Sunday, 4 May 2025
THE STATES TIMES TEAM

เอ็นไอเอ ร่วม ม.แม่โจ้ เปิดเวทีโชว์ศักยภาพ 10 สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีชีวภาพตั้งเป้าพลิกโฉมภาคเกษตรไทย ในงาน AgBioTech Incubation 2023 Demo Day

วันที่ 27 ตุลาคม 2566 สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA และเครือข่ายหน่วยงานพันธมิตรทั้งย่านนวัตกรรมเกษตรและอาหารแม่โจ้ สถาบันนวัตกรรมเกษตรเพื่ออุตสาหกรรมสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และภาคีเครือข่ายชีววิทยาสังเคราะห์ หรือ SynBio Consortium เปิดเวทีเป็นครั้งแรกให้ 10 สตาร์ทอัพสายเกษตรที่ผ่านการและพัฒนาศักยภาพอย่างเข้มข้นตลอดระยะเวลา 4 เดือน ภายใต้โครงการ AgBioTech Incubation 2023 ซึ่งเป็นโปรแกรม การเรียนรู้และฝึกปฏิบัติที่เฉพาะเจาะจงสำหรับสตาร์ทอัพสายเกษตรด้านเทคโนโลยีวภาพ ผนวกความร่วมมือกับเครือข่ายพันธมิตรชั้นนำและที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ด้วยการลงมือปฏิบัติทดสอบแนวคิดและสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบโจทย์ปัญหาในภาคการเกษตรของประเทศ สร้างให้เกิดสตาร์ทอัพสายเกษตรรายใหม่ในระบบนิเวศ ก่อให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้า เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรไทยได้อย่างยั่งยืน

ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาซน) กล่าวว่า "ภาคเกษตร”เป็นหนึ่งในอุตสากรรมเป้าหมายของ NIA เนื่องจากมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย โดยที่ผ่านมา NIA มุ่งเร่งสร้างและพัฒนาให้เกิดสตาร์ทอัพด้านเกษตรที่จะเป็นผู้สร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรมสู่เกษตรกรให้สามารถนำไปใช้งานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพผ่านเครือข่ายความร่วมมือภายใต้การดำเนินงาน Accelerator Program และ Incubator Program เพื่อเร่งการเติบโตของธุรกิจและช่วยบ่มเพาะธุรกิจด้านการเกษตรให้มีโอกาสขยายตลาดให้เติบโตมากขึ้น ตลอดจนได้รับการร่วมลงทุน ซึ่งจะเห็นได้ว่าในปัจจุบันนานาชาติมีการนำเทคโนโลยีเชิงลึกมาใช้ในภาคการเกษตรเพิ่มขึ้น โดยมีการประยุกต์ใช้ทั้งเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เทคโนโลยีชีวภาพ หุ่นยนต์ และบล็อกเชน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและควบคุมคุณภาพการผลิตภาคเกษตรได้ดีขึ้น แต่สำหรับประเทศไทยยังมีไม่ถึง 15 ราย ดังนั้น จึงได้ริเริ่มโครงการ "AgBioTech Incubation 2023"

โดยมุ่งสร้างสตาร์ทอัพสายเกษตรรายใหม่ที่ใช้ทั้งเทคโนโลยีเชิงลึกและเทคโนโลยีชีวภาพเข้าสู่ระบบนิเวศให้มากขึ้น เพื่อนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาประยุกต์ให้เกิดแนวทางใหม่ในการแก้ไขปัญหาภาคการเกษตร เนื่องจากประเทศไทยถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีศักยภาพการแข่งขันด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร เนื่องจากเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงเป็นอันดับ 8 ของโลก (อันดับ 3 ของอาเซียน) มีนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญด้านนี้มากกว่า 900 ท่าน และมีผลงานวิจัยและ
พัฒนาในระยะ 5 ปี มากกว่า 2,500 ผลงาน 

ทั้งนี้ จากข้อมูลของ AgFunder ในปี พ.ศ. 2565 พบว่า สตาร์ทอัพสายเกษตรด้านเทคโนโลยีชีวภาพเป็นสาขาที่มีมูลค่าการระดมทุนของทั่วโลกสูงถึง 79 พันล้านบาท แต่ในประเทศไทยยังมีมูลค่าเพียง
90 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 0.10 ของการลงทุนระดับโลกเท่านั้น ทำให้ยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก ดังนั้นNIA จึงเร่งส่งเสริมและสร้างให้เกิดสตาร์ทอัพสายเกษตรที่ใช้เทคโนโลยีชีวภาพรายใหม่เข้าสู่ระบบนิเวศนวัตกรรมเทคโนโลยี เชิงลึกให้เพิ่มมากขึ้นผ่านโครงการนี้

รองศาสตราจารย์ ดร. วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า "มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้รับการสนับสนุนจากNIA และความร่วมมือกับเครือข่ายพันธมิตรทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และเทศบาลท้องถิ่นในการผลักดันและพัฒนา "ย่าน นวัตกรรมเกษตรและอาหารแม่โจ้" ให้กลายเป็น "ซิลิคอนวัลเลย์ด้านนวัตกรรมการเกษตรของไทย" และในปีนี้ได้ร่วมดำเนิน

"โครงการพัฒนาสตาร์ทอัพด้านการเกษตรที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชีวภาพในระยะเริ่มต้นธุรกิจ" หรือ "AgBioTech Incubation" ซึ่งประกอบด้วย 3 กิจกรรมหลัก ได้แก่ 1) กิจกรรมพัฒนาที่ปรึกษาเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร ด้วยการ พัฒนาศักยภาพอาจารย์ นักวิจัย หรือผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตรให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการสร้างแนวคิดและทักษะการเป็นผู้ประกอบการ และเข้าใจการพัฒนาบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตรให้กับอาจารย์ 42 ท่านจาก 15 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ 2) กิจกรรมพัฒนาสตาร์ทอัพสายเกษตรที่ประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีชีวภาพ โดยมุ่งเน้นการบ่มเพาะผ่านกิจกรรมฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ การให้คำปรึกษาเชิงลึก และ การเป็นพี่เลี้ยงให้กับนักศึกษา นักวิจัยภาครัฐ หรือศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ โดยมี 10 ทีมสตาร์ทอัพที่ผ่านการคัดเลือกมานำเสนอรูปแบบธุรกิจของผลิตภัณฑ์และบริการ ได้แก่ 

So Mush: การผลิตเชื้อเห็ดบริสุทธิ์แบบน้ำ MYCO GARDEN HOME: สารเสริมการเติบโตในพืชเศรษฐกิจมูลค่าสูงและไม้ดอกไม้ประดับจากอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซ่า MaxBoost: สารป้องกันเชื้อวิบริโอและเชื้อไวรัสหัวเหลืองจากกลุ่มแอนไทเซนส์เสถียร Pure Plus: หัวเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพสูงด้วยลำแสงไอออนพลังงานต่ำเพื่อยับยั้งและป้องกันเชื้อโรคเหี่ยวเน่าในพืชเศรษฐกิจ Sentech Plus: สารชีวภัณฑ์ป้องกันการติดเชื้อแบบองค์รวมในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจาก Bacteriophages Bio Solution: ควบคุมศัตรูพืชด้วยศัตรูธรรมชาติ Gen- A-Tech: ระบบตรวจสอบเพศของพืชและลักษณะพิเศษด้านการเกษตรด้วย DNA Maker PLANTBIO:การผลิตสารสำคัญเชิงหน้าที่เพื่อใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางด้วยเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเซลล์พืช EverFresh:ผลิตภัณฑ์ไบโอโมเลกุลเปปไทด์สำหรับยืดอายุการเก็บรักษาสินค้าเกษตร และHappy Plant: ไมคอร์ไรซ่าที่มีความบริสุทธิ์ สูงจากระบบเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อเพิ่มอัตราการรอดเมื่อปลูกลงดิน และ 3) กิจกรรมสร้างให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือด้าน เทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร ผ่านการประสานงานและเชื่อมโยงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนทั้งรัฐ เอกชนสถาบันการศึกษา และนักลงทุน ในการร่วมทำงานกับสตาร์ทอัพ"

นายธนารักษ์ พงษ์เภตรา รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ประธานสถาบันอุตสาหกรรมเพื่อการเกษตร กล่าวสนับสนุนว่า "ประเทศไทยถือเป็นประเทศที่มีศักยภาพระดับแนวหน้าในการผลิตสินค้าเกษตรและอาหารส่งออกอันดับที่ 13 ของโลก มีมูลค่าสูงถึง 1.3 ล้านล้านบาท ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้สูงที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันโดยอาศัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาปรับใช้ เพื่อลดการสูญเสียและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมากขึ้น สตาร์ทอัพ สายเกษตรจึงมีความสำคัญกับประเทศเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกลุ่มที่ใช้เทคโนโลยีเชิงลึกมาแก้ปัญหาที่ซับซ้อนในภาคเกษตรทั้งในประเทศและขยายการใช้งานไปต่างประเทศ เพื่อรองรับความมั่นคงทางด้านอาหาร โดยโครงการนี้ได้สนับสนุนการเชื่อมต่อกับองค์กรที่มีเครือข่ายครอบคลุมอุตสาหกรรมการเกษตรของไทย เช่น อ้อย มะม่วง การเพาะเลี้ยงกุ้ง ทำให้สตาร์ทอัพเกิดการความเข้าใจที่แท้จริงในการประยุกต์นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมไปใช้แก้ปัญหาทางการเกษตร และเกิดการ พัฒนาที่มีประสิทธิภาพตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมเกษตร ซึ่งจะทำให้สตาร์ทอัพสามารถขยายตลาดและเติบโตได้อย่างรวดเร็วขึ้น"

“AgBioTech Incubation 2023 เป็นการพัฒนาสตาร์ทอัพด้านเกษตรรายใหม่ ด้วยกระบวนการบ่มเพาะแบบเข้มข้น ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ซึ่งทั้ง 10 ทีมมีเทคโนโลยี นวัตกรรม โซลูชั่นที่โดดเด่น และสามารถตอบโจทย์การแก้ปัญหาให้กับภาคการเกษตรได้อย่างแท้จริง ที่เป็นความหวังของภาคการเกษตรไทย ให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้าและเป็นตัวขับเคลื่อนนวัตกรรมการเกษตรของประเทศให้เติบโตต่อไป" ดร. กริชผกา กล่าวทิ้งท้าย

พร้อมกันนี้ได้มีพิธีลงนามความร่วมมือทางวิชาการเครือข่ายการขับเคลื่อนเทคโนโลยีเชิงลึกด้านการเกษตร (AgBiotech Consortium)ในงาน AgBioTech Incubation 2023 Demo Day “เปลี่ยนไอเดีย ต่อยอดเป็นธุรกิจ เพื่อแก้ปัญหาให้ภาคเกษตรสู่การเติบโต”อีกด้วย

'โบกธง' แสดงพลังศรัทธาชาวไทยมุสลิมใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ยุติความรุนแรงในปาเลสไตน์

เมื่อเวลาประมาณ 13.30 น.หน้าบริเวณ มัสยิดกลางจังหวัดนราธิวาสได้มี ชาวไทยมุสลิมและมุสลีมะห์ ใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ นราธิวาส ยะลา และปัตตานี ได้ออกมาแสดงพลังสามัคคี แสดดงจุดยืน ให้ยุติสงครามที่เกิดความรุนแรงขึ้นอยากต่อเนื่องจนบานปลายระหว่างประเทศ อิสลาแอล- ปาเลสไตน์ ด้วยความรุนแรงที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ จึงมี ทั้งประชาชน นักศึกษา สตรี เด็ก กว่า 200 คน  ถือธงปาเลสไตน์ และเรียกร้องให้ยุติความรุนแรง ขอความสันติให้กับพี่น้องที่ได้รับผลกระทบ และสูญเสียในสงครามครั้งนี้ จากนั้นได้เคลื่อนขบวน โบกธงปาเลสไตน์ ไปตามถนนสายหลักในเมือง จังหวัดนราธิวาส 

เนื่องจากก่อนหน้านี้ ได้รับรายงานจากโพสต์ ของเพจ Thailand Stand with Palestin ( ไทยเคียงข้างปาเลสไตน์ ) ได้ออกมาโพสต์ เชิญชวน ที่มีเนื้อหาว่า วันศุกร์ที่ 27 นี้ มาร่วมละหมาดกันที่ “ มัสยิดประจำจังหวัดรวมตัวกัน “หลังละหมาดวันศุกร์ เราจะไปโบกธงปาเลสไตน์ ให้โลกได้รู้ว่า เราเคียงข้างปาเลสไตน์ และ จะมีการแสดงพลัง เชิงสัญลักษณ์ต่อต้านการใช้ความรุนแรง หยุด โจมตีฉนวนกาซา เรียกร้องให้ยุติสงความ และสนับสนุนสันติภาพ อย่างเป็นธรรม

พิษณุโลก แม่ทัพภาคที่ 3 เยี่ยมและให้กำลังใจผู้ประสบอัคคีภัย บ้านพักชุมชนรอบค่ายฯ ที่ประสบเหตุอัคคีภัย

วันศุกร์ที่ 27 ตุลาคม 2566 เวลา 11.00 น. พลโท ประสาน แสงศิริรักษ์ แม่ทัพภาคที่ 3 และคณะผู้บังคับบัญชา เดินทางไปเยี่ยมให้กำลังใจและมอบเครื่องอุปโภค บริโภค ให้แก่นางปราณี โพธิ์พยอม อายุ 80 ปี ประชาชนในชุมชนรอบค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ประสบเหตุอัคคีภัย (11 ตุลาคม 2566 ) ที่ผ่านมา ณ สถานที่พักชั่วคราว ต.บ้านคลอง อ.เมือง จังหวัดพิษณุโลก โดยมี พันเอก กฤติ พันธะสา รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน จังหวัดพิษณุโลก (ฝ่ายทหาร) และนายกเทศมนตรีตำบลบ้านคลอง ร่วมให้การต้อนรับ

ทั้งนี้ แม่ทัพภาคที่ 3 ได้มอบเงินสนับสนุน เพื่อใช้ในการถมดินปรับพื้นที่ รวมทั้งมอบเครื่องดื่มชูกำลัง ให้กับชุดช่าง จากกองพันทหารม้าที่ 9 กองพลทหารราบที่ 4 (กองพันประจำอำเภอเมืองพิษณุโลก) ที่ดำเนินการก่อสร้างบ้านหลังใหม่ให้กับผู้ประสบภัยดังกล่าว เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงานต่อไป 

ผบ.ตร. ออกคำสั่งแนวทางการดำเนินการตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ.2565 มีผลเมื่อ 25 ต.ค.66 ให้ตำรวจทั่วประเทศปฏิบัติตาม ให้เป็นไปตามระเบียบกฎหมายทุกขั้นตอน ย้ำคำสั่งปรับเป็นพินัยให้คำนึงถึงความเหมาะสม

วันนี้ ( 27ต.ค.66 )พล.ต.ท. อาชยน ไกรทอง โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยว่า “ตามที่มี พ.ร.บ.ว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ.2565  โดยได้กำหนดให้เปลี่ยนความผิดอาญาที่มีโทษปรับสถานเดียว เป็นความผิดทางพินัย โดยความผิดทางพินัยไม่ถือเป็นโทษทางปกครองหรือทางอาญา โดยมีวิธีการขั้นตอนในการแสวงหาข้อเท็จจริง รวบรวมพยานหลักฐาน การแจ้งข้อกล่าวหาและแจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงข้อเท็จจริงหรือแก้ข้อกล่าวหา ภายในระยะเวลาไม่น้อยกว่า 30 วัน หากผู้ถูกกล่าวหาไม่ชี้แจงหรือแก้ข้อกล่าวหาภายในระยะเวลาดังกล่าว เจ้าหน้าที่ของรัฐจะมีคำสั่งปรับเป็นพินัยให้ผู้ถูกกล่าวหาชำระค่าปรับภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง และไม่ให้บันทึกการกระทำความผิดทางพินัยไว้ในบันทึกประวัติอาชญากรรมฯ โดยมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่ 25 ต.ค.66 เป็นต้นไปนั้น

พล.ต.อ.ต่อศักดิ์  สุขวิมล  ผบ.ตร. ได้สั่งตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษากฎหมาย และกำหนดแนวทางรองรับในการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ.2565 ซึ่งได้มีคำสั่ง ตร.ที่ 591/2566 ลงวันที่ 24 ต.ค.66 เรื่อง แนวทางการดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ.2565 โดยในส่วนของ ตร. มีกฎหมายที่รับผิดชอบโดยตรง 3 ฉบับ ได้แก่ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 และ พ.ร.บ.ธุรกิจรักษาความปลอดภัย พ.ศ.2558 ส่วนกฎหมายอื่นๆ ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจอาจจะเกี่ยวข้อง ซึ่งขณะนี้ (26 ต.ค.66) รัฐมนตรีผู้รักษาการตามกระทรวงต่าง ๆ ได้ออกประกาศกำหนดให้ ตร. เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ จำนวน 4 ฉบับแล้ว ได้แก่ พ.ร.บ.กำหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงและสะพาน พ.ศ. 2497, พ.ร.บ.ทางหลวง พ.ศ. 2535, พ.ร.บ.เพิ่มอำนาจตำรวจในการป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดทางน้ำ พ.ศ. 2496, พ.ร.บ.สถานบริการ พ.ศ. 2509 

โดยในส่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้กำหนดแนวทาง ดังนี้
1. กรณีเมื่อมีเหตุอันควรสงสัยหรือมีการกล่าวหาหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐพบเห็นว่าความผิดทางพินัยแล้วนั้น ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐดำเนินการแสวงหาข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐาน แจ้งข้อกล่าวหา และต้องให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาได้ชี้แจงหรือแก้ข้อกล่าวหานั้น หากผู้ถูกกล่าวหาไม่ชี้แจงหรือแก้ข้อกล่าวหาภายในระยะเวลา เจ้าหน้าที่ของรัฐจะดำเนินการออกคำสั่งปรับเป็นพินัยแจ้งไปยังผู้ถูกกล่าวหา และหากผู้ถูกกล่าวหาไม่ชำระค่าปรับ ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐรวบรวมหลักฐาน ทำสำนวนส่งอัยการฟ้องต่อศาล ทั้งนี้ ผู้ถูกกล่าวหาสามารถชี้แจงหรือแก้ข้อกล่าวหาผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ได้

และในการกำหนดค่าปรับทางพินัย ให้คำนึงถึงความเหมาะสม ความร้ายแรงของผลกระทบที่เกิดขึ้นในสังคม และสถานภาพทางเศรษฐกิจ ความรู้ผิดชอบ อายุ หรือสิ่งอื่นทั้งปวงของผู้กระทำผิดด้วย ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

ในกรณีที่ตำรวจ พบการกระทำความผิดทางพินัยตามกฎหมายอื่นๆ ให้มีหน้าที่แจ้งให้หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบกฎหมายนั้นๆ เพื่อพิจารณาดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป เว้นแต่เป็นความผิดทางพินัยที่ตำรวจเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ก็ให้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการปรับเป็นพินัยต่อไป

2. แนวทางการออกใบสั่งจราจรและการดำเนินคดีปรับเป็นพินัย สำหรับ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522  มีสาระสำคัญ กล่าวคือ เจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีอำนาจปรับเป็นพินัยตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 คือ เจ้าพนักงานจราจร ที่ดำรงตำแหน่งสารวัตรหรือตำแหน่งเทียบเท่าขึ้นไป นอกจากนี้ยังได้มีประกาศกำหนดให้ ตร. เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตาม พ.ร.บ.ทางหลวง พ.ศ. 2535 เพิ่มเติมอีกด้วย 

- เจ้าหน้าที่ของรัฐ สามารถออกใบสั่งตามมาตรา 140 แห่ง พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 ได้ทั้ง 3 รูปแบบ (ใบสั่งเจ้าพนักงานจราจรสำหรับให้กับผู้ขับขี่ ติด ผูก หรือแสดงไว้ที่รถ/ใบสั่งสำหรับส่งทางไปรษณีย์/ใบสั่งอิเล็กทรอนิกส์) โดยแนบคำแจ้งสิทธิตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. 2565 ไปพร้อมใบสั่ง (สิทธิการขอผ่อนชำระ/สิทธิขอชำระค่าปรับต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนดหรือบริการสาธารณะ)
- ช่องทางการชำระค่าปรับจราจร สามารถชำระได้ 3 ช่องทางตามเดิม (ทางอิเล็กทรอนิกส์/ไปรษณีย์/ที่สถานีตำรวจ)
- ในกรณีที่พ้นระยะเวลาชำระค่าปรับตามหนังสือแจ้งการไม่ชำระค่าปรับ (หนังสือเตือน) หรือกรณีผู้ถูกกล่าวหาปฏิเสธ ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐสรุปข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย รวบรวมหลักฐาน ทำสำนวนส่งอัยการฟ้องต่อศาลต่อไป

ทั้งนี้ ยืนยันว่า ตร. มีความพร้อมในการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ.2565 เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ในการเปลี่ยนความผิดอาญาที่มีโทษปรับสถานเดียว เป็นความผิดทางพินัย โดยความผิดทางพินัยไม่ถือเป็นโทษทางปกครองหรือทางอาญา ผู้ถูกกล่าวหา สามารถผ่อนชำระหรือขอชำระค่าปรับต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนด หรือขอทำงานบริการสาธารณะได้ ทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่สังคมต่อไป

ปทุมธานี มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย เชิญถุงยังชีพพระราชทานช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี

เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2566  เวลา 9.00 น. ณ ศาลาการเปรียญวัดพืชอุดม ตำบลพืชอุดม อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย โดยมีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ ดำรงตำแหน่ง นายกกิตติมศักดิ์ตลอดชีพ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ดำรงตำแหน่ง ประธานกรรมการมูลนิธิฯ เชิญถุงยังชีพพระราชทานมอบให้แก่ประชาชนผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี จำนวน 1,199 ถุง โดยมี นายภาสกร บุญญลักษม์ ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยนางปาริชาติ ธีระศิลป์ รองผู้จัดการมูลนิธิฯ นางบุษบา บุญญลักษม์  ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดปทุมธานี นางสาวกันตรัตน์ เริ่มสูงเนิน ปลัดจังหวัดปทุมธานี นายสมชาย ตรีณาวงษ์ นายอำเภอลำลูกกา นางสาวสุพีพร โมรา หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดปทุมธานี สมาชิกเหล่ากาชาดจังหวัดปทุมธานี หัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหารท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เข้าร่วมพิธี ถวายถุงยังชีพพระราชทานแด่พระภิกษุสงฆ์ จำนวน 58 รูป และมอบถุงยังชีพพระราชทานให้แก่ประชาชนที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่อำเภอลำลูกกา 7 ตำบล 

ประกอบด้วย ตำบลลาดสวาย ตำบลบึงคำพร้อย ตำบลลำลูกกา ตำบลบึงทองหลาง ตำบลลำไทร ตำบลพืชอุดม ตำบลบึงคอไห จำนวน 1,141 ถุง อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ได้ประสบกับสภาวะฝนตกหนักติดต่อกันในพื้นที่ ทำให้ปริมาณน้ำสะสมในแม่น้ำ ลำคลองต่างๆ เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้เกิดปัญหาน้ำท่วมขัง น้ำล้นตลิ่ง ไหลเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน สิ่งสาธารณประโยชน์ เส้นทางสัญจร และพื้นที่ทางการเกษตร ได้รับผลกระทบ จำนวน 8 ตำบล 87 หมู่บ้าน 8 ชุมชน ประชาชนได้รับความเดือดร้อน 2,020 ครัวเรือน 2,984 คน พื้นที่ทางการเกษตร 3,870 ไร่ ได้รับความเสียหาย โดยจังหวัดปทุมธานีได้ประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัย ทั้งนี้อำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ได้ให้ความช่วยเหลือประชาชนเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้นแล้ว ปัจจุบันสถานการณ์ได้คลี่คลาย แต่ยังคงมีพื้นที่บางส่วนของตำบลบึงคอไหและตำบลพืชอุดม อำเภอลำลูกกา ที่ยังมีน้ำท่วมขัง การได้รับถุงยังชีพพระราชทานจากมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ในครั้งนี้ ได้ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนและสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ประชาชนเป็นอย่างยิ่ง

กระบี่-องคมนตรี ติดตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในพื้นที่จังหวัดกระบี่

เมื่อวานนี้ 26 ต.ค.2566 พลเอก กัมปนาท รุดดิษฐ์ องคมนตรี ประธานอนุกรรมการติดตามและขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพื้นที่ภาคใต้ พร้อมด้วย พลเอก เฉลิมชัย สิทธิสาท องคมนตรี ในฐานะ รองประธานอนุกรรมการฯ และคณะ ได้เดินทางไปติดตามและขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพื้นที่จังหวัดกระบี่ โดยมี นายสมชาย หาญภักดีปฏิมา รองผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมและรายงานความคืบหน้าในการดำเนินโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำหริในพื้นที่

โอกาสนี้หน่วยงานต่าง ๆ ได้รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะ แนวทางแก้ปัญหา ของ องคมนตรี ในการเดินทางตรวจติดตามครั้งที่ผ่านมา อาทิ สำนักงานชลประทานที่ 15 กรมชลประทาน ได้รายงานความคืบหน้าในการพัฒนาโครงการอ่างเก็บน้ำคลองหยา อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลปลายพระยา อำเภอปลายพระยา ที่ยังประโยชน์เรื่องน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค แก่ราษฎรในพื้นที่ 4 หมู่บ้าน ของ ตำบลปลายพระยา จำนวน 800 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตร 3,932 ไร่ โดยปัจจุบัน กรมชลประทาน ได้พัฒนาอ่างเก็บน้ำแห่งนี้ด้วยการสร้างถนนรอบอ่าง ระยะทาง 7,800 เมตร เตรียมก่อสร้างท่อส่งน้ำให้กับราษฎรในพื้นที่ หมู่ที่ 3 และ หมู่ที่ 9 ตำบลปลายพระยา บางส่วน จำนวน 200 ครัวเรือน ที่ยังคงขาดแคลนน้ำ รวมถึงเตรียมก่อสร้างสถานีสูบน้ำและระบบท่อส่งน้ำ และได้ขยายเขตไฟฟ้าให้แก่ราษฎร หมู่ที่ 1 ต.ปลายพระยา ที่อาศัยอยู่ด้านเหนือของอ่างเก็บย้ำคลองหยาฯ ซึ่งอดีตไม่มีไฟฟ้าใช้ ทั้งนี้หากโครงการแล้วเสร็จจังหวัดกระบี่ เตรียมขยายผลโครงการโดยการส่งเสริมเป็นแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้ต่อไป

นอกจากนี้ ได้มีการรายงานความคืบหน้า โครงการปลูกข้าวเพื่อบริโภคครบวงจรในนิคมสหกรณ์อ่าวลึก อันเนื่องมาจากพระราชดำริ , โครงการฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าทุ่งทะเล อันเนื่องมาจากพระราชดำริ , โครงการอ่างเก็บน้ำบางกำปรัด อันเนื่องมาจากพระราชดำริ , โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำเขียว อันเนื่องมาจากพระราชดำริ , โครงการทำนบดินคลองสังกาอู้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ , โครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มขนาดเล็ก อันเนื่องมาจากพระราชดำริ โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มขนาดเล็ก 

ในช่วงบ่าย องคมนตรี และคณะฯ เดินทางไปยัง โครงการอ่างเก็บน้ำบางกำปรัด อันเนื่องมาจากพระราชดำริ พื้นที่หมู่ที่ 6 บ้านโคกหาร ตำบลโคกหาร อำเภอเขาพนม ซึ่งเป็นโครงการชลประทานขนาดกลาง มีความจุน้ำ 16 ล้านลูกบาตรเมตร ที่ช่วยสนับสนุนน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค แก่ ราษฎร หมู่ที่ 2,3,4,5,6,7,9 และหมู่ที่ 10 ตำบลสินปุน หมู่ที่ 1,2,3,4,5 และหมู่ที่ 6 ตำบลโคกหาร อำเภอเขาพนม จานวน 1,200 ครัวเรือน และพื้นที่การเกษตร จานวน 16,909 ไร่ แต่ทั้งนี้ยังคงมีราษฎร หมู่ที่ 4 บางส่วน และหมู่ที่ 7 ตำบลโคกหาร  หมู่ที่ 3 บางส่วน หมู่ที่ 7 และหมู่ที่ 10 ตำบลสินปุน ยังขาดแคลนน้ำสำหรับอุปโภค-บริโภค และทำการเกษตร กรมชลประทาน จึงได้ดำเนินโครงการช่วยเหลือด้วยการสร้างระบบท่อส่งน้ำ จาก อ่างเก็บน้ำบางกำปรัดอันเนื่องมาจากพระราชดาริ เพื่อขยายพื้นที่ส่งน้ำให้กับราษฎร ปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษา สำรวจ และออกแบบ คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2567 และจะเสนอขอสนับสนุนงบประมาณก่อสร้างจาก สำนักงาน กปร. ในปี พ.ศ. 2568 วงเงินงบประมาณ 35 ล้านบาท ต่อไป

จังหวัดกระบี่ มีโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ รวม 17 โครงการ ที่เกิดจากพระมหากรุณาธิคุณของสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยเฉพาะโครงการพัฒนาแหล่งน้ำที่มี จำนวน 8 โครงการ โครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อม 3 โครงการ โครงการส่งเสริมอาชีพ 1 โครงการ โครงการพัฒนาแบบบูรณาการและโครงการพัฒนาด้านอื่น ๆ จำนวน 5 โครงการ ซึ่งได้สร้างประโยชน์สุขให้แก่ราษฎรเสมอมา...

(ศรีสะเกษ) กองทัพบก มทบ.25 ร่วมกับ ภาคเอกชน มอบเสื้อกันหนาว โครงการ 'KUBOTA พลังใจสู้ภัยหนาว' ปีที่ 24

วันที่ 26 ตุลาคม 2566 พลตรี ชินวิช เจริญพิบูลย์  ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 25 พร้อมด้วย คุณอุไรวรรณ เจริญพิบูลย์ ประธานสมาคมแม่บ้านทหารบก สาขามณฑลทหารบกที่ 25 และคณะร่วมพิธีมอบเสื้อกันหนาว 2500 ตัว ตามโครงการ "KUBOTA พลังใจสู้ภัยหนาว" ปีที่ 24 ที่ โรงเรียนบ้านบักดอง ตำบลบักดอง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ และ ที่ องค์การบริหารส่วนตำบลคำเนียม อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษโดยมี นายนพ พงศ์ผลาดิสัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ พันเอก โถมวัฒน์ สว่างวิทย์ รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดศรีสะเกษ(ท) พันเอก สุรังค์ วิทยาวงศรุจิ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลค่ายวีรวัฒน์โยธิน  พันโท สุริยะ สุระ ผบ.ป.6 พัน.16 พันโท เสนีย์ ศรีชาดา ผบ.ป.6 พัน.106 นายปิยะชาติ ศรีมารุต กรรมการผู้จัดการ นายสุรชัย ตรงมหวิเศษ ผู้จัดการฝ่ายกลยุทธ์การตลาด บริษัท สยามคูโบต้า ลีสซิ่ง จำกัด และคณะผู้บริหาร บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด ผู้บริหารส่วนราชการอำเภอขุนหาญ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนจำหน่ายคูโบต้าเจริญชัย สาขากันทรลักษ์ และ พี่น้องประชาชนชาวอำเภอขุนหาญ อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ 

พลตรี ชินวิช เจริญพิบูลย์ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 25 กล่าวว่า กองทัพบก เป็นส่วนหนึ่งของการจัดกิจกรรม "คูโบต้าพลังใจ สู้ภัยหนาว" ร่วมกับ บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด ผนึกกำลังส่งมอบเสื้อกันหนาวสร้างความอบอุ่นในวันนี้ ขณะนี้หลายพื้นที่ในจังหวัดศรีสะเกษ เริ่มมีสภาพภูมิอากาศหนาวเย็นด้วยอุณหภูมิที่ลดลง เนื่องจากเข้าสู่ฤดูหนาว ซึ่งยังมีพี่น้องประชาชนจำนวนมาก ประสบปัญหาขาดแคลนเครื่องนุ่งห่มกันหนาว สำหรับ มณฑลทหารบกที่ 25 เป็นหน่วยงานที่ให้ความสำคัญต่อการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนที่ประสบภัยพิบัติ รวมถึงในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของ ผู้บัญชาการทหารบก และความทุ่มเทของกำลังพลในพื้นที่ ในการเข้าดูแลบรรเทาความเดือดร้อนให้เร็วที่สุดในทุกภัยพิบัติ สำหรับความร่วมมือกับสยามคูโบต้าในปีนี้ มณฑลทหารบกที่ 25 ได้ใช้ศักยภาพของหน่วยที่ขึ้นตรงต่อกองทัพบก เตรียมความพร้อมดำเนินการลำเลียงเสื้อกันหนาวไปแจกจ่ายให้ประชาชนในพื้นที่เป้าหมายโดยเร็วทันต่อสถานการณ์ภัยหนาว ด้วยหน้าที่ของกองทัพบก เรายึดมั่นในการดูแลและใกล้ชิดประชาชน พร้อมเสียสละทุ่มเทแรงกายแรงใจ ในการดูแลความสงบเรียบร้อย ตลอดจนพร้อมให้การสนับสนุน และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมดีๆ 

เช่นนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ความร่วมมือในครั้งนี้ จะเป็นพลังช่วยสร้างกำลังใจให้แก่พี่น้องประชาชนทุกท่าน นายสุรชัย ตรงมหวิเศษ ผู้จัดการฝ่ายกลยุทธ์การตลาด และคณะผู้บริหาร บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด และ บริษัทสยามคูโบต้า ลีสซิ่ง จำกัด กล่าวว่า โครงการ "KUBOTA พลังใจสู้ภัยหนาว" ของ สยามคูโบต้า ปีนี้ เป็นปีที่ 24 ที่ดำเนินการต่อเนื่องตลอดมา สิ่งที่คูโบต้า เล็งเห็นก็คือ ความห่วงใยต่อพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะผู้ที่อยู่หางไกลและประสบกับภัยหนาว จึงได้ริเริ่มโครงการนี้ขึ้นมา แล้วปีนี้ สยามคูโบต้า ได้ร่วมกับ กองทัพบก เป็นปีที่ 4 ได้ทำการได้มอบเสื้อหนาวจำนวน 10,000 ตัว ให้กับพี่น้องประชาชนที่ประสบภัยหนาว และแน่นอนในเรื่องของการห่วงใยดูแลพี่น้องเกษตรกร สยามคูโบต้า  เล็งเห็นเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ และโครงการนี้จะเป็นโครงการที่ทาง สยามคูโบต้า จะดำเนินการอย่างต่อเนื่องตลอดไป 

ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก จังหวัดฉะเชิงเทรา เข้าพบเลขาธิการคณะกรรมนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรือ EEC

เมื่อวันพุธที่ 25 ตุลาคม 2566 เวลา 15.00 – 17.00 น. ที่สำนักงาน EEC ชั้น 25 อาคาร NT TOWER (CAT TOWER) เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร ดร.โอกาส เตพลกุล ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก จังหวัดฉะเชิงเทรา  พร้อมคณะ เข้าพบ ดร.จุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรือ EEC เพื่อร่วมหารือแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาจังหวัดฉะเชิงเทรา ตามแนวนโยบายของการพัฒนาพื้นที่ EEC  โดยมีการนำเสนอประเด็นเข้าสู่การพัฒนา จำนวน 4 ประเด็น ประกอบด้วย

1.การผลักดันโครงการถนนวงแหวนรอบเมืองฉะเชิงเทรา
2.แนวทางการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา (โครงการผันน้ำคืนถิ่น)
3.การพัฒนาระบบขนส่งมวลชน “โครงการรถไฟเชื่อมฉะเชิงเทรา-แอร์พอร์ต เรล ลิงก์
4.โครงการขยายโซนนิ่งสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจสถานบันเทิงจังหวัดฉะเชิงเทรา

ด้าน ดร.โอกาส เตพลกุล กล่าวว่าในการเข้าพบครั้งนี้ได้การตอบรับจากเลขาธิการคณะกรรมนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC เป็นอย่างดี พร้อมร่วมมือกันหาแนวทางการขับเคลื่อนและการพัฒนาจังหวัดฉะเชิงเทราในด้านต่างๆต่อไป

พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ฯ ลงพื้นที่ชุมชนบ้านติ้ว อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ ตรวจเยี่ยมครอบครัวตำรวจและประชาชนที่ประสบอุทกภัย

วันนี้ (วันพฤหัสบดีที่ 26 ต.ค.66) เวลาประมาณ 17.30 น. พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร.(มค) ที่รับผิดชอบงานบรรเทาสาธารณภัย และงานบริการประชาชน ตามที่ ผบ.ตร. มอบหมาย ได้ลงพื้นที่ชุมชนบ้านติ้ว และ สภ.บ้านติ้ว ต.บ้านติ้ว อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ ที่ประสบอุทกภัย มอบข้าวสาร อาหารแห้ง และถุงยังชีพ ให้กับครอบครัวข้าราชการตำรวจ และพี่น้องประชาชนที่ประสบอุทกภัยกว่า 300 หลังคาเรือน พร้อมทั้งตรวจเยี่ยมบำรุงขวัญ ข้าราชการตำรวจ สภ.บ้านติ้ว จว.เพชรบูรณ์ ที่ตัวอาคารที่ทำการและอาคารบ้านพัก ประสบอุทกภัยเช่นเดียวกัน

พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ฯ รอง ผบ.ตร.(มค) เปิดเผยว่า การลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมข้าราชการตำรวจและประชาชนที่ประสบอุทกภัยนี้ เป็นส่วนหนึ่งในหน้างานที่รับผิดชอบ ประกอบกับส่วนตัวก็มีความตั้งใจที่จะมาให้กำลังใจเพื่อนข้าราชการตำรวจ และพี่น้องประชาชนที่ประสบภัย จึงได้จัดเตรียมถุงยังชีพ ข้าวสาร อาหารแห้ง มาเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้พี่น้องประชาชน พร้อมทั้งถือโอกาสกำชับข้าราชการตำรวจในพื้นที่ ให้ช่วยกันตรวจตราดูแลรักษาความปลอดภัยบ้านเรือนและทรัพย์สินของประชาชน ไม่ให้โจรผู้ร้ายออกอาละวาด ก่อเหตุลักทรัพย์ ซ้ำเติมพี่น้องประชาชนอีก และในวันพรุ่งนี้ คือวันศุกร์ที่ 27 ต.ค.66 ก็จะไปตรวจเยี่ยมพื้นที่ประสบอุทกภัยในจังหวัดกาฬสินธุ์ และจังหวัดร้อยเอ็ด ต่อไป

กระทรวงพลังงาน-สหพันธ์การขนส่งทางบก แห่งประเทศไทย บุกกระทรวงพลังงานยื่นหนังสือรองนายกฯ ตรึงราคาก๊าซ NGV

วันที่ 26 ต.ค. เวลา 15.00 น. นายอภิชาติ ไพรรุ่งเรือง ประธานสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย พร้อมคณะเข้ายื่นหนังสือต่อ นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ให้ตรึงราคาก๊าซธรรมชาติที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับยานยนต์ (NGV) ตามที่ คณะรัฐมนตรีมีมติให้ใช้ NGV ทดแทนน้ำมันเชื้อเพลิงทั้งเบนชินและดีเซลให้ได้ร้อยละ 10 ภายใน ปี พ.ศ. 2551 และทดแทนให้ได้ร้อยละ 25 ภายในปี พ.ศ. 2552 ในวาระยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาด้านพลังงานของประเทศ เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2548 นั้น

ต่อมามีการปรับโครงสร้างราคาก๊าซNGV ตามกรอบแนวทางการปรับโครงสร้างราคาตาม มติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ นับตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2557 เป็นต้นมา ทำให้ราคา ขายปลีก ก๊าซ NGV ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากเดิมที่มีราคา 8.50 บาท/กิโลกรัม และจากสถานการณ์ราคาก๊าซ NGV ที่เพิ่มสูงขึ้นทำให้ผู้ประกอบการขนส่งที่สมัครใจใช้รถบรรทุกเครื่องยนต์ NGV ต้องแบกรับภาระต้นทุนค่าเชื้อเพลิง ที่สูงมากและมีผลกระทบถึงราคาสินค้าอุปโภคและบริโภคที่ประชาชนได้รับโดยตรง และเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้รถบรรทุกเครื่องยนต์ดีเซล ก๊าซ NGVถือเป็นพลังงานสะอาดที่ก่อให้เกิดมลภาวะในระดับต่ำเมื่อเทียบกับแหล่งพลังงานอื่นๆ

โดยเฉพะน้ำมันดีเซลซึ่งเป็นแหล่งเชื้อเพลิงหลักที่ใช้ในภาคขนส่ง การส่งเสริมให้มีการใช้ก๊าซ NGV เพื่อทดแทน การใช้น้ำมันดีเซลในภาคขนส่ง จึงเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ได้ อย่างมีประสิทธิภาพ และการพิจารณากำหนดราคาก๊าซ NGV จะก่อให้เกิดแรงจูงใจต่อผู้ใช้รถยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซล เป็นเชื้อเพลิงปรับเปลี่ยนมาใช้ก๊าซ NGV แทน โดยเฉพาะผู้ประกอบการรถบรรทุกและรถโดยสาร

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) มีประกาศราคาขายปลีกก๊าซ NGV มีผล 16 กันยายนที่ผ่านมา 19.59 บาท/กิโลกรัม และได้กำหนดราคาขายปลีกก๊าซ NGV มีผล 16 ธันวาคม 2566 บาพ/กิโลกรัม ซึ่งเป็นราคาที่สูงเมื่อเปรียบเทียบกับน้ำมันดีเซล ทางสหพันธ์การขนส่งทางบก แห่งประเทศไทย จึงขอให้กระทรวงพลังงานตรึงราคาก๊าซธรรมชาติที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับยานยนต์ (NGV) ที่ราคา 18.59 บาท/กิโลกรัม ต่อไป เพื่อส่งเสริมสนับสนุน ใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ ลดการปล่อยก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน และไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือเกิดมลภาวะที่เป็นมลพิษทางอากาศน้อยที่สุดในบรรดาเชื้อเพลิงทั้งหมด


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top