Wednesday, 26 June 2024
Hard News Team

สมอ. เตรียมออกมาตรฐานควบคุม “อะแดปเตอร์” ชาร์จโทรศัพท์มือถือ/แท็บเล็ต และอุปกรณ์ไฟฟ้า ที่มีแรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 600 โวลต์รวม 20 รายการ ต้องได้มาตรฐาน มอก. หลังมีข่าวประชาชนถูกไฟดูดเสียชีวิตอย่างต่อเนื่อง เร่งบังคับใช้ภายในกลางปีนี้

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมให้ความสำคัญกับการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับภาคอุตสาหกรรม และการคุ้มครองประชาชนให้ปลอดภัยจากการใช้สินค้าที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ทั้งที่ผลิตในประเทศและนำเข้า โดยกำหนดเป็นนโยบายสำคัญและได้มอบหมายให้สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ สมอ. ดำเนินการเนื่องจากเป็นหน่วยงานหลักที่ดำเนินงานด้านการมาตรฐานของประเทศ ทั้งการกำหนดมาตรฐาน การควบคุมและกำกับติดตามการจำหน่ายสินค้าในท้องตลาดให้มีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐาน เพื่อความปลอดภัยและสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชน

“การดำเนินงานด้านการกำหนดมาตรฐานของ สมอ. มีบทบาทสำคัญโดยเฉพาะการคุ้มครองประชาชนที่ต้องได้รับการดูแลด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้ผู้ประกอบการ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องพัฒนาควบคู่กันไป เพื่อให้การขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมของประเทศ สามารถแข่งขันทางการค้าได้อย่างยั่งยืนและเกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชน ซึ่งผมได้กำชับกับบอร์ด สมอ. ให้เร่งรัดดำเนินการ โดยเฉพาะมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของประชาชนให้ดำเนินการเป็นอันดับแรก” นายสุริยะ กล่าว

นายวันชัย พนมชัย เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กล่าวเพิ่มเติมว่า การประชุมบอร์ด สมอ. เมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ.2564 ที่ผ่านมา ได้มีมติเห็นชอบให้ สมอ. ควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าและเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับเสียง วีดิทัศน์ และการสื่อสาร ที่มีแรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 600 โวลต์ได้แก่ เครื่องรับวิทยุ เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องขยายสัญญาณ เครื่องเล่นแผ่นดิสก์ เครื่องเล่นวีดีโอเกมส์เครื่องรับสัญญาณไมโครโฟนไร้สาย เครื่องรับสัญญาณวิทยุ เครื่องรับสัญญาณโทรทัศน์ เครื่องรับสัญญาณดาวเทียม ลำโพงพร้อมขยายสัญญาณ เครื่องแปลงสัญญาณ เครื่องปรับแต่งสัญญาณ เครื่องผสมสัญญาณเสียง เครื่องจ่ายไฟฟ้าสำหรับเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจ่ายไฟฟ้าสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่และแท็บเล็ต (อะแดปเตอร์) เครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องเล่นเสียงและภาพ เครื่องรับสัญญาณภาพและเสียงผ่านระบบอินเตอร์เน็ต เครื่องรับสัญญาณเคเบิลทีวี และเครื่องแปลงสัญญาณเสียงและภาพ รวม 20 รายการ เป็นสินค้าควบคุมต้องได้มาตรฐาน มอก. 62368-2563 หลังมีผู้ใช้อะแดปเตอร์ไม่ได้มาตรฐานชาร์จโทรศัพท์มือถือ ถูกไฟดูดเสียชีวิต

โดยจะเร่งดำเนินการประกาศบังคับใช้มาตรฐานภายในกลางปีนี้ เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยแก่ประชาชนจากอันตรายที่เกิดจากไฟฟ้า โดยข้อกำหนดในมาตรฐานจะควบคุมด้านความปลอดภัย มีการทดสอบเกี่ยวกับการบาดเจ็บที่เกิดจากไฟฟ้า การทดสอบเกี่ยวกับไฟไหม้ที่เกิดจากไฟฟ้า การทดสอบความร้อน การทดสอบการแผ่รังสี และการทดสอบเกี่ยวกับสารอันตราย เป็นต้น

“การประชุมบอร์ด สมอ.ในครั้งนี้ นอกจากจะเห็นชอบให้ สมอ. ควบคุมอะแดปเตอร์สำหรับชาร์จโทรศัพท์มือถือ/แท็บเล็ต อุปกรณ์ไฟฟ้า และเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องแล้ว ยังได้เห็นชอบในเรื่องสำคัญ ๆ ดังนี้

1.) ให้ สมอ. จัดทำมาตรฐาน ทั้งที่เป็นมาตรฐานใหม่ และมาตรฐานเดิมที่นำมาทบทวนรวม 9 มาตรฐาน ได้แก่ สีอิมัลชันใช้งานทั่วไป สีอิมัลชันทนสภาวะอากาศ สีอิมัลชันลดความร้อนจากแสงอาทิตย์ และเครื่องทำน้ำร้อนแบบฮีตปั๊ม เป็นต้น

2.) ให้ สมอ. ควบคุมสินค้าอีก 5 รายการ ที่เสี่ยงต่อความปลอดภัยของประชาชน ได้แก่ ถุงพลาสติกสำหรับบรรจุอาหาร ภาชนะและเครื่องใช้พลาสติกสำหรับอาหาร และถุงพลาสติกบรรจุอาหารสำหรับอุ่นในไมโครเวฟ เป็นต้น

3.) ให้ สมอ. ทำลายผลิตภัณฑ์ไม่ได้มาตรฐานของผู้ประกอบการจำนวน 4 ราย ที่คดีถึงที่สุดแล้ว ได้แก่ ของเล่น เหล็กเส้นกลม หมวกนิรภัยและสับปะรดกระป๋อง มูลค่ารวมกว่า 1,050,000 บาท อีกด้วย” เลขาธิการ สมอ. กล่าวทิ้งท้าย

พรรคกล้าผุดโครงการ ‘กล้าเติมอิ่ม’ ‘กรณ์’ ลงมือเอง ทำข้าวกล่องแจกชุมชนทั่วกรุง

นายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคกล้า โพสต์กล่าวถึงการระดมเหล่าผู้กล้า ช่วยเหลือผู้ป่วยและผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่เพิ่มมากขึ้น โดยระบุว่า ตอนนี้ความเดือดร้อนเปลี่ยนแปลงไปทุกวัน สัปดาห์ก่อนพรรคกล้า ระดมข้าว 2 ตันทำข้าวกล่อง 30,000 ชุดแจกโรงพยาบาลสนาม ไม่กี่วันที่ผ่านมา เราเปิดศูนย์ #กล้าสู้โควิด ช่วยผู้ป่วยหาเตียง สำเร็จไปหลายสิบเคส

นายกรณ์ กล่าวว่า ตอนนี้มีมาตรการเข้มในการดูแลการแพร่ระบาด หลายคนต้องอยู่บ้านขาดรายได้ ตนได้ชวน “ผู้กล้า-กรุงเทพ” หลายเขตที่มีความพร้อม มาลุยโปรเจคต์ช่วยคน “กล้าเติมอิ่ม” โดยได้คุยกับชาวนาที่มหาสารคามของเราเตรียมระดมข้าวเพิ่มอีกจำนวนมาก และคุยกับน้อง ๆ กลุ่มเชฟ ที่ตอนนี้งานอีเวนต์ ก็น้อยลง มาช่วยกันอาสาทำกับข้าว แล้วให้ทีมงานลุยพื้นที่แจกในชุมชนหนาแน่นในแต่ละเขต

ประเดิมด้วยเขต ยานนาวา-บางคอแหลม โดยได้ชวนเด็ก ๆ ที่บ้านตั้งครัวสนามหน้าบ้านทำข้าวกล่อง เป็นมื้อเที่ยงให้ชาวบ้านในชุมชน ได้ว่าที่ผู้สมัครสก.ของเรา ร้อยตำรวจตรี กนกศักดิ์ ดวงพัตรา และคุณ สมเกียรติ ปัญญะธารา มาช่วยประสานพื้นที่กับ ผู้กล้าเขตนี้คือ เจน-ณัฐภา กมลเศวตกุญ โดยเราจะทำตามกำลัง กระจายไปทุก ๆ เขตทั่วกรุงเทพฯ ร่วมกับทีมงานและผู้กล้าจากแต่ละเขต

“ใครสนใจ สมทบวัตถุดิบในการทำอาหาร รวมถึงภาชนะในการใส่ข้าวกล่อง inbox มาที่เพจผม หรือ สามารถสมทบทุนข้าวจากชาวนา ได้ที่ โครงการ เกษตรเข้มแข็ง >> เลขที่บัญชี 902-7-11390-2 ธนาคารกรุงเทพ ได้เช่นกันครับ” หัวหน้าพรรคกล้ากล่าว

‘ทิพานัน’ เชื่อโอนอำนาจ รมต. 31 พรบ. เสริมนายกฯ สกัดโควิดรวดเร็ว ลดขั้นตอน ชี้ไม่ใช่ยึดอำนาจแต่เสริมหน้าที่ชั่วคราว เพื่อบริหารสั่งการ แก้ไข ช่วยเหลือประชาชนได้ทันที

น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ อดีตผู้สมัคร ส.ส.กทม.เขตจอมทอง-ธนบุรี อดีตรองโฆษกพรรคพลังประชารัฐ กล่าวถึงกรณีที่ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศ เรื่อง การกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีตามกฎหมายให้เป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีเป็นการชั่วคราว ว่า เจตนารมณ์เพื่อให้การแก้ไขสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

โดยโอนอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีมาเป็นของนายกรัฐมนตรีเป็นการชั่วคราว เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการอนุญาต อนุมัติ สั่งการ บังคับบัญชาหรือช่วยในการป้องกัน แก้ไข ปราบปราม ระงับยับยั้งในสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือฟื้นฟู ช่วยเหลือประชาชนตามกฎหมาย 31 ฉบับ เช่น พ.ร.บ.โรคติดต่อ 2558, พ.ร.บ.ยา 2510 และ พ.ร.บ.ความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ 2561 เป็นต้น ซึ่งต้องขอบคุณรัฐมนตรีทุกกระทรวงให้ความร่วมมือมอบความไว้วางใจให้นายกรัฐมนตรี ในยามวิกฤติเช่นนี้ เนื่องจากเล็งเห็นว่าจะเกิดประโยชน์ต่อสถานการณ์มากกว่า

น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า ประกาศดังกล่าวไม่ใช่เป็นการไปยึดอำนาจจากรัฐมนตรีมาแต่เป็นการเสริมอำนาจให้นายกฯ ให้สามารถสั่งการเฉพาะบางเรื่องได้โดยตรงโดยไม่ต้องผ่านรัฐมนตรีที่เป็นผู้รับผิดชอบกฎหมายแต่ละฉบับ ไม่ได้เป็นการตัดอำนาจรัฐมนตรี แต่เป็นการเสริมให้อำนาจนายกฯ สั่งการได้ด้วย

การตัดสินใจดังกล่าว เป็นความมุ่งมั่นรับผิดชอบต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และตั้งใจเกาะติดการแก้ไขปัญหาด้วยลงรายละเอียดให้มีการบูรณาการแบบองค์รวม แทนที่จะสั่งการและบังคับบัญชารัฐมนตรีไปตามที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งอาจทำให้เสียเวลา ไม่ทันการณ์ การโอนอำนาจในครั้งนี้ทำให้นายกฯ สั่งการไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบได้โดยตรง จะทำให้การแก้ไขปัญหามีเอกภาพ เกิดผลเป็นรูปธรรม ใช้เวลารวดเร็วทันเหตุการณ

“เป็นการทำงานเชิงรุก และมีเป้าหมายที่ชัดเจน ในการเร่งรัดสกัดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ให้ได้อย่างทันการณ์ สะท้อนภาวะผู้นำของพล.อ.ประยุทธ์ ที่ลงมือทำมากกว่าพูด แตกต่างจากนักการเมืองบางคนที่เป็นนายกฯ โซเชียล ถนัดพูดขายฝันสวยหรูแต่ไม่ยอมลงมือทำ ดีแต่อ้างว่าไม่มีอำนาจรัฐ” น.ส.ทิพานัน กล่าว

สสวท. ประกาศรายชื่อนักเรียนที่ได้รับทุน พสวท. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ประจำปีการศึกษา 2564

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ประกาศผลการคัดเลือกผู้ได้รับทุนพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ทุน พสวท.) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ประจำปีการศึกษา 2564

https://drive.google.com/file/d/1e3o1NdaVjH4z9-dby5bP_UR-Uk1x5bHP/view?fbclid=IwAR1jXhaHOQPmrOzqwoTcVQ_coSjS3G5GtUkuMV0jglxtCmjy1Fb34jwyN0I
 

ผบ.ตร. เปิดศูนย์ 191 เพิ่มช่องทางแจ้งเหตุผู้ป่วยโควิด19 ส่งต่อแพทย์

วันนี้ 28 เมษายน พ.ศ.2564 ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. พร้อมด้วย พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์, พล.ต.อ.ปิยะ อุทาโย, พล.ต.อ.มนู เมฆหมอก รอง ผบ.ตร. แถลงข่าวเปิดศูนย์ 191 เพื่อเพิ่มช่องทางในการรับแจ้งเหตุผู้ป่วยโควิด-19 ส่งต่อข้อมูลให้หน่วยงานทางการแพทย์ 

พล.ต.อ.สุวัฒน์ ฯ เปิดเผยว่า หลังรับคำสั่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้ตำรวจเปิดศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน 191 ช่วยรับแจ้งเหตุผู้ป่วยโควิด-19 เพื่อแบ่งเบาภาระสายด่วน 1168, 1669, 1330  ของหน่วยงานทางการแพทย์ 

 จึงได้มีการหารือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมการแพทย์ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ศูนย์เอราวัณ จนได้ข้อสรุป พร้อมเปิดศูนย์ 191 วันนี้ทั่วประเทศ ให้สามารถรับแจ้งข้อมูลป่วยโควิด 19 ซึ่งจะมี 1,200 คู่สาย มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานตลอด 24 ชม. โดยจะใช้ระบบ Government Big Data institute (GDBi) ซึ่งเป็นระบบฐานข้อมูลที่กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวง DE พัฒนาร่วมกันเพื่อเป็นตัวกลางในการรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยโควิด-19 

 ในกรุงเทพฯ หากมีผู้ป่วยโควิด-19 โทรมายังศูนย์ 191 (ศูนย์ผ่านฟ้า บช.น.) เจ้าหน้าที่จะสอบถามข้อมูลผู้แจ้งจากชุดคำถามที่กำหนดโดยกรมควบคุมโรค บันทึกข้อมูลลงระบบ GBDi จากนั้นระบบจะแจ้งไปยังศูนย์ 1668 และ 1669 ทันที ซึ่งเราได้มีการทดสอบระบบแล้ว สามารถเชื่อมข้อมูลกันได้อย่างดี  หากเป็นผู้ป่วยฉุกเฉิน เจ้าหน้าที่ศูนย์ 191 จะวิทยุสื่อสารไปยังศูนย์เอราวัณ 1669 เพื่อจัดรถฉุกเฉินมารับตัวผู้ป่วยโดยเร็วที่สุด หลังจากรับแจ้งเหตุ 30 นาที จะมีการ Call Back ไปยังผู้แจ้ง สอบถามสถานะรับตัวผู้ป่วยอีกครั้งว่าได้รับการบริการหรือยัง หากยังก็จะช่วยประสานอย่างใกล้ชิด 
 สำหรับจังหวัดอื่น เจ้าหน้าที่ศูนย์ 191 จะประสานโดยตรงไปยังสาธารณสุขจังหวัดหรือหัวหน้าศูนย์ 1669 เพื่อส่งต่อข้อมูลผู้ป่วย 

สำหรับวิทยุสื่อสารนั้น จะใช้ระบบดิจิทัล หรือ PS-LTE เนื่องจากมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูง ซึ่งจะเป็นการรักษาความลับของผู้ป่วยและคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลของผู้ป่วย อีกทั้งยังทราบพิกัดของผู้ใช้งาน และเปิดกล้องวีดีโอเหมือนโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้อีกด้วย โดย ตร. ได้สนับสนุนเครื่องวิทยุ PS-LTE ให้กับ สพฉ.จำนวน 100 เครื่อง เพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ระหว่างรถรับส่งผู้ป่วย และ ศูนย์ทั้ง 3 ศูนย์ (1668, 1669 และ 191) นอกจากนี้ยังได้สนับสนุนรถยนต์จำนวน 5 คันพร้อมพลขับ เพื่อปฏิบัติภารกิจในการรับส่งผู้ป่วย

กรณีผู้ป่วย ไม่ยินยอมเข้ารับการรักษาหรือกักตัวตามคำสั่งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ จะมีตำรวจร่วมกับเจ้าพนักงานควบคุมโรค ไปชี้แจ้งทำความเข้าใจ และเชิญตัวผู้ป่วย หรือผู้ที่สัมผัสผู้ติดเชื้อ ไปดำเนินการตามมาตรการควบคุมโรคต่อไป หรือหากผู้ป่วยเจตนาหลบเลี่ยงการติดต่อจากเจ้าพนักงานควบคุมโรค เช่น ปิดโทรศัพท์ หรือ จงใจไม่รับโทรศัพท์ ตำรวจจะช่วยสนับสนุนในการสืบสวนหาตัวผู้ป่วยมาเข้ารับการรักษา ตรงนี้อยากร้องขอให้ประชาชนเข้าใจว่า เมื่อท่านเป็นผู้ป่วย จะต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ โดยเคร่งครัด เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่ระบายไปยังผู้อื่นต่อไ

นายกฯ เคาะ เลื่อน รายงานตัว 'ทหารเกณฑ์'ผลัดใหม่จาก 1 พ.ค. เป็น 1 ก.ค. 2564

เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ.2564 จากข้อเสนอกระทรวงสาธารณสุขให้เลื่อนการรับ-ฝึกทหารใหม่ออกไปอีก 2 เดือน เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19  ภายหลังกองทัพบก
มีกำหนดให้ทหารกองเกินเข้าเป็นทหารกองประจำการผลัดที่ 1/2564 เข้ารายงานตัวเข้ายังหน่วยต่าง ๆในวันที่ 1 พ.ค.นี้

ล่าสุด พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ได้อนุมัติเลื่อนการเข้ารายงานตัวของทหารกองเกินเข้าเป็นทหารกองประจำการผลัดที่ 1/2564 จาก 1 พ.ค.2564 ไปเป็น 1 ก.ค.2564 เป็นเวลา 2 เดือน ตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข

“สุพัฒน์พงษ์” เผยรัฐบาลวางแผน 1-2 รับมือโควิด ขอปชช.มั่นใจ “ย้ำ”จัดซื้อวัคซีนไม่หยุด ดึงเอกชนร่วมด้วย “มั่นใจ” รัฐบาลไม่แตกแยก

เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ.2564 นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พลังงานให้สัมภาษณ์ กรณีพรรคร่วมรัฐบาลไม่พอใจ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม เรื่องการมอบหมายให้รัฐมนตรีดูแลพื้นที่ระดับจังหวัด เพื่อไปขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน ว่า ไม่มีประเด็นเรื่องความแตกแยก การแบ่งพื้นที่ของรัฐบาล เป็นเรื่องของการสื่อสาร ที่สำคัญประชาชนต้องหนักแน่น ต้องเชื่อมั่นว่าประเทศเราไม่ได้แย่ ซึ่งเหตุการแพร่ระบาดของโควิด-19 ประเทศอื่นอย่างหนักหนากว่าเราหลายเท่า และที่ภาคเอกชนออกมาสนับสนุนให้รัฐบาลจัดการกับวัคซีน เพื่อต้องการให้เกิดความรวดเร็วและจัดการกับโควิด-19 ได้ดีกว่าประเทศอื่นๆที่มีการแพร่ระบาดในรอบใหม่นี้ 

เมื่อถามถึงการประเมินสถานการณ์จำนวนผู้ติดเชื้อจะเริ่มลดน้อยลงหรือไม่ นายสุพัฒนพงษ์ กล่าวว่า ต้องรอดูว่าภาคเอกชนจะมีการเสนอแผนให้เกิดความรวดเร็วอย่างไรในวันเดียวกันนี้ และในช่วงปลายเดือนเม.ย.ถึงเดือนพ.ค.จะมีวัคซีนเข้ามา ได้เท่าไหร่ หรือเข้ามา 5-10 ล้านโดสหรือไม่ก็จะช่วยคลายกังวลของประชาชนลงได้บ้าง ประกอบกับแผนของรัฐบาลที่ มีการจัดซื้อวัคซีนก็ทำควบคู่ไปไม่ได้หยุด อย่างไรก็ตาม ขอให้ประชาชนมั่นใจว่ารัฐบาลมีแผนจัดการควบคุมทั้งเรื่องการฉีดวัคซีนและการระบาดของโรคโควิด-19 มีทั้งแผน 1 แผน 2 แผนรองรับไว้อยู่แล้ว ขอให้เกิดความมั่นใจและดูแลตัวเองป้องกันการแพร่ระบาดของโรค ตามมาตรการด้านสาธารณสุข พร้อมทั้งให้ความร่วมมือรัฐบาลด้วย เนื่องจากการระบาดที่เกิดขึ้น เป็นผลมาจากคนที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรการ สาธารณสุข ทุกคนต้องช่วยกันแล้วทุกอย่างจะดีขึ้น

“บิ๊กตู่”ถกคกก.ร่วมเอกชน 3 สถาบัน เร่งแก้ปัญหาโควิด-19 ด้าน “ภาคเอกชน”เตรียมเสนอ ล็อกดาวส์ 15 วัน

เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ.2564 ที่ทำเนียบรัฐยาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม เดินทางเข้าปฎิบัติภารกิจที่ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งวันนี้ถือเป็นวันแรก ที่ทำเนียบศไม่อนุญาตให้สื่อมวลชนเข้าทำข่าวภายในทำเนียบรัฐบาล 14 วันตามมาตรการการ ขอความร่วมมือจากสำนักโฆษก สํานักนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ โดยเมื่อเวลา 10.00 น.นายกรัฐมนตรีได้หารือกับคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน ที่นำโดยคณะกรรมการหอการค้าไทย ที่นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย  และคณะ เพื่อนำเสนอแนวทางการทำงานของหอการค้าไทยในการขับเคลื่อนฟื้นฟูเศรษฐกิขของประเทศ  ที่ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล โดยมี ครม.เข้าร่วม อาทิ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.สาธารณสุข นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกฯ รมว.พลังงาน นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาธร ประธานคณะทำงานพิจารณาจัดหาวัคซีนป้องกันโควิด- 19 นพ.โสภณ เมฆธน รองประธานคณะทำงานพิจารณาวัคซีน ฯ นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เข้าร่วม 

ทั้งนี้ นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย  กล่าวว่าการประชุมในวันนี้ นายกรัฐมนตนีจะให้สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)รายงานและสรุปสถานการณ์วัคซีนในประเทศให้เอกชนรับทราบ ถึงความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชน ดำเนินการไปถึงขั้นตอนไหนแล้ว ก่อนจะเริ่มการประชุมใน 2 วาระ คือ 1.สรุปเรื่องการกระจายวัคซีน และ 2.การจัดหาวัคซีน ในส่วนของหอการค้าฯไม่มีข้อเสนอแนะอะไรเพิ่มเติม เพราะเป้าหมายหลักในตอนนี้ยังเป็นไปในทิศทางเดียวกับรัฐบาลคือ การขับเคลื่อนเรื่องวัคซีน 

ด้านนายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 รอบ 3 ว่าค่อนข้างรุนแรงกว่าการระบาดที่ผ่านมา จำเป็นจะต้องมีการล็อกดาวน์เพิ่มขึ้นอีก เน้นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงและมีการแพร่ระบาดสูง บางธุรกิจ บางอาชีพ อย่างน้อย 15 วัน 

ขณะที่ในช่วงบ่าย เวลา 13.30 น. นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมหารือแนวทางความร่วมมือการจัดหาวัคซีนระหว่างภาครัฐและเอกชน ทั้งนี้คาดว่าจะมีการหารือถึงรายละเอียดแนวทางจัดหาและกระจายวัคซีนของภาคเอกชน ซึ่งสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยจะเสนอแผนการจัดหาวัคซีนทางเลือกและการกระจายวัคซีนของภาคเอกชน ภายหลังจากที่นายกฯ ได้มอบหมายให้ภาคธุรกิจเอกชนติดต่อกับบริษัทผู้ผลิตวัคซีนต่างๆ ส่วนในการติดต่อระดับรัฐบาลก็จะให้กระทรวงต่างประเทศเป็นผู้ดำเนินการ เพื่อหาช่องทางให้ได้วัคซีนเพิ่มมากขึ้นจากที่ได้สั่งจองไปแล้ว 

อย่างไรก็ตาม ขณะที่ช่วงเช้าวันเดียวกันนี้ พล.อ.ณัฐพล  นาคพาณิชย์ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.) เป็นประธานการประชุมศูนย์ปฏิบัติการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19 หรือศปก.ศบค. ตามปกติ ซึ่งคาดว่าจะมีการประเมินสถานการณ์ เพื่อยกระดับมาตรการต่างๆมากขึ้น หลังยอดผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตมีจำนวนที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

เจ้าของผับย่านบางพลี หันขายทุเรียนเลี้ยงลูกน้อง-จ่ายค่าเช่า

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ที่กำลังแพร่ระบาดอย่างหนักอยู่ในขณะนี้ทำให้ผู้ประกอบการร้านอาหารร่วมไปถึงผับต่าง ๆ ต้องพากันปิดตัวตามนโยบายป้องการแพร่ระบาดของรัฐบาล ต่างพากันได้รับผลกระทบอย่างหนัก พนักงานต่างพากันตกงานกันเป็นจำนวนมาก และเศรษฐกิจอยู่ในช่วงขาลง

ผู้ประกอบการบางร้านยังคงตั้งความหวังว่ารัฐบาลจะหาวิธีการหยุดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้โดยเร็ว เพื่อจะได้กลับมาเปิดกิจการได้อีกครั้ง จึงได้หันมาหากิจกรรมอย่างอื่นมาทำ เพื่อบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนหาเงินเลี้ยงลูกน้องและค่าเช่าร้านให้ประคองตัวอยู่ได้

ล่าสุด ‘ร้านโซดา’ ซึ่งเปิดกิจการประเภทผับ ตั้งอยู่กลางตลาดนัดเรือบิน ต.บางโฉลง อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ ที่ได้รับผลกระทบอย่างหนัก จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั้งรอบแรกและรอบที่สอง ทำให้ต้องหยุดการดำเนินงาน ซึ่งครั้งแรกที่ว่าสาหัสแล้ว แต่พอมาครั้งที่สองสาหัสยิ่งกว่า จึงต้องหันไปรับทุเรียนหมอนทองจากจังหวัดจันทบุรีมาขาย ส่วนในโซนที่เปิดเป็นผับต้องติดป้ายเซ้งกิจการ เนื่องจากประคองเอาไว้ไม่ไหว

นายสุเทพ รุ่งเรื่อง อายุ 49 ปี หุ้นส่วนใหญ่ ได้เปิดเผยว่า หลังจากที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทางผับเราต้องปิดตัวลงทำให้ขาดรายได้และเงินที่จะต้องมาจ่ายให้พนักงานในร้านและจ่ายค่าเช่าที่ซึ่งตกแล้วเดือนละกว่า 1 แสนบาท ตนจึงได้หาทางออกโดยการไปรับทุเรียนมาจากสวนของเพื่อนที่อยู่ในจังหวัดจันทบุรี ประกอบช่วงนี้เป็นช่วงที่สถานการณ์โควิดกำลังระบาดอย่างรุนแรง ทำให้ธุรกิจใหญ่ของตนต้องปิดตัวลง จึงได้หันไปรับทุเรียนมาขายเพื่อหารายได้เลี้ยงลูกน้องและจ่ายค่าเช่าที่ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าว จังหวะเป็นช่วงเข้าหน้าทุเรียนพอดี

สำหรับ ราคาขายเริ่มตั้งแต่ 100 บาทไปจนถึง 140 บาท ต่อกิโลกรัม คิดเป็นกำไรแค่กิโลกรัม 5-10 บาทเท่านั้น แต่ก็ยังมีปัญหาอยู่อีกอย่างหนึ่งคือหน้าทุเรียนจันทบุรี จะมีแค่ 4 เดือน และถ้าหมดหน้าทุเรียนแล้วสถานการณ์โควิดยังระบาดอยู่หรือเปล่า ถ้ามันยังอยู่เราก็ต้องคิดหาผลไม้อย่างอื่น อาจจะมีเงาะ มังคุดหรือลองกองมาขายแทน และเมื่อช่วงเช้าของวันนี้ทุเรียนพึ่งมาส่งให้ 5 ตัน จากที่โควิดระบาดช่วงแรกเราลงครั้งละ 10 ตัน เราก็จะขายประมาณ 2-3 วันก็หมด เพราะเราขายถูก มีทั้งมารับไปขายมีทั้งคนมาซื้อกินเอง และของเรายังมีปลอกเนื้อขายด้วย แต่ถ้าชาวบ้านมาซื้อเอาไปกินเองเราก็จะคิดค่าบริการปลอกแค่ 20 บาท ส่วนที่เราปลอกแล้วเหลือแต่เนื้อล้วน ๆ เราขายกิโลกรัมละ 550 บาท

โดยเฉลี่ยในแต่ละวันจะมีคนมาสั่งเนื้อทุเรียนที่แกะไว้วันละไม่ต่ำกว่า 100 กิโลกรัม และตนยืนยันว่าทุเรียนหมอนทองที่รับมานั้น เป็นทุเรียนจากจังหวัดจันทบุรี 100 เปอร์เซ็นต์ ไม่ใช่ทุเรียนจากที่อื่นมาย้อมแมวขาย และถ้าซื้อทุเรียนจากเราไปลูกไม่สุกหรือเป็นทุเรียนอ่อนสามารถนำกลับมาเคลมที่ร้านได้

ส่วนรายได้จากการขายทุเรียน ก็พอได้ค่าข้าวค่าลูกน้องจะได้ไม่ตกงานและค่าเช่าที่ บางครั้งก็ขาดบ้างเราก็ต้องเติมเอา แต่ก็ยังดีกว่าขาดทั้งหมด โดยเราจะเปิดขายตั้งแต่ 08.00 น.ไปจนถึง 20.00 น.ทุกวัน หรือเข้ามาสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ในเพจ เจ๊นก ทุเรียนจันทบุรี หรือโทรสอบถามได้ที่หมายเลข 096-395-4626


ภาพ - ข่าว ก๊วก สมุทรปราการ

'ประกันสังคม' ผุดมาตรการ ช่วยลูกจ้างตกงาน จ่ายเงินเยียวยา 50% จากผลกระทบไวรัสระบาด

นางสาวลัดดา แซ่ลี้ ผู้อำนวยการสำนักสิทธิประโยชน์ ในฐานะรองโฆษกสำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า สำนักงานประกันสังคมมีความพร้อมในการจ่ายสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย

คุณสมบัติ

1.) ผู้ประกันตนมาตรา 33 ส่งเงินสมทบครบ 6 เดือนใน 15 เดือน

2.) ผู้ประกันตนไม่ได้ทำงานหรือนายจ้างให้หยุดงานเนื่องจากต้องกักตัว หรือหน่วยงานรัฐมีคำสั่งให้นายจ้างหยุดประกอบกิจการเป็นการชั่วคราวและลูกจ้างไม่ได้รับค่าจ้าง

สิทธิที่ได้รับและข้อปฏิบัติ

1.) รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัยในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายวัน ระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน

2.) ลูกจ้างผู้ประกันตนไม่ต้องขึ้นทะเบียนว่างงานกับสำนักงานจัดหางาน ให้ยื่นเฉพาะคำร้องขอรับประโยชน์ทดแทน

3.) ลูกจ้างดาวน์โหลดและกรอกข้อมูลในแบบฟอร์ม สปส.2-01/7 บน http://www.sso.go.th

4.) นายจ้างไม่ต้องแจ้งลาออกหรือเลิกจ้าง แต่ให้ส่งหนังสือรับรองว่าลูกจ้างไม่ได้ทำงานกี่วัน

5.) นายจ้างบันทึกข้อมูลลูกจ้าง ส่งแบบฯและหนังสือรับรอง ไปยังสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ ในที่ตั้งของสถานที่ทำงาน ส่งทางไปรษณีย์ (ลงทะเบียน) ภายใน 3 วันทำการ

6.) แนบสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของลูกจ้างและหนังสือรับรองการหยุดงาน พร้อมเบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้

ย้ำ ไม่ต้องเดินทางมาที่สำนักงานประกันสังคม ให้ดำเนินการผ่านช่องทางออนไลน์เท่านั้น

สอบถามได้ที่สายด่วน 1506 กด 1 ตลอด 24 ชั่วโมง


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top