Sunday, 5 May 2024
รัสเซีย

'อังกฤษ'​ อึ้ง!! หลังชวนอินเดียร่วมลดพึ่งพาพลังงานจากรัสเซีย แต่ถูกสวน!! 'ยุโรปซื้อน้ำมันรัสเซียมากกว่าอินเดียอีก'​

เมื่อ 31 มี.ค. 65 สื่ออินเดียได้รายงานข่าวการไปเยือนลอนดอนอย่างเป็นทางการของ เอส. ไจแชนการ์ รัฐมนตรีต่างประเทศอินเดีย เพื่อประชุมหารือกับ ลิซ ทรัสส์ รัฐมนตรีต่างประเทศของฝั่งอังกฤษ ซึ่งประเด็นที่เป็นไฮไลต์ของการพูดคุยครั้งนี้ หนีไม่พ้นเรื่องมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียของประเทศยุโรป จากกรณีการรุกรานยูเครน

โดยรัฐมนตรีต่างประเทศหญิงของอังกฤษได้เน้นย้ำถึงเป้าหมายของอังกฤษที่จะลดการพึ่งพาพลังงานจากรัสเซียให้ได้ภายในสิ้นปีนี้ เพื่อเป็นการตอบโต้การกระทำของรัสเซีย และยังเป็นข้อตกลงร่วมกันในกลุ่มประเทศยุโรปเพื่อแสดงออกว่าจะยืนเคียงข้างชาวยูเครน

ลิซ ทรัสส์ กล่าวกับ ไจแชนการ์ว่า ถึงแม้ว่าอังกฤษไม่อาจบังคับให้ประเทศอื่นทำตามเป้าหมายของเรา และอินเดียก็เป็นประเทศเอกราช แต่ทางอังกฤษก็รู้ว่ารัสเซียได้เสนอขายน้ำมันให้รัฐบาลอินเดียในราคาพิเศษ จึงได้ตั้งคำถามว่า ทำไมอินเดียถึงยังสนใจรับข้อเสนอของรัสเซีย ประเทศที่ใช้กำลังทหารรุกรานประเทศอื่นอยู่อีก

แต่ทว่าสิ่งที่นาย เอส. ไจแชนการ์ ตอบกลับรัฐมนตรีหญิงของอังกฤษกลับมีประเด็นที่น่าสนใจ โดยเขามองว่า การรวมกลุ่มกันคว่ำบาตรรัสเซียดูเป็นเหมือนแคมเปญของทางฝั่งยุโรปมากกว่า และหากเทียบปริมาณการพึ่งพาน้ำมันของทางฝั่งยุโรปกับอินเดียนั้นก็มีความแตกต่างกันอย่างมาก 

เพราะที่ผ่านมา แหล่งน้ำมันที่อินเดียนำเข้ามาเกือบทั้งหมด มาจากประเทศทางตะวันออกกลาง มีประมาณ 7.5-8% นำเข้าจากสหรัฐอเมริกา แล้วจึงตามด้วยรัสเซีย ซึ่งบางครั้งน้อยกว่า 1% เสียอีก 

แต่ในทางกลับกัน ประเทศทางฝั่งยุโรปต่างหากที่พึ่งพาพลังงานน้ำมันจากรัสเซียเป็นส่วนใหญ่ มิหนำซ้ำ ประเทศในยุโรปยังนำเข้าน้ำมันจากรัสเซียเพิ่มขึ้นอีกถึง 15% ในเดือนมีนาคมปีนี้ ซึ่งมากกว่าตอนก่อนเกิดสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครนเสียอีก

'ปูติน' พร้อมฉีกสัญญาซื้อ-ขายก๊าซกับชาติตะวันตก ย้ำคำเดิมรับเฉพาะ 'เงินรูเบิล' เท่านั้น

วันนี้เป็นวันที่สงครามเศรษฐกิจตึงเครียดมาก เมื่อผู้นำรัสเซียออกคำสั่งรับชำระค่าก๊าซเป็นเงินรูเบิลเท่านั้น ตอบโต้ชาติยุโรปที่ใช้มาตรการลงโทษกับตน ประกาศกร้าวพร้อมฉีกสัญญา หยุดส่งก๊าซ

ผู้นำรัสเซียนำอาวุธหนักออกรบในสงครามเศรษฐกิจ ประกาศพร้อมที่จะฉีกสัญญาซื้อขายก๊าซกับประเทศที่ไม่เป็นมิตรในวันนี้ หากผู้ซื้อไม่จ่ายเงินเป็นเงินรูเบิล ตามคำสั่งของนาย วลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย ใครที่ต้องการซื้อก๊าซธรรมชาติของรัสเซียต้องเปิดบัญชีกับธนาคารของรัสเซียโดยใช้เงินสกุลรูเบิลชำระเงินเท่านั้น เริ่มต้นตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ในเมื่อชาติตะวันตกใช้ระบบการเงินมาเป็นอาวุธทำร้ายรัสเซีย อายัดทรัพย์สินในรูปเงินดอลลาร์และยูโร ดังนั้นรัสเซียก็จะไม่ยอมรับเงินตะวันตกอีกแล้ว หากไม่ใช่รูเบิล สัญญาซื้อขายใดๆ ต้องล้มเลิกไป

สินค้าพลังงานเป็นปัจจัยทางยุทธศาสตร์ ที่ทำให้หลายชาติเกรงใจรัสเซียมานาน ยุโรปพึ่งพาก๊าซร้อยละ 40 จากรัสเซีย มูลค่าซื้อขายต่อวันระหว่าง 7,000 - 30,000 ล้านบาท สื่อรัฐบาลรัสเซีย ชี้รัฐบาลยังเล็งใช้มาตรการรูเบิลแบบเดียวกันนี้กับสินค้าอื่นๆ ด้วย

ชาติยักษ์ใหญ่ในยุโรปที่พึ่งพาก๊าซรัสเซียสูงที่สุด อย่างเยอรมนี ยกความศักดิ์สิทธิ์ของสัญญา ยืนยันว่าจะจ่ายค่าก๊าซเป็นเงินยูโรตามที่ตกลงไว้เท่านั้น รัฐมนตรีคลังของเยอรมนี หารือและเห็นพ้องกับรัฐมนตรีของฝรั่งเศส สัญญาต้องเป็นสัญญา เรื่องพลังงานไม่อาจนำมาใช้ข่มขู่ทางการเมือง สื่อของรัสเซียเตือนด้วยว่า หากไม่ทำตามเศรษฐกิจยุโรปอาจเข้าสู่ภาวะถดถอยได้ ในส่วนของรัสเซีย แม้รายได้จะหายไปก็สามารถหันไปหาเอเชียแทนได้

สงครามเศรษฐกิจทำให้ราคาน้ำมันพุ่งสูง เดือดร้อนทุกหย่อมหญ้า กำลังเป็นปัญหาการเมืองทำลายความนิยม ผู้นำสหรัฐจึงงัดมาตรการนำน้ำมันจากคลังปิโตรเลียมสำรองทางยุทธศาสตร์ออกมาใช้วันละ 1 ล้านบาร์เรล เป็นเวลา 6 เดือน เป็นปริมาณสูงที่สุดในรอบ 50 ปี เพื่อบรรเทาปัญหาและดึงราคาน้ำมันให้ลดลง

‘เซเลนสกี’ ปัดตอบส่ง ฮ. ยิงถล่มคลังน้ำมันรัสเซีย ด้านปูตินสั่งยกระดับป้องกันชายแดนตะวันตก

ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครนปฏิเสธที่จะให้คำตอบว่าเป็นผู้สั่งยิงถล่มคลังน้ำมันรัสเซียในเมืองเบลโกร็อด (Belgorod) หรือไม่ ขณะที่รัสเซียประกาศเสริมกำลังป้องกันชายแดนด้านตะวันตกเพื่อสกัดการโจมตีในอนาคต

แม้การเจรจาสันติภาพระหว่างเจ้าหน้าที่ยูเครนกับรัสเซียจะเกิดขึ้นอีกครั้งผ่านระบบวิดีโอลิงก์ แต่ทำเนียบเครมลินเตือนว่าเหตุการณ์เฮลิคอปเตอร์ยิงโจมตีคลังน้ำมันที่เบลโกร็อด อาจจะทำให้ทั้ง 2 ฝ่ายพูดคุยกันลำบากขึ้น

รัฐบาลเคียฟไม่ขอยอมรับหรือปฏิเสธว่าอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์นี้หรือไม่ โดย เซเลนสกี ให้สัมภาษณ์กับสื่อฟ็อกซ์นิวส์ของสหรัฐฯ ว่า “ขอโทษด้วย ผมไม่ขอชี้แจงเรื่องคำสั่งต่างๆ ที่ผมได้สั่งการไปในฐานะผู้บัญชาการสูงสุด (commander in chief)”

กระทรวงกลาโหมรัสเซียกล่าวหายูเครนว่าส่งเฮลิคอปเตอร์ 2 ลำบินในระดับต่ำเข้ามาในเขตแดนของรัสเซีย ก่อนจะยิงมิสไซล์ถล่มคลังน้ำมันที่เมืองเบลโกร็อด ซึ่งอยู่ห่างจากชายแดนอยู่เครนประมาณ 35 กิโลเมตร เมื่อเวลาราว 5.00 น. ของวันที่ 1 เม.ย.

ภาพจากกล้องวงจรปิดเผยให้เห็นแสงสว่างวาบคล้ายขีปนาวุธถูกยิงในระดับที่ต่ำมาก ก่อนจะเกิดการระเบิดขึ้น

ปฏิบัติการโจมตีครั้งนี้ส่งผลให้เกิดเพลิงไหม้รุนแรง และต้องมีการอพยพประชาชนบางส่วนออกนอกพื้นที่ ทว่า อันตอน อิวานอฟ นายกเทศมนตรีเมืองเบลโกร็อด ยืนยันว่าเจ้าหน้าที่สามารถดับไฟลงได้ทั้งหมดแล้ว

“ไม่มีความเสี่ยงใดๆ ต่อชีวิตและสุขภาพ ประชาชนทุกคนสามารถกลับเข้าบ้านเรือนได้” อิวานอฟ แถลงผ่านสื่อออนไลน์

บริษัทน้ำมัน รอสเนฟต์ (Rosneft) ซึ่งเป็นเจ้าของคลังน้ำมันยืนยันว่า ไม่มีผู้บาดเจ็บจากเหตุเพลิงไหม้ ขณะที่กระทรวงกลาโหมรัสเซียระบุว่า คลังน้ำมันแห่งนี้ใช้ประโยชน์ในด้านพลเรือนเท่านั้น

'จีน' โต้ข้อครหา 'เลี่ยงคว่ำบาตรรัสเซีย' พร้อมเตือน "นี่เป็นเรื่องที่ชาวยุโรปต้องแก้ไขเอง"

รัฐบาลจีนออกมาชี้แจงวันนี้ (2 เม.ย.) ว่าไม่ได้พยายามที่จะ “หลบเลี่ยง” มาตรการคว่ำบาตรรัสเซีย หลังเจ้าหน้าที่สหภาพยุโรป (อียู) เตือนว่าความพยายามใดๆ ก็ตามที่จะช่วยเหลือมอสโกในสงครามยูเครนอาจกระทบสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ

เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศจีนให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมทางไกลระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูงอียูกับคณะผู้นำจีนเมื่อวานนี้ (1 เม.ย.) ว่า “เราไม่ได้จงใจทำอะไรเพื่อหลบเลี่ยงมาตรการคว่ำบาตรที่ชาวอเมริกันและชาวยุโรปใช้กับรัสเซีย”

จนถึงขณะนี้ ปักกิ่งยังคงยืนกรานที่จะไม่ “ประณาม” ปฏิบัติการรุกรานยูเครนของรัสเซีย ขณะที่สหรัฐฯ เกรงว่าจีนอาจสนับสนุนมอสโกในด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ หรือช่วยค้ำจุนเศรษฐกิจรัสเซียให้สามารถฝ่าฟันบทลงโทษของตะวันตกไปได้

“เราขอคัดค้านการคว่ำบาตร เพราะผลของมาตรการเหล่านี้เสี่ยงที่จะส่งผลเสียลุกลามไปยังทั่วโลก” หวัง ลู่ถง (Wang Lutong) ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการยุโรปของกระทรวงการต่างประเทศจีน ระบุในงานแถลงข่าว

'โปแลนด์' โวย 'ฝรั่งเศส-เยอรมนี' ใกล้ชิดรัสเซียเกินไป แถมล้มเหลวหนุนอาวุธยูเครน-ไม่คว่ำบาตรน้ำมันรัสเซีย

สำนักข่าว AFP รายงาน รัฐบาลวอร์ซอได้กล่าวหารัฐบาลปารีส-รัฐบาลเบอร์ลิน ว่าใกล้ชิดกับรัฐบาลมอสโกมากเกินไป

โดยรองนายกรัฐมนตรีของโปแลนด์ กล่าวหาถึงท่าทีของฝรั่งเศสและเยอรมนีว่า มีความใกล้ชิดรัสเซียมากเกินไปในการให้สัมภาษณ์ที่ตีพิมพ์เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ขณะที่เขาประณามพฤติกรรมของรัฐบาลเบอร์ลินที่มีต่อรัฐบาลมอสโกก่อนการรุกรานยูเครนด้วย

"เยอรมนีก็เหมือนกับฝรั่งเศส ที่มีอคติอย่างแรงกล้าที่จะสนับสนุนมอสโก” ยาโรสลอว์ คาซินสกี้ ซึ่งเป็นผู้นำพรรคกฎหมายและความยุติธรรม (PiS) บอกกับหนังสือพิมพ์รายวันของเยอรมัน Die Welt ในการให้สัมภาษณ์ โดยเขาบนเข็มต่อว่าไปทางรัฐบาลเบอร์ลินหนักกว่ารัฐบาลปารีสค่อนข้างมากอีกด้วยว่า...

“ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ดูเหมือนรัฐบาลเยอรมันจะไม่ต้องการเห็นสิ่งที่รัสเซียกำลังทำสิ่งที่เกิดขึ้นภายใต้การนำของ ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิมีร์ ปูติน แต่เราเห็นผลลัพธ์ที่จริงแล้วในวันนี้” คาซินสกี้ กล่าว

“โปแลนด์ไม่พอใจกับบทบาทของเยอรมนีในยุโรป” เขากล่าวเสริม พร้อมตำหนิเบอร์ลิน ที่พยายามเดินตามรอยสิ่งที่อดีตนายกรัฐมนตรีออตโต ฟอน บิสมาร์ก เคยทำมาในศตวรรษที่ 19 นั่นคือ "พลังอำนาจของเยอรมันที่มีรัสเซียคอยเคียงข้าง"

(ทั้งนี้ ในยุคของบิสมาร์กเยอรมนีได้กลายเป็นมหาอำนาจของยุโรปและของโลกและสามารถถ่วงดุลอำนาจในยุโรป ด้วยการไม่ทำตัวเป็นศัตรูกับรัสเซีย เพื่อให้เยอรมนีสามารถต่อกรกับภัยคุกคามจากฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักรได้) 
 

'ยูเครน' เข้าควบคุม-ยึดพื้นที่ รอบกรุงเคียฟได้ทั้งหมด หลังรัสเซียถอนทหาร พิสูจน์ความจริงใจการเจรจา

กองทัพยูเครนสามารถเข้าควบคุมพื้นที่โดยรอบกรุงเคียฟเอาไว้ได้หมด หลังจากรัสเซียถอนกำลังทหารออกไป โดยสิ่งที่ปรากฎพบหลังยูเครนเข้าเคลียร์พื้นที่ คือ ร่องรอยความเสียหายและผู้เสียชีวิตจำนวนมากในเมืองเออร์ปิน, เมืองบูชา และฮอสโตเมล รวมถึงซากเครื่องบินลำใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งถูกทำลายลง

เจ้าหน้าที่รัฐบาลยูเครน แถลงว่า กองทัพยูเครนสามารถยึดคืนพื้นที่รอบกรุงเคียฟทั้งหมด หลังจากยิงต่อสู้กันอย่างดุเดือดในหลายเมืองและหลายหมู่บ้านรอบเมืองหลวงของประเทศในช่วงไม่กี่สัปดาห์มานี้ 

ขณะที่ฟากรัสเซีย ระบุว่า การถอนกำลังใกล้กรุงเคียฟนั้น เป็นการแสดงเจตจำนงในการเจรจาสันติภาพ แต่บรรดานักวิเคราะห์ชาติตะวันตกกล่าวว่า การปฏิบัติการทางทหารของพวกเขาถูกต้านทานจนหยุดชะงัก

หลังเข้าเคลียร์พื้นที่ เจ้าหน้าที่ยูเครน แถลงว่า ในเมืองเออร์ปิน ทางตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงเคียฟ มีพลเรือนอย่างน้อย 200 คนเสียชีวิต ตั้งแต่รัสเซียบุกยูเครนเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และมีประชาชนมากกว่า 70,000 คน ที่เคยอาศัยอยู่ในเมืองนี้ พากันหลบหนีเมื่อเดือนที่แล้ว 

ส่วนเมืองบูชา ทหารยูเครนได้เคลื่อนกำลังเข้าไปยังเมืองดังกล่าวในช่วงวันหรือสองวันก่อน หลังจากที่ไม่สามารถเข้าเมืองได้เลยในระยะเวลาเกือบ 1 เดือน 

'ปูติน' ลงนามกฤษฎีกาแบน 'ชาติไม่เป็นมิตร' ห้ามเดินทางเข้าประเทศ มีผลทันที!!

ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย ลงนามในกฤษฎีกาวันนี้ ระบุว่า รัสเซียจะระงับการออกวีซ่าให้แก่ผู้ที่เดินทางจาก "ประเทศที่ไม่เป็นมิตร" ต่อรัสเซีย โดยคำสั่งดังกล่าวมีผลทันทีในวันนี้

นอกจากนี้ ประธานาธิบดีปูติน ยังมีคำสั่งให้กระทรวงการต่างประเทศรัสเซียและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระงับการออกวีซ่าให้แก่ชาวต่างชาติหรือบุคคลไร้สัญชาติที่กระทำการอันไม่เป็นมิตรต่อรัสเซีย

การลงนามในวันนี้ถือเป็นการออกกฤษฎีกาฉบับที่ 2 ของประธานาธิบดีปูติน เพื่อตอบโต้ประเทศที่คว่ำบาตรรัสเซีย หลังจากที่เขาได้ลงนามในกฤษฎีกาฉบับหนึ่งเมื่อวันที่ 31 มีนาคม ระบุว่า ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ประเทศที่ซื้อก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียจะต้องชำระเงินเป็นสกุลรูเบิลเท่านั้น หากผู้ซื้อไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าว สัญญาการซื้อก๊าซก็จะถูกระงับ

ไทยรอเฮ!! เตรียมรับนักท่องเที่ยวรัสเซียเสาร์นี้ หลังติดหนึ่งใน 52 ประเทศ ‘ปลดล็อกเที่ยวบิน’

เจ้าหน้าที่รัสเซียแถลงแผนการต่างๆ เมื่อวันจันทร์ (4 เม.ย.) สำหรับการปลดแบนเที่ยวบินทั้งขาเข้าและขาออกจากประเทศและดินแดนต่างๆ 52 แห่ง เริ่มตั้งแต่วันที่ 9 เมษายนเป็นต้นไป หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้สั่งปิดไปเพื่อสกัดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

มิคาอิล มิชูสติน นายกรัฐมนตรีรัสเซียกล่าวว่า มาตรการนี้จะใช้กับ "บรรดาประเทศที่เป็นมิตร" อ้างถึงประเทศต่างๆ ที่ไม่ได้เข้าร่วมกับตะวันตกในการกำหนดมาตรการคว่ำบาตรเล่นงานมอสโก

ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าว มีขึ้นในขณะที่เคสผู้ติดเชื้อโควิด-19 ลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา

สำหรับบรรดาประเทศที่อยู่ในรายชื่อดังกล่าวประกอบด้วย แอลจีเรีย อัฟกานิสถาน อาร์เจนตินา บาห์เรน บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา บอตสวานา บราซิล จีน คอสตาริกา อียิปต์ เอธิโอเปีย ฟิจิ อิสราเอล อินเดีย อินโดนีเซีย อิรัก จาไมกา จอร์แดน

UN ระงับสถานะรัสเซียในคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน ไทย และชาติอาเซียนส่วนใหญ่งดออกเสียง

สมัชชาสหประชาชาติมีมติเสียงข้างมาก 93 เสียง ระงับการเป็นสมาชิกของรัสเซียในคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน ด้านไทย อินโดนีเซีย และอีกหลายประเทศในตะวันออกกลาง งดออกเสียง

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากนครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 8 เม.ย.ว่าสมัชชาสหประชาชาติ (ยูเอ็นจีเอ) มีมติในการประชุม เมื่อวันพฤหัสบดี ด้วยเสียงข้างมาก 93 เสียง ระงับสถานภาพสมาชิกของรัสเซีย ในคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอชอาร์ซี) เนื่องจาก “กระทำการละเมิดสิทธิมนุษยชนในยูเครนอย่างร้ายแรง”

ทั้งนี้ การลงมติลักษณะนี้ต้องการเสียงสนับสนุนอย่างน้อย 2 ใน 3 ของสมาชิกที่เข้าร่วมการประชุม โดยไม่รวมประเทศที่งดออกเสียงและไม่เข้าร่วมการลงมติ

อย่างไรก็ตาม มี 24 ประเทศออกเสียงคัดค้าน รวมถึง รัสเซีย จีน เบลารุส คิวบา เกาหลีเหนือ อิหร่าน ซีเรีย นิการากัว คาซัคสถาน ลาว และเวียดนาม

นายจาง จวิน เอกอัครราชทูตจีนประจำยูเอ็น แถลงหลังการลงมติ ระงับสถานภาพสมาชิกของรัสเซีย ในยูเอ็นเอชอาร์ซี

ขณะที่ประเทศซึ่งงดออกเสียงต่อมติดังกล่าว มี 58 ประเทศ รวมถึง อินเดีย บราซิล แอฟริกาใต้ ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) จอร์แดน กาตาร์ คูเวต อิรัก ปากีสถาน สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน กัมพูชา และไทย เท่ากับว่า ในส่วนของสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) มีเพียงฟิลิปปินส์และเมียนมา ที่สนับสนุนมตินี้

หมีขาววิกฤติ! ‘มาตรการคว่ำบาตร’ พ่นพิษ ‘เศรษฐกิจรัสเซีย’ ดิ่งหนักสุดนับแต่สิ้นโซเวียต!

รัฐบาลสหราชอาณาจักรคาดการณ์ว่ารัสเซียกำลังมุ่งหน้าไปสู่ภาวะถดถอยที่ลึกที่สุดนับตั้งแต่การล่มสลายของสหภาพโซเวียต  โดยคาดว่าเงินรัสเซียกว่า 275,000 ล้านปอนด์ (358,520 ล้านดอลลาร์) ถูกอายัดจากการคว่ำบาตรจากนานาประเทศในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา

การวิเคราะห์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่ารัสเซียกำลังเข้าสู่ภาวะถดถอยที่ลึกที่สุดนับตั้งแต่การล่มสลายของสหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักรประมาณการว่า 60% ของทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของรัสเซียถูกระงับเนื่องจากการคว่ำบาตรระหว่างประเทศ

นอกจากนี้ รัฐบาลสหราชอาณาจักรยังเพิ่มลูกสาวของวลาดิมีร์ ปูตินเข้าไปในรายการคว่ำบาตร ตามรอยรัฐบาลสหรัฐฯ โดยประกาศให้ระงับทรัพย์สินของเคเทรินา ทิโคโนวา (Katerina Tikhonova) และมาเรีย โวรอนซอฟวา (Maria Vorontsova) ลูกสาววัยผู้ใหญ่ของปูติน และเซร์เกเยฟนา วิโนคูโรวา (Sergeyevna Vinokurova) ลูกสาวของรัฐมนตรีต่างประเทศเซอร์เก ลาฟรอฟ ทั้งสามคนถูกคว่ำบาตรจากสหรัฐอเมริกาเมื่อต้นสัปดาห์นี้

ลิซ ทรัสส์ รัฐมนตรีต่างประเทศสหราชอาณาจักร ระบุในถ้อยแถลงว่า “มาตรการคว่ำบาตรอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนของเราส่งผลกระทบต่อกลุ่มชนชั้นนำและครอบครัวของพวกเขา ในขณะที่เศรษฐกิจของรัสเซียเสื่อมโทรมในระดับที่รัสเซียไม่เคยพบเห็นตั้งแต่การล่มสลายของสหภาพโซเวียต”

“วิถีชีวิตที่ฟุ่มเฟือยของวงในของเครมลินจะถูกกำหนดเป้าหมายต่อไปตั้งแต่วันนี้ ในขณะที่สหราชอาณาจักรคว่ำบาตรลูกสาววัยผู้ใหญ่ของประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน และเซอร์เกย์ ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศของเขา” รัฐบาลสหราชอาณาจักรกล่าวในแถลงการณ์


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top