Friday, 19 April 2024
EducationNewsAgencyforAll

รัฐบาลนิวซีแลนด์ได้ประกาศเปิดพรมแดนต้อนรับรับนักศึกษาต่างชาติ รุ่นที่ 2 อีกจำนวน 1,000 คน สำหรับผู้ที่กำลังศึกษาต่อระดับปริญญาตรีและปริญญาโทให้สามารถเดินกลับเข้าประเทศนิวซีแลนด์เพื่อไปศึกษาต่อจนสำเร็จ

การประกาศเปิดพรมแดนต้อนรับนักศึกษาต่างชาติของนิวซีแลนด์ครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 2 โดยเป็นการต่อยอดจากการประกาศครั้งแรกเมื่อเดือนตุลาคม 2563 ที่ผ่านมาที่ได้อนุญาตให้นักศึกษาต่างชาติกลุ่มแรกสำหรับผู้ที่กำลังศึกษาระดับปริญญาเอกและปริญญาโทจำนวน 250 คน สามารถเข้าสู่นิวซีแลนด์และศึกษาต่อได้ นับเป็นสัญญาณที่ดีและยังแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นและการให้ความสำคัญยิ่งของรัฐบาลนิวซีแลนด์ต่อการศึกษานานาชาติและยังคงต้อนรับนักเรียนต่างชาติอย่างต่อเนื่อง

นิวซีแลนด์เป็นประเทศที่มีระบบการศึกษาที่มีคุณภาพสูงเป็นที่ยอมรับจากนานาชาติติดอันดับต้นๆ ของโลก และได้รับการยอมรับด้านระบบการศึกษาที่เหมาะแก่การเรียนรู้ในโลกปัจจุบัน โดยได้รับการจัดอันดับเป็นที่ 1 ในการเตรียมความพร้อมนักเรียนสู่อนาคต จากประเทศที่พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก

จากการจัดอันดับของ Worldwide Educating for the Future Index 2019 โดย The Economist Intelligence Unit ทำให้นิวซีแลนด์เป็นหนึ่งในประเทศเป้าหมายปลายทางด้านการศึกษานานาชาติชั้นนำของโลกโดยในแต่ละปีมีนักเรียนนานาชาติกว่า 125,000 คนจากกว่า 100 ประเทศทั่วโลก รวมถึงนักเรียนไทยในปี 2019 มีนักเรียนไทยศึกษาอยู่ในนิวซีแลนด์กว่า 3,000 คน

สำหรับนักศึกษาต่างชาติที่มีสิทธิ์ใน 1,000 คน จะต้องเป็นผู้ที่ถือวีซ่าที่ถูกต้องสำหรับการศึกษาในปี 2020 และได้ศึกษาในนิวซีแลนด์ในปี 2019 หรือปี 2020 และจะกลับไปศึกษาต่อให้จบกับสถาบันการศึกษาเดิมของพวกเขาทั้งนี้นักศึกษาที่มีสิทธิ์จะได้รับการลงทะเบียนจากสถาบันระดับอุดมศึกษาหลายแห่งรวมถึงมหาวิทยาลัยโพลีเทคนิคสถาบันเทคโนโลยี

สถานศึกษาที่สอนด้วยภาษาเมารีและสถาบันการศึกษาเอกชนและจะสามารถเดินทางกลับไปนิวซีแลนด์ในช่วงเวลาที่สอดคล้องกับการจัดการสถานที่กักตัวที่ได้รับการดูแลภายใต้รัฐบาลนิวซีแลนด์อย่างเหมาะสมซึ่งสถาบันการศึกษาของนิวซีแลนด์จะเป็นผู้ระบุและเสนอชื่อนักศึกษาที่มีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์ โดยนักศึกษาไม่ต้องดำเนินการด้วยตนเองทั้งนี้ทุกคนที่เดินทางกลับเข้านิวซีแลนด์จะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านสุขภาพและความปลอดภัยของ COVID-19 รวมถึงการกักกันตัวเองและอยู่ในสถานที่กักตัวที่มีการจัดการอย่างดีเป็นเวลา 14 วัน

นิวซีแลนด์ได้รับการจัดอันดับให้เป็นประเทศที่รับมือสู้โควิดดีที่สุดในโลก จากการสำรวจจัดอันดับจาก 98 ประเทศทั่วโลก (ใช้ข้อมูลถึงวัน 9 มกราคม 2564) โดยสถาบันโลวีซึ่งเป็นสถาบันวิชาการอิสระที่ทำการศึกษาวิจัยด้านการเมือง ยุทธศาสตร์และเศรษฐกิจ ตั้งอยู่ในนครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย


ขอบคุณที่มา: ผู้หญิง - นิวซีแลนด์ เปิดพรมแดนรับนักเรียนต่างชาติ กลับเข้าประเทศรอบ 2 อีกราวพันคน (naewna.com)

SIBA หรือวิทยาลัยอาชีวศึกษาสันติราษฎร์ ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี จัดงานสัมมนาร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษาในหัวข้อ “การแนะแนวเส้นทางการศึกษาสายอาชีพ ในยุคดิจิตอลหลังโควิด-19”

ดร.เบญจมาภรณ์ คุณะรังษี ผู้อำนวยการ SIBA เปิดเผย จากการสำรวจอาชีพในอนาคตอีก 5 ปี ข้างหน้ามีอาชีพเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน และเป็นอาชีพยอดนิยมหลังจากการแพร่ระบาดของโควิดซึ่ง 8 อาชีพมาแรงคือ

1.) “Online Marketing นักการตลาดออนไลน์” ปัจจุบันเราใช้โทรศัพท์มือถือเช็คข้อมูลข่าวสารกันแทบทุกวินาที จะเห็นว่ามีโฆษณาที่ pop up ขึ้นมาตลอด นั้นคือ หน้าที่ของนักการตลาดออนไลน์เป็นผู้ออกแบบและผลิตโฆษณาเหล่านี้

2.) “Application Creator นักพัฒนาแอพพลิเคชั่น” เนื่องจากผู้คนในยุคข้อมูลข่าวสารต้องการเสพข้อมูลที่ดูง่าย เป็นระเบียบ สบายตา ช่วยอำนวยความสะดวกในด้านต่าง ๆ

3.) “Social Admin ผู้ดูแลโซเชียลมีเดีย” ไว้เป็นสื่อกลางระหว่างผู้บริโภคกับหน่วยงานหรือเจ้าของผลิตภัณฑ์หรือบริการและคอยดูแลให้พื้นที่โซเชียลมีเดียให้อยู่ในความเรียบร้อยและเหมาะสมกับผู้บริโภค

4.) “นักกูรูออนไลน์ หรือ Youtuber” ผู้ที่คอยแยกย่อย จัดระเบียบข้อมูล ให้คำวิเคราะห์ ให้คำแนะนำ ชี้ทางให้กับมือใหม่ ในเรื่องต่าง ๆ

5.) “ผู้ดูแลเครือข่ายระบบคอมพิวเตอร์ หรือ Programmer” เป็นอาชีพที่คอยสนับสนุนทุกอาชีพที่เกี่ยวข้องกับระบบออนไลน์ ทุกรูปแบบบริษัทใหญ่ ๆ ที่มีการบริหารข้อมูลในลักษณะของ Big Data ที่ต้องใช้การวิเคราะห์ความเป็นไปของกิจการ

6.) “เจ้าของธุรกิจ Start Up” วัยรุ่นหลายคนมีฝันอยากประสบความสำเร็จตั้งแต่อายุยังน้อย ต่างก็ตบเท้าเข้ามาลองเชิงทำธุรกิจ Start Up ใครมีไอเดียดี ๆ อย่าเก็บเอาไว้ ลองเอามันออกมาสร้างฝันให้เป็นจริงได้

7.) “นักบัญชีที่เชี่ยวชาญเรื่องภาษีอากร” มีหน้าที่ให้คำปรึกษากับองค์กรด้านบัญชีและด้านภาษีอากรต่าง ๆ ลดความเสี่ยงทางภาษี

8.) “เชฟ” อาชีพนี้มีรายได้สูง ไม่ว่าจะเป็นการเปิดร้านอาหารออนไลน์ไม่ต้องมีหน้าร้านร่วมกับ applications อย่าง Food Panda /Lineman / Grab เป็นธุรกิจที่ทำเงินในขณะนี้

นายณรงค์ แผ้วพลสง ที่ปรึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เปิดเผยว่า “หากมองในเส้นทางการศึกษาสายอาชีพ ยังมีความสนใจในด้านนี้น้อย ซึ่งเกิดจากองค์ประกอบ หรือสาเหตุหลายประการ อาทิ ผู้ปกครองหรือนักเรียน นักศึกษาอาจจะมุ่งไปในเรื่องการเรียนในมหาวิทยาลัยเลยมองข้ามในเรื่องของสายอาชีพไป

แต่ปัจจุบันวันที่โลกได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ทำให้ผู้ปกครอง และเด็กได้สนใจการศึกษาสายอาชีพกันมากขึ้น เพราะอย่างน้อยการมีความรู้ทางด้านอาชีพผู้เรียนสามารถนำความรู้ไประกอบอาชีพได้จริง” ต้องยอมรับว่าทุกวันนี้เกิดวิกฤตของสังคมหลายเรื่อง ทำให้เราเห็นภาวะของคนตกงาน คนเจ็บป่วย ทั้งแง่บวกและแง่ลบ

แต่เมื่อหันกลับมามองเรื่องของมิติการศึกษาแล้วในด้านอาชีพนั้น ถือว่ามีความสำคัญต่อสังคม ประเทศชาติเป็นอย่างมาก จะเห็นภาพที่เกิดขึ้นว่ามีลูกหลานเราหลายคนที่จบการศึกษา แต่ก็ยังหางานทำไม่ได้ ขณะที่ลูกหลานเราที่มีงานทำอยู่แล้วก็กลายเป็นคนตกงาน แต่มีกลุ่มงานหนึ่งที่มีระดับทักษะฝีมือนั้นยังคงมีงานทำ แม้ว่าจะเจอวิกฤตอย่างไร ทั้งนี้การพัฒนาประเทศสู่ความเป็นสากล จำเป็นต้องอาศัยกำลังแรงงานในระดับทักษะฝีมือ หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า ”สายอาชีพ” ซึ่งยังขาดแรงงานอยู่มาก

สำหรับท่านที่สนใจหลักสูตรของ SIBA สามารถดูรายละเอียดได้ที่ www.siba.ac.th หรือโทร.0 - 2939 - 3000


ขอบคุณที่มา: บ้านเมือง - SIBA แนะเส้นทางการศึกษาสายอาชีพ เรียนได้เงิน จบได้งาน (banmuang.co.th)

คติประจำใจจาก "Santosh Kalwar" กวีและนักเขียนชาวเนปาล

“It does not matter where you go and what you study, what matters most is what you share with yourself and the world.”

“เป้าหมายหรือสิ่งที่คุณศึกษาไม่สำคัญเท่ากับว่าคุณได้แบ่งปันอะไรให้ตัวเองและโลกใบนี้บ้าง”

Santosh Kalwar กวีและนักเขียนชาวเนปาล

ทรรศนะจาก Derek Hopper อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์ (Applied Linguistics จาก University of Oxford) : “ครูไม่ควรคิดว่าเป็นหน้าที่ของเด็กที่จะต้องมีสมาธิ ตั้งใจฟัง มันเป็นหน้าที่ของครูต่างหาก ที่จะต้องทำให้การสอนและบรรยากาศการเรียนน่าดึงดูด”

เมื่อปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา Edsy (สตาร์ทอัพด้านการศึกษาที่ต้องการให้นักเรียนไทยส่วนใหญ่ในประเทศสามารถเข้าถึงการเรียนภาษาอังกฤษที่มีคุณภาพ) ได้จัด Virtual Orientation & Training เป็นครั้งแรกสำหรับติวเตอร์ “คนไทยรุ่นใหม่” กว่า 80 คนของเราซึ่งมาจากสถาบันชั้นนำทั้งในและนอกประเทศ

ในวันที่สองของงาน เราได้จัด Panel เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาของ Edsy ได้แก่อาจารย์ Derek Hopper จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Applied Linguistics from Oxford University) และครูหญิง (KruYing English, Master of Education from Teachers College at Columbia University) ได้แชร์มุมมองและประสบการณ์ในหัวข้อ “What Makes a Great Teacher?”

สำหรับบทความตอนที่ 2 นี้ ผมอยากจะแชร์มุมมองของอาจารย์ Derek และครูหญิงเพิ่มเติม เริ่มต้นด้วยคำถามที่ว่า “What are the qualities that make ones good or bad teachers?” (คุณครูที่ดีและไม่ดี มีลักษณะแตกต่างกันอย่างไร)

สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับอาจารย์ Derek คือ การเตรียมการเรียนการสอน ซึ่งระยะเวลาที่ต้องใช้ในการเตรียมการสอนอาจจะแตกต่างไปตามรูปแบบ (การเรียนตัวต่อตัว การเรียนกลุ่มเล็ก หรือเล็คเชอร์กลุ่มใหญ่) เวลาในการสอน เนื้อหาและสื่อการสอน

อย่างไรก็ตาม แม้กระทั่งการเตรียมการสอนเพียง 10-15 นาทีก็สามารถสร้างความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด และนั่นคือสิ่งสำคัญที่สุดในการเป็นครูที่ดีที่หลายคนมองข้าม นอกจากนี้ การบริหารจัดการคลาสก็เป็นเรื่องสำคัญ ครูที่ดีต้องเป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องความตรงต่อเวลา ต้องทำความเข้าใจนักเรียนอย่างลึกซึ้งและทุ่มเทกับการสอนอย่างแท้จริง

“So, be organized! Prepare for class. Be on time. And be dedicated to teaching, know your learners.”

ดังนั้น ครูที่ไม่ดีหรือควรปรับปรุงสำหรับอาจารย์ Derek หลักๆ แล้วก็คือผู้ที่ “ไม่ organized” หรือเตรียมการสอนและบริหารจัดการการเรียนการสอนไม่ดีนั่นเอง

คำถามที่ยากกว่าคือ เราจะแบ่งระหว่างครูที่ดีและครูที่ดีเยี่ยมหรือดีสุดยอดอย่างไร? “How to separate ‘great’ from ‘good’ teachers?”

ครูหญิงมองว่าครูที่ดีสุดยอด คือครูที่ทำตัวเป็นนักเรียน ในเชิงการเป็นผู้ที่ไม่หยุดเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ไม่เพียงทำหน้าที่เป็นครูผู้ถ่ายทอดความรู้ แต่ยังมีความตั้งใจที่จะเรียนรู้จากเด็ก เพื่อนำไปพัฒนาทั้งตนเองและวิธีการสอนของตนต่อไป ดังนั้น ครูผู้ไม่หยุดเรียนรู้ก็จะสามารถพัฒนาได้ขึ้นเรื่อย ๆ เข้าใจเด็กได้มากขึ้นเรื่อย ๆ และสอนได้ดีขึ้นเรื่อย ๆ ที่สำคัญคือต้องกล้าที่จะยอมรับเมื่อผิดและเรียนรู้จากมัน

อาจารย์ Derek ให้มุมมองที่น่าสนใจว่า ครูไม่ควรคิดว่าเป็นหน้าที่ของเด็กที่จะต้องมีสมาธิ ตั้งใจฟังในห้องเรียน นั่นเป็นความเข้าใจที่คุณครูหลายคนมี แต่ในความเห็นของอาจารย์ Derek มันเป็นหน้าที่ของครูที่ดีจริงๆ ต่างหาก ที่จะต้องทำให้การสอนของตนและบรรยากาศในห้องเรียนมีความดึงดูดพอที่จะทำให้นักเรียนสนใจและตั้งใจ

“It is sometimes mistaken that it’s the students’ job to pay attention in class. However, it is actually the teachers’ job to get learners’ attention to focus on what the teacher is saying.”

ในคำถามสุดท้ายก่อนปิดสัมมนาหัวข้อ What Makes a Great Teacher เราขอให้อาจารย์ Derek และครูหญิงแชร์เทคนิค วิธีการพัฒนาและปรับปรุงการสอนให้ดีขึ้นอย่างเห็นผลทันที "If there’s one thing anyone can do to dramatically improve his / her teaching, what would that be?"

ครูหญิงกล่าวว่า สิ่งที่ผู้ที่อยากจะเป็นครูที่ดีทำได้คือ การเชื่อในตัวนักเรียน เชื่อในความสามารถของเขา แสดงให้นักเรียนเห็นถึงความเชื่อมั่นและกำลังใจที่เรามีให้อย่างแท้จริง ดังนั้น ครูต้องเป็นผู้ฟังที่ดีเพื่อที่จะสามารถช่วยหาทางให้เขาเติบโตขึ้น (“grow up as a person”) ได้อย่างงดงาม

อาจารย์ Derek ฝากไว้ว่า สุดท้ายแล้ว สิ่งที่ครูเก่ง ๆ แตกต่างจากครูคนอื่น ๆ คือความสามารถในการทำเรื่องยากให้กลายเป็นเรื่องง่าย ดังนั้น ถ้าอยากจะพัฒนาเป็นครูที่ดี (หรือดีขึ้น) ให้ตั้งใจคิด ทบทวนว่ามีวิธีไหนที่จะอธิบายเนื้อหายากๆ ในรูปแบบที่เข้าใจง่ายที่สุด เช่น ถ้าหนังสือเรียนมีตัวหนังสือหรือคำอธิบายที่ค่อนข้างเยอะและซ้ำซ้อน จะมีสิ่งใดบ้างที่คุณสามารถสรุป รวบยอดให้นักเรียน หรือกระทั่งตัดมันไปหากไม่เกิดประโยชน์

...หลังจากจบ Virtual Orientation & Training ครั้งแรกสำหรับติวเตอร์ “คนไทยรุ่นใหม่สำเนียงคล้ายเจ้าของภาษา” ของเรา…Edsy มีความมั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่าติวเตอร์ของเราจะสามารถทำให้คลาสภาษาอังกฤษของน้องๆ นักเรียนประถม - มัธยมต้น จะเต็มไปด้วยความสนุกสนานและไม่จำเจอีกต่อไป ได้ทั้งความรู้เพื่อปรับพื้นฐานคำศัพท์ - ไวยากรณ์ให้มั่นคง และได้โอกาสในการนำไปต่อยอด ฝึกฝนเพื่อพัฒนาทักษะพูด ฟัง อ่าน เขียน ให้ใช้ภาษาได้อย่างแท้จริง...

ฟังคลิปวิดีโอเต็ม “What Makes a Great Teacher” โดยอาจารย์ Derek Hopper และครูหญิง KruYing English ได้ที่ Facebook @edsythailand


เขียนโดย พริษฐ์ เที่ยงธรรม ผู้ร่วมก่อตั้งสตาร์ทอัพด้านการศึกษา Edsy

Line ID: @edsy.th

การศึกษาเป็น 1 ในอุตสาหกรรมหลักของสิงคโปร์ที่มีแนวโน้มดีที่สุด เพราะเป็นประเทศที่มีความเป็นอินเตอร์สูง และมีความเอเชียอยู่ในตัว บวกกับมีการเรียนการสอนที่เป็นระเบียบ คนไทยและประเทศเพื่อนบ้านจึงนิยมไปเรียนที่นั่น

สิงคโปร์เป็นหนึ่งในประเทศแทบเอเชียที่ประสบความสำเร็จกับการเปลี่ยนตัวเอง จากประเทศด้อยพัฒนาไปสู่เศรษฐกิจอุตสาหกรรมสมัยใหม่ โดยระหว่างปฏิวัติอุตสาหกรรม สิงคโปร์ก็ไม่ได้ทิ้งระบบการศึกษาของประเทศไว้ข้างหลัง พยายามพัฒนาการศึกษาไปพร้อม ๆ กัน

ข้อมูลด้านการศึกษาที่น่าสนใจของสิงคโปร์สำหรับนักเรียนไทย ดังนี้

หนึ่งในอุตสาหกรรมทำเงินของประเทศ

ปัจจุบันระบบการศึกษาของสิงคโปร์ถือว่าดีระดับโลก ทั้งในระดับมัธยมและมหาวิทยาลัย พอ ๆ กับเกาหลีใต้ ไต้หวัน ญี่ปุ่น เซี่ยงไฮ้ ฮ่องกง และฟินแลนด์ มหาวิทยาลัย 3 แห่งของสิงคโปร์อยู่ใน 500 อันดับ จากการจัดอันดับมหาลัยระดับโลกของ QS World University Rankings ประจำปี 2019 โดยอันดับสูงสุดคือ National University of Singapore (NUS) อยู่ในอันดับที่ 11 ถัดไปคือ Nanyang Technological University (NTU) อยู่ในอันดับที่ 12 และ Singapore Management University (SMU) อยู่ในอันดับที่ 500

นอกจากนั้น สิงค์โปรเป็นประเทศที่มีความเป็นอินเตอร์สูง เพราะประชากรในประเทศใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลาง มีระบบการเรียนการสอนที่เป็นระเบียบ เน้นการลงมือทำ ทั้งยังผสานความรู้และสไตล์การสอนของตะวันออกและตะวันตกเข้าด้วยกัน รวมถึงมีหลักสูตรให้เลือกเรียนหลากหลาย ทั้งภาคภาษาอังกฤษ และภาษาจีน

ด้วยเหตุนี้สิงคโปร์จึงเป็นจุดหมายปลายทางสำหรับนักศึกษาต่างชาติประมาณ 50,000 คนจากทั่วโลก (ตัวเลขล่าสุด 15 ก.พ. 2021 จากเว็บไซต์ The International Trade Administration, U.S. Department of Commerce) ส่วนใหญ่มาจากมาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย เวียดนาม จีน อินเดีย และเกาหลีใต้ ที่มีอายุระหว่าง 13 - 23 ปี ทำให้การศึกษาเป็น 1 ในอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มดีที่สุดสำหรับประเทศนี้

ทำไมคนไทยชอบไปเรียนสิงคโปร์

สิงคโปร์เป็นประเทศทีมีมาตรฐานการศึกษาสูง ใช้ภาษาอังกฤษและอยู่ใกล้ไทยมากที่สุด ซึ่งคำว่า “ใกลบ้าน” เป็นเหตุผลสำคัญอันดับต้น ๆ ที่ผู้ปกครองไทยใช้ประกอบการตัดสินใจ เพราะเอื้อให้ไปหาบุตรหลานได้สะดวก ไม่ต้องขอวีซ่าเข้าประเทศ และอยู่ในสิงคโปร์ได้ 30 วัน

เด็กไทยที่ไปเรียนสิงคโปร์ส่วนใหญ่จะไปเรียนภาษาอังกฤษและภาษาจีนช่วงซัมเมอร์ รวมถึงเรียนระดับมัธยม และปริญญาตรี ตามลำดับ

ถึงแม้ว่าค่าครองชีพในสิงคโปร์แทบจะสูงที่สุดในเอเชีย แต่ยังถูกกว่าไปเรียนในประเทศแทบตะวันตกมาก ยกตัวอย่าง ค่าเรียนภาษาอังกฤษช่วงซัมเมอร์ระยะเวลา 4 สัปดาห์ เริ่มที่ประมาณ 37,500 บาท ค่าเรียนภาษาจีนช่วงซัมเมอร์ระยะเวลา 4 สัปดาห์ เริ่มที่ประมาณ 52,500 บาท

ค่าเรียน ม.1 หากเป็นโรงเรียนรัฐบาล ค่าเรียนประมาณ 210,000 - 220,000 บาทต่อปี หากเป็นโรงเรียนเอกชนค่าเรียนอยู่ระหว่าง 400,000 - 500,000 บาทต่อปี

ส่วนค่าเรียนปริญญาตรีขึ้นอยู่กับสาขาวิชาที่เลือก ยกตัวอย่างคณะศิลปศาสตร์และสังคมศาสตร์ รวมแล้วประมาณ 320,000 บาทต่อปี และระดับปริญญาโท ประมาณ 450,000 บาทต่อปี

โควิด-19 ทำลายฝันไปเรียนนอก?

โควิด -19 ขัดขวางการเดินทางระหว่างประเทศ ทำให้นักเรียน-นักศึกษาจำนวนหลายคนที่สนใจไปเรียนที่สิงค์โปร์ตั้งแต่ก่อนโควิด-19 ระบาดต้องเลื่อนแผนออกไปก่อน อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ตอนนี้เริ่มคลี่คลายและมีแนวโน้มว่าจะดีขึ้นเรื่อย ๆ หลังจากประเทศต่าง ๆ เริ่มฉีดวัคซีนให้ประชาชน

ซึ่งรัฐบาลสิงคโปร์ได้ผ่อนปรนมาตรการเข้าประเทศสำหรับผู้ที่ถือวีซ่านักเรียน แต่อาจมีขั้นตอนขั้นตอนเพิ่มเติมมากขึ้น เช่น การคัดกรองโควิด-19'
“เฉลิมศักดิ์ อธิปัญญาสฤษดิ์” ที่ปรึกษาการเรียนต่อประเทศสิงคโปร์ เรียนสิงคโปร์ดอทคอม ศูนย์แนะแนวศึกษาต่อสิงคโปร์ กล่าวว่า จำนวนนักเรียน-นักศึกษาไทยที่เดินทางไปสิงคโปร์ทั้งแบบไปเองและผ่านเอเย่นซี่ต่าง ๆ ช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 มีประมาณปีละ 1 พันคน แต่ในปี 2563 มีเด็กที่มาขอคำปรึกษาน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด นักเรียนบางส่วนที่มีแผนจะไปเมื่อปี 2563 ก็เลื่อน และบางส่วนเรียนออนไลน์ไปก่อน พอสถานการณ์คลี่คลายถึงจะไป

“ตอนนี้สิงคโปร์เปิดอนุญาตให้นักเรียนไทย รวมถึงนักเรียนต่างชาติ ยื่นขอวีซ่านักเรียนเพื่อเข้าไปเรียนในสิงคโปร์ได้แล้ว โดยเพิ่งมาผ่อนปรนให้นักเรียนต่างชาติขอวีซ่าเข้าไปเรียนได้ตอนช่วงครึ่งหลังของปี 2563 แต่เป็นในลักษณะค่อย ๆ เพิ่มโควตา”

การขอวีซ่านักเรียนเพิ่มเงื่อนไขมากขึ้น เช่น พอผ่านขั้นตอนได้วีซ่าแล้ว ก่อนเดินทางเข้าสิงคโปร์ต้องตรวจโควิด-19 กับโรงพยาบาลในไทย และใบรับรองว่าไม่มีเชื้อโควิด-19 ต้องมีอายุไม่เกิน 72 ชั่วโมงก่อนแสดงที่ด่านที่สนามบินในสิงคโปร์

จากนั้นตอนผ่านด่านแล้วทางสิงคโปร์จะตรวจเชื้ออีกรอบหนึ่ง แล้วเข้าสู่กระบวนการกักตัว 14 วัน ในที่พักที่ทางรัฐบาลสิงคโปร์จัดไว้ และเรียกเก็บเงินประมาณ 2,200 เหรียญสิงคโปร์ต่อคน (ประมาณ 5.5 หมื่นบาท) เพื่อเป็นค่าที่พัก + ค่าอาหาร + ค่า swab ตรวจโควิดอีก 2 ครั้งระหว่างถูกกักตัว และตรวจอีกรอบก่อนปล่อยตัวไปใช้ชีวิตในประเทศ

รัฐบาลสิงคโปร์ยังไม่ได้มีมาตรการจูงใจให้นักเรียนต่างชาติกลับมามากนัก เพราะอยากให้สถานการณ์โควิด-19 ดีขึ้นก่อน จึงให้ความสำคัญกับเรื่องฉีดวัคซีนภายในประเทศมากกว่า ดังนั้น ถ้านักเรียน - นักศึกษาคนไหนต้องการไปเรียนในปีนี้ สถาบันการศึกษาในสิงคโปร์แนะนำให้ซื้อประกันเพื่อคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลกรณีติดโควิด-19 มีราคาตั้งแต่ 12-54 เหรียญสิงคโปร์ (ประมาณ 280 - 1,200 บาท)


ขอบคุณที่มา: https://www.prachachat.net/education/news-621745

ช่วงที่เด็กตัดสินใจว่าเค้ามีค่าหรือไม่มีค่า คือช่วงก่อนเข้าวัย 3 ขวบ อะไรคือความหมายของคำว่า Self-esteem แนะวิธีการเสริมสร้าง Self-esteem ให้ลูก

ในทฤษฎีของ Erikson บิดาแห่งทฤษฎีจิตสังคม กล่าวว่าช่วง 2 - 3 ขวบ คือช่วงที่เด็กเรียนรู้ที่จะเป็นตัวของตัวเองหรือสงสัยไม่แน่ใจตนเอง (Autonomous vs Shame and Doubt) เป็นช่วงเวลาสำคัญว่าเค้าจะเลือกเป็นคนมีค่าหรือไม่มีค่า คู่ควรหรือไม่คู่ควรต่อสิ่งดี หากเด็กถูกปล่อยผ่านช่วงเวลาแห่งการเล็งเห็นคุณค่าในตนเองไปแล้ว การจะกลับมาสร้างคุณค่าให้เค้าใหม่ยังพอทำได้ แต่จะใช้เวลาถึง 3 ปี ในขณะที่การสร้างในช่วงก่อนวัย 3 ขวบ ใช้เวลาเพียง 3 - 5 เดือน

Self-esteem สำคัญอย่างไร อะไรคือความหมายของคำว่า Self-esteem

ลองสังเกตกับตัวเราเองดูค่ะ คุณเคยมีช่วงเวลาที่คุณคิดกับตัวเองว่าคุณไม่น่าจะทำสิ่งนี้ได้ คุณไม่น่าจะมีความสามารถพอ จึงเลือกที่จะไม่ทำมันดีกว่า ซึ่งสิ่งที่คุณอยากจะลงมือทำแต่เลือกจะไม่ทำนั้นยังไม่ทันได้เกิดขึ้น และคุณก็อาจจะทำได้หรือทำไม่ได้ก็ได้ และก็ยังไม่ได้ลอง อาการนี้ หากเกิดขึ้นกับเรื่องที่ยากมากจริง ๆ ถือเป็นเรื่องปกติ แต่หากเราไปตัดสินตัวเองกับเรื่องที่พอมีโอกาสจะสำเร็จ เป็นไปได้อยู่ว่าไม่น่าจะทำได้ ไม่ทำดีกว่า และสงสัยตัวเองแบบนี้อยู่บ่อย ๆ อาจเข้าข่ายขาด Self-esteem ได้

คุณพ่อคุณแม่ลองคิดดูว่า ถ้าเราสงสัยในตัวเองตั้งแต่เด็ก คิดว่าตัวเองไม่มีความสามารถพอ คิดว่าตัวเองไม่คู่ควรกับสิ่งดี เค้าจะไม่กล้าทดลองทำอะไรใหม่ ๆ ทำให้ไม่รู้ว่าตัวเองชอบอะไร เก่งอะไร อยากพัฒนาตัวเองด้านไหน และจะแสดงออกชัดเจนเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น ช่วงวัยรุ่น เด็กจะรู้สึกไม่มีตัวตน แล้วเอาคุณค่าไปฝากไว้ที่ เพื่อน สิ่งของ หรือคำตัดสินของคนอื่น และอาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้ ฉะนั้น คุณพ่อคุณแม่อย่ารอช้า มาเริ่มสร้าง Self-esteem ให้ลูกรักของเรากันเลยค่ะ

วิธีการเสริมสร้าง Self-esteem ให้ลูก

เด็กวัยก่อน 3 ขวบ จะเรียนรู้ถูกผิดจากการชมและการทำโทษ คุณพ่อคุณแม่สามารถสะท้อนหรือตอบสนองต่อความสำเร็จเล็ก ๆ น้อย ๆ ของลูกได้โดยการกล่าวคำชม ทำท่าดีใจสีหน้าพอใจเมื่อลูกทำดีได้ หรือหากลูกกำลังทำผิด เตือนเค้าได้ หรือถ้าเป็นการเล่นที่ปลอดภัย ปล่อยให้เค้าลองเรียนรู้จนเค้าค้นพบไปเองว่ามันไม่ดี

อยากให้คุณพ่อคุณแม่เน้นที่การชื่นชมมากกว่าการห้ามปราม เพราะลูกเราจะเชื่อในสิ่งที่พ่อแม่คิดกับเค้า พ่อแม่คิดกับลูกอย่างไร ลูกจะเป็นอย่างนั้น คำพูดและการกระทำของพ่อแม่สะท้อนมาจากความเชื่อที่พ่อแม่มีต่อลูก หากเราอยากสร้าง self-esteem ให้ลูก เราก็ควรเชื่อมั่นในตัวลูก พูดให้กำลังใจชื่นชมลูก คำพูดและการกระทำของพ่อแม่ที่มีต่อลูกนั้นสำคัญที่สุด

อีกเครื่องมือหนึ่งที่จะเสริมสร้าง Self-esteem ให้ลูกได้ คือการให้ลูกหัดตั้งเป้าหมาย วันนี้จะทำอะไร และจะทำให้เสร็จตอนไหน ให้เด็กมีส่วนร่วมในการตั้งเป้าด้วย ส่วนเราเคยสนับสนุนให้เค้าทำจนสำเร็จ การให้ลูกมีส่วนร่วมในการตั้งเป้าลูกจะได้ฝึก Self-control ฝึกความมีวินัยในตนเอง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของความสำเร็จ เด็กจะได้ฝึกและเรียนรู้ว่า แม้เค้าจะไม่อยากทำแต่เพื่อไปถึงเป้าหมายเค้าต้องบังคับตัวเองให้ลงมือทำได้ด้วยตัวของเค้าเอง โดยไม่ต้องให้ใครมาบอก

เป็นกำลังใจให้คุณพ่อคุณแม่และลูกทุกคนค่ะ


สามารถย้อนไปฟังการ LIVE หัวข้อที่น่าสนใจเหล่านี้เพิ่มเติมได้ที่ เพจดีต่อลูก

หัวข้อ อยากให้ลูกมีชีวิตที่มั่นคง พ่อแม่ต้องสร้างให้ลูกมี Soft Skills กับครูพี่หญิงฝาย โรงเรียนคู่ขนาน

Link https://www.facebook.com/299800753872915/videos/3651437871537025

เขียนและเรียบเรียงเรื่องโดย: พิมพ์นารา สุวรรณไตรย์ 

คติประจำใจจาก Nelson Mandela (อดีตประธานาธิบดีผู้ยิ่งใหญ่ของแอฟริกาใต้)

“Education is the most powerful weapon which you can use to change the world.”

"การศึกษาเป็นอาวุธที่ทรงพลังที่สุด ที่เราจะนำมาใช้ในการเปลี่ยนแปลงโลก"

Nelson Mandela (อดีตประธานาธิบดีผู้ยิ่งใหญ่ของแอฟริกาใต้)

สถิติการคัดเลือก TCAS64 รอบที่ 1 แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)

ผู้สมัคร 151,609 คน
ผู้ผ่านการคัดเลือก 101,097 คน

ผู้ยืนยันสิทธิ์ 77,990 คน
ผู้ไม่ใช้สิทธิ์ 17,847 คน (ไม่ดำเนินการใด ๆ) + 5,260 คน (กดไม่ใช้สิทธิ์) รวม 23,107 คน
ผู้สละสิทธิ์ 1,574 คน

ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาทั้งหมด 76,416 คน

ที่มา: https://www.facebook.com/567180110004511/posts/3683861175003040/?sfnsn=mo

ปิดเทอมนี้ Around The Green Junior Golf Camp ชวนพ่อแม่เสริมทักษะลูก ด้วยการพาลูกอายุช่วง 8 - 12 ปี ที่สนใจอยากเริ่มเล่นกอล์ฟหรือมีทักษะอยู่แล้ว มาเข้าร่วมกิจกรรม

โดยแคมป์นี้เน้นการสอนและแบ่งปันให้กับน้อง ๆ ที่อยากเรียนรู้ว่าจะเล่นกอล์ฟอย่างไรให้สนุก พร้อมทั้งมีสุขภาพกายและใจดีได้อย่างไร โดยโปรกอล์ฟ 2 ท่าน ที่ทำทั้ง 2 อาชีพคือ นักบินและโปรกอล์ฟ

ชวนเด็ก ๆ มาใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ โดยเน้นสร้างพื้นฐานที่ถูกต้องผ่านกิจกรรมสนุก ๆ ไม่ต้องห่วงเพราะมีโปรกอล์ฟอาชีพดูแลอย่างใกล้ชิด

ยังไม่หมด! นอกจากกอล์ฟแล้ว ยังมีโค้ชผู้เชี่ยวชาญด้านการออกกำลังกายมาเสริมทักษะการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับกีฬากอล์ฟให้กับน้อง ๆ อีกด้วย

กิจกรรมจะจัดขึ้น 2 รอบ โดยสามารถเลือกรอบใดรอบหนึ่งหรือทั้ง 2 รอบก็ได้

✅รอบที่ 1 วันที่ 15 - 19 มี.ค.64

✅รอบที่ 2 วันที่ 26 - 30 เม.ย.64


สนใจเข้าแคมป์ สอบถามรายละเอียดได้ทางไลน์

https://lin.ee/np2EGnj

หรือโทร 081 - 8308100 (โปรเดช)

086 - 9071843 (โปรยู)

อย่ารอช้า! วันศุกร์นี้มีคอร์สออนไลน์เรียนฟรีจาก Chula MOOC เปิดให้ลงทะเบียน กับคอร์ส ‘หลักการพื้นฐานทางกฎหมายทั่วไป’ สอนโดยอาจารย์จากคณะนิติศาสตร์ มีใบประกาศมอบให้ด้วย!!

เนื้อหาที่จะได้เรียน

บทที่ 1 : ความสัมพันธ์ระหว่างสังคมและกฎเกณฑ์ความประพฤติ

บทที่ 2 : ความหมายและลักษณะของกฎหมาย

บทที่ 3 : ที่มาของกฎหมาย

บทที่ 4 : ศักดิ์ของกฎหมาย

บทที่ 5 : ขอบเขตการใช้กฎหมาย

บทที่ 6 : การตีความและการอุดช่องว่างของกฎหมาย

บทที่ 7 : ประเภทของกฎหมาย

กำหนดการของคอร์ส

- เริ่มลงทะเบียนวันศุกร์ที่ 5 มีนาคม 2564 (เวลา 9.00 น.)

- เริ่มเรียนได้วันที่ 6 มีนาคม 2564

- สิ้นสุดการเรียน 30 เมษายน 2564

ข้อควรรู้เกี่ยวกับคอร์สนี้

- สอนโดย รศ.มานิตย์ จุมปา จากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

- คอร์สนี้สามารถสมัครได้เรียนทุกคน ทั้งนิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไป (จำกัดจำนวน 5,000 คน)

โปรดอ่าน! คำแนะนำการใช้งานจาก Chula MOOC

- เริ่มเข้าเรียนได้ในวันเสาร์ที่ 6 มีนาคม 2564

- สำหรับการเข้าเรียน ให้กดที่ลิงก์รายวิชาด้านล่างและกดที่ปุ่ม "เข้าเรียน"

- ระบบจะเปิดให้เข้าเรียนตอน 6.00 น. เป็นต้นไป แต่ผู้เรียนจะเข้าเรียนเวลาใดก็ได้ โดยจะมีสื่อพร้อมให้เรียนได้เลย

- ลงทะเบียนรายวิชาสำเร็จจะปรากฎคำว่า Enrollment Completed หากไม่มีจะถือว่าลงทะเบียนไม่สำเร็จ โปรดลงทะเบียนใหม่อีกครั้ง

- อ่านวิธีการใช้งาน Website และ วิธีการลงทะเบียน https://mooc.chula.ac.th/how-to

- สำหรับผู้ที่ลงทะเบียนเป็นครั้งแรก โปรดตรวจสอบชื่อนามสกุลให้ถูกต้อง เนื่องจากข้อมูลจะปรากฎบนใบ Certificate เมื่อเรียนจบ

- ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป จึงจะได้รับใบประกาศฯ หรือใบ certificate

ตามไปศึกษาความรู้เรื่องหลักการพื้นฐานทางกฎหมายทั่วไปได้ที่ >> https://mooc.chula.ac.th/courses/46

หากมีข้อสงสัยหรือพบปัญหาเกี่ยวกับการสมัคร สามารถสอบถามหรือแจ้งเรื่องได้ที่เพจ CHULA MOOC


ขอบคุณที่มา: https://www.facebook.com/OneMoreCoursebyDekD/photos/a.107506870745169/274776460684875/


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top