Sunday, 5 May 2024
GoodsVoice

S&P การันตี...ไทยเข้มแข็ง!! หลังศก.ไทยแรงบวกหนุนเพียบ

S&P Global Ratings สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระดับโลก ได้คงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Sovereign Credit Rating) ที่ BBB+ และคงมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Outlook) อยู่ในระดับมีเสถียรภาพ (Stable Outlook)
.
โดยนางแพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ เปิดเผยว่า บริษัท S&P Global Ratings (S&P) ได้คงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Sovereign Credit Rating) ที่ BBB+ และคงมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Outlook) อยู่ในระดับมีเสถียรภาพ (Stable Outlook) โดยมีรายละเอียดดังนี้
.
1. คงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย Sovereign Credit Rating) ที่ BBB+ และมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Outlook) อยู่ในระดับมีเสถียรภาพ (Stable Outlook) เนื่องจากประเทศไทยมีความเข้มแข็งภาคการคลังและภาคการเงินต่างประเทศอยู่ในระดับสูง นอกจากนี้ หนี้รัฐบาลอยู่ในระดับที่ไม่น่ากังวล และสถานการณ์ทางการเมืองปัจจุบันไม่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศและประสิทธิภาพการดำเนินนโยบายของรัฐบาล อีกทั้งคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวในช่วง 1-2 ปีข้างหน้า
.
2. ภาคการคลังสาธารณะ (Public Finance) มีความแข็งแกร่งเป็นผลจากการบริหารจัดการทางการคลังอย่างรอบคอบและเป็นไปตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.2561 เพื่อรักษาวินัยทางการคลัง แม้ว่าการดำเนินนโยบายการคลังผ่านมาตรการต่างๆ ของภาครัฐเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จะทำให้การขาดดุลงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563-2564 และหนี้ของรัฐบาลเพิ่มขึ้น แต่ยังคงไม่ส่งผลกระทบต่อสถานภาพทางการคลัง
.
3. S&P เชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวและเติบโตในระยะปานกลางได้ โดยคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2564 จะค่อยๆ ฟื้นตัวขึ้นร้อยละ 6.2 เป็นผลจากภาคการท่องเที่ยวที่ปรับตัวดีขึ้นเนื่องจากสามารถควบคุมการระบาดของ COVID-19 ได้ อีกทั้งรัฐบาลยังสนับสนุนการลงทุนอย่างต่อเนื่องให้เป็นไปตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ เช่น โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor) และโครงการโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง และยังส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการลงทุน (Public Private Partnership) เพื่อลดความเสี่ยงทางการคลังของรัฐบาลให้เป็นไปตามกรอบวินัยการเงินการคลังของภาครัฐ
.
4. ภาคการเงินต่างประเทศ (External Finance) ยังคงมีความแข็งแกร่ง โดยดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลอย่างต่อเนื่อง อีกทั้ง สภาพคล่องและทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูง โดย S&P คาดว่าสภาพคล่องต่างประเทศ (External liquidity) ของประเทศไทยยังอยู่ในระดับคงที่และไม่น่ากังวล นอกจากนี้ การดำเนินนโยบายทางการเงินและการรักษาเสถียรภาพด้านราคา เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยสนับสนุนอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศ
.
ประเด็นที่ S&P ให้ความสนใจและจะติดตามอย่างใกล้ชิด คือ การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างต่อเนื่องและเสถียรภาพทางการเมือง ซึ่งอาจมีผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในระยะปานกลาง

นับถอยหลัง ‘พิฆาตโควิด-19’ วัคซีนไทยพร้อมชน...กลางปี 64

น่าจะเป็นกระแสแรงที่สยบทุกข่าวร้อนได้เลยสำหรับความคืบหน้าอีกก้าวของวัคซีนโควิด-19 ในบ้านเรา

.

เพราะเป็นที่แน่ชัดแล้วว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม จะเป็นประธานพิธีลงนามในสัญญาการจัดหาวัคซีนโควิด-19 โดยการจองล่วงหน้าและสัญญาจัดซื้อวัคซีน กับ ‘บริษัทแอสตร้าเซเนก้า’ บริษัทผู้ผลิตชีวภัณฑ์ชั้นนำสัญชาติอังกฤษ-สวีเดน

.

โดยคณะรัฐมนตรีต่างมีมติเห็นชอบโครงการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แก่ประชาชนไทยโดยการจองล่วงหน้าและการจัดซื้อวัคซีน ในวงเงิน 6,049,723,117 บาท โดยให้สถาบันวัคซีนแห่งชาติ จัดทำสัญญาการจัดหาวัคซีนโดยการจองล่วงหน้า ภายใต้เงื่อนไขว่ามีโอกาสที่จะได้รับวัคซีนหรือไม่ได้รับวัคซีนดังกล่าว ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับผลการวิจัยพัฒนาหรือเหตุอื่น ๆวงเงิน 2,379,430,600 บาท

.

สำหรับการลงนามในสัญญาการจัดหาวัคซีนโดยการจองล่วงหน้าและสัญญาการจัดซื้อวัคซีนดังกล่าว ‘จะทำใหัคนไทยมีโอกาสเข้าถึงวัคซีนมากกว่าประเทศอื่น’

.

และคาดว่าจะได้รับวัคซีน ‘กลางปี 2564’ โดยความร่วมมือดังกล่าว ยังหมายรวมถึงการผลิตวัคซีนในประเทศไทย ที่จะใช้โรงงานของบริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด เป็นแหล่งการผลิต ซึ่งไทยจะได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี ซึ่งถือเป็นโอกาสในการสร้างขีดความสามารถของประเทศ ลดความสูญเสีย สร้างโอกาสทางด้านเศรษฐกิจได้อีกมหาศาล

.

ด้าน ไตรศุลี ตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า ทางกระทรวงสาธารณสุขได้แจ้งข่าวดีเกี่ยวกับการวิจัยวัคซีนที่ผลิตโดยบริษัทแอสตร้าเซเนก้า โดยผลการวิจัยวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 มีประสิทธิผลเกินข้อกำหนดขององค์การอนามัยโลก (WHO) ที่กำหนดมาตรฐานการรับรองวัคซีนป้องกันโควิด 19 ต้องมีประสิทธิผลไม่ต่ำกว่า 50% ซึ่งการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 แบบ

.

- แบบแรก พบว่าประสิทธิผลในการป้องกันโรคโควิด 19 สูงถึง 90%

- ส่วนแบบที่สอง พบว่ามีประสิทธิผลในการป้องกันโรคโควิด 19 ที่ 62%

.

ส่งผลให้ค่าเฉลี่ยประสิทธิผลโดยรวมของทั้ง 2 แบบ อยู่ที่ 70.4% แสดงให้เห็นว่าตัววัคซีนนั้นมีความปลอดภัยสูง

'นิค วูจิซิค' แรงบันดาลใจจากชายไร้แขน - ขา ผู้นำพา 'กำลังใจ' มาสู่คนทั่วโลก

เวลารู้สึกเหนื่อย ๆ ท้อ ๆ ไม่อยากทำอะไร รู้สึกชีวิตมันไม่เป็นดั่งหวัง แล้วชอบตั้งคำถามกับตัวเองบ่อย ๆ ว่า...ทำไมเราไม่เป็นแบบเขาคนนั้น ทำไมเราไม่รวยแบบเขาคนนี้?

และเชื่อเถอะว่าในยุคที่เรากำลังเจอกับสถานการณ์แย่ ๆ ทั้งโรคระบาด เศรษฐกิจ การเมือง และ Climate Change หลากรูปแบบ มันก็ยิ่งทำให้อดไม่ได้ที่ปล่อยให้ความรู้สึกแบบนี้หลั่งใหลเข้ามาในความคิดแบบทับถม

ใช่เลย 'ความสิ้นหวัง' กำลังเข้ามาเยือนชีวิตเราใกล้มากขึ้น ๆ

แต่ขอโทษที!! ถ้ามองมุมกลับ ทำไมเราไม่เคยคิดลุกขึ้นมาหรือสู้กับความคิดเหล่านี้และผ่านมันไปให้ได้บ้างล่ะ มีเรื่องของชายคนหนึ่งที่อยากจะนำมาแชร์ เขาเป็นคนที่น่าจะสิ้นหวังกับชีวิตยิ่งกว่าเรา ๆ ท่าน ๆ หรือใครในโลก

ชายนั้นชื่อว่า 'นิค วูจิซิค' (Nick Vujicic) นิค เป็นชายที่ไม่มีแขนขามาตั้งแต่เกิด!! เขาเป็นชาวออสเตรเลีย เกิดเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ.2525 (อายุ 38 ปี) โดยพ่อและแม่เป็นชาวเซอร์เบียที่อพยพเข้ามายังออสเตรเลีย

แม่ของนิคมีอาชีพเป็นพยาบาลและเธอก็ดูแลตัวเองมาตลอดช่วงที่ตั้งท้อง แถมตอนตรวจอัลตร้าซาวด์ประมาณ 3 ครั้ง ก็ไม่พบความผิดปกติใด ๆ ในตัวนิคเลยแม้แต่น้อย

จนกระทั่งวันที่นิคเกิด เขาลืมตามองดูโลก มาพร้อมกับร่างกายที่ไม่มีแขนทั้ง 2 ข้าง ขณะเดียวกันเขามีขาสั้นๆ ลีบเล็กเพียงหนึ่งข้างกับนิ้วเท้า 2 นิ้วเท่านั้น อาการนี้เรียกว่า Tetra-amelia disorder เกิดจากความผิดปกติของร่างกายที่ทำให้ผู้ป่วยไม่มีแขนและขา

แล้วรู้ไหมว่า คนที่มีอาการแบบนี้บนโลก มีเพียง 7 คน พูดง่าย ๆ คือ โอกาสที่จะเกิดอาการดัวกล่าวมีเพียง 0.000000092% เท่านั้น แต่นิคก็คือหนึ่งในนั้น

ที่น่าเศร้าในช่วงแรก ๆ หน่อย คือ ตอนที่พยาบาลอุ้มนิคออกมาจากห้องคลอด เพื่อมาให้ผู้เป็นแม่ได้พบนั้น เธอรับไม่ได้และก็ปฏิเสธที่จะอุ้มเขา พ่อและแม่ของนิคเรียกว่าเสียใจอย่างมาก และต่างก็คิดว่านิคคงอยู่ได้ไม่นาน แต่พอหมอได้ตรวจสุขภาพนิค ก็พบว่าเขามีร่างกายที่แข็งแรงดี พวกเขาจึงทำใจยอมรับ และตั้งใจให้นิคได้ใช้ชีวิตปกติเหมือนคนทั่วไป

ทว่าต่อให้สุขภาพนิคจะดีแค่ไหน แต่ด้วยร่างกายที่ผิดปกติ ทำให้ชีวิตในวัยเด็กของนิคลำบากอย่างมาก ไหนจะเกือบอดเข้าเรียน เพราะกฎหมายในออสเตรเลียขณะนั้น ไม่ให้คนพิการเข้าเรียนกับคนปกติ (แต่กฎหมายแก้ตอนหลังให้เรียนด้วยกันได้)

ไหนจะถูกเพื่อนล้อเลียนเป็นประจำ ซึ่งเรื่องนี้แหละที่คนปกติบางทียังทนไม่ไหว แต่นี่เกิดกับเด็กที่พิการอย่างหนัก มันก็อาจจะทำให้หัวใจเปราะบางเอาง่าย ๆ

ครั้งหนึ่งนิคเคยเจอการณ์ที่สร้างความสะเทือนใจให้เขาอย่างมาก เพราะเขาโดนเพื่อนถึง 12 คนรุมแกล้ง และมองเขาเป็นตัวตลก เขาเสียใจและกลับมานั่งคิดว่า การที่เขามีสภาพอยู่แบบนี้ต่อไป มันช่างไร้ความสุข ซ้ำยังเป็นภาระของพ่อและแม่อีก เขาเลยคิดอยากฆ่าตัวตายหลายครั้ง

***แต่โชคดีที่ 'ความรัก' และ 'กำลังใจ' จากพ่อแม่ ได้ทำให้เขาผ่านเรื่องร้าย ๆ พวกนั้นมาได้***

นิคเริ่มเปลี่ยนความคิดใหม่ เขามองว่าแม้ภายนอกจะแตกต่าง แต่ 'ภายใน' (ความคิดและจิตใจ) ของเขานั้นก็เหมือนกับคนทั่วไปทุกอย่าง

หลังจากเรียนจบ (ปริญญา 2 ใบทางด้านบัญชี และด้านการวางแผนการเงินในวัย 21 ปี) เขาจึงตั้งใจอยากจะนำเรื่องราวในชีวิตของเขามาเป็นแรงบันดาลใจให้แก่คนอื่น ๆ ผ่านอาชีพ 'นักพูด' 

เขาตัดสินใจติดต่อไปยังโรงเรียนต่าง ๆ เพื่อไปพูดให้กำลังใจและสร้างแรงบันดาลใจแก่เด็ก ๆ แต่ช่วงแรกนิคก็โดนปฏิเสธจากทุกโรงเรียน แต่จนมาวันหนึ่งเขาก็ได้รับการตอบรับ…

แม้ครั้งแรกที่เขาไปพูดจะมีคนฟังเพียง 10 คน แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้เขาท้อ เขายังคงเดินหน้าทำสิ่งที่เขารักมาตลอด จนเขาเป็นที่รู้จักมากขึ้น และสุดท้ายคนจำนวนมากก็ยอมรับในตัวเขา ถึงขนาดยกย่องว่า นิค เป็นหนึ่งในนักพูดที่สร้างแรงบันดาลใจที่ดีที่สุดคนหนึ่งในโลกกันเลยทีเดียว

นิคเริ่มโด่งดังและมีชื่อเสียงถึงขนาดในปี ค.ศ.2009 ได้มีโอกาสไปเล่นหนังเรื่อง 'The Butterfly Circus' ซึ่งหนังเรื่องดังกล่าวได้รับรางวัลหลายรางวัล และในปี ค.ศ.2011 ยังได้ถูกเชิญไปพูดเกี่ยวกับการสร้างแรงบันดาลใจที่ 'World Economic Forum' ซึ่งเป็นการประชุมเศรษฐกิจประจำปี ที่มีผู้นำจากหลายประเทศเข้าร่วมอีกด้วย

แต่ที่น่ายินดีเหนือกว่านั้น คือ เขาเติมเต็มชีวิตได้ด้วยชีวิตคู่…ใช่แล้ว!! ปัจจุบัน นิค แต่งงานและมีลูกกับภรรยาด้วยกัน 4 คน

ตลอดเวลาที่ผ่านมา นิค ได้พยายามแสดงให้หลายคนเห็นว่า ความพิการมันไม่ได้ทำให้ชีวิตคนย่ำแย่ แต่ความท้อแท้ต่างหากที่จะนำปัญหาต่าง ๆ เข้ามาในชีวิต

...ยังมีคนอีกมาก ที่แย่กว่าเรา 

...ยังมีคนอีกมาก ที่อาจจะไม่เคยได้รับโอกาสใด ๆ เลย

และยังมีคนอีกมากที่ยอม 'ล้มลง' ไปดื้อ ๆ เพียงแค่ไม่ได้บางสิ่งบางอย่างตามใจหวัง

เรื่องราวของนิคน่าจะทำให้หลายคนที่กำลังนำความทุกข์เข้ามาในชีวิต เพราะความ 'อยากได้อยากมี' และการ 'ไขว่คว้า' บางสิ่งบางอย่างที่มากเกินความเป็นจริงของชีวิต อาจจะไม่ใช่คำตอบ 

กลับกันขอแค่ได้ลองสัมผัสกับความสุขที่ 'พอเพียง' ในแบบที่คุณและคนข้าง ๆ ยิ้มและหัวเราะไปด้วยกันได้โดยไม่ต้องแสวงหาสิ่งที่เกินตัว

.

แค่นี้ก็น่าจะเพียงพอแล้วมั้ง…

 

ธนาคารแห่งประเทศไทยออกธนบัตรที่ระลึกพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในหลวง ร.10

นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท. ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดพิมพ์ธนบัตรที่ระลึกเนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562

เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และยังเป็นการบันทึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์สำคัญตลอดจนพระราชพิธีที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของความเป็นชาติไทย


ทั้งนี้จะนำออกใช้ในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ.2563 ซึ่งเป็นวันครบ 1 ปี ของการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562


สำหรับธนบัตรที่ระลึกชุดนี้มี 2 ชนิดราคา คือ 1,000 บาท จัดพิมพ์จำนวน 10 ล้านฉบับ และ 100 บาท จัดพิมพ์จำนวน 20 ล้านฉบับ โดยธนบัตรที่ระลึกชนิดราคา 1,000 บาท มีรูปทรงแนวตั้ง โดยใช้หมึกพิมพ์แม่เหล็กสามมิติเปลี่ยนสีได้เป็นลักษณะต่อต้านการปลอมแปลง ซึ่งเป็นเทคโนโลยีอันทันสมัยที่ใช้อยู่ในธนบัตรแบบปัจจุบัน


สำหรับชนิดราคา 100 บาท มีลักษณะโดยรวมและลักษณะต่อต้านการปลอมแปลงเช่นเดียวกับธนบัตรชนิดราคา 100 บาท แบบ 17 ที่ใช้หมุนเวียนในปัจจุบัน โดยปรับโทนสีธนบัตรให้เป็นสีเหลือง สำหรับภาพด้านหลังธนบัตรทั้ง 2 ชนิดราคา เป็นภาพจากพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562


ธนบัตรที่ระลึกทั้ง 2 ชนิดราคา สามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ประชาชนสามารถแลกตามมูลค่าที่ตราไว้หน้าธนบัตรได้ที่ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และสำหรับชนิดราคา 100 บาท สามารถกดจากตู้กดเงินสดอัตโนมัติที่มีป้ายสัญลักษณ์ได้อีก 1 ช่องทางด้วย

'Startup Connect' โครงการที่จะทำให้ ‘สตาร์ทอัพไทย’ สายลึกมีที่ยืน

'90% ของ Startup มักจะล้มเหลว'

คำกล่าวนี้คลาสสิคเสมอ สำหรับคนที่มีฝัน อยากสร้างธุรกิจที่เรียกว่า Startup แน่นอนว่าในโลกนี้มี Startup เกิดขึ้นมากมาย หลายรายสามารถกวาดเงินระดมทุนได้ในระดับหนึ่งเพื่อมาต่อยอดธุรกิจ แต่ก็มี Startup จำนวนมากที่ไปไม่รอดในระยะยาว ซึ่งมักจะมาจากปัจจัยที่หลากหลาย

ไม่ว่าจะเป็นโมเดลธุรกิจที่ตอบสนองต่อความต้องการของตลาด ความสามารถในการเลือกโมเดลธุรกิจที่มาตรงเวลา และการบริหารจัดการองค์กรที่มีสะดุดพลาด

แต่ทราบไหมว่าหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่มักจะทำให้ฝันสวยใสของ Startup หายไป คืออะไร?

'แหล่งเงินทุน' นั่นแหละ!!

ต้องยอมรับว่าธุรกิจ Startup ในปัจจุบัน โดยเฉพาะ Startup ที่พร้อมจะเข้ามาช่วยยกระดับอุตสาหกรรมแห่งโลกใหม่ในยุค 4.0 จำเป็นต้องมีสายป่านในการนำไปในพัฒนาโมเดลธุรกิจ คอขวดของปัญหานี้ เป็นสิ่งที่รัฐบาลเชื่อว่าต้อง 'เชื่อม' ให้ผู้ประกอบการ Startup เดินหน้าได้สะดวก

ปัจจุบัน 'กระทรวงอุตสาหกรรม' เป็นหนึ่งในเจ้าภาพสำคัญที่เข้ามาช่วยทำให้ Startup เก่ง ๆ ได้เจอกับทุนเจ๋ง ๆ เพื่อช่วยเร่งระบบนิเวศน์ของ Startup ไทยให้เกิด 'นวัตกรรมรุ่นใหม่' ไอเดียใหม่ นวัตกรรมใหม่ ๆ

เพราะเชื่อว่าการส่งเสริมคนรุ่นใหม่ ที่มีไอเดีย ความคิดสร้างสรรค์ มาเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ สร้างธุรกิจ ออกมาสู่ประเทศมากที่สุด สามารถผลักดันให้เศรษฐกิจไทย มี 'อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ' หรือ 'GDP' เติบโตก้าวกระโดด

ขณะเดียวกัน กระทรวงอุตสาหกรรม ก็ต้องการช่วยกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรมที่หลากหลาย และหนึ่งในเป้าหมาย คือ นวัตกรรมแบบ 'Deep Technology' หรือนวัตกรรมเชิงลึก ที่สามารถยกระดับอุตสาหกรรมไทยให้เดินหน้าไปสู่ยุค 4.0 ได้แบบเต็มขั้น

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 – 2563 รวมระยะเวลา 5 ปีนั้น ทางกระทรวงอุตสาหกรรม ได้มอบหมายให้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เร่งดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาระบบนิเวศน์ของ Startup อย่างจริงจังและต่อเนื่อง

โดยไฮไลท์อยู่ที่การสร้าง 'กระบวนการบ่มเพาะและพัฒนาผู้ประกอบการ' (Incubation) ภายใต้ 'โครงการแหล่งเงินทุนสำหรับผู้ประกอบการและธุรกิจใหม่' หรือ 'Angel Fund'

แต่ปีนี้ (ค.ศ.2020) เป็นอีกปีที่พิเศษอย่างมาก เนื่องจากกระทรวงอุตสาหกรรม ได้เพิ่มมิติของการพัฒนา Startup ให้ครอบคลุมยิ่งกว่าเก่า โดยนำร่องจัดทำ 'โครงการ Startup Connect' เพื่อต่อยอดผู้ประกอบการด้าน Deep Technology ที่อยู่ในระยะเติบโต ให้เชื่อมไปสู่แหล่งเงินทุนสนับสนุนจากนักลงทุน พร้อมทั้งใช้เครือข่ายของนักลงทุนในการขยายช่องทางการตลาดให้เพิ่มมากขึ้น

'Deep Tech (Deep Technology)' หรือ 'เทคโนโลยีขั้นสูง' คือ ผลลัพธ์ที่ได้จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ที่ไม่เหมือนใคร ลอกเลียนแบบได้ยาก และเป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่มีสิทธิบัตรคุ้มครองเพราะผ่านการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมอย่างยาวนาน

ตัวอย่าง Deep Tech ที่โด่งดังไปทั่วโลก คือ 'AlphaGo' ซึ่งเป็นปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่เรียนรู้ด้วยการเก็บข้อมูลจากการเล่นเกมโกะ (กระดานหมากล้อม) กับมนุษย์แล้วประมวลผลข้อมูลจนเข้าใจกติกา และพัฒนาแนวการเล่นขึ้นเรื่อย ๆ จนเอาชนะแชมป์โกะระดับโลกได้สำเร็จ

ความซับซ้อนของ AlphaGo นี้เองที่เป็นจุดแข็งที่คู่แข่งลอกเลียนแบบได้ยาก ผลลัพธ์อันน่าทึ่งนี้เกิดขึ้นด้วยแรงกระตุ้นจากประเด็นใหญ่ระดับมหภาคที่อาจส่งผลต่อเศรษฐกิจโลก เช่น ปัญหาโลกร้อน การขาดแคลนพลังงาน และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร เป็นต้น

แน่นอนว่า 'โครงการ Startup Connect' นี้สร้างแรงกระเพื่อมให้กับ Startup โดยเฉพาะกลุ่มที่เรียกว่า 'DeepTech' ได้ก้าวออกออกมาแสดงตัวกันมากขึ้น

โดยมีผู้ประกอบการมาสมัครตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2563 จำนวน 35 ทีม แต่โครงการจำเป็นต้องดำเนินการคัดกรองทีมที่น่าสนใจที่สุดมาเข้าร่วมการนำเสนอโมเดลธุรกิจต่อแหล่งทุน จำนวน 6 ทีม

กิจกรรมเชื่อมโยงแหล่งเงินทุนและการตลาดสำหรับวิสาหกิจเริ่มต้น หรือ 'โครงการ Startup Connect' รอบนี้ เป็นโอกาสที่น่าสนใจที่เชื่อว่าจะไม่ใช่แค่ครั้งเดียว แต่จะเกิดขึ้นอีกในครั้งต่อ ๆ ไป

นี่คืออีกที่ยืนใหม่ของ Startup ไทย โดยมีรัฐมาช่วย 'เข็น' มากกว่า 'ขัด'


Start Up ของจริง

ไม่ได้มีแต่ในซี่รี่ส์เกาหลี

>> รับชม Start Up Connect Live ถ่ายทอดสด Pitching เพื่อลงทุนจริง!!!

สดจาก ห้องประชุม ชั้น 22 เกษรทาวเวอร์

วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2563 ตั้งแต่เวลา 13.00 – 16.00 น.

Facebook Live >> https://www.facebook.com/thestatestimes

Website >> https://thestatestimes.com

8 ไอเดียกระแทกใจ ที่ปล่อยออกมาเมื่อไร 'นักลงทุน' ก็ต้องมอง

ยอมรับว่าไอเดียดี ๆ แผนธุรกิจเจ๋ง ๆ คือ แต้มต่อของธุรกิจ Startup ในการจะเข้ามาขอทุนมาดำเนินธุรกิจต่อ แต่ก็ต้องยอมรับอีกว่า หาก Startup นั้น ๆ ขาดการนำเสนอที่ดี โอกาสหลุดลอยจากเป้าหมาย ก็มีสูงเช่นกัน

แล้วแบบไหน ถึงจะเรียกว่า 'นำเสนอได้ดี' ?

เวลาที่จะพูดถึงการนำเสนองานต่อนักลงทุน เหล่า Startup อาจจะคิดภาพการทำแผนธุรกิจที่มาพร้อมเอกสารหนา ๆ เข้าไปนำเสนอ หรือหนีบไลด์ที่สรุปเนื้อหาเข้าไปพูดคุยแบบแน่น ๆ

ถึงกระนั้นต่อให้ข้อมูลทุกอย่างพร้อม โซลูชั่น ผลิตภัณฑ์ของบริษัทจะหรูหรา แต่ถ้าการนำเสนอและการเรียบเรียงลำดับมีความเข้าใจยาก ก็อาจทำให้นักลงทุนไม่เข้าใจในแผนธุรกิจและผลิตภัณฑ์ของคุณก็เป็นได้

ฉะนั้นเมื่อ Startup ได้รับโอกาสเข้าไปนำเสนอแผนธุรกิจ ควรเตรียมตัวสร้างเสน่ห์ให้มากพอที่จะยั่วยวนจนนักลงทุนอยากจ่ายและยกนิ้วว่าคุณคือ 'The Best' ให้ได้ก่อนแล้วทำอย่างไร?

.

ลองมาดู '8 ไอเดียพิชิตใจนักลงทุน' กันดู

1.) เริ่มเรื่องคุณต้องเล่าให้เห็นภาพปัญหาของตลาดที่พบเจอในปัจจุบัน จนทำให้ต้องมานำสู่การเสนอโซลูชั่นนี้ นี่แหละตัวเรียกแขกให้คนอยากมาลงทุนกับคุณได้ในระดับหนึ่ง เพราะสิ่งที่เรียกว่า 'ปัญหา' มักจะทำให้เกิดนวัตกรรมที่ตอบโจทย์พฤติกรรมใหม่ของคนยุคนี้ได้ดีมาก ยิ่งปัญหานั้นเป็นปัญหาใหญ่ วงกว้าง แล้วถูกจัดการแก้ปัญหาได้ด้วยธุรกิจของคุณ โอกาสก็เรียกว่าเกินครึ่งที่เงินทุนจะไหลมาเลยทีเดียว

.

2.) โอกาสและขนาดของตลาด กลุ่มที่มีโอกาสเป็นลูกค้าของ Startup ของคุณมีอยู่มากน้อยแค่ไหน ซึ่งตรงนี้ต้องวิเคราะห์ข้อมูลให้ดี โดยปกติทั่วไปแล้ว เรามักจะอ้างอิงตัวเลขกว้าง ๆ ไว้ก่อน แต่ในความเป็นจริง เราควรจะต้องวิเคราะห์ตัวเลขหรือที่มาที่ไปของข้อมูลที่นำเสนอให้ได้โดยละเอียด เช่น ขนาดของตลาดที่ธุรกิจคุณจะเข้าไปจับ อาจไม่ได้ใหญ่อย่างที่คิดแต่คุณก็ชัดเจนว่าไม่ได้คิดจะทำโซลูชั่นเพื่อตอบโจทย์กลุ่มตลาด Mass ทั้งหมด แต่เน้นการนำเสนอโซลูชั่นที่ตอบโจทย์เฉพาะกลุ่ม (Niche Market) และแก้ปัญหาให้พวกเขาได้จริง ๆ ตรงนี้ก็มีโอกาสแจ้งเกิดได้เช่นกัน

.

3.) เปิดอกพูดกันตรง ๆ บอกไปเลยว่าการมาขอระดมทุนครั้งนี้ ต้องการนำเงินทุนดังกล่าวไปใช้พัฒนาหรือขยับขยายส่วนใดบ้าง และแผนกลยุทธ์และการเติบโตที่มีความเป็นไปได้จะเป็นอย่างไร เช่น ในช่วง 2 - 3 ปีข้างหน้า แผนการครองตลาดหลักในไทย จะมีกลยุทธ์แบบไหน จะเข้าถึง หรือทำให้กลุ่มเป้าหมายเข้าใจได้อย่างไร แล้วแผนในการขยายไปต่างประเทศมีไว้รองรับหรือไม่ ตรงนี้จะเรียกว่าขายฝัน ก็ไม่ผิด แต่ต้องเป็นฝันที่แตะต้องได้พอสมควรอย่างเป็นขั้นเป็นตอนกันเลยแหละ

.

4.) การคิดค่าใช้จ่ายเป็นอย่างไร มีแผนการหารายได้อย่างไร บางธุรกิจอาจจะสร้างขึ้นมาด้วย 'ใจ' ล้วน ๆ ไอเดียดี คอนเซ็ปต์เริ่ด แต่ต้องยอมรับว่าอย่างหนึ่งว่า นักลงทุนไม่ใช่ 'เจ้าพ่อการกุศล' เขาหวังที่จะเห็นเม็ดเงิน 'อนาคต' เพื่อกลับมาเป็นกำไรที่งอกเงยจากการลงทุนของเขาเหมือนกัน ถ้าเราทำแล้วมีแผนที่จะต่อยอดรายได้ให้เห็น ถึงแม้ช่วงแรกจะฟรี เช่นเดียวกันกับที่ Facebook และ Google ที่กลายเป็นบริษัทโฆษณาระดับโลก โอกาสก็แค่เอื้อม

.

5.) วิเคราะห์ว่าปัจจุบันมีคู่แข่งรายใดอยู่บ้าง อะไรที่เป็นจุดเด่นของคุณและสามารถสร้างความแตกต่างและแข่งขันได้ในระยะยาว ซึ่งเป็นอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญมาก เพราะถ้าผู้เล่นรายใหญ่มีทุนที่หนากว่า ทำโซลูชั่นคล้าย ๆ กัน Startup จะสู้กับผู้เล่นรายใหญ่นี้ได้อย่างไรบ้าง

.

6.) ถ้าคุณดำเนินธุรกิจมาสักระยะแล้ว ควรต้องแสดงให้เห็นถึงการตอบรับของตลาด หรือที่วงการ Startup เรียกกันว่า Traction เช่น มีจำนวนผู้ใช้กี่ราย มีลูกค้าทั้งหมดกี่ราย ถ้าทำธุรกิจประเภท Business-to-Business (B2B) การได้ลูกค้าองค์กรชั้นนำมาเป็นตราประทับยิ่งสร้างความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจของคุณมากขึ้น ข้อมูลส่วนนี้เป็นข้อมูลที่ใช้พิสูจน์ได้ว่าสิ่งที่คุณกำลังทำอยู่นั้นตอบโจทย์ตลาดได้จริงหรือไม่

.

7.) ทีมงานมีใครบ้าง ซึ่งบางคนอาจคิดว่าไม่สำคัญ แต่ในมุมของนักลงทุนกลุ่ม Startup โดยเฉพาะช่วง Early Stage (ช่วงเริ่มต้นนั้น) เขาดูถึงความสัมพันธ์ของผู้ร่วมก่อตั้ง ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ก่อนหน้านี้ทำอะไรมาก่อน ยกตัวอย่างง่าย ๆ ถ้าคุณกำลังเริ่มทำ Startup ที่ต้องการแก้ปัญหาในภาคธุรกิจก่อสร้าง/อสังหาริมทรัพย์ แน่นอนว่าถ้าคุณเคยมีประสบการณ์โดยตรงในภาคธุรกิจนี้มาก่อน จะทำให้นักลงทุนเชื่อถือในตัวคุณมากขึ้น ว่าคุณเข้าใจตลาด และปัญหาที่เกิดขึ้นในภาคธุรกิจนี้จริง แต่ถ้าคุณเป็นคนหน้าใหม่ของวงการเลย และยิ่งเป็นภาคธุรกิจที่ต้องใช้ความรู้เฉพาะทางมาก่อน ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะสร้างความเชื่อใจจากนักลงทุนได้

.

8.) ผลงานหรือข้อมูลอ้างอิงอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับตัวคุณหรือทีมงานของคุณ เช่น ผลงาน หรือคอนเนคชั่นกับคนมีชื่อเสียง คนที่มีเครดิตที่ทำให้คุณดูน่าเชื่อว่า ถ้านำข้อมูลส่วนนี้มาผสมได้ด้วยจะดีมาก ๆ

.

อย่างไรก็ตาม เทคนิคที่กล่าวมา อาจจะได้ใช้ทุกข้อ หรือบางข้อ ก็เป็นเรื่องที่ Startup จะนำไปพลิกแพลงตามเหตุการณ์ที่เหมาะสม แต่ถ้าอยากทราบวิธีนำเสนอนักลงทุน และ Pitching แบบของจริง จากเวทีจริง และ Startup ผู้มาคว้าโอกาสตัวจริง สามารถรับชม Live สด งาน 'Startup Connect' ในวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2563 นี้ได้


Start Up ของจริง ไม่ได้มีแต่ในซี่รี่ส์เกาหลี

>> รับชม Start Up Connect Live ถ่ายทอดสด Pitching เพื่อลงทุนจริง!!!

สดจาก ห้องประชุม ชั้น 22 เกษรทาวเวอร์

วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2563 ตั้งแต่เวลา 13.00 – 16.00 น.

Facebook Live >> https://www.facebook.com/thestatestimes

Website >> https://thestatestimes.com

Final Stage!! ร่วมชมและลุ้นไปกับ 6 Startup สายพันธุ์ใหม่ คว้าทุนก้อนใหญ่...เติมไฟธุรกิจ @โครงการ 'Startup Connect'

Start-Up (2020) ซีรีส์เกาหลียอดฮิต ที่เล่าเรื่องราวชีวิตของคนวัยหนุ่มสาวที่ก้าวเดินจากจุดเริ่มต้น (Start) จนเติบโต (Up) ในธุรกิจ Startup ด้วยความใฝ่ฝันที่อยากจะประสบความสำเร็จเป็นที่ยอมรับในฐานะอัจฉริยะ และมีชื่อปรากฏใน 'Silicon Valley' ของเกาหลีใต้ เขาและเธอที่ต่างเป็นตัวละครชวนติดของเรื่องนี้ ได้สร้างแรงผลักดันให้แก่กันและกัน

แต่ก็ไม่ใช่แค่นั้น เพราะพวกเขาและเธอ ต่างก็สร้างแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นใหม่อีกมากมายทั่วโลกและเมืองไทย ให้อยากก้าวเข้ามาสู่เวทีแห่ง Startup แบบไม่รู้ตัว

จริง ๆ ตอนที่ซีรีส์ชุดนี้ออกมา ก็ไม่ได้คาดหวังอะไร และมองว่าคงไม่ต่างจากซีรีส์เกาหลีทั่วไป รัก ๆ ใคร่ ๆ กุ๊กกิ๊ก ๆ และแค่หาพล็อตเรื่องแปลก ๆ มานำเสนอ แต่เปล่าเลย ซีรี่ส์เรื่องนี้ สะท้อนแง่มุมที่ 'ไม่ง่าย' ของ Startup ออกมาให้เห็นได้เด่นชัด โดยเฉพาะอุปสรรคของธุรกิจ และที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องของเงินทุน

เพราะเงินทุนมากมาย จะไม่มีทางออกมาสู่ธุรกิจ Startup ได้เลย ถ้าแนวคิดทางธุรกิจ ไอเดีย ผู้นำ และแผนในอนาคตไม่เฉียบและเด็ดขาด ในระหว่างที่ซีรีส์เรื่องนี้กำลังดำเนินอย่างเข้มข้น ในบ้านเราก็มีงานใหญ่ของ Startup ไทยสาย Deep Technology (เทคโนโลยีเชิงลึก) ที่เกิดขึ้นจาก 'กระทรวงอุตสาหกรรม' ภายใต้โครงการกิจกรรมเชื่อมโยงแหล่งเงินทุนและการตลาดสำหรับวิสาหกิจเริ่มต้น หรือ 'Startup Connect'

ในวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2563 นี้ เป็นรอบ 'วัดพลัง' แบบสด ๆ ของ 6 กลุ่มธุรกิจสาย Deep Tech ที่ผ่านการคัดเลือกให้เข้ามา Pitching เงินทุนก้อนโต ซึ่งจะนำเสนอและอภิปรายผลงาน/สิ่งประดิษฐ์ด้าน Deep technology ประกอบไปด้วย

.

- บริษัท ทีโออี สมาร์ท โซลูชั่น จำกัด

- ทีมสลัดเก่ง

- บริษัท ไอคิวเมด อินโนเวชั่น จำกัด

- บริษัท อินเทค แวลิ่ว จำกัด

- บริษัท ยู บี เซฟ จำกัด

- บริษัท โชเซ่น เอ็นเนอร์จี้ จำกัด

.

โครงการ 'Startup Connect' ที่จะเกิดขึ้นในครั้งนี้ ทางกระทรวงอุตสาหกรรมได้บริษัท อีซีจี - รีเซิร์ช จำกัด ที่สนใจในการร่วมลงทุนกับ Startup มาเป็นผู้ใหญ่ใจดีให้ทุนสนับสนุนหลายร้อยล้านบาท เพื่อสานฝันแก่ Startup ทั้ง 6 ที่สามารถเอาชนะใจบรรดา Angel Fund ได้

โดยเป้าหมายของการสนับสนุนครั้งนี้ มาจากการมองถึงการต่อยอดโมเดล Startup ของแต่ละรายที่จะเป็นผลดีในเชิงเศรษฐกิจไทย ทั้งการลดการนำเข้าเทคโนโลยีที่จากต่างประเทศ และสามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ในภาคอุตสาหกรรมต่อไป

เรื่องราววุ่น ๆ ของ หนุ่มสาวนักธุรกิจรุ่นใหม่ แห่ง Start - Up (2020) จะลงเอยอย่างไรไม่รู้ แต่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2563 นี้ คงได้รู้แน่ว่าใครจะคว้าทุนหลักร้อยล้านไปต่อยอดธุรกิจ Startup ของตน

สำหรับใครที่สนใจรับชมไอเดียของ Deep Tech ทั้ง 6 ราย สามารถติดตามชมและเป็นกำลังใจให้ได้ผ่าน Live ของ The States Times ในวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2563 นี้ ตั้งแต่เวลา 13.00 – 16.00 น.


Start Up ของจริง ไม่ได้มีแต่ในซี่รี่ส์เกาหลี

>> รับชม Start Up Connect Live ถ่ายทอดสด Pitching เพื่อลงทุนจริง!!!

สดจาก ห้องประชุม ชั้น 22 เกษรทาวเวอร์

วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2563 ตั้งแต่เวลา 13.00 – 16.00 น.

Facebook Live >> https://www.facebook.com/thestatestimes

Website >> https://thestatestimes.com

เขาว่า 'คนไทย' มีเงินใช้แบบ 'เดือนชนเดือน'

ใครว่า ก็ไม่รู้แหละ!!

แต่จากผลสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง 'สถานการณ์ทางการเงินของคนไทย ในปี 2563' โดยกรุงเทพโพลล์ ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ พบว่า...

กว่าครึ่งหนึ่งของไทยตอนนี้ ไม่มีเงินออม ต้องใช้จ่ายแบบเดือนชนเดือน เหตุเพราะสินค้ามีราคาแพงขึ้น บวกภาระหนี้สินสะสม


ที่มา: กรุงเทพโพลล์ โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ผลตรวจของคุณเป็น 'บวก' เช็คสุขภาพอสังหาฯ ไทยโค้งสุดท้าย 2020

ถ้าจะบอกว่าปีนี้ตลาดอสังหาริมทรัพย์เหนื่อยแค่ไหน ก็คงต้องบอกว่าเหนื่อยมาก ยิ่งไปในช่วงคาบเกี่ยวของไตรมาส 2 และ 3 ที่เจอกับพิษโควิด-19 แบบจุก ๆ เข้าไป ทำให้หลาย ๆ บริษัทต้องงัดกลยุทธ์เพื่อประคองตัวแบบเต็มเหนี่ยว ทั้งโปรโมชันลดแหลกในหลาย ๆ โครงการ

แต่ในช่วงเวลาที่เหน็ดเหนื่อย ก็ยังมีแบรนด์อสังหาฯ ที่สร้างผลบวกให้กับธุรกิจได้อยู่พอสมควรมาดูกันว่ารายได้อสังหาฯ เจ้าไหนในช่วงไตรมาส 3 ที่ผ่านมาอยู่ที่เท่าไร แล้วใครที่ยังทำตัวเลข 'บวก' ได้บ้าง


ที่มา: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top