Saturday, 4 May 2024
รัสเซีย

‘รัสเซีย’ ยุกลุ่มเศรษฐกิจ ‘BRICS’ เทดอลลาร์ ยกระดับสกุลเงินของแต่ละประเทศ ใช้จ่ายนำเข้า-ส่งออก รวมถึงระบบชำระเงินแบบบูรณาการระหว่างกัน

รัฐบาลรัสเซียเร่งเร้า BRICS กลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ ซึ่งมีศักยภาพสูงที่จะเติบโตขึ้นมาทัดเทียมกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ประกอบด้วย บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ ยกระดับการใช้สกุลเงินของแต่ะละประเทศ สำหรับปฏิบัติการนำเข้าและส่งออก รวมถึงระบบชำระเงินแบบบูรณาการ

ภายหลังจากรัสเซีย เปิดฉากบุกยูเครน เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มอสโกถูกตะวันตกกำหนดมาตรการคว่ำบาตรหนักหน่วงที่สุดเท่าที่เคยมีมา โดยตัดขาดพวกเขาออกจากระบบการเงินโลก รวมถึงอายัดทองคำและทุนสำรองระหว่างประเทศของพวกเขาเกือบครึ่งหนึ่ง ซึ่งอยู่ที่ราวๆ 606,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงต้นเดือนเมษายน

ขณะเดียวกัน วีซ่าและมาสเตอร์การ์ด บัตรชำระเงินระหว่างประเทศได้ระงับให้บริการในรัสเซียในช่วงต้นเดือนมีนาคม ส่วนธนาคารรายใหญ่ของรัสเซียก็ถูกตัดขาดจากระบบ SWIFT เครือข่ายการเงินระดับโลกที่ช่วยให้การโอนเงินข้ามพรมแดนเป็นไปอย่างราบรื่นและรวดเร็ว

อันทอน ซิลูอานอฟ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของรัสเซียบอกกับที่ประชุมระดับรัฐมตรีของกลุ่ม BRICS เมื่อวันศุกร์ (8 เม.ย.) ว่าสถานการณ์เศรษฐกิจโลกเลวร้ายลงอย่างมาก สืบเนื่องจากมาตรการคว่ำบาตรต่างๆ นอกจากนี้ มาตรการลงโทษเหล่านั้นยังทำลายรากฐานระบบการคลังและการเงินโลกที่มีอยู่ในปัจจุบัน บนพื้นฐานของดอลลาร์สหรัฐ

"เหล่านี้มันผลักให้เราจำเป็นต้องดำเนินการในขอบเขตต่างๆ ดังต่อไปนี้ ใช้สกุลเงินประเทศสำหรับปฏิบัติการนำเข้าและส่งออก บูรณาการระบบชำระเงินและบัตรต่างๆ ระบบการโอนเงินระหว่างประเทศของตัวเองและจัดตั้งสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อของ BRICS ที่เป็นอิสระ"

'ผู้นำสิงคโปร์' เตือน!! สหรัฐฯ อย่าโดดเดี่ยวจีนจากปัญหายูเครน ลั่น!! ทุกคนมีสิทธิ์ตัดสินใจเรื่องนี้ตามทางของตน

ดูเหมือนว่าตอนนี้จะมีประเทศในแถบเอเชีย ที่เริ่มกล้าออกมาแสดงจุดยืนที่ห้าวหาญในประเด็นการเมืองโลก โดยล่าสุด Lee Hsien Loong นายกรัฐมนตรีของสิงค์โปร์ ได้ออกคำเตือนไปยังสหรัฐฯ โดยตรงว่า "อย่าพยายาม โดดเดี่ยวจีน จากประเด็นเรื่องยูเครน เพราะทุกวันนี้โลกของเรา "ก็มีปัญหามากพออยู่แล้ว" และยังลั่นอีกด้วยว่าในอนาคต สหรัฐฯ อาจไม่ใช่เบอร์ 1 ของโลกอีกต่อไป 

นายกฯ สิงคโปร์ กล่าวไว้ชัดเจนว่า ถ้าหากสหรัฐฯ ยังหันมาเปิดศึกกับจีน จะยิ่งเป็นการแบ่งแยกระบอบประชาธิปไตยกับเผด็จการอย่างชัดเจน ซึ่งจะทำให้ปัญหา Supply Chain โลกซับซ้อนเข้าไปอีก และแน่นอนว่าถ้าลุกลามถึงขั้นคว่ำบาตรจีน ย่อมส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกสูงกว่าการคว่ำบาตรรัสเซียเป็นอย่างมาก

“คุณต้องระวังให้มากที่จะไม่กำหนดปัญหายูเครนในลักษณะที่จะทำให้จีนเป็นฝ่ายผิดตั้งแต่แรกเริ่มโดยอัตโนมัติ ยกตัวอย่างเช่น การทำให้เกิดการต่อสู้ระหว่างฝ่ายประชาธิปไตยและเผด็จการ”

(You have to be very careful not to define the problem with Ukraine in such a way that automatically, China is already on the wrong side, for example, by making this a battle of democracies against autocracies.)

“เราทุกคนมีปัญหาในยูเครน ผมคิดว่าถ้าเราพูดถึงอธิปไตย ความเป็นอิสระ และบูรณภาพแห่งดินแดน หลายประเทศสามารถเข้าร่วมได้ แม้แต่จีนเองก็ยังไม่คัดค้านและยังมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนอย่างแข็งขันเป็นการส่วนตัวด้วย แต่ถ้าคุณ (สหรัฐฯ) บอกว่านี่เป็นเรื่องของประชาธิปไตยกับระบอบเผด็จการของปูติน ผมคิดว่านั่นเป็นเรื่องที่ยากพออยู่แล้ว และถ้าคุณยังบอกอีกว่าประชาธิปไตยต้องสู้กับเผด็จการ นั่นถือเป็นการกำหนดให้ประเทศจีนเป็นฝ่ายที่ผิดตั้งแต่แรก และทำให้สิ่งต่างๆ จะยากขึ้นไปอีก”

(We all have a problem in Ukraine. I think if we talk about sovereignty, independence and territorial integrity, a lot of countries can come along. Even China would not object to that, and would actually privately strongly support that. But if you say it is democracies versus Putin’s autocracy, I think that already is difficult. If you say democracies versus autocracies – plural – that already defines China into the wrong camp, and makes things even more difficult.)

นอกจากนี้ นายกฯ สิงคโปร์ยังสอนมวยสหรัฐฯ อีกว่าในสถานการณ์ปัจจุบันนั้น ทั้ง 2 ฝ่ายมีความไว้วางใจกันน้อยมาก และมันไม่ง่ายเลยที่จะหาระดับที่เหมาะสมในความสัมพันธ์ ขณะที่สิงคโปร์จะเลือกเดินตามทางของตัวเองในการแก้ไขและป้องกันไม่ให้เรื่องทั้งหมดบานปลาย

ดังนั้นสหรัฐฯ ต้องรู้ตัวแล้วว่า ถ้าเศรษฐกิจยังคงต้องพึ่งพากันและกันกับจีน ก็ไม่ควรวาง 80% ของจุดยืนในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไว้ในมุมของการเป็นปรปักษ์หรือศัตรูกัน แล้วมาบอกว่าความสัมพันธ์อันดี 20% ที่เหลือคือการ "Win-Win" ทั้ง 2 ฝ่าย

เขากล่าวชัดเจนว่าแนวคิดนี้ "ควรจะครอบงำรัฐบาลสหรัฐฯ" (กล่าวคือสหรัฐฯ ควรตระหนักเรื่องนี้โดยด่วน) และนอกเหนือจากยูเครนแล้ว สหรัฐฯ ควรรู้ด้วยว่าภูมิภาคเอเชียนี้ ถือเป็นสมรภูมิสำคัญที่สหรัฐฯ ต้องวางจุดยืนของตัวเองให้ดี 

ยิ่งไปกว่านั้น เขายังกล่าวด้วยว่าสหรัฐฯ ควรหันมามองเรื่อง "ความน่าเชื่อถือของตัวเอง" โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับความมั่นคงและความสม่ำเสมอในการทำธุรกิจ (ซึ่งแน่นอนว่าหมายถึงการคว่ำบาตรด้วย) เพราะเรื่องนี้ทำให้เกิดความไม่แน่นอนสูงมาก และอาจทำให้ประเทศอื่น ๆ ลดความไว้เนื้อเชื่อใจสหรัฐฯ ลงในอนาคต

Lee เสริมว่า ในภายภาคหน้านี้ สหรัฐฯ อาจจะไม่ใช่เบอร์ 1 ของโลกอีกต่อไป แต่จะยังคงเป็น 1 ในแนวหน้าทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจที่สำคัญของโลก ซึ่งเขากล่าวว่ามันอาจเป็นเรื่องที่เจ็บปวดที่จะทำใจยอมรับได้สำหรับสหรัฐฯ แต่เขาก็ปลอบใจว่าเมื่อเวลาผ่านไป สหรัฐฯ จะปรับตัวได้เอง

ปูตินสั่งลุยในยูเครนจนกว่าจะชนะ หลังเจรจาเจอทางตัน เชื่อ 'ระเบียบโลกสหรัฐฯ' กำลังพังทลาย

ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย เปิดเผยในวันอังคาร (12 เม.ย.) การเจรจาสันติภาพกับยูเครนเจอทางตัน และใช้การออกมาพูดต่อหน้าสาธารณชนครั้งแรกในรอบกว่า 1 สัปดาห์ ประกาศเดินหน้าโจมตีต่อไปจนกว่าจะได้รับชัยชนะ และเย้ยหยันตะวันตกว่ากำลังล้มเหลวในการบีบบังคับให้มอสโกคุกเข่ายอมจำนน ผ่านมาตรการคว่ำบาตรอันหนักหน่วง เชื่อกฎระเบียบโลกขั้วเดี่ยวที่ครอบงำโดยสหรัฐฯ กำลังล่มสลาย พร้อมแซะอเมริกาพร้อมสู้กับรัสเซียจนกว่าจะสิ้นชาวยูเครนคนสุดท้าย

ในการปราศรัยเกี่ยวกับสงครามต่อหน้าสาธารณะเป็นครั้งแรก นับตั้งแต่กองกำลังรัสเซียล่าถอยจากทางตอนเหนือของยูเครน หลังหยุดนิ่งอยู่หน้าประตูทางเข้ากรุงเคียฟเป็นเวลานาน ปูติน สัญญาว่าจะบรรลุทุกเป้าหมายขั้นสูงในยูเครน

คำกล่าวที่เป็นสัญญาณชัดเจนที่สุดจนถึงตอนนี้ว่าสงครามจะลากยาวต่อไป ปูตินระบุว่า เคียฟกัดเซาะการเจรจาสันติภาพ ด้วยการจัดฉากในสิ่งที่เขาเรียกว่าการกล่าวหาอันเป็นเท็จ ว่ารัสเซียก่ออาชญากรรมสงคราม และจากข้อเรียกร้องขอคำรับประกันด้านความมั่นคงครอบคลุมทั่วทั้งยูเครน

"เป็นอีกครั้งที่เรากลับสู่สถานการณ์ทางตันสำหรับเรา" ปูตินกล่าวระหว่างแถลงสรุป ขณะเดินทางเยือนฐานปล่อยวอสโตชินี คอสโมโดรม (Vostochny Cosmodrome) ทางตะวันออกของมอสโก ราว 5,550 กิโลเมตร

เมื่อถูกคนงานของหน่วยงานอวกาศรัสเซีย ถามว่าปฏิบัติการในยูเครนจะบรรลุเป้าหมายหรือไม่ ปูตินตอบว่า "แน่นอน ผมไม่มีข้อสงสัยใดๆ เลย"

ปูตินกล่าวต่อว่า "รัสเซียจะเดินหน้าอย่างเป็นจังหวะและสุขุมเยือกเย็นในปฏิบัติการ แต่บทสรุปทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่สุดก็คือกฎระเบียบโลกขั้วเดี่ยว ซึ่งสหรัฐฯ ได้สร้างมาหลังจากสงครามเย็น กำลังแตกสลาย"

ประธานาธิบดีปูตินเน้นย้ำว่ารัสเซียไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากสู้รบ เพราะว่าจำเป็นต้องปกป้องพลเรือนพูดภาษารัสเซียในภาคตะวันออกของยูเครน และป้องกันไม่ให้เพื่อนบ้านอดีตสหภาพโซเวียต กลายเป็นสปริงบอร์ดต่อต้านรัสเซียของบรรดาศัตรูทั้งหลายของมอสโก

ตะวันตกประณามสงครามนี้ว่าเป็นการยึดครองดินแดนในรูปแบบจักรวรรดิอันโหดเหี้ยม โดยมีประเทศอธิปไตยหนึ่งเป็นเป้าหมาย ส่วนยูเครนระบุว่าพวกเขากำลังสู้รบเพื่อความอยู่รอด หลังจาก ปูติน ผนวกไครเมียเข้าเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนในปี 2014 และประกาศรับรองเอกราช 2 แคว้นกบฏทางภาคตะวันออกของยูเครน ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

'ไบเดน' โทษ 'ปูติน' ทำให้ปชช.อเมริกันกระเป๋าฉีก น้ำมัน-อาหาร-ของใช้ ราคาแพง เงินเฟ้อสูงในรอบ 40 ปี

ประชาชนชาวอเมริกาต้องจ่ายเงินเพิ่มขึ้น สำหรับซื้อเบนซิน อาหารและข้าวของจำเป็นอื่นๆ ในเดือนที่แล้ว ท่ามกลางตัวเลขเงินเฟ้อที่พุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยปฏิบัติการรุกรานยูเครนของรัสเซีย ซ้ำเติมสถานการณ์ให้เลวร้ายลงไปอีก จากข้อมูลของรัฐบาลสหรัฐฯ ที่เผยแพร่ในวันอังคาร (12 เม.ย.) ขณะที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดน กล่าวโทษต้นตอไปที่ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย

ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค พุ่งขึ้น 8.5% ในเดือนมีนาคม เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค.1981 เป็นสัญญาณว่ารัฐบาลของประธานาธิบดีโจ ไบเดน กำลังอยู่ภายใต้แรงกดดัน แม้อีกด้านหนึ่งพวกเขากำลังหาทางลงโทษรัสเซียเพิ่มเติม ต่อกรณีที่เปิดปฏิบัติการทหารรุกรานยูเครน

อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นฉุดรั้งคะแนนนิยมของไบเดนให้ลดต่ำลง และประธานาธิบดีรายนี้พยายามกล่าวโทษไปที่ประธานาธิบดีวลาดิมร์ ปูติน และการรุกรานที่ก่อความปั่นป่วนแก่ตลาดพลังงานโลก

"ราคาที่เพิ่มขึ้นในเดือนมีนาคม 70% มาจากการขึ้นราคาเบนซินของปูติน" ไบเดนกล่าวอ้างระหว่างปราศรัยในไอโอวา แม้กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ ระบุว่ามันคิดเป็นสัดส่วนราวๆ เกือบครึ่งหนึ่งเท่านั้น

ราคาต่างๆ เริ่มเพิ่มสูงขึ้นมาตั้งแต่ปีที่แล้ว ในขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ฟื้นตัวจากโรคระบาดใหญ่โควิด-19 และในขณะที่รายงานล่าสุดเผยให้เห็นว่าแม้ราคาจะแตะระดับสูงสุดในหลายรายการ แต่ก็มีสัญญาณบ่งชี้ว่ามันอาจกำลังเข้าสู่ระดับคงที่

ดัชนี CPI พุ่งขึ้น 1.2% ในเดือนมี.ค. เมื่อเทียบกับเดือนก.พ. เป็นไปตามที่พวกนักวิเคราะห์คาดหมายไว้แต่ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานหลัก ซึ่งไม่รับรวมภาคอาหารและพลังงานที่มีความผันผวนสูง เพิ่มขึ้นเพียง 0.3% น้อยกว่าที่คาดหมายไว้

เซเลนสกี โวยผู้นำฝรั่งเศส-เยอรมนี เหตุ ปฏิเสธตราหน้ารัสเซีย 'ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์'

ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน ในวันพุธ (13 เม.ย.) ตำหนิประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศส และผู้นำเยอรมนี ที่ปฏิเสธเรียกเหตุเข่นฆ่าชีวิตผู้คนในยูเครน เป็นการ "ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์" ตามอย่าง โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่ให้คำนิยามดังกล่าวหนึ่งวันก่อนหน้านี้ คำพูดที่เรียกเสียงประณามจากรัสเซียว่าเป็นสิ่งที่ "ไม่อาจยอมรับได้"

"สิ่งต่างๆ เหล่านี้มันเจ็บปวดมากสำหรับเรา ดังนั้น ผมจะทำอย่างดีที่สุดในการพูดคุยกับเราในประเด็นนี้อย่างแน่นอน" เซเลนสกี กล่าวระหว่างการแถลงข่าวร่วมกับบรรดาผู้นำโปแลนด์ และรัฐต่างๆ ในแถบบอลติก ที่เดินทางมาเยือนกรุงเคียฟ

ในวันพุธ (13 เม.ย.) พวกผู้นำฝรั่งเศสและเยอรมนีปฏิเสธเดินตามประธานาธิบดีโจ ไบเดน ที่กล่าวหารัสเซียกำลังฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยูเครน พร้อมเตือนว่าสงครามน้ำลายที่ลุกลามบานปลายจะไม่ช่วยหยุดสงคราม

เมื่อวันอังคาร (12 เม.ย.) ประธานาธิบดีไบเดน กล่าวหากองกำลังของประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน กำลังฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในยูเครน โดยบอกว่า "มันชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ว่าปูตินพยายามจะลบล้างแม้แต่แนวคิดเรื่องความเป็นคนยูเครน มีการค้นพบหลักฐานเพิ่มขึ้นจากสิ่งเลวร้ายที่กองทัพรัสเซียได้กระทำลงไป และเราจะให้นักกฎหมายในองค์กรระหว่างประเทศเป็นผู้ตัดสินว่ามันเข้าข่ายการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์หรือไม่ แต่สำหรับตัวผมแล้ว มันดูเหมือนจะเป็นเช่นนั้น"

เป็นครั้งแรกที่รัฐบาลสหรัฐฯ ใช้คำจำกัดความนี้นิยามการรุกรานยูเครนของรัสเซีย

เตือนแล้วนะ! ‘รัสเซีย’ เตือน ‘สหรัฐฯ-นาโต’ หยุดส่งอาวุธให้ยูเครน ขู่!  หากดึงดัน อาจเกิดผลลัพธ์เกินคาดเดา!

รัสเซียเตือนอย่างเป็นทางการถึงสหรัฐฯ และนาโต ว่า จะเกิดผลลัพธ์ที่คาดเดาไม่ได้ต่อเสถียรภาพความมั่นคงทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก ถ้าหากยังไม่หยุดส่งอาวุธให้แก่ยูเครน ด้านประธานาธิบดีโวโลดิเมียร์ เซเลนสกี ของยูเครนกล่าวว่า ทหารยูเครนราว 2,500-3,000 นาย เสียชีวิตในช่วงเวลา 7 สัปดาห์ของสงครามกับรัสเซียและอีกราว 10,000 นาย ได้รับบาดเจ็บ พร้อมเรียกร้องนานาชาติให้คว่ำบาตรรัสเซียเพิ่ม


สำนักข่าวอัลจาซีราของกาตาร์รายงานว่า รายงานอ้างสื่อในสหรัฐฯ หลายสำนักที่ระบุว่า รัสเซียได้ทำหนังสืออย่างเป็นทางการลงวันที่ 11 เมษายนที่ผ่านมาถึงกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ ผ่านทางสถานทูตรัสเซียประจำกรุงวอชิงตัน ดีซี เตือนสหรัฐฯ และองค์การนาโต ว่า จะเกิดผลลัพธ์ที่ไม่อาจคาดเดาได้ หากยังคงส่งอาวุธไปให้แก่ยูเครน ในหนังสือของรัสเซียระบุว่า การที่สหรัฐฯ และนาโต จัดส่งอาวุธที่อ่อนไหวมากที่สุดไปให้แก่ยูเครนนั้น เท่ากับเป็นการเติมเชื้อเพลิง ซ้ำเติมความขัดแย้ง พร้อมกับเรียกร้องให้สหรัฐฯ และพันธมิตรของสหรัฐฯ หยุดการส่งอาวุธให้ยูเครนอย่างไม่รับผิดชอบ เพราะจะทำให้เกิดผลลัพธ์ที่คาดเดาไม่ได้ต่อเสถียรภาพความมั่นคงทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก

ข่าวคำเตือนของรัสเซียออกมา หลังจากประธานาธิบดี โจ ไบเดน ของสหรัฐฯ ประกาศเพิ่มความช่วยเหลือทางการทหารแก่ยูเครนอีก 800 ล้านดอลลาร์ในวันพุธที่ผ่านมา 2 วันหลังจากรัสเซียส่งหนังสือเตือนดังกล่าว อาวุธใหม่ที่สหรัฐฯ เตรียมจะส่งให้แก่ยูเครน สำหรับความช่วยเหลือทางทหารครั้งใหม่ 800 ล้านดอลลาร์นั้น รวมถึง ปืนใหญ่วิถีโค้ง หรือฮาวอิทเซอร์ ขนาด 155 มม. ซึ่งสหรัฐฯ ยังไม่เคยส่งให้แก่ยูเครนมาก่อนรวมไปถึงระบบเรดาร์ต่อต้านปืนใหญ่ ที่ไม่มีในคลังอาวุธของกองทัพยูเครน ส่วนอาวุธยุทโธปกรณ์อื่นๆ รวมถึงปืนใหญ่ กระสุนปืนใหญ่ ยานเกราะลำเลียงพล และเฮลิคอปเตอร์

ด้านประธานาธิบดีไบเดนกล่าวในวันที่ประกาศเพิ่มความช่วยเหลือทางทหารแก่ยูเครนเมื่อวันพุธดังกล่าว ว่า อาวุธชุดใหม่ที่จะจัดส่งให้แก่ยูเครนนี้ รวมถึงอาวุธประสิทธิภาพสูง ที่เคยส่งให้แก่ยูเครนมาแล้ว และเพิ่มเติมคือ อาวุธศักยภาพใหม่ที่คัดมาโดยเฉพาะเพื่อมอบให้แก่ยูเครน ใช้รับมือการโจมตีจากรัสเซียระลอกใหม่ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในภาคตะวันออกของยูเครน ไบเดนระบุด้วยว่า การส่งอาวุธให้แก่ยูเครนอย่างต่อเนื่องของสหรัฐฯ และพันธมิตร เป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ที่ช่วยให้ยูเครนสามารถสู้รบกับรัสเซียได้อย่างต่อเนื่อง

การประกาศเพิ่มความช่วยเหลือทางทหารแก่ยูเครน เป็นไปตามคำร้องขอล่าสุดจากประธานาธิบดี โวโลดิเมียร์ เซเลนสกี ที่เพิ่งร้องขออาวุธหนักจากสหรัฐฯ เพื่อเตรียมรับมือปฏิบัติการใหม่ของรัสเซีย ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในภาคตะวันออกของยูเครนในเร็วๆ นี้

อย่าหาว่าไม่เตือน! ‘รัสเซีย’ เตือน ‘ฟินแลนด์-สวีเดน’ อาจเสียอธิไตย ทั้งยังไร้ประโยชน์ หากเข้าร่วม ‘นาโต’

Russia Today รายงานว่า กระทรวงการต่างประเทศรัสเซียเตือนว่า ฟินแลนด์และสวีเดนจะสูญเสียอธิปไตยบางส่วน และต้องประนีประนอมเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศ ทั้งยังจะไม่ได้อะไรเลยจากการเข้าร่วมเป็นสมาชิกนาโต (NATO) อย่างเป็นทางการ

มาเรีย ซาคาโรวา โฆษกกระทรวงการต่างประเทศรัสเซียระบุในแถลงการณ์ว่า การเป็นสมาชิก NATO “ไม่น่าจะช่วยสร้างชื่อเสียงระดับนานาชาติให้สวีเดนและฟินแลนด์” ทั้งสองประเทศจะสูญเสียโอกาสที่ในการทำหน้าที่เป็น "ผู้ถ่ายทอดความคิดริเริ่มที่สร้างสรรค์และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน" เหมือนที่เคยทำในอดีต

“อันที่จริงแล้วหน้าที่ในการตัดสินใจเป็นของผู้มีอำนาจในสวีเดนและฟินแลนด์ แต่พวกเขาควรตระหนักถึงผลที่ตามมาของการกระทำดังกล่าวต่อความสัมพันธ์ทวิภาคีของเราและโครงสร้างความมั่นคงของยุโรปซึ่งกำลังอยู่ในช่วงวิกฤต” ซาคาโรวากล่าว

‘ลิกเตนสไตน์’ ยกกรณีรุกรานยูเครนของทัพรัสเซีย ต้องจำกัดสิทธิ์การ Veto ของเหล่าสมาชิกถาวร

เมื่อไม่นานมานี้ มีประเด็นที่ถูกหยิบยกขึ้นมาถกเถียงกันถึงสิทธิ์ในการ Veto (สิทธิยับยั้ง) ของสมาชิกถาวรขององค์การสหประชาชาติ เพื่อยับยั้ง ตีตกมติ หรือประเด็นที่ต้องการหาข้อตกลงร่วมในการปฏิบัติของบรรดาประเทศสมาชิกในโลก

โดยประเด็นร้อนล่าสุดที่ถูกนำเข้าสู่ที่ประชุมใน สภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ก็คือ การรุกรานยูเครนของกองทัพรัสเซีย

ทั้งนี้ ประเทศลิกเตนสไตน์ ซึ่งได้รับแรงสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐฯ เป็นหัวหอกสำคัญในการเปิดประเด็นการจำกัดสิทธิ์การ Veto ของประเทศสมาชิกถาวรใน สภาความมั่นคง อันเนื่องจากรัสเซียเป็น 1 ใน 5 สมาชิกถาวรขององค์การสหประชาชาติ ที่ได้รับสิทธิ์ Veto ได้อย่างไม่จำกัด

และรัสเซียก็จะใช้สิทธิ์นั้นขัดขวางมติ รวมถึงการทำงานของสภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ซึ่งทางลิกเตนสไตน์ชี้ว่า เป็นการผิดเจตจำนงขององค์กร และยังขัดต่อหลักการส่งเสริมสันติภาพของโลก

ในปัจจุบัน ประเทศสมาชิกถาวรขององค์การสหประชาชาติมีอยู่ 5 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา, อังกฤษ, ฝรั่งเศส, จีน และรัสเซีย ซึ่งถือว่าเป็นประเทศผู้ชนะสงครามโลกครั้งที่ 2

ถึงแม้โลกจะผ่านยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มานานเกือบ 75 ปีแล้ว และมีหลายประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้า กลายเป็นประเทศที่ทรงอิทธิพลในโลกไม่ต่างจากสมาชิกถาวรดั้งเดิม และเคยพยายามที่จะเข้าร่วมวงเป็นสมาชิกถาวร อาทิ ญี่ปุ่น, เยอรมัน หรือแม้แต่ อินเดีย, บราซิล และแอฟริกาใต้ แต่จนถึงตอนนี้องค์การสหประชาชาติก็ยังไม่มีแนวคิดที่จะขยายจำนวนสมาชิกถาวรแต่อย่างใด

และด้วยสิทธิ์ที่มีเฉพาะกลุ่มประเทศถาวร 5 ประเทศนี้ อย่างการ Veto ที่สามารถระงับมติร่วมของ UN ได้ทันที โดยตั้งแต่ปี 1946 เป็นต้นมามีการใช้สิทธิ์ Veto ไปแล้วถึง 295 ครั้งนั้น พบว่า รัสเซีย เป็นประเทศที่ใช้สิทธิ์ Veto มากที่สุดถึง 143 ครั้ง รองลงมาคือสหรัฐอเมริกา 86 ครั้ง อังกฤษ 30 ครั้ง ส่วนจีน และ ฝรั่งเศสเคยใช้สิทธิ์ไป 18 ครั้ง

'อดีตบิ๊กข่าวกรอง' เผย!! รัสเซียทดลองจรวดข้ามทวีปสำเร็จ เป็นสัญญาณบอกชาติตะวันตกว่า...พร้อมรบนะ!!

'นันทิวัฒน์' เผยท่ามกลางสงครามยูเครน รัสเซียแถลงผลทดสอบจรวดข้ามทวีปรุ่นใหม่สำเร็จ เหมือนส่งสัญญาณบอกชาติตะวันตกว่า พร้อมรบนะ

21 เม.ย. 65 - นายนันทิวัฒน์ สามารถ อดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ ‘จรวดข้ามทวีปรุ่นใหม่ของรัสเซีย’ ระบุว่า ท่ามกลางความวุ่นวายของการสู้รบในยูเครน รัสเซียได้แถลงข่าวความสำเร็จของการทดสอบจรวดข้ามทวีปรุ่นใหม่เมื่อ 20 เมษายน

รัสเซียประสบความสำเร็จในการทดสอบยิงจรวด RS-28 Sarmat ซึ่งเป็น Inter - Continental Ballestic Missile จาก Plesetsk ทางตอนเหนือของรัสเซียไปตกยัง Kura ที่คาบสมุทรคัมชัตกา ทางตะวันออกสุดของประเทศรัสเซีย

แคนดิเดต ปธน.ฝรั่งเศส ซัด!! สหรัฐฯ หลังบีบยุโรปคว่ำบาตรรัสเซีย เพื่อธุรกิจพลังงานในสหรัฐฯ จะได้โกยเงิน โดยไม่เห็นความเดือดร้อนของชาวยุโรป | NEWS GEN TIMES ชวนคิด กับ กิตติธัช EP.48

✨ สลากกินแบ่งออนไลน์!! ขาย 80 บาทผ่านแอปฯ ‘เป๋าตัง’ จุดพลิกปฏิวัติระบบราชการ ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล

✨แคนดิเดต ปธน.ฝรั่งเศส ซัด!! สหรัฐฯ หลังบีบยุโรปคว่ำบาตรรัสเซีย เพื่อธุรกิจพลังงานในสหรัฐฯ จะได้โกยเงิน โดยไม่เห็นความเดือดร้อนของชาวยุโรป

✨รัสเซียเบนเป้าหนีตลาดยุโรป เตรียมส่งพลังงานขาย ‘เอเชีย-แอฟริกา’

✨ไปดีกว่า!! ธุรกิจพลังงานจีน เตรียมถอนทุนจากชาติตะวันตก หวั่นถูกคว่ำบาตรและยึดกิจการ

NEWS GEN TIMES ชวนคิด กับ กิตติธัช

โดย อ.ต้อม - กิตติธัช ชัยประสิทธิ์ นักวิชาการอิสระและอาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

.

.


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top