Wednesday, 26 June 2024
Hard News Team

"อรรถวิชช์" นำพรรคกล้าบริจาคเลือด เหตุโควิดทำยอดบริจาคลดกว่าครึ่ง และจะลดหนักกว่านี้หลังการกระจายฉีดวัคซีนโควิด เพราะต้องเว้นการให้เลือดเป็นเดือน หนุนทุกภาคส่วน-เอกชน ร่วมมือแก้วิกฤต

นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี เลขาธิการพรรคกล้า , ผู้ช่วยศาสตราจารย์เอราวัณ ทับพลี ผู้อำนวยการพรรคกล้า นำทีมสมาชิกพรรคจากหลายพื้นที่ในนามกลุ่มกล้าอาสา เข้าบริจาคโลหิต ที่ศูนย์บริการโลหิต สภากาชาดไทย กรุงเทพมหานคร ขณะเดียวกันกลุ่มกล้าอาสาภาคใต้ ก็เดินทางร่วมกันบริจาคโลหิต ที่ภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 12 สภากาชาดไทย จังหวัดสงขลา 

โดยนายอรรถวิชช์ กล่าวถึงสถานการณ์คลังเลือดในสถานการณ์โควิด-19 ว่า โดยปกติแล้วสภากาชาดไทย โดยปกติรับบริจาคเลือดได้ 2,200 ยูนิตต่อวัน โดยแบ่งเป็นการรับบริจาคที่ศูนย์ใหญ่ 1,000 ยูนิต และรับบริจาคตามรถโมบายเคลื่อนที่อีก 1,200 ยูนิต แต่ขณะนี้ลดลงกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ และมีแนวโน้มจะลดลงมากกว่านี้อีก เนื่องจากคนที่ฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อโควิด-19 จะต้องเว้นวรรคการให้เลือด โดยกรณีผู้ที่รับวัคซีน Astrazeneca ต้องเว้นวรรค 4 สัปดาห์ ส่วนผู้ที่รับวัคซีน Sinovac ต้องเว้นวรรค 1 สัปดาห์ ซึ่งยังไม่รวมถึงกรณีที่มีผลข้างเคียง อาจจะต้องขยายไปอีก 1 สัปดาห์ด้วยซ้ำไป จึงมีแนวโน้มการบริจาคเลือดอาจน้อยลงไปอีก หากการฉีดวัคซีนขยายเพิ่มมากขึ้น จึงขอรณรงค์ให้ผู้ที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน มาบริจาคเลือดกันที่สภากาชาดไทย พร้อมย้ำว่าทุกขั้นตอนมีการอำนวยความสะดวกและสะอาด มีขั้นตอนป้องกันโรคระบาด 

นายอรรถวิชช์ ยังกล่าวสนับสนุนกรณีเอกชนเข้าหารือกับนายกรัฐมนตรี ในการขยายความร่วมมือกระจายวัคซีน โดยขอบคุณทั้งภาคเอกชน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าไทยแห่งประเทศไทย ที่มีเจตนาช่วยกระจายวัคซีน ซึ่งหลายประเทศมีตัวอย่างสามารถกระจายวัคซีนได้เร็วเพราะให้เอกชนร่วมด้วย ดังนั้นอะไรที่ทำได้ก็ควรทำ เพื่อประเทศของเราตอนนี้

รมว.เกษตรฯ พอใจผลงานขายทุเรียนไปจีนด้วยแพลตฟอร์มใหม่ ผ่านระบบสั่งซื้อล่วงหน้าล็อตแรกสำเร็จ ย้ำนโยบายคุณภาพสำคัญสุด ด้าน ‘อลงกรณ์’ เผยสื่อจีนเด้งรับแพร่ข่าวกระหึ่มแดนมังกร มอบทูตเกษตรขยายผลบุกทุกมณฑลจีน ตั้งเป้าหมายใหม่ ขาย 20 ตัน ใน 1 ชั่วโมง

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) เปิดเผยวันนี้ (28 เม.ย.) ว่า เครื่องบินเช่าเหมาลำของสายการบินเซินเจิ้นแอร์ไลน์ที่นำทุเรียนเกรดพรีเมี่ยม 20 ตันจากสหกรณ์เมืองขลุง จังหวัดจันทบุรีเดินทางถึงที่สนามบินเซินเจิ้นแล้วเมื่อเช้ามืดวันนี้ โดยผู้ประกอบการจีนได้จัดส่งแบบ Delivery ถึงลูกค้าซึ่งสั่งซื้อล่วงหน้าทันที

ทั้งนี้ เป็นการส่งออกทุเรียนด้วยการจำหน่ายออนไลน์ระบบสั่งซื้อล่วงหน้า (Pre-Order) ครั้งแรก โดยลูกค้าจ่ายเงินสั่งจองผ่านระบบออนไลน์มาก่อน ซึ่งล็อตแรกจำนวน 20 ตัน ขายหมดภายในไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น หลังจากนี้ จะประสานงานกับทูตเกษตรไทยทั้ง 8 สำนักงานในจีน ช่วยขยายผลรุกตลาดจีนทุกมณฑล

“ได้รายงานผลดำเนินการต่อท่านรัฐมนตรี ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้แล้ว ท่านพอใจผลงานขายทุเรียนแบรนด์ไทยไปจีนด้วยแพลตฟอร์มใหม่ระบบสั่งซื้อล่วงหน้าล็อตแรกสำเร็จและสั่งการให้เน้นเรื่องคุณภาพเป็นนโยบายสำคัญที่สุด”

นายอลงกรณ์ เปิดเผยด้วยว่า ทางสำนักงานทูตเกษตรไทยในจีนรายงานว่าสื่อมวลชนในจีนได้ลงข่าวกันอย่างครึกโครม ซึ่งเป็นการช่วยเผยแพร่ทุเรียนแบรนด์ไทยสู่ตลาด 1,400 ล้านคนแบบชั่วข้ามคืน

นอกจากนี้ได้ประสานกับบริษัท โรยัลฟาร์ม กรุ๊ป ซึ่งเป็นเจ้าแรกที่ใช้แพลตฟอร์มระบบสั่งซื้อล่วงหน้าเก็บข้อมูลความพึงพอใจของลูกค้าในจีนและพฤติกรรมการบริโภคทุเรียน เช่น นิยมทุเรียนพันธุ์อะไร ขนาดผลเล็กหรือใหญ่ ชอบรสชาติอย่างไร แต่ละมณฑลนิยมทานหวานมากหรือหวานน้อย เป็นต้น

จากข้อมูลการสั่งซื้อเบื้องต้นพบว่า ลูกค้าในเมืองซึ่งเป็นครอบครัวขนาดเล็กจะสั่งทุเรียนผลเล็กทานเสร็จไม่ต้องเก็บรักษา ส่วนลูกค้าชานเมืองซึ่งเป็นครอบครัวใหญ่นิยมสั่งผลใหญ่รับประทานได้หลายคนโดยจะนำข้อมูลมาเก็บในบิ๊กดาต้าทำการวิเคราะห์เพื่อนำไปพัฒนาการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค ตามนโยบายตลาดนำการผลิตของดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

“จากการพูดคุยกับผู้บริหารบริษัทโรยัลฟาร์มกรุ๊ปซึ่งเป็นเจ้าแรกที่เปิดขายระบบสั่งซื้อล่วงหน้าแสดงความมั่นใจว่าในการเปิดจองระบบสั่งซื้อล่วงหน้าในจีนล็อตแรก 20 ตันเกือบ 1 หมื่นลูกจบในเวลาไม่กี่ชั่วโมงและด้วยคุณภาพที่สหกรณ์เมืองขลุงจันทบุรีคัดสรรมาอย่างดีรวมทั้งสื่อจีนขานรับช่วยตีข่าวอย่างกว้างขวางจึงตั้งเป้าว่าล็อตต่อ ๆ ไปจะใช้เวลาขาย 20 ตันในเวลา 1ชั่วโมง”

เผยไทย เร่งเจรจาสิทธิบัตร ยารักษาโควิด19 “ฟาวิพิราเวียร์” เพื่อผลิตในประเทศ - นายกฯ สั่ง จนท. เข้ม คนฝ่าฝืน ไม่ปฏิบัติตามมาตรการควบคุม

เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ.2564  ที่ทำเนียบรัฐบาล นาวสาวไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า  พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ได้ติดตามความคืบหน้าการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 อย่างใกล้ชิดรับฟังประเด็นที่ยังเป็นปัญหาและมีข้อสั่งการให้แก้ไขให้เร็วที่สุด พร้อมกับย้ำกับหน่วยงานที่รับผิดชอบการดูแลจัดหายา และเวชภัณฑ์อื่นๆ ให้เพียงพอ 

นางสาวไตรศุลี กล่าวว่า ในส่วนของยารักษาโรคโควิด-19 นั้น ล่าสุดนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข ได้รายงานให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ทราบว่า หลังจากได้สั่งยาฟาวิพิราเวียร์ที่ใช้ในการรักษาโรคโควิด-19 จากญี่ปุ่นเข้ามาให้เพียงพอต่อการใช้ในประเทศขณะนี้ได้กระจายไปยังหน่วยบริการต่างๆ ทั้งโรงพยาบาลของรัฐและเอกชนทั่วประเทศแล้ว และขณะนี้ได้อยู่ระหว่างให้องค์การเภสัชกรรมเร่งดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อเจรจาเกี่ยวกับสิทธิบัตร  เพื่อให้ได้สิทธิผลิตยาชนิดนี้ในประเทศไทยได้เอง ในขณะที่โรงพยาบาลเอกชนนั้นก็ยังสามารถนำเข้ายาชนิดนี้ได้รัฐไม่ได้มีการผูกขาดนำเข้าแต่อย่างใด 

“รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข แจ้งกับ ครม.ว่าองค์การเภสัชกรรมกำลังดำเนินการตามขั้นตอนการเพื่อให้ได้สิทธิยาฟาวิพิราเวียร์เข้ามาผลิตในประเทศเนื่องจากยามีสิทธิบัตรในต่างประเทศต้องดำเนินการอย่างรอบคอบ เมื่อได้แล้วจะมีส่วนให้ประเทศไทยมีความมั่นคงในส่วนของเวชภัณฑ์ยามากขึ้น”น.ส.ไตรศุลี กล่าว 

นางสาวไตรศุลี กล่าวว่า สำหรับวัคซีนป้องกันโควิด-19 นายกรัฐมนตรีย้ำว่าจะต้องดำเนินการจัดหาวัคซีนที่ได้มาตรฐานโดยไม่ได้จำกัดผู้ผลิตว่าต้องเป็นรายใดให้ได้จำนวนมากที่สุด และให้กระจายวัคซีนให้ทั่วถึงประชาชนตามแผนที่วางไว้ กระจายไปให้ทุกจังหวัดทั้งรัฐและเอกชน และให้โรงพยาบาลเอกชนช่วยกระจายวัคซีน ดูแลระบบการให้วัคซีนให้มีปรระสิทธิภาพไม่ให้เกิดปัญหาระบบล่ม น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า นายกรัฐมนตรี ได้เห็นว่าขณะนี้มีประชาชนหลายภาคส่วนต้องการมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือ แบ่งเบาภาระของบุคลากรสาธารณสุขหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น จึงได้ให้มีการพิจารณาว่า จะสามารถเปิดช่องทางให้ประชาชนมีส่วนร่วมในช่วยเหลือ เร่งแก้ไขสถานการณ์นี้ได้อย่างไร นอกจากนี้ยังขอบคุณประชาชนที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการปฏิบัติตามมาตรการต่างๆของภาครัฐ พร้อมกำชับเจ้าหน้าที่ ให้เอาจริงเอาจังกับการฝ่าฝืน ไม่ปฏิบัติตามมาตรการควบคุมโรค

“สงคราม” ชี้รัฐแก้โควิดเหลวทำคนไทยสิ้นหวัง จี้ “บิ๊กตู่” ยึดอำนาจรอบ 2 หากล้มเหลวต้องแสดงความรับผิดชอบ

วันที่ 28 เมษายน พ.ศ.2564 นายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์ ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคเพื่อชาติ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การคณะรัฐมนตรี เห็นชอบ ให้บรรดาอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงตามกฎหมาย หรือที่เป็นผู้รักษาการตามกฎหมายหรือที่มีอยู่ตามกฎหมาย โอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นการชั่วคราวเฉพาะ ในส่วนที่เกี่ยวกับการอนุญาต อนุมัติ สั่งการ บังคับบัญชา หรือช่วยในการป้องกัน แก้ไข ปราบปราม ระงับยับยั้งในสถานการณ์ฉุกเฉินหรือฟื้นฟู ช่วยเหลือประชาชน จำนวน 31 ฉบับ เพื่อให้การแก้ไขสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

การออกคำสั่งครั้งนี้คงต้องดูว่า พลเอกประยุท์ธ์จะมีปัญญาแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้หรือไม่ และสามารถหยุดการระบาดของไวรัสได้โดยไว้หรือไม่ ทั้งนี้ยิ่งนานวันประชาชนยิ่งหมดศรัทธา ไม่เชื่อมั่นในตัวพลเอกประยุทธ์แล้วเพราะตลอด 7 ปีที่ผ่านมาประเทศสงบมาก ทั้งเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน ล้มเหลวทุกอย่าง จนกระทั่งมีการระบาดของไวรัสโควิด-19 ในรอบที่ 3 ที่ประชาชนจำนวนหลายหมื่นคนและอีกหลายพันคนกำลังนอนรอความตายอยู่ที่บ้านหลังรัฐไม่เหลียวแล

นายสงคราม กล่าวด้วยว่า พลเอกประยุท์ต้องหยุดโกหกประชาชน ทางออกที่ดีที่สุดในวิกฤติไวรัสโควิด คือ รัฐต้องเร่งฉีดวัคซีนให้ประชาชนให้มากที่สุด ปัจจุบันระยะเวลา 2 เดือนรัฐบาลสามารถฉีดวัคซีนให้ประชาชนได้เพียง 1.2 ล้านโดส ไม่ถึงร้อยล่ะ 2 ของประชากรทั้งประเทศ ถื้อว่าช้ามาก อยากถามว่าถึงวันนี้ผ่านไป 2 เดือนรัฐบาลทำได้แค่นี้ แล้วยที่บอกว่าวัคซีนวันล่ะหลักแสนโดส จะได้วัคซีนมาจากไหน เมื่อไม่มีการจอง รัฐบาลทั่วโลกทุกประเทศมีการจองวัคซีนไปหมดแล้วประเทศไทยจะหาวัคซีนมาจากไหน แล้วที่พลเอกประยุทธ์บอกว่าได้มาจากประเทศนั้นประเทศนี้ได้มาหรือยัง อย่าโกหกประชาชนอีกเลย

“การรวบอำนาจการบริหารครั้งนี้ หากล้มหลวไม่สามารถ ควบคุมการระบาด หรือหาเตียงให้ผู้ป่วยที่นอนรอความตายอยู่ที่บ้านได้ พลเอกประยุทธ์จะรับผิดชอบอย่างไร อย่าโยนความผิดให้หน่วยงานอื่นเมื่อรวบอำนาจมาแล้วต้องแสดงความรับผิดชอบสมเป็นชายชาติทหาร อย่าให้ประชาชนสิ้นศรัทธากับรัฐบาลไปมากกว่านี้เลย” นายสงครามกล่าว

‘อรรถวิชช์’ นำทีม ‘พรรคกล้า’ บริจาคเลือด เหตุโควิดทำยอดบริจาคลดกว่าครึ่ง และจะลดหนักกว่านี้หลังการกระจายฉีดวัคซีนโควิด เพราะต้องเว้นการให้เลือดเป็นเดือน หนุนทุกภาคส่วน-เอกชน ร่วมมือแก้วิกฤต

นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี เลขาธิการพรรคกล้า, ผู้ช่วยศาสตราจารย์เอราวัณ ทับพลี ผู้อำนวยการพรรคกล้า นำทีมสมาชิกพรรคจากหลายพื้นที่ในนามกลุ่มกล้าอาสา เข้าบริจาคโลหิต ที่ศูนย์บริการโลหิต สภากาชาดไทย กรุงเทพมหานคร ขณะเดียวกันกลุ่มกล้าอาสาภาคใต้ ก็เดินทางร่วมกันบริจาคโลหิต ที่ภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 12 สภากาชาดไทย จังหวัดสงขลา

โดยนายอรรถวิชช์ กล่าวถึงสถานการณ์คลังเลือดในสถานการณ์โควิด-19 ว่า โดยปกติแล้วสภากาชาดไทย โดยปกติรับบริจาคเลือดได้ 2,200 ยูนิตต่อวัน โดยแบ่งเป็นการรับบริจาคที่ศูนย์ใหญ่ 1,000 ยูนิต และรับบริจาคตามรถโมบายเคลื่อนที่อีก 1,200 ยูนิต แต่ขณะนี้ลดลงกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ และมีแนวโน้มจะลดลงมากกว่านี้อีก เนื่องจากคนที่ฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อโควิด-19 จะต้องเว้นวรรคการให้เลือด โดยกรณีผู้ที่รับวัคซีน Astrazeneca ต้องเว้นวรรค 4 สัปดาห์ ส่วนผู้ที่รับวัคซีน Sinovac ต้องเว้นวรรค 1 สัปดาห์ ซึ่งยังไม่รวมถึงกรณีที่มีผลข้างเคียง อาจจะต้องขยายไปอีก 1 สัปดาห์ด้วยซ้ำไป จึงมีแนวโน้มการบริจาคเลือดอาจน้อยลงไปอีก หากการฉีดวัคซีนขยายเพิ่มมากขึ้น จึงขอรณรงค์ให้ผู้ที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน มาบริจาคเลือดกันที่สภากาชาดไทย พร้อมย้ำว่าทุกขั้นตอนมีการอำนวยความสะดวกและสะอาด มีขั้นตอนป้องกันโรคระบาด

นายอรรถวิชช์ ยังกล่าวสนับสนุนกรณีเอกชนเข้าหารือกับนายกรัฐมนตรี ในการขยายความร่วมมือกระจายวัคซีน โดยขอบคุณทั้งภาคเอกชน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าไทยแห่งประเทศไทย ที่มีเจตนาช่วยกระจายวัคซีน ซึ่งหลายประเทศมีตัวอย่างสามารถกระจายวัคซีนได้เร็วเพราะให้เอกชนร่วมด้วย ดังนั้นอะไรที่ทำได้ก็ควรทำ เพื่อประเทศของเราตอนนี้

กรุงเทพมหานคร เปิดพื้นที่ 14 จุด ให้บริการฉีดวัคซีนโควิด นอกโรงพยาบาล ให้บริการได้ราว 20,500 คนต่อวัน พร้อมเปิดจองคิวผ่าน Line “หมอพร้อม” ลงทะเบียน 1 พ.ค. เริ่มฉีด มิ.ย.นี้

วันที่ 28 เม.ย. พ.ศ.2564 พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการการบริหารจัดการการให้วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 7/2564 โดยมีคณะกรรมการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมประชุม

โดยที่ประชุมได้เห็นชอบแผนการให้บริการวัคซีนโควิดในเดือน มิ.ย. สำหรับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรค อาทิ ตำรวจ ทหาร เจ้าหน้าที่ของสำนักงานเขต (พนักงานกวาดและเก็บขนขยะ) เจ้าหน้าที่ด่านท่าเรือคลองเตย เจ้าหน้าที่ในสถานกักตัวทั้งในส่วนของ SQ, ASQ และ LQ และเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ Hospitel รวมทั้งผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป และประชาชนทั่วไป

โดยหน่วยบริการที่ประชาชนสามารถไปรับบริการได้ คือ ภายในโรงพยาบาล และหน่วยบริการนอกโรงพยาบาล ซึ่งในพื้นที่ กทม.ได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชนจัดสถานที่ให้บริการเป็นหน่วยบริการฉีดวัคซีนนอกโรงพยาบาล รวมจำนวน 14 แห่ง

ได้แก่ SCG บางซื่อ, เซ็นทรัล สาขาลาดพร้าว, เดอะมอลล์ สาขาบางกะปิ, โรบินสัน สาขาลาดกระบัง, โลตัส สาขามีนบุรี, สามย่านมิตรทาวน์, True Digital Park, ธัญญาพาร์ค, Asiatique, เซ็นทรัล สาขาปิ่นเกล้า, ICONSIAM, PTT Station พระราม 2, เดอะมอลล์ สาขาบางแค, และ Big C สาขาบางบอน

สามารถให้บริการประชาชนได้ราว 20,500 คนต่อวัน โดยประชาชนสามารถเลือกหน่วยบริการที่ประสงค์รับบริการฉีดวัคซีนได้ทาง Line “หมอพร้อม” ซึ่งจะเปิดให้ใช้งานพร้อมกัน 1 พ.ค.นี้

สำหรับคุณลักษณะของสถานที่ให้บริการวัคซีนนอกโรงพยาบาล ประกอบด้วย เป็นสถานที่ที่ประชาชนเดินทางเข้ารับบริการได้สะดวก ในกรณีฉุกเฉินสามารถนำส่งโรงพยาบาลได้ภายใน 10 นาที ตำแหน่งที่จัดหน่วยบริการต้องสามารถเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปยังจุดจอดรถพยาบาลได้สะดวก

มีพื้นที่เพียงพอสำหรับการจัดบริการฉีดวัคซีนตามแนวทางและหลักการป้องกันการติดเชื้อ มีการจัดจุดพักรอสังเกตอาการ 30 นาที และจัดที่นั่งรองรับประชาชนได้ไม่น้อยกว่า 100 ราย อากาศถ่ายเทดี ไม่ร้อนเกินไป มีห้องน้ำสำหรับให้บริการประชาชน มีจุดล้างมือสำหรับบุคลากร และมีการให้บริการ Internet หรือ wifi เพื่อรองรับการทำงานของเจ้าหน้าที่

นอกจากนี้ที่ประชุมได้เห็นชอบให้หน่วยให้บริการวัคซีนนอกโรงพยาบาล จัดเก้าอี้นั่งพักคอยสำหรับประชาชนให้เพียงพอกับประชาชนที่มารอรับบริการและเจ้าหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติงาน รวมทั้งสามารถขยายเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการได้ตามสถานการณ์ ซึ่งในเบื้องต้นได้รับการประสานจากภาคเอกชนจะให้บริการอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 6 เดือน

เล็งแอปฯ ‘เป๋าตังค์’ ต่อยอดอีเพย์เมนต์ ให้ประชาชนกู้เงินได้...ดีหรือไม่ | BizMAX EP.35

จากเนื้อหา “ไอเดียกระฉูด! รัฐบาล สั่งปั้นแอปฯ ‘เป๋าตัง’ ต่อยอดระบบอี-เพย์เมนต์ เล็งเปิดให้ประชาชนกู้เงินกันเองผ่านแอปพลิเคชั่น” 

Link เนื้อหา : https://thestatestimes.com/post/2021040540

‘นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์’ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พลังงาน เปิดเผยว่า รัฐบาลกำลังศึกษาแนวทางการต่อยอดการทำธุรกรรมของประชาชนผ่านระบบอี-เพย์เมนต์ ให้มากขึ้น โดยในอนาคตอาจให้ประชาชนสามารถปล่อยกู้ระหว่างกันเองผ่านแอพพลิเคชันเป๋าตัง ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนเข้าถึงสินเชื่อได้มากขึ้น และประชาชนที่มีเงินออมเพียงพอที่จะสามารถปล่อยกู้และรับความเสี่ยงได้ก็ใช้ช่องทางนี้ปล่อยเงินกู้ได้ตามกฎหมายที่รัฐบาลกำหนด ซึ่งเชื่อว่าในอีกไม่นานจากนี้จะเห็นภาพที่ชัดเจนมากขึ้น นอกจากนี้จะพัฒนาเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านใดได้อีกบ้าง วันนี้มาร่วมหาคำตอบกันกับ หยก THE STATES TIMES

.

.
 

‘บิ๊กตู่’ รับข้อเสนอเอกชน ตั้ง 4 ทีมบริหารวัคซีน รัฐจัดหาวัควีน 100 ล้านโดส ลุ้นเปิดประเทศต้นปี 65

นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย เปิดเผยภายหลังการหารือร่วมกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และคณะนักธุรกิจของหอการค้าไทย ว่า รัฐบาลได้รับข้อเสนอของภาคเอกชนเกี่ยวกับการสนับสนุนการกระจายและฉีดวัคซีน การจัดหาวัคซีน และการวางระบบการกระจายวัคซีนโควิด-19 โดยจะมีการตั้งคณะทำงานร่วมกัน 4 คณะ คือ

1.) ทีมสนับสนุนการกระจายและฉีดวัคซีนในระยะแรกได้มีการจัดเตรียมพื้นที่นำร่องเสนอกทม. 66 แห่ง โดยผ่านการคัดเลือก 14 แห่งกระจายทั่วกรุงเทพฯ แบ่งเป็น 5 พื้นที่ ได้แก่ กรุงเทพเหนือ 2 จุด กรุงเทพใต้ 4 จุด กรุงเทพตะวันออก 3 จุด กรุงธนเหนือ 2 จุด และกรุงธนใต้ 3 จุด ซึ่งจะมีทั้งสถานที่ที่เป็นศูนย์การค้า สำนักงาน และสถานีบริการน้ำมัน ซึ่งสถานที่ทั้ง 14 แห่งดังกล่าว จะรองรับประชาชนได้ประมาณ 1,000-2,000 คนต่อวัน รวมแล้วสามารถให้บริการได้วันละ 20,500 คน ซึ่งจะเป็นส่วนเสริมการให้บริการของกรุงเทพมหานคร

สำหรับทีมนี้ในระยะถัดไป จะหารือในการจัดทำหน่วยฉีดวัคซีนเคลื่อนที่ไปยังจุดต่าง ๆ ตามชุมชน และบริษัทต่าง ๆ เพื่อลดการเคลื่อนย้ายของประชาชน โดยมีภาคเอกชนสนใจให้การสนับสนุนหลายแห่ง จะนำต้นแบบของพื้นที่เอกชนร่วมกับกรุงเทพฯ กระจายผ่านหอการค้าจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อทำงานร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด ในการช่วยบริหารจัดการสถานที่ฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ

2.) ทีมการสื่อสาร สนับสนุนการทำงานด้านการสื่อสารของภาครัฐเพื่อสร้างความเข้าใจและส่งเสริมให้ประชาชนเข้ารับการฉีดวัคซีน ซึ่งจะเน้นความสำคัญของการฉีดวัคซีนอย่างทั่วถึง

3.) ทีมเทคโนโลยีและระบบเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพการลงทะเบียนและลดความเสี่ยงของเจ้าหน้าที่ ในศูนย์ปฏิบัติการของภาคเอกชน และ

4.) ทีมจัดหาวัคซีนเพิ่มเติม เป็นทีมสำรวจความต้องการภาคเอกชน โดยทำแบบสอบถาม โดยให้บริษัทเอกชนแสดงความประสงค์ในการได้วัคซีน ซึ่งนายจ้างจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเอง ปัจจุบันมีผู้แจ้งความต้องการ 2,629 บริษัท จำนวนพนักงาน 921,817 คน

นอกจากนี้ ทางรัฐบาลยังให้ความสบายใจว่า ภายในปี 2564 ประชาชนคนไทย ผู้ที่มาทำงาน หรือคนต่างชาติ ที่อาศัยในประเทศไทยหรือแรงงานที่มาอยู่ประเทศไทยจะได้รับการฉีดวัคซีนแน่นอน

ขณะนี้ รัฐบาลสามารถจัดหาวัคซีนได้ 100 ล้านโดส จะครอบคลุมประชากร ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเป็นลักษณะนี้เราสบายใจได้ว่าจะสามารถเปิดประเทศได้ในต้นปี 2565 ส่วนภาคเอกชน ตั้งใจให้การสนับสนุนการทำงานร่วมกับภาครัฐ และขอบคุณที่ภาครัฐให้ความไว้วางใจที่จะทำงานร่วมกัน ถือเป็นนิมิตหมายที่ดี ซึ่งความร่วมมือเหล่านี้จะทำให้ทุกอย่างและเศรษฐกิจขับเคลื่อนไปได้ หากเป็นไปในลักษณะนี้ แนวทางภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์ โมเดล (เปิดประเทศโดยไม่กักตัว) ก็จะเกิดขึ้นได้ในวันที่ 1 ก.ค.นี้ ตามที่รัฐบาลตั้งธงไว้ก็ไม่น่าจะพลาด ทั้งนี้ การร่วมมือทำงานครั้งนี้ถือเป็นการตั้งไทยแลนด์ทีมเกิดขึ้นแล้ว

สมอ. เตรียมออกมาตรฐานควบคุม “อะแดปเตอร์” ชาร์จโทรศัพท์มือถือ/แท็บเล็ต และอุปกรณ์ไฟฟ้า ที่มีแรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 600 โวลต์รวม 20 รายการ ต้องได้มาตรฐาน มอก. หลังมีข่าวประชาชนถูกไฟดูดเสียชีวิตอย่างต่อเนื่อง เร่งบังคับใช้ภายในกลางปีนี้

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมให้ความสำคัญกับการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับภาคอุตสาหกรรม และการคุ้มครองประชาชนให้ปลอดภัยจากการใช้สินค้าที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ทั้งที่ผลิตในประเทศและนำเข้า โดยกำหนดเป็นนโยบายสำคัญและได้มอบหมายให้สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ สมอ. ดำเนินการเนื่องจากเป็นหน่วยงานหลักที่ดำเนินงานด้านการมาตรฐานของประเทศ ทั้งการกำหนดมาตรฐาน การควบคุมและกำกับติดตามการจำหน่ายสินค้าในท้องตลาดให้มีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐาน เพื่อความปลอดภัยและสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชน

“การดำเนินงานด้านการกำหนดมาตรฐานของ สมอ. มีบทบาทสำคัญโดยเฉพาะการคุ้มครองประชาชนที่ต้องได้รับการดูแลด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้ผู้ประกอบการ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องพัฒนาควบคู่กันไป เพื่อให้การขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมของประเทศ สามารถแข่งขันทางการค้าได้อย่างยั่งยืนและเกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชน ซึ่งผมได้กำชับกับบอร์ด สมอ. ให้เร่งรัดดำเนินการ โดยเฉพาะมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของประชาชนให้ดำเนินการเป็นอันดับแรก” นายสุริยะ กล่าว

นายวันชัย พนมชัย เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กล่าวเพิ่มเติมว่า การประชุมบอร์ด สมอ. เมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ.2564 ที่ผ่านมา ได้มีมติเห็นชอบให้ สมอ. ควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าและเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับเสียง วีดิทัศน์ และการสื่อสาร ที่มีแรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 600 โวลต์ได้แก่ เครื่องรับวิทยุ เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องขยายสัญญาณ เครื่องเล่นแผ่นดิสก์ เครื่องเล่นวีดีโอเกมส์เครื่องรับสัญญาณไมโครโฟนไร้สาย เครื่องรับสัญญาณวิทยุ เครื่องรับสัญญาณโทรทัศน์ เครื่องรับสัญญาณดาวเทียม ลำโพงพร้อมขยายสัญญาณ เครื่องแปลงสัญญาณ เครื่องปรับแต่งสัญญาณ เครื่องผสมสัญญาณเสียง เครื่องจ่ายไฟฟ้าสำหรับเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจ่ายไฟฟ้าสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่และแท็บเล็ต (อะแดปเตอร์) เครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องเล่นเสียงและภาพ เครื่องรับสัญญาณภาพและเสียงผ่านระบบอินเตอร์เน็ต เครื่องรับสัญญาณเคเบิลทีวี และเครื่องแปลงสัญญาณเสียงและภาพ รวม 20 รายการ เป็นสินค้าควบคุมต้องได้มาตรฐาน มอก. 62368-2563 หลังมีผู้ใช้อะแดปเตอร์ไม่ได้มาตรฐานชาร์จโทรศัพท์มือถือ ถูกไฟดูดเสียชีวิต

โดยจะเร่งดำเนินการประกาศบังคับใช้มาตรฐานภายในกลางปีนี้ เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยแก่ประชาชนจากอันตรายที่เกิดจากไฟฟ้า โดยข้อกำหนดในมาตรฐานจะควบคุมด้านความปลอดภัย มีการทดสอบเกี่ยวกับการบาดเจ็บที่เกิดจากไฟฟ้า การทดสอบเกี่ยวกับไฟไหม้ที่เกิดจากไฟฟ้า การทดสอบความร้อน การทดสอบการแผ่รังสี และการทดสอบเกี่ยวกับสารอันตราย เป็นต้น

“การประชุมบอร์ด สมอ.ในครั้งนี้ นอกจากจะเห็นชอบให้ สมอ. ควบคุมอะแดปเตอร์สำหรับชาร์จโทรศัพท์มือถือ/แท็บเล็ต อุปกรณ์ไฟฟ้า และเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องแล้ว ยังได้เห็นชอบในเรื่องสำคัญ ๆ ดังนี้

1.) ให้ สมอ. จัดทำมาตรฐาน ทั้งที่เป็นมาตรฐานใหม่ และมาตรฐานเดิมที่นำมาทบทวนรวม 9 มาตรฐาน ได้แก่ สีอิมัลชันใช้งานทั่วไป สีอิมัลชันทนสภาวะอากาศ สีอิมัลชันลดความร้อนจากแสงอาทิตย์ และเครื่องทำน้ำร้อนแบบฮีตปั๊ม เป็นต้น

2.) ให้ สมอ. ควบคุมสินค้าอีก 5 รายการ ที่เสี่ยงต่อความปลอดภัยของประชาชน ได้แก่ ถุงพลาสติกสำหรับบรรจุอาหาร ภาชนะและเครื่องใช้พลาสติกสำหรับอาหาร และถุงพลาสติกบรรจุอาหารสำหรับอุ่นในไมโครเวฟ เป็นต้น

3.) ให้ สมอ. ทำลายผลิตภัณฑ์ไม่ได้มาตรฐานของผู้ประกอบการจำนวน 4 ราย ที่คดีถึงที่สุดแล้ว ได้แก่ ของเล่น เหล็กเส้นกลม หมวกนิรภัยและสับปะรดกระป๋อง มูลค่ารวมกว่า 1,050,000 บาท อีกด้วย” เลขาธิการ สมอ. กล่าวทิ้งท้าย


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top