Thursday, 10 July 2025
SPECIAL

"นุช-นนท์" ทำดีต่อเนื่อง!!​ เจ้าของ ร้านทุเรียน "ตลาดสี่มุมเมือง" มอบอาหาร 100 กล่อง ให้ "สถาบันราชประชาสมาสัย" (พระประแดง) และประชาชนในพื้นที่ในเทศบาลเมืองคูคตอีก 50 กล่อง

ณ สถาบันราชประชาสมาสัย ตำบลบางหญ้าแพรกอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ "ดร.นิยม ไกรปุย"รองผู้อำนวยการสถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ให้เกียรติเป็นผู้รับมอบอาหารจำนวน 100 กล่อง

โดย "น.ส.ชาลินี ลอยนุ้ย" เจ้าของร้านทุเรียน "นุช-นนท์" ตลาดสี่มุมเมือง ประสานงานสะพานบุญ ให้ "นายชีวานนท์ พรรัตน์ธนิกกุล นายกสมาคมสหพันธ์แรงงานคนพิการไทย และตำแหน่งคณะอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการด้านแรงงาน พร้อมด้วย "นายโกสินธ์ จินาอ่อน" บรรณาธิการหนังสือพิมพ์สยามโฟกัสไทม์ ที่ปรึกษา​ "สมาคมสื่อมวลชนเพื่อสังคม" นำอาหารจำนวน 100 กล่อง เพื่อมอบให้กับ บุคลากรทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วน รวมถึงคนพิการ ครอบครัวคนพิการ ที่ได้รับเชื้อไวรัส Covid-19 ที่รักษาตัวอยู่ใน "สถาบันราชประชาสมาสัย"

ทั้งนี้​ เพื่อเป็นขวัญกำลังใจ ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วน รวมถึงผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาเชื้อโควิด-19 ได้รับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ต่อสุขภาพ และร่างกาย เป็นการตอบแทนน้ำใจ ความเสียสละแรงกาย แรงใจ เวลาอันมีค่ามาดูแลรักษาพี่น้องประชาชนคนไทย คนพิการ ให้รอดปลอดภัยจากเชื้อไวรัสโควิด_19 ไปด้วยกัน

ในการนี้ "ดร.นิยม ไกรปุย" รองผู้อำนวยการสถาบันราชประชาสมาสัย ได้กล่าวขอบคุณในน้ำใจไมตรีจิต ที่มอบให้เพื่อเป็นขวัญกำลังใจ รู้สึกขอบคุณเป็นอย่างมาก และพร้อมจะทำหน้าที่ในการดูแลรักษาสุขภาพของพี่น้องประชาชนคนไทย ให้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังกล่าวประชาสัมพันธ์เชิญชวนพี่น้องประชาชนคนไทย เจ้าของสถานประกอบการ ร้านค้า และภาคเอกชน ที่มีจิตเป็นกุศลอยากจะร่วมด้วยช่วยกัน คนละไม้คนละมือ สร้างสรรค์สังคมไทยให้ปลอดภัย ร่วมกันแบ่งปันความสุข รอยยิ้ม กำลังใจ ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ และเจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วน

เพราะการปฏิบัติงานนั้น ในช่วงสถานการณ์เชื้อไวรัส Covid-19 กำลังเป็นปัญหาใหญ่ของคนไทยทั้งชาติ จึงอยากจะประชาสัมพันธ์ เชิญชวน ท่านที่พอมี กำลังกาย กำลังใจ กำลังทรัพย์ ร่วมกันสนับสนุน เครื่องไม้เครื่องมือ อุปกรณ์ทางการแพทย์ ถังออกซิเจน และอื่นๆ ที่มีความจำเป็นในการช่วยเหลือชีวิตพี่น้องประชาชนที่กำลังรักษาตัวจากเชื้อไวรัสโควิค-19 ได้ทุกโรงพยาบาล และโรงพยาบาลสนามในทุกๆพื้นที่หรือติดต่อมายัง "สถาบันราชประชาสมาสัย" ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้

ทั้งนี้นายชีวานนท์ พรรัตน์ธนิกกุล นายกสมาคมสหพันธ์แรงงานคนพิการไทย และตำแหน่งคณะอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการด้านแรงงานได้มอบอาหารข้าวกล่องให้​ นายวะจะนะชัย วาจาพารวย ผู้สื่อข่าวจังหวัดปทุมธานี จำนวน 50 กล่อง เพื่อนำไปมอบให้กับประชาชน ที่ได้รับผลกระทบ จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ในพื้นที่เทศบาลเมืองคูคตต่อไปและเมื่อวันที่ 10 และ วันที่ 17 กรกฎาคม 2564  ที่ผ่านมา น.ส.ชาลินี ลอยนุ้ย เจ้าของร้านทุเรียน "นุช_นนท์" ตลาดสี่มุมเมือง ได้มอบข้าวกล่องให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ในหลายๆ พื้นที่ เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระค่าอาหารให้กับประชาชนได้บ้างซึ่งตนได้ทำก็รู้สึกภาคภูมิใจที่ได้ช่วยเหลือประชาชนคนไทยด้วยกัน

#คนละมือ_คนละมือ

​​

ฤดูกาลแห่ง “เชอรี่” ในฟาร์มอดิเรก ความสุขที่ปลูกเองได้

ช่วงเดือนกรกฎาแบบนี้จะไม่พูดถึงหน้าผลไม้คงไม่ได้ ขอยกให้ “เชอรี่” เป็นนางเอกของเรา !! ในช่วงเดือนมิถุนายน - กรกฎาคมนี้เลย 

หากย้อนไปเมื่อปีที่แล้วก็พอได้เก็บเกี่ยวเชอรี่ไว้บ้างแล้ว แต่ปีนี้เข้าสู่ความหนาวอย่างยาวนาน ทำให้ช่วงเมษายนอากาศหนาวจัดอยู่ประมาณ 7 ครั้ง มี 2 ครั้งที่หนาวถึงติดลบ 7 องศา ทำให้มีดอกที่ติดแล้วร่วงลงไปเยอะ แถมช่วงมิถุนายนมีลูกเห็บตก แถว ๆ ตรงที่วี่อยู่ ขนาดเท่า ๆ ลูกมะนาวที่ใหญ่มาก ทำให้ปีนี้เชอรี่เลยออกล่าช้าไปนิดนึง เพราะขึ้นอยู่กับสภาพอากาศช่วงฤดูใบไม้ผลิล้วน ๆ เลย ดังนั้นในปีนี้เอง ทำให้ที่ฟาร์มของวี่แทบจะไม่มีเชอรี่เลย 

ใกล้บ้าน ก็มีฟาร์มแบบต้นเตี้ย ๆ ยืนเก็บถึงบ้าง ถูกเก็บรักษาโดยการปิดด้วยตาข่าย ช่วงที่หนาวมาก ๆ จะมีการจุดไฟเพื่อไม่ให้ต้นเชอรี่ได้รับความหนาวเกินจนดอกที่ติดแล้วร่วงลงไป

ฟาร์มของวี่เอง อย่างที่เคยเล่าไปในตอนแอปเปิลว่าต้นไม้แต่ละต้นนั้นสูงเป็นสิบเมตร การจะเอาตาข่ายคลุมจุดไฟนั้นค่อนข้างยาก ประกอบกับที่เราทำฟาร์มเพราะรัก หรือเป็นแค่งานอดิเรกเพื่อการอนุรักษ์ฟาร์มแบบสมัยก่อนและพันธุ์ไม้เก่าแก่เท่านั้น ไม่ใช่เพื่อดำรงชีพ เราจึงปล่อยให้การได้ผลผลิตเป็นไปตามธรรมชาติจัดสรร แต่คงความเป็นออแกนิกให้มากที่สุด

ฟาร์มของวี่มีต้นเชอรี่อยู่ 10 ต้น ต้นที่แก่ที่สุดอายุ 55 ปี ส่วนต้นที่สูงที่สุดคือ 12 เมตร และมีทั้งหมด 8 สายพันธุ์ ต้นเชอรี่สายพันธุ์เตี้ยสามารถมีอายุได้นานเฉลี่ยถึง 40-60 ปี ส่วนไม้ยืนต้นสูงแบบที่ฟาร์มอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 80-100 ปี ที่ฟาร์มมีอยู่ต้นนึงที่วี่ชอบรสชาติมาก มีอายุ 38 ปี เป็นสายพันธุ์ Kordia (คอร์เดีย) เจ้าต้นนี้ต้นเดียวก็ได้เป็นร้อยกิโลกรัมซึ่งถือว่าเยอะมาก เพราะเชอรี่ที่ฟาร์มลูกจะค่อนข้างเล็ก เนื่องจากเป็นพันธุ์ค่อนไปทางเก่า ไม่เหมือนตามซุปเปอร์มาร์เก็ตที่ลูกใหญ่ ๆ แต่วี่การันตีเลยว่าถ้าได้ลิ้มลองละก็!! จะต้องบอกว่าเล็กพริกขี้หนูจริง ๆ ลูกใหญ่ ๆ น้ำจะเยอะแต่รสชาติจะไม่เข้มข้นเท่า ไม่รู้จะอธิบายยังไงเหมือนกัน แต่เอาเป็นว่าถ้าทุกคนที่ได้ชิมเชอรี่ที่ฟาร์มของวี่ จะต้องบอกว่าอร่อยและหายากมาก เพราะบางฟาร์มที่เขาปลูกเพื่อขายดำรงชีวิต เขาจะปลูกพันธุ์ที่ผสมมาเพื่อให้ลูกใหญ่จะได้น้ำหนักเยอะและขายได้ราคาดี ๆ โดยส่วนตัววี่ไม่เคยซื้อที่อื่นกินเพราะมีราคาสูง และไม่อร่อยเท่าที่ฟาร์มของเราเอง  

เชอรี่ที่ฟาร์มเรามีหลากหลายสายพันธุ์ ทั้งสีแดงสด สีแดงเข้ม สีออกม่วงดำ สีเหลืองล้วน ซึ่งพันธุ์สีเหลืองล้วนเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ชื่อพันธุ์ Dennis Gelbe Bernstein-Kirche (เดนนิส เกลเบ แบรนชไตน์ เคีรยชเช่) เป็นพันธุ์ที่ค่อนข้างเก่า ในระแวกนี้ไม่มีใครมีนอกจากที่ฟาร์มเรา ต้นนี้อายุแค่ 12 ปีเท่านั้น สูง 6 เมตร ถ้าพูดเรื่องนี้ชาวนาอินดี้ (สามีวี่เอง) จะยืดอกภูมิใจยิ้มหน้าบานเป็นจานดาวเทียมเลยทีเดียว รสชาติจะหวานและกรอบมาก แต่ปี ๆ นึงจะออกมาให้ชื่นใจไม่เยอะมากหรอก ประมาณ 6-10 กิโลกรัมเท่านั้น

วิธีการเก็บเราก็จะเอาตะกร้าเล็ก ๆ ร้อยเข้ากับเข็มขัด แล้วก็ปีนขึ้นไปเก็บได้เลย เชอรี่ที่ฟาร์มทั้งหมดเก็บเกี่ยวได้ต่อปีประมาณ 350 กิโลกรัม ราคาขายต่อกิโลกรัมคือ 14 ฟรังค์ แต่ที่ฟาร์มเราคือแจกซะเป็นส่วนใหญ่ คือวี่จะเอาไปแจกเพื่อนคนไทยบ้าง เพื่อนที่ทำงานบ้าง หรือบางทีเพื่อน ๆ ก็จะมาปีนเก็บกันเองสด ๆ จากต้น ถ้าจะขายคือขายครึ่งนึงของราคาตลาดเพื่อให้เพื่อนฝูงและคนรอบข้างได้กินของอร่อยคุณภาพดี นี่แหละวี่ถึงเรียกสามีว่าชาวนาอินดี้ 

บางครั้งความสุขก็มาในรูปแบบของการแบ่งปัน และการอยู่กับธรรมชาติทำให้จิตใจเราเป็นสุขได้มากกว่าที่เราคิด ที่สำคัญวี่เชื่อว่า ทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกใบนี้มีราคาที่ต้องจ่าย แต่ไม่ใช่ทุกอย่างที่เราสามารถจ่ายได้ด้วยเงิน…


โปรเด็ด! ถึง 31 ก.ค. นี้ Ford Ranger, MG ZS, Mazda 2 และ Nissan อัลเมร่า ทักไลน์ @THESHOPSTIMES 
คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

เปิดมุมมองการลงทุนอย่างยั่งยืน ในโลก ‘การเงินสีเขียว’

ในมุมมองของนักลงทุนรุ่นใหม่ที่ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมและรับผิดชอบต่อสังคม การตัดสินใจลงทุนและการพิจารณาผลตอบแทนที่ต้องการจึงไม่ได้จำกัดอยู่เพียงในรูปของตัวเงินและความมั่งคั่งสูงสุดเท่านั้น หากแต่มีวัตถุประสงค์ของการลงทุนเพื่อผลตอบแทนในระยะยาวและสร้างผลกระทบเชิงบวก หรือลดผลกระทบเชิงลบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในวงกว้าง ด้วยการลงทุนตามแนวคิดการลงทุนแบบยั่งยืน (Sustainable Investment) ผ่านการลงทุนในตราสารหนี้เพื่อสิ่งแวดล้อม หรือ หุ้นกู้สีเขียว หรือ กรีนบอนด์ (Green Bond) 

ตราสารหนี้เพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นตราสารทางการเงินที่มุ่งเน้นระดมเงินทุนเพื่อใช้ในโครงการที่ส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม ภายใต้การส่งเสริมจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ใน 3 รูปแบบ ได้แก่ 

(1) ลดและแก้ไขปัญหามลภาวะ 

(2) ส่งเสริมอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ 

(3) ลดและแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ 

โดยมีมาตรฐานตราสารหนี้ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 3.0 (Climate Bond Standard) เพื่อรับรองว่าตราสารหนี้จะให้เงินทุนสำหรับโครงการที่มีประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม และสอดคล้องกันโดยสมบูรณ์กับหลักการตราสารหนี้เพื่อสิ่งแวดล้อม (Green Bond Principles)

ประเภทของกรีนบอนด์ ประกอบด้วย 

1.) Standard Green Bond ได้แก่ Green Bond ที่มุ่งตอบโจทย์สิ่งแวดล้อม ซึ่งผู้ถือตราสารหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้ผู้ออกตราสารหนี้ชําระหนี้และจ่ายผลตอบแทนตามเงื่อนไขที่ได้ตกลงกัน

2.) Green Revenue Bond ได้แก่ Green Bond ที่มีกระแสเงินสดเป็นหลักประกันการชําระหนี้ เช่น รายได้ ค่าธรรมเนียม ภาษีจากโครงการเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ เงินที่จะได้รับจากการออกตราสารหนี้ลักษณะนี้จะนําไปใช้ในโครงการที่ก่อให้เกิดกระแสเงินสดนั้นเองหรือโครงการเพื่อสิ่งแวดล้อมอื่นด้วยก็ได้

3.) Green Project Bond ได้แก่ Green Bond ที่ออกเพื่อระดมทุนให้แก่โครงการเพื่อสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะโครงการเดียวหรือหลายโครงการซึ่งผู้ลงทุนเป็นผู้รับความเสี่ยงโดยตรงในผลสำเร็จของโครงการนั้น

4.) Green Securitized Bond ได้แก่ Green Bond ที่มีการนําโครงการเพื่อสิ่งแวดล้อมโครงการเดียว หรือหลายโครงการมาเป็นหลักประกัน เช่น Covered Bonds Asset-Backed Securities และ Mortgage-Backed Securities โดยการออกตราสารหนี้ดังกล่าวนั้นต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่มุ่งตอบโจทย์สิ่งแวดล้อมด้วย

ตลาดกรีนบอนด์ในไทยในปีนับจากปี 2562 มีมูลค่ากว่า 3 หมื่นล้านบาท โดยที่ผ่านบริษัทมหาชนจำกัดที่ประสบความสำเร็จจากการจำหน่ายกรีนบอนด์ อาทิเช่น 

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) ออกและเสนอขายกรีนบอนด์ อายุ 3 ปี อัตราดอกเบี้ย 2.25% ต่อปี มูลค่า 2,000 ล้านบาท เพื่อนำไปใช้ลงทุนในโครงการเพื่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ โครงการปลูกป่าเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศและลดภาวะโลกร้อน เพื่อดูแลป่าในระยะยาว และศูนย์เรียนรู้ของสถาบันปลูกป่าและระบบนิเวศ ปตท. 

บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC ออกและเสนอขายกรีนบอนด์ ชนิดไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน มูลค่าของหุ้นกู้ที่จะเสนอขายรวม 5,000 ล้านบาท เพื่อนำเงินจากการระดมทุนไปใช้ในพัฒนาโครงการไฟฟ้าสะอาดสู่ความยั่งยืน ได้แก่ โครงการโรงไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ และโครงการบริหารจัดการขยะครบวงจร (Waste-to-Energy) 

บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS ออกและเสนอขายกรีนบอนด์ 3 ครั้ง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา เพื่อนำเงินจากการระดมทุนไป ใช้ลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) และสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) ส่งเสริมการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนด้วยพลังงานไฟฟ้า ลดการใช้รถยนต์ และจะช่วยลดการปล่อยมลภาวะในเขตกรุงเทพมหานคร

โดยการประเมินผลตอบแทนในกรีนบอนด์ จะคำนึงถึง “Greenium” (การผสมคำระหว่าง Green และ Premium) หรือผลต่างระหว่างอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้สีเขียว (Green Bond) กับตราสารหนี้ทั่วไป (Conventional Bond) ทั้งนี้ผลจากศึกษาที่ผ่านมา พบว่ามีทั้งในกรณีที่ที่สูงกว่า และ ต่ำกว่า) ตราสารหนี้ทั่วไป


ข้อมูลอ้างอิง 

https://www.setsustainability.com/page/sustainable-investment

http://www.pddf.or.th/upload/article/file_200921095754.pdf


โปรเด็ด! ถึง 31 ก.ค. นี้ Ford Ranger, MG ZS, Mazda 2 และ Nissan อัลเมร่า ทักไลน์ @THESHOPSTIMES 
คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

เมื่อ​ 'ประกันชีวิต'​ ไม่ใช่เรื่องไกลตัว

เชื่อเถอะครับว่า​ นาทีนี้คำว่าประกันชีวิต คงไม่ใช่เรื่องไกลตัวพวกเราอีกต่อไป 

หลาย ๆ​ คนมีวัตถุประสงค์ ในการทำประกันชีวิตแตกต่างกัน เช่น... 

- เพื่อคุ้มครองเวลาจากไป​ คนข้างหลังจะได้ไม่ลำบาก 
- เพื่อออมเงิน 
- เพื่อลดหย่อนภาษี 
- เพื่อลงทุน 
- หรือเพื่อช่วยเหลือเพื่อน 

สำหรับผมแล้ว การได้เข้ามาสู่ธุรกิจประกันชีวิตเมื่อ​ 20​ ปีก่อน ภาพลักษณ์ของธุรกิจช่างแตกต่างกับตอนนี้มาก 

สมัยนั้นเทคโนโลยีต่าง ๆ​ ก็ไม่มีอะไรมา​ Support มากนัก หลาย ๆ​ ครั้งต้องอธิบายแบบประกันด้วยการวาดแบบบนกระดาษ​ A4 พกเอกสารนำเสนอเป็นตั้ง 

แต่สมัยนี้ ipad เครื่องเดียวสามารถทำได้ทุกอย่าง 

การพบลูกค้าสมัยนั้นก็ต้องโทรนัด เปิดกระบวนการขาย แต่สมัยนี้ส่งเอกสารทางไลน์ ลูกค้าตัดสินใจ ตัวแทนส่งเอกสารไปให้เซ็น ลูกค้าถ่ายรูปบัตรประชาชน กับ เซลฟี่รูปตัวเอง และเซ็นเอกสารกลับมา แล้วรอรับกรมธรรม์ที่บ้านได้เลย 

ยุคสมัยเปลี่ยน เทคโนโลยีเข้ามาแทน คนเข้าถึงความรู้ความเข้าใจในผลิตภัณฑ์มากขึ้น ​ทำให้ง่ายต่อการตัดสินใจ 

แน่นอนว่าหลาย ๆ​ คนอาจถามว่า แล้วจะหาลูกค้าจากไหน? 

คำตอบสมัยก่อน กับสมัยนี้ คงไม่ต่างกัน คือ เริ่มจากคนใกล้ตัวก่อน คนในครอบครัว คนรู้จัก เพื่อน และลูกค้าแนะนำ หรือถ้าใครรู้จักคนเยอะ​ ก็ยิ่งง่าย

เช่นเดียวกันกับตัวผม ด้วยความที่ตัวเราเองเป็นนักกิจกรรมตั้งแต่สมัยเรียนมหาวิทยาลัย ทำให้เรารู้จักคนเยอะ และท่านผู้อ่านก็คงคิดว่า งานง่ายละสิ...แต่เปล่าเลยครับ!! อาชีพนี้แปลก!!

หลาย ๆ​ ครั้งเราไม่กล้าเปิดปากว่าเราทำอะไรอยู่ จึงทำให้พลาดอะไรไปหลาย ๆ​ อย่าง ซึ่งในส่วนของผมนั้น​ จำนวนลูกค้ากลุ่มแรก คือ​ กลุ่มเพื่อนที่เป็นนักกิจกรรมต่างมหาวิทยาลัยที่พวกเรารวมตัวกัน และได้สนิทติดต่อกันมาจนถึงปัจจุบันนี้

เราตั้งชื่อว่า​ 'กลุ่มหัวจุก'​ ครับ แต่ผมคงไม่ขอลงรายละเอียด​ เพราะว่าถ้าบอกชื่อไปท่านผู้อ่านคงรู้แน่ ๆ​ ว่าเป็นใครบ้าง เพราะหลาย ๆ​ ท่านตอนนี้ เป็นผู้มีชื่อเสียงในสังคมครับ (^^)​

เพื่อนกลุ่มนี้ เราได้​ Support ซึ่งกันและกันมาตลอดครับ เอาเป็นว่าในตอนถัดไป ผมจะเล่าประสบการณ์ขายประกันให้กับเพื่อน หรือคนที่รู้จักให้อ่านกันครับ ว่ามีอะไรน่าตื่นเต้นบ้าง

หลาย ๆ​ ครั้งได้รับการตอบรับดี แต่หลายๆ​ ครั้งก็โดนปฏิเสธ 

พบกันตอนหน้าครับ กับเรื่องเล่าสนุก ๆ ของคนขายประกัน

ส่วนครั้งนี้ขออนุญาตมาแนะนำตัวก่อนครับ


โปรเด็ด! ถึง 31 ก.ค. นี้ Ford Ranger, MG ZS, Mazda 2 และ Nissan อัลเมร่า ทักไลน์ @THESHOPSTIMES 
คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

ความจริงอีกครึ่ง!! เผย​ราคาจริง 'วัคซีน​ Moderna'​ เมื่อ​ 584 บาท​ คือ​ ราคาขายในสหรัฐฯ

มีคำกล่าวว่า...

"ข่าวที่มีความจริงครึ่งเดียวนั้น น่ากลัวกว่าข่าวเท็จ"

เพราะคนที่กระจายข่าวที่มีความจริงครึ่งเดียวนั้น มักไม่รู้ตัวว่าตัวเองได้กระจายความเข้าใจผิดเหล่านั้นไป 

ยิ่งเป็นคนมีชื่อเสียง​ ยิ่งทำให้ข่าวที่มีความจริงครึ่งเดียวนั้นมีความน่าเชื่อถือขึ้น จนส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อสังคมมาก 

วันนี้ผมจะขอนำ​ 'ความจริง'​ อีก 'ครึ่งหนึ่ง'​ มานำเสนอให้ลองคิดพิจารณาดูครับ

จากกระแสข่าวที่ว่าวัคซีนโมเดอร์นา​ (Moderna)​ ควรจะมีราคา 584 บาทต่อโดส แต่องค์การเภสัชฯ ได้นำเข้ามาขายในราคา 1,100 บาทต่อโดส >> นี่คือการเก็บภาษี 100% ของรัฐตามที่ผู้ให้ข่าวบอกนั้น!!

ตัวผมเองไม่ได้เป็นนักคณิตศาสตร์ที่เก่งกาจเหมือนกับท่าน แต่ก็เห็นความผิดปกติ จากที่ท่านทำคลิปวีดีโอบอกว่า "มันเป็นราคาที่ส่งในประเทศอเมริกาเอง และส่งภายในยุโรป เป็นราคารวมค่าขนส่งแล้ว" 

ผมเลยลองหาข่าวยืนยันข้อความอันกล่าวโดยท่าน แต่จะหาข่าวภาษาไทย ก็คงจะยากเพราะสื่อไทยเองก็มีปัญหาเลือกข้าง เลยขอหาจากสื่อญี่ปุ่น ประเทศที่นำเข้าวัคซีนโมเดอร์นาใช้เป็น 1 ใน 3 วัคซีนหลักของประเทศ และตัวผมสามารถอ่านรู้เรื่อง

จากเนื้อข่าว (https://www.businessinsider.jp/post-233036)​ พบว่า...ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2020 ถึงเดือนมีนาคม 2021 ระยะเวลา 4 เดือน บริษัทโมเดอร์นาได้ขายวัคซีนไปแล้ว 116 ล้านโดส (ไม่รวมส่งไปทดสองกับสถานวิจัย BARDA อีก 4 ล้านโดส) 

โดยเป็นการส่งมอบวัคซีนในประเทศอเมริกา 102 ล้านโดส และส่งออกต่างประเทศไป 14 ล้านโดส ทั้งที่เดือนกุมภาพันธ์ เพิ่งส่งออกเพียง 3 ล้านโดส มีอัตราส่วนระหว่างส่งในประเทศกับส่งออกเพิ่มขึ้นเป็น 4 ต่อ 1

จากเอกสารบอกอีกว่า ราคาวัคซีนของโมเดอร์นาที่ขายในประเทศสหรัฐอเมริกากว่า 88 ล้านโดสมีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 15.4 ดอลลาร์ (ประมาณ 1,650 เยน) ในขณะที่บริษัทคู่แข่งที่ทำสัญญากับรัฐบาลสหรัฐฯ​ อย่างบริษัทไบโอเอ็นเทคกับวัคซีนไฟเซอร์ที่ขายในราคา 2 โดส 39 ดอลลาร์ ราคาของวัคซีนโมเดอร์นา​ 

>> จึงถูกกว่าที่ราคา 2 โดส 32 ดอลลาร์ 

และในเอกสารยังบอกอีกว่า ในไตรมาสแรกของปี 2021 ราคาขายในอเมริกาเฉลี่ยต่ำสุดที่ 2 โดส 30.8 ดอลลาร์

ในขณะที่ราคาสำหรับการส่งออก 14 ล้านโดสนั้น มีราคาอยู่ระหว่าง 22-37 ดอลลาร์ต่อโดส ขึ้นอยู่กับปริมาณสั่งซื้อในแต่ละสัญญา ส่วนราคาขายในยุโรปนั้น จากสื่อของเบลเยี่ยม (เป็นข้อมูลหลุดจากทวิตเตอร์) ได้บอกราคาไว้ที่ 1 โดส 18 ดอลลาร์

จากข่าวที่ผมหาได้ ก็ทำให้ได้ทราบว่า การขายวัคซีนโมเดอร์นา​ ถูกแบ่งออกเป็นสามรูปแบบ​ ดังนี้... 

>> ขายในประเทศอเมริกาเอง จะถูกสุดถึง 15.4 ดอลลาร์ต่อโดส (504.5 บาท) 
>> ขายในยุโรปที่ 22 ดอลลาร์ต่อโดส (589.7 บาท) 
>> และขายประเทศอื่น ๆ 22-37 ดอลลาร์ต่อโดส (720 - 1212 บาท) ขึ้นอยู่กับปริมาณที่สั่งต่อสัญญา 

เพราะฉะนั้นแล้ว​ ราคาขายในไทยคงไม่สามารถขายได้ในราคา 22 ดอลลาร์อย่างแน่นอน เนื่องจากเขาขายแต่ในยุโรปเท่านั้น!! 

ปัญหา คือ องค์การเภสัชทำสัญญากับโมเดอร์นา อยู่ที่เท่าไหร่ เพราะถ้าอิงจากราคาที่ตั้งคือ 1,100 บาทแล้ว องค์การเภสัชน่าจะซื้อมาด้วยราคา 32 ดอลลาร์ บวกกับภาษี 7% จะได้ใกล้เคียงกับ 1,100 บาทที่สุด 

แค่นี้แหละครับที่ผมอยากจะบอก!! 

ความจริงอีกครึ่ง!! 


ข้อมูลอ้างอิง
https://www.businessinsider.jp/post-233036


โปรเด็ด! ถึง 31 ก.ค. นี้ Ford Ranger, MG ZS, Mazda 2 และ Nissan อัลเมร่า ทักไลน์ @THESHOPSTIMES 
คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

คนเราจะมี ‘เพื่อน’ ได้มากที่สุดกี่คน ? “Dunbar’s Number” (ตัวเลขของดันบาร์) ความสัมพันธ์ที่จำกัดจากสมองมนุษย์

มนุษย์คนหนึ่ง ๆ จะสามารถมีเพื่อนจำนวนเท่าใดจึงพอเหมาะต่อการที่จะรู้จักคุ้นเคย รักใคร่ชอบพอกันจนสนิทชิดเชื้อ และสามารถรักษาความเป็นเพื่อนไว้ได้เป็นอย่างดี ? คำตอบนี้ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า Dunbar’s Number ขึ้น และตัวเลขจำนวนนี้มีความหมายโยงใยไปถึงหลายเรื่องในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นขนาดของธุรกิจ ขนาดของกลุ่มออกค่าย ขนาดของหน่วยรบ ขนาด Network ของ Social Media ฯลฯ 

ในปี พ.ศ. 2535 ‘Robin Dunbar’ ผู้เป็นศาสตราจารย์ทางมานุษยวิทยาแห่งมหาวิทยาลัย Oxford ได้นำเสนอตัวเลขจำนวนนี้ต่อสาธารณะ จากการศึกษาทั้ง การแพทย์ จิตวิทยา ประวัติศาสตร์ และมานุษยวิทยา เพื่อหาจำนวนของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่สมองของมนุษย์คนหนึ่งสามารถจัดการได้เป็นอย่างดี Dunbar พบว่ามนุษย์มีทางโน้มที่สามารถจัดการกลุ่มของตน (Self-organize) เองได้ดีเมื่อกลุ่มของตนมีจำนวนไม่เกิน 150 คน ดังนั้นตัวเลข 150 นี้จึงเป็นที่รู้จักกันดีในวงวิชาการและถูกเรียกว่า Dunbar’s Number 

Robin Dunbar ปัจจุบันอายุ 74 ปี ชาวอังกฤษ จบปริญญาตรีด้านจิตวิทยาและปรัชญาที่มหาวิทยาลัย Oxford และเรียนจบปริญญาเอกด้านมานุษยวิทยาจากมหาวิทยาลัยแห่ง Bristol จากนั้นทำงานวิจัยและสอนให้กับมหาวิทยาลัยหลายแห่งในอังกฤษก่อนที่จะมีชื่อเสียงเพราะการการนำเสนอทฤษฏี Dunbar’s Number

คำจำกัดความอย่างเป็นทางการของ Dunbar’s Number คือ “ตัวเลขของจำนวนคนที่ทำให้เกิดข้อจำกัดเชิงการใช้ความคิดที่บุคคลหนึ่งสามารถทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนได้” พูดง่าย ๆ คือ จำนวนตัวเลขที่สร้างข้อจำกัดในการทำงานของสมองของมนุษย์คนหนึ่ง ที่จะสามารถรักษาความสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี 

Dunbar ไม่ได้ยกเมฆตัวเลขจำนวนนี้ขึ้นเอง หากแต่ได้ทำการศึกษาในเชิงสังคมวิทยาอย่างรอบคอบ บทความของเขาใน Journal of Human Evolution ในปี พ.ศ. 2535 ได้อธิบายว่า การที่คนเรามีสมองขนาดใหญ่ขึ้นทำให้สามารถแก้ไขปัญหาทางสังคมได้ดียิ่งขึ้น การอยู่อาศัยเป็นกลุ่มของมนุษย์ตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ทำให้เกิดประโยชน์มหาศาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการป้องกันภัยจากศัตรู อย่างไรก็ดีการอยู่ร่วมกันเป็นเรื่องยากเพราะสมาชิกมักแย่งชิงอาหารและเพศตรงข้ามกัน ต่างต้องระวังการถูกโกงและการถูกกดขี่ข่มเหง แต่ในขณะเดียวกันต่างก็หาช่องทางที่จะข่มขู่และกดขี่คนอื่นเพื่อการอยู่รอดอีกด้วย 

สัตว์เผ่าพันธุ์ Primates

เมื่อขนาดของกลุ่มใหญ่ขึ้น ขนาดของข้อมูลที่สมองของสัตว์เผ่าพันธุ์ Primates ซึ่งครอบคลุมลิงและมนุษย์จะต้องประมวลก็มากขึ้นเป็นเงาตามตัว กลุ่มที่มีคน 5 คน มี 10 คู่ของความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิก ถ้ากลุ่มเป็น 20 ก็มี 190 ถ้ากลุ่มเพิ่มเป็น 50 ก็มี 1,225 เมื่อความซับซ้อนของความสัมพันธ์มากขึ้นเช่นนี้สมองก็จำเป็นต้องมีขนาดใหญ่ขึ้น และมีหลากหลายชั้นของเซลล์สมองเพื่อจัดการความสัมพันธ์ซึ่งสมองเป็นเครื่องมือสำคัญ Dunbar ใช้โมเดลคณิตศาสตร์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของ Neocortex (ส่วนสำคัญของสมอง) ของแต่ละประเภท Primates กับขนาดของกลุ่มที่อยู่ร่วมกัน ยิ่ง Neocortex ใหญ่เท่าใดขนาดของกลุ่มที่สามารถจัดการปัญหาของตนเองได้ก็ใหญ่ขึ้น แม้แต่มนุษย์ซึ่งเป็น Primate ที่ฉลาดที่สุด ก็ไม่สามารถอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มที่มีขนาดใหญ่อย่างไม่มีที่สิ้นสุดได้ 

Dunbar พบว่า สำหรับลิงประเภทต่าง ๆ มีขนาดของกลุ่มที่อยู่ด้วยกันตั้งแต่ 5 ถึง 80 ตัว ส่วนลิงเอป (Ape) หรือลิงไม่มีหาง มีขนาดของกลุ่มประมาณ 5 ตัว และขนาดของกลุ่มของมนุษย์คือ 147.8 คน และ Dunbar ยังพบข้อมูลจากประวัติศาสตร์ว่า ขนาดของกลุ่มทหารโรมัน กลุ่มทหารในศตวรรษที่ 16 กลุ่มชนที่เดินทางเร่ร่อนในสมัยโบราณ กลุ่มชนที่อาศัยในถิ่นต่าง ๆ ล้วนมีจำนวนประมาณ 150 คน เช่นเดียวกับที่เขาคำนวณได้จากโมเดลทางคณิตศาสตร์ งานศึกษาของ Dunbar จนได้ตัวเลข 150 สร้างความฮือฮาในทางวิชาการในทศวรรษ 1990’s จนถึงปัจจุบัน มีคนนำไปประยุกต์ใช้ในทางการทหาร ทางธุรกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่อง Social Media

กองทัพสหรัฐอเมริกาได้ลองผิดลองถูกกับขนาดของหน่วยรบที่มีประสิทธิภาพที่สุดมายาวนานและใช้ตัวเลข 150 เป็นจำนวนของทหารหนึ่งกองร้อยของหน่วยรบในปัจจุบัน สำหรับบริษัทใหญ่ ๆ ในสหรัฐอเมริกา เช่น Gore-Tex นั้น หากสาขามีจำนวนลูกจ้างถึง 150 คน ก็จะแยกออกเป็นอีกสาขาหนึ่ง และสำหรับชุมชนปกครองตนเองในสหรัฐอเมริกา (เช่น พวก Hutterites ซึ่งคล้ายพวก Amish ซึ่งยึดการใช้ชีวิตแบบโบราณดั้งเดิม) หากสมาชิกเกิน 150 คน ก็จะแยกออกเป็นอีกชุมชนหนึ่ง

ชาว Hutterites

ในโลกของ Social Media นั้น Dunbar’s Number ถูกนำมาทดสอบเพื่อยืนยันจำนวนเพื่อนที่สมาชิกคนหนึ่งสามารถมีความสัมพันธ์ได้อย่างยั่งยืน ตัวเลขนี้มีความสำคัญเพราะเป็นขนาดของ Network ที่จะต้องนำเอามาออกแบบเชิงธุรกิจ Facebook สนใจ Dunbar’s Number เช่นเดียวกับ Path ซึ่งช่วยให้สมาชิกโพสต์รูปและความเห็นผ่านสมาร์ทโฟนตลอดจนบอกเวลานอนและตื่นได้อีกด้วย ผู้บริหาร Path พบว่า แต่ละ Network ไม่ควรมีขนาดใหญ่กว่า 150 คน Path ประสบความสำเร็จจากการใช้จำนวนนี้จนปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 5 ล้านคน

ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับ Dunbar’s Number ปัจจุบัน มีนักวิชาการ/นักวิจัยซึ่งทำการวิจัยได้โต้แย้งการสังเกตเชิงประจักษ์ของขนาดกลุ่มมนุษย์พบว่า มีจำนวนประมาณ 150 คนโดยเฉลี่ย โดยนำเสนอการสังเกตเชิงประจักษ์ของขนาดกลุ่ม ซึ่งบ่งชี้ถึงจำนวนอื่น ๆ ที่หลากหลาย (กลุ่มอายุ 46-53) ดังนั้นการวิจัยเชิงนิเวศวิทยาเกี่ยวกับสังคมของ ความเป็นเอกลักษณ์ของความคิดของมนุษย์และการสังเกตเชิงประจักษ์ ล้วนบ่งชี้ว่าไม่มีข้อจำกัดด้านความรู้ความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับสังคมมนุษย์ การวิเคราะห์ใหม่ของเราให้หลักฐานชิ้นสุดท้ายที่จำเป็นต่อการเพิกเฉยต่อ 'Dunbar's number' โดยสรุปการอนุมานขีดจำกัดการรับรู้ของมนุษย์จากการถดถอยของข้อมูล Primates ที่ไม่ใช่มนุษย์นั้นมีค่าจำกัด ด้วยเหตุผลทั้งทางทฤษฎีและเชิงประจักษ์ เป็นความหวังของเรา แม้ว่าอาจจะไร้ประโยชน์ แต่การศึกษาครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นในการยุติการใช้ 'Dunbar’s Number' ในวิทยาศาสตร์ และในสื่อยอดนิยมต่าง ๆ ว่า 'Dunbar's number' เป็นแนวคิดที่มีพื้นฐานทางทฤษฎีที่จำกัด ซึ่งยังคงขาดข้อมูลเชิงประจักษ์ในการสนับสนุน ด้วยมนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่ต้องการมีความสัมพันธ์ที่ดีและมีความต่อเนื่องกับมนุษย์คนอื่น ๆ ถ้ามีจำนวนน้อยเกินไปก็จะไม่เกิดประโยชน์เต็มที่ แต่หากมีมากจนเกินไปก็ไม่สามารถรักษาความสัมพันธ์อย่างดีไว้ได้อย่างยั่งยืน ตัวเลข 150 ของ Dunbar จึงอาจเหมาะสมพอดีกับวัฒนธรรมตะวันตกซึ่งมีลักษณะเฉพาะในการรักษาความสัมพันธ์อันแตกต่างจากวัฒนธรรมอื่น ๆ ก็เป็นได้ ในสังคมตะวันออกโดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา การให้ความสำคัญแก่พิธีกรรมเป็นพิเศษเพื่อสร้างและรักษาความสัมพันธ์ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายมิใช่น้อย (เช่น ของฝาก การไปร่วมงานพิธีต่าง ๆ ของขวัญฯ) จึงมีความเป็นไปได้ที่จำนวนตัวเลข 150 นี้อาจไม่ถูกต้องตามบริบทของสังคมตะวันออกก็เป็นได้


โปรเด็ด! ถึง 31 ก.ค. นี้ Ford Ranger, MG ZS, Mazda 2 และ Nissan อัลเมร่า ทักไลน์ @THESHOPSTIMES 
คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

รู้จัก “ถ้วยอนามัย” ทางเลือกใหม่ของสาวสายกรีน

สวัสดี ท่านผู้อ่าน THE STUDY TIMES ทุกท่านนะคะ วันนี้ป้าหมึกอยากจะมาแนะนำสิ่งใหม่ ของใหม่ ที่หลาย ๆ คนอายกจะรู้ อยากจะลอง วันมามากของผู้หญิงทั้งหลายจะต้องสบายขึ้นด้วย “ถ้วยอนามัย” แต่จะมีความวิเศษยังไงนั้น ตามป้าหมึกมาได้เลยค่ะ (: 

ป้าก็พึ่งรู้ว่าในโลกปัจจุบันเดี๋ยวนี้มีนวัตกรรมใหม่ มากมายเต็มไปหมด ป้าตามแทบไม่ทันแล้วล่ะคะ อย่าง “ถ้วยอนามัย” เนี่ย ก็พึ่งได้ยินชื่อมาเหมือนกัน แล้วมันมีความน่าสนใจมาก เลยอยากจะขอแบ่งปันมาให้ท่านผู้อ่านได้กระจ่างกันว่า มันคืออะไร มีหน้าตาอย่างไรค่ะ

เจ้า “ถ้วยอนามัย” เป็นถ้วยเล็ก ๆ มีปลายที่เป็นเหมือนก้าน ยื่นออกมาเล็กน้อย ตัวถ้วยทำจากซิลิโคนที่สามารถบีบ และบิดให้เล็กลง เพื่อการสอดใส่ผ่านช่องคลอดเข้าไปด้านในเพื่อรองรับเลือดประจำเดือนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเลยค่ะ ในปัจจุบันสาว ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศหลายคนเริ่มหันมาใช้ถ้วยอนามัยกันมากขึ้น ความพิเศษมีอะไรบ้าง มาค่ะ ป้าจะเล่าให้ฟัง 

ซึ่งเจ้าตัวถ้วยอนามัยนี้มีสามารถที่จะรองรับประจำเดือนของเราได้ทั้งวันเลยค่ะ เพราะด้วยรูปทรงที่เป็นถ้วยทำให้สามารถรองรับประจำเดือนแม้จะมามากเท่าไรก็ตาม โดยส่วนใหญ่การรองรับจะอยู่ที่ประมาณ 12 ชั่วโมง ซึ่งเป็นข้อดีที่เราไม่ต้องเปลี่ยนบ่อย ๆ และที่สำคัญเหมาะมาก ๆ เลยนะคะ ในวันที่เราอาจจะต้องมีกิจกรรมพิเศษ ไปโลดเล่นเต้นระบำก็ไม่ต้องห่วงค่ะ และที่สำคัญเราสามารถใส่ถ้วยอนามัยสามารถทำกิจกรรมทางน้ำได้อีกด้วยนะคะ ไม่ต้องเป็นห่วงว่าจะหลุดระหว่างทำกิจกรรม

และข้อดีที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ สามารถนำมาใช้ซ้ำ นำกลับมาใช้ใหม่ได้ค่ะ โดยเราสามารถนำมาทำความสะอาดด้วยสบู่หรือน้ำยาที่ใช้ล้างกับตัวซิลิโคนได้ จึงเป็นข้อดีอีกอย่างหนึ่งเพราะว่าแต่ก่อนท่านผู้หญิงหลาย ๆ คนจะต้องซื้อผ้าอนามัยแบบแผ่นพอใช้เสร็จก็ต้องทิ้ง เป็นขยะย่อยสลายยากอีก ป้าว่าเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่น่าสนใจมาก ๆ เลยนะคะ นอกจาก Save เงินในกระเป๋าแล้วยัง Save โลกจากขยะผ้าอนามัยอีกค่ะ 

แต่ที่สำคัญในการใช้ถ้วยอนามัยคือ อาจจะต้องเลือกขนาดและเลือกไซส์ให้เหมาะสมกับรูปร่าง และช่วงอายุของเรา เพราะถ้าเราเลือกขนาดผิด อาจจะทำให้เราใช้ถ้วยอนามัยได้ไม่เต็มที่ ขนาดของถ้วยอนามัย จึงมีความสำคัญต่อสรีระร่างกายของเรามากเลยค่ะ โดย

- เด็กผู้หญิงอายุต่ำกว่า 18 ปี : ไซส์เล็ก (S)
- ผู้หญิงที่มีอายุระหว่าง 18 ถึง 30 ปีที่ยังไม่เคยคลอดลูก: ไซส์กลาง (M)
- ผู้หญิงทุกวัยที่มีการคลอดทางช่องคลอดอย่างน้อย 1 ครั้ง : ขนาดใหญ่ (L)

แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสรีระของแต่ละคนด้วยนะคะ เพราะสรีระ รูปร่างของแต่ละคนมีขนาดไม่เท่ากัน ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญก่อนใช้ด้วยนะคะ 

หลาย ๆ คนอาจจะเคยเจอเหตุการณ์คือในช่วงแรกมีอาการกลัวเกิดขึ้นว่า จะหลุดหายเข้าไปเลยรึเปล่า ความจริงแล้วถ้าเราสวมใส่ถูกวิธีก็จะไม่มีอะไรน่ากังวลเลยล่ะค่ะ ป้าเลยขออนุญาตแปะภาพวิธีการใส่สักหน่อยนะคะ


นอกจากนี้การพับถ้วยอนามัยเข้าไปในส่วนช่องคลอดของเราก็มีการพับหลากหลายรูปแบบเลยค่ะ 

ข้อเสียของถ้วยอนามัยอาจจะเป็นในเรื่องของการดูแลรักษาความสะอาด เพราะว่าถ้วยอนามัยเป็นการรองรับประจำเดือนของเรา อาจจะต้องมีการเททิ้งและทำความสะอาดให้ดีนะคะ เพื่อเป็นการฆ่าเชื้อโรคและแบคทีเรีย โดยเมื่อเราถอดถ้วยอนามัยแล้วให้ถ้วยอนามัยไปต้มในน้ำเดือดประมาณ 3 – 5 นาทีแล้วนำออกมาผึ่งให้แห้ง หลังจากนั้นทำความสะอาดโดยสบู่อีกรอบหนึ่งแล้วนำไปตากให้แห้ง อาจจะยุ่งยากไปสักนิดแต่รับรองว่าปลอดภัย ปลอดเชื้อโรคแน่นอนค่ะ 

และนี้ก็เป็นหนึ่งสิ่งที่ป้าอยากมาบอกเล่าเกี่ยวกับ ถ้วยอนามัย ถ้าเกิดใครสนใจอยากที่จะลองใช้ ก็ควรลองศึกษาดี ๆ ก็ใช้นะคะ ทุกสิ่งทุกอย่างควรศึกษาวิธีการใช้ เข้าใจผลิตภัณฑ์ทุกชิ้น เพื่อความปลอดภัย และความสบายใจของตัวเราเองด้วยค่ะ สำหรับครั้งหน้าป้าจะมาเล่าอะไร คอยติดตามกันด้วยนะคะ Have a nice day ค่ะ (: 


แหล่งข้อมูล 
https://undubzapp.com/ถ้วยอนามัย
https://www.sanook.com/health/24249/ 
https://www.happicup.com/
https://bestreview.asia/best-menstrual-cup/

ประกันอะไร? ได้ตั้ง 4 ต่อ!! ก็ประกันภัยรถยนต์จาก @THESHOPTIMES ไง!!

จะดีกว่ามะ!! หากเงินที่เราจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยรถยนต์ไปนั้น จะได้ราคาถูกกว่าเจ้าอื่น ๆ และแถมยังคืนกลับมาเป็นค่าคอมมิชชั่นอีกต่างหาก

มันดีอยู่แล้ว!! แต่ต้องแวะมาคลิกผ่านระบบสมาชิก @THESHOPTIMES ซึ่งบริหารงานภายใต้เครือข่ายระบบ MGM (Member get Member) ของบริษัท ศรีกรุงโบรคเกอร์ จำกัด กันนะจ๊ะ

เพราะเพียงสมัครเป็นสมาชิกกับเราวันนี้ ได้ทันที 4 คุ้ม (ค่าสมัคร 200 บาท)

- ฟรี!!!ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) 100,000 บาท

- รับคอมมิชชั่นหรือส่วนลดทันที ในอัตราที่สูงกว่า แถมได้สิทธิซื้อประกัน พ.ร.บ.ราคาถูกตลอดชีพ

- สามารถผ่อนได้สูงสุด 6 งวด ดอกเบี้ย 0% โดยไม่ต้องใช้บัตรเครดิต

- ขายดีมีรายได้เพิ่มให้กับตัวเอง

นอกจากนี้ สิ่งที่จะได้รับจากการซื้อประกันภัยผ่าน @THESHOPTIMES ยังมีแบบประกันหลากหลาย สมัครที่เดียว ขายได้เกือบทุกบริษัท โดยไม่บังคับยอดขาย ส่วนเจ้าของรถยนต์สมัครสมาชิก ซื้อใช้เองในราคาถูก เหมือนซื้อในราคาตัวแทนประกันภัย เช็กเบี้ยประกัน และเปรียบเทียบราคาได้ถึง 36 บริษัทประกัน

ไม่เพียงเท่านั้น ด้วยโครงสร้างธุรกิจแบบ MGM ยังช่วยให้คุณสามารถสร้างรายได้ให้กับตนเองแบบไร้ขีดจำกัด จาก 3 รูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น...

- รายได้จากการขายเอง มาจากการขายให้กับคนในครอบครัว ญาติพี่น้อง เพื่อน หรือคนรู้จัก หรือซื้อให้กับรถตัวคุณเอง

- รายได้จากค่าแนะนำ มาจากการที่คุณแนะนำ ทุกคนที่คุณรู้จัก ให้มาเป็นสมาชิกกับศรีกรุงโบรกเกอร์ บริษัทให้ค่าแนะนำกับคุณ โอนเข้าบัญชี

- รายได้จากค่าสายงาน ซึ่งมาจากคนทีมงานของคุณ ยอดขายของทีมงานคุณคือรายได้ของคุณในอัตราผลตอบแทน 3-7% โดยมีทีมงานมืออาชีพพร้อมให้คำแนะนำ แต่จะต้องมีใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย

เรียกว่าได้ทั้งความคุ้มครอง และเป็นได้ทั้งอาชีพหลัก อาชีพเสริม อาชีพอิสระ ช่วยสร้างรายได้ไร้ขีดจำกัด เหมาะกับสถานการณ์วิกฤตที่คนไทยกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้

ที่สำคัญความเสี่ยงต่ำม้ากกกกก เพราะทุกวันนี้ธุรกิจประกันภัยเป็นธุรกิจที่ยังเติบโตได้ในขณะที่ธุรกิจอื่น ๆ ต่างได้รับผลกระทบอย่างหนัก และที่สำคัญรหัสสมาชิก ยังเป็นมรดกตกทอดถึงลูกหลาน นั่นหมายความว่ารายได้จากทีมงานที่คุณสร้างไว้จะตกทอดเป็นมรดกให้ลูกหลานต่อไปด้วยแหละ...

????สนใจติดต่อ Line @THESHOPSTIMES

สวนกระแสโลก!! เมื่ออินเดีย เพาะพันธุ์ 'ยูนิคอร์น' ไล่กวด 'สหรัฐฯ-จีน' ภายใต้ 'คนเก่ง - รัฐเร่ง Go - โควิดหนุน'

เมื่อไม่นานมานี้ ประเทศไทยมีข่าวใหญ่ในแวดวงธุรกิจสตาร์ทอัพที่เป็นที่กล่าวขวัญและฮือฮาที่สุด นั่นก็คือ กรณีที่กลุ่มธุรกิจแฟลช (Flash Group) ผู้ให้บริการอีคอมเมิร์ชสัญชาติไทยแบบครบวงจรที่คนส่วนใหญ่จะรู้จักบริษัทในเครือคือ แฟลชเอ็กซ์เพรส (Flash Express) ได้รับเงินระดมทุนล่าสุดซึ่งเป็นการระดมทุนรอบซีรีส์ D+ เป็นเงิน 150 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 4,700 ล้านบาท ส่งผลให้กลุ่มธุรกิจแฟลชขึ้นแท่นเป็นสตาร์ทอัพไทยรายแรกที่ไต่สู่ระดับ “ยูนิคอร์น (Unicorn)” ด้วยมูลค่าธุรกิจมากกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือกว่า 3 หมื่นล้านบาทภายใน 3 ปีเท่านั้น

แต่ว่าในช่วงไล่เลี่ยกันที่ประเทศอินเดียที่คนส่วนใหญ่อาจจะคาดไม่ถึง ปรากฏว่าแค่ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2564 ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกสอง กลับมีการแจ้งเกิดของ “ยูนิคอร์น” รายใหม่มากถึง 11 บริษัท ส่งผลทำให้ ณ วันที่ 28 มิถุนายน 2564 อินเดียมีบริษัทสตาร์ทอัพที่อยู่ในระดับ “ยูนิคอร์น” รวมทั้งสิ้นจำนวนมากถึง 48 บริษัท มากที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกาที่มีจำนวน 288 บริษัทและประเทศจีนที่มีจำนวน 133 บริษัท ตามลำดับ


สำหรับผู้ที่รู้จักประเทศอินเดียดีก็จะไม่รู้สึกแปลกใจกับการที่อินเดียติดอันดับ 3 ของโลกที่มีจำนวน “ยูนิคอร์น” มากที่สุดถึง 48 บริษัทและมี “ยูนิคอร์น” เกิดใหม่ถึง 11 บริษัทภายใน 6 เดือนแรกของปี 2564 หรือโดยเฉลี่ยมี “ยูนิคอร์น” เกิดใหม่ในอินเดียเกือบ 2 บริษัทต่อเดือนเลยทีเดียว ซึ่งความสำเร็จนี้ไม่ได้มาด้วยความบังเอิญหรือได้มาง่าย ๆ เพียงแค่ชั่วข้ามคืน แต่เป็นผลมาจากการทำงานหนักของทั้งภาครัฐและเอกชนของอินเดียโดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายที่ชัดเจนของรัฐบาลอินเดียภายใต้การนำของท่านนเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรีที่มาจากพรรค BJP (Bharatiya Janata Party) ตั้งแต่ในสมัยแรกที่เข้ามาบริหารประเทศ  (ปัจจุบันเป็นสมัยที่สอง) ที่มีการกำหนดนโยบายต่าง ๆ ที่จะเปลี่ยนประเทศอินเดียให้เป็น “อินเดียใหม่” โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบาย “Digital India” ที่จะสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันและผลิตภาพของประเทศในระยะยาวที่ยั่งยืนรวมทั้งเป็นการสร้างแบรนด์ India ไปทั่วโลกด้วย

สำหรับคำว่า “ยูนิคอร์น” (Unicorn) ซึ่งหมายถึงสัตว์ในตำนานของยุโรปที่ถูกนำมาเปรียบเทียบกับธุรกิจสตาร์ทอัพที่สามารถระดมทุนได้เกิน 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ขึ้นไป ก็เพราะการที่ธุรกิจสตาร์ทอัพจะสามารถระดมทุนได้สูงขนาดนี้ถือเป็นสิ่งที่ยากมา ถ้าหากทำได้ก็จะกลายเป็น “ตำนาน” เช่นเดียวกับ “ยูนิคอร์น” นั่นเอง ทั้งนี้ ทางฝั่งอินเดียเองก็พบว่ามีสัตว์ประเภทนี้อยู่ในตำนานโบราณของอินเดียด้วยเช่นกัน ซึ่งในภาษาฮินดีซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษาสันสกฤตจะเรียกสัตว์ในตำนานนี้ว่า “Ekshringa” ซึ่งน่าสนใจมาก ผมเลยสอบถามไปที่กัลยาณมิตรทางด้านอินเดียของผมคือ อาจารย์กิตติพงศ์ บุญเกิด ผู้เชี่ยวชาญภาษาฮินดี แห่งคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งปัจจุบันกำลังศึกษาต่อระดับปริญญาเอกอยู่ที่ Northeastern Hill University ที่เมืองชิลลอง รัฐเมฆาลัย ประเทศอินเดีย โดยท่านได้กรุณาให้คำอธิบายได้อย่างชัดเจนว่า คำว่า Ekshringa หรือ “เอกศฤงค์” (อ่านว่า เอก-สะ-ริง) แยกออกได้เป็นคำว่า Eka หรือ “เอกะ” แปลว่า หนึ่ง ส่วนคำว่า Shringa หรือ “ศฤงคะ” แปลว่า เขาสัตว์ เพราะฉะนั้น คำว่า Ekshringa หรือ เอกศฤงค์ จึงแปลว่า “ผู้มีเขาเดียว” นั่นก็คือ “ยูนิคอร์น” นั่นเอง

จากข้อมูลของ India Today ฉบับประจำวันที่ 12 กรกฎาคม 2564 พบว่านอกจากยูนิคอร์นของอินเดียจะมีจำนวนมากเป็นอันดับ 3 ของโลกแล้ว ปรากฏว่าธุรกิจสตาร์ทอัพของอินเดียที่เป็น Tech Start-Ups ก็มีจำนวนอยู่ที่อันดับ 3 ของโลกด้วยเช่นกันด้วยจำนวนมากกว่า 12,500 ราย แต่ที่น่าสนใจมากกว่านั้นก็คือ เฉพาะในปี 2563 (ค.ศ. 2020) แค่ปีเดียวซึ่งเป็นปีแห่งวิกฤติการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่หนักหนาสาหัสที่สุดของทั้งโลกโดยเฉพาะในประเทศอินเดีย แต่ปรากฏว่าจำนวน Tech Start-Ups ในอินเดียกลับเกิดใหม่เพิ่มขึ้นมากกว่า 1,600 รายภายใน 1 ปี สวนกระแสวิกฤติการแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีที่แสดงให้เห็นว่าทุกวิกฤติย่อมนำมาซึ่งโอกาสดี ๆ เสมอ โดยสาเหตุสำคัญที่ทำให้ธุรกิจสตาร์ทอัพและยูนิคอร์นเติบโตอย่างมากในอินเดียหรือในโลกในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของโควิด-19 ก็มาจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่หันมาจับจ่ายใช้สอยผ่านระบบออนไลน์มากขึ้นนั่นเอง อย่างบริษัท Razorpay ซึ่งเป็น Payment Gateway ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2557 ปัจจุบันก็มีมูลค่าสูงถึง 3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรืออย่างบริษัท Swiggy ซึ่งเป็น Food Delivery Platform ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2557 เช่นกัน ปัจจุบันก็มีมูลค่าสูงถึง 5.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เลยทีเดียว

นอกจากวิกฤติการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่กลายเป็นแรงผลักดันที่ทำให้เกิดโอกาสสำหรับธุรกิจสตาร์ทอัพและยูนิคอร์นในอินเดียแล้ว อีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญก็คือ อัตราการเข้าถึงอินเตอร์เน็ของประชากรอินเดียที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก รวมทั้งการพัฒนาความเร็วในการสื่อสารหรือการถ่ายโอนข้อมูล รวมทั้งการเชื่อมต่อของระบบอินเตอร์เน็ตที่ครอบคลุมมากขึ้น ซึ่งจากรายงานของสมาคมอินเตอร์เน็ตและอุปกรณ์เคลื่อนที่แห่งอินเดีย (Internet and Mobile Association of India หรือ IAMAI) เมื่อช่วงต้นเดือนมิถุนายน 2564 ที่ผ่านมาพบว่า 43% ของประชากรอินเดียหรือคิดเป็นจำนวนประชากรอินเดียประมาณ 622 ล้านคนเป็นผู้ที่ใช้งานระบบอินเตอร์เน็ต (Active Internet Users) อยู่ในปัจจุบัน โดยอัตราการขยายตัวของการใช้อินเตอร์เน็ตในพื้นที่เขตชนบทสูงกว่าพื้นที่ในเขตเมือง ทั้งนี้ รายงานฉบับดังกล่าวเปิดเผยว่าในปี 2563 อัตราการใช้อินเตอร์เน็ตในพื้นที่เขตชนบทของอินเดียเพิ่มขึ้นถึง 13% ในขณะที่ในพื้นที่ในเขตเมืองเพิ่มขึ้นเพียง 4% เท่านั้น โดยการใช้งานอินเตอร์เน็ตส่วนใหญ่ทั้งในพื้นที่ในเขตชนบทและในพื้นที่ในเขตเมืองจะใช้งานผ่านโทรศัพท์มือถือที่เป็นสมาร์ทโฟนเป็นหลัก นอกจากนี้ จากรายงานการศึกษาร่วมระหว่าง ICEA (Indian Cellular and Electronics Association) กับบริษัทที่ปรึกษา KPMG เมื่อปีที่แล้วพบว่า ภายในอีก 2 ปีข้างหน้าอินเดียจะมีจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือที่เป็นสมาร์ทโฟนจำนวน 820 ล้านคน ซึ่งจะยิ่งทำให้เกิดผลดีต่อบรรดาบริษัท Tech Start-Ups และยูนิคอร์นของอินเดียอย่างแน่นอน และจะยิ่งส่งผลให้เกิดบริษัท Tech Start-Ups และยูนิคอร์นในประเทศอินเดียเพิ่มขึ้นอีกอย่างแน่นอน

อย่างไรก็ตาม การเกิดขึ้นของ Tech Start-Ups และยูนิคอร์นจำนวนมากในอินเดียมิได้เป็นผลมาจากวิกฤติการแพร่ระบาดของโควิด-19 เท่านั้นเพราะวิกฤติเป็นเพียงปัจจัยเสริมปลายน้ำ แต่พื้นฐานที่สำคัญที่สุดก็คือ การเกิดขึ้นของบริษัททางด้าน Info-Tech ชั้นดีของอินเดียในช่วงทศวรรษที่ 1990 อย่างเช่นบริษัท Infosys และบริษัท TCS (Tata Consultancy Services) เป็นต้น พร้อม ๆ กับการเกิดขึ้นของศูนย์กลางเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Hub) ที่เมืองบังกาลอร์ (หรือเบงกาลูรูในปัจจุบัน) และมาได้พลังเสริมจากนโยบายของรัฐบาลของท่านนเรนทรา โมดีตั้งแต่สมัยแรกที่มีความชัดเจนในเรื่องของดิจิตอล ซึ่งทั้งหมดเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้ประกอบการรุ่นใหม่ของอินเดียที่มีความฝันและความมุ่งมั่นที่จะเป็นยูนิคอร์นที่ประสบความสำเร็จในอนาคต

อย่างไรก็ตาม ยังมีจุดเปลี่ยนที่สำคัญสองเหตุการณ์ที่ส่งผลมาถึงการเจริญเติบโตของธุรกิจสตาร์ทอัพในอินเดียมาจนถึงปัจจุบัน โดยจุดเปลี่ยนแรกเกิดขึ้นเมื่อปี 2551 ซึ่งเป็นปีที่เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกทำให้บริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ต้องลดจำนวนพนักงานลงจำนวนมาก โดยในอดีตที่ผ่านมาบริษัทข้ามชาติยักษ์ใหญ่เหล่านี้มักจะจ้างคนอินเดียที่เก่ง ๆ และฉลาด ๆ ไปทำงานอยู่ด้วยเป็นจำนวนมาก เมื่อต้องเลิกการจ้างงานก็เลยทำให้เกิดปรากฏการณ์สมองไหลกลับหรือ Brain Drain ของคนอินเดียที่เก่ง ๆ และฉลาด ๆ เหล่านี้ที่เดินทางกลับไปแสวงหาโอกาสในบ้านเกิด ทำให้เกิดธุรกิจทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศระดับโลกขึ้นที่เมืองบังกาลอร์จำนวนมาก ส่วนจุดเปลี่ยนที่สองที่เกิดขึ้นคู่ขนานกันคือ การพัฒนาและขยายระบบอินเตอร์เน็ตให้ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศตั้งแต่ปี 2553 มาจนถึงปัจจุบันซึ่งส่งผลทำให้เกิดการขยายต้วของธุรกิจสตาร์ทอัพและยูนิคอร์นในอัตราสูงในปัจจุบัน

            สำหรับยูนิคอร์นของอินเดียจำนวน 48 บริษัทส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มธุรกิจด้าน Fintech ด้านบริการซอฟท์แวร์ (Saas: Software as a Service) และ E-Commerce แต่ทั้ง 48 บริษัทมีมูลค่าบริษัทรวมกันสูงถึง 139,700 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 4.47 ล้านล้านบาท

เห็นจำนวนยูนิคอร์นของอินเดียและมูลค่าบริษัทแล้วก็ถึงกับอึ้งกันเลยทีเดียว แต่อินเดียมีเรื่องให้อึ้งมากกว่านี้ ท่านผู้อ่านทราบไหมครับว่าจากจำนวนธุรกิจสตาร์ทอัพกว่า 12,500 บริษัท อินเดียมียูนิคอร์นที่มีมูลค่าเกิน 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ถึง 48 บริษัทมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลกรองจากสหรัฐอเมริกาและจีน แต่อินเดียยังเหนือชั้นกว่านี้อีกเพราะในปัจจุบันอินเดียมีธุรกิจสตาร์ทอัพที่มีมูลค่าเกิน 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ ที่เรียกกันว่า “Decacorn” ถึง 3 บริษัทซึ่งได้แก่ บริษัท PayTM  บริษัท OYO และล่าสุดหมาดๆคือ บริษัท Byju ซึ่งเป็นบริษัทสตาร์ทอัพทางด้าน Edtech ชื่อดังของอินเดียที่มีมูลค่าพุ่งขึ้นเป็น 16,500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในเดือนมิถุนายน 2564 ทำให้ Byju กลายเป็นธุรกิจสตาร์ทอัพที่มีมูลค่าสูงที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลกไปเรียบร้อยแล้ว

มาถึงจุดนี้ ผมคิดว่าเราคงต้องหันมา “มองอินเดียใหม่” กันแล้วครับ !!

 

กรุงเทพฯ - “มูลนิธิมาดามแป้ง” มอบชุดตรวจ Antigen Test Kit แก่ รพ.รามาธิบดี เพื่อหนุน Community Isolation แบ่งเบาแพทย์ พยาบาล

วันที่ 15 กรกฎาคม 2564 “มูลนิธิมาดามแป้ง” โดย “มาดามแป้ง” นวลพรรณ ล่ำซำ ซีอีโอ บมจ.เมืองไทยประกันภัย ในฐานะประธานกรรมการมูลนิธิ ขอร่วมแบ่งเบาภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์ในการคัดกรองประชาชน และลดอัตราการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ด้วยการมอบชุดตรวจ Antigen Test Kit จำนวน 3,000 ชุด มูลค่ากว่า 1,000,000 บาท ให้แก่โรงพยาบาลรามาธิบดี ส่งต่อไปยังประชาชนผู้ที่มีความเสี่ยงสูง อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนภารกิจ Community Isolation ของโรงพยาบาล

ด้านมาดามแป้ง นวลพรรณ ล่ำซำ กล่าวว่า “ในสถานการณ์อันยากลำบากนี้ มูลนิธิมาดามแป้งพยายามบูรณาการการช่วยเหลือสังคมในทุกมิติ ซึ่งพบว่าปัญหาหลักในปัจจุบัน คือผู้มีความเสี่ยงสูงมีจำนวนมากกว่าศูนย์บริการตรวจ RT-PCR จะรองรับได้ ส่งผลให้ยังไม่ได้รับการตรวจ นั่นอาจเพิ่มความเสี่ยงของการแพร่เชื้อมากขึ้นด้วย”

“การอนุมัติใช้ Antigen Test Kit ตรวจด้วยตัวเองได้ จะช่วยบรรเทาปัญหาเฉพาะหน้าได้ดีที่สุดตอนนี้ มูลนิธิมาดามแป้ง ซึ่งได้รับแรงสนับสนุนน้ำใจจากการบริจาคของประชาชน จึงขอร่วมสนับสนุนชุดตรวจแก่โรงพยาบาลรามาธิบดี เพื่อโครงการ Community Isolation เราเชื่อว่าจะช่วยแบ่งเบางานของคุณหมอ พยาบาล อาสาสมัคร ที่ทำงานหนักมาตลอด อีกทั้งจะช่วยเพิ่มความมั่นใจในการใช้ชีวิตในสถานการณ์ปัจจุบัน ลดโอกาสติด ปิดความเสี่ยงจากการออกนอกบ้านอีกด้วย” นางนวลพรรณ กล่าวเพิ่มเติม

มูลนิธิมาดามแป้ง ขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนในยามวิกฤตของสังคม และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า วิกฤตนี้จะผ่านพ้นไปได้โดยเร็ว

ชลบุรี - กองเรือยุทธการ ร่วมกับ อำเภอสัตหีบ ปล่อยแถวขบวนรถช่วยเหลือประชาชนช่วยโควิด-19

วันนี้ (16 ก.ค.64) ที่บริเวณหน้ากองบัญชาการกองเรือยุทธการ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี กองเรือยุทธการ ร่วมอำเภอสัตหีบ ร่วมพิธีเปิดปล่อยแถวขบวนรถเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน ช่วงสถานการณ์โควิด-19 โดยมี พลเรือเอก สุทธินันท์  สมานรักษ์ ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ นายกิตติพงษ์ กิติคุณ นายอำเภอสัตหีบ รวมทั้งนายทหารชั้นผู้ใหญ่ และผู้นำท้องถิ่น เข้าร่วมพิธี

พลเรือเอก สุทธินันท์ สมานรักษ์ ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ กล่าวว่า กองเรือยุทธการและอำเภอสัตหีบ ตระหนักถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและเห็นว่า สิ่งสำคัญที่ประชาชนพื้นที่สัตหีบต้องการคือกำลังใจ ที่ได้จากความร่วมมือของทุกภาคส่วน ในการส่งความช่วยเหลือให้พี่น้องประชาชนชาวสัตหีบ จึงเกิดเป็นที่มาของกิจกรรมปล่อยแถวขบวนรถเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่อยุ่ในกลุ่มเสี่ยงสูงถึงกลุ่มเสี่ยงต่ำ ประชาชนกลุ่มนี้คือผู้ได้รับความเดือดร้อนที่ต้องการรถรับ-ส่งเพื่แยกออกจากชุมชนที่อาศัย รอการตรวจคัดกรองไปยังสถานที่ที่กำหนดไว้ต่อไป

ขบวนรถดังกล่าวเกิดจากความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ซึ่งจะสามารถอำนวยความสะดวกในการรับ-ส่งประชาชนกลุ่มดังกล่าวได้ ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนนี้สร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนในภาพรวมได้เป็นอย่างดี


ภาพ/ข่าว  สมนึก เชื้อสนุก

ขอนแก่น – บุคลากรทางการแพทย์นับหมื่นคน เตรียมบูสเตอร์วัคซีนต้นเดือน ส.ค. ขณะที่แผนการฉีดวัคซีนยังเป็นไปตามกำหนด ไม่สลับสูตร แม้หลายคนจะขอยกเลิกการฉีดก็ตาม

เมื่อเวลา 08.30 น. วันที่ 16 ก.ค.2564 ที่สำนักงานสาธารณสุข จ.ขอนแก่น นพ.สมชายโชติ  ปิยวัชร์เวลา นายแพทย์สาธารณสุข จ.ขอนแก่น เปิดเผยว่า ขณะนี้แผนการของการบูสเตอร์โดสวัคซีนให้กับบุลากรทางการแพทย์ ที่ปฎิบัติหน้าที่ในพื้นที่ 26 อำเภอของจังหวัด ซึ่งจัดเป็นกลุ่มด่านหน้าของการควบคุม ป้องกันและเฝ้าระวังโควิด-19  โดยที่เข็มแรกที่บุคลากรทางการแพทย์ฉีดนั้นคือในวันที่ 7 พ.ค. ที่ผ่านมาซึ่งแผนการบูสเตอร์โดสวัคซีนให้กับ บุคลากรทางการแพทย์ขอนแก่นที่จะเข้ารับการฉีดวัคซีนประมาณ 22,000 คน ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขจะทยอยส่งมอบวัคซีนให้กับแต่ละจังหวัด ตามแนวทางการที่กำหนดโดยมี แผนการกระตุ้นที่ชัดเจนคือการใช้แอสตร้าเซเนเก้าบูสอีก 1 เข็ม ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับวัคซีนซิโนแวคแล้ว 2 เข็ม ซึ่งทุกคนที่ได้รับวัคซีนมาแล้ว2 เข็มจะต้องเว้นระยะห่าง 4 สัปดาห์ถึจะสามารถเข้ารับการบูสเตอร์โดสได้

“ขณะนี้ขอนแก่นได้เตรียมวัคซีนชิโนแวค 1 คนต่อ 2 เข็ม ซึ่งขณะนี้จากการสำรวจพบว่าหลายคนยังคงยืนยันขอรับการฉีดตามแผนเดิม ดังนั้นการบริหรจัดการวัคซีนในจังหวัด ที่กำหนดไว้คือภายในเดือน ก.ย. คนขอนแก่นจะต้องได้รับวัคซีนเข็มแรกครอบคลุมประชากรร้อยละ 70จะดำเนินการอย่างต่อเนื่องต่อไป แต่สิ่งที่พบในขณะนี้คือ เริ่มมีการขอผลัดหรือขอเลื่อนการรับวัคซีนออกไป โดยเฉพาะกับการรับวัคซีนชิโนแวคเข็มที่ 1ดังนั้นทีมแพทย์จะต้องแนะนำและทำความเข้าใจกับประชาชนตามแผนงานที่กำหนด คือการให้ผู้ที่ได้รับการยืนยันการเข้ารับวัคซีนได้เข้ารับวัคซีนตามที่กำหนด  คือรับวัคซีนชิโนแวค เข็มที่ 1 เมื่อครบ 3 สัปดาห์ก็ให้เข้ารับวัคซีนเข็มที่ 2 ตามที่กำหนด ซึ่งบุคลากรทางการแพทย์ก็ดำเนินการในลักษณะเดียวกัน”

นพ.สมชายโชติ กล่าวต่ออีกว่า ถ้าหากทุกคนยอมรับเฉพาะแนวทางการฉีดชิโนแวคเข็มที่ 1 และแอสตร้าเซเนก้า เข็มที่ 2 ก็จะทำให้วัคซีนชิโนแวคจะเหลือ ได้ ซึ่งข้อมูลล่าสุดวันนี้ขอนแก่นมีวัคซีนชิโนแวคอยู่ประมาณ 10,000  โดส ซึ่งเป็นวัคซีนที่จะเตรียมสำหรับการฉีดให้กับเข็มที่  2 ที่จะเข้าสู่ช่วงการฉีดในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือน ก.ค. อีกทั้งจังหวัดจะได้รับการจัดสรรวัคซีนอีกประมาณ 22,000 โดส ในระยะนี้ หากนำมาฉีดเป็นเข็มที่ 1 อย่างเดียว ก็ยังไม่ทราบว่าหากนำแอสตร้าเซเนก้า มาฉีดเป็นเข็มที่ 2 ให้นั้น จะทำอย่างไร และบางคนก็ปฎิเสธที่จะรับชิโนแวคทั้ง 2 เข็ม ซึ่งก็มีเกิดขึ้นแล้ว เช่นกัน

“ดังนั้นหน่วยบริการวัคซีนของทุกพื้นที่จะต้องทำความเข้าใจ ว่าวัคซีนที่ดีที่สุดวันนี้ คือวัคซีนทุกคนจะต้องได้รับได้เร็วที่สุด และปฎิบัติตัวด้วยความเข้าใจดำเนินการตามแผนงานที่ฝ่ายสาธารณสุขและแพทย์กำหนด  การป้องกันตัวเองเป็นสิ่งที่สำคัญไม่ใช่ว่าฉีดวัคซีนแล้วจะทำอย่างไรก็ได้ไม่มีการป้องกันเป็นิส่งที่ไม่สมควรทำ อย่างไรก็ตามสำหรับการบูสเตอร์วัคซีนให้กับบุคลากรทางการแพทย์ทั้งจังหวัดหากนับรวมระยะเวลาในการฉีดเข็มที่ 1 และเข็มที่ 2 และระห่างในภาพรวมนั้น ชุดแรกที่จะได้รับการบูสเตอร์วัคซีนก็จะสามารถเข้ารับการฉีดได้ในช่วงต้นเดือน ส.ค.”

DSI สนธิกำลังตรวจที่เกิดเหตุ จังหวัดนราธิวาสในคดีพิเศษที่ 22/2564

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฏาคม 2564 พันตำรวจโท กรวัชร์ ปานประภากร อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ พันตำรวจโท ปกรณ์ สุชีวกุล รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ในฐานะกำกับดูแล นายมเหสักข์ พันธ์สง่า ผู้อำนวยการกองปฏิบัติการคดีพิเศษภาค ได้มอบหมายให้ นายพิเชฐ ทองศรีนุ่น ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านคดีพิเศษ ศูนย์ปฏิบัติการแผนที่ กรมสอบสวนคดีพิเศษ และนายชยพล สายทวี ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการคดีพิเศษจังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมด้วยคณะพนักงานสอบสวนศูนย์ปฏิบัติการคดีพิเศษจังหวัดชายแดนภาคใต้ ร่วมกับ สำนักอำนวยการข่าวกรอง กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (สขว.กอ.รมน.ภาค4สน.),หน่วยเฉพาะกิจทหารพรานที่ 49 (ฉก.ทพ.49),กองร้อยทหารพรานที่ 4908,สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 13, สำนักงานที่ดินจังหวัดนราธิวาส สาขาสุไหงปาดี, ปลัดอำเภอสุคิริน, ผู้ปกครองท้องที่กำนันตำบลทุ่งไทร ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 4  ตำบลทุ่งไทร, ศูนย์ปฏิบัติการนิติวิทยาศาสตร์จังหวัดชายแดนภาคใต้, สาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส, กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยกรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (บก.ปทส.), ผู้เชี่ยวชาญด้านการอ่านแปลภาพถ่ายทางอากาศ ที่ปรึกษาคดีพิเศษ และเจ้าของที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ตรวจที่เกิดเหตุ เขากูยิ ตำบลร่มไทร อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส โดยแยกการดำเนินการเป็น 2 ส่วน ดังนี้

1) ตรวจตอไม้ที่มีการอ้างว่าตัดจากที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ จำนวน 21 ตอ เพื่อตรวจสอบ ชนิด ขนาด วงปี และพิกัดตอไม้ว่าอยู่ในเขตป่าหรือไม่

2) ตรวจตำแหน่ง สภาพที่ดิน และการทำประโยชน์ในที่ดินจำนวน 6 แปลง เนื้อที่รวมกว่า 200 ไร่ โดยมีผู้มีชื่อเจ้าของที่ดินเป็นผู้นำชี้ ประกอบกับการเดินสำรวจของเจ้าพนักงานที่ดินว่าเอกสารสิทธิดังกล่าวได้ออกโดยถูกต้องหรือไม่

โดยก่อนดำเนินการมีเจ้าหน้าที่และบุคลากรด้านสาธารณสุขจากจังหวัดนราธิวาส มาทำการคัดกรองและให้คำแนะนำเกี่ยวกับมาตรการการป้องกันโควิด และมีเจ้าหน้าที่หน่วยทหาร EOD หน่วยสุนัขทหาร K9 มาสนับสนุนการปฏิบัติการ เพื่อการระวังความปลอดภัยตลอดเส้นทางและขณะทำการตรวจสอบ

ในการดำเนินการในคดีพิเศษที่ 22/2564 คณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ จะได้รวบรวมข้อเท็จจริงและพยานหลักฐาน และทำการวิเคราะห์ เพื่อพิจารณาดำเนินคดีกับผู้เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดต่อไป


ภาพ/ข่าว  ปทิตตา หนดกระโทก ผู้สื่อข่าวนราธิวาสรายงาน

ร้อยเอ็ด - รองแม่ทัพภาค 2 นำ พสบ.ทภ.2 รุ่น 2 เยี่ยม รพ.สนาม ร้อยเอ็ด

เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม ที่กองพลทหารราบที่ 6 ค่ายสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ตำบลโพธิ์สัย อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด พล.ต.สวราชย์ แสงผล รองแม่ทัพภาคที่ 2 และคณะ ได้เดินทางมาตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลสนามกองทัพบก หน่วยมณฑลทหารบกที่ 27 กองพันเสนารักษ์ที่ 6 กองพลทหารราบที่ 6 โดยมี พ.อ.ณัฎฐ์ ศรีอินทร์ รองผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 6 ให้การต้อนรับพร้อมบรรยายสรุปและนำตรวจนำตรวจเยี่ยมพบปะให้กำลังใจแพทย์และบุคลากรประจำโรงพยาบาล

จากนั้น พล.ต.สวราชย์ แสงผล นางธนชนก สุริยเดชสกุล และนายอรรครัตน์ รัตนจันทร์ ผู้แทนนักศึกษาหลักสูตรพัฒนาสัมพันธ์ระดับผู้บริหาร กองทัพภาคที่ 2 รุ่นที่ 2 (พสบ.ทภ.2 รุ่น2) ได้มอบเสื้อและพัดลม เพื่อใช้ในกิจกรรมโรงพยาบาลสนามโดยมีนายแพทย์อัศราวุธ ใจหาญ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีสมเด็จ และผู้อำนวยการสนามแห่งที่ 3 เป็นผู้รับมอบ

พ.อ.ณัฎฐ์ ศรีอินทร์ รองผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 6 กล่าวว่า โรงพยาบาลสนามกองทัพบกมณฑลทหารบกที่ 27 ค่ายสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เริ่มเปิดเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม  เป็นโรงพยาบาลสนามแห่งที่ 3 ของจังหวัดร้อยเอ็ด ต่อจากแห่งที่ 1 ที่หอประชุมจังหวัดร้อยเอ็ด และแห่งที่ 2 ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด สามารถรองรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่มีอาการหรือมีอาการน้อยเข้ารับการรักษาได้ จำนวน 100 เตียง โดยมีทีมบุคลากรทางการแพทย์ จากโรงพยาบาลศรีสมเด็จ โรงพยาบาลจังหาร โรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน และโรงพยาบาลค่ายสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (ค่ายโสกเชือก) หน่วยเสนารักษ์ หมุนเวียนมาปฏิบัติงาน

พ.อ.ณัฎฐ์ กล่าวว่า การดำเนินการของโรงพยาบาลสนามแห่งที่ 3 นี้ จะใช้อาคารรับผู้ป่วย 2 อาคาร อาคารละ 50 เตียง ใช้บุคคลากรจากโรงพยาบาลอำเภอศรีสมเด็จ ร่วมกับโรงพยาบาลค่ายสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และกองพันเสนารักษ์ที่ 6 จัดวางระบบการดูแลผู้ป่วยผ่านกล้องวงจรปิด, Video call, และเครื่องขยายเสียง ไม่มีการสัมผัสกับผู้ป่วยโดยตรง มีการกำหนดเขตหวงห้าม เส้นทางการนำส่งผู้ป่วยชัดเจนเพื่อให้ปลอดภัยต่อกำลังพลและครอบครัวของหน่วยที่อาศัยอยู่ภายในค่าย ในการนี้รองแม่ทัพภาคที่ 2 ได้เป็นผู้แทนรับมอบสิ่งของบริจาคจากภาคส่วนต่างๆสนับสนุนการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามแห่งนี้ด้วย

"ภายหลังการตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลสนาม รองแม่ทัพภาคที่ 2 ได้ตรวจเยี่ยมการปฏิบัติตามแผนการดูแลผู้ติดเชื้อที่สามารถดูแลตนเองที่บ้านได้ (Home Isolation) ของหน่วยในค่ายสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พร้อมทั้งให้คำแนะนำเพื่อให้หน่วยสามารถดำเนินการดูแลกำลังพลและครอบครัวให้ปลอดภัยตามมาตรการพิทักษ์พลด้วย" พ.อ.ณัฎฐ์ กล่าว


ภาพ/ข่าว  ชุด ฉก.พญาอินทรีย์ / เดวิท โชคชัย

กระบี่ – คลัสเตอร์โรงเรียนปอเนาะ ยอดติดเชื้อผู้ป่วยลด ขณะที่จังหวัดกระบี่เตรียมผุดโรงพยาบาลสนามแห่งที่ 4 รับผู้ป่วยติดเชื้อกลับบ้าน

ศูนย์อำนวยการบริหารสถานการณ์โรคติดเชื้อโควิด-19 จ.กระบี่ ได้รายผลการตรวจ เชื้อกลุ่มเสี่ยง ข้อมูล ณ เวลา 23.00 น. วันที่ 14 ก.ค. พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 10 ราย ส่งผลให้มียอดผู้ป่วยสะสมเป็น 882 ราย กำลังรักษา 471 รายรักษาหายกลับบ้าน 411 ราย โดยคลัสเตอร์ นักเรียนโรงเรียนเอกภาพศาสนวิชญ์ ต.ทรายขาว อ.คลองท่อม พบผู้ติดเชื้อเพิ่มเพียง 2 ราย มีประวัติสัมผัสผู้ป่วยยืนยันนักเรียนโรงเรียนเอกภาพศาสนวิชญ์

นอกจากนี้ยังมีผู้ติดเชื้อ ในพื้นที่ อ.เมือง 4 ราย เป็นนักเรียนจากโรงเรียนจงรักสัตย์วิทยาจังหวัดปัตตานี 1 ราย จากพื้นที่เสี่ยง กทม. 2 ราย และมาจากจังหวัดนครศรีธรรมราช 1 ราย อำเภออ่าวลึก 1 ราย มาจากพื้นที่เสี่ยง กทม.อำเภอเกาะลันตา 1 ราย มาจากพื้นที่เสี่ยง กทม.อำเภอปลายพระยา 1 ราย สัมผัสผู้ป่วยยืนยันจากจังหวัดนครสวรรค์ อำเภอเหนือคลอง 1 รายสัมผัสผู้ป่วยยืนยัน

สำหรับการฉีดวัคซีน ป้องกันไวรัสโควิด-19 ในพื้นที่ จ.กระบี่ เป้าหมายฉีดวัคซีน จำนวน 352,476 คน ฉีดแล้ว 84,191 คน คิดเป็นร้อยละ 23.87 ขณะที่บางคนตั้งข้อสงสัยปนคำถาม ในโซเชียลว่า! “ยังหนักไม่พอหรือ มีบางกลุ่มทำโครงการ “รับผู้ติดเชื้อ กลับบ้าน” มาอีก ไป copy จังหวัดอื่นมา จนลืมข้อจำกัดของจังหวัดเราไป เช่น กระบี่ เป็นพื้นที่สีแดง ชาวบ้านที่ได้ ฉีดวัคซีน เข็มแรก ก็ยังมีไม่ถึง 50% บุคลากรทางการแพทย์ พอไหม เขาจะไหวรึ หากคุมไม่อยู่จนระบาดเป็นพื้นที่แดงเข้ม ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบตามมาเดือดร้อนมีอีกมาก ใครจะรับผิดชอบ หากผู้ติดเชื้อ กักตัวในโรงพยาบาลสนามแล้วหนีออกมา (เหมือนที่เคย) แล้วไประบาด จะทำไง การนำผู้ติดเชื้อกลับเวลานี้ เป็นการไปเพิ่มความเครียดให้คนในพื้นที่หรือไม่ จิตวิทยามวลชน สำคัญ และที่สำคัญไปกว่าคือ ชาวบ้านที่เขายังไม่ได้ฉีดเข็มแรกก็มีมาก และโดยเฉพาะรอบ ๆ โรงพยาบาลสนาม อย่าให้ไปเข้าสำนวนโบราณที่ว่า ความวัวไม่ทันหาย ความควายก็มาแทรกเลยครับ สงสารประชาชน”

ขณะที่ จ.กระบี่ ได้จัดเตรียมโรงพยาบาลสนามแห่งที่ 4 ขึ้นที่ภายใน ม.กีฬา วิทยาเขตกระบี่ ต.กระบี่น้อย อ.เมือง จ.กระบี่ รับผู้ป่วยได้ จำนวน 400 เตียง คาดว่า ไว้รักษาผู้ป่วยโควิด-19 ตามโครงการรับผู้ป่วยกลับบ้าน


ภาพ/ข่าว  ณัฏฐพงษ์ ศรีปล้อง รายงาน


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top