Monday, 29 April 2024
สหรัฐ

'กลาโหมจีน' กร้าว!! 'ไม่ลังเลที่จะเริ่มสงคราม' หากไต้หวันกล้าประกาศเอกราชแยกตัวจากจีน

รัฐมนตรีกลาโหมของจีน ประกาศต่อรัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ ว่า จีนไม่ลังเลที่จะเริ่มสงคราม หากไต้หวันประกาศเอกราช

โดยคำประกาศดังกล่าวเกิดขึ้นระหว่างการประชุมด้านความมั่นคง ‘แชงกรี-ลา ไดอะลอก’ ที่ประเทศสิงคโปร์ ที่เปิดฉากขึ้นแล้วในวันนี้ 10 มิถุนายน โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เจ้าหน้าที่ระดับสูง และเหล่าผู้นำภาคธุรกิจจากทั้งภูมิภาคเอเชีย และกลุ่มประเทศตะวันตกเข้าร่วม

นี่ถือเป็นครั้งแรกที่รัฐมนตรีกลาโหมจีน 'เว่ย เฟิ่งเหอ' เผชิญหน้ากับ ลอยด์ ออสติน รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ แบบต่อหน้าเป็นครั้งแรก โดยเฟิ่งเหอเตือนออสตินว่า “หากใครกล้าแยกไต้หวันออกจากจีน กองทัพจีนจะไม่ลังเลที่จะเริ่มสงคราม ไม่ว่าจะต้องสูญเสียเท่าไหร่ก็ตาม” 

ไม่เพียงเท่านั้น เฟิ่งเหอ ยังให้คำมั่นว่าจีนจะ “ทำลายแผนการประกาศเอกราชของไต้หวันให้ป่นไม่มีชิ้นดี และจะธำรงไว้ซึ่งความเป็นเอกภาพของมาตุภูมิ” ตามแถลงการณ์ของกระทรวงกลาโหมจีน

เขายังย้ำว่า “ไต้หวันคือของจีน...การใช้ไต้หวันเพื่อกดดันจีน จะไม่มีวันสำเร็จ”

ด้านออสตินระบุว่า สหรัฐฯ “ยืนกรานถึงความสำคัญของสันติภาพและเสถียรภาพทั่วช่องแคบไต้หวัน และต่อต้านความพยายามเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ปัจจุบัน และร้องขอให้จีนยับยั้งช่างใจต่อการกระทำที่จะบั่นทอนเสถียรภาพต่อไต้หวัน”

NASA และ Roscosmos องค์กรสำรวจอวกาศแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา และ รัสเซีย บรรลุข้อตกลงระยะยาวฉบับใหม่ ที่จะยังคงใช้สถานีอวกาศนานาชาติร่วมกัน แถมกำลังจะมีโครงการแลกเปลี่ยนนักบิน และแชร์ไฟลต์สู่อวกาศร่วมกันในเดือนก.ย. นี้

เมื่อวันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม 65 ที่ผ่านมา NASA และ Roscosmos องค์กรสำรวจอวกาศแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา และ รัสเซีย เพิ่งบรรลุข้อตกลงระยะยาวฉบับใหม่ ที่จะยังคงใช้สถานีอวกาศนานาชาติร่วมกัน แถมกำลังจะมีโครงการแลกเปลี่ยนนักบิน และแชร์ไฟลต์สู่อวกาศร่วมกันในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้

Roscosmos หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านโครงการอวกาศของรัสเซียกล่าวว่า ข้อตกลงนี้ เป็นการเห็นชอบร่วมกันทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อพัฒนากรอบความร่วมมือของโครงการสถานีอวกาศนานาชาติ โดยมีเป้าหมายสำคัญคือการสำรวจอวกาศเพื่อสันติ 

จากข้อตกลงนี้ จะทำให้ทั้งสหรัฐฯ และ รัสเซีย ยังคงใช้สถานีอวกาศนานาชาติร่วมกันได้ และนักบินอวกาศสหรัฐฯ ยังสามารถเข้าถึงยานแคปซูล Suyuz ของรัสเซียได้ด้วย 

ส่วนโครงการแลกเปลี่ยนนักบินอวกาศจะเริ่มต้นในเดือนกันยายน โดยเที่ยวบินแรก สหรัฐอเมริกาจะส่ง แฟรงค์ รูบิโอ นักบินอวกาศจาก NASA ไปกับยานอวกาศของมอสโคว์ ที่ส่งจากฐานปล่อยยาน ไบโคนูร์คอสโมโดรม ในประเทศคาซัคสถาน ร่วมกับนักบินอวกาศของรัสเซียอีก 2 คน 

ในทางกลับกัน รัสเซียก็จะส่ง แอนนา คิคินา นักบินอวกาศหญิงของรัสเซีย ไปกับยาน Space X Dragon พร้อมลูกเรือชาวอเมริกัน 2 คน และจากญี่ปุ่นอีก 1 คน โดยปล่อยยานจากศูนย์อวกาศเคเนดี ในรัฐฟลอริด้า และนี่จะเป็นครั้งแรกที่นักบินอวกาศรัสเซียจะได้เดินทางสู่อวกาศไปกับยานของ Space X อีกด้วย

ในขณะที่สหรัฐอเมริกา และรัสเซีย ตัดขาดความสัมพันธ์แทบทุกอย่างบนโลก เนื่องจากความขัดแย้งในกรณีข้อพิพาทรัสเซีย-ยูเครน แต่ความร่วมมือกันในโครงการสถานีอวกาศนานาชาติ อาจกลายเป็นโปรเจกต์เดียวที่ยังเหลืออยู่ 

อย่าทำให้อะไร มันแย่กว่านี้! 'ทรัมป์' ซัดประธานรัฐสภาฯ สหรัฐ กรณีเดินทางไปใต้หวันเพื่อยั่วยุจีน| NEWS GEN TIMES EP.62

✨ อย่าทำให้อะไร มันแย่กว่านี้! 'ทรัมป์' ซัดประธานรัฐสภาฯ สหรัฐ กรณีเดินทางไปใต้หวันเพื่อยั่วยุจีน

✨ เคราะห์ซ้ำ!! กรรมซัด!! 'ชากีร่า' เสี่ยงโดนคุก 8 ปี และปรับอีก 900 ล้านบาท จากคดีเลี่ยงภาษีในสเปน

✨ พรรคการเมืองสายกลาง!! อดีต ส.ส.รีพับลิกัน-เดโมแครต จับมือ ตั้งพรรคทางเลือกที่ 3 ในชื่อ Forward เพื่อคนที่เบื่อการเมืองและพวกสุดโต่งแบบ ‘ซ้ายจัด-ขวาจัด’

NEWS GEN TIMES ชวนคิด กับ กิตติธัช

โดย อ.ต้อม - กิตติธัช ชัยประสิทธิ์ นักวิชาการอิสระและอาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

สหรัฐฯ ยึกยัก!! ไม่ปล่อยเงินสำรองคืนให้อัฟกานิสถาน ตราบใดที่รัฐบาลยังเป็นกลุ่มตอลิบาน

โจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐฯ ยังคงยืนกรานที่จะยึดเงินสำรองต่างประเทศมูลค่า 7 พันล้านเหรียญของอัฟกานิสถาน ที่ฝากไว้ในธนาคารกลางสหรัฐฯ รวมถึงหยุดการเจรจากับรัฐบาลตอลิบานเกี่ยวกับการขอคืนเงินสำรองด้วย หลังจากที่สหรัฐฯ ได้ส่งโดรนพิฆาตลอบสังหารปลิดชีพ อัยมัน อัซเซาะวาฮิรี ผู้นำกลุ่มอัลกออิดะห์ ถึงกลางกรุงคาบูล ในอัฟกานิสถาน

แต่ทั้งนี้ รัฐบาลสหรัฐฯ ยินดีที่จะมอบเงินช่วยเหลือให้แก่ชาวอัฟกานิสถานอีก 150 ล้านเหรียญผ่านกองทุน USAID (หน่วยงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐ) ซึ่งจากข้อมูลของ USAID แถลงว่า สหรัฐอเมริกาเป็นชาติที่ให้เงินช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่อัฟกานิสถานมากที่สุด โดยรายงานตัวเลขที่ 782 ล้านเหรียญ นับตั้งแต่ตุลาคม 2020 เป็นต้นมา แต่ก็จะไม่ยอมคุยเรื่องการคืนเงินสำรองต่างประเทศ 7 พันล้านเหรียญให้แก่อัฟกานิสถานตามที่รัฐบาลตอลิบานร้องขอต่อไป 

เมื่อถามถึงเหตุผล ทางรัฐบาลสหรัฐฯ ได้อ้างว่ามีคนในของรัฐบาลตอลิบานให้ที่พักพิงแก่ อัยมัน อัซเซาะวาฮิรี ผู้นำกลุ่มอัลกออิดะห์ ที่ทางสหรัฐฯ ขึ้นบัญชีเป็นกลุ่มก่อการร้าย และต้องการตัว เพราะเชื่อว่า อัยมัน คือ ผู้อยู่เบื้องหลังในการวางแผนก่อวินาศกรรม 11 กันยาฯ ที่ตึกเวิล์ดเทรด เซ็นเตอร์ ในปี 2001 เท่ากับว่ารัฐบาลตอลิบาน ยังให้การสนับสนุนกลุ่มก่อการร้าย ทางสหรัฐฯ จึงไม่อาจปล่อยเงินสำรองต่างประเทศของอัฟกานิสถานคืนให้ได้

'กอบศักดิ์' เผยประธานเฟดพูด 'ตัดรอนไม่เหลือเยื่อใย' จ่อขึ้นดอกเบี้ย สยบเงินเฟ้อ ซัดหุ้นร่วงระเนระนาด

ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และกรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า...

9 นาทีเขย่าโลก
“ตัดรอน ไม่เหลือเยื่อใย”
นี่น่าจะเป็นข้อสรุปที่ตรงสุด สำหรับสุนทรพจน์ของท่านประธานเฟดเมื่อคืนนี้
1,301 คำที่ชี้ว่า “เฟดจะไม่ใจอ่อน และจะไม่เปลี่ยนใจ จนเงินเฟ้อลง”

We will keep at it until we are confident the job is done.

จึงไม่น่าแปลกใจว่า เมื่อคืนนี้ 
Dow Jones -1,008 จุด หรือ -3.03%
Nasdaq -498 จุด หรือ -3.94%
Bitcoin -1,500 ดอลลาร์ ลงมาเหลือ 20,200 หรือ -6.75%
Ethereum -200 ดอลลาร์ ลงมาเหลือ 1,500 หรือ -12%
ระเนระนาด 

ที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะนักลงทุนแอบหวังว่า
เงินเฟ้อสหรัฐที่ลงมาให้เห็น 1 เดือนแล้ว เป็นสัญญาณที่ดี
หมายความว่า ดอกเบี้ยขึ้นไปไม่มาก แค่ 3.66% ก็จะจบ
ต้นปีหน้า เฟดน่าจะพอแล้ว
และน่าจะเริ่มลดดอกเบี้ยในช่วงกลางปี

แต่สิ่งที่ท่านประธานเฟดพูดเมื่อคืน มันช่างต่างจากที่นักลงทุนคิดไว้มาก
ท่านบอกว่า

📌 สิ่งที่คณะกรรมการนโยบายการเงินสหรัฐหมกหมุ่น focus อยู่ ก็คือ เอาเงินเฟ้อลงมาที่ 2%
หน้าที่ของเรา คือ การสยบเงินเฟ้อให้ได้ 
ถ้าเฟดผิดพลาดเรื่องนี้ เศรษฐกิจก็จะไม่สามารถขยายตัวอย่างยั่งยืน 
เงินเฟ้อจะสร้างความเสียหายแก่ทุกคน

📌 การเอาเงินเฟ้อกลับเข้าเป้า “ต้องใช้เวลา” 
ต้องใช้นโยบายที่ “เข้มข้น” เข้าจัดการ
จะนำมาซึ่ง เศรษฐกิจที่ขยายตัวต่ำกว่าปกติ
คนต้องตกงาน 
ธุรกิจต้องปิด
คนทั่วไป อาจจะไม่สามารถจ่ายหนี้ได้
แต่นี่คือต้นทุนที่เราต้องแบกรับไว้ เพราะถ้าพลาดจะเสียหายยิ่งกว่านี้

📌 ล่าสุด เศรษฐกิจสหรัฐเริ่มชะลอลงบ้าง 
แต่โดยรวมยังมีแรงส่งที่ดีอยู่
ตลาดแรงงานยังแข็งแกร่งมาก 
เงินเฟ้อกำลังกระจายไปภาคส่วนต่างๆ
ส่วนที่ลงมา 1 เดือน ถือเป็นข่าวดี 
แต่ยังไม่พอ 
ยัง falls far short ที่จะทำให้กรรมการมั่นใจว่าเงินเฟ้อจะลง

📌 เฟดจะปรับดอกเบี้ยไประดับที่เข้มข้น ที่ชะลอเศรษฐกิจลงมา 
ระดับปัจจุบันที่ 2.25-2.5% เป็นระดับที่เรียกว่า Neutral rate
แต่จุดนี้ไม่ใช่จุดที่เฟดจะหยุดหรือชะลอการขึ้นดอกเบี้ย 
โดยการขึ้นดอกเบี้ยครั้งหน้า อาจจะเป็น .75% 
เราจะดูข้อมูลที่ออกมาอีก 1 เดือน แล้วตัดสินใจว่าเหมาะสมหรือไม่ 
ทั้งนี้ ในอนาคต เมื่อเฟดขึ้นดอกเบี้ยไปได้สูงพอ อัตราการขึ้นอาจจะชะลอลงได้

📌 ในการที่จะเอาเงินเฟ้อลงมา เฟดคงต้อง “คงดอกเบี้ยในระดับสูงเป็นเวลาที่นานพอควร” 
เพราะบทเรียนในอดีตชี้ว่า การลดลงเร็วเกินไป เชื้อเงินเฟ้อจะไม่ตาย และจะเกิดปัญหาอีกรอบได้
โดยเมื่อมิถุนายน กรรมการมองว่าจุดสูงสุดของดอกเบี้ยรอบนี้ต้องขึ้นไปอย่างน้อยใกล้ๆ 4% 
แต่ในการประชุมครั้งหน้าจะบอกอีกทีว่าจะต้องปรับเพิ่มขึ้นอีกหรือไม่ เท่าไหร

📌 สิ่งที่กรรมการคิด หารือแนวทางจัดการเงินเฟ้อ ตั้งอยู่บนบทเรียนสำคัญจากอดีต 3 เรื่อง

📌 เรื่องแรก – เป็นหน้าที่ของธนาคารกลางในการจัดการเงินเฟ้อ
ธนาคารกลางมีเครื่องมือในการสู้ศึกดังกล่าว ที่เคยใช้ได้ผลมาในอดีต
รอบนี้ก็เช่นกัน “ต้องเอาเงินเฟ้อลงมาให้ได้ อย่างไม่มีเงื่อนไขใดใด” 
We are committed to doing that job 
เฟดมุ่งมั่นที่จะดำเนินการเรื่องนี้ โดยไม่ลังเล
(หมายความว่า เศรษฐกิจจะถดถอย คนจะตกงาน บริษัทจะปิดกิจการ ล้มละลาย รัฐบาลสหรัฐจะจ่ายหนี้ยากขึ้น เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องไปปรับตัวเอง)

📌 เรื่องที่สอง – การคาดการณ์เงินเฟ้อของทุกคนสำคัญมาก
ในช่วง 1970 เงินเฟ้อสูง คนเคยชิน 
ยิ่งเฟ้อ ก็ยิ่งเอามาใช้ในการปรับขึ้นราคาสินค้า เงินเดือน
Paul Volcker บอกว่า หน้าที่ของเฟดคือ ตีหลังของเงินเฟ้อให้หัก 
และทำให้เงินเฟ้อไม่สามารถต่อยอดตนเองได้
Alan Greenspan บอกว่า เป้าหมายคือ เราต้องทำให้เงินเฟ้อต่ำ ต่ำจนทุกคนไม่ได้ใส่ใจ 
แต่ปัญหาใหญ่ของเราก็คือ ช่วงนี้ เงินเฟ้ออยู่ในใจทุกคน 
ยิ่งปล่อยไว้นาน เงินเฟ้อก็จะสามารถฝังรากลึก ต่อยอดตัวเองได้

📌 เรื่องที่สาม - เราต้องไม่วอกแวก ลังเล
อดีตสอนว่า ยิ่งช้า ยิ่งเสียหาย
ก่อนที่ Paul Volcker จะจัดการเงินเฟ้อสำเร็จ 
เฟดล้มเหลวแล้ว ล้มเหลวอีก เป็นเวลา 15 ปี
(ที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะใจอ่อน เปลี่ยนนโยบายเร็วเกินไป เชื้อยังไม่ตาย ก็รีบเลิกให้ยา)
นโยบายการเงินที่เข้มข้น ดอกเบี้ยที่สูง ที่ค้างไว้ยาวนานพอ 
คือ หัวใจสำคัญในการหยุดเงินเฟ้อไม่ให้เพิ่มขึ้น และเอาเงินเฟ้อลงมา
A lengthy period of very restrictive monetary policy was ultimately needed to stem the high inflation and start the process of getting inflation down to the low and stable levels…
เราต้องมุ่งมั่นในการสู้ศึกครั้งนี้ เพื่อจะไม่พลาดเหมือนในอดีต

📌 ท่านประธานเฟดจบสุนทรพจน์โดยบอกว่า 
These lessons are guiding us as we use our tools to bring inflation down. We are taking forceful and rapid steps to moderate demand so that it comes into better alignment with supply, and to keep inflation expectations anchored. We will keep at it until we are confident the job is done.
บทเรียนทั้งสามเรื่อง คือ กรอบที่เราใช้ในการจัดการเงินเฟ้อรอบนี้
เฟดจะขึ้นดอกเบี้ย “ให้แรงพอ” และ “เร็วพอ” เพื่อจัดการเงินเฟ้อ
และเราเดินหน้าต่อไป ไม่เปลี่ยนใจ 
จนเรามั่นใจว่าเงินเฟ้อยอมสยบ กลับเข้าเป้า

สหรัฐฯ แอบหวั่น!! ‘คลังแสง’ เริ่มร่อยหรอ ไม่อยู่ในระดับที่ไว้ใจได้ หากต้องทำสงคราม

วอลล์สตรีทเจอร์นัล เผย รัฐบาลสหรัฐฯ ส่งอาวุธป้อนกองทัพยูเครนมากจน ‘คลังแสง’ ของเพนตากอนเริ่มที่จะ ‘ขาดแคลน’ อาวุธบางประเภทเข้าให้แล้ว

วอลล์สตรีทอ้างแหล่งข่าวในกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ โดยระบุว่า กระสุนขนาด 155 มม. ซึ่งใช้กับปืนใหญ่อัตตาจร M777 ฮาววิตเซอร์ เหลืออยู่ในคลังแสงน้อยมาก จนทำให้เจ้าหน้าที่บางคนรู้สึกกังวล

เจ้าหน้าที่เพนตากอน (กลมโหม) ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม ยืนยันกับวอลล์สตรีทว่า จำนวนกระสุน 155 มม. ในคลัง “ยังไม่ถึงขั้นวิกฤต” แต่ก็ “น้อยจนน่ากังวล” และ “ไม่อยู่ในระดับที่ไว้วางใจได้ หากต้องทำสงคราม”

สำหรับปืนใหญ่ฮาววิตเซอร์ ถือเป็นปืนใหญ่ลากจูงที่สามารถยิงโจมตีเป้าหมายซึ่งอยู่ห่างไกลออกไปหลายไมล์ และตามข้อมูลของเพนตากอน ณ วันที่ 24 ส.ค. สหรัฐฯ รับปากจะส่งปืนใหญ่ M777 ฮาววิตเซอร์ ให้ยูเครนแล้วทั้งหมด 126 กระบอก รวมถึงกระสุนขนาด 155 มม. อีกราวๆ 806,000 นัด

ขณะที่สัปดาห์ที่แล้ว รัฐบาลสหรัฐฯ ได้รวมกระสุนขนาด 155 มม. อีก 245,000 นัดเข้าไว้ในแพ็กเกจช่วยเหลือยูเครนมูลค่า 2,980 ล้านดอลลาร์ ซึ่งถือเป็นความช่วยเหลือทางทหารล็อตใหญ่ที่สุดที่วอชิงตันเคยมอบให้เคียฟ นับตั้งแต่รัสเซียเปิดศึกรุกรานยูเครนเมื่อวันที่ 24 ก.พ. 65

สหรัฐฯ กันท่าบริษัทที่รัฐหนุนงบห้ามลงทุนในจีน 10 ปี ฟากจีนชูสถาบันรัฐ เร่งพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงเข้าต่อกร

การแข่งขันในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ระหว่างสหรัฐฯ และจีนนั้นเข้มข้นมากขึ้นเรื่อยๆ โดยล่าสุดผู้นำจีนสั่งรวมทุกองคาพยพในการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงให้ได้ ขณะที่สหรัฐฯ ออกกฎใหม่ห้ามบริษัทที่ได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจากรัฐบาลสหรัฐฯ ลงทุนในจีนเป็นเวลา 10 ปี 

รัฐบาลสหรัฐฯ ออกกฎระเบียบใหม่กำหนดว่า บริษัทด้านเทคโนโลยีที่รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลกลางสหรัฐฯ จะไม่สามารถสร้างโรงงานเกี่ยวกับเทคโนโลยีอันก้าวหน้าในจีนได้เป็นเวลา 10 ปี โดยมีเป้าหมายในการสร้างอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ในประเทศ และมีขึ้นหลังภาคธุรกิจได้เรียกร้องให้รัฐบาลสหรัฐฯ สนับสนุนภาคเอกชนมากกว่านี้ เพื่อลดการพึ่งพาจีน

‘จีนา ไรมอนโด’ รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐฯ อธิบายเนื้อหาของกฎหมาย US Chips and Science Act ว่า รัฐบาลจะบังคับใช้มาตรการเหล่านี้ เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ที่ได้รับทุนด้านชิปจะไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้เงินไปลงทุนในจีน พวกเขาจะไม่สามารถพัฒนาเทคโนโลยีล้ำสมัยในจีนได้เป็นเวลา 10 ปี แต่บริษัทที่รับเงินช่วยเหลือนั้นจะสามารถขยายโรงงานในจีนได้ก็ต่อเมื่อ เพื่อรองรับตลาดจีนเท่านั้น

เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ได้ลงนามกฎหมายทุ่มงบวิจัยมูลค่า 2.8 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 10 ล้านล้านบาท ในอุตสาหกรรมวิทยาศาสตร์และการผลิตเทคโนโลยีขั้นสูง ท่ามกลางความกังวลว่าสหรัฐฯ กำลังจะสูญเสียเทคโนโลยีล้ำสมัยให้แก่จีน ซึ่งงบประมาณดังกล่าวครอบคลุมการลดภาษีให้บริษัทต่างๆ ที่สร้างโรงงานผลิตชิปคอมพิวเตอร์ในสหรัฐฯด้วย

ปัจจุบันสหรัฐฯ ผลิตชิปราว 10% ของอุปทานเซมิคอนดักเตอร์โลก ลดลงจากที่เคยผลิตได้สัดส่วนถึงเกือบ 40% ในปี 1990 

ในฝั่งของจีน มีความเคลื่อนไหวเช่นกัน ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงของจีน ได้เรียกร้องให้จีนยกระดับการพัฒนาเทคโนโลยีที่สำคัญต่อความมั่นคงของชาติ ในระหว่างการประชุมของพรรคคอมมิวนิสต์ที่มีบรรดาเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านนโยบายเข้าร่วม

11 กันยายน พ.ศ. 2544 ครบรอบ 21 ปี เหตุการณ์ ‘9/11’ เหตุวินาศกรรมที่โลกไม่ลืม

วันนี้ เมื่อ 21 ปีก่อน เกิดเหตุการณ์ช็อกโลก ‘วินาศกรรม 11 กันยายน’ หรือ ‘9/11’ เมื่อผู้ก่อการร้ายจี้เครื่องบินพุ่งชนตึกต่างๆ ในสหรัฐ อเมริกา คร่าชีวิตผู้คนกว่า 3 พันคน

เหตุการณ์วินาศกรรม ‘วินาศกรรม 11 กันยายน’ หรือ ‘9/11’ นับเป็นเหตุการณ์ช็อกโลกครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จากฝีมือของกลุ่มผู้ก่อการร้าย ที่ได้จี้เครื่องบินโดยสาร 4 ลำ เพื่อก่อเหตุ

- ลำแรกเป็นเครื่องบินพานิชย์ โบอิง 767-200 เที่ยวบินที่ 11 ของสายการบินอเมริกันแอร์ไลน์พุ่งเข้าชนตึก เวิร์ลเทรดเซ็นเตอร์ 1 ในเวลา 8.45 น. ตามเวลาในท้องถิ่น จากนั้นอีกประมาณ 18 นาทีต่อมา

- ลำที่ 2 คือเครื่องบินโบอิง 767-200 เที่ยวบินที่ 175 ของสายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ก็พุ่งเข้าชนตึก เวิร์ลเทรดเซ็นเตอร์ 2 ตึกแฝดที่เป็นสัญลักษณ์ของทุนนิยมและนิวยอร์ก จากนั้นเวลาประมาณ 9.40 น.

ไบเดนขู่ ‘สี จิ้นผิง’ ระวังหายนะจะมาเยือน หากคิดจะช่วยเหลือรัสเซีย

โจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐฯ ให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อว่า เขาได้พูดคุยกับ สี จิ้นผิง ผู้นำจีน ที่กำลังตัดสินใจผิดพลาดอย่างมหันต์ที่คิดจะฝ่ามาตรการคว่ำบาตรของชาติตะวันตกเพื่อเข้าไปช่วยเหลือรัสเซีย

สถานีข่าวช่อง CBS ของสหรัฐฯ ได้ออกอากาศงานสัมภาษณ์ โจ ไบเดน เมื่อวันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน 65 ที่ผ่านมา โดย ไบเดน กล่าวว่า เขาได้มีโอกาสพูดคุยกับสี จิ้นผิง ผ่านทางโทรศัพท์เมื่อไม่นานมานี้ และได้บอกกับผู้นำจีนอย่างเด็ดขาดว่า หากจีนมั่นใจว่า นักธุรกิจชาวอเมริกัน และชาติพันธมิตรอื่นๆ ยังคิดที่จะไปลงทุนในจีนอยู่ หลังจากที่จีนยังคงเลือกที่จะช่วยเหลือคบค้ากับรัสเซีย และเพิกเฉยต่อมติคว่ำบาตรของพันธมิตรชาติตะวันตก ขอบอกเลยว่า ผู้นำจีนคิดผิดอย่างมหันต์ และ จีนจะต้องรับผลกระทบหนักอย่างแน่นอนจากความผิดพลาดของตัวเอง 

โจ ไบเดน กล่าวต่อไปว่า ที่โทรไปนี่ ไม่ได้แค่ไปขู่ แต่เป็นการเตือนให้จีนได้รู้ถึงผลที่จะตามมาหากยังไม่คิดที่จะสนใจมาตรการคว่ำบาตรของตะวันตก แต่ทั้งนี้ ไบเดน ยอมรับว่า จนถึงตอนนี้ยังไม่มีหลักฐานชี้ว่าจีนได้ส่งอาวุธ และทรัพยากรอื่นๆ ไปช่วยเหลือตามที่รัสเซียร้องขอ และไบเดนก็เชื่อมั่นว่า จีนยังต้องพึ่งพารายได้จากตลาดตะวันตกเป็นหลัก ดังนั้นจีนคงไม่ทำอะไรแตกแถวที่จะสร้างความหายนะให้กับเศรษฐกิจของตัวเอง

เศรษฐกิจรัสเซียได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากมาตรการคว่ำบาตรของชาติตะวันตกหลังจากที่รัสเซียนำทัพบุกยูเครนตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นมา ดังนั้นจีนจึงกลายเป็นตลาดสำคัญของรัสเซีย ทั้งการส่งออกน้ำมัน และสินค้าอื่นๆ โดยใช้เงินสกุลหยวน และระบบธุรกรรมการเงินของจีนในการซื้อขายได้ 

'ไบเดน' ประกาศการระบาดโควิดในสหรัฐฯ จบแล้ว!! แม้ยอดผู้เสียชีวิตยังพุ่งสูงเฉลี่ยวันละ 400 คน

ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐฯ ประกาศว่า การระบาดของโควิด-19 ยุติลงแล้วในสหรัฐฯ แต่เขาก็ยอมรับในการให้สัมภาษณ์รายการ 60 มินิตส์ (60 Minutes) ของซีบีเอสว่า "เรายังคงมีปัญหาอยู่ และยังมีงานต้องทำอีกมากเพื่อควบคุมโควิด แต่สถานการณ์กำลังดีขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะนี้ไม่มีใครต้องสวมหน้ากากอนามัยแล้ว สถานการณ์กำลังเปลี่ยนไปในทางที่ดี"

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากมหาวิทยาลัยจอห์นส์ ฮอปกินส์ในสหรัฐฯ ระบุว่า มีชาวอเมริกันเสียชีวิตจากโควิดเฉลี่ยมากกว่า 400 คนต่อวัน และในสัปดาห์ที่แล้ว มีผู้เสียชีวิตจากโควิดในสหรัฐฯ มากกว่า 3,000 คน 

ด้านนายแพทย์แอนโทนี เฟาซี ผู้อำนวยการสถาบันโรคติดเชื้อและภูมิแพ้แห่งชาติของสหรัฐฯ กล่าวล่าสุดเมื่อวันที่ 19 กันยายนที่ผ่านมาว่า อัตราการเสียชีวิตรายวันจากโควิดในสหรัฐฯ ยังคงอยู่ในระดับสูง แต่ก็ยอมรับว่าสถานการณ์กำลังดีขึ้น แต่ยังไม่ถึงจุดที่สามารถบอกได้ว่าเราอยู่ร่วมกับโควิดได้ พร้อมเตือนว่าสหรัฐฯ อาจพบโควิดกลายพันธุ์สายพันธุ์ใหม่ได้อีก โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวที่จะถึงนี้


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top