช้ ม.44 ยกเลิกการทำเหมืองทองชาตรี โดย บมจ.อัคครา ชั่วคราว เพื่อให้ปรับปรุงเรื่องสิ่งแวดล้อม ก็มีสารพัดกลุ่มทั้งไทยและฝรั่งร้อง คัดค้าน ต่อต้าน กันจนระงม หรือ ถ้า รัฐบาลคสช.ใช้ ม.44 ยกเลิกสัมปทานขุดน้ำมันในอ่าวไทย กับเชฟรอน จากสหรัฐอเมริกา จะเกิดอะไรขึ้น นั้นจึงเป็นเหตุผลที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของรัฐบาลคสช. ไม่นำ ม.44 มาบังคับใช้ในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม

คะแนนเสียงของเราท่านจะมีค่ามากที่สุดในอีกประมาณ 20 วันเท่านั้น ทุกคะแนนเสียงจะสามารถกำหนดอนาคตและความเป็นไปของชาติบ้านเมืองได้ทั้งสิ้น ใช้คะแนนของท่านสร้างประโยชน์แก่ชาติบ้านเมือง ด้วยการเลือกพรรคการเมืองและนักการที่ดีที่สุด ไม่ทุจริตโกงกิน ไม่สร้างปัญหา ให้กับชาติบ้านเมืองในอนาคต 

 

ขอสัญชาติ...ไม่ง่าย ส่อง15 ประเทศที่ให้สัญชาติแก่ต่างชาติยากที่สุด!! ด้วย ‘ขั้นตอน-เงื่อนไข-เวลา’ 3 ตัวแปรที่อาจทำให้ท้อใจ

 

            

เรื่องนี้ คนที่สนใจอยากจะอพยพไปอยู่ในบ้านอื่นเมืองอื่นคงสนใจ แม้ว่าในปัจจุบันนี้จะมีมากมายหลายประเทศที่ยอมให้สัญชาติแก่ผู้คนที่อพยพมาจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก แต่ก็มีรัฐบาลของหลายประเทศเช่นกันที่ชาวต่างชาติจะขอสัญชาติได้ยากยิ่ง หรือแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตอยู่อย่างถาวรในประเทศนั้น ๆ ได้ ในบทความนี้มี 15 ประเทศที่ขอสัญชาติเพื่อเป็นพลเมืองได้ยากที่สุด
 

                

1. กาตาร์ (Qatar) เป็นหนึ่งในประเทศที่ยากที่สุดในการขอสัญชาติ กระบวนการนี้ยาวนานและมีความซับซ้อน และมีช่องทางน้อยมากที่จะสมัครเป็นพลเมืองได้ พลเมืองส่วนใหญ่เกิดในครอบครัวชาวกาตาร์หรือได้รับสัญชาติผ่านการแต่งงานกับชาวกาตาร์ มิฉะนั้นโดยทั่วไปแล้ว สัญชาติจะให้เฉพาะผู้ที่รัฐบาลจ้างมาติดต่อกันเป็นเวลาหลายปี หรือเป็นผู้ที่มีการลงทุนเป็นจำนวนมากในประเทศเท่านั้น

                   

2. นครรัฐวาติกัน (Vatican City) นครรัฐวาติกันเป็นประเทศที่เล็กที่สุดในโลก มีประชากรเพียง 800 กว่าคน และยังเป็นหนึ่งในประเทศที่ยากที่สุดในการขอสัญชาติอีกด้วย มีเพียงสองวิธีในการเป็นพลเมืองของนครวาติกันคือ (1) เกิดที่นั่น หรือ (2) ได้รับการแต่งตั้งจากสมเด็จพระสันตะปาปา หากคุณไม่ได้เกิดในนครรัฐวาติกัน 

ความหวังเดียวในการเป็นพลเมืองคือการได้รับการแต่งตั้งจากสมเด็จพระสันตะปาปา และนั่นค่อนข้างจะเป็นเรื่องใหญ่เพราะสมเด็จพระสันตะปาปาจะทรงแต่งตั้งบุคคลเป็นพลเมืองสำหรับผู้ที่มีบทบาทเฉพาะภายในวาติกันเท่านั้น เช่น เป็นพระคาร์ดินัลที่อาศัยอยู่ในนครรัฐวาติกันหรือกรุงโรม หรือหากอาศัยอยู่ในนครวาติกันเพราะเป็นพนักงานอย่างเป็นทางการของคริสตจักรคาทอลิก นักการทูต หรือสมาชิกของ Swiss Guard ดังนั้นจึงยากมาก ๆ ที่จะได้เป็นพลเมืองของนครรัฐวาติกัน
                    

3. ลิกเตนสไตน์ (Liechtenstein) เป็นหนึ่งในประเทศที่เล็กที่สุดและร่ำรวยที่สุดในยุโรป โดยอาณาเขตซึ่งตั้งอยู่ระหว่างออสเตรียและสวิตเซอร์แลนด์ มีประชากรเพียง 37,000 คน ข้อกำหนดการเป็นพลเมืองของประเทศนี้เป็นข้อกำหนดที่เข้มงวดที่สุดในโลก ผู้สมัครจะต้องอาศัยอยู่ในลิกเตนสไตน์เป็นเวลาอย่างน้อย 30 ปี หรือหากแต่งงานกับพลเมืองลิกเตนสไตน์ และอาศัยอยู่ในประเทศลิกเตนสไตน์อยู่แล้ว ระยะเวลาก็จะสั้นลงเหลือ 5 ปีของการแต่งงาน และต้องสามารถพิสูจน์ได้ว่า มีความมั่นคงทางการเงิน และได้รวมเข้ากิจกรรมต่าง ๆ กับชุมชน แล้วยังต้องผ่านการทดสอบภาษาด้วย ด้วยข้อกำหนดเหล่านี้ จึงไม่แปลกใจเลยที่การได้รับสัญชาติลิกเตนสไตน์เป็นเรื่องยากมาก ๆ ในความเป็นจริงแล้ว แต่ละปีมีเพียงประมาณ 20 คนเท่านั้นที่ได้รับสัญชาติด้วยการอนุมัติจากรัฐสภาของลิกเตนสไตน์

                  

4. ภูฏาน (Bhutan) เป็นหนึ่งในประเทศที่ยากที่สุดในการขอสัญชาติ ประเทศเล็ก ๆ ที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลบนเทือกเขาหิมาลัย มีประชากรเพียง 700,000 คน และมีอัตราการแปลงสัญชาติที่ต่ำมาก นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1949 เป็นต้นมา มีชาวต่างชาติเพียงประมาณ 1,000 คนที่ได้รับสัญชาติภูฏาน ขั้นตอนการเป็นพลเมืองภูฏานนั้นใช้เวลานานและซับซ้อน ผู้ยื่นขอสัญชาติจะต้องอาศัยอยู่ในประเทศอย่างน้อยเป็นเวลา 20 ปี ไม่มีประวัติอาชญากรรม และต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงไม่มีประวัติการพูดหรือการกระทำการอันเป็นการต่อต้านพระมหากษัตริย์หรือประเทศมาก่อน มีความเชี่ยวชาญในภาษาซองคา และยังต้องผ่านการสอบอันเข้มงวดเพื่อทดสอบความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และศาสนาของภูฏาน ถึงกระนั้น ก็ไม่รับประกันการเป็นพลเมือง ด้วยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของรัฐบาลว่า จะให้สัญชาติแก่ผู้สมัครหรือไม่ เหตุที่การเป็นพลเมืองภูฏานเป็นเรื่องยากมาก ๆ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะภูฏานต้องการรักษาวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์ รัฐบาลยังกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงด้านความปลอดภัยที่เกิดจากผู้อพยพ โดยเฉพาะผู้ที่มาจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น อินเดีย และจีน ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม เห็นได้ชัดว่า การขอสัญชาติภูฏานไม่ใช่เรื่องที่ง่ายเลย

                 
5. ซาอุดีอาระเบีย (Saudi Arabia) ถือเป็นประเทศที่ขอ Permanent Residence (PR) หรือใบอนุญาตอยู่ถาวรยากที่สุดในโลก มีเหตุผลหลายประการ รวมถึงความจริงที่ว่า ซาอุดีอาระเบียไม่อนุญาตให้ถือสองสัญชาติ และกำหนดให้พลเมืองทุกคนต้องเป็นมุสลิม นอกจากนี้ ซาอุดีอาระเบียมีข้อกำหนดที่เข้มงวดสำหรับผู้ที่ต้องการเป็นพลเมือง ซึ่งรวมถึงอายุขั้นต่ำ 21 ปีและข้อกำหนดในการพำนักในประเทศเป็นเวลาห้าปี

                    
6. คูเวต (Kuwait) เป็นหนึ่งในประเทศที่ยากที่สุดในการขอสัญชาติ สาเหตุหลักเป็นเพราะคูเวตมีมาตรฐานการครองชีพที่สูงมาก ซึ่งพวกเขาต้องการให้เป็นเช่นนั้น 

รัฐบาลมีการคัดเลือกอย่างมากกว่าจะอนุญาตให้ใครเข้ามาในประเทศ และพวกเขามีข้อกำหนดที่เข้มงวดซึ่งต้องปฏิบัติตามจึงจะได้รับสัญชาติ ในการได้รับการพิจารณาให้เป็นพลเมืองคูเวต ต้องได้รับใบอนุญาตมีถิ่นที่อยู่ก่อน นี่อาจเป็นกระบวนการที่ยากในตัวเอง เนื่องจากมีจำนวนใบอนุญาตที่จำกัดในแต่ละปี เมื่อได้รับใบอนุญาตมีถิ่นที่อยู่แล้ว ต้องอาศัยอยู่ในคูเวตเป็นเวลา 20 ปีหรือ 15 ปีสำหรับพลเมืองของประเทศอาหรับอื่น ๆ สามารถยื่นขอสัญชาติได้ แต่ต้องเป็นมุสลิมโดยกำเนิดหรือเปลี่ยนใจเลื่อมใส หากเปลี่ยนศาสนา ต้องผ่านการฝึกฝนด้านศาสนามาแล้วห้าปี และต้องพูดภาษาอาหรับได้อย่างคล่องแคล่ว และแม้ว่าจะมีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดเหล่านี้ทั้งหมด แต่ก็ไม่มีการรับประกันว่าจะได้รับสัญชาติ การตัดสินใจขั้นสุดท้ายขึ้นอยู่กับรัฐบาลคูเวต และพวกเขาสามารถปฏิเสธใบสมัครขอสัญชาติไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม
                    

7. สวิตเซอร์แลนด์ (Switzerland) ประเทศซึ่งเป็นที่รู้จักจากภูมิประเทศที่เป็นภูเขาและหมู่บ้านที่งดงาม รวมถึงนโยบายตรวจคนเข้าเมืองที่เข้มงวด การเป็นพลเมืองในสวิตเซอร์แลนด์เป็นเรื่องยากกว่าจะได้มา และกระบวนการอาจใช้เวลายาวนานและค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง มีข้อกำหนดหลายประการที่ต้องปฏิบัติตามจึงจะมีสิทธิ์ได้รับสัญชาติสวิส ประการแรก ผู้สมัครขอสัญชาติจะต้องอาศัยอยู่ในสวิตเซอร์แลนด์เป็นเวลาอย่างน้อย 12 ปี โดยมีใบอนุญาตทำงานที่เรียกว่าใบอนุญาต C ซึ่งอนุญาตให้อยู่อาศัยและทำงานในประเทศได้ ประการที่สอง เขาต้องแสดงให้เห็นถึงการรวมเข้ากับสังคมสวิสผ่านความรู้ในภาษาประจำชาติและการมีส่วนร่วมในชุมชน ในที่สุดจะต้องผ่านการสอบพลเมืองซึ่งทดสอบความรู้ด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของสวิส แม้ว่าจะเป็นไปตามข้อกำหนดเหล่านี้ทั้งหมด ก็ไม่มีการรับประกันว่าจะได้รับสัญชาติ เพราะที่สุดแล้วการตัดสินใจจะขึ้นอยู่กับหน่วยงานของรัฐที่ตรวจสอบแต่ละคำขอเป็นกรณีไป

                    
8. จีน (China) หากกำลังคิดว่าประเทศใดยากที่สุดในการขอสัญชาติ คำตอบคือประเทศจีน ในการเป็นพลเมืองจีน ผู้สมัครขอสัญชาติต้องมีเชื้อสายจีน ซึ่งหมายความว่า ต้องมีญาติพี่น้องที่มีสัญชาติจีนอย่างน้อยหนึ่งคน หากไม่มีเชื้อสายจีนแล้วจะไม่มีสิทธิ์ได้รับสัญชาติเลย แม้จะมีข้อยกเว้นบางประการสำหรับกฎนี้ แต่ก็เป็นเรื่องที่ยากมาก ๆ สัญชาติจีนสามารถได้รับจากการแต่งงานกับพลเมืองจีน อย่างไรก็ตามการสมรสจะต้องจดทะเบียนกับหน่วยงานของรัฐบาลจีนเพื่อให้ได้รับการยอมรับ นอกจากนี้ ทั้งคู่ต้องอาศัยอยู่ในประเทศจีนเป็นเวลาอย่างน้อยสองปีก่อนที่จะสามารถยื่นขอสัญชาติได้ หากมีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนด สามารถเริ่มขั้นตอนการสมัครได้โดยส่งเอกสารที่จำเป็นไปยังสถานทูตหรือสถานกงสุลจีนที่ใกล้ที่สุด ขั้นตอนการสมัครอาจใช้เวลาหลายเดือนจึงจะเสร็จสมบูรณ์ (แนะนำให้ใช้บริการทนายความเพื่อช่วยในเรื่องเอกสาร)
                       

9. เกาหลีเหนือ (North Korea) เป็นอีกประเทศที่ยากที่สุดในการขอ Permanent Residence (PR) หรือใบอนุญาตอยู่ถาวร เหตุผลหลายประการรวมถึงข้อเท็จจริงที่ว่าเกาหลีเหนือไม่อนุญาตให้ถือสองสัญชาติ และกำหนดให้พลเมืองทุกคนต้องสละสัญชาติเดิมของตน นอกจากนี้ เกาหลีเหนือยังมีข้อกำหนดที่เข้มงวดสำหรับผู้สมัคร ซึ่งรวมถึงอายุขั้นต่ำ 21 ปี ประวัติอาชญากรรมที่สะอาด และการศึกษาในระดับหนึ่ง นอกจากนี้ ผู้ขอสัญชาติเกาหลีเหนือยังต้องผ่านขั้นตอนการสมัครที่ใช้เวลานานและยุ่งยาก ซึ่งรวมถึงการสัมภาษณ์และการสอบที่ไม่ง่ายเลยอีกด้วย

                      

10. ญี่ปุ่น (Japan) ประเทศหมู่เกาะซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่ขอสัญชาติได้ยากที่สุดประเทศหนึ่ง กระบวนการนี้ใช้เวลานานและลำบาก และต้องใช้ทั้งเวลาและเงินจำนวนมาก ในการเริ่มต้น ผู้สมัครที่คาดหวังจะต้องอาศัยอยู่ในญี่ปุ่นเป็นเวลาอย่างน้อยห้าปี ในช่วงเวลาดังกล่าว ต้องมีวีซ่าทำงานที่ถูกต้องและไม่มีประวัติอาชญากรรม และยังต้องผ่านการทดสอบภาษาญี่ปุ่นที่เข้มงวดด้วย เมื่อคุณสมบัติครบตามข้อกำหนดเหล่านี้แล้ว จะต้องส่งใบสมัครโดยละเอียดไปยังกระทรวงยุติธรรม ใบสมัครประกอบด้วยลายนิ้วมือ รูปถ่าย และข้อมูลส่วนตัวอื่น ๆ โดยอาจใช้เวลาหลายเดือนหรือหลายปีกว่าจะได้รับการตอบกลับจากกระทรวงว่า ใบสมัครได้รับการอนุมัติหรือปฏิเสธ และแม้ว่าผู้สมัครจะโชคดีพอที่จะได้รับสัญชาติญี่ปุ่น แต่ก็มีข้อจำกัดบางประการที่มาพร้อมกับการขอสัญชาติ ตัวอย่างเช่น ชาวญี่ปุ่นไม่ได้รับอนุญาตให้ถือสองสัญชาติ โดยต้องสละสัญชาติเดิม และสาบานว่าจะจงรักภักดีต่อจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น

การเลือกตั้งกับค่าไฟแพง “สำรองไฟฟ้าเกินความจำเป็น” วาทกรรมฮิตใช้โจมตีรัฐบาล โดยไม่คำนึงถึงความเสียหาย หากสำรองไฟฟ้าไว้ไม่เพียงพอ

ประเด็น ‘ค่าไฟฟ้าแพงมหาโหด’ กลายเป็นข่าวใหญ่ของสื่อหลายสำนัก เป็นประเด็นหาเสียงของนักการเมืองและพรรคการเมือง และถูกหยิบยกขึ้นมาโจมตีของนักเคลื่อนไหว โดยหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ค่าไฟฟ้าที่แพงขึ้นคือจัดให้มีกระแสไฟฟ้าสำรองไว้เป็นจำนวนมาก จนกลายเป็นประเด็นที่ใช้โจมตีว่ารัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำรองกระแสไฟฟ้าสำรองไว้เป็นจำนวนมาก เป็นพฤติกรรมและพฤติการณ์ที่ส่อไปในทางเอื้อประโยชน์ให้แก่กลุ่มทุนพลังงาน กระทั่งมีคนบางพวกบางกลุ่มกล่าวหาว่า มีการสมรู้กันทุจริตฉ้อโกงประเทศชาติและฉ้อโกงประชาชนด้วยการกำหนดปริมาณไฟฟ้าสำรองมากจนล้นเกิน

ทำไมประเทศไทยจึงต้องจัดให้มีกระแสไฟฟ้าสำรองไว้เป็นจำนวนมาก? เพราะหน่วยงานที่มีหน้าที่ให้บริการกระแสไฟฟ้าแก่ประชาชนย่อมต้องทราบดีว่าแต่ละปี แต่ละห้วงเวลา ประเทศไทยต้องใช้กระแสไฟฟ้าเป็นจำนวนเท่าใด จะต้องเตรียมกระแสไฟฟ้าปริมาณเท่าใด เพื่อให้เพียงพอต่อการใช้ของผู้บริโภคในทุกฤดูกาล เมื่อประเทศจำเป็นต้องใช้ไฟฟ้าและจำเป็นต้องมีการสำรองกระแสไฟฟ้าไว้ให้เพียงพอต่อการใช้สอยโดยไม่ขัดสน ซึ่งปริมาณการสำรองที่พอเหมาะพอดีจะมีผลต่อประสิทธิภาพและสมรรถนะในการทำกำไรของการประกอบการธุรกิจเกี่ยวกับไฟฟ้า ซึ่งผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องจะต้องใช้สติปัญญาความสามารถและเปี่ยมด้วยความรับผิดชอบจึงจะสามารถรักษาประโยชน์แห่งรัฐและองค์กร ตลอดจนประโยชน์ของประชาชนได้ 

เพราะหากการสำรองกระแสไฟฟ้าไม่เพียงพอต่อการใช้แล้วก็จะเกิดผลกระทบต่อการให้บริการแก่ประชาชนและผู้ประกอบการ โดยเฉพาะถ้ากระทบต่อการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ก็จะกลายความเสียหายมากมาย ในทางตรงกันข้าม ถ้าหากมีการสำรองกระแสไฟฟ้าไว้จนมากเกินต่อความจำเป็น และเกินกว่าอัตรามาตรฐานปริมาณของกระแสไฟฟ้าที่ควรสำรอง ก็จะเกิดความเสียหายแก่หน่วยงาน เพราะทุกจำนวนที่มีการสำรองกระแสไฟฟ้านั้นจะต้องจ่ายค่ากระแสไฟฟ้าให้แก่ผู้จำหน่าย ไม่ว่าจะมีการใช้กระแสไฟฟ้านั้นหรือไม่ก็ตาม เพราะปริมาณการใช้กระแสไฟฟ้าสูงสุดย่อมต้องทราบดีอยู่แล้ว เพราะสถิติบันทึก จึงสามารถประมาณการความต้องการกระแสไฟฟ้าได้ 

‘การสำรองไฟฟ้า’ แบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลักคือ
1. กำลังผลิตสำรองของระบบผลิตไฟฟ้า (Standby Reserve) เป็นโรงไฟฟ้าสำรองตามแผนการผลิตไฟฟ้า โดยมาตรฐานสากลจะกำหนดไว้ราว 15 เปอร์เซ็นต์ ของความต้องการไฟฟ้าสูงสุดเนื่องจากในการวางแผนการผลิตไฟฟ้า จะต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่น ๆ อย่างรอบคอบ อาทิ ความต้องการไฟฟ้าที่อาจเพิ่มสูงกว่าการพยากรณ์ การหยุดซ่อมโรงไฟฟ้า การเสื่อมสภาพของโรงไฟฟ้า ความเสี่ยงด้านเชื้อเพลิง ข้อจำกัดของระบบส่งในแต่ละพื้นที่ และลักษณะทางเทคนิคของ โรงไฟฟ้าแต่ละประเภท

2. กำลังผลิตสำรองพร้อมจ่าย (Spinning Reserve) เป็นกำลังผลิตสำรองจากโรงไฟฟ้าที่เดินเครื่องอยู่ หรือ สามารถ สั่งเพิ่มการจ่ายไฟฟ้าได้ทันทีที่ระบบมีความต้องการ ซึ่งตามมาตรฐานจะอยู่ที่ 800-1,600 เมกะวัตต์ หรือ อย่างน้อยมากกว่า กำลังผลิตของโรงไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุด เพื่อรองรับหากเกิดเหตุการณ์ขัดข้องที่โรงไฟฟ้าพลังความร้อนขนาดใหญ่ เช่น กำลังผลิต 800 เมกะวัตต์ ศูนย์ควบคุมระบบกำลังไฟฟ้าแห่งชาติก็สามารถสั่งจ่ายไฟฟ้าเพิ่มขึ้นทันที ป้องกันปัญหาไฟฟ้าตกหรือดับ ซึ่งอาจลุกลามจนเกิดไฟฟ้าดับเป็นบริเวณกว้าง (Blackout) ได้

อย่างไรก็ตาม ‘การสำรองไฟฟ้า’ ในแต่ละประเทศมีความแตกต่างกันขึ้นกับเงื่อนไขและฐานทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ โดยประเทศที่มีเสถียรภาพด้านพลังงานไฟฟ้าจะมีกำลังการผลิตไฟฟ้ามากกว่าความต้องการค่อนข้างสูง โดย กฟผ. ได้ศึกษาระบบการผลิตไฟฟ้าของหลายประเทศเอาไว้ ดังนี้ (ข้อมูลของปี พ.ศ. 2563)

-สเปน มีกำลังผลิตที่มากกว่าความต้องการที่ใช้รักษาความมั่นคงของระบบ (Firm) 100% เทียบกับ ค่าวางแผนที่ 15% และมีพลังงานทดแทนเสริมเข้ามาในระบบ 80% ทำให้โดยรวมมีกำลังผลิตที่มากกว่า ความต้องการ 180%

-อิตาลี มีกำลังผลิตที่มากกว่าความต้องการที่ใช้รักษาความมั่นคงของระบบ (Firm) 81% เทียบกับค่าวางแผนที่ 15% และมีพลังงานทดแทนเสริมเข้ามาในระบบ 55% ทำให้โดยรวมมีกำลังผลิตที่มากกว่า ความต้องการ 136%

-โปรตุเกส มีกำลังผลิตที่มากกว่าความต้องการที่ใช้รักษาความมั่นคงของระบบ (Firm) 65% เทียบกับค่าวางแผนที่ 15% และมีพลังงานทดแทนเสริมเข้ามาในระบบ 65% ทำให้โดยรวมมีกำลังผลิตที่มากกว่า ความต้องการ 130%

-เดนมาร์ค มีกำลังผลิตที่มากกว่าความต้องการที่ใช้รักษาความมั่นคงของระบบ (Firm) 32% เทียบกับค่าวางแผนที่ 15% และมีพลังงานทดแทนเสริมเข้ามาในระบบ 98% ทำให้โดยรวมมีกำลังผลิตที่มากกว่า ความต้องการ 130%

-เยอรมนี มีกำลังผลิตที่มากกว่าความต้องการที่ใช้รักษาความมั่นคงของระบบ (Firm) 13% เทียบกับ ค่าวางแผนที่ 15% และมีพลังงานทดแทนเสริมเข้ามาในระบบอีก 98% ทำให้โดยรวมมีกำลังผลิตที่มากกว่าความต้องการ 111%

-เนเธอร์แลนด์ มีกำลังผลิตที่มากกว่าความต้องการที่ใช้รักษาความมั่นคงของระบบ (Firm) 65% เทียบกับค่าวางแผนที่ 15% และมีพลังงานทดแทนเสริมเข้ามาในระบบ 28% ทำให้โดยรวมมีกำลังผลิตที่มากกว่าความต้องการ 93%

-สวิสเซอร์แลนด์ มีกำลังผลิตที่มากกว่าความต้องการที่ใช้รักษาความมั่นคงของระบบ (Firm) 81% เทียบกับค่าวางแผนที่ 15% และมีพลังงานทดแทนเสริมเข้ามาในระบบ 11% ทำให้โดยรวมมีกำลังผลิต ที่มากกว่าความต้องการ 92%

-จีน มีกำลังผลิตที่มากกว่าความต้องการที่ใช้รักษาความมั่นคงของระบบ (Firm) 68% เทียบกับค่าวางแผนที่ 15% และมีพลังงานทดแทนเสริมเข้ามาในระบบ 23% ทำให้โดยรวมมีกำลังผลิตที่มากกว่า ความต้องการ 91%

-ออสเตรเลีย มีกำลังผลิตที่มากกว่าความต้องการที่ใช้รักษาความมั่นคงของระบบ (Firm) 44% เทียบกับค่าวางแผนที่ 15% และมีพลังงานทดแทนเสริมเข้ามาในระบบ 21% ทำให้โดยรวมมีกำลังผลิตที่มากกว่าความต้องการ 65%

-สวีเดน มีกำลังผลิตที่มากกว่าความต้องการที่ใช้รักษาความมั่นคงของระบบ (Firm) 36% เทียบกับค่าวางแผนที่ 15% และมีพลังงานทดแทนเสริมเข้ามาในระบบ 21% ทำให้โดยรวมมีกำลังผลิตที่มากกว่าความต้องการ 57%

-มาเลเซีย มีกำลังผลิตที่มากกว่าความต้องการที่ใช้รักษาความมั่นคงของระบบ (Firm) 47% เทียบกับค่าวางแผนที่ 15% และมีพลังงานทดแทนเสริมเข้ามาในระบบ 4% ทำให้โดยรวมมีกำลังผลิตที่มากกว่า ความต้องการ 51%

-ไทย มีกำลังผลิตที่มากกว่าความต้องการที่ใช้รักษาความมั่นคงของระบบ (Firm) 22% เทียบกับ ค่าวางแผนที่ 15% และมีพลังงานทดแทนเสริมเข้ามาในระบบ 17% ทำให้โดยรวมมีกำลังผลิตที่มากกว่า ความต้องการ 39% 
(ที่มา : The Bangkok Insight)

เลือกตั้ง 66 ตัวกำหนดจุดยืนไทย ในขณะ 'จีน-สหรัฐฯ' ขับเคี่ยวกัน หากได้ผู้นำอ่อนประสบการณ์ อาจเป็นการชักศึกเข้าบ้าน

                  

ในการเลือกตั้งครั้งนี้ เรื่องที่สำคัญมาก ๆ เรื่องหนึ่งที่คนไทยไม่ได้ใส่ใจ ด้วยคิดว่า เป็นเรื่องไกลตัวคือ “ตอนนี้ประเทศไทยกำลังอยู่ในเกมช้างชนกัน (ระหว่างสหรัฐฯ กับ จีน) ในบริบทของยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก” อันที่จริงแล้วเรื่องนี้เป็นเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวคนไทยมาก ๆ เพราะที่ตั้งของประเทศไทยอยู่ตำแหน่งที่ภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) ดีที่สุดในทวีปเอเชีย

                          

การเลือกตั้งครั้งนี้ส่งผลถึงผู้ที่จะมาเป็นผู้นำประเทศ ซึ่งต้องมีความรู้ ความสามารถ เข้าใจสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และมีแนวคิดตลอดจนวิธีที่จะทำให้ประเทศชาติ บ้านเมือง รอดพ้นจากผลกระทบจากเกมช้างชนกันครั้งนี้ไปได้อย่างดีที่สุด กล่าวคือ ประเทศชาติ บ้านเมือง และคนไทยทั้งหมดทั้งมวลจะเดือดร้อนจากเหตุการณ์นี้อย่างน้อยที่สุด... เพราะการเจรจา ไม่สามารถใช้ที่ปรึกษาแทนได้ ต้องเป็นระดับ ผู้นำต่อผู้นำ…ซึ่งต้องเป็นผู้นำที่มีประสบการณ์ชีวิตสูง เพราะเดิมพันหนนี้สูงมากด้วยผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหากเกิดความผิดพลาดจะร้ายแรงและรุนแรงมาก จนไม่อาจจะคาดคิดได้

                       

ในอดีตไม่กี่สิบปีก่อน ประเทศไทยเกือบจะเต็มไปด้วยซากปรักหักพังเหมือนเช่นประเทศยูเครนในปัจจุบัน เพราะในช่วงสงครามเวียดนาม ไทยได้ส่งทหารไปร่วมรบกับสหรัฐ ยอมให้สหรัฐฯ เข้ามาตั้งฐานทัพที่อู่ตะเภา ตาคลี อุดรธานี อุบลราชธานี นครราชสีมา ฯลฯ รวมทั้งที่ดอนเมือง เพื่อให้สหรัฐฯได้ขนระเบิดไปทิ้งที่เวียดนาม กัมพูชา และลาว จนทำให้ลาวเป็นประเทศที่ถูกทิ้งระเบิดมากที่สุดในโลก (โดยเครื่องบินของสหรัฐฯนำระเบิดมาทิ้งในดินแดนลาว ระหว่างปี ค.ศ. 1964-1973 กว่า 5.8 แสนเที่ยว หนักรวมกว่า 2 ล้านตัน)

                   

เมื่อสหรัฐฯ พ่ายแพ้ในการทำสงครามเวียดนาม ต้องขนทหารสหรัฐฯ กลับ โดยทิ้งให้ประเทศไทยต้องปากกัดตีนถีบในการช่วยเหลือตัวเองเพื่อป้องกันประเทศ ในช่วงนั้นไทยเราไม่สามารถหนีภาพการเป็นสาวกประเทศที่สวามิภักดิ์สหรัฐฯ อย่างที่สุดไม่ได้ และเวียดนามก็ประกาศบุกไทยเพื่อเป็นการแก้แค้นที่ไทยยอมให้สหรัฐฯ ตั้งฐานทัพในประเทศ

                 

เมื่อสหรัฐฯ ขนทหารออกจากประเทศไทยไป รัฐบาลไทยก็ต้องช่วยตัวเองในการป้องกันประเทศ แต่ก็ไม่มีอาวุธยุทโธปกรณ์ที่เพียงพอต่อการต้านกองทัพเวียดนาม (ซึ่งขณะนั้นถูกจัดให้มีความแข็งแกร่งอันดับที่ 4 ของโลก ในขณะที่กองทัพไทยในยุคนั้นยังไม่ติด 20 อันดับแรกเลย) รัฐบาลไทยจึงร้องขอต่อรัฐบาลสหรัฐฯ ขอใช้อาวุธยุทโธปกรณ์ที่สหรัฐขนกลับไม่หมด แต่คำตอบจากรัฐบาลสหรัฐฯ คือ ไม่อนุญาตให้รัฐบาลไทย นำอาวุธยุทโธปกรณ์ของสหรัฐฯ ไปใช้ในการป้องกันประเทศ พร้อมทั้งจัดการส่งอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ตกค้างในไทยกลับประเทศจนหมด

ประชาธิปไตยของแมลงวัน มองการเมืองตาม ‘พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท)’ เมื่อเสียงข้างมาก ‘อาจ’ ไม่ใช่ฝ่ายที่ถูกต้องเสมอไป

                   

หลวงปู่ชา สุภทฺโท ขณะมีชีวิตอยู่ท่านได้อุทิศชีวิตเพื่อการปฏิบัติธรรมและเผยแผ่พุทธศาสนา ทั้งแก่ชาวไทยและชาวต่างประเทศ ซึ่งบังเกิดผลทำให้ผลงานที่เป็นประโยชน์อเนกอนันต์แก่พระศาสนา ทั้งที่เป็นพระธรรมเทศนา และสำนักปฏิบัติธรรมในนามวัดสาขาวัดหนองป่าพงมากมาย ซึ่งแม้ท่านจะมรณภาพไปนานแล้ว แต่ศิษยานุศิษย์ของท่านก็ยังคงรักษาแนวทางปฏิบัติธรรมที่ท่านได้สั่งสอนไว้จนถึงปัจจุบัน

                              

หลวงปู่ชา แห่งวัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี  เคยพูดเรื่องประชาธิปไตย พอสรุปได้ว่า... 

"...ประชาธิปไตย คือ เสียงของคนหมู่มาก ไม่ถูกต้องเสมอไป  หากคนหมู่มากนั้น ไม่มีปัญญา..."  

แสดงว่า ท่านยอมรับเสียงข้างมาก แต่มีข้อแม้ว่า ต้องเป็นเสียงข้างมากของคนดี การตัดสินด้วยหลักประชาธิปไตยบางครั้งก็ไม่ได้ถูกต้องเสมอไป ถ้าไม่เอาหลักธรรมาธิปไตยเข้าไปตัดสิน
                                  

ครั้งหนึ่งมีโยมเข้าไปกราบหลวงพ่อแล้วนำเรื่องการเมืองเข้าไปสนทนาด้วย

โยม : หลวงพ่อครับผมว่ามีประชาธิปไตยก็ดีนะครับ ผู้คนจะได้เคารพในการตัดสินใจของคนหมู่มากเป็นหลัก
หลวงพ่อชา : มันก็ไม่ถูกต้องเสมอไปหรอกโยม
โยม : ไม่ถูกต้องยังไงครับ

                     

หลวงพ่อชา : ยกตัวอย่าง มีแมลงวัน 20 ตัว มีแมลงผึ้ง 10 ตัว มาลงมติกันกับของ 2 สิ่งได้แก่ 1) อุจจาระ และ 2) น้ำผึ้ง เมื่อใดที่ลงมติว่าอะไรหอม แมลงวันจะชนะทุกครั้งถ้าพูดเรื่องอุจจาระ แต่ถ้าเปลี่ยนหัวข้อเป็นน้ำผึ้ง ตัวผึ้งแพ้ทุกครั้ง ด้วย 2 เหตุผล คือ 1) จำนวนน้อยกว่า และ 2) ความหอมหวานของน้ำผึ้ง เปลี่ยนเจตคติของแมลงวันไม่ได้ 

คนหนุ่มสาวไร้ความหวัง ‘การว่างงาน’ มหาวิกฤตทางเศรษฐกิจในทวีปแอฟริกา สู่ความหวั่นวิตกเกิดเหตุจลาจลคล้าย ‘Arab Spring’

ปัญหาการว่างงานเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วโลก แต่สำหรับบ้านเราแล้วอัตราว่างงานเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2566 ต่ำกว่าร้อยละ 1 กว่าสิบปีแล้วที่หน่วยงานด้านแรงงานของไทยสามารถทำงานอย่างได้ผล อัตราว่างงานแกว่งตัวระหว่างต่ำกว่าหนึ่งและหนึ่งกว่า ๆ มาอย่างต่อเนื่อง และปัญหาการว่างงานที่หนักหนาสาหัสบนโลกนี้ ขณะนี้เกิดขึ้นในทวีปแอฟริกา

บัณฑิตจบใหม่ในแอฟริกาใส่ครุยประท้วงเพื่อเรียกร้องให้ได้งานทำ

คนหนุ่มสาวราวครึ่งหนึ่งในแอฟริกาใต้ว่างงาน ขณะที่ในยูกันดา บัณฑิตกว่า 1.2 ล้านคนไม่มีงานทำ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านแรงงานกล่าวว่า การริเริ่มในการทำธุรกิจเป็นของตัวเองมากขึ้นช่วยบรรเทาปัญหาการว่างงานในทวีปแอฟริกาได้ 

ผู้คนต้องถือป้ายบอกความถนัดของแต่ละคนให้ผู้สัญจรไปมาได้เห็น

‘Steven Moyo’ ตื่นนอนทุกวันเวลาตี 5 เพื่อหางานทำตามท้องถนนในนครโจฮันเนสเบิร์ก เมืองสำคัญทางเศรษฐกิจของแอฟริกาใต้ Moyo เป็นช่างไฟฟ้า ในวันที่อากาศดี เขามีรายได้สูงสุด 30 ยูโร (ประมาณ 31.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ) แต่นับวันจะมีน้อยลง

บัณฑิตจบใหม่ในแอฟริกาประท้วงเพื่อเรียกร้องให้ได้งานทำ 
กลายเป็นเรื่องปกติที่ผู้คนพบเห็นจนคุ้นชินแล้ว

แอฟริกาใต้อยู่ในภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่รุนแรง หลังจากการระบาดของโควิด-19 “สถานการณ์แย่ลง ไม่มีใครจ้างเรา” Moyo บอก และไม่รู้จะหาเงินค่าอาหารและค่าเช่าห้องได้จากไหน เรื่องราวอย่างที่เกิดขึ้นกับ Moyo ไม่ใช่เรื่องแปลกเลยในประเทศแอฟริกาใต้ ในแอฟริกาใต้มีผู้สำเร็จการศึกษามากกว่าตำแหน่งงาน 

ในเมืองเคปทาวน์ ‘Namhla Mcimbi’ บอกว่า เธอต้องละทิ้งการศึกษาด้านจิตวิทยา เพราะเธอไม่สามารถจ่ายค่าเล่าเรียนได้ เช่นเดียวกับเพื่อนนักเรียนหลายคนของเธอ ตอนนี้ Mcimbi ตกอยู่ในภาวะว่างงาน “ผู้คนให้ญาติพี่น้องของพวกเขาทำงานในบริษัทที่พวกเขาทำงานอยู่ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากสำหรับบุคคลภายนอกที่จะได้งาน” เธอกล่าว

นามิเบียก็เช่นกัน บัณฑิตจบใหม่สวมครุยออกมาประท้วงเพื่อเรียกร้องให้ได้งานทำ

อัตราการว่างงานสุดเลวร้ายก็เกิดขึ้นในนามิเบียและไนจีเรียเช่นกัน สถานการณ์ทางเศรษฐกิจในแอฟริกาใต้ย่ำแย่ โดยประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 34 ปีตกงาน ตัวเลขอย่างเป็นทางการแสดงให้เห็นว่าอัตราการว่างงานฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อย แต่อยู่ที่ 32.7% ในไตรมาสที่สี่ของปี 2565 ซึ่งยังคงเป็นอัตราที่สูงที่สุดในแอฟริกาและทั่วโลก

เทียบนโยบายยกเลิก ‘Blacklist’ (Credit bureau) แล้วมาปล่อยกู้ด้วย Credit score ของพรรคชาติพัฒนากล้า

                  

                 

Credit bureau กับ Credit score แตกต่างกันอย่างไร? คนไทยส่วนใหญ่แล้วรู้จักแต่ Credit bureau ซึ่งรวบรวมจัดเก็บโดย บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด เป็นสถาบันที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการจัดเก็บข้อมูลบัญชีสินเชื่อและประวัติการชำระสินเชื่อทุกประเภทของบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ซึ่งส่งมาจากสถาบันการเงินและบริษัทที่เป็นสมาชิก Credit bureau โดยข้อมูลที่จัดเก็บหรือรายงานใน Credit bureau แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

1.ข้อมูลบ่งชี้ คือข้อเท็จจริงที่บ่งชี้ถึงตัวลูกค้า ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ-นามสกุล เลขที่บัตรประจำตัวประชาชน วันเดือนปีเกิด ซึ่งไม่มีการจัดเก็บหมายเลขโทรศัพท์ และข้อมูลที่อยู่ที่ลูกค้าแจ้งกับสถาบันการเงินและบริษัทที่เป็นสมาชิก Credit bureau

2.ข้อมูลสินเชื่อที่ได้รับอนุมัติและประวัติการชำระหนี้ จำแนกเป็นรายบัญชีที่มีอยู่ในแต่ละสถาบันการเงินและบริษัทสมาชิก โดยมีข้อมูลที่สำคัญดังนี้ 

-สรุปข้อมูลบัญชีสินเชื่อ ซึ่งจะบอกว่าลูกค้ามีสินเชื่ออยู่ทั้งหมดกี่บัญชี มีจำนวนบัญชีที่ใช้สิทธิแก้ไขข้อมูลหรือโต้แย้งกี่บัญชี

-ประเภทและเลขที่บัญชีของสินเชื่อ

-ชื่อผู้ให้สินเชื่อ

-วงเงินที่ได้รับอนุมัติ และวงเงินที่ใช้ไป

-สถานะของบัญชี เช่น ปกติ  ปิดบัญชี พักชำระหนี้ ค้างชำระหนี้ 

-รายละเอียดการชำระหนี้ ซึ่งจะแสดงประวัติการชำระหนี้ที่ผ่านมา ทั้งที่ชำระตรง ชำระล่าช้า หรือผิดนัดชำระ

-ข้อมูลอื่น ๆ เช่น วันที่เปิดบัญชี วันที่ชำระหนี้ล่าสุด วันที่ปิดบัญชี วันที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ 

                                            

Credit bureau เป็นระบบที่เป็นการรายงานเครดิต (Credit report) เป็นการบันทึกประวัติเครดิตและกิจกรรมของบุคคล เพื่อเป็นฐานข้อมูลที่ให้โดยเจ้าหนี้ เช่น ผู้ให้กู้และบริษัทบัตรเครดิต รายงานอาจมีข้อมูลหลากหลาย ตั้งแต่รายละเอียดส่วนบุคคล เช่น ชื่อและหมายเลขประจำตัวประชาชน ไปจนถึงข้อมูลเฉพาะเกี่ยวกับการยึดสังหาริมทรัพย์และการล้มละลาย 

              

Credit score นั้นก็ต้องใช้ข้อมูลจากรายงานเครดิต (Credit report) เพื่อคำนวณคะแนนเครดิต เป็นตัวเลข 3 หลักซึ่งโดยทั่วไปจะอยู่ระหว่าง 300 ถึง 850 โดยจะแสดงภาพรวมของสถานการณ์เครดิตของแต่ละบุคคล Credit score ขึ้นอยู่กับประวัติเครดิตของบุคคล ท่ามกลางปัจจัยอื่น ๆ บริษัทที่ให้คะแนนเครดิตจะใช้ข้อมูลจากรายงานเครดิตเพื่อสร้าง Credit score พวกเขาคำนวณคะแนนโดยใช้สูตรทางคณิตศาสตร์ที่เรียกว่าแบบจำลองการให้ Credit score ซึ่งอาจได้รับผลกระทบจากหลายปัจจัย ซึ่งรวมถึงประวัติการชำระเงินของบุคคล หนี้ และจำนวนการสมัครขอสินเชื่อล่าสุด

ไม่ทำผิด ไม่ต้องกลัว ทวนย้ำซ้ำๆ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ป้องกันการหมิ่นฯ เหมือน กม.อาญาธรรมดาทั่วไป

การเลือกตั้งครั้งนี้มีพรรคการเมืองนำเรื่องของกฎหมายอาญา มาตรา 112 มากล่าวถึงมากมาย ตามแต่แนวคิดและความเชื่อของแต่ละพรรค โดยเฉพาะสมาชิกที่เป็นแกนนำของพรรคนั้น ๆ ก่อนอื่นอยากผู้อ่านได้อ่านสามบทความก่อนที่มีความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกับเรื่องนี้ ได้แก่ :

‘Thailand Spring’ ความพยายามที่ไม่มีวันสำเร็จ ตราบที่คนไทยยังยึดมั่นใน 3 สถาบันหลักของแผ่นดิน https://thestatestimes.com/post/2023040420

เปิดหลักฐานความพยายามให้สยามเกิด Thailand Spring เรื่องจริง!! อันตรายพุ่งเป้าต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ https://thestatestimes.com/post/2023041016

ปัญหาใหญ่ของโลก คนรุ่นใหม่คลั่ง ‘ลัทธิปัจเจกชนนิยม’ ขั้นรุนแรง จนขาดความเข้าใจใน ‘ลัทธิเสรีนิยม’ https://thestatestimes.com/post/2023041053

อันที่จริงแล้วประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เป็นเพียงกฎหมายป้องกันการหมิ่นประมาทเช่นเดียวกับกฎหมายอาญาธรรมดาทั่วไปมาตราหนึ่งเท่านั้น หากไม่ทำผิดก็ไม่ผิดกฎหมาย แล้วกลัวไปทำไม เมื่อไม่ได้ทำผิดแล้ว...ทำไมจึงต้องกลัว

กฎหมายหมิ่นประมาทของไทยมีอยู่ 3 จำพวก เช่นเดียวกับกฎหมายหมิ่นประมาทของนานาประเทศได้แก่

1) หมิ่นประมาทบุคคลธรรมดา (มาตรา 326 ตามประมวลกฎหมายอาญาของไทย)

2) หมิ่นประมาทเจ้าหน้าที่ของรัฐ (มาตรา 136 ตามประมวลกฎหมายอาญา และหากหมิ่นประมาทศาลก็จะมีความเฉพาะเจาะจงลงไปอีก)

3) หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์หรือประมุขของรัฐ (มาตรา 112 ตามประมวลกฎหมายอาญาของไทย)

ขอบคุณภาพจากเพจ ‘ฤๅ’

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 บัญญัติไว้ว่า "ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปีถึง 15 ปี"

และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 133 บัญญัติไว้ว่า "ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย ราชาธิบดี ราชินี ราชสวามี รัชทายาท หรือประมุขแห่งรัฐต่างประเทศ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปีถึง 7 ปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"

บรรดาเด็กน้อย เด็กโข่งที่โดนหมายเรียกและหมายจับตามความผิดฐานนี้ เป็นเพราะ ได้กระทำการอันเป็นการ "หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท" ถ้าสิ่งที่พูดนั้นเชื่อไม่ได้พูดผิดก็สามารถพิสูจน์ตัวเองได้ในกระบวนการยุติธรรม ทำไม่ผิดย่อมไม่ต้องติดคุก หากแต่ทำผิดแล้วก็ย่อมต้องติดคุกเป็นปกติธรรมดาเช่นเดียวกับการทำผิดกฎหมายอาญาทั่วไปที่มีโทษหนักเบาเป็นไปตามโทษานุโทษ

ขอบคุณภาพจากเพจ ‘ฤๅ’

มาตรา 112 จึงเป็นเพียงกฎหมายที่มีไว้เพื่อปกป้องพระเกียรติของ ในหลวง พระราชินี และรัชทายาท เฉกเช่นเดียวกับ กฎหมายอาญา มาตรา326 อันเป็นการปกป้องการหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดาทั่วไป และมาตรา 126 การปกป้องการหมิ่นประมาทเจ้าหน้าที่ของรัฐ และเหมือนกับกฎหมายปกป้องการหมิ่นประมาทต่อประมุขแห่งรัฐ (Head of State Defamation Law) ของทุกประเทศในโลกนี้

ส่วนคำว่า Lèse majesté Law ที่มักมีการนำมาเอ่ยอ้างนั้น ใน Wikipedia ระบุว่า หมายรวมถึงผู้นำที่เป็นทั้ง พระมหากษัตริย์ ประธานาธิบดี และตำแหน่งประมุขแห่งรัฐอื่น ๆ ด้วย และมักถูกนำมาแปลใช้เป็นคำว่า ‘กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ’ อันเป็นวาทกรรมที่บิดเบือน โดย นักการเมือง นักเคลื่อนไหว และกลุ่มบุคคลที่ไม่หวังดีต่อชาติบ้านเมือง เพราะประเทศไทยมีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 แล้ว จึงไม่มีกฎหมายนี้อยู่อีกต่อไป

สำหรับกฎหมายเกี่ยวกับการหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์หรือประมุขของรัฐ ในประเทศต่าง ๆ ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข อาทิ

สเปน มาตรา 490 และ 491 ของประมวลกฎหมายอาญาควบคุมการหมิ่นพระมหากษัตริย์ บุคคลใดที่หมิ่นหรือดูหมิ่น พระมหากษัตริย์ พระราชินี บูรพกษัตริย์หรือรัชทายาท มีโทษจำคุกได้สองปี นิตยสาร El Jueves เคยลงบทความเสียดสีภาษาสเปน จึงถูกปรับในข้อหาละเมิดกฎหมายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ของสเปน หลังจากตีพิมพ์ภาพล้อเลียนปัญหาเกี่ยวกับสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งสเปน (ในขณะนั้นยังทรงเป็นเจ้าชายแห่ง Asturias (องค์มกุฏราชกุมาร)) ในปี ค.ศ. 2007

บรูไน การหมิ่นสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไนถือเป็นอาชญากรรมในบรูไนดารุสซาลาม มีโทษจำคุกสามปี

กัมพูชา กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2018 รัฐสภากัมพูชาได้ลงมติให้การกระทำอันเป็นการหมิ่นพระมหากษัตริย์ใด ๆ ก็ตาม มีโทษจำคุกสูงสุดหนึ่งถึงห้าปี และปรับ 2 ถึง 10 ล้านเรียล โดยเมื่อมกราคม ค.ศ. 2019 ชายชาวกัมพูชาคนหนึ่งถูกตัดสินจำคุก 3 ปีจากการโพสต์บน Facebook

มาเลเซีย มีพระราชบัญญัติการปลุกระดม ค.ศ. 1948 เพื่อตั้งข้อหาผู้ซึ่งถูกกล่าวหาว่า หมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ ในปี ค.ศ. 2013 Melissa Gooi และเพื่อนอีก 4 คนถูกควบคุมตัวเนื่องจากถูกกล่าวหาว่า ดูหมิ่นราชวงศ์ ในปี ค.ศ. 2014 Ali Abd Jalil ถูกคุมขังและถูกคุมขัง 22 วันในข้อหาดูหมิ่นราชวงศ์ยะโฮร์และสุลต่านแห่งสลังงอร์ มีการลงโทษจำคุกในยะโฮร์ในข้อหาดูหมิ่นราชวงศ์กับ Muhammad Amirul Azwan Mohd Shakri

โมร็อกโก มีชาวโมร็อกโกถูกดำเนินคดีจากข้อความที่ถือว่าเป็นการล่วงละเมิดต่อพระมหากษัตริย์ บทลงโทษขั้นต่ำสำหรับความผิดดังกล่าวคือ จำคุกหนึ่งปี หากคำแถลงดังกล่าวจัดทำขึ้นเป็นการส่วนตัว (เช่นไม่ออกอากาศ) และจำคุกสามปีหากเผยแพร่ในที่สาธารณะ ในทั้งสองกรณีสูงสุดคือ 5 ปี คดีของ Yassine Belassal และ Nasser Ahmed (อายุ 95 ปี ซึ่งเสียชีวิตในคุกหลังจากถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์) และ Fouad Mourtada Affair ได้อภิปรายเกี่ยวกับรื้อฟื้นการกฎหมายเหล่านี้และการบังคับใช้งานของพวกเขา ใน ปีค.ศ. 2008

รู้ทันการเมืองไทย ชวนส่องนโยบาย ‘คิดใหญ่ ทำเป็น’ พรรคเพื่อไทย บนแนวคิด ‘หลักกู’ ที่ไม่คำนึงถึง ‘หลักการ’

หลายนโยบายก็เคยส่องแล้ว วันนี้ขอถือโอกาสส่องอีกที นโยบายก็เคยส่องแล้วขอส่องซ้ำด้วยบทความเดิม ส่วนอันไหนที่ไม่เคยส่องจะได้จัดการส่องใหม่สั้น ๆ เพื่อให้กระชับ ดังนี้ครับ

การกำหนดค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาทต่อวัน ผู้เขียนเชื่อว่า เศรษฐกิจของประเทศน่าจะมีปัญหาอย่างแน่นอน เมื่อมีพรรคการเมืองหาเสียงด้วยการกำหนดอัตราค่าจ้างและเงินเดือนโดยไม่ได้คำนวณจาก ‘ดัชนีราคาผู้บริโภค’ (Consumer Price Index : CPI) วิธีคิดค่าจ้างขั้นต่ำที่ใช้ฐานคิดคำนวณจาก ‘หลักกู’ โดยไม่คำนึงถึง ‘หลักการ’ ซึ่งต้องนำข้อมูลและปัจจัยที่เกี่ยวข้องมากมายหลายตัวมาคิดคำนวณให้ได้ ‘ดัชนีราคาผู้บริโภค’ (CPI) แล้วจึงจะสามารถคำนวณค่าแรงขั้นต่ำได้ (เป็นไปได้ไหม? ค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาทต่อวันของพรรคเพื่อไทย https://thestatestimes.com/post/2023033141)

นโยบายประชานิยมที่พรรคการเมืองต่าง ๆ นิยมนำมาหาเสียงกับเกษตรกรเสมอมาคือ การพักหนี้ การยกหนี้ แต่ต้องนำงบประมาณซึ่งมาจากภาษีอากรมาอุดหนุนช่วยเหลือธนาคารเจ้าหนี้เงินกู้ ซึ่งก็ได้แก่ธนาคารเพื่อเกษตรกร ส่วนวาทะกรรมที่ว่า “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” นั้น คงเคยเห็นแต่นโยบายจำนำข้าวของพรรคเพื่อไทยที่ทำให้เกิดการทุจริตอย่างมโหฬาร หนี้จากโครงการดังกล่าวยังใช้ไม่หมดจนทุกวันนี้ ทั้ง ๆ ที่นโยบายสำหรับเกษตรกรควรเป็นเรื่องของการพัฒนาให้เกษตรกรพึ่งตนเองได้ และสามารถใช้หนี้สินที่มีอยู่ได้จนหมด

ทุกวันนี้ผู้คนยังเข้าใจผิดคิดว่า ที่ดินหลวงมีอยู่เอามาแปลงเป็นเอกสารสิทธิต่าง ๆ กระทั่งเป็นโฉนดกันง่าย ๆ ไม่สนับสนุนเรื่องพวกนี้ครับ เพราะที่สุดเมื่อที่ดินที่พี่น้องประชาชนได้มามีมูลค่ามากขึ้นที่สุดก็จะถูกขายเปลี่ยนมือไปจนหมด แต่ควรสนับสนุนให้ที่ดินที่เป็นที่รกร้างว่างเปล่าที่หน่วยราชการต่าง ๆ ครอบครองอยู่ หากหน่วยงานนั้น ๆ ไม่ได้ใช้ประโยชน์แล้ว ควรส่งคืนกรมธนารักษ์ผู้ดูแลที่ดินราชพัสดุทั้งหมด เพื่อนำมาจัดสรรให้ประชาชนที่ขาดโอกาสและรายได้น้อย ได้เช่าเพื่อประกอบอาชีพตามแต่ความถนัดและเหมาะสม แบ่งสรรพื้นที่ของที่ดินอย่างบริสุทธิ์และยุติธรรม โดยคำนวณค่าเช่าจากรายได้ของผู้เช่า ห้ามการเช่าช่วง การโอนเปลี่ยนผู้ครอบครองเด็ดขาด ซึ่งภาครัฐก็ได้ผลประโยชน์อย่างเหมาะสม ประชาชนผู้เช่าก็จะมีความรับผิดชอบและรู้สึกหวงแหนสิทธิที่ได้รับมา ให้เป็นความเท่าเทียมทางสังคมที่เหมาะสมและเป็นที่ยอมรับให้เป็นบรรทัดฐานที่ถูกต้องของสังคมต่อไป

เป็นนโยบายที่เห็นแล้ว ฮาสุด ๆ เลยต้องให้ภาพนี้เล่าเรื่องแทน

เป็นอีกนโยบายที่เห็นแล้ว ต้องอธิบายด้วยภาพเหล่านี้

ขอเน้นย้ำว่า หน่วยงานที่รับผิดชอบในการออกธนบัตรคือ ธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระ ไม่ใช่กระทรวงการคลัง กระทรวงการคลังที่มีหน้าเพียงออกเหรียญกษาปณ์ กับส่งลายเซ็นของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสำหรับพิมพ์ลงบนธนบัตรเท่านั้น และสำคัญที่สุดเงินดิจิทัลที่ถูกต้องตามกฎหมายในประเทศไทยยังไม่มีมี เงินดิจิทัลทุกชนิดบนโลกใบนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยไม่ได้ให้การรับรองว่าเป็นเงินที่ถูกต้องตามกฎหมาย เงินดิจิทัลที่ถูกต้องตามกฎหมายรับรองโดยธนาคารแห่งประเทศไทยอยู่ระหว่างการพัฒนาโดยธนาคารแห่งประเทศไทยเอง


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top