Tuesday, 14 May 2024
ดร.ปุณกฤษ ลลิตธนมงคล

ย้อนอดีต ‘อโนชา ปันจ้อย’ 44 ปีแห่งการหายตัวของหญิงไทย ผู้ถูกสายลับเกาหลีเหนือลักพาตัว

รัฐบาลญี่ปุ่นยอมรับอย่างเป็นทางการจากว่าชาวญี่ปุ่นเพียง 17 คน (ชาย 8 คนและหญิง 9 คน) ถูกลักพาตัวไป

เรื่องของ อโนชา ปันจ้อย หญิงสาวชาวไทย ผู้ซึ่งถูกสายลับเกาหลีเหนือลักพาตัวไปจากอาณานิคมมาเก๊าของโปรตุเกส เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2521 (วันนี้เมื่อ 44 ปีก่อน) เห็นชื่อเรื่องแล้วผู้อ่านหลายๆ ท่านคงจะสงสัยว่า เรื่องแบบนี้เคยเกิดขึ้นกับคนไทยด้วยหรือ เพราะข่าวส่วนใหญ่มักเกิดกับคนญี่ปุ่น โดยเฉพาะในระหว่าง ปี พ.ศ. 2520 ถึง 2526 แม้ว่ารัฐบาลญี่ปุ่นยอมรับอย่างเป็นทางการว่า มีชาวญี่ปุ่นเพียง 17 คน (ชาย 8 คนและหญิง 9 คน) ถูกลักพาตัวไป แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจมีชาวญี่ปุ่นอีกหลายร้อยคนที่ถูกสายลับเกาหลีเหนือลักพาตัว ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2545 รัฐบาลเกาหลีเหนือยอมรับว่า ได้ทำการลักพาตัวพลเมืองญี่ปุ่น และขอโทษ ในขณะเดียวกันก็สัญญาว่าจะป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีก

รัฐบาลเกาหลีเหนือยอมรับว่า ได้ทำการลักพาตัวพลเมืองญี่ปุ่นไป 13 คน

แม้ว่า ในเดือนตุลาคมปีนั้นผู้ที่ถูกลักพาตัวชาวญี่ปุ่นห้าคนจะได้เดินทางกลับญี่ปุ่น แต่ผู้ถูกลักพาตัวชาวญี่ปุ่นที่เหลือรัฐบาลเปียงยางยังไม่ได้ให้คำอธิบายใด ๆ ที่ยอมรับได้อีกเลย ถึงแม้ว่า เกาหลีเหนือจะมีพันธะสัญญาอย่างชัดเจนจากการประชุมสุดยอดผู้นำญี่ปุ่น-เกาหลีเหนือเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2547 เพื่อดำเนินการสอบสวนโดยละเอียดในทันทีในการตรวจสอบจำนวนชาวญี่ปุ่นที่ถูกลักพาตัวทั้งหมด 

การยืนยันของเกาหลีเหนือเกี่ยวกับประเด็นการลักพาตัวนั้น เกาหลีเหนือไม่ได้ให้หลักฐานที่น่าพอใจหรือที่น่าเชื่อใดๆ ดังนั้นรัฐบาลญี่ปุ่นจึงไม่ยอมรับ 

สำหรับการลักพาตัวพลเมืองญี่ปุ่นนั้น ทางรัฐบาลญี่ปุ่นถือเป็นปัญหาสำคัญที่เกี่ยวข้องกับอำนาจอธิปไตยของญี่ปุ่น ชีวิตและความปลอดภัยของพลเมืองญี่ปุ่น หากไม่มีการแก้ไขปัญหานี้ ความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นกับเกาหลีเหนือก็จะยังไม่ถือว่าเป็นปกติ 

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลญี่ปุ่นให้คำมั่นแก่ชาวญี่ปุ่นที่จะพยายามอย่างที่สุดในการติดตามและนำผู้ถูกลักพาตัวทั้งหมดกลับมายังประเทศญี่ปุ่นโดยเร็วที่สุด และรัฐบาลเกาหลีเหนือได้ยอมรับอย่างเป็นทางการว่า ได้ลักพาตัวชาวญี่ปุ่นไป 13 คน

ชาวเกาหลีใต้ชุมนุมเรียกร้องให้รัฐบาลช่วยเหลือผู้ที่ถูกลักพาตัวชาวเกาหลีใต้ระหว่างสงครามเกาหลีกว่าแปดหมื่นคน

มาที่ด้านของเกาหลีใต้ ผู้ที่ถูกลักพาตัวชาวเกาหลีใต้โดยเกาหลีเหนือ แบ่งออกเป็นสองกลุ่มได้แก่ 1.) ผู้ที่ถูกลักพาตัวในระหว่างช่วงสงครามเกาหลี และ 2.) ผู้ที่ถูกลักพาตัวหลังจากสงครามเกาหลี โดยในช่วงระหว่างสงครามเกาหลี มีชาวเกาหลีใต้ประมาณ 84,532 คนถูกนำตัวไปยังเกาหลีเหนือ ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีการศึกษาหรือมีทักษะอยู่แล้ว เช่น นักการเมือง ข้ารัฐการ นักวิชาการ นักการศึกษา แพทย์ ผู้พิพากษา นักข่าว หรือนักธุรกิจ ตามคำให้การของสมาชิกในครอบครัวที่เหลืออยู่ การลักพาตัวส่วนใหญ่ถูกจับกุมโดยทหารเกาหลีเหนือซึ่งมีชื่อเฉพาะและบัตรประจำตัวของผู้ที่ถูกลักพาตัวอยู่ในมืออยู่แล้วเมื่อพวกเขามาปรากฏตัวที่บ้าน อันเป็นข้อบ่งชี้ว่า การลักพาตัวเกิดขึ้นโดยเจตนาและเป็นไปในลักษณะที่มีความเป็นระบบ 

สาธุคุณ Kim Dong-shik (ผู้จัดตั้งที่พักพิงในจีนสำหรับชาวเกาหลีเหนือที่แปรพักตร์) หนึ่งในผู้ที่ถูกลักพาตัว

นับตั้งแต่ข้อตกลงสงบศึกเกาหลีในปี พ.ศ. 2496 เกาหลีเหนือได้ทำการลักพาตัวชาวเกาหลีใต้ราว 3,800 คน (ส่วนใหญ่ในช่วงปลายทศวรรษ 1970) ชาวเกาหลีใต้ที่ถูกสายลับเกาหลีเหนือลักพาตัวในดินแดนเกาหลีใต้หรือต่างประเทศหลังจากการสงบศึกลงนามในปี พ.ศ. 2496 เป็นที่รู้จักในชื่อเรียกว่า “ผู้ถูกลักพาตัวหลังสงคราม” โดยส่วนใหญ่จะถูกจับในขณะตกปลาใกล้เขตปลอดทหารเกาหลี (DMZ) แต่บางคนถูกลักพาตัวโดยสายลับเกาหลีเหนือในเขตเกาหลีใต้ที่ลึกเข้ามา 

เกาหลีเหนือยังคงลักพาตัวชาวเกาหลีใต้อย่างต่อเนื่องในยุค 2000 ดังที่เห็นได้จากกรณีของสาธุคุณ Kim Dong-shik (ผู้จัดตั้งที่พักพิงในจีนสำหรับชาวเกาหลีเหนือที่แปรพักตร์) ซึ่งถูกลักพาตัวไปเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2543 และ Jin Gyeong-suk ชาวเกาหลีเหนือที่แปรพักตร์ไปอยู่ยังเกาหลีใต้ ซึ่งถูกลักพาตัวไปเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2547 ขณะที่เธอกลับไปยังเขตชายแดนจีน-เกาหลีเหนือโดยใช้หนังสือเดินทางเกาหลีใต้ ซึ่งในปี พ.ศ. 2549 ชาวเกาหลีใต้จำนวน 489 คนยังคงไม่ได้รับการปล่อยตัว 

ว่าด้วย...กำลังทหารของญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ตามมาตรา 9 ของรัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่น

หลังจากการเยือนราชอาณาจักรไทยของนายคิชิดะ ฟูมิโอะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 1-2 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา ก็มีคนไทยบางคนอ่านข่าวไม่ทันจบหรือไม่ทันได้ทำความเข้าใจในประเด็นต่างๆ ได้ออกมาโวยว่า...

ครั้งนี้รัฐบาลไทยไปทำความตกลงกับญี่ปุ่นสารพัดเรื่อง ทั้งๆ ที่การทำความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ จำเป็นต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อน รัฐบาลไทยจึงจะไปทำความตกลงกับรัฐบาลต่างประเทศได้ ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ประเด็นหารือจึงใช้คำว่า ‘การเสริมสร้าง’

รัฐธรรมนูญ (ฉบับใหม่) ของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2490

โดยเฉพาะเรื่องของความมั่นคง ที่รัฐบาลญี่ปุ่นเองก็มีข้อจำกัดในเรื่องของการทหารและอาวุธยุทโธปกรณ์ตามหมวด 2 (ตามรัฐธรรมนูญ (ฉบับใหม่) ของประเทศญี่ปุ่น) ‘การสละสิทธิ์สงคราม’ มาตรา 9 ซึ่งได้ระบุเอาไว้ว่า...ความมุ่งประสงค์อย่างแท้จริงในสันติภาพระหว่างชาติ โดยมีความยุติธรรมและความสงบเรียบร้อยเป็นพื้นฐาน ชนชาวญี่ปุ่นยอมสละจากสงครามไปตลอดกาลนาน ซึ่งให้ถือเป็นสิทธิสูงสุดแห่งชาติ ทั้งสละจากการคุกคามหรือการใช้กำลังเพื่อแก้ไขข้อพิพาทระหว่างชาติ เพื่อบรรลุความมุ่งประสงค์ในวรรคก่อน...จะไม่มีการธำรงไว้ซึ่งกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ กับทั้งศักยภาพอื่นๆ ในทางสงคราม รวมถึงไม่มีการรับรองสิทธิในการเป็นพันธมิตรในสงคราม

ชาวญี่ปุ่นเพียง 27% เห็นด้วยกับการแก้มาตรา 9 ของรัฐธรรมนูญ ยินยอมให้ญี่ปุ่นกลับมามีกองทัพอย่างเป็นทางการ และสามารถประกาศสงครามได้ โดยมีผู้ไม่เห็นด้วยถึง 67%

มาตรา 9 ของรัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่น เป็นบทในรัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่นที่ห้ามพฤติการณ์แห่งสงครามโดยรัฐ รัฐธรรมนูญดังกล่าวมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ในข้อความนี้ รัฐสละสิทธิอธิปไตยในสงครามและห้ามการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศผ่านการใช้กำลัง มาตรานี้ยังแถลงว่า เพื่อบรรลุเป้าประสงค์เหล่านี้ จะไม่มีการธำรงกองทัพที่มีศักย์สงคราม แต่ญี่ปุ่นยังคงธำรงกองทัพอยู่โดยพฤตินัยนั้น คือ กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น

นายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นในขณะนั้นได้หลีกเลี่ยงกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 9 ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด โดยได้อนุมัติการตีความ มาตรา 9 ซึ่งรัฐธรรมนูญอันสละสิทธิ์สงครามขึ้นใหม่

รัฐธรรมนูญ (ฉบับใหม่) ของประเทศญี่ปุ่นซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 ร่างขึ้นภายใต้การยึดครองของฝ่ายสัมพันธมิตรให้หลังสงครามโลกครั้งที่สอง และตั้งใจแทนที่ ‘ระบบแสนยนิยม’ (Militarism: แนวคิดนิยมทหาร) และสมบูรณาญาสิทธิราชย์เดิมของประเทศญี่ปุ่นด้วยประชาธิปไตยเสรีนิยมรูปแบบหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันเป็นรัฐธรรมนูญที่แก้ไขได้ยากมาก จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมใดๆ นับแต่มีมติเห็นชอบ

แม้ว่าในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2557 รัฐบาลญี่ปุ่นได้อนุมัติการตีความ มาตรา 9 ซึ่งรัฐธรรมนูญอันสละสิทธิ์สงครามใหม่ ที่อาจสร้างความกังวลและความไม่เห็นด้วยจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งอนุญาตให้ใช้กำลังทหารเพื่อโจมตีประเทศอื่นและเข้าสู่สงคราม รวมถึงการใช้กำลังทหารเพื่อการนี้ถูกพิจารณาว่ามิชอบด้วยกฎหมายและเป็นอันตรายร้ายแรงต่อประชาธิปไตยของญี่ปุ่น

แต่นายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นในขณะนั้น ได้หลีกเลี่ยงกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด และทำให้มีการเปลี่ยนแปลงมูลวิวัฒต่อความหมายของหลักการมูลฐานในรัฐธรรมนูญโดยคำสั่งของคณะรัฐมนตรี โดยปราศจากการอภิปรายหรือลงมติของสภาไดเอต (สภาผู้แทนราษฎร) และยังไม่ได้ผ่านประชามติความเห็นชอบจากสาธารณะเลย

กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น (Japan Self Defend Force : JSDF หรือ JSF หรือ SDF) 

กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น (Japan Self Defense Force : JSDF หรือ JSF หรือ SDF) เป็นกำลังทหารของญี่ปุ่นซึ่งถูกจัดตั้งขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลงเพื่อแทนที่กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นที่ถูกยุบเลิก และฝ่ายสัมพันธมิตรได้เข้ามาทำการยึดครองญี่ปุ่นในช่วงหลังสงคราม

โดยกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นถูกใช้งานในเฉพาะภายในประเทศมีหน้าที่ในการป้องกันประเทศอธิปไตยชาติเพียงอย่างเดียวและไม่ได้รับอนุญาตให้ปฏิบัติภารกิจในต่างประเทศ ยกเว้นในสถานการณ์ที่ถือว่า เป็นการป้องกันตนเองภายในขอบเขตที่จำกัดเท่านั้น แม้อาจมีภารกิจในต่างประเทศอาทิ การปฏิบัติการรักษาสันติภาพ

กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นขณะสวนสนาม

แต่ในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 คณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นได้ตีความรัฐธรรมนูญมาตรา 9 ตามรัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่นใหม่ และสรุปได้ว่า ญี่ปุ่นจะสามารถส่งทหารสังกัดกองกำลังป้องกันตนเองไปปฏิบัติภารกิจการป้องกันตนเองร่วมได้ (Collective Self Defense) ตามมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเพื่อปกป้องชาติหนึ่งชาติใดจากการถูกรุกรานได้ และญี่ปุ่นจะสามารถส่งกำลังทหารไปช่วยเหลือชาติพันธมิตรใกล้ชิดที่ถูกโจมตีได้ หากการโจมตีนั้นเป็นภัยคุกคามต่อการดำรงอยู่ของญี่ปุ่นและไม่มีวิธีอื่นในการปกป้องชีวิตของชาวญี่ปุ่น

แม้จะผลิตเองจะต้องจ่ายแพงกว่าการซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์สำเร็จรูปจากต่างประเทศ แต่ญี่ปุ่นก็เต็มใจจ่าย

ในด้านการพัฒนาอาวุธ รัฐธรรมนูญของญี่ปุ่นได้กำหนดห้ามการพัฒนาอาวุธในเชิงรุก ขณะที่การห้ามส่งออกอาวุธยุทโธปกรณ์นั้น แม้ญี่ปุ่นจะเป็นผู้กำหนดขึ้นเองเมื่อปี พ.ศ. 2510 แต่ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557 ญี่ปุ่นได้ผ่อนคลายกฎห้ามส่งออกอาวุธยุทโธปกรณ์ โดยสามารถส่งออกอาวุธยุทโธปกรณ์ และสามารถมีส่วนร่วมในการผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ กับนานาชาติได้ แต่ญี่ปุ่นจะไม่ส่งออกอาวุธยุทโธปกรณ์ให้แก่ประเทศที่ตกอยู่ท่ามกลางความขัดแย้ง หรืออาจเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพและความมั่นคงของนานาชาติ

ส่อง!! ขุมกำลังนอกประเทศ ประเทศไหน? กองกำลังทหารอยู่นอกบ้าน เพียบ!!

การมีกองกำลังทหาร หรือ มีการตั้งฐานทัพทางทหารในต่างประเทศ ทำให้ประเทศนั้นๆ สามารถแสดงพลังอำนาจทางทหารได้ โดยสามารถใช้กำลังทหารที่มีอยู่นอกประเทศได้มากมายหลากหลายภารกิจ ที่มีผลกระทบ และมีอิทธิพลต่อเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ ซึ่งสามารถใช้เป็นกำลัง, พื้นที่จัดเตรียมหรือใช้สำหรับการสนับสนุนด้าน Logistics, การสื่อสาร และการข่าว ขึ้นอยู่กับขนาดและโครงสร้างของกองกำลังหรือฐานทัพนั้นๆ 

ทั้งนี้ จากความขัดแย้งมากมายที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ส่งผลให้ฐานทัพทหารในต่างประเทศ ถูกตั้งขึ้นเป็นจำนวนมากโดยประเทศมหาอำนาจโลก และการมีอยู่ของฐานทัพในต่างประเทศต่างๆ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ประเทศเหล่านั้นสามารถบรรลุเป้าหมายและผลประโยชน์แห่งทั้งทางการเมือง การทหาร เศรษฐกิจ และสังคม

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสอง จักรวรรดิอังกฤษและมหาอำนาจเจ้าอาณานิคมอื่นๆ ได้ตั้งฐานทัพทหารในหลายๆ ดินแดนอาณานิคม ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการแสวงหาสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็น ด้วยเหตุผลเชิงกลยุทธ์

การแข่งขันในการสร้างสถานี เพื่อเชื่อมการขนส่งทางน้ำสำหรับเรือเดินทะเลมีความสำคัญมากในช่วงสงครามเย็น ส่งผลให้สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตได้ตั้งฐานทัพทหารมากมายหลายแห่งภายในเขตอิทธิพลของตน และต่างก็แสวงหาอิทธิพลอย่างแข็งขัน 

ปัจจุบันสงครามต่อต้านการก่อการร้ายได้ทำให้มีการจัดตั้งฐานทัพของกองกำลังต่างชาติโดยเฉพาะในประเทศตะวันออกกลางมากมายหลายประเทศ แม้ว่าจำนวนฐานทัพทหารในต่างประเทศโดยรวมลดลงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) อันเป็นปีที่สงครามโลกครั้งที่สองยุติลง แต่ สหรัฐอเมริกา, ตุรกี, สหราชอาณาจักร, รัสเซีย และฝรั่งเศส ยังคงมีกองกำลังและฐานทัพทหารในต่างประเทศจำนวนมาก รองลงมาก็คือ จีน, อิหร่าน, อินเดีย, อิตาลี, ซาอุดีอาระเบีย, สิงคโปร์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

สำหรับ สหรัฐอเมริกา มีฐานทัพทหารในต่างประเทศที่ใหญ่และมากที่สุด จำนวน 38 ฐานทัพ โดยมีกำลังประจำการ ทั้งทหารจากเหล่าทัพต่างๆ กองกำลังพิทักษ์ชาติ กองหนุน หรือบุคลากรพลเรือน ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2557 (ค.ศ. 2014) ฐานทัพที่ใหญ่ที่สุดด้วยจำนวนของกำลังพลคือ ฐานทัพอากาศ Ramstein ในเยอรมนี ด้วยจำนวนบุคลากรเกือบ 9,200 นาย

อย่างไรก็ตาม ยังมีรายชื่อประเทศที่มีกองกำลังทหารอยู่นอกประเทศ และประเทศที่ตั้งของกองกำลังทหารอีกมากมายด้วย ซึ่งวันนี้ผมจะมาแชร์ให้ทราบโดยทั่วกัน...

เครื่องบิน F/A-18 กองทัพอากาศออสเตรเลีย ณ ฐานทัพอากาศ Butterworth มาเลเซีย

ออสเตรเลีย : มาเลเซีย - ฐานทัพอากาศ Butterworth ตามข้อตกลงด้านการป้องกันพลังทั้งห้า (Five Power Defence Arrangements : FPDA) ประกอบด้วย ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, มาเลเซีย, สิงคโปร์ และสหราชอาณาจักร นอกจากนี้กองทัพออสเตรเลียยังมีกองร้อยทหารราบ Butterworth สำหรับการฝึกฝนอบรมทางทหาร และในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ - ฐานทัพอากาศ Al Minhad สำหรับรองรับปฏิบัติการของกองกำลังออสเตรเลียในตะวันออกกลาง

บังคลาเทศ : คูเวต - กองกำลังติดอาวุธของบังคลาเทศ (BMC) อยู่ในคูเวตตั้งแต่สิ้นสุดสงครามอ่าวในปี พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) เพื่อช่วยเหลือกองกำลังทหารคูเวตในด้านภารกิจขนส่ง และภาคส่วนอื่นๆ ภายใต้ข้อตกลงทวิภาคีของสองประเทศ

Operational Support Hub (OSH) ของกองทัพแคนาดาประจำภูมิภาคละตินอเมริกาและแคริบเบียน

แคนาดา : ในเยอรมนี - มีการตั้ง Operational Support Hub (OSH) ประจำภูมิภาคยุโรป ขึ้นในปี พ.ศ. 2552 ณ สนามบิน Köln-Bonn สามารถปฏิบัติการได้ตลอด 24 ชั่วโมงทุกวันเพื่อให้เข้าถึงเครือข่ายการขนส่งของยุโรปอย่างเต็มรูปแบบ 

ในจาเมกา - สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2559 เป็น OSH ประจำภูมิภาคละตินอเมริกาและแคริบเบียน เพื่อสนับสนุนกำลังทหารแคนาดาในการซ้อมรบ TRADEWINDS 2016 ในจาเมกา 

ในคูเวต - OSH ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2554 เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการของแคนาดาในอัฟกานิสถาน ในเซเนกัล - OSH ประจำภูมิภาคแอฟริกาตะวันตก สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2561 มีการจัดตั้ง Interim Operational Support Hub (IOSH) ขึ้นที่สนามบิน Léopold Sédar Senghor (LSS) ในกรุงดาการ์ เซเนกัล 

ฐานทัพสำหรับเรือปฏิบัติการข่าวกรองทางสัญญาณ (SIGINT) ของกองทัพเรือจีน เกาะโคโค่ เมียนมาร์

ประเทศจีน : ในจิบูตี - ฐานสนับสนุนกองทัพปลดแอกประชาชนจีน ในเมียนมาร์ - ฐานทัพเรือ สำหรับเรือปฏิบัติการข่าวกรองทางสัญญาณ (SIGINT) เกาะโคโค่ 
ในทาจิกีสถาน - ฐานทัพในกอร์โน - บาดักชานทางตะวันออกเฉียงใต้ ในกัมพูชา - กำลังสร้างฐานทัพเรือเรียม ใกล้เมืองสีหนุวิลล์

กองกำลังทหารฝรั่งเศสประจำจิบูตี (FFDj)

ฝรั่งเศส : ในจิบูตี - กองกำลังทหารฝรั่งเศสประจำจิบูตี (FFDj) 
ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ - กองกำลังทหารฝรั่งเศสประจำสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 
ในไอวอรี่โคสต์ - กองกำลังทหารฝรั่งเศสในโกตดิวัวร์ (FFCI) 
ในกาบอง - หน่วยทหารฝรั่งเศสประจำกาบอง (EFG) 
ในเซเนกัล - หน่วยทหารฝรั่งเศสประจำเซเนกัล (EFS) 
ในเยอรมนี - กองพลน้อยฝรั่งเศส-เยอรมันใน Müllheim และศูนย์ฝึก Eurocopter Tiger ฐานทัพอากาศ Faßberg 
ในมาลี - หน่วยสนับสนุนอำนวยความสะดวกหลายแห่ง* 
ในบูร์กินาฟาโซ - หน่วยสนับสนุนอำนวยความสะดวกหลายแห่ง* 
ในมอริเตเนีย - หน่วยสนับสนุนอำนวยความสะดวกหลายแห่ง* 
ในชาด - ฐานทัพอากาศ N'Djamena* 
ในไนเจอร์ - ฐานทัพอากาศ Niamey* (*ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการ Barkhane) 
ในซีเรีย - อย่างน้อยสามฐานใกล้ Kobanî, Sarrin และ Ayn Issa** 
ในอิรัก - กองกำลังในแบกแดด** 
ในจอร์แดน - ฐานทัพอากาศ Prince Hassan** (**ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการ Chammal) 

กองพันทหารราบเบาที่ 291 ของกองทัพบกเยอรมัน สังกัดกองพลน้อยฝรั่งเศส-เยอรมัน ประจำการใน Illkirch-Graffenstaden ฝรั่งเศส

เยอรมนี : ในฝรั่งเศส - กองพลน้อยฝรั่งเศส-เยอรมันใน Illkirch-Graffenstaden ใกล้ Strasbourg และศูนย์ฝึกเฮลิคอปเตอร์ Eurocopter Tiger ใน Le Cannet-des-Maures 
ในสหรัฐอเมริกา - กองบัญชาการอเมริกาเหนือของเยอรมันในเมือง Reston มลรัฐ Virginia

กรีซ : ในไซปรัส - กองกำลังกรีซประจำไซปรัส 
ในซาอุดีอาระเบีย - กองกำลังกรีซในซาอุดิอาระเบีย ในโคโซโว - กองกำลังกรีซในโคโซโว

อินเดีย : ในทาจิกิสถาน - ฐานทัพอากาศ Farkhor โดยกองทัพอากาศอินเดียและกองทัพอากาศทาจิกีสถาน - ฐานทัพอากาศไอนี่ โดยกองทัพอากาศอินเดียตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา โดยมี Su-30 MKI ถูกนำไปใช้ในจำนวนที่จำกัดตั้งแต่ปี 2014 
ในภูฏาน - ชุดฝึกของกองทัพอินเดีย (IMTRAT) ประจำการถาวรในภูฏานตะวันตก 
ในมาดากัสการ์ - เสาเฝ้าฟังและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับเรดาร์ในตอนเหนือของมาดากัสการ์ 
ในโอมาน - เสาเฝ้าฟังที่ Ras al Hadd และสิทธิในท่าเทียบเรือของกองทัพเรืออินเดีย ณ ฐานทัพเรือ Muscat สถานี Duqm สำหรับกองทัพอากาศและกองทัพเรืออินเดีย 
ในมอริเชียส - ระบบเรดาร์ตรวจการณ์ชายฝั่งในเกาะ North Agalega ปัจจุบันเกาะนี้เป็นที่ตั้งฐานทัพของอินเดียในมอริเชียส

อิหร่าน : ในอิรัก - สถานีปฏิบัติงานนอกชายฝั่งและสิ่งอำนวยความสะดวกทางทหารหลายแห่งในกรุงแบกแดด เมืองอัลอันบาร์ และเขตซาลาดิน 
ในซีเรีย - ฐานทัพทหารใกล้กับ Al-Kiswah, Abu Kamal และสถานีบริการอำนวยความสะดวกหลายแห่งใน 3 เขตการปกครอง
ในเลบานอน - หน่วยฝึกทหารใกล้กับ Beit Mubarak และสถานีปฏิบัติงานนอกชายฝั่งหลายแห่งในเขต Beqaa และ Beirut

จิม โจนส์ (Jim Jones) ‘ผีบุญอเมริกัน’ ผู้ปิดฉากลัทธิ ด้วยการพาสาวกฆ่าตัวตายหมู่กว่า 900 ชีวิต

ประชาชนในพื้นที่อีสานประสบพบกับความยากลำบากจากภัยธรรมชาติ โดยเฉพาะการขาดแคลนแล้งน้ำเป็นประจำ

ระยะนี้บ้านเรามีผู้พยายามนำเรื่องราวของ ‘ผีบุญ’ อันเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ 121 ปีล่วงมาแล้ว โดยมีการตีไข่ใส่สีว่าผีบุญเป็นวาทกรรมที่ถูกสร้างขึ้นโดยฝ่ายรัฐ ทั้งๆ ที่ผู้นำขบวนการนั้นตั้งตัวเป็น ‘ผีบุญ’ เอง โดยให้ความหมายของผีบุญว่าเป็น ‘ผู้มีบุญ’ ซึ่งก็คือ การอวดอ้างตัวเองว่า เป็นผู้วิเศษ มีฤทธิ์ มีเดช เหนือมนุษย์ธรรมดาทั่วไป ได้รับบัญชาจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้มาสร้างความมั่งคั่งผาสุกให้กับราษฎร ซึ่งชัดเจนแน่นอนว่าเป็นการโกหกหลอกลวงเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง แต่ก็ทำให้คนที่งมงายเชื่อได้เป็นจำนวนมาก

บรรดากบฏผีบุญถูกเจ้าหน้าที่ทหารควบคุมไว้ที่ ทุ่งศรีเมือง อุบลราชธานี เมื่อปี พ.ศ. 2444

ในสมัยนั้น มีผีบุญเกิดขึ้นในภาคอีสานหลายราย ด้วยเพราะประชาชนในพื้นที่ต้องประสบพบกับความยากลำบากจากภัยธรรมชาติ โดยเฉพาะการขาดแคลนแล้งน้ำเป็นประจำ ทำให้ผู้ที่มักใหญ่ใฝ่สูง อยากมีอำนาจออกมาปลุกปั่นว่า เป็นเพราะรัฐบาลสยามส่งคนมาปกครองแล้วเก็บภาษีไปปรนเปรอคนกรุงเทพฯ ประกอบกับผู้คนที่อาศัยอยู่ห่างไกลจากตัวเมืองและความเจริญมาก ยังมีความเชื่อเรื่องภูตผีและไสยศาสตร์ จึงถูกบรรดาเหล่าผีบุญหลอกลวงได้อย่างง่าย ๆ และกบฏผีบุญไม่ได้ถูกปราบปรามโดยรัฐบาลสยามเท่านั้น เพราะมีผีบุญปรากฏในดินแดนรัฐบาลอินโดจีนของฝรั่งเศส จึงถูกปราบปรามโดยรัฐบาลอินโดจีนของฝรั่งเศสด้วย จนกระทั่งปี พ.ศ. 2479 จึงถูกรัฐบาลอินโดจีนของฝรั่งเศสกำราบปราบปรามจนหมดสิ้น

ภาพวาดเจ้าพระฝาง (พระพากุลเถระ (มหาเรือน) ) ผู้ตั้งชุมนุมเจ้าพระฝาง

ผีบุญรายสำคัญอีกรายหนึ่งที่เกิดขึ้นก่อนครั้งนี้คือ ‘เจ้าพระฝาง’ (พระพากุลเถระ (มหาเรือน) ) ผู้ตั้งชุมนุมเจ้าพระฝางภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองในปี พ.ศ. 2310 โดยมีอิทธิพลจนสามารถยึดครองหัวเมืองฝ่ายเหนือได้เป็นส่วนใหญ่ จนกระทั่งถูกปราบปรามในปี พ.ศ. 2313 โดยกองทัพของพระเจ้ากรุงธนบุรี (พระเจ้าตากสินมหาราช) เรื่องราวของผีบุญ ซึ่งอวดอ้างตัวเองว่าเป็นผู้วิเศษนั้นจึงมีมานานมาแล้ว แม้ปัจจุบันก็ยังคงมีผู้ที่มีพฤติการณ์และพฤติกรรมเช่นนี้อยู่ในรูปแบบของการต้มตุ๋นหลอกลวง นำไปสู่การดำเนินคดีมากมายหลายกรณี แต่ขบวนการไม่ได้ใหญ่โตจนกลายเป็นการก่อการกบฏต่อบ้านเมือง เพียงแต่เป็นการหลอกลวงเพื่อหาผลประโยชน์ที่เป็นทรัพย์สิน เงิน ทอง

เดวิด โคเรช’ (David Koresh) เจ้าลัทธิแบรนช์ดาวิเดียน (Branch Davidians) ผีบุญอเมริกัน

ในประเทศที่เจริญแล้วก็มีเรื่องราวของเจ้าลัทธิที่มีพฤติการณ์และพฤติกรรมไม่ต่างจากผีบุญในบ้านเราเช่นกัน ได้เคยเล่าเรื่องของ จุดจบ ‘เดวิด โคเรช’ (David Koresh) เจ้าลัทธิแบรนช์ดาวิเดียน (Branch Davidians) เมืองเวโก้ มลรัฐเท็กซัส https://thestatestimes.com/post/2022041605 ซึ่งก็ถือว่าเป็นผีบุญอเมริกันคนหนึ่งที่จบเรื่องราวลงพร้อมด้วยกว่าแปดสิบชีวิตของสาวก แต่ไม่เพียงเท่านั้น ยังมี ‘ผีบุญอเมริกัน’ ที่นำสาวกไปจบชีวิตมากที่สุดอยู่อีกคนหนึ่ง…

จิม โจนส์ (Jim Jones) หรือชื่อเต็มว่า เจมส์ วาร์เรน โจนส์ (James Warren Jones)

เขาผู้นั้น คือ จิม โจนส์ (Jim Jones) หรือชื่อเต็มว่า เจมส์ วาร์เรน โจนส์ (James Warren Jones) เกิดเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2474 (ค.ศ. 1931) ในเขตชนบทของเมือง Crete มลรัฐ Indiana สหรัฐอเมริกา เป็นบุตรชายของ James Thurman Jones กับ Lynetta Putnam

ในวัยเด็ก โจนส์ มีชื่อเล่นว่า จิมมี่ เขามีเชื้อสายไอริชและเวลส์ ครอบครัวของเขาอาศัยอยู่ในชุมชนเคร่งศาสนา เขาเติบโตเป็นผู้ที่มีความศรัทธาในคริสต์ศาสนาอย่างแรงกล้า โดยเริ่มท่องจำ Bible ตั้งแต่อายุ 8 ขวบ พออายุสิบสองก็สามารถเทศน์สอนเด็กในละแวกบ้านได้ราวกับเป็นนักเทศน์จริง ๆ

ประวัติของจิมระบุว่า ครอบครัวของเขาค่อนข้างมีปัญหา เพราะบิดาเป็นทหารพิการจากพิษของอาวุธเคมีในสงครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้มีปัญหาในเรื่องการหายใจ ทำงานได้ไม่มากนัก ซ้ำได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์เศรษฐกิจถดถอยจนต้องสูญเสียบ้าน ส่วนตัวจิมเองก็มีปัญหาในการคบเพื่อนทำให้มีเพื่อนยาก

เมื่ออายุได้ 17 ปี จิมได้เข้าเป็นนักเรียนฝึกหัดเพื่อจะเป็นนักบวชของนิกาย Methodist พออายุ 21 ปี เขาก็ได้แต่งงานกับ Marceline Baldwin ซึ่งทำงานเป็นพยาบาล แล้วต่อมาจิมก็ออกจากนิกาย Methodist มาเป็นนักเผยแผ่ศาสนาหรือนักเทศน์อิสระ

ที่ตั้งแรกสุดของนิกายโบสถ์แห่งมวลชน (Peoples Temple) เมือง Indianapolis มลรัฐ Indiana

พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) จิมก่อตั้งนิกาย (ลัทธิ) โบสถ์แห่งมวลชน (Peoples Temple) ขึ้น เพื่อเผยแพร่คำสอน โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นชาวอเมริกันผิวสีในเขตสลัม ให้ความช่วยเหลือแก่ชาวอเมริกันผิวสีในรูปของอาหาร ที่พัก และหางานให้ทำ แต่ถูกต่อต้านจากชาวอเมริกันผิวขาวที่มีทัศนคติเหยียดสีผิว แต่จิมก็ไม่ยอมแพ้ และทำการเผยแผ่ศาสนาต่อไปเรื่อย ๆ โดยขณะนั้นพลเมืองอเมริกันผิวสีในเมือง Indianapolis เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว อีกทั้งสหรัฐอเมริกาก็มีการรณรงค์เพื่อการมีส่วนร่วมในทางการเมืองของชาวอเมริกันผิวสี ขณะที่ตัวจิมเองก็มีพรสวรรค์ในการเทศน์มาก จนทำให้จำนวนผู้ศรัทธาในตัวเขาเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้โบสถ์แห่งมวลชนเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วตามไปด้วย โดยในปี พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959) จิมได้รับเด็กผิวสีและเด็กเชื้อสายเกาหลีมาเป็นบุตรบุญธรรมอย่างละคน นอกเหนือไปจากลูกสองคนของเขากับภรรยา จนมีลูกทั้งหมดเก้าคน และเรียกครอบครัวของเขาเองว่า ครอบครัวแห่งสายรุ้ง (Rainbow Family)

Martin Luther King Jr. (ซ้าย) และ Malcolm X (ขวา)

เชื่อกันว่า จิม ได้รับอิทธิพลทางความคิดมากมายหลายเรื่อง อาทิ การต่อต้านสงคราม และการรณรงค์เรียกร้องสิทธิเสรีภาพ จากสาธุคุณ Martin Luther King Jr. กับ Malcolm X และพรรคเสือดำ (Black Panther Party : BPP) ซึ่งเป็นนักเคลื่อนไหว และขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อชาวอเมริกันผิวสี เขาเชื่อถือศรัทธาในสังคมอุดมคติเป็นแบบสังคมนิยมซึ่งไม่มีการแบ่งแยกเชื้อชาติ และเริ่มทำการรณรงค์เพื่อต่อต้านการแบ่งแยกสีผิว ทั้งการเดินขบวนและออกรายการโทรทัศน์ โดยจิมเองเชื่อและมีทัศนคติว่า รัฐบาล และผู้ที่แยกตัวออกจากโบสถ์แห่งมวลชนเป็นศัตรูของเขา และเขาจึงมีผู้คุ้มกันอยู่ข้างตัวเกือบตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งมีการส่งคนไปเฝ้าดูตามบ้านของผู้แยกตัวออกจากโบสถ์แห่งมวลชนอีกด้วย

โบสถ์แห่งมวลชน Redwood Valley ใกล้กับเมือง Ukiah มลรัฐ California

ในปี พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965) จิมได้ย้ายโบสถ์แห่งมวลชนมายัง Redwood Valley ใกล้กับเมือง Ukiah มลรัฐ California และต่อมาในปี พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) จิมก็ย้ายโบสถ์แห่งมวลชนไปยังนคร San Francisco เขาเทศน์ในเรื่องความเสมอภาคในเชื้อชาติ ให้ความช่วยเหลือคนยากจน คนตกงาน คนที่มีคดีติดตัว ผู้ติดยาเสพติด โบสถ์แห่งมวลชนเติบโตอย่างรวดเร็ว มีสาวกมากมายหลายพันคน เขาได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการเมืองท้องถิ่น ด้วยการสร้างเครือข่ายเส้นสายในหมู่นักการเมือง จนทำให้โบสถ์แห่งมวลชนมีอำนาจมากเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

ต่อมาเขาได้รับเลือกให้เป็นประธานกรรมการการเคหะแห่งนคร San Francisco จิมเริ่มมีพฤติกรรมที่รุนแรงมากขึ้น เริ่มปฏิเสธพระเจ้า มีสภาพจิตใจผิดปกติ มีอารมณ์รุนแรง และต้องพึ่งยาระงับประสาท จิมชักชวนให้สาวกบริจาคสมบัติทั้งหมดแก่โบสถ์แห่งมวลชน แล้วมาใช้ชีวิตในโบสถ์ เด็ก ๆ ถูกแยกจากครอบครัว และสั่งให้สาวกเรียกเขาว่า ‘บิดาผู้ศักดิ์สิทธิ์’ และเริ่มสร้างความเชื่อถือศรัทธาในการฆ่าตัวตายหมู่ ด้วยความเชื่อว่าจะทำให้วิญญาณของทุกคนได้เป็นหนึ่งเดียว และได้รับความสุขอันเป็นนิรันดร์ ณ โลกใบอื่น

โจนส์ทาวน์ (Jones town) บนพื้นที่กว่า 300 เอเคอร์ ประเทศกายอานา ทวีปอเมริกาใต้

สาธารณรัฐหอยสังข์ (Conch Republic) ต้นแบบ ‘การประท้วง-ต่อต้าน’ ความอยุติธรรมในถิ่นลุงแซม ด้วยการใช้ ‘อารมณ์ขัน’

ผู้อ่านคงพากันสงสัยว่าในโลกนี้ มีประเทศนี้ จริงๆ หรือ? มีครับผม!!

วันนี้ในเมื่อ 40 ปีก่อน สาธารณรัฐหอยสังข์ (Conch Republic) ได้ถือกำเนิดเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2525 (ค.ศ.1982) เพื่อโต้ตอบต่อการตั้งด่านปิดกั้นถนน High Way สาย I-1 ซึ่งเป็นถนนเข้าออก Florida Keys (หมู่เกาะทางใต้ของมลรัฐ Florida) อันเป็นถนนเข้าออกเพียงสายเดียว โดยหน่วยตำรวจตระเวนชายแดนของสหรัฐอเมริกา เพื่อสกัดยาเสพติดและผู้หลบหนีเข้าเมืองในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2525 หลังจากรัฐบาลสหรัฐฯ ยืนกรานที่จะปฏิบัติการดังกล่าว ทำให้ชาว Florida Keys เกิดความรู้สึกว่า พวกตนเหมือนไม่ได้เป็นคนอเมริกันหรือเป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐฯ 

โดยผู้เดินทางจาก Florida Keys เข้าสู่แผ่นดินใหญ่ของมลรัฐ Florida ต้องหยุดรถเพื่อสำแดงสิ่งของเครื่องใช้แก่เจ้าหน้าที่ตระเวนชายแดนสหรัฐฯ ณ ด่านตรวจดังกล่าว จนทำให้รถติดยาวถึง 17 ไมล์ ซึ่งสร้างความยุ่งยากให้กับทั้งนักท่องเที่ยวและชาว Florida Keys ทั้งยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของชาว Florida Keys อย่างมากมายด้วย

Dennis Wardlow นายกเทศมนตรีแห่งเมือง Key West ผู้ประกาศแยกสาธารณรัฐหอยสังข์ออกจากสหรัฐอเมริกา

ด้วยการสนับสนุนของชาว Florida Keys ทำให้ Dennis Wardlow นายกเทศมนตรีแห่งเมือง Key West ประกาศแยก Florida Keys (หมู่เกาะทางใต้ของมลรัฐ Florida) ออกจากสหรัฐอเมริกาในวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2525 และประกาศตั้งเป็น “สาธารณรัฐหอยสังข์ (Conch Republic)” เป็นครั้งแรก โดยเขาได้อ่านคำประกาศการแยกตัว และตั้งประเทศใหม่ชื่อว่า Florida Keys the Conch Republic ด้วยคำขวัญของสาธารณรัฐหอยสังข์ที่ว่า…

“เราแยกตัวออกจากที่ซึ่งผู้อื่นล้มเหลว” (We seceded where others failed โดย Dennis Wardlow)

ทั้งนี้ นายกเทศมนตรีแห่งเมือง Key West ได้เข้ารับตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีของสาธารณรัฐแห่งนี้ด้วย พร้อมประกาศสงคราม “นาทีเดียว” กับสหรัฐฯ โดยทำการโจมตีนายทหารเรืออเมริกันนายหนึ่งด้วยการปาขนมปังคิวบาเก่า ๆ ชิ้นหนึ่งเข้าใส่แบบที่ไม่มีใครยอมใคร แต่ในนาทีต่อมาสาธารณรัฐหอยสังข์ก็ได้ยอมจำนนต่อรัฐบาลสหรัฐฯ (โดยยอมแพ้ต่อนายทหารเรืออเมริกันซึ่งถูกขว้างด้วยขนมปังคิวบาผู้นั้นเอง) แต่ขอเงินช่วยเหลือ 1 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งคำขอนั้นถูกเพิกเฉยจนทุกวันนี้ 

ว่าแต่...ทำไมจึงมีการตั้งชื่อประเทศนี้ว่าเป็น “สาธารณรัฐหอยสังข์ (Conch Republic)

นั่นก็เพราะ หอยสังข์ (Conch) เป็นหอยที่พบได้มาก และมีอยู่ทั่วไปในอ่าว Mexico โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณ Florida Keys

หอยสังข์ (Conch) เป็นหอยที่พบได้มาก และมีอยู่ทั่วไปในอ่าว Mexico โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณ Florida Keys

ขนมปังคิวบา (Cuban Bread) หนึ่งในอาวุธที่ใช้ในสงคราม “นาทีเดียว (พ.ศ. 2525)” และ “สงครามต่อต้านการซ้อมรบ (พ.ศ. 2538)” ระหว่างสาธารณรัฐหอยสังข์กับสหรัฐฯ

สาธารณรัฐหอยสังข์และสหรัฐอเมริกาอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขและสามัคคีตลอด 13 ปี จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2538 (ค.ศ.1995) วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2538 มีรายงานว่า กองพันกิจการพลเรือนที่ 478 ของกองกำลังสำรองสังกัดกองทัพบกสหรัฐฯ จะทำการซ้อมรบในการบุกเกาะต่างประเทศ โดยจะปฏิบัติการในพื้นที่ Key West และจะซ้อมให้เหมือนราวกับว่า ชาวเกาะ Key West เป็นชาวต่างชาติ โดยไม่มีการแจ้งการซ้อมรบจากกองพันกิจการพลเรือนที่ 478 ต่อเมือง Key West อย่างเป็นทางการ 

นายกเทศมนตรี Wardlow (ในฐานะนายกรัฐมนตรีของสาธารณรัฐหอยสังข์) เห็นโอกาสในการประชาสัมพันธ์สาธารณรัฐหอยสังข์อีกครั้ง พร้อมทั้งกองกำลังที่อยู่เบื้องหลังการแยกตัวสาธารณรัฐหอยสังข์ในปี พ.ศ. 2525 จึงระดมกำลังชาวเกาะเพื่อทำสงครามเต็มรูปแบบ ด้วยการส่งกองทัพเรือของสาธารณรัฐหอยสังข์ ซึ่งประกอบด้วย เรือใบ Western Union และ เรือดับเพลิงอีกจำนวนหนึ่ง ระดมกำลัง ไปฉีดน้ำ และขว้าง ลูกโป่งบรรจุน้ำ หอยสังข์ชุบแป้งทอด และขนมปังคิวบาเก่า ๆ ที่ส่งกลิ่นเหม็น ไปยังเรือรบของสหรัฐฯ ที่กำลังซ้อมรบโจมตีชายฝั่งของเกาะ Key West อยู่ 

ขณะที่ด้านหน่วยยามฝั่งสหรัฐฯ ทำการตอบโต้ด้วยการฉีดน้ำจากท่อดับเพลิง (การสู้รบยุติอย่างรวดเร็ว) การป้องกันสาธารณรัฐหอยสังข์ประสบความสำเร็จ เมื่อฝ่ายกองทัพสหรัฐฯ ยอมล่าถอย และมีการยื่นประท้วงต่อกระทรวงกลาโหมเกี่ยวกับการจัดเตรียมการฝึกครั้งนี้ โดยไม่มีการปรึกษากับเมือง Key West จนผู้บังคับบัญชาของกองพันกิจการพลเรือนที่ 478 ได้ออกมาขอโทษในวันต่อมาโดยกล่าวว่า พวกเขา “ไม่ได้ตั้งใจที่จะท้าทายหรือต่อต้านอำนาจอธิปไตยของสาธารณรัฐหอยสังข์” และมีการจัดพิธียอมจำนนในวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2538 

ตั้งแต่นั้นมา ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศก็แน่นแฟ้นมากขึ้นกว่าเดิม ด้วยสหรัฐอเมริกายอมเคารพสิทธิของประชาชนชาวสาธารณรัฐหอยสังข์ แน่นอนว่านี่เป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อการดูหมิ่นที่แสดงต่อผู้คนชาว Florida Keys อย่างไรก็ตามสาธารณรัฐหอยสังข์ได้กลายเป็นสัญลักษณ์สำหรับชาว Florida Keys และกลายเป็นตัวแทนของวัฒนธรรมที่ผ่อนคลายและเป็นมิตรของพวกเขาแม้ในยามทุกข์ยากลำบากใจ และสรุปได้ดีที่สุดในคติประจำใจของพวกเขาคือ “การบรรเทาความตึงเครียดของโลกด้วยการใช้อารมณ์ขัน”

การจำลองเหตุการณ์กองทัพเรือของสาธารณรัฐหอยสังข์ ปะทะกับหน่วยยามฝั่งสหรัฐฯ ซึ่งตอบโต้ด้วยการฉีดน้ำจากท่อดับเพลิง ในการเฉลิมฉลองวันประกาศแยกตัวของสาธารณรัฐหอยสังข์ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี

ถนน High Way สาย I-1 ซึ่งเป็นถนนเข้าออก Florida Keys (หมู่เกาะทางใต้ของมลรัฐ Florida) เพียงสายเดียว

สำหรับอาณาเขตของ “สาธารณรัฐหอยสังข์” (Conch Republic) ได้แก่ Florida Keys (หมู่เกาะทางใต้ของมลรัฐ Florida) ทั้งหมดจนจรด Skeeter's Last Chance Saloon ในเมือง Florida City เฉพาะตัวเกาะ Key West เมืองหลวงของสาธารณรัฐหอยสังข์มีความยาวประมาณ 4 ไมล์ (6 กิโลเมตร) และกว้าง 1 ไมล์ (2 กม.) โดยมีพื้นที่รวม 4.2 ตารางไมล์ (11 กม. 2) ตั้งอยู่ทางใต้สุดของถนน High Way สาย I-1 ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นถนนสายเหนือ-ใต้ที่ยาวที่สุดในสหรัฐอเมริกา เกาะ Key West อยู่ห่างจากคิวบาไปทางเหนือประมาณ 95 ไมล์ (153 กม.) ณ จุดที่ใกล้ที่สุด นอกจากนี้ยังอยู่ห่างจากนคร Miami ทางตะวันตกเฉียงใต้ ทางอากาศ 130 ไมล์ (210 กม.) ทางถนนประมาณ 165 ไมล์ (266 กม.) และ 106 ไมล์ (171 กม.) ทางตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงฮาวานา เมืองหลวงของคิวบา

ภาพถ่ายทางอากาศของเกาะ Key West

ทำเนียบขาวน้อยสำหรับฤดูหนาวของประธานาธิบดี Harry S. Truman ในเมือง Key West

บ้านของ Ernest Hemingway ในเมือง Key West

หมุดแสดงตำแหน่งใต้สุดของสหรัฐอเมริกา ณ เมือง Key West

จุดจบ ‘เดวิด โคเรช’ (David Koresh) เจ้าลัทธิแบรนช์ดาวิเดียน (Branch Davidians) แห่งเมืองเวโก้ มลรัฐเท็กซัส

เรื่องของความเชื่อ และความศรัทธา ล้วนเป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อนครับ ดังที่ทราบที่ปรากฏเห็น มีเส้นบางมากๆ กั้นกลางระหว่างเรื่องของความเชื่อถือ ความศรัทธา กับความงมงายเกิดขึ้นในสังคมมากมาย 

ดังนั้นเรื่องของความเชื่อศรัทธาจึงต้องประกอบด้วย สติ และ ปัญญา ความรู้ตัวทั่วพร้อม ไม่เช่นนั้นแล้วก็จะกลับกลายเป็นความงมงายไป และมักจะจบลงด้วยโศกนาฏกรรม เหมือนกับเรื่องที่ผมจะมาเล่าให้ฟังในวันนี้...

ในปี ค.ศ.1993 (พ.ศ. 2536) มีข่าวช็อกโลก อย่างการยิงปะทะระหว่างเจ้าหน้าที่สำนักงานควบคุมแอลกอฮอลล์ ยาสูบ และอาวุธ (ATF) ซึ่งสนธิกำลังกับเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลาง (FBI) พร้อมทั้งกองกำลังพิทักษ์ชาติ (National Guard) ของมลรัฐเท็กซัสและมลรัฐแอลลาบาม่า กับกลุ่มลัทธิ แบรนช์ดาวิเดียน เหตุเกิดที่เมืองเวโก้ มลรัฐเท็กซัส

หรือที่เรียกกันว่า ‘การปิดล้อมเวโก้’ (Waco siege) เป็นการปิดล้อมกลุ่มอาคารเมาท์คาร์เมลเซ็นเตอร์ของกลุ่มลัทธิแบรนช์ดาวิเดียน โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา นำโดยสำนักงานควบคุมแอลกอฮอล์ ยาสูบและอาวุธปืน (ATF) และสำนักงานสอบสวนกลาง (FBI) ทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก

เดวิด โคเรช เจ้าลัทธิแบรนช์ดาวิเดียน

ลัทธิแบรนช์ดาวิเดียน เป็นลัทธิที่เชื่อในการเสด็จมาอีกครั้งของพระเยซู เป็นกลุ่มที่แยกตัวออกมาจากลัทธิดาวิเดียน เซเวนต์เดย์แอดเวนทิสต์ (Davidian Seventh-day Adventists) มีผู้นำคือ เดวิด โคเรช ที่ประกาศว่าตนเองคือผู้เผยพระวจนะคนสุดท้าย พฤติการณ์หลายอย่างของกลุ่ม เช่น การรับสตรีวัยรุ่นเข้ามาเป็นภรรยาของโคเรช การทำธุรกิจค้าอาวุธ และความสงสัยว่าภายในลัทธิมีการทารุณเด็กทางเพศ

กลุ่มอาคารก่อนเหตุเพลิงไหม้

ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1993 เจ้าหน้าที่ ATF ได้เข้าตรวจสอบภายในกลุ่มอาคาร และเกิดการยิงต่อสู้กับสมาชิกของลัทธิ ทำให้เจ้าหน้าที่ ATF 4 นายและสมาชิกของลัทธิเสียชีวิต 6 คน เสียชีวิต หลังการปะทะ เจ้าหน้าที่จากสำนักงานสอบสวนกลาง (FBI) ได้เข้าควบคุมสถานการณ์ มีการตัดระบบสาธารณูปโภครอบๆ กลุ่มอาคาร พร้อมทั้งเปิดการเจรจากับโคเรช แต่ไม่เป็นผล

กลุ่มอาคารขณะเพลิงกำลังลุกไหม้

อยากได้ผู้ว่ากรุงเทพฯ แบบนี้!! รู้จัก Jaime Lerner สุดยอดนายกเทศมนตรีแห่ง Curitiba บราซิล ผู้เปลี่ยนเมืองแห่งความสิ้นหวัง เป็นแดนศิวิไลซ์ที่ใครก็อยากเลียนแบบ

การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครครั้งที่ 11 ที่จะจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 พี่น้องชาวกทม. อยากได้ผู้ว่าฯ เข้ามาบริหารจัดการกรุงเทพมหานครแบบไหนกันครับ

ถ้ายังไม่แน่ใจ ผมขอแนะนำให้ลองเลือกผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่มีคุณลักษณะแบบ Jaime Lerner ผู้เป็นสุดยอดนายกเทศมนตรีแห่ง Curitiba บราซิล

ว่าแต่ Jaime Lerner เป็นใคร? แล้วเขาสุดยอดแค่ไหน ลองมาดูผลงานและประวัติของเขากันดูครับ

Jaime Lerner (17 ธันวาคม พ.ศ. 2480 - 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2564) เป็นนักการเมืองชาวบราซิล เคยเป็นผู้ว่าการรัฐ Paraná มีชื่อเสียงในฐานะสถาปนิกและนักวางผังเมือง อีกทั้งยังเคยเป็นนายกเทศมนตรีเมือง Curitiba เมืองหลวงของรัฐ Paraná ถึง 3 สมัย (พ.ศ. 2514-2518, พ.ศ. 2522-2527 และ พ.ศ. 2533-2535)

ในปี พ.ศ. 2537 Jaime Lerner ได้รับเลือกเป็นผู้ว่าการรัฐ Paraná และได้รับเลือกอีกครั้งในปี พ.ศ. 2541 โดยอดีตนายกเทศมนตรีแห่ง Curitiba เมืองหลวงของรัฐ Paraná นั้น มีดีกรีเป็นนักวางผังเมืองและสถาปนิก ที่มีชื่อเสียงอย่างมาก จากการช่วยออกแบบทางเดินในเมือง, ถนน และการขนส่งสาธารณะส่วนใหญ่ของ Curitiba เช่น Rede Integrada de Transporte ในปี พ.ศ. 2508 เขาช่วยก่อตั้ง Instituto de Pesquisa e Planejamento Urbano de Curitiba หรือ IPPUC (สถาบันการวางผังเมืองและการวิจัยแห่ง Curitiba) และออกแบบแผนแม่บทของ Curitiba

ครั้งหนึ่งราว 50 ปีก่อน Curitiba เคยเป็นเมืองที่สิ้นหวังไม่ต่างจากเมืองอื่น ๆ ในโลกนี้ เพราะเต็มไปด้วยปัญหานานัปการ แต่ปัญหาต่าง ๆ กลับเปลี่ยนไป โดยปัจจุบัน Curitiba เป็นเมืองหนึ่งในประเทศกำลังพัฒนาที่ติดอันดับเมืองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง แถมยังเป็นเมืองสำหรับประชาชน ไม่ใช่สำหรับรถ และถูกจัดให้เป็นเมืองที่น่าอยู่ที่สุดในอเมริกาใต้ ในการจัดอันดับเมืองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้ง ๆ ในช่วงที่ผ่านมา เหล่าเมืองที่ติดอันดับหนึ่งในสิบเกือบทั้งหมด มักอยู่ในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น แคนาดา, ออสเตรเลีย, สหรัฐอเมริกา, เยอรมัน, เดนมาร์ก เป็นต้น แต่มีเมืองหนึ่งในประเทศกำลังพัฒนาติดอันดับอย่างต่อเนื่อง นั่นคือ Curitiba ของบราซิล

สวนสาธารณะของเมือง Curitiba

Curitiba เป็นเมืองหลวงของรัฐ Paraná ตั้งอยู่ตอนใต้ของประเทศบราซิล สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2236 เป็นเมืองขนาดกลาง มีพื้นที่ 432 ตารางกิโลเมตร มีขนาดเศรษฐกิจเป็นลำดับที่ 4 ของประเทศบราซิล ประชากร 1.9 ล้านคน และหากรวมพื้นที่เชื่อมต่อเขตมหานครมีประชากรถึง 3.3 ล้านคน

แกะเทศบาลแห่ง Curitiba

ในฐานะนายกเทศมนตรี Jaime Lerner ใช้วิธีในการแก้ปัญหานอกแบบเพื่อรับมือกับความท้าทายทางภูมิศาสตร์ของ Curitiba เช่นเดียวกับเมืองอื่นๆ Curitiba ล้อมรอบด้วยที่ราบน้ำท่วมถึง เมืองที่มั่งคั่งกว่าในสหรัฐอเมริกา เช่น New Orleans หรือ Sacramento ได้สร้างระบบเขื่อนในเขตที่ราบน้ำท่วมถึงที่มีราคาแพงและมีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาสูง แต่ในทางตรงกันข้าม Curitiba ได้ซื้อที่ดินในเขตที่ราบน้ำท่วมถึง และสร้างเป็นสวนสาธารณะ ปัจจุบันเมืองนี้ติดอันดับเมืองชั้นนำของโลกที่มีพื้นที่สวนสาธารณะต่อหัวสูง Curitiba เคยมีปัญหาเรื่องสถานะความเป็นเมืองของโลกที่สาม ขาดงบประมาณจนไม่สามารถซื้อรถแทรกเตอร์และน้ำมันเชื้อเพลิงเติมรถเพื่อตัดหญ้าในสวนสาธารณะที่มีอยู่ได้ แต่ได้รับการตอบสนองที่เป็นนวัตกรรมใหม่คือ "แกะเทศบาล" ที่ควบคุมดูแลพืชพันธุ์ในสวนสาธารณะ และขายขนแกะเป็นทุนสำหรับโครงการต่างๆ เพื่อเด็กและเยาวชน

เมื่อ Jaime Lerner เป็นนายกเทศมนตรี ในเขตเทศบาล Curitiba มีพื้นที่บางส่วนซึ่งไม่สามารถให้บริการในการจัดเก็บขยะของเสีย เพราะ “ถนน” นั้นแคบเกินไป แทนที่จะละเลยคนเหล่านี้หรือรื้อถอนสลัมที่มีอยู่ทิ้งไป Jaime Lerner ได้เริ่มโครงการในการแลกถุงเครื่องใช้ของชำและบัตรโดยสารสำหรับถุงใส่ขยะที่นำมาแลก สลัมจึงสะอาดขึ้นมาก ทำนองเดียวกัน Curitiba มีอ่าวในบริเวณใกล้เคียงเป็นพื้นที่ทิ้งขยะ ซึ่งทำให้มีค่าใช้จ่ายที่สูงมากในการทำความสะอาด Jaime Lerner จึงเริ่มโครงการจ่ายเงินให้ชาวประมงสำหรับขยะที่พวกเขาเก็บมาได้ (ตามน้ำหนัก) ด้วยวิธีนี้พวกเขาสามารถหาเงินได้ แม้จะอยู่นอกฤดูจับปลา และเป็นรายได้เสริม สามารถทำให้ Curitiba ประหยัดเงินในการจัดการขยะดังกล่าวได้มากมาย

Jaime Lerner ยังได้จัดตั้งโครงการด้านสังคมและการศึกษาที่เป็นนวัตกรรมใหม่ ๆ มากมาย เด็กในพื้นที่สามารถฝึกงานกับเจ้าหน้าที่ของเทศบาลได้หากไม่ต้องการไปโรงเรียน แม้ว่าวาระของเขาในฐานะนายกเทศมนตรีจะไม่ได้ปราศจากความขัดแย้ง แต่ Curitiba ก็ไม่มีกลุ่มนักเลงอันธพาลเช่นเมืองใหญ่อย่าง Rio de Janeiro

กระบวนการพัฒนา Curitiba ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สามารถแบ่งช่วงทศวรรษแห่งการพัฒนามีความก้าวหน้าตามลำดับดังนี้...

ทศวรรษแรก ยุคแห่งขยายตัวอย่างรวดเร็วและไร้ทิศทาง ในปี พ.ศ. 2511 นายกเทศมนตรี Ivo Arzua สั่งการให้เตรียมเมือง Curitiba สำหรับการขยายตัวในอนาคต มีทีมสถาปนิก นักผังเมืองจากมหาวิทยาลัย Paraná นำโดย Jaime Lerner รับผิดชอบจัดทำแผนแม่บท Curitiba มีสาระสำคัญ 4 ประการ ได้แก่ (1) ลดการขยายตัวอย่างไร้ทิศทาง (2) ลดการจราจรบริเวณใจกลางเมือง (3) อนุรักษ์พื้นที่ประวัติศาสตร์ และ (4) จัดระบบขนส่งมวลชนที่เข้าถึงง่ายและราคาถูก (BRT : Bus Rapid Transit) ใน 5 สายทางที่กระจายออกจากศูนย์กลางเมือง

ทศวรรษที่ 2 การปฏิบัติตามแผนแม่บท ในปี พ.ศ. 2514 Jaime Lerner ซึ่งเป็นนายกเทศมนตรี ได้สร้างนวัตกรรมในการพัฒนาเมืองโดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม และงบประมาณไม่มากนัก เขาตั้งหน่วยวางแผนและผังเมืองเพื่อจัดระบบและพัฒนาฟื้นฟูเมือง ผลงานสำคัญได้แก่ ศูนย์กลางธุรกิจของเมือง เป็นถนนคนเดินสายแรกของบราซิล และเริ่มพัฒนาเขตอุตสาหกรรมบริเวณนอกเมือง

ทศวรรษที่ 3 ยุคสมัยแห่งสิ่งแวดล้อม Curitiba ได้จัดทำโครงการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและโครงการทางสังคมจำนวนมากคุ้มครองพื้นที่สีเขียวจากการพัฒนา ขยายระบบขนส่งมวลชน BRT และจัดตั้งกลไกบริหารระดับภาคเพื่อกระจายอำนาจและการตัดสินใจสู่ท้องถิ่น

ทศวรรษที่ 4 การยอมรับในฐานะเมืองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ปี พ.ศ. 2533 Curitiba ได้รับรางวัลด้านสิ่งแวดล้อมจากองค์การสิ่งแวดล้อมโลก และในปี พ.ศ. 2535 Curitiba เป็นสถานที่จัด World Cities Forum มีการสร้างสวนพฤกษศาสตร์แห่งใหม่และโรงโอเปร่าบริเวณเหมืองเก่า มีอุตสาหกรรมรถยนต์เป็นอุตสาหกรรมใหม่ที่ตั้งในเขตอุตสาหกรรมของเมือง

ทศวรรษที่ 5 อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเริ่มมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจเมือง เพิ่มรถเมล์ชมเมืองในระบบ BRT เทศบาลเริ่มสร้างสวนเทคโนโลยีเพื่อดึงดูดธุรกิจสมัยใหม่ และลงทุนเกี่ยวกับเทคโนโลยีพลังงานทางเลือก ในปี 2553 Curitiba ได้รับรางวัล Globe Sustainable City Award ในฐานะเทศบาลที่มีความโดดเด่นในการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน และได้รับยกย่องจาก นิตยสารรีดเดอร์ส์ไดเจสต์ ได้เป็นเมืองที่น่าอยู่ที่สุดในบราซิล

ย่านใจกลางเมือง Curitiba

ปัจจุบัน Curitiba เป็นเมืองที่ได้รับการยอมรับทั่วโลกในฐานะต้นแบบของการพัฒนาเมืองที่ดี และมีนโยบายสิ่งแวดล้อมที่ก้าวหน้า นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 เทศบาล Curitiba ได้ริเริ่มระบบขนส่งมวลชนแบบ BRT เพิ่มสวนสาธารณะมากกว่า 24 แห่ง เพื่อสันทนาการและเป็นแก้มลิง และรองรับน้ำที่จะไหลบ่าท่วมในเมือง รวมทั้งเพิ่มพื้นที่สีเขียวต่อจำนวนประชากรจาก 0.5 ตารางเมตรต่อคน เป็น 52 ตารางเมตรต่อคน

เปิดข้อเท็จจริง!! ยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก โดยโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ

จากคำขอของพี่นวลอนงค์ สุวรรณเรือง ซึ่งบอกมาว่า “อาจารย์คะ รบกวนเล่าที่มาของสนธิสัญญา อินโด-แปซิฟิก หน่อยได้มั้ยคะ ขอบคุณค่ะ” ซึ่งเรื่องนี้ผมก็ได้เล่าถึงองค์การ SEATO ซึ่งเปรียบเสมือนองค์การ NATO แห่งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (แต่แทบจะไม่มีบทบาทอะไรเลย) จนยุบเลิกไปในที่สุด โดยเรื่องนี้ถือว่าเป็นเรื่องราวส่วนแรกของ ‘ยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก’ ครับ

ฉะนั้นสำหรับบทความรอบนี้ จึงขอเล่าเรื่องราวส่วนที่สอง อันเป็นภาคจบด้วยข้อเท็จจริงของ ‘ยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก’ ซึ่งได้ขอความอนุเคราะห์มาจาก ท่านหน่อย ‘ธานี แสงรัตน์’ อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ท่านเป็นเพื่อนของรุ่นน้องที่สนิทสนมกัน และราว 30 ปีก่อนเคยไปเยี่ยมท่านที่ขณะเป็นนักศึกษาปริญญาโท University of Pittsburgh  

ถ้าพร้อมแล้ว ก็มาเริ่มกันเลยครับ...

ในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2518 รถถังของเวียดนามเหนือสนธิกำลังกับเวียดกงชนประตูรั้วเข้าไปในทำเนียบประธานาธิบดีเวียดนามใต้

แต่ก่อนที่จะไปถึงเรื่องราวข้อเท็จจริงของยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกที่มาจากโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ต้องเล่าถึงเหตุการณ์หลังจากความพ่ายแพ้ของทุกรัฐบาลในอินโดจีนที่สหรัฐฯ สนับสนุน และเหตุการณ์ต่อจากนั้นกระทั่งถึงยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกในยุคปัจจุบันกันก่อน 

ในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2518 เมื่อรถถังของเวียดนามเหนือสนธิกำลังกับเวียดกงชนประตูรั้วเข้าไปในทำเนียบประธานาธิบดีเวียดนามใต้อันเป็นการแสดงถึงชัยชนะต่อรัฐบาลเวียดนามใต้ที่สนับสนุนโดยสหรัฐฯ และสหรัฐฯ ต้องถอนกำลังออกจากสามประเทศอินโดจีน อันได้แก่ ลาว, กัมพูชา และเวียดนามใต้ อย่างบอบช้ำ และชัยชนะดังกล่าวทำให้ทั้งสามประเทศสถาปนาตัวเองเป็นประเทศสังคมนิยมคอมมิวนิสต์โดยสมบูรณ์

แต่หลังจากชัยชนะของฝ่ายคอมมิวนิสต์ ที่เกิดขึ้นทั้งในสามประเทศไม่นาน ก็ดันเกิดความขัดแย้งด้วยอาวุธระหว่างสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามและกัมพูชาประชาธิปไตย โดยสงครามเริ่มขึ้นด้วยการปะทะตามพรมแดนทางบกและทางทะเลของเวียดนามและกัมพูชาระหว่าง พ.ศ. 2518 ถึง 2520 

ต่อมาในวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2521 เวียดนามเริ่มปฏิบัติการรุกรานกัมพูชาเต็มขั้นและยึดครองประเทศได้หลังล้มล้างรัฐบาลเขมรแดง โดยวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2521 ทหารเวียดนาม 150,000 นาย บุกเข้ายึดครองกัมพูชาประชาธิปไตย และสามารถชนะกองทัพปฏิวัติกัมพูชาได้ในเวลาเพียงสองสัปดาห์

วันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2522 มีการจัดตั้งสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาที่นิยมเวียดนามในกรุงพนมเปญ อันเป็นจุดเริ่มต้นของการยึดครองกัมพูชาของเวียดนามยาวนานนานสิบปี แต่ระหว่างการยึดครองนั้นรัฐบาลกัมพูชาประชาธิปไตยของเขมรแดงยังคงได้รับการรับรองโดยสหประชาชาติว่าเป็นรัฐบาลโดยชอบธรรมของกัมพูชา พร้อมทั้งมีการจัดตั้งกลุ่มต่อต้านติดอาวุธหลายกลุ่มขึ้นเพื่อสู้รบกับการยึดครองของเวียดนาม 

นายกรัฐมนตรีฮุน เซน แห่งรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา ซึ่งนิยมเวียดนาม ได้พยายามเจรจากับรัฐบาลผสมกัมพูชาประชาธิปไตย เพื่อเริ่มการเจรจาสันติภาพ ภายใต้แรงกดดันทางการทูตและเศรษฐกิจอย่างหนักจากประชาคมนานาชาติ รัฐบาลเวียดนามจึงเริ่มนำการปฏิรูปนโยบายเศรษฐกิจและต่างประเทศหลายอย่างมาใช้ และนำไปสู่การถอนตัวออกจากกัมพูชาในเดือนกันยายน พ.ศ. 2532 

ในระหว่างการยึดครองกัมพูชาของเวียดนาม มีเหตุการณ์สำคัญต่างๆ เกิดขึ้นหลายครั้ง อาทิ 17 กุมภาพันธ์ - 16 มีนาคม พ.ศ. 2522 จีนได้การโจมตีเวียดนามตามแนวชายแดนจีน-เวียดนาม และจีนสามารถยึดครองเมืองเกาบังได้ในวันที่ 2 มีนาคม และเมืองลาวเซินในวันที่ 4 มีนาคม จากนั้นมุ่งหน้าต่อไปยังกรุงฮานอย แม้การส่งกำลังบำรุงไม่ดีพอ แต่อีกไม่กี่วันต่อมากองกำลังของจีน ก็สามารถเข้าสู่เวียดนามตอนเหนือและยึดเมืองต่างๆ ของเวียดนามได้หลายเมืองใกล้ชายแดน กระทั่ง วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2522 ประเทศจีนประกาศว่า ประตูสู่กรุงฮานอยได้ถูกเปิดออกแล้ว และสรุปว่า ภารกิจลงโทษลุล่วงแล้ว ก่อนถอนทหารทั้งหมดออกจากประเทศเวียดนาม โดยทั้งประเทศจีนและเวียดนามต่างอ้างชัยชนะในสงครามครั้งนี้

ในส่วนของประเทศไทยเอง ก็ได้รับผลกระทบจากการยึดครองกัมพูชาของเวียดนาม โดยเกิดเหตุปะทะชายแดนไทย-เวียดนาม ด้วยกองกำลังทหารกัมพูชาส่วนใหญ่ที่ได้อพยพมาอยู่ทางด้านตะวันตกและตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ ซึ่งติดกับชายแดนไทย โดยมีกลุ่มกัมพูชาติดอาวุธที่ต่อต้านการยึดครองของเวียดนามอยู่ 3 กลุ่ม คือ...

(1) กลุ่มกัมพูชาประชาธิปไตย (Democratic Kampuchea) หรือกลุ่มเขมรแดงของ พล พต และเขียว สัมพันธ์ มีสมาชิกประมาณ 40,000 นาย มีฐานที่ตั้งอยู่บริเวณพนมกระวันและบริเวณตะวันตกของจังหวัดพระตะบอง

(2) กลุ่มแนวร่วมปลดปล่อยชาติเขมร (Khmer People’s National Liberation Front - KPNLF) ภายใต้การนำของซอนซาน มีสมาชิกประมาณ 4,000 นาย 

และ (3) กลุ่มพรรคฟุนซินเปก (Front d"union national pour un Cambodge independant, pacifiaue et cooperatif - FUNCINPEC) ภายใต้การนำของสมเด็จนโรดม สีหนุ กลุ่มต่อต้านทั้งสามกลุ่มนี้มีฐานกองกำลังใกล้กับชายแดนไทยเพื่อง่ายต่อการหลบหนีเมื่อถูกกำลังเวียดนามบุกเข้าโจมตี กำลังกัมพูชาก็หลบหลีกเข้าสู่ดินแดนไทย ในการนี้เวียดนามเห็นว่าไทยยินยอมให้ชาวกัมพูชาฝ่ายต่อต้านใช้พื้นที่เป็นที่หลบหนีและคุ้มกันการโจมตีของกำลังเวียดนามและกำลังของเฮง สัมริน

หลายครั้งที่การโจมตีของกำลังเวียดนามต่อกลุ่มกัมพูชาติดอาวุธที่ต่อต้านการยึดครองของเวียดนามทั้ง 3 กลุ่ม มักมีการรุกล้ำอธิปไตยของไทย ซึ่งขณะนั้นถือได้ว่ากองทัพไทยหากเปรียบเทียบกับกองทัพเวียดนามแล้ว ต้องบอกว่าว่าเทียบกันไม่ติด เนื่องจากกองกำลังทางทหารของฝ่ายไทยไม่เคยผ่านการรบมาก่อนหรือถ้าผ่านก็เป็นการรบแบบสมัยใหม่ ซึ่งมีแนวทางในปฏิบัติการรบแบบสหรัฐอเมริกา แตกต่างกับเวียดนาม

พิจารณาได้จากกองกำลังของเวียดนามซึ่งมีทักษะในการรบที่ดีกว่า และรู้วิธีการรบแบบกองโจร แถมทหารของเวียดนาม ก็ยังมีประสบการณ์รบจากสงครามเวียดนาม 

โดยขณะที่เวียดนามบุกกัมพูชานั้น กองกำลังทางทหารของเวียดนามมีจำนวน 875,000 นาย โดยที่ยังไม่รวมกำลังทหารของฝ่ายเฮง สัมริน ที่ไม่ทราบจำนวนที่แน่นอน ภายใต้ยุทธวิธีการรบแบบกองโจร และการรบแบบสมัยใหม่ 

ส่วนฝ่ายไทยนั้นมีประสบการณ์เพียงเรื่องการปราบปรามกองโจร และมีกำลังทหารหน่วยที่ผ่านสงครามในลาวและเวียดนาม แต่ก็ชำนาญการรบตามหลักนิยมของกองทัพสหรัฐฯ ซึ่งต้องอาศัยอำนาจการยิงที่เหนือกว่า จึงจะทำการรบได้ 

นอกจากนี้เวียดนามยังมีอาวุธของสหรัฐฯ ที่เหลือทิ้งไว้จากยุคสงครามเวียดนามอยู่มาก รวมทั้งในระหว่างปี พ.ศ. 2521 - 2531 นี้ เวียดนามก็ได้รับความช่วยเหลือทางทหารจากสหภาพโซเวียตเป็นจำนวนมหาศาล เพื่อพัฒนากองทัพให้ทันสมัย และเพื่อการปราบปรามฝ่ายต่อต้านในกัมพูชา จึงกล่าวได้ว่า ไทยมีขีดความสามารถที่ด้อยกว่าเวียดนามอยู่มาก 

ทั้งนี้ ข้อตกลงสันติภาพปารีส การเจรจาสันติภาพยังคงดำเนินต่อไป โดยการประชุมสันติภาพปารีสเกี่ยวกับกัมพูชาครั้งแรกจัดขึ้นใน พ.ศ. 2532 หลังจากการถอนทหารเวียดนาม ต่อมาในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533 ได้จัดการประชุมจาการ์ตาครั้งที่สาม และจัดตั้งสภาสูงสุดแห่งชาติกัมพูชา เพื่อรับรองอำนาจอธิปไตยของกัมพูชา ในเวลาเดียวกัน ฮุน เซนได้เปลี่ยนชื่อพรรคปฏิวัติประชาชนกัมพูชามาเป็นพรรคประชาชนกัมพูชา

Laptop from Hell 'แฉ​ -​ เรื่องจริง หรือ​ ทฤษฎีสมคบคิด​'​ ด้านมืด​ 'วงศ์วาน'​ ของผู้นำแห่ง​ USA

Hunter และ ประธานาธิบดี Joe Biden ผู้เป็นบิดา

เรื่องราวเล่าลือของ Laptop from Hell นั้น มีการอ้างว่า เกิดจากการ Hunter Biden บุตรชายคนที่สองของประธานาธิบดี Joe Biden ที่ไม่ได้ไปรับคืน Laptop (MacBook Pro) ซึ่งได้ส่งไปซ่อมที่ร้านซ่อม Mac แห่งหนึ่งในมลรัฐ Delaware ในฤดูใบไม้ผลิของปี พ.ศ. 2562 เป็นเวลาเพียงหกวันก่อนที่ Joe Biden บิดาของเขาจะประกาศสมัครเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดยตามกฎหมายแล้ว Laptop เครื่องนี้จะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของร้านซ่อม Mac ดังกล่าวในทันทีที่ปรากฏว่า ลูกค้าไม่จ่ายเงิน แต่เรื่องเล็ก ๆ นี้กลับกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นเมื่อ John Paul Mac Isaac เจ้าของร้านเปิดเครื่องดูข้อมูลภายในพบการโต้ตอบอีเมลจำนวนมากกว่า 26,000 ฉบับ รวมถึงภาพและคลิปโป๊ มันจึงกลายเป็นระเบิดเวลาในเงามืดระหว่างการรณรงค์หาเสียงของ Jo Biden

หนึ่งในภาพฉาวของ Hunter Biden ซึ่งอ้างว่า มาจาก Laptop เครื่องดังกล่าว

มีการกล่าวอ้างว่า มีการพบความลับสุดสกปรกปรากฏอยู่ใน Laptop ของ Hunter ซึ่งเกือบทำให้การรณรงค์หาเสียงในตำแหน่งประธานาธิบดีของบิดาของเขาพังพินาศ และกลายเป็นประเด็นที่ทำให้เกิดการปกปิดข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องนี้ในสื่อที่ยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา และกลายเป็นเรื่องราวที่ยังเปิดเผยเรื่องราวที่อยู่ภายใน Laptop และทำให้จีนรู้เรื่องราวต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Biden โดยนักข่าว New York Post ซึ่งเป็นผู้ที่เปิดเผยเรื่องนี้ แต่การเปิดโปงถูกดำเนินการเซ็นเซอร์ซึ่งประสานกันโดย Big Tech ในการจัดตั้งสื่อและอดีตเจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรองเพื่อระงับยับยั้งการรายงานข่าวของ New York Post ในการใช้อำนาจทางการเมืองสามสัปดาห์ก่อนการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2563 ข้อมูลต่าง ๆ นั้นประกอบด้วยเอกสารขององค์กร อีเมล ข้อความ รูปถ่าย และคลิปบันทึกเสียง ซึ่งเก็บไว้ร่วมทศวรรษใน Laptop เครื่องดังกล่าวปรากฏเป็นหลักฐานชั้นต้นว่า ประธานาธิบดี Joe Biden มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจการของบุตรชายใน จีน ยูเครน และที่อื่น ๆ แม้ว่าเขาจะปฏิเสธเรื่องนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่าก็ตาม

นอกจากนั้นยังมีการระบุว่า มีคลิปโป๊ที่ไม่ธรรมดาเป็นคลิปแสดงการร่วมเพศกับหญิงสาวที่ดูเหมือนว่าอายุไม่ถึง 20 ปี แล้วมีการคุย Sex Phone กับบุตรสาวของวุฒิสมาชิกคนหนึ่งโดยทั้งคู่อยู่ในสภาพเปลือย มีการกล่าวอ้างว่า เจ้าของร้านได้ส่งหลักฐานทั้งหมดให้หน่วยงานรัฐบาลคือ FBI และตำรวจของมลรัฐเดลาแวร์ ซึ่งเป็นท้องที่เกิดเหตุ และเป็นถิ่นที่อยู่ของตระกูล Biden แต่เมื่อส่งหลักฐานต่าง ๆ ไปแล้วในปี พ.ศ. 2562 แต่กลับไม่มีการตรวจสอบใดๆ เกิดขึ้น ทั้งยังมีการโยงไปถึงอดีตประธานาธิบดี Trump ซึ่งถูกมองว่าเป็นคู่อริกับ FBI ดังนั้นทุกคนจึงมองว่า FBI กำลังช่วยเหลือ Biden และลูกชายในการปกปิดความจริงอะไรบางอย่างอยู่

โดยที่เจ้าของร้านซ่อม Mac รายดังกล่าวเกรงว่า ตนเองและครอบครัวจะไม่ปลอดภัย เพราะส่งเรื่องนี้ไปให้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อทำการสอบสวน จึงก๊อบปี้ไฟล์ทั้งหมดส่งให้กับ หนังสือพิมพ์ New York Post จึงเกิดการแฉครั้งใหญ่ขึ้น เพราะนอกจากจะเรื่องของภาพอนาจารเด็ก (Child pornography) แล้ว แต่ที่เสียหายมากที่สุดคือ การที่บุคคลในครอบครัวเข้ามาแทรกแซงการทำงานในการบริหารประเทศซึ่งถือว่า เป็นความผิดอย่างรุนแรง จนนักการเมืองที่เกี่ยวข้องไม่สามารถดำรงตำแหน่งต่อได้ ด้วยมีการอ้างว่า ปรากฏข้อความในอีเมล์ว่า เมื่อตอน Biden เยือนจีน ใครที่ต้องการจะเข้าพบ Biden ต้องจ่ายเงินให้ Hunter ก่อน โดย Hunter ตั้งบริษัทในจีนชื่อว่า Chino Hawk และทั้งคู่ก็ได้เงินมหาศาลจากการติดต่อทำการค้ากับจีน โดยมีอดีตหุ้นส่วนออกมาแฉว่า Biden และ Hunter บุตรชายได้ใช้บริษัทนี้ในการฟอกเงิน

เชื่อกันว่ามีการเซ็นเซอร์ข่าวฉาวดังกล่าวโดยกลุ่ม Big Tech ด้วยการจัดตั้งทีมงานรับมือกับสื่อโดยมีอดีตสมาชิกของหน่วยข่าวกรองเพื่อยับยั้งการรายงานข่าวของ New York Post 2-3 สัปดาห์ก่อนการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2563

ทั้งยังมีการอ้างถึงการค้นพบว่า Hunter ใช้อำนาจในฐานะบุตรชายของรองประธานาธิบดี เข้าไปมีส่วนในธุรกิจในประเทศยูเครนมากมายมหาศาล อันเป็นที่มาของการที่อดีตประธานาธิบดี Trump ใช้ในการฟาดฟัน Biden ในเรื่องการคอร์รัปชันทั้งในการดำเนินนโยบายกับจีนและยูเครนมาโดยตลอด ตั้งแต่ตอนที่ Biden ประกาศลงแข่งขันชิงตำแหน่งประธานาธิบดี โดยอ้างว่า Biden ผู้ลูกเป็นกรรมการและที่ปรึกษาของบริษัทก๊าซในยูเครน แถมยังมีข่าวว่าในอีเมลที่หลุด ๆ นั้นได้เอ่ยถึงการแบ่งผลประโยชน์ให้ Big Boss ซึ่งก็น่าจะเป็น Biden ผู้พ่อ ในหนังสือฯ มีกล่าวถึงว่า Biden ผู้ลูกน่าจะได้รับผลตอบแทนจากคอร์รัปชันในยูเครน รวมถึงจากนักธุรกิจจีนมากกว่า 3.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

Miranda Devine คอลัมนิสต์ New York Post ผู้เขียนหนังสือเรื่อง Laptop from Hell

Miranda Devine คอลัมนิสต์ New York Post และ Fox News ผู้ซึ่งติดตามเรื่องราวอื้อฉาวของ Hunter และเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง Laptop from Hell เธอยังทำงานให้กับสื่อออสเตรเลียในฐานะคอลัมนิสต์ของ Daily Telegraph และ Sky News เกิดใน เขตควีนส์ มลรัฐนิวยอร์ก เติบโตในกรุงโตเกียวและนครซิดนีย์ และเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยนอร์ธเวสเทิร์นในนครชิคาโก เป็นนักคณิตศาสตร์ปฏิรูปและคุณแม่ลูกสอง ปัจจุบันเธออาศัยอยู่ในนครนิวยอร์กกับสามี

ทฤษฎีสมคบคิด Biden-ยูเครน เป็นเรื่องราวอื้อฉาวที่ยังไม่มีการยืนยัน ซึ่งมีประเด็นอยู่ที่ข้อกล่าวหาเท็จว่า ในขณะที่ Joe Biden ยังเป็นรองประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา เขามีส่วนร่วมในการทุจริตที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบุตรชาย Hunter Biden โดย Burisma บริษัทก๊าซของยูเครน ข่าวลือถูกแพร่กระจายในความพยายามที่จะทำลายชื่อเสียงของ Joe Biden ในระหว่างการรณรงค์หาเสียงในการเลือกตั้งประธานาธิบดีปี พ.ศ. 2563 จากการวิเคราะห์ของชุมชนข่าวกรองของสหรัฐอเมริกาที่เผยแพร่เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 ระบุว่า มีการรับงานจากหน่วยข่าวกรองของรัสเซียเพื่อสนับสนุนการเผยแพร่เรื่องราวที่ทำให้เข้าใจผิดหรือไม่มีมูลเกี่ยวกับ Biden "ต่อองค์กรสื่อของสหรัฐฯ เจ้าหน้าที่ของสหรัฐฯ และบุคคลที่มีชื่อเสียงของสหรัฐฯ รวมทั้งบุคคลบางส่วนที่ใกล้ชิดกับอดีตประธานาธิบดี Trump และคณะบริหารของเขา โดย The New York Times รายงานเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2564 ว่า การสอบสวนทางอาญาของรัฐบาลกลางกำลังตรวจสอบบทบาทที่เป็นไปได้โดยเจ้าหน้าที่ยูเครนทั้งปัจจุบันและอดีต รวมทั้งระบุว่า Rudy Giuliani อดีตทนายความส่วนตัวของอดีตประธานาธิบดี Trump ว่า อาจมีส่วนทำให้ผลการสอบสวนของรัฐบาลกลางแตกต่างกันไป เพื่อทำให้เกิดกระจายเรื่องของการกล่าวหาที่ไม่มีมูล (ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาสองครั้งหลัง มักมีข่าวว่า รัสเซียเข้ามาแทรกแซงการเลือกตั้ง)

Viktor Shokin อัยการยูเครนผู้ถูกกล่าวหามากมายหลายประเด็นจนรัฐสภายูเครนต้องปลดจากตำแหน่ง ด้วยแรงกดดันจาก รัฐบาลสหรัฐฯ สหภาพยุโรป ธนาคารโลก และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)

และนักทฤษฎีสมคบคิดยังอ้างด้วยว่า รองประธานาธิบดี Biden ในขณะนั้นระงับการค้ำประกันเงินกู้เพื่อกดดันให้ยูเครนปลดอัยการเพื่อป้องกันการสอบสวนการทุจริตใน Burisma และเพื่อปกป้องบุตรชายของเขาด้วย ซึ่งสหรัฐอเมริกาได้ระงับความช่วยเหลือของรัฐบาลเพื่อกดดันให้ยูเครนถอดถอนอัยการ ตามนโยบายอย่างเป็นทางการ โดยรัฐบาลสหรัฐฯ พร้อมกับ สหภาพยุโรป ธนาคารโลก และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เชื่อว่าอัยการรายดังกล่าวทุจริตและไร้ประสิทธิภาพ ทั้งยังมีท่าทีโอนอ่อนผ่อนปรนจนเกินไปในขณะทำการสืบสวนสอบสวน Burisma และผู้มีอำนาจ ตลอดจนเจ้าของบริษัท มีคลิปวิดีโอเมื่อมกราคม พ.ศ. 2561 แสดงให้เห็นว่า Biden ได้รับเครดิตในการระงับการค้ำประกันเงินกู้เพื่อให้ยูเครนปลดอัยการรายดังกล่าว โดยทำหน้าที่นำนโยบายพรรคสองฝ่ายของสหรัฐอเมริกามาใช้แทนเหตุผลตามที่ทฤษฎีสมคบคิดกล่าวอ้าง

Rudy Giuliani อดีตทนายความส่วนตัว (ซ้าย) และ Steve Bannon อดีตหัวหน้าทีมยุทธศาสตร์ (ขวา) ของอดีตประธานาธิบดี Trump)

ตัวตนที่เลือนลาง!! หวนรำลึก SEATO องค์การ ‘เสือกระดาษ’ แห่งภูมิภาคอาเซียน

ตอนนี้หลายท่านอาจจะคุ้นหูกับคำว่า NATO ‘องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ’ (North Atlantic Treaty Organization) องค์กรความร่วมมือทางการเมืองและการทหารของประเทศค่ายเสรีประชาธิปไตย 

เชื่อว่าหลายท่านอาจจะไม่คุ้นกับองค์การ SEATO หรือ Southeast Asia Treaty Organization องค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (สปอ.) ซึ่งมีสถานะเป็นองค์การความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างประเทศของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ที่เคยถูกวิจารณ์ว่าเป็น ‘เสือกระดาษ’ ใช่ไหมครับ?

วันนี้เลยจะขอเล่าเรื่องราวขององค์การ SEATO ที่เปรียบเสมือนองค์การ NATO แห่งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (แต่แทบจะไม่มีบทบาทอะไรเลย) ด้วยมีคำขอจากพี่สาวท่านหนึ่งใน เพจ FB ‘ดร.โญ มีเรื่องเล่า’ ซึ่งบอกมาว่า “อาจารย์คะ รบกวนเล่าที่มาของสนธิสัญญา อินโด-แปซิฟิก หน่อยได้มั้ยคะ ขอบคุณค่ะ”

จัดให้เลยครับ!! แต่ต้องขอเล่าเท้าความย้อนไปยุคหลังสงครามโลกที่สอง (ยุคสงครามเย็น) ซึ่งโลกถูกแบ่งออกเป็นสองขั้วชัดเจนคือ ขั้วสังคมนิยมคอมมิวนิสต์และขั้วประชาธิปไตย (และเผด็จการ) โดยองค์การ SEATO ถือเรื่องราวเป็นส่วนแรกของยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก ตามรายละเอียดดังนี้...

องค์การ SEATO ซึ่งตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2497 มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงสงครามเย็น เป็นส่วนหนึ่งของลัทธิทรูแมน (Truman Doctrine) ในการสร้างแนวร่วมเพื่อต่อต้านคอมมิวนิสต์ในระดับทวิภาคีและส่วนร่วมในสนธิสัญญาป้องกันระดับภูมิภาค

สนธิสัญญาและข้อตกลงเหล่านี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างพันธมิตรที่จะควบคุมอำนาจคอมมิวนิสต์ (ในกรณีของ SEATO คือคอมมิวนิสต์จีนหรือสาธารณรัฐประชาชนจีน) ซึ่งขยายแนวคิดในการป้องกันของกลุ่มประเทศที่ต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยรองประธานาธิบดี Richard Nixon ในขณะนั้นสนับสนุนให้มีองค์การสนธิสัญญาป้องกันร่วมแห่งเอเชียตามแบบองค์การ NATO หลังจากกลับมาจากการเดินทางเยือนเอเชียปลายปี พ.ศ. 2496 จึงได้ใช้องค์การ NATO เป็นแบบอย่างในการจัดตั้งองค์การใหม่ โดยมีกองกำลังทหารของชาติสมาชิกซึ่งตั้งใจที่จะประสานการปฏิบัติร่วมกันในอันที่จะทำการป้องกันประเทศสมาชิกโดยรวม

การประชุมองค์การ SEATO ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์

องค์การ SEATO เป็นองค์การที่ก่อตั้งขึ้นตามสนธิสัญญามะนิลาในช่วงสงครามเย็น โดยมีการลงนามเมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2497 ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 ประกอบด้วยสมาชิก 8 ประเทศ คือ สหรัฐอเมริกา, สหราชอาณาจักร, ฝรั่งเศส, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, ปากีสถาน, ไทย (ปี พ.ศ. 2497 จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีของไทยในขณะนั้นได้ตัดสินใจลงนามในสนธิสัญญามะนิลา เพื่อเข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์การ SEATO) และฟิลิปปินส์

ประชาชนคนไทยเข้าแถว-ถือป้ายต้อนรับผู้เข้าร่วมการประชุมคณะมนตรี SEATO ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม

ในภาคอารัมภบทของสัญญานี้ บรรดาประเทศสมาชิกต่างแสดงความปรารถนาที่จะประสานความพยายามของตนที่จะป้องกันร่วมกัน เพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคง โดยเฉพาะข้อ 4 ของสนธิสัญญาเป็นข้อสำคัญที่สุด คือ แต่ละประเทศภาคีคู่สัญญาตกลงเห็นพ้องกันว่า หากดินแดนของประเทศใดถูกรุกรานจากการโจมตีด้วยกำลังอาวุธ ประเทศภาคีทั้งหมดที่เหลือจะถือว่าเป็นอันตรายร่วมกัน และจะปฏิบัติการเพื่อเผชิญหน้ากับอันตรายร่วมกัน หรือถ้าหากพื้นที่ภายในเขตครอบคลุมของสนธิสัญญาถูกคุกคามด้วยประการใดๆ ประเทศภาคีทั้งหมดจะปรึกษากันในทันที เพื่อตกลงในมาตรการเพื่อการป้องกันร่วมกัน 

กองพันทหารพลร่ม กองทัพบกไทย ขณะร่วมพิธีสวนสนามในการฝึกร่วมขององค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (องค์การ SEATO) ภายใต้รหัสการฝึก ‘Firm Link’ กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2499 ณ จังหวัดพระนคร ประเทศไทย โดยผู้บังคับกองพันในขณะนั้นคือ พันโท เทียนชัย ศิริสัมพันธ์ (ยศสุดท้ายพลเอก)

อย่างไรก็ตาม ที่สุดแล้วองค์การ SEATO ก็ประสบความล้มเหลวในการเข้าแทรกแซงความขัดแย้งในประเทศลาว และเวียดนาม เนื่องจากการตัดสินใจนั้นต้องการมติเอกฉันท์ แต่ฝรั่งเศสและฟิลิปปินส์กลับไม่เห็นด้วย

การประชุมคณะมนตรี SEATO ทั้งแปดประเทศ ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม

ในการประชุมคณะมนตรี SEATO ครั้งที่ 1 (23-25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498) ที่ประชุมตัดสินเลือกประเทศไทยเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ เพราะเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค ตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร มีนายพจน์ สารสิน จากประเทศไทย ดำรงตำแหน่งเลขาธิการทั่วไป ซึ่งเป็นตำแหน่งผู้นำอย่างเป็นทางการขององค์การ ตั้งแต่ พ.ศ. 2500 ถึง พ.ศ. 2507 (ปัจจุบันนี้บริเวณที่เคยเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ขององค์การ ที่ถนนศรีอยุธยา ได้กลายเป็นที่ตั้งของกระทรวงการต่างประเทศของประเทศไทย) 

สาธารณรัฐประชาชนจีนเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติแทนสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ในปี พ.ศ. 2514

อย่างไรก็ตาม เมื่อสหรัฐอเมริกาเปลี่ยนนโยบายต่างประเทศแบบสุดขั้ว ด้วยการรับรองสาธารณรัฐประชาชนจีนเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติแทนสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) การดำเนินงานแบบเดิมขององค์การ SEATO จึงไม่ได้ผล และถูกลดบทบาทและระดับความสำคัญลงเรื่อยๆ จนถูกวิจารณ์ว่าเป็น ‘เสือกระดาษ’ กอปรกับภาคีหลายประเทศถอนตัว ในที่สุดรัฐบาลไทยและรัฐบาลฟิลิปปินส์ก็ได้ตกลงในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2518 ให้ยุบเลิกองค์การ SEATO


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top