Saturday, 5 July 2025
Hard News Team

วันหยุดเราไม่หยุด!! พันธมิตรจิตอาสา เดินหน้าช่วยกลุ่มเปราะบาง ชุมชนเสนานิคม 2 มอบข้าวปันอิ่มบรรเทาความหิว ฝ่าวิกฤติโควิด-19

(18 ก.ย.​ 64)​ ที่หน้าร้านค้ากลางชุมชนเสนานิคม 2 ฝั่งเหนือ เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร กลุ่มพันธมิตรจิตอาสา นำโดย นายสมชาย จรรยา อุปนายก สมาคมผู้สื่อข่าวและช่างภาพอาชญากรรมแห่งประเทศไทย พร้อมด้วย นางถวิล เพิ่มเพียรสิน อดีตรองอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงานนักศึกษาสถาบันพระปกเกล้า หลักสูตรประกาศนียบัตรสิทธิมนุษยชนสำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่น 1 (ปสม.1) หลักสูตรเสริมสร้างสังคมสันติสุข รุ่น 12 (สสสส.) ตัวแทนมูลนิธิสหชาติ ร่วมมอบข้าวกล่องอุ่นร้อนพร้อมทาน จากโครงการ “ครัวปันอิ่ม ร้อยเรียงใจสู้ภัยโควิด-19” ของเครือซีพี พร้อมน้ำดื่ม โดยมี นายเมธี คล้ายรัศมี ตัวแทนผู้ประสานงาน และชาวชุมชนเสนานิคม 2 มารับมอบ 

ชุมชนเสนานิคม 2 ฝั่งเหนือ มีประชากรพักอาศัยกว่า 2,000 คน ช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 มีผู้ที่ได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะ กลุ่มเปราะบาง ได้แก่ เด็ก ผู้สูงอายุ คนพิการ คนเร่ร่อน คนไร้บ้าน ผู้ด้อยโอกาส คนตกงาน ขาดรายได้ มีจำนวนมาก

นายสมชาย จรรยา เปิดเยว่า อาหารถือเป็นปัจจัยแรกในการดำรงชีวิต โดยเฉพาะในยามที่ลำบากจากวิกฤติ ผลกระทบที่ชาวชุมชนแต่ละที่ได้รับ โดยเฉพาะครอบครัวผู้ยากไร้และด้อยโอกาส หรือผู้ว่างงาน คือการรอความช่วยเหลือ “ข้าวกล่องจากครัวปันอิ่ม” เป็นที่พึ่งของชาวชุมชนช่วยแบ่งเบาภาระและบรรเทาความเดือดร้อนให้กับผู้ที่มีรายได้น้อย รวมทั้งยังช่วยให้ร้านอาหารได้มีรายได้พอที่จะประคองธุรกิจให้สามารถผ่านพ้นวิกฤติครั้งนี้ไปได้

ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา  ตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานของสำนักงานพัฒนาภาค 4

ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา  ตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานของสำนักงานพัฒนาภาค 4

ผู้สื่อข่าว จ.พัทลุง รายงานว่า ที่สำนักงานภาค  4 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา อ.ป่าบอน  จ.พัทลุง พลเอก นเรนทร์ สิริภูบาล ผู้บัญชาการทหารพัฒนา และคณะได้เดินทางมาตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานของสำนักงานพัฒนาภาค 4 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา  โดยเข้ารับการฟังบรรยายสรุปผลการปฏิบัติงาน รวมทั้งสอบถามปัญหาข้อขัดข้องในการปฏิบัติงาน ณ ห้องประชุม สำนักงานพัฒนาภาค 4 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา พร้อมให้โอวาทแก่กำลังพล ให้แนวทางการปฏิบัติงานตามนโยบายของผู้บัญชาการทหารสูงสุด

ทั้งนี้ เพื่อสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานในพื้นที่ให้ปฏิบัติงานอย่างรอยคอบ มีความปลอดภัย ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อไวรัสโควิด-19

ต่อจากนั้นได้เป็นประธานในพิธีมอบโล่ประกาศเกียรติคุณแก่กำลังพลผู้เกษียณอายุราชการ ประจำปีงบประมาณ 2564 จำนวน  17 นาย และร่วมรับประทานอาหารกับกำลังพล เพื่อสร้างความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้ใต้บังคับบัญชา 

สโมสรโรตารีบางรัก และ มูลนิธิเซนต์โยเซฟ มอบข้าวสารให้​ 'วิทยาลัยเทคโนโลยีพระมหาไถ่หนองคาย'​

สโมสรโรตารีบางรัก และ มูลนิธิเซนต์โยเซฟ มอบข้าวสารให้​ 'วิทยาลัยเทคโนโลยีพระมหาไถ่หนองคาย'​ ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน 2564 ณ​ วิทยาลัยเทคโนโลยีพระมหาไถ่หนองคาย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี "สโมสรโรตารีบางรัก" และ "มูลนิธิเซนต์โยเซฟ" มอบข้าวสารให้ "คนพิการ" และบุคลากร วิทยาลัยเทคโนโลยีพระมหาไถ่ หนองคาย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในช่วง Covid-19 โดยมี "บาทหลวงพงษ์ศักดิ์ นารินรักษ์ " จิตตาธิการวิทยาลัยฯ และอธิการวัดนักบุญอัลฟอลโซ หนองคาย ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีรับมอบ

'คนสิทธิฯ-นักสันติวิธี'​ สถาบันพระปกเกล้า จูงมือ พันธมิตรจิตอาสา เดินเข้าชุมชนช่วยคนธนบุรี ปันความสุขผ่าน 'ข้าวกล่องปันอิ่ม'​

(18 ก.ย.​ 64)​ ที่ชุมชนหลวงพ่อโบสถ์บน เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร กลุ่มพันธมิตรจิตอาสา พร้อมตัวแทนมูลนิธิสหชาติ นักศึกษาสถาบันพระปกเกล้า หลักสูตรประกาศนียบัตรสิทธิมนุษยชนสำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่น 1 (ปสม.) หลักสูตรเสริมสร้างสังคมสันติสุข รุ่น 11-12 (สสสส.) นำโดย นายสมชาย จรรยา อุปนายกสมาคมผู้สื่อข่าวและช่างภาพอาชญากรรมแห่งประเทศไทย นายธนนนท ตุลาวสันต์ นางสาวพรทิพย์ เตชะสมบูรณากิจ นายสมิษฐิ์ มหาปิยศิลป์ และนายยิ่งยศ จิตเพียรธรรม ตัวแทนหลักสูตร บรอ.รุ่น 4 

ร่วมมอบข้าวกล่องพร้อมทานจากโครงการ “ครัวปันอิ่ม ร้อยเรียงใจ สู้ภัยโควิด” ของเครือบริษัท ซีพี พร้อมหน้ากากอนามัย นำเสริมภูมิร่างกายต้านโควิด และเจลแอลกอฮอล์ มอบให้กับชาวชุมชน โดยมี นายพศวัต สุมาสา 
ประธานชุมชน และชาวบ้าน รับมอบเพื่อนำไปรับประทาน ส่วนผู้ป่วยติดเตียง และผู้ที่ต้องกักตัวอยู่ภายในบ้าน ทางคณะกรรมการ จะนำไปมอบให้ในภายหลัง


 
สำหรับชุมชนหลวงพ่อโบสถ์บน มีผู้พักอาศัย 143 ครัวเรือน มีประชากรเกือบ 600 คน โดยมีผู้ที่ติดเชื้อโควิด 50 คน และทำการรักษาตามมาตรฐานด้านสาธารณสุขซึ่งหายดีแล้วเกือบหมด ล่าสุดยังเหลือผู้ที่ต้องกักตัวอีก 2 ครัวเรือน ส่วนผู้ป่วยติดเตียงมี 5 คน และผู้สูงอายุมีจำนวนเกือบ 50 คน

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานผ้าไตร โครงการเทศน์มหาชาติ ให้ผู้ว่าแปดริ้ว ถวายแด่วัดโพนงาม

ในโอกาสที่ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานผ้าไตร โครงการเทศน์มหาชาติ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ วันที่ 2 เมษายน 2564

โดยนายไมตรี ไตรติลานันท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา ประธานในพิธีเทศน์มหาชาติ ได้ถวายผ้าไตรพระราชทาน แด่พระปัญญาวิสุทธิโมลี (ธ) รักษาการเจ้าอาวาสวัดโพนงาม ประธานสงฆ์ในพิธีแสดงพระธรรมเทศนาฯ ซึ่งจัดขึ้นในวันศุกร์ที่ 17 กันยายน 2564 เวลา 10.00 น. ณ ศาลาค่ายพุทธบุตร วัดโพนงาม ตำบลคู้ยายหมี อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยมีนายธนกฤต ฉันทะจรัสศิลป์ นาย อำเภอสนามชัยเขต นายไชยสิทธิ์ ไพบูลย์ นางวรรณชุรีย์ เกิดมงคล คณะผู้บริหาร ครู ผู้แทนผู้ปกครอง นักเรียน คณะสมาคมกลุ่มโรงเรียนค่ายพุทธบุตร (จังหวัดฉะเชิงเทรา และชลบุรี) เจ้าภาพก้ณฑ์เทศน์ ข้าราชการ และประชาชน ได้เข้าร่วมพิธีในครั้งนี้

นายไชยสิทธิ์ ไพบูลย์ ผู้อำนวยการ คณะผู้บริหาร ครูที่จะเกษียณอายุราชการของโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัยฉะเชิงเทรา ร่วมกับวัดโพนงาม ได้จัดโครงการนี้ขึ้น เพื่อให้คณะผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง นักเรียนและประชาชน ได้มีโอกาสฟังพระธรรมเทศนา รักษาประเพณีอันดีงาม การเทศน์มหาชาติเป็นการระลึกถึงคุณความดีของพระพุทธเจ้า สามารถนำหลักธรรมไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตในสังคมอย่างมีความสุขช่วยส่งเสริมให้เป็นบุตรที่ดีของพ่อแม่ ผู้ปกครอง เป็นศิษย์ที่ดีของครูบาอาจารย์ เป็นเพื่อนที่ดีของเพื่อน เป็นสาวกที่ดีของพระพุทธศาสนา และเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศชาติ ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ สืบต่อไป

ทั้งนี้ วัดโพนงาม และคณะผู้จัดโครงการ ตลอดจนประชาชนผู้มีจิตศรัทธา ได้น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ โดยจะได้นำเงินที่ได้จากการทำบุญจากคณะเจ้าภาพกัณฑ์เทศน์ทั้ง 13 กัณฑ์ ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย โดยเสด็จพระราชกุศล สมทบทุนมูลนิธิรามาธิบดี จัดตั้งกองทุนพระอาพาธวัดโพนงาม และสนับสนุนทุนการศึกษาแก่โรงเรียนตำรวจตระเวณชายแดน ในโอกาสอันควร ต่อไป

พม. เดินหน้าจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฯ ผสานภาคีเครือข่ายเร่งป้องกัน และแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว

17 กันยายน 2564 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว โดยมี นางจินตนา จันทร์บำรุง 
อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กล่าวรายงาน วัตถุประสงค์เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่ายที่มุ่งเน้นการทำงานแบบมีส่วนร่วม และบูรณาการกันอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งขยายการดำเนินงานให้ครอบคลุมการช่วยเหลือและคุ้มครองสิทธิไปยังกลุ่มเป้าหมายอื่นๆ ให้มากยิ่งขึ้น

โดยมีหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เข้าร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงฯ จำนวนทั้งสิ้น 27 หน่วยงาน ประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐ จำนวน 16 หน่วยงาน และองค์กรพัฒนาเอกชน จำนวน 11 หน่วยงาน


​นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า สถานการณ์ความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว ที่มีสาเหตุปัจจัยจากปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม สาธารณสุข โดยเฉพาะการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 นับวันจะทวีความรุนแรงและมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ส่งผลกระทบและเชื่อมโยงไปสู่ปัญหาสังคมอื่น ๆ อีกหลายประการ สะท้อนให้เห็นถึงลักษณะทางสังคมที่ไม่เท่าเทียมกันหรือมีความไม่เสมอภาคระหว่างเพศ ที่มาจากความคิด ความเชื่อของคนในสังคม ค่านิยม หรือวัฒนธรรมประเพณี ทำให้ส่งผลกระทบต่อผู้ถูกกระทำทั้งทางร่างกาย และจิตใจ อีกทั้ง ยังส่งผลต่อชุมชน และสังคมโดยรวม

รัฐบาลได้มอบหมายให้ พม. ดำเนินงานเชิงรุกที่มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการป้องกัน และแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัวทุกรูปแบบ จึงนำมาซึ่งความร่วมมือกันในวันนี้ เพราะ พม.ไม่สามารถขับเคลื่อนงานเพียงหน่วยงานเดียวได้ ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน หลายสาขาวิชาชีพ เพื่อดำเนินงานคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงที่มีความซับซ้อน ได้อย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพมากขึ้น


​นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวต่ออีกว่า การผสานความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐ และองค์กรพัฒนาเอกชน ทั้ง 27 หน่วยงานในวันนี้ เป็นความร่วมมือระหว่าง พม. กับ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงแรงงาน กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงการคลัง กระทรวงยุติธรรม กรุงเทพมหานคร สำนักงานอัยการสูงสุด ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง สำนักงานศาลยุติธรรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สมาคมบัณฑิตสตรีทางกฎหมายแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรีในพระอุปถัมภ์พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ สมาคมสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย มูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี มูลนิธิเพื่อนหญิง มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก มูลนิธิส่งเสริมความเสมอภาคทางสังคม มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล และมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นส่วนสำคัญในการระดมสรรพกำลังและความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อบูรณาการการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว ทั้งในเชิงเฝ้าระวัง ป้องกัน แก้ไขปัญหา ช่วยเหลือ และคุ้มครอง รวมทั้งดำเนินกระบวนการยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพและตอบสนองสถานการณ์ และความต้องการของผู้ประสบปัญหาได้มากยิ่งขึ้น

หลวงพ่อสุริยันต์ โฆสปัญโญ วัดป่าวังน้ำเย็นจัดสร้างเหรียญรุ่นรับเสด็จ 'มนต์พระกาฬ'​ เนื่องในงานหล่อพระประจำองค์หม่อมเจ้าอุทัยกัญญา ภาณุพันธุ์

หลวงพ่อสุริยันต์ โฆสปัญโญ วัดป่าวังน้ำเย็น อ.เมือง จ.มหาสารคาม จัดสร้างเหรียญรุ่นรับเสด็จ “มนต์พระกาฬ” เนื่องในงานหล่อพระประจำองค์หม่อมเจ้าอุทัยกัญญา ภาณุพันธุ์ ที่วัดหัวดอน อ.ธาตุพนม จ.นครพนม ในวันที่ 15 เดือนสิงหาคม 2564

วัตถุประสงค์เพื่อนำรายได้ ถวายวัดหัวดอนจัดสร้างองค์พระธาตุ ณ วัดหัวดอน อ.ธาตุพนม จ.นครพนม ที่กำลังเริ่มก่อสร้าง ทางวัดหัวดอน นำโดย พระอาจารย์แก้ว ฐิตสีโล เจ้าอาวาสวัดหัวดอน ได้ขอความเมตตาจากองค์หลวงพ่อสุริยันต์ โฆสปัญโญ วัดป่าวังน้ำเย็น อ.เมือง จ.มหาสารคาม จัดสร้างเหรียญ รุ่นรับเสด็จ “มนต์พระกาฬ” เพื่อจะนำปัจจัยในการบูชาวัตถุมงคล มาจัดทำตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว ในการนี้จึงขอสร้างเหรียญเนื้อต่างๆ​ ดังนี้...

1.เนื้อทองคำลงยา 9 เหรียญ

2.เนื้อทองคำ สร้าง 19 เหรียญ

3.เนื้อทองคำหลังเรียบ สร้าง 1 เหรียญ

4.เนื้อเงินหน้ากากทองคำ สร้าง 19 เหรียญ

5.เนื้อเงินลงยาสีเขียว สร้าง 29 เหรียญ

6.เนื้อเงินลงยาสีน้ำเงิน สร้าง 29 เหรียญ

7.เนื้อเงินลงยาสีแดง สร้าง 29 เหรียญ

8.เนื้อเงิน สร้าง 83 เหรียญ

9.เนื้อนวะโลหะหน้ากากเงิน สร้าง 600 องค์

10.เนื้อนวะโลหะ สร้าง 400 เหรียญ

11.เนื้ออันปาก้า สร้าง 3,000 เหรียญ

12.เนื้อทองเหลือง สร้าง 10,000 เหรียญ

13.เนื้อทองแดงผิวไฟ สร้าง 20,000 เหรียญ

14.เนื้อสามกษัตริย์ สร้าง 10 เหรียญ

15.เนื้อชนวนหน้ากากทองทิพย์ สร้าง 2,900 เหรียญ รวมจำนวนจัดสร้างทั้งหมด 37,128 เหรียญ

สมาพันธ์ SME ไทย แนะรัฐเข้มมาตรการโควิด หนุนเปิดเมือง - คลายล็อกดาวน์เพิ่ม

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยหนุนรัฐคลายล็อกดาวน์ และเปิดเมืองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติมากขึ้นแต่ต้องมีมาตรการดูแลและป้องกันที่ชัดเจน วิตกหากกลับมาระบาดรอบ 5 จะยิ่งซ้ำเติม ศก.และเอสเอ็มอีวิกฤตหนักขึ้น แนะเร่งฉีดวัคซีน ควบคุมราคา ATK ไม่เกิน 100 บาทต่อชุดเพื่อให้ทุกคนเข้าถึงการป้องกันดูแลตนเอง ขณะที่มาตรการเร่งด่วนช่วยเอสเอ็มอีต้องลดดอกเบี้ย พักเงินต้น พักดอกเบี้ย 6 เดือนทั้งระบบ

ทั้งนี้ แม้การผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์จะส่งผลดีต่อเอสเอ็มอีและเศรษฐกิจภาพรวม แต่ขณะนี้ต้องยอมรับว่าอัตราการติดเชื้อใหม่ของไทยรายวันก็ยังคงอยู่ระดับสูงกว่าหมื่นคนแม้จะลดลงจากก่อนหน้าไปบ้างก็ตาม ดังนั้น สิ่งที่จำเป็นสุดคือการเร่งฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนครบ 2 เข็มโดยเร็ว ควบคู่ไปกับการควบคุมราคาชุดตรวจโควิด-19 หรือ ATK ไม่ให้สูงกว่า 100 บาทต่อชุดและเป็น ATK ที่ได้มาตรฐานเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงโดยง่ายที่จะนำมาดูแลป้องกันตนเอง ขณะที่การเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติกลับมาควรนำบทเรียนจากภูเก็ตแซนด์บอกซ์มาปรับใช้ ซึ่งมีข้อกังวลว่าต่างชาติอาจนำเชื้อโควิดสายพันธุ์ใหม่ ๆ เข้ามาได้ จำเป็นต้องมีมาตรการที่ป้องกันอย่างรัดกุม

ประชุมส่งท้าย…!!! “ผบ.ทสส.” ประชุม ผบ.เหล่าทัพ ร่วม ผบ.เหล่าทัพ -ผบ.ตร. ครบ ส่งท้ายผบ.ทร.-ผบ.ทอ. ที่เกษียณ ปช.สรุปผลงาน 1 ปี 4เหล่าทัพ 

ที่กองบัญชาการกองทัพไทย (บก.ทท.) พล.อ.เฉลิมพลศรีสวัสดิ์  ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.ทสส.) เป็นประธานการประชุมผู้บัญชาการเหล่าทัพ  โดยมีผู้บัญชาการเหล่าทัพ และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เข้าร่วมประชุม สำหรับการประชุมในวันนี้  เป็นการสรุปผลการปฏิบัติงานที่สำคัญของกองทัพไทยและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ 

การประชุมด้านการพิทักษ์รักษาและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งถือเป็นภารกิจสำคัญยิ่ง โดยการถวายความปลอดภัยการจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติต่างๆการสนับสนุนการดำเนินงานตามโครงการพระราชดำริ  ซึ่งกองทัพไทยและกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนรับผิดชอบรวม 170 โครงการการน้อมนำและส่งเสริมหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของกำลังพลและประชาชน อาทิ  งานเกษตรผสมผสานตามแนวทางพระราชทานเศรษฐกิจพอเพียงของกองบัญชาการกองทัพไทย โครงการทหารพันธุ์ดี "ชุมชนเบิกบาน อาหารปลอดภัย" ของกองทัพบก 

โครงการศูนย์การเรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ โคกหนอง นา ของกองทัพเรือ สวนการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของกองทัพอากาศ และโครงการตำรวจพันธุ์ดีของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ  ตลอดจนได้จัดการประกวดผลงานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  รวมถึงได้สนับสนุนการจัดกิจกรรมจิตอาสาพระราชทาน  อาทิโครงการจิตอาสาพัฒนาโดยการขุดลอกคูคลองเก็บขยะ  และพัฒนาภูมิทัศน์ ในพื้นที่ที่รับผิดชอบ  โครงการจิตอาสาภัยพิบัติซึ่งได้เข้าช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนในพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศนอกจากนี้ ยังได้จัดโครงการกองทัพไทยร้อยรวมใจสู้ภัยโควิดบริจาคโลหิตถวายเป็นพระราชกุศลเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา  ซึ่งปัจจุบันมีปริมาณโลหิตสะสมกว่า 48 ล้านมิลลิลิตร

สำหรับการป้องกันประเทศกองทัพไทยได้จัดและวางกำลังป้องกันชายแดน รวมทั้งบูรณาการปฏิบัติงานร่วมกับตำรวจตระเวนชายแดนอย่างประสานสอดคล้องในการปกป้องอธิปไตยและรักษาผลประโยชน์ของชาติ  ทั้งทางบก ทางทะเล  และทางอากาศ มีศูนย์บัญชาการทางทหารทำหน้าที่อำนวยการ ควบคุมและกำกับดูแลโดยมุ่งให้เกิดความสงบสุข  และพัฒนาร่วมกันลดปัญหาอาชญากรรมตามแนวชายแดน ทั้งยังช่วยพัฒนาเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของประชาชนตามแนวชายแดน   อย่างมีประสิทธิภาพ นำไปสู่การพึ่งพาตนเองในอนาคต

ด้านการรักษาความมั่นคงของรัฐ  ให้ความสำคัญกับการสนับสนุนรัฐบาล  ในการแก้ไขปัญหาต่างๆของประเทศโดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19  โดยกองทัพไทยและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ร่วมกันปฏิบัติงานภายใต้ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินความมั่นคง มีการดำเนินการที่สำคัญ อาทิ

- การป้องกันและสกัดกั้นการแพร่ระบาดจากภายนอกประเทศ  ด้วยการสนับสนุนการคัดกรองเลือกผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร  ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ  รวมถึงการสกัดกั้นผู้ลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ฯลฯ

- การป้องกันการแพร่ระบาดภายในประเทศ  ด้วยการใช้มาตรการป้องกันโรค  ชะลอการเดินทางของประชาชนโดยไม่มีเหตุจำเป็น  งดการประชุมกลุ่มทำกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค ฯลฯ

- การสนับสนุนด้านการแพทย์และสาธารณสุข  โดยการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามขึ้นในพื้นที่กรุงเทพฯและต่างจังหวัด  การสนับสนุนเคลื่อนย้ายผู้ติดเชื้อกลับภูมิลำเนา   การสนับสนุนการตรวจหาเชื้อเชิงรุกฯลฯ

- การช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน  ด้วยการจัดตั้งจุดบริการประชาชน แจกจ่ายถุงยังชีพ  สิ่งของอุปโภคบริโภค  การจัดรถครัวสนาม

'ดีพร้อม' เร่งปั๊มภูมิคุ้มกันหมู่ สู่ธุรกิจรายย่อย ผ่านยุทธศาสตร์รวมกลุ่ม 'คลัสเตอร์'

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ 'ดีพร้อม' (DIPROM) เผยความสำเร็จจากการดำเนินมาตรการการรวมกลุ่มผู้ประกอบการ หรือคลัสเตอร์โดยตั้งแต่เริ่มดำเนินงานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 - ปัจจุบัน มีจำนวนกลุ่มอุตสาหกรรมที่พัฒนามาแล้วอย่างต่อเนื่องจำนวน 123 กลุ่ม ครอบคลุมพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยแบ่งเป็นคลัสเตอร์ทั่วไป 112 กลุ่ม และคลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมาย หรือ S - Curve 11 กลุ่ม พร้อมชี้ในปี 2564 ได้ดำเนินการพัฒนาการรวมกลุ่มอุตสาหกรรม จำนวน 29 กลุ่ม แบ่งเป็นคลัสเตอร์เกษตรอุตสาหกรรม จำนวน 25 กลุ่ม และคลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมาย จำนวน 4 กลุ่ม สามารถเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจได้อีกกว่า 1,200 ล้านบาท 

นอกจากนี้ ยังได้เตรียมยกระดับการดำเนินงาน ผ่านการเป็นศูนย์กลางหรือ HUB ด้านการให้ความช่วยเหลือกลุ่มผู้ประกอบการในทุก ๆ กลุ่มสาขาอุตสาหกรรมด้วยการใช้ศักยภาพของหน่วยงาน โดยมีเครื่องมือที่สำคัญ ได้แก่ ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 หรือศูนย์ ITC 4.0 ศูนย์ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือ Thai-IDC เครือข่าย RISMEP และศูนย์สนับสนุนและช่วยเหลือเอสเอ็มอี หรือ SSRC

นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ดีพร้อมได้เป็นผู้ริเริ่มมาตรการขับเคลื่อนการสร้างและพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรม หรือ คลัสเตอร์มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีพ.ศ.  2549 - ปัจจุบัน โดยมีเป้าหมายในการเพิ่มผลิตภาพและสร้างนวัตกรรมร่วมกันระหว่างผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และเชื่อมโยงการช่วยเหลือในมิติต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ประกอบการมีอำนาจต่อรองทางการซื้อ การตลาด และสามารถเติบโตได้ในลักษณะกลุ่ม 

ทั้งนี้ ผลจากการดำเนินมาตรการดังกล่าว ปัจจุบันมีจำนวนกลุ่มอุตสาหกรรมที่พัฒนามาแล้วอย่างต่อเนื่องจำนวน 123 กลุ่มอุตสาหกรรม ครอบคลุมพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยแบ่งเป็นคลัสเตอร์อุตสาหกรรมทั่วไป 112 กลุ่ม และคลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S - Curve) 11 กลุ่ม มีกระบวนการพัฒนาตั้งแต่การทำความความเข้าใจด้านเศรษฐกิจแบบพึ่งพา หรือ Sharing Economy การพัฒนากลุ่มให้เข้มแข็งในด้านการผลิต การตลาด การแบ่งปันเทคนิคและองค์ความรู้ ตลอดจนการผลักดันให้เข้าใจถึงนโยบายและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เพื่อให้ได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐ

สำหรับในปี 2564 ภายใต้การนำของนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้สั่งการให้ ดีพร้อม เร่งพัฒนาการรวมกลุ่มอุตสาหกรรม ซึ่งปัจจุบัน ได้ดำเนินการพัฒนาคลัสเตอร์ไปแล้ว จำนวน 29 กลุ่ม แบ่งเป็นคลัสเตอร์เกษตรอุตสาหกรรม จำนวน 25 กลุ่ม ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ ได้แก่ คลัสเตอร์น้ำผึ้ง กาแฟ เกษตรแปรรูป ผลไม้แห่งขุนเขา เกลือไอโอดีน สมุนไพรและสปา มันสำปะหลัง อาหารเพื่อสุขภาพ ขนมหวาน ผลไม้ภาคตะวันออก ไม้ยางพารา ผลไม้แปรรูป อาหารแห่งอนาคต อาหารพร้อมทาน เป็นต้น 

ส่วนคลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมาย จำนวน 4 กลุ่ม ได้แก่ คลัสเตอร์การแพทย์ครบวงจร พื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่ หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ และดิจิทัล โดยผลสำเร็จจากการดำเนินมาตรการดังกล่าวยังสามารถเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจได้อีกกว่า 1,200 ล้านบาท


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top