คำคมประจำวันอาทิตย์ที่ 16 เมษายน 2566
ไม่มีอาชีพไหน
เป็นงานที่ต่ำต้อย
จะมีก็เพียงทัศนคติเท่านั้น
ที่ต้อยต่ำ

ไม่มีอาชีพไหน
เป็นงานที่ต่ำต้อย
จะมีก็เพียงทัศนคติเท่านั้น
ที่ต้อยต่ำ
THE STATES TIMES ผนึก TV Direct แกะกล่องรายการใหม่ 'ถลกข่าว ถลกคน’ ถกทุกมิติเลือกตั้ง 66 แบบเฉพาะกิจช่วงก่อนปิดหีบ ชูคอนเซปต์ ชัดเจน!! เป็นกลาง!! เปิดปรากฎการณ์สังคมไทยยุคใหม่ที่คนไทย ‘ทุกคน-ทุกฟาก-ทุกฝั่ง’ ร่วม 'ถก' กันได้ ประเดิม EP แรกกับอดีต 2 ขั้วสุดต่าง ‘จตุพร พรหมพันธุ์’ และ ‘สุริยะใส กตะศิลา’ ดีเดย์ 15 เม.ย.นี้
(12 เม.ย.66) สำนักข่าวออนไลน์ THE STATES TIMES ร่วมกับ TV Direct ช่อง 76 (จานดาวเทียม PSI) เปิดตัวรายการ ‘ถลกข่าว ถลกคน’ รายการถกข่าวสุดร้อนแรงในช่วงกระแสการเมือง/การเลือกตั้ง 2566 กำลังระอุ โดยได้สื่อมวลชนอาวุโสสุดเก๋าแห่งวงการ ‘คุณสำราญ รอดเพชร’ มาเป็นผู้ดำเนินรายการ พร้อมกับ EP แรก ที่ได้ 2 ผู้คร่ำหวอดทางการเมือง อดีตขั้วการเมืองที่ต่างกันสุดขีด แต่วันนี้ ทั้งคู่สามารถมานั่งถกกันได้ในฐานะ ‘คนไทย’ ที่จะมาช่วยเคลียร์หลากมิติการเมือง และการเลือกตั้ง 66 แบบอินไซด์ ภายใต้เหตุและผลสุดสร้างสรรค์
เริ่มจาก คุณจตุพร พรหมพันธุ์ วิทยากรคณะหลอมรวมประชาชน และอดีตแม่ทัพหลักของกลุ่มคนเสื้อแดง ที่แง้มประเด็นเล็กๆ แต่ก็ชวนให้ตามติดแบบทันควัน ไม่ว่าจะเป็น “จุดยืนพรรคเพื่อไทยกับพลังประชารัฐ ทักษิณกับบิ๊กป้อม” หรือแม้แต่ "ลุงป้อม ผู้ส่งท่าทีก้าวข้ามความขัดแย้ง แต่วันนี้ก็อาจจะไม่ได้เป็นเช่นนั้น...ส่วน ลุงตู่ ที่บอกเพลียงพล้ำ ตอนนี้อาจพลิกจากแพ้เป็นผู้กำชัย เพราะจุดยืนชัดเจน และการลงมาสู่สนามการเมืองของ ‘อุ๊งอิ๊ง’ อาจทำให้เกมเพื่อไทยเปลี่ยน" เป็นต้น
ส่วนแขกรับเชิญอีกท่านอย่าง ศ.ดร. สุริยะใส กตะศิลา คณบดี วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต ก็แง้มปมถกที่ดุเดือดไม่แพ้กัน ไม่ว่าจะเป็น “ทิศทางการเลือกตั้งหนนี้ ที่เชื่อว่าจะใช้เงินจำนวนมาก ส่งผลให้เกิดทุจริตที่มากในอนาคต หรือแม้แต่หลายพรรคต่างเร่งออกนโยบายประชานิยม ซึ่งเป็นนโยบายที่น่ากลัว เพราะจะมีผลกระทบโยงไปยังเงินคงคลัง และงบประมาณของประเทศ” ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นหัวข้อถกเถียงเรียกน้ำย่อย ที่รอคอยคอการเมืองมาร่วมตามติด แบบไม่ควรพลาด!!
ด้าน นายณัฐภูมิ รัฐชยากร Chief Operating Officer THE STATES TIMES กล่าวถึงความร่วมมือผลิตรายการ ‘ถลกข่าว’ กับทาง TV Direct ในครั้งนี้ ว่า จุดเริ่มต้นในการทำรายการ มาจากข้อสงสัยในประเด็นทางการเมืองมากมายที่สังคมและประชาชนทั่วไปต้องการคำตอบ แต่ยังหามุมมองวิเคราะห์และกลั่นกรองอย่างมีชั้นเชิงให้กับสังคมได้ไม่มาก ขณะเดียวกันนักการเมืองจากพรรคต่างๆ มีทั้งที่คุ้นตาและไม่คุ้นชิน โดยเฉพาะนักการเมืองหน้าใหม่ ย่อมต้องการพื้นที่แสดงออกทางความคิด หรือ นำเสนอนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน นี่จึงเป็นที่มาที่ทำให้ ‘ถลกข่าว’ ต้องเกิดขึ้นมาในช่วงจังหวะนี้
วันนี้ THE STATES TIMES Story ขอเกาะกระแสเลือกตั้งแต่ไม่ใช่ปี พ.ศ. 2566 นี้ แต่จะขอย้อนกลับไปเรียนรู้อดีตกับวิธีการหาเสียงเลือกตั้งสมัยแรกของไทย เมื่อปี 2480 ว่ามีรูปแบบเหมือนหรือแตกต่างกับยุคปัจจุบันอย่างไร แล้วในยุคนั้น นักการเมืองเค้าประชาสัมพันธ์หาเสียงกันอย่างไร? มีหัวคะแนนหรือไม่? ติดตามกันได้ใน THE STATES TIMES Story ใน EP. นี้ได้เลย
รับชม THE STATES TIMES STORY ตอนอื่นๆ ได้ที่ : https://youtube.com/playlist?list=PL60bae1syuyLbSZPZIUmXvd6NiToeX5qW
🎥 ช่องทางรับชม
Facebook: THE STATES TIMES PODCAST
YouTube: THE STATES TIMES PODCAST
TikTok: THE STATES TIMES PODCAST
เหตุบังเอิญ
ไม่มีในโลก
ทุกอย่างล้วนถูกจัดสรร
ตามเหตุและผล
เปลี่ยนแปลงได้ด้วย...
“บุญกุศล”
ในช่วงสงกรานต์ หรือ ตะจ่าน ของทุกปี ชาวบ้านในหมู่บ้านสุขะ เมืองมัทดายามัน ภูมิภาคมัณฑะเลย์จะมีประเพณี ‘ก่อพระเจดีย์ทราย’ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว การก่อเจดีย์ทรายนั้น ไม่มีกระทำกันสำหรับวัดในเมียนมา หากแต่การก่อเจดีย์ทรายของที่นี่ คือ มรดกทางวัฒนธรรมจากสมัยอยุธยาที่สืบมาจนถึงปัจจุบัน
ในประเทศไทยนั้น ประเพณีก่อพระเจดีย์ทรายถือว่าเป็นประเพณีหนึ่ง ที่มีที่มาเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาโดยตรง โดยคนไทยผูกโยงประเพณีนี้เข้ากับคติความเชื่อเรื่องเวรกรรมในพระพุทธศาสนา มีการก่อพระเจดีย์ทรายถวายวัดเพื่อนำเศษดินทรายที่ติดเท้าออกจากวัดไปมาคืนวัดในรูปพระเจดีย์ทราย และเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาให้เป็นกุศลอานิสงส์
นอกจากประเพณีเพื่อเป็นพุทธบูชาแล้ว ยังเป็นกุศโลบายของคนในอดีต ให้มีการรวมตัวของคนในชุมชนเพื่อร่วมกันจัดประเพณีรื่นเริงเป็นการสังสรรค์สร้างความสามัคคีของคนในชุมชนด้วย
แต่สำหรับการก่อเจดีย์ทรายในเมียนมานั้น มีความเชื่อเรื่องพระเจดีย์ทราย ที่ต่างจากไทย โดยทางเมียนมามีความเชื่อว่าเม็ดทราย เสมือนตัวแทน ผู้สำเร็จพระอรหันต์ในพระพุทธศาสนา จำนวน นับไม่อาจประมาณได้เมื่อก่อกองทรายเสร็จ ก็กราบไหว้บูชา เสมือน พระเจดีย์ ในวัด ทั่วไป จนกว่ากองทราย จะยุบและพังในที่สุดโดยกองทรายที่ยุบและพังไปนั้นทางชาวบ้าน ก็นำไปเทไว้ตามธรรมชาติ หรือเทไว้ที่ริมตลิ่งแม่น้ำเพื่อให้ทรายกลับคืนสู่ธรรมชาติต่อไป
การก่อพระเจดีย์ทรายฝั่งเมียนมาอาจจะใช้เวลาประมาณ 2-3วัน เพราะต้องมีพิธีสวดอัญเชิญ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และ พระอรหันต์ มาสถิตย์อยู่ เสมือนเป็นเจดีย์ทั่วไป ซึ่งในบางชุมชนที่ไม่มีกำลังจะสร้างวัด หรือเจดีย์ เพื่อเฉลิมฉลองวันปีใหม่ ก็จะใช้ก่อพระเจดีย์ทรายขึ้นมา เพื่อเป็นการเคารพบูชาแทน พระพุทธเจ้า ไว้กราบไหว้ ในชุมชนนั้นๆ ซึ่งจะแตกต่างจากประเพณีของฝั่งไทยที่เป็นการขนทรายเข้าวัด เพื่อไปก่อสร้างเจดีย์เท่านั้น
และนี่คือมรดกอีกชิ้นหนึ่งที่ยังคงดำรงไว้ให้ลูกหลานแม้เวลาจะผ่านไปนับ 200 กว่าปีแล้วก็ตาม
เรื่อง: AYA IRRAWADEE
ปชป. ปราศรัยใหญ่ครั้งแรก 7 เม.ย. ที่ลานคนเมือง ‘จุรินทร์’ นำทัพขึ้นเวที พร้อมเวทีต่อไป 23 เม.ย.ที่อนุสาวรีย์พระเจ้าตากฯ
(6 เม.ย.66) นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์(ปชป.)ดูแลกทม. เปิดเผยว่า พรรคประชาธิปัตย์จะเปิดปราศรัยใหญ่ในวันศุกร์ที่ 7 เม.ย.ตั้งแต่เวลา 17.30 น. เป็นต้นไป ที่ลานคนเมือง เขตพระนคร นำการปราศรัยโดย นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคฯ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน เลขาธิการพรรคฯ น.ส.วทันยา บุนนาค ประธานคณะทำงานนวัตกรรมการเมือง กทม.นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ประธานคณะทำงานนโยบาย กทม. และตน พร้อมทั้งผู้สมัคร ส.ส. กทม.ทั้ง 33 คน และผู้สมัคร ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ ซึ่งการปราศรัยครั้งนี้จะเป็นการปราศรัยใหญ่ครั้งแรกของพรรคฯ ส่วนครั้งต่อไปจะจัดการปราศรัยใหญ่ที่บริเวณอนุสาวรีย์พระเจ้าตากสินมหาราช ในวันอาทิตย์ที่ 23 เม.ย. สำหรับการปราศรัยใหญ่ปิดท้ายก่อนลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง จะจัดขึ้นในวันศุกร์ที่ 12 พ.ค.ส่วนสถานที่จัดปราศรัยจะเป็นที่ไหนนั้นกำลังพิจารณาอยู่
“พรรคปชป. เชื่อมั่นว่าเวทีปราศรัยใหญ่ของพรรคทั้ง 3 เวทีนี้ จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับพี่น้องคนไทยทั้งประเทศที่จะช่วยกันลงคะแนนเสียงสนับสนุนผู้สมัครของพรรคฯทั้งแบบบัญชีรายชื่อ และผู้สมัครแบบเขตเลือกตั้งทั้ง 400 เขต ทั่วประเทศ ให้ได้มีโอกาสทำงานในฐานะ ส.ส. เพื่อประโยชน์สุขของพี่น้องประชาชนและประเทศชาติต่อไป” นายองอาจกล่าว
วันก่อนเห็นโพสต์ของคุณแข นักแสดงชื่อดัง ผ่านบัญชีเฟซบุ๊ก 'รัศมีแข Rusameekae' พออ่านจบแล้วก็เกิดอารมณ์หลากหลายต่าง ๆ นานา ซึ่งส่วนใหญ่ออกไปทางเข้าใจ แลระคนเห็นใจในสิ่งที่น้องแขต้องเผชิญครั้งวัยเด็ก โดยเนื้อหานั้น เธอว่าแบบนี้...
“ขอบพระคุณเพื่อน ๆ แม่ ๆ และคุณพ่อที่มีลูกในวงการมาก เพราะเด็ก ๆ ทุกคนที่แขเจอ ทำให้แขมีความสุขมาก ๆ ครับ แขเคยโดนเรื่องร้าย ๆ มาตั้งแต่เด็กครับ ทั้งถูกทำร้าย ถูกรังเกียจจากสีผิว เลยทําให้แขมีอาการซึ่งยังเป็นอยู่ครับ ขอเรียกว่าโรค ‘ไม่รังเกียจเราเหรอ’ แขจะ panic ทุกครั้ง เมื่อมีคนมาจับตัว มากอด หรือจับมือ จะมีคำถามขึ้นมาตลอดว่า ‘เค้าไม่รังเกียจเราใช่ไหม?’ โดยเฉพาะเวลาเจอลูกของเพื่อน ๆ หรือคนรู้จัก
"แข panic ครับ กลัวว่าเค้าจะไม่รังเกียจเราใช่ไหม ถ้าจะคุยจะเล่นกับลูกของเค้า ซึ่งทุก ๆ คนก็ยินดีให้เล่นกับลุงแข แล้วเมื่อไหร่ก็ตามที่แขได้อุ้มได้เล่นกับเด็ก ๆ ลึก ๆ แขจะร้องไห้ตลอดครับ เพราะเวลาเด็ก ๆ ยิ้มให้แข แขเหมือนเราไม่ได้เป็นตัวน่ารังเกียจครับ แล้วเด็ก ๆ ที่แขได้มีโอกาสเจอ ช่วยทำให้แขใจชื้นมาก ๆ ครับ แขรู้สึกเหมือนเราเป็นมนุษย์คนหนึ่งจริง ๆ ครับ สัญญาครับว่าจะเป็นลุงแขที่ดีที่สุดเพื่อหลาน ๆ ครับ”
ลักษณะอาการที่คุณแขเรียกว่า ‘ไม่รังเกียจเราเหรอ?’ น่าจะคล้ายกับ ‘โรคกังวลต่อการเข้าสังคม’ หรือ ‘Social Anxiety in Children & Adolescents’ โดยต้องขอย้ำว่าผู้เขียนมิได้เป็นแม้เศษเสี้ยวผู้เชี่ยวชาญที่กล้าบังอาจวินิจฉัยโรค และคุณรัศมีแขเองก็อาจไม่ได้อยู่ในข่ายนี้ เพียงแต่อยากยกเธอเป็นต้นธารแห่งการแบ่งปันความรู้สึกเท่านั้น
อาการของโรคนี้ ‘นายแพทย์ไกรสิทธิ์ นฤขัตพิชัย’ จิตแพทย์แห่งโรงพยาบาลมนารมย์ เคยเขียนเผยแพร่เพื่อเป็นวิทยาทานไว้ว่า ‘ความกังวลต่อการเข้าสังคม’ หรือที่เรียกว่า ‘โรคกลัวสังคม’ (Social Phobia) นั้น พบเห็นได้บ่อยในเด็กและวัยรุ่น ซึ่งอาจทำให้พ่อแม่หรือผู้ปกครองรู้สึกขัดอกขัดใจกับบุตรหลานของตนอย่างมากว่า ไม่กล้าแสดงออก หรือพ่อแม่อาจอับอายที่มีลูกขี้อาย โดยยิ่งพยายามผลักดันให้เด็ก ๆ เหล่านี้ ‘แสดงออก’ มากยิ่งขึ้น เช่น ส่งไปเต้นระบำขับร้องบนเวที (ที่มีคนดูเยอะ ๆ) สิ่งเหล่านี้นี่เองที่อาจยิ่งจะทำให้เด็กรู้สึกแย่กับตัวเองมากขึ้นที่ไม่อาจทำให้พ่อแม่พอใจได้
เริ่มจากความ ‘ขี้อาย’ จนกลายเป็นความ ‘กลัว’
ยิ่งคุณรัศมีแขเติบโตมาในสังคมที่ตนดูแปลกแยก ดังที่เคยเล่าออกทางสื่อบ่อย ๆ ว่า เธออาศัยอยู่ที่ยุโรป (สวีเดน) ด้วยผิวพรรณวรรณะ ประกอบกับความเป็น LGBTQ เข้าไปอีก องค์ประกอบความเป็น ‘แข’ จึงเริ่มต้นด้วยความ ‘อาย’ เป็นปฐม
เมื่อความกลัวต่อการถูกเฝ้ามอง (หรือประเมิน) จากคนอื่น เด็กวันวานเหล่านั้นก็จะเกิดความกลัวขึ้น โดยคิดว่าเขา (และเธอ) อาจทำหรือพูดอะไรที่ ‘เปิ่น - เชย - ผิด - งี่เง่า’ ต้องทำให้ตัวเองได้ ‘อาย’ ตกเป็นเป้าของการถูกวิพากษ์วิจารณ์
แถมคุณแขยังเคยโดนทำร้ายร่างกายด้วยอคติอันน่ารังเกียจอีก นั่นจึงเป็นเหตุที่ต้องตั้งคำถามเสมอมาว่า ‘ไม่รังเกียจเราเหรอ?’ แม้ทุกวันนี้เธอมีชื่อเสียงโด่งดังท่ามกลางคนรักใคร่แทบทั้งประเทศ ด้วยความเป็นพลเมืองระดับ ‘คุณภาพ’
ว่ากันตามจริงคนไทยอายุสี่สิบขึ้นวันนี้ล้วนผ่านประสบการณ์ถูก ‘บูลลี่’ (Bully) มามากบ้างน้อยบ้างตามแต่สภาพสังคมที่เติบโต ผู้เขียนเองก็เคย คนรอบข้างก็เคย โดยเราเองอยู่ในสถานะทั้งถูกบูลลี่และเป็นคนบูลลี่ (Abulligy) ด้วย ‘คำเหยียด’ ซึ่งแทบไม่มีผลต่อจิตใจแต่อย่างใด ต่างจากคนรุ่นปัจจุบัน
เมื่อวันที่ (5 เม.ย.66) บริษัท SheRio & Co ได้จัดกิจกรรม EVEDEN CHAPTER GENESIS ได้เปิดตัวการ์ดเกมน้องใหม่ล่าสุดภายใต้ฝีมือคนไทย กับเกมที่ชื่อว่า 'Eveden : Next Level Card Game' ด้วยการนำการ์ดเกมเข้าสู่โลกของ Digital
นายฉัตรชัย คุณปิติลักษณ์ รองผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) กล่าวถึงผู้พัฒนาเกม Eveden ว่า บริษัท SheRio & Co ถือเป็นบริษัทคนไทยที่มีความโดดเด่น สามารถนำเทคโนโลยีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับดิจิทัลมาต่อยอดในเกมได้ ซึ่งเป็นโอกาสอันดีในการช่วยกระตุ้นให้อุตสาหกรรมเกมในประเทศเกิดแรงกระตุ้น และมีการพัฒนาให้เกิดนักพัฒนาหน้าใหม่อย่างต่อเนื่อง ภายใต้โอกาสและความเซ็กซี่ของธุรกิจในเซกเตอร์นี้ ที่ไม่ว่าจะมีมรสุมต่างๆ เข้ามากี่ระลอก ตัวอุตสาหกรรมเกมก็ยังโตต่อเนื่องได้ตลอดเวลา
ด้าน นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ อดีตปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวว่า ศักยภาพของอุตสาหกรรมเกมไทย มีโอกาสที่จะพัฒนาไปสู่อุตสาหกรรมระดับโลกได้ไม่ยาก แต่รัฐบาลต้องเข้าใจ ผลักดัน และคอยช่วยเหลือธุรกิจสตาร์ตอัปเหล่านี้ รวมถึงให้การสนับสนุนวงการ eSports ควบคู่กันไป เพื่อให้ระบบนิเวศของอุตสาหกรรมและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องนี้เดินหน้าและกล้าที่จะพัฒนานวัตกรรมเกมในรูปแบบใหม่ๆ ป้อนสู่ตลาดโลกและต่อยอดไปสู่เวทีแข่งขัน eSports ในระดับนานาชาติต่อไป
‘ประวิทย์ สุวรรณสัญญา (ปู้)’ ทายาทห้างยาสุวรรณโอสถ ผักไห่ ในวัยเพียง 29 ปี ซึ่งครั้งหนึ่งได้มีโอกาสเป็นอาสาสมัครช่วยชาวบ้านในช่วงน้ำท่วมทำให้เห็นความเดือดร้อนของประชาชนชาวผักไห่ เลยตั้งใจอยากช่วยเหลือพี่น้องชาวอยุธยาให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จึงสนใจลงการเมืองในนามพรรคชาติไทยพัฒนา แนวคิดของนักการเมืองรุ่นใหม่ไฟแรงจะเป็นอย่างไรติดตามรายละเอียดในคลิปนี้…
ดำเนินรายการโดย ไอยรา อัลราวีย์
Content Manager THE STATES TIMES
แขกรับเชิญ คุณประวิทย์ สุวรรณสัญญา (ปู้)
ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. พระนครศรีอยุธยา เขต 5 พรรคชาติไทยพัฒนา
ติดตามได้ใน THE STATES TIMES PODCAST
และสามารถรับชมคลิปอื่น ๆ ได้ที่ : https://youtube.com/playlist?list=PL60bae1syuyLBnnkZJ5-QgtyID5DqrnG4
🎥 ช่องทางรับชม
Facebook: THE STATES TIMES PODCAST
YouTube: THE STATES TIMES PODCAST
TikTok: THE STATES TIME PODCAST
ถ้าสังเกตุดีๆ บนท้องถนนจะมีรถยนต์ EV แสนน่ารักเอาใจคนรักแมวอย่าง ORA GOOD CAT GT ผลิตโดย เกรท วอลล์ มอเตอร์ จากประเทศจีนที่มาลงหลักปักฐานสร้างโรงงานในไทย พร้อมบุกตลาดอย่างจริงจังในตลาดรถยนต์ EV ในคลิปนี้อธิบายถึงจุดเด่นที่น่าสนใจของ ORA GOOD CAT GT ผู้สนใจรถยนต์ EV สุดน่ารักรุ่นนี้ติดตามชมคลิปนี้ได้เลย
TIME TO DRIVE ถึงเวลาขับเคลื่อน EP.9
ได้รับเกียรติจาก 'คุณต้น กันต์ เย็นสบาย'
กรรมการบริหารสมาคมผู้สื่อข่าวรถยนต์และรถจักรยานยนต์ไทย
มาแชร์ข้อมูลของรถยนต์ไฟฟ้าในคลิปนี้ มาติดตาม การทำตลาดของ เกรท วอลล์ มอเตอร์ จากจีน พร้อมจุดเด่นของรถสุดน่ารัก ORA GOOD CAT GT ในงบประมาณล้านต้นๆ !! รายละเอียดเป็นอย่างไรติดตามกันได้ใน EP นี้
ดำเนินรายการโดย 'กันย์ ฉันทภิญญา'
Content Manager THE STATES TIMES
ขับไปเพลิดเพลินกับคลิปอื่นๆ ต่อได้ที่ : https://youtube.com/playlist?list=PL60bae1syuyJXNFNia9poSZGuZNjAZrQf
🎥 ช่องทางรับชม
Facebook: THE STATES TIMES PODCAST
YouTube: THE STATES TIMES PODCAST
Blockdit: THE STATES TIME