Thursday, 28 March 2024
EducationNewsAgencyforAll

แชร์เก็บไว้เลย! ตารางสอบของเด็ก'64 ที่ The Study Times รวบรวมมาให้แล้ว เตรียมตัวให้พร้อม แล้วไปลุยกันเลย!

GAT/PAT

วันสอบ 20 - 23 มี.ค. 64

ประกาศผล 23 เม.ย. 64

 

O-NET

วันสอบ 27 - 28 มี.ค. 64

ประกาศผล 27 เม.ย. 64

 

9 วิชาสามัญ

วันสอบ 3 - 4 เม.ย. 64

ประกาศผล 29 เม.ย. 64

 

วิชาเฉพาะของแต่ละสถาบัน

วันสอบ 6 - 10 เม.ย. 64

ประกาศผล สถาบันกำหนด

ใกล้วันสอบที่สำคัญอย่าง GAT/PAT หลายคนอาจตื่นเต้น! อยากรู้ว่าตัวเองจะนั่งอยู่ส่วนไหนของห้องสอบ ปกติแล้วผังที่นั่งสอบสนามสอบ GAT/PAT มีการจัดแถว/ตอนที่นั่งยังไงบ้าง ไปลองดูกัน

โซนหน้าห้อง คือ ตอน 1 ตั้งแต่แถว 1-5

โซนหลังห้อง คือ ตอน 6 ตั้งแต่แถว 1-5

โซนริมหน้าต่าง คือ แถว 5 ตั้งแต่ตอน 1-6

*จากภาพประกอบนี้เป็นการจัดผังที่นั่งแบบ Basic ของสนามสอบหลาย ๆ แห่ง บางสนามสอบที่ใช้ห้องเรียนพิเศษที่มีขนาดใหญ่อาจจะมีแถว 6 เพิ่มมา

*การจัดแถว/ตอน ในบางสนามสอบอาจจะสลับกัน ขึ้นอยู่กับความสะดวกและขนาดของพื้นที่ห้องสอบ

เปิดเส้นทางการศึกษาของประเทศมาเลเซีย ตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษา เตรียมอุดมศึกษา ถึงระดับอุดมศึกษา

ระบบการศึกษาของมาเลเซีย

1.) ระดับก่อนประถมศึกษา

การศึกษาภาคบังคับของมาเลเซียเริ่มเมื่อนักเรียน อายุประมาณ 7 ปี มาเลเซียจึงไม่มีข้อบังคับเกี่ยวกับการเรียนระดับก่อนประถมศึกษา

โรงเรียนอนุบาลในมาเลเซียเป็นโรงเรียนเอกชน ส่วนมากมีที่ตั้งอยู่ในชุมชนเมือง สําหรับกลุ่มผู้ปกครองที่มีฐานะทางการเงินที่ดีและต้องการส่งเสริมพัฒนาการของบุตรก่อนเข้าโรงเรียนประถม

2.) ระดับประถมศึกษา

มีระยะเวลา 6 ปี ตั้งแต่ระดับ Year 1 (Tahun 1) ถึง Year 6 (Tahun 6) แม้จะมีการสอบภายในทุกภาคเรียน แต่นักเรียนสามารถเลื่อนระดับไปเรียนในปีถัดไปได้เลย แม้จะสอบได้คะแนนต่ำกว่าเกณฑ์ (แต่ละปีมี 2 ภาคเรียน ภาคที่ 1 เดือน ม.ค.- พ.ค. 20 สัปดาห์ และภาคที่ 2 เดือน มิ.ย.- พ.ย. 22 สัปดาห์ มีหยุด 4 ครั้ง ระหว่างภาคและกลางภาค รวม 10 สัปดาห์)

การศึกษาของรัฐแบ่ง ร.ร. ออกเป็น 2 ประเภทได้แก่

(1) National schools (Sekolah Kebangsaan: “SK”) ใช้ภาษามาเลเซียเป็นสื่อหลักในการเรียนการสอน

(2) National-type schools หรือ Vernacular schools (Sekolah Jenis Kebangsaan: “SJK”) ใช้ ภาษาอื่นเป็นสื่อหลักในการเรียนการสอน ปัจจุบันคงเหลือเพียงโรงเรียนที่ใช้ภาษาจีนกลางในระบบการเขียนแบบ simplified “SJK (C)” และที่ใช้ภาษาทมิฬ “SJK (T)” ในอดีตเคยมีโรงเรียนที่ใช้ภาษาอังกฤษและภาษาปัญจาบเป็นสื่อการเรียนการสอนด้วย แต่ปัจจุบันไม่มี

3.) ระดับมัธยมศึกษา

มีระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ระดับ Form I (Tingkatan 1) จนถึง Form V (Tingkatan 5) แบ่งออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่มัธยมศึกษาตอนต้น (Forms I-III) และตอนปลาย (Forms IV-V) โดยทั่วไป นักเรียนสามารถเลื่อนระดับได้ทุกปี แม้ว่าจะสอบได้คะแนนต่ำกว่าเกณฑ์

รัฐบาลมาเลเซียกําหนดให้การเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษาทั้งหมด (ไม่รวมวิชาภาษา) ใช้ภาษามาเลเซียเป็นภาษาหลัก

4.) ระดับเตรียมอุดมศึกษา

นักเรียนมาเลเซียที่ประสงค์จะเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยของรัฐสามารถเลือกศึกษาในระดับเตรียมอุดมศึกษาได้ 2 แนวทางได้แก่

(1) ศึกษาต่อในระดับ Form VI เป็นเวลา 1.5 ปี เพื่อสอบประกาศนียบัตร Sijil Tinggi Persekolahan Malaysia (“STPM” - เดิม เรียกว่า Higher School Certificate) ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับระบบการสอบ Advanced GCEs ของอังกฤษ นักเรียนสามารถลงเรียนและสอบได้ไม่เกิน 5 วิชา ซึ่งมหาวิทยาลัยของรัฐส่วนใหญ่มักกําหนดให้วิชา General Studies เป็นหนึ่งในวิชาบังคับสําหรับการเข้าศึกษาต่อ ทั้งนี้ นักเรียนสามารถเลือกสอบวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์เป็นภาษาอังกฤษได้ด้วย

(2) ศึกษาในหลักสูตร Matriculation Programme ของสถาบัน ซึ่งจัดตั้งขึ้นมาเป็นพิเศษโดยมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในลักษณะคล้าย Foundation Programme ซึ่งผลการสอบจะสามารถใช้ได้เฉพาะกับมหาวิทยาลัยนั้น ๆ เท่านั้น

5.) ระดับอุดมศึกษา

หลักสูตรปริญญาตรีโดยทั่วไปมีระยะเวลา 3 หรือ 4 ปี ส่วนมากใช้ภาษาอังกฤษในการเรียนการสอน หรือผสมผสานระหว่างภาษาอังกฤษกับภาษามาเลเซีย ยกเว้นมหาวิทยาลัยแห่งชาติมาเลเซีย (Universiti Kebangsaan Malaysia: “UKM”) ซึ่งใช้ภาษามาเลเซียในการเรียนการสอนทั้งหมดในวิชาที่ไม่ใช่วิชาภาษาต่างประเทศ

มหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชนชั้นนํามักกําหนดใช้ผลการสอบ STPM (หรือ UEC ในมหาวิทยาลัยเอกชน) และคะแนนสอบ Malaysian University English Test (MUET) เป็นเกณฑ์ในการสมัครเข้าศึกษาต่อ และรับพิจารณาวุฒิการศึกษาจากต่างประเทศสําหรับนักศึกษาต่างชาติ โดยสำหรับประเทศไทยนั้น กําหนดให้นักเรียนต้องจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยมีคะแนนดีเพียงพอสําหรับการเข้ามหาวิทยาลัยไทยในระดับเดียวกัน (นักเรียนที่มีคะแนน O-NET/GAT/PAT ที่ดี หรือมีมหาวิทยาลัยไทยรองรับแล้ว อาจได้รับการพิจารณาเป็นกรณีพิเศษ) และมีคะแนนสอบภาษาอังกฤษ (IELTS หรือ TOEFL) ประกอบ

โดยภายหลังจากที่มหาวิทยาลัยตอบรับแล้ว นักศึกษาต่างชาติทั้งหมด จะต้องจัดส่งเอกสารทางการศึกษาทั้งหมดให้หน่วยงานของกระทรวงศึกษาธิการมาเลเซีย คือ Education Malaysian Global Services Bhd. (“EMGS”) เป็นผู้ตรวจสอบหลักฐานก่อนจึงจะสามารถขอตรวจลงตรา (“วีซ่า”) ได้ หลักสูตรปริญญาโททั่วไปมีระยะเวลา 2 ปี และปริญญาเอก ประมาณ 4 - 5 ปี โดยทั่วไปใช้ปริญญาตรีและปริญญาโทเป็นวุฒิหลักในการสมัครตามลําดับ แต่มีรายละเอียดแตกต่างกันไป


ขอบคุณข้อมูลจาก สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์

ขอบคุณที่มา: https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=3494320973985936&id=541186885966041

“Thai MOOC” แพลตฟอร์มเรียนออนไลน์ เปิดโอกาสด้านการศึกษาให้กับคนไทยทุกเพศทุกวัยได้เรียนฟรีแบบไม่มีเงื่อนไข เผยยอดผู้เรียนทะลุกว่า 800,000 คน พร้อมดันแพลตฟอร์มสู่ระดับสากล

เพราะการเรียนรู้ไม่มีที่สิ้นสุด Thai MOOC Platform (Thailand Massive Open Online Course Platform) ภายใต้กำกับของโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับคนไทยทุกคน ก้าวสู่ปีที่ 5 มุ่งพัฒนาหลักสูตรที่พร้อมพัฒนาคนในทุกช่วงวัย ปั้นรายวิชาทั้งไทยและต่างประเทศ กว่า 500 รายวิชา จากผู้เชี่ยวชาญกว่า 120 สถาบัน ซึ่งมียอดผู้เรียนทะลุกว่า 800,000 คน พร้อมดันแพลตฟอร์ม Thai MOOC สู่ระดับสากล

เมื่อการศึกษาและการเรียนรู้ในปัจจุบันไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แค่ในห้องเรียน Thai MOOC Platform หรือแพลตฟอร์มการจัดการเรียนรู้ออนไลน์แบบเปิดจึงเกิดขึ้น เพื่อเปิดโอกาสด้านการศึกษาให้กับคนไทยทุกเพศทุกวัยได้เรียนฟรีแบบไม่มีเงื่อนไข กับคอร์สเรียนออนไลน์คุณภาพที่ได้มาตรฐานจากอาจารย์และผู้เชี่ยวชาญในวิชาชีพต่าง ๆ ด้วยระบบการเรียนที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เลือกเรียนได้ในเวลาที่สะดวก พร้อมกันนี้ Thai MOOC มุ่งหวังให้ผู้เรียนสามารถเก็บประวัติการเรียนและสะสมผลการเรียนรู้ เพื่อเทียบโอนวุฒิการศึกษาได้ด้วยในอนาคต Thai MOOC จึงกลายเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ที่สามารถตอบโจทย์ทั้งการเรียนในระบบและการเรียนรู้ตลอดชีวิตได้

รศ.ดร.ฐาปนีย์ ธรรมเมธา ผู้อำนวยการโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย กล่าวว่า “ในปีนี้เราก้าวสู่ปีที่ 5 มีสมาชิกกว่า 800,000 คน ที่ครอบคลุมทั้งเยาวชนระดับมัธยมศึกษาและระดับอุดมศึกษา กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่พึ่งสำเร็จการศึกษา และกลุ่มผู้สูงวัย สะท้อนให้เห็นความตระหนักถึงคุณค่าการเรียนรู้ตลอดช่วงวัยที่กำลังเกิดขึ้นในสังคมไทย เราอยากผลักดันให้ Thai MOOC เป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับคนไทยและเชิญชวนให้คนไทยทุกช่วงวัยเข้ามาหาข้อมูลการเรียนรู้จากที่นี่ได้อย่างต่อเนื่อง”

ผศ.ภก.ดร.อนุชัย ธีระเรืองไชยศรี รองผู้อำนวยการโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย กล่าวว่า “Thai MOOC เป็นเสมือนศูนย์กลางแหล่งเรียนรู้ออนไลน์ที่อำนวยความสะดวกสบายให้กับผู้เรียน เรารวบรวมเอาข้อมูลรายวิชาออนไลน์จากผู้ให้บริการทั้งในประเทศและต่างประเทศเข้ามารวมไว้ด้วยกัน เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหา และมีระบบ IDP (Identity Provider) ที่ให้ผู้เรียนสามารถเข้าใช้งานระบบต่าง ๆ ที่ร่วมมือกับ Thai MOOC ได้โดยไม่ต้องสมัครสมาชิก ถือได้ว่าเป็น One Stop Service สำหรับผู้เรียนออนไลน์เลยทีเดียว”

ศ.ดร.จินตวีร์ คล้ายสังข์ รองผู้อำนวยการโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย กล่าวว่า “การศึกษาเป็นเรื่องของทุกภาคส่วน เราอยากให้คนไทยเข้าถึงการศึกษาได้อย่างทั่วถึง ที่ผ่านมาเราได้มีการประชุมระดับชาติ ระดับนานาชาติ ซึ่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้มีการประชุมในระดับอาเซียนที่เราร่วมเป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมวิชาการร่วมกับประเทศเกาหลีใต้ (ASEM: MOOC's Stakeholder Forum 2020) เพื่อหารือเกี่ยวกับหลักสูตรและแพลตฟอร์มที่ได้มาตรฐาน เริ่มมีการเจรจาการแลกเปลี่ยนรายวิชา ทั้งกับ MOOC ในเอเชีย เช่น J-MOOC(ประเทศญี่ปุ่น) หรือ K-MOOC (ประเทศเกาหลีใต้) หรือแม้แต่ทางฝั่งยุโรปอย่างประเทศอิตาลี ในอนาคตเราได้มีการเพิ่มซับไตเติ้ล (Subtitle) เป็นภาษาไทย คาดว่าในปีหน้าเราจะมีรายวิชาที่เป็นหลักสูตรต่างชาติ 20 รายวิชาแน่นอนค่ะ”

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนเรียน และเลือกค้นหารายวิชาที่สนใจในประเด็นต่าง ๆ จากคำสำคัญได้ เช่น สุขภาพภาษา ดิจิทัล การถ่ายภาพ จิตวิทยา ฯลฯ ผ่านช่องทาง thaimooc.org หรือติดตามข่าวสารทาง Facebook Fan page “THAI-MOOC”


ขอบคุณที่มาและรูปภาพ: https://siamrath.co.th/n/221733

เทคนิคพิเศษอย่างไร? ทำให้ไม่พลาด เตรียมอุดมศึกษา ตัวเต็งอาจจะหาย ม้านอกสายตา ม้ามืดเข้ามา ด้วยสาเหตุอะไร ไปดูรายละเอียดกัน...พลาดเทคนิคนี้อาจเช็ดน้ำตา อ่านจบจะได้ความสมหวัง

ไม่มีสิ่งมหัศจรรย์ ความขยันเป็นเหตุ อะไร?? สร้างความสำเร็จทั้งการเรียนและการงาน  อะไร?? คือความแตกต่างที่นักเรียนเตรียมอุดมมี ทำอย่างไร?? จึงจะได้กลายเป็นพระเกี้ยวน้อย ในรั้วเตรียมอุดมศึกษา มาหาคำตอบตามขั้นตอนกันครับ

หัวข้อคุยให้ฟัง

1. ตัวอย่างความสำเร็จอันล้นหลามของรุ่นพี่ TU77

2. เตรียมตัว ม.ต้นอย่างไร ในห้อง นอกห้อง(ติว) และที่บ้าน

3. เตรียมตัวก่อนสอบเตรียมอุดม เลือกโควต้าแต่ละประเภท หรือสอบทั่วไป ขั้นตอนสมัครสอบ เตรียมตัววันก่อนสอบ วันสอบ วันประกาศผล รายงานตัว มอบตัว เข้าเรียน

จากสถิติที่ทางโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาได้ประชาสัมพันธ์ผลงานการเข้าเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัยขอนักเรียนม.6 ปีการศึกษา 2562 เข้ามหาวิทยาลัย ปี 2563 ตามที่ได้ลงรายละเอียดไว้ก่อนหน้าในตอนแรก

https://www.facebook.com/101203658659006/posts/110038047775567/?sfnsn=mo

เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น จะขอพูดถึงนักเรียนเตรียมอุดม รุ่น TU77 (ม.4 ปี พ.ศ.2557) ซึ่งเป็นรุ่นที่ลูกชายผู้เขียนได้ร่วมเรียน รุ่นปัจจุบัน ม.4 ที่จะสอบรอบนี้ วันที่ 6 มี.ค. 2564 คือรุ่น TU84

TU77 สร้างสถิติที่น่าติดตาม และสร้างความน่าอัศจรรย์ใจในผลการเรียนต่อเข้ามหาวิทยาลัยไทย และทุนไปเรียนต่างประเทศมากมาย

ทั้งนี้จะขอเล่าสิ่งที่เห็นและผลงานของรุ่น TU77 ให้ฟัง เพราะประสบการณ์ตรงจากรุ่นลูกชาย...(ข้อมูลอาจจะผิดพลาดคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงบ้างเล็กน้อย ต้องขออภัยทุกท่านที่ติดตามอ่านไว้ก่อนครับ เหตุเพราะมีเวลาไม่มากในการตรวจสอบข้อมูล และตัวเลขจริง)

จะขอพูดถึง สถิติสำคัญ ๆ ที่มองเห็นได้ชัดถึงความสำเร็จทางการเล่าเรียน และผลจากความพากเพียร และการจัดระบบสนับสนุนการเรียน จากผู้เกี่ยวข้อง ทั้งตัวนักเรียน อาจารย์ ผู้ปกครอง สมาคมศิษย์เก่า และอื่น ๆ ที่มีส่วนร่วม เป็นตัวสร้างสรรค์ความสำเร็จ

1. ตัวอย่างความสำเร็จอันล้นหลามของรุ่นพี่ TU77

- สถิติการรับทุนรัฐบาลไทย คัดเลือกโดยสำนักงาน กพ. และทุนสำคัญจากรัฐบาลต่างประเทศ ได้แก่

1) ทุนคิง(ทุนเล่าเรียนหลวง)

ได้ทั้ง  9 คน จากทั้งหมด 9 ทุน

ในปีนี้ นักเรียนเตรียมอุดมศึกษา รุ่นที่ ๗๗ ได้รับพระราชทานทุนครบทั้ง ๙ ทุน ถือเป็นรุ่นที่ ๒ ในประวัติศาสตร์ สืบต่อจาก ต.อ. ๖๘

https://www.triamudom.ac.th/website/index.php/2017-02-11-03-27-57

2) ทุนธนาคารชาติ

ได้ 3 ทุนจากทั้งหมด 3 ทุน

3) ทุนวิวัฒนไชยานุสรณ์

ได้ 1 ทุน จาก ทั้งหมด 1 ทุน

4) ทุนกระทรวงต่างประเทศ

สายศิลป์ภาษา ได้รับทุนหลายคน

5) ทุนโอลิมปิกวิชาการ

ทั้งหมด 6 คน ในสาขาคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ คอมพิวเตอร์

6) ทุนรัฐบาลญี่ปุ่น

ปี 2560 ทุนรัฐบาลญี่ปุ่นระดับป.ตรี ปีนี้ประกาศผู้ผ่านทุน มากถึง 24 ทุน เตรียมอุดม ประมาณ 18 คน (ห้องกิฟเลข ประมาณ 13 คน) มากกว่าทุก ๆ ปีที่เคยประกาศมา

- สถิติการเข้า มหาวิทยาลัยคณะที่ได้รับความนิยม แพทย์ ทันตะ เภสัช วิศวะ และอื่นๆ

สถิติคะแนน กสพท แต่ละปี (ให้ดูปี 2560 คะแนนรุ่น TU77)

http://www9.si.mahidol.ac.th/cotmes_stat.php

ปีนี้คะแนนสูงลิ่ว กระตุ้นการแข่งขันให้ขยันเข้มข้นในปีต่อ ๆ มา

คณะแพทยศาสตร์

จุฬาฯ 185 คน เตรียมอุดม กว่า 150 คน

ศิริราช 280 คน เตรียมอุดมกว่า 120 คน

คะแนนสูงสุด

แพทย์จุฬา 88.3684% (สร้างสถิติสูงกว่าที่ผ่าน ๆ มา)

สถิติและผลงานอื่น ๆ ตามประกาศของโรงเรียน

ประกาศโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา

เรื่อง รายชื่อผู้รับโล่รางวัล ระดับชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ ๖ ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๙ (TU77) (ตัวอย่างความสำเร็จ นักเรียนเตรียมอุดม)

https://m.facebook.com/groups/472069593301290/permalink/1038654536642790/?sfnsn=mo

จากผลงาน ในการรับทุนเรียนต่อต่างประเทศ และผลงานการสอบเข้าคณะในมหาลัยที่เป็นที่คาดหวังในสังคมไทย นักเรียนเตรียมอุดม จึงเป็นนักเรียนที่เป็นชั้นแนวหน้าในทุกอาชีพ และเป็นกลุ่มก้อนกลุ่มใหญ่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมไทยในทุกรุ่นสืบต่อกันมา

2. เตรียมตัว ม.ต้นอย่างไร ในห้อง นอกห้อง(ติว) และที่บ้าน

เริ่มต้นคิดไว โอกาสสดใสกว่า

ม.1 ตั้งเป้าเข้า ม.4 ไว้ได้เลย เพื่อกำหนดเป้าให้ชัดก่อนใครว่าจะไปเตรียมอุดม

เตรียมพื้นฐาน ทุกวิชาล่วงหน้าก่อนใคร ม.1 เน้นพื้นฐานในห้อง ทำเกรดไว้ให้สูงทุกวิชา

-เตรียมตัวสายวิทย์ คณิต

วิชาที่ใช้ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์(ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ เคมี ชีววิทยา) อังกฤษ ภาษาไทย สังคม

-เตรียมตัวสายภาษา คณิต

วิชาที่ใช้สอบ คณิตศาสตร์ อังกฤษ ภาษาไทย สังคม

- เตรียมตัวสายภาษา ภาษา

วิชาที่ใช้สอบ อังกฤษ ภาษาไทย สังคม

ม.2 ออกแรงเร่ง กวดล่วงหน้าเนื้อหาให้จบ ต้องจบเนื้อหาวิชาหลักทุกวิชาอย่างช้า ปิดเทอมปลาย ติวล่วงหน้ากับสถาบันชั้นนำที่มีประสบการณ์สูง และประวัติเรียนดี ถ้าได้ประวัติเคยเป็นรุ่นพี่เตรียมอุดม ก็เลือกเรียนได้ทันที..อยากได้อะไร ต้องรับจากคนที่เคยเป็นสิ่งนั้น

สถาบันแนะนำที่ควรเรียนให้จบเนื้อหาม.ต้น ตอน ม.2

1) ออนดีมานด์

https://www.ondemand.in.th/

2) เอ็นคอนเซพ

https://www.enconcept.com/main_index/

3) ซุปเค

https://www.supk.com/

4) โอพลัส

https://www.oplus-school.com/

5) Premier Prep,PremierX Physics

https://www.premierx.thepremierprep.com/

6) สังคมครูเบียร์

https://www.beersocial-online.net/

7) ภาษาไทย ครูกอล์ฟ

http://www.aj-golf.com/

8) สถาบันบ้านคำนวณ เข้มแข็ง พร้อมด้วยคุณภาพการเรียนสด

http://www.baancomnuan.com

9) เด็กไทยออนไลน์ ออนไลน์ที่กำลังพัฒนาแนวหน้าไทย

https://dev.dekthai-online.com/browse

10) Classonline Thailand ออนไลน์ชั้นนำด้วยอุดมการพัฒนาการศึกษาไทย ครบทุกวิชาใช้เข้าเตรียมฯ

https://www.classonline.co.th/

หรืออื่นๆที่เรียนอยู่

ม.2 แค่นี้พอ เรียนทุกครั้งต้องมีเวลาทวนภายใน 72 ชั่วโมง สนามแข่งขันวิชาการที่สำคัญ แข่งขันให้เยอะไว้ ijso สอวน สพฐ สมาคมคณิตศาสตร์ TEDET และอื่นๆ

ม.3 สำคัญ ขยันให้ถึงเนื้อหา ม.ปลาย ในบางรายวิชา(คณิตทำให้ถึง สอวน ค่าย2  วิทย์  เรียนให้ถึงเนื้อหาม.ปลายทำโจทย์คำนวณได้ อังกฤษ ฝึกให้ถึงข้อสอบ GAT ไทย สังคม ช่างจดช่างจำอย่าทิ้ง)

หลักสำคัญคือซื้อหนังสือมาทำโจทย์มากๆ อยู่กับตัวเองเยอะๆ ไม่จำเป็นต้องหาครูมีชื่อเสียงสอนมาก ไม่มีใครที่จะเป็นที่หวังได้ ถ้าไม่หวังพึ่งตนเอง

3. เตรียมตัวก่อนสอบเตรียมอุดม เลือกโควต้าแต่ละประเภท หรือสอบทั่วไป ขั้นตอนสมัครสอบ เตรียมตัววันก่อนสอบ วันสอบ วันประกาศผล รายงานตัว มอบตัว เข้าเรียน

เตรียมอุดมศึกษา เป็น รร. มัธยมปลาย ชั้นละ 1,520 คน ประกอบด้วยสายการเรียน 3 สาย

1) สายวิทย์ คณิต

1,000 คน ทั้งหมด 23 ห้อง

มี 5 สายย่อย

1.1 วิทย์-คอมพิวเตอร์ 6 ห้อง

1.2 วิทย์-คุณภาพชีวิต 6 ห้อง

1.3 วิทย์-ประยุกต์ 3 ห้อง

1.4 วิทย์-บริหาร 2 ห้อง

1.5 วิทย์-ภาษา 6 ห้อง ภาษาละ 1 ห้อง (ฝรั่งเศส เยอรมัน ญี่ปุ่น สเปน จีน เกาหลี)

2) ศิลป์ คำนวณ

120 คน 3 ห้อง

3) ศิลป์ ภาษา

มี 6 ภาษา

3.1 ภาษา ฝรั่งเศส 80 คน 2 ห้อง

3.2 ภาษา เยอรมัน 80 คน 2 ห้อง

3.3 ภาษา ญี่ปุ่น 80 คน 2 ห้อง

3.4 ภาษา จีน 80 คน 2 ห้อง

3.5 ภาษา สเปน 40 คน 1 ห้อง

3.6 ภาษา เกาหลี 40 คน 1 ห้อง

จำนวนโควต้า และสอบเข้าทั่วไป

เตรียมอุดมศึกษา เป็น รร. มัธยมปลาย โดยทั่วไปชั้นละ 1,500 คน ปี 2564 ประกาศรับ 1,520 คน

1) สายวิทย์ คณิต

1,000 คน โควต้า 250 คน สอบทั่วไป 750 คน

2) ศิลป์ คำนวณ

120 คน โควต้า 50 คน

3) ศิลป์ ภาษา

มี 6 ภาษา

3.1 ภาษาฝรั่งเศส 80 คน โควต้า 20 คน

3.2 ภาษาเยอรมัน 80 คน โควต้า 25 คน

3.3 ภาษาญี่ปุ่น 80 คน โควต้า 25 คน

3.4 ภาษาจีน 80 คน โควต้า 20 คน

3.5 ภาษาสเปน 40 คน โควต้า 15 คน

3.6 ภาษาเกาหลี 40 คน โควต้า 5 คน

การสมัครสอบโควตา มี 4 ประเภท

-โควตาจังหวัด

-โควตาโอลิมปิกวิชาการ

-โควตาความสามารถพิเศษ

-โควตาเงื่อนไขพิเศษ

-สอบรอบทั่วไป

ประกาศโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เรื่อง การรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ปีการศึกษา ๒๕๖๔ ประเภทโควตาจังหวัด

สมัครผ่านระบบออนไลน์ที่ https://admission.triamudom.ac.th

https://www.facebook.com/1418062688512699/posts/2804659519853002/?sfnsn=mo

ประกาศโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เรื่อง การรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ปีการศึกษา ๒๕๖๔

https://drive.google.com/file/d/1V59y328M1Y2Ja7oouPHApa3opiUEj1X9/view?usp=drivesdk

https://www.facebook.com/1418062688512699/posts/2839161883069432/?sfnsn=mo

คู่มือการสมัครขั้นตอนการสมัครสอบ

https://www.facebook.com/groups/472069593301290/permalink/1037824500059127/

เทคนิคการทำข้อสอบ

สำคัญคือการบริหารเวลา

สายวิทย์ คณิต

ข้อสอบชุดแรก 8:30-11:00 น. 150 นาที

คณิต 50 ข้อ ภาษาไทย 25 ข้อ สังคม 25 ข้อ

เริ่มต้น 40 นาทีแรกต้องจบสองวิชาภาษาไทยสังคม ทำไม่ได้ให้เดาทันที ไม่ต้อพะวง 110 นาทีที่เหลือ ทำคณิตศาสตร์ 50 ข้อ เปิดดูก่อนแล้วเลือก 25-30 ข้อพอ ที่จะทำก่อนเพราะยังไงก็ทำไม่ทันควรทำได้และมั่นใจ 12 ข้อ ที่เหลือใช้วิธีเดาที่วางแผนมา

ชุดที่สอง วิทย์ อังกฤษ อย่างละ 50 ข้อ ถนัดวิชาไหนเริ่มวิชานั้นก่อน ทำยังไงเวลาที่ใช้ก็ไม่เกิน 120 นาที

สายภาษา คณิต

ข้อสอบชุดแรก 8:30-11:00 น. 150 นาที

คณิต 50 ข้อ ภาษาไทย 25 ข้อ สังคม 25 ข้อ

เริ่มต้น 40 นาทีแรกต้องจบสองวิชาภาษาไทยสังคม ทำไม่ได้ให้เดาทันที ไม่ต้อพะวง 110 นาทีที่เหลือ ทำคณิตศาสตร์ 50 ข้อ เปิดดูก่อนแล้วเลือก 25-30 ข้อพอ ที่จะทำก่อนเพราะยังไงก็ทำไม่ทันควรทำได้และมั่นใจ 12 ข้อ ที่เหลือใช้วิธีเดาที่วางแผนมา

ชุดที่สอง ไทย อังกฤษ อย่างละ 50 ข้อ ถนัดวิชาไหนเริ่มวิชานั้นก่อน ทำยังไงเวลาที่ใช้ก็ไม่เกิน 120 นาที

สายภาษา

ข้อสอบชุดแรก 8:30-11:00 น. 150 นาที

อังกฤษ 50 ข้อ ภาษาไทย 25 ข้อ สังคม 50 ข้อ ทำอย่างสบายใจไม่ต้องกดดันตัวเองครับ

ชุดที่สอง ไทย อังกฤษ อย่างละ 50 ข้อ ถนัดวิชาไหนเริ่มวิชานั้นก่อน ทำยังไงเวลาที่ใช้ก็ไม่เกิน 120 นาที

กำหนดสอบวันเสาร์ที่ 6 มี.ค. 2564 ที่อิมแพค เมืองทองธานี จากนั้น รอวันประกาศผลในเว็ปไซต์

ประกาศผลที่สนามฟุตบอลโรงเรียน 12 มี.ค.2564

รายงานตัว 15 มี.ค.2564

มอบตัว 18 มี.ค.2564

ตามกำหนดนี้ ติดตามรายละเอียดที่

https://www.triamudom.ac.th/

สุดท้าย จะให้ดูผลงานรุ่นพี่ปี 2562 เก่งยกห้องเป็นอย่างไร ทุกคนทำได้ถ้ามาเตรียมอุดม

https://today.line.me/th/v2/article/v2eQx8

สัปดาห์หน้าเจอกันที่ความฝัน โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ครับ เก่งไม่แพ้กัน ความฝันคนละแบบ


เขียนโดย AodDekTai คุณพ่อผู้สนใจการศึกษาไทยและต่างประเทศ

รมว.ศึกษาธิการ ดึง กูรู เร่งปรับหลักสูตรด้านประวัติศาสตร์ ทั้งการ “เรียน - สอน” ให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น ยกระดับประวัติศาสตร์ไทย หนุนภูมิปัญญาท้องถิ่น ดันเศรษฐกิจประเทศ

นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังเสร็จสิ้นการกระชุมผู้ทรงคุณวุฒิรายวิชาประวัติศาสตร์ว่า เมื่อวันที่ 22 ก.พ. มีผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งเป็นคณะทำงานด้านหลักสูตรประวัติศาสตร์เข้าร่วมประชุมหลายท่าน โดยแต่ละท่านมีประสบการณ์ด้านประวัติศาสตร์หลากหลายแขนง ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ชาติไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมประเพณี เป็นต้น ซึ่งบางท่านเคยร่วมทำหลักสูตรกับทางสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มาก่อนด้วย

สำหรับผู้ทรงคุณวุฒิกลุ่มนี้ ได้นำเสนอแนวทางการเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของไทย ซึ่งจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบในการนำเสนอให้มีความน่าสนใจ และสามารถทำให้เกิดการซึมซับในความภาคภูมิใจของความเป็นไทย ซึ่งสอดคล้องและสามารถนำไปผสมผสานกับแผนงานที่กระทรวงศึกษาธิการที่กำลังเตรียมทำไว้ในแผนการบูรณาการการศึกษา ในการจะรวมโรงเรียนเครือข่ายในการสร้างโรงเรียนคุณภาพชุมชน

“ซึ่งสิ่งที่จะเกิดขึ้น ก็คือ การนำความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือนำประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเข้ามาให้ความรู้ แม้จะเป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งของการเชื่อมต่อในการที่จะบูรณาการการศึกษา แต่เป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะว่าในอนาคต มีหลาย ๆ อย่างที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ หลายๆ อย่างที่เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือความสามารถทักษะที่เราจะนำสินค้าท้องถิ่นมาโปรโมต เพื่อให้มีการต่อยอดทางด้านเศรษฐกิจ ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญ ที่เราจำเป็นต้องวางรากฐานให้มีความเข้มแข็งตั้งแต่วันนี้” นายณัฏฐพล กล่าว

นอกจากนี้ นายณัฏฐพล ยังย้ำด้วยว่า การปรับหลักสูตรนั้น เป็นส่วนหนึ่งของคณะทำงานด้านหลักสูตร ที่จะต้องนำเอาไปพิจารณาว่า วิธีการจะเป็นอย่างไร และทำให้เกิดการลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ได้จริงอย่างไร หรือวิชาประวัติศาสตร์นั้น จะนำมาปรับในหลักสูตรพื้นฐาน ซึ่งเรื่องนี้ผู้ทรงคุณวุฒิดังกล่าว ก็จะต้องนำหลักสูตรไปผสมผสานกับฝ่ายวิชาการของ สพฐ. และฝ่ายคณาจารย์จากมหาวิทยาลัย ที่ตั้งคณะทำงานขึ้นมาแล้ว โดยจะนำไปผสมผสานกันในศาสตร์เหล่านี้ได้อย่างไร

สำหรับหลักสูตรด้านประวัติศาสตร์ส่วนนี้ ที่ต้องนำมาผสมผสานกันนั้น นายณัฏฐพล กล่าวว่า สิ่งที่ตนเองต้องการเห็น ก็คือ อยากให้เด็กๆ ได้ซึมซับสิ่งเหล่านี้ เพราะประวัติศาสตร์ไทยมีเสน่ห์หลายอย่าง มีความหลากหลาย ซึ่งไม่ใช่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องการสู้รบอย่างเดียว และเป็นสิ่งที่เราต้องทำการประชาสัมพันธ์ หรือโปรโมตอย่างเต็มที่ เพราะเราต้องการที่จะพัฒนาด้านเศรษฐกิจของประเทศไทย

“ดังนั้นอะไรที่จะมีเสน่ห์เท่าประวัติศาสตร์ อย่างเวลาที่เราเดินทางไปประเทศต่างๆ เพราะว่าเราการไปเห็นประวัติศาสตร์ของประเทศเขา หากเราสามารถยกระดับความสวยงามในท้องถิ่นทั่วทั้งประเทศได้ โดยผ่านกระบวนการการศึกษา ผ่านคนที่มีความรู้ ผ่านนักเรียน และผู้ปกครองที่มีความรู้มากขึ้น ในอนาคตก็จะสามารถต่อยอดให้ประเทศได้เป็นอย่างดี และจะยิ่งดึงดูดให้มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเพิ่มมากขึ้นอีก” รมว.ศธ. กล่าว...

ขณะเดียวกันในส่วนของครู แม้มีความตั้งใจอยู่แล้ว แต่ความมั่นใจ หรือความรอบรู้ในด้านประวัติศาสตร์ในแต่ละพื้นที่ก็แตกต่างกัน จึงต้องเข้าใจว่าครูในทั่วประเทศกระจายทั่วไปหมด ไม่ใช่ว่าครูอยู่ที่จังหวัดระยองเป็นคนระยอง ดังนั้นความกล้า และความเข้าใจ ในการที่จะนำเสนอด้านประวัติศาสตร์ในจังหวัดนั้น ๆ ก็จะมีความเข้มข้นไม่มาก ซึ่งเรื่องนี้จึงต้องมีการบูรณาการกันทั้งระบบ

“ดังนั้นเรื่องนี้ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร หากมีการจัดระบบองค์ความรู้ในแต่ละจังหวัด ส่วนในวิธีการนำเสนอผมมั่นใจว่า ครูสามารถปรับเปลี่ยนได้อยู่แล้ว” นายณัฏฐพล กล่าว

นายณัฏฐพล กล่าวเพิ่มด้วยว่า สำหรับวันนี้ครูเอกสังคม มีองค์ความรู้การผสมผสานในหลายๆ ด้าน แต่ในเบื้องต้นต้องขอให้คณะทำงานด้านหลักสูตรนำเสนอมาก่อน เนื่องจากประวัติศาสตร์ ก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับด้านเศรษฐกิจ ภูมิศาสตร์ และพุทธศาสนา ซึ่งต้องมาดูว่าจะทำการเชื่อมต่อได้อย่างไร

“เด็กที่สนใจ เลข วิทย์ อาจจะไปเป็นวิศวะ แต่ก็มีความจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้เรื่องประวัติศาสตร์ เพื่อสามารถนำรูปแบบต่างๆ ไปออกแบบ เพื่อให้เป็นเอกลักษณ์ และอัตลักษณ์ ซึ่งจะมีส่วนเกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกันหมด ดังนั้นจึงต้องรอให้ทีมงานนำเสนอหลักสูตรมาก่อนโดยคำนึงถึงความเหมาะสม” นายณัฏฐพล กล่าว


ที่มา: https://www.thairath.co.th/news/politic/2037768

สพฐ. ร่วมหารือกรมสุขภาพจิต สร้างความปลอดภัยในโรงเรียน ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ เตรียมประเมินสุขภาพจิตของนักเรียน จัดกลุ่มดูแลเยียวยาอย่างตรงจุด

นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า ตนได้หารือร่วมกับกรมสุขภาพจิตเกี่ยวกับแนวทางการสร้างความปลอดภัยให้เกิดขึ้นในโรงเรียน ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ซึ่งในส่วนของการทดสอบด้านจิตใจ กรมสุขภาพจิตในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องนี้โดยตรงได้เข้ามาช่วยเหลือ ทั้งด้านการถ่ายทอดความรู้ และทักษะที่ใช้สำหรับการประเมินสุขภาพจิตของนักเรียน ให้กับข้าราชการครูและบุคลากรของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ทุกคน เพื่อที่จะทราบว่านักเรียนแต่ละคนมีสภาพจิตใจอยู่ในระดับใด และสามารถจัดกลุ่มนักเรียนให้ง่ายต่อการดูแลได้

ซึ่งจะมีทั้งกลุ่มเด็กสุขภาพจิตปกติ และไม่ปกติ เช่น ชอบทำร้ายตัวเอง ชอบทำร้ายผู้อื่น เป็นต้น เมื่อมีการประเมินนักเรียนแล้ว กรมสุขภาพจิตก็จะให้ความรู้กับครูว่าสามารถเยียวยา ดูแลรักษาพัฒนากับเด็กแต่ละกลุ่มนี้อย่างไร และหากเด็กกลุ่มไหนที่มีสุขภาพจิตอยู่ในระดับที่เกินความสามารถของครู ก็จะมีการประสานบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ โดยการทำงานแบบบูรณาการกัน คือ สุขภาพทางกายโรงเรียนเป็นผู้ดูแล และสุขภาพจิตทางกรมสุขภาพจิตเป็นผู้ดูแล

“ขณะนี้ สพฐ. และกรมสุขภาพจิตได้มีการเชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ ร่วมกันหมดแล้ว เมื่อ สพฐ.ป้อนข้อมูลเด็กในการตอบคำถามต่าง ๆ จะสามารถประมวลผลออกมาได้ทันทีว่าสุขภาพจิตของเด็กอยู่ในระดับไหน ก็สามารถจะจัดกลุ่มดูแลเยียวยาเด็กได้อย่างตรงจุด โดยจะมีการนำร่องในกลุ่มโรงเรียนคุณภาพชุมชนและโรงเรียนมัธยมดีสี่มุม จังหวัดละ 1 แห่ง จะเริ่มในปีการศึกษา 2564 นี้

อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่าความร่วมมือครั้งนี้จะเป็นโอกาสที่ทำให้ สพฐ.และหน่วยงานที่มีองค์ความรู้ทางด้านสุขภาพจิต ได้เข้ามาช่วยเหลือกัน รวมถึงจะมีการต่อยอดถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับผู้ปกครองด้วย เนื่องจากเราต้องการที่จะให้ทุกคนร่วมกันดูแลการสังเกตเด็ก เพื่อให้เด็กได้มีทั้งกำลังกาย กำลังใจที่ดี มีความสุข พร้อมที่จะเรียนรู้ในแหล่งการเรียนรู้ที่ดี” เลขาธิการ กพฐ. กล่าว


ที่มา: https://www.facebook.com/312592942736950/posts/717511342245106/?d=n

Flexible Classroom หรือห้องเรียนดิ้นได้ เป็นห้องเรียนอีกรูปแบบหนึ่ง ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับเด็ก โดยที่เด็กจะไม่ได้เพียงแค่ความรู้ แต่ได้ฝึกทักษะที่จำเป็นต่าง ๆ จากการทดลองทำจริง

เมื่อพูดถึง ‘ห้องเรียน’ คุณผู้อ่านนึกถึงห้องแบบไหนคะ ?

คุณนึกถึงห้องสี่เหลี่ยม มีกระดานดำใหญ่ ๆ ติดอยู่บนผนังหน้าห้อง มีชุดโต๊ะนักเรียนและเก้าอี้เรียงกันเป็นแถวเป็นแนวยาวไปจนถึงท้ายห้องหรือเปล่า

นั่นคือรูปแบบห้องเรียนที่พวกเราคุ้นเคยกันดีมาช้านาน แต่ถ้าหากห้องเรียนไม่จำเป็นต้องเป็นห้องที่มีเพียงโต๊ะ เก้าอี้ และกระดาน คุณอยากให้ห้องเรียนเป็นแบบไหน

พวกเราส่วนใหญ่ใช้เวลาประมาณ 20 ปีนั่งเรียนในโรงเรียน บางคนอาจจะมากกว่าหรือน้อยกว่านี้ นับว่ากินเวลาของชีวิตคนเราไปไม่น้อยเลยทีเดียว จึงอยากชวนคุณผู้อ่านคิดต่ออีกค่ะว่า เมื่อเราต้องลงทุนลงเวลาไปกับการเรียนหนังสือในห้องเรียนขนาดนี้แล้ว วัตถุประสงค์ที่แท้จริงของการเรียนคืออะไร? ทำไมเราต้องเรียน?

แน่นอนว่า คุณพ่อคุณแม่ทุกคนอยากให้ลูกเรามีชีวิตที่ดี มีความสุขและประสบความสำเร็จ และเชื่อว่าการมีผลการเรียนที่ดีจะนำพาลูกเราไปสู่เป้าหมายนั้นได้ และแล้วโลกก็เริ่มเปลี่ยนแปลงรวดเร็วกว่าเดิมมากขึ้นเรื่อย ๆ เริ่มมีอาชีพบางอาชีพหายไป มีอาชีพแปลกใหม่เกิดขึ้นมา แบบแผนการเรียนที่เคยดีนั้นอาจจะปรับเปลี่ยนตามไม่ทัน แต่ใช่ว่าโรงเรียนจะไม่จำเป็น ถึงอย่างไรเด็กก็ต้องไปโรงเรียน เป็นเหตุให้มีห้องเรียนรูปแบบใหม่เกิดขึ้นเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงานในอนาคต

ปัจจุบันผู้ปกครองหลายคนเริ่มสนใจทำ Home School ให้ลูกกันมากขึ้น ซึ่ง Home School ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของรูปแบบการเรียนที่น่าสนใจไม่น้อย เพราะผู้ปกครองสามารถออกแบบห้องเรียนได้อย่างเฉพาะเจาะจงกับตัวลูกและยังยืดหยุ่นปรับเปลี่ยนได้ง่ายด้วย นอกจากนั้น ยังมีห้องเรียนแบบ Flexible Classroom หรือห้องเรียนดิ้นได้เกิดขึ้น เป็นห้องเรียนอีกรูปแบบหนึ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับเด็ก โดยที่เด็กจะไม่ได้เพียงแค่ความรู้ แต่ได้ฝึกทักษะที่จำเป็นต่าง ๆ จากการทดลองทำจริง

Flexible Classroom บรรลุวัตถุประสงค์ด้วยห้องเรียนดิ้นได้

หัวใจของห้องเรียนดิ้นได้ คือ ยึดบรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนเป็นหลัก เน้นปฏิบัติ ทำงานเป็นทีม ต่อยอดและเติบโตจากผลลัพธ์ มากกว่าการจัดอับดับหรือให้เกรดเฉลี่ย เด็กที่เรียนในห้องเรียนดิ้นได้ จะเริ่มต้นจากผลลัพธ์ก่อนว่าเราจะเรียนสิ่งนี้ไปเพื่ออะไร การทำเช่นนี้ทำให้เด็ก ๆ เข้าใจว่าเค้าจะเรียนไปเพื่ออะไร เด็กจะอยากลงมือทำและผลลัพธ์นั้นจะต้องเป็นสิ่งที่เด็กต้องการ นักเรียนจะได้เรียนจากกระบวนการนำไปสู่ผลลัพธ์ โดยที่นักเรียนหาวิธีด้วยตัวของเค้าเอง

เช่น หากน้องอยากเรียนเรื่องการเป็นผู้ประกอบการ ห้องเรียนดิ้นได้จะทำการสร้างสถานการณ์ผู้ประกอบการจริงให้กับนักเรียน และน้อง ๆ จะได้กำไรจริงขาดทุนจริง ถ้าน้องขาดทุน น้องจะได้เรียนรู้ต่อไปอีกว่าขาดทุนตรงไหน ต้องแก้อย่างไร โดยมีครูที่เป็น Innovative Educator เป็นผู้ดูแลตลอดกระบวนการ

ทั้งนี้ ห้องเรียนแบบดิ้นได้จะสามารถให้ประโยชน์แก่ลูกได้ดีที่สุด ก็ต่อเมื่อคุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองต้องเชื่อมั่นว่าลูกเราทำได้ พ่อแม่ต้องหลุดออกจากความคิดว่าเค้ายังเด็กและปล่อยให้เด็กได้ลงมือทำด้วยตนเอง

เป็นกำลังใจให้คุณพ่อคุณแม่และลูกทุกคนค่ะ


สามารถย้อนไปฟังการ LIVE หัวข้อที่น่าสนใจเหล่านี้เพิ่มเติมได้ที่ เพจดีต่อลูก

หัวข้อ Flexible Classroom for 21st Century ห้องเรียนดิ้นได้ในศตวรรษที่ 21

Link : https://www.facebook.com/299800753872915/videos/202930958185615

เขียนและเรียบเรียงเรื่องโดย: พิมพ์นารา สุวรรณไตรย์

ส่องปรากฏการณ์ "Clubhouse" แพลตฟอร์มแชทด้วยเสียงที่กำลังเป็นกระแสความนิยมในขณะนี้ กับความท้าทายสถาบันการศึกษาของไทย ที่กำลังเผชิญกับอีกคลื่นหนึ่งของการดิสรัปชั่นที่ทำให้ตกไปจากเส้นความสนใจ และต้องปรับตัวอย่างมากเพื่อสนองตอบต่อคนรุ่นใหม่

ช่วงสองสัปดาห์นี้หน้านิวส์ฟีดของทุกคนคงเต็มไปด้วยเรื่องของ Clubhouse โซเชียลมีเดียที่ได้รับการพูดถึงอย่างมากในสังคมไทยขณะนี้ ทุกวงการต่างกล่าวถึงการเข้าไปแลกเปลี่ยนพูดคุยกันบนแพลตฟอร์มนี้ ตั้งแต่เรื่องธุรกิจ สังคม การเมือง ไปจนกระทั่งเรื่องจิปาถะในห้องที่เปิดให้พูดคุย ฟัง แสดงความเห็นอย่างหลากหลาย

ความโด่งดังยิ่งเพิ่มขึ้นจากการต้องถูกเชิญจากผู้ที่เข้าไปเป็นสมาชิกก่อนหน้า ความยากและการจำกัดจำนวนที่ไม่ใช่ใครก็ได้ เลยทำให้ยิ่งเพิ่มความกระหายของผู้คน จน Clubhouse ดังเปรี้ยงในชั่วข้ามคืน ไม่นับรวมการเข้าร่วมของคนที่มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่รู้จักกันในสังคม จนคนที่กลัวตกขบวนต้องขวนขวายเข้าไปใน Clubhouse ด้วย

ความหลากหลายในประเด็นที่พูดคุย ผู้ตั้งประเด็น ผู้ร่วมคุยร่วมฟังและให้ความเห็นจะเป็นตัวทำให้ Clubhouse ร้อนแรงมากยิ่งขึ้นไปอีกจากความง่าย ความสด ความเร็ว และการมีส่วนร่วมในประเด็นต่างๆ ในไม่ช้าจะได้เห็นแพลตฟอร์มเช่นนี้ออกมาอีกหลายราย ซึ่งก็จะเป็นเรื่องดีที่เราจะมีช่องทางในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างหลากหลายจากผู้รู้จริง ทำจริงที่จะทำให้ความรู้แตกฉานไปได้อีกมากมายในสังคม

ความท้าทายอย่างยิ่งภายใต้ปรากฏการณ์ Clubhouse คือสถาบันการศึกษาของไทยกำลังจะเผชิญกับอีกคลื่นหนึ่งของการดิสรัปชั่นที่จะกวาดให้สถาบันการศึกษาตกไปจากเส้นความสนใจ หรือไม่ก็ต้องปรับตัวอย่างรุนแรงมากเพื่อสนองตอบต่อคนรุ่นใหม่ นักศึกษาจำนวนไม่น้อยบอกว่าการเข้าไปคุยกันใน Clubhouse ให้อรรถรสยิ่งกว่าการนั่งหน้าจอเรียนออนไลน์ที่ออกจะน่าเบื่อทั้งคนเรียนและคนสอนในเวลาที่มหาวิทยาลัยยังไม่เปิดอย่างตอนนี้

ที่กระทบหนักๆ แน่ๆ ในเบื้องต้นคือ ตลาดการฝึกอบรมที่น่าจะซบเซาหรือถูกกวาดล้างไปแทบจะสิ้นเชิง หลังจากที่เผชิญปัญหาหนักอยู่แล้วจากการระบาดของโควิด-19 ที่ทำให้การรวมตัวในการอบรมและสัมมนาใหญ่ๆ ทำไม่ได้อีกต่อไป การฝึกอบรมที่เคยทำรายได้ให้กับสถาบันการศึกษาและธุรกิจฝึกอบรมต่างๆ จะมี Clubhouse เป็นคู่แข่งโดยตรงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

Clubhouse สามารถทำได้ไม่แตกต่างกับการอบรมในห้องเรียน แถมได้วิทยากรหรือกูรูชื่อดังมาพูดให้ฟังโดยไม่ต้องเชื้อเชิญ สามารถรองรับคนได้ครั้งละหลายพัน ที่สำคัญคือฟรี ในที่สุด Clubhouse ยังจะกลายไปทำหน้าที่แทนบริษัทที่ ปรึกษาอีกด้วย ลองนึกภาพห้องสนทนาที่รวมผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านต่างๆ มารวมกันเพื่อชี้แนวทางในการแก้ปัญหาต่างๆ ตั้งแต่ปัญหาการทำมาหากิน ปัญหาครอบครัว ปัญหาสุขภาพ ฯลฯ การฝึกอบรมที่จะยืนหยัดอยู่ได้จึงต้องเป็นการอบรมแบบเข้มข้นสามารถหวังผลสัมฤทธิ์ได้ทันทีคนจึงจะยอมเสีบเงินมาอบรม ถ้าจะให้มานั่งฟังวิทยากรพูดเฉยๆ ทุกคนก็สามารถหาได้จาก Clubhouse

การเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยต้องปรับตัวอย่างแรง ที่จริงถึงไม่มี Clubhouse ก็ต้องปรับกันหนักอยู่แล้ว การสอนเลคเชอร์แบบเดิมๆ ของอาจารย์จะไม่เป็นที่ศรัทธาของนักศึกษาอีกต่อไป หรือจะเชิญวิทยากรมาร่วมสอนในชั้นก็ไม่อาจเทียบความเข้มข้นได้กับหมู่กูรูชื่อก้องใน Clubhouse ที่เขาสามารถสร้างตัวตนหรือแฟนคลับได้ง่ายและกว้างขวางโดยไม่ต้องพึ่งมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยโดยเฉพาะด้านสังคมศาสตร์จะต้องปรับปรุงหลักสูตรให้สามารถลงมือทำจริงได้มากขึ้น วิชาประเภทท่องตำรามาสอบต้องเลิกเสียทีแล้วหันมาโฟกัสกับการลงมือทำ หลายๆ วิชาสามารถยุบรวมกันได้ จำนวนหน่วยกิตที่เรียนต้องลดลงแล้วหาเวทีจริงให้นักศึกษามากขึ้น ที่สำคัญการเรียนแบบวิชาเอกหรือที่เรียกกันว่าไซโลเป็นเรื่องล้าสมัยแล้ว นักศึกษากระหายที่จะเรียนรู้ในเรื่องที่ไม่มีให้เขาเรียนที่อื่น กระหายที่จะข้ามศาสตร์ไปหาสิ่งที่เขาอยากค้นหา โดยไม่ติดกับคณะหรือวิชาเอก

ธรรมศาสตร์คิดเรื่องนี้มาตลอด ปริญญาที่เรียกว่า “ธรรมศาสตรบัณฑิต” จะทำให้นักศึกษารอบรู้ ทำได้จริง ทำเป็น โดยไม่ต้องติดว่าเมเจอร์อะไร นักศึกษาควรได้ความคล่องตัวในการออกแบบหลักสูตรที่เขาเชื่อว่าตรงกับความถนัดและโอกาสที่จะออกไปเลี้ยงชีพเขาในอนาคต ไม่ใช่ถูกกำหนดมาจากระเบียบข้อบังคับในการเรียนของมหาวิทยาลัย

ไม่น่าเชื่อว่า Clubhouse จะพลิกโฉมมหาวิทยาลัยไทยได้รวดเร็วพอๆ กับโควิด-19 เลยทีเดียว


ขอบคุณที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/923949

กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมมือ สถานทูตแคนาดา และสภาหอการค้าประเทศแคนาดา จัดหาครูต่างชาติสอนในโรงเรียนประจำตำบล 300 แห่ง เพื่อพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของเด็กไทย เริ่มเดือนพฤษภาคมนี้

นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ ชี้แจงหลังประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ได้ทำข้อตกลงร่วมกับสถานทูตแคนาดา และสภาหอการค้าประเทศแคนาดา ในการจัดหาครูต่างชาติมาสอนในโรงเรียนดีประจำตำบล 300 แห่ง โดยเป็นระยะเวลาการดำเนินงาน 1 ปี คาดว่าจะเริ่มต้นในเดือน พ.ค.2564 นี้

เพื่อเป็นการเพิ่มทักษะภาษาอังกฤษของนักเรียน เชื่อว่าภายใน 3 - 5 ปี เด็กที่เรียนภาษากับเจ้าของภาษาโดยตรง จะสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้อย่างแน่นอน ในอนาคตจะมีครูต่างชาติมาสอนในโรงเรียนมากกว่า 300 แห่ง หรืออาจเพิ่มขึ้นเป็น 10,000 แห่งอีกด้วย

รมว.ศึกษาธิการ ชี้แจงต่อว่า สำหรับนโยบายของตนนั้นต้องการให้เกิดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษตั้งแต่เด็กปฐมวัย ด้วยภาษาคำศัพท์ง่ายๆ เพราะคิดว่าช่วงปฐมวัยเป็นวัยที่จะเรียนรู้เรื่องภาษาได้ดี โดยมีการผสมผสานกับแผนบูรณาการการศึกษากับโรงเรียนที่มีคุณภาพของชุมชน และโรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง ที่จะทำให้เด็กมีทักษะความพร้อมด้านภาษา เนื่องจากเด็กจะได้เรียนภาษากับครูต่างชาติโดยตรง

นอกจากนี้มีการหาแนวทางยกระดับภาษาอังกฤษให้กับครู เพราะไม่ว่าจะเป็นครูหรือผู้บริหารสถานศึกษา จะต้องมีทักษะภาษาอังกฤษที่เหมาะสม มีความรู้ความสามารถเพียงพอในการค้นหาข้อมูลเพื่อนำมาสอนเด็กได้ ซึ่งจะทำให้ความกว้างขวางในการค้นหาความรู้ของครูมากขึ้น


ที่มา: https://www.dailynews.co.th/education/827107


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top