Friday, 4 April 2025
โดนัลด์ทรัมป์

เมื่อไบเดนพลาด ทรัมป์อาจพลิกกระดาน ใช้การทูตฟื้นสัมพันธ์ ลดแซงชั่นเนปิดอว์

เป็นที่ทราบกันมาพอสมควรถึงการที่ชาติตะวันตกให้การช่วยเหลือกองกำลังป้องกันตนเอง (PDF)​ และกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งหลายที่ต่อสู้กับกองทัพเมียนมาที่ผ่านมา ซึ่งในอดีตมีการส่งทั้งกำลังบำรุงและอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ซึ่งส่วนใหญ่มาจากฝั่งไทย

และสิ่งที่เกิดขึ้นมาก่อนที่จะมีการเลือกตั้งคือการทะลักของผู้อพยพไปยังประเทศรอบข้างเมียนมาไม่ว่าจะเป็นจีน อินเดียและไทย แต่ทว่าจีนกับอินเดียก็ใช้นโยบายผลักดันคนที่แห่หนีออกมาให้กลับประเทศซึ่งต่างจากไทยที่อ้าแขนรับแถมจะทำให้อยู่แบบถูกกฎหมายเสียด้วย

เอาเป็นว่าเอย่าขอไม่บ่นเรื่องนี้แต่มาเข้าเรื่องระหว่างอเมริกากับเมียนมาดีกว่า ในสมัยประธานาธิบดี โจ ไบเดน อเมริกาและชาติตะวันตกแสดงออกอย่างชัดเจนว่าสนับสนุนชนกลุ่มน้อยทั้งทางตรงหรือทางอ้อมก็ดี เราจะเห็นได้จากคลิปที่หลุดออกมาตามสื่อโซเชียลจนบางทีก็ต้องขอบคุณคนเหล่านั้นที่ถ่ายภาพเบื้องหลังให้ชมกัน แต่การสนับสนุนทั้งกลุ่มต่อต้านรัฐบาลก็ดี ชนกลุ่มน้อยก็ดีเป็นการผลักดันให้กองทัพเมียนมาหันหน้าหาจีนและรัสเซียมากขึ้น ยิ่งจีนและอินเดียเป็นพันธมิตรแนบแน่นกับรัสเซียด้วยแล้วทำให้เส้นทางตะวันตกจากจีนสู่อินเดียหากสงครามในเมียนมาสงบลงดินแดนฝั่งนี้แทบจะเป็นของกลุ่มโลกใหม่ทั้งแถบ

ซึ่งคิดว่านี่เป็นเกมส์ที่ไบเดนก้าวพลาดมาก แต่ทรัมป์ก็น่าจะมองเห็น หากทรัมป์ยังให้การสนับสนุนสงครามต่อไป ไม่เพียงแต่เมียนมาจะยิ่งตอบโต้อย่างแข็งกร้าวกับสหรัฐมากขึ้น และถ้าวันหนึ่งเกิดเหตุการณ์สงครามโลกจริงละก็ ประเทศอย่างเมียนมาจะเป็นตัวสำคัญในการสนับสนุนด้านอาหารแก่ประเทศที่เป็นพันธมิตรเขา

เอย่ามองว่าทรัมป์น่าจะใช้วิธีทางการทูตเข้าหากองทัพเมียนมา ลดหรือเลิกการแซงชั่นอันจะส่งผลให้ความสัมพันธ์ทางการทูตของ 2 ประเทศดีขึ้นด้วยเช่นกัน

เรื่องเหล่านี้อาจจะลุกลามไปถึงการเลิกสนับสนุนกลุ่มต่อต้านหรือพลิกขั้วขายกลุ่มต่อต้านให้รัฐบาลเมียนมานั้นไหมก็ไม่อาจจะทราบได้คงต้องดูต่อไป แต่ที่สำคัญคือจะเหลือทางไหนที่จะให้สหรัฐเดินเพื่อรักษาเสถียรภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้มากกว่า

งานนี้ดูว่าจะมีความเป็นไปได้โดยเฉพาะการที่ทรัมป์แสดงออกในการไม่แยแสคนต่างด้าวในประเทศตนเองพร้อมไล่ออกจากสหรัฐนี่ก็เป็นการแสดงออกว่าจากนี้กลุ่มต่อต้านรัฐบาลเมียนมาคงไม่ได้อยู่สุขสบายเหมือนในอดีตอีกต่อไปแน่นอน

‘เซเลนสกี’ มั่นใจ!! ‘ทรัมป์’ เชื่อสงครามยุติเร็วขึ้น หลังหวนนั่งเก้าอี้!! ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา

(17 พ.ย. 67) ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ผู้นำยูเครน ระบุมั่นใจว่าสงครามกับรัสเซียจะยุติเร็วขึ้นเมื่อ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาอีกครั้ง

นายเซเลนสกี กล่าวว่าได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์กับนายทรัมป์ระหว่างการสนทนาทางโทรศัพท์หลังจากอดีตผู้นำสหรัฐคนดังได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งเมื่อต้นเดือนพ.ย.ที่ผ่านมา โดยไม่ได้เปิดเผยว่านายทรัมป์เรียกร้องอะไรเกี่ยวกับการเจรจากับรัสเซียหรือไม่ แต่ย้ำว่านายทรัมป์ไม่ได้เอ่ยถึงสิ่งที่ขัดกับจุดยืนของยูเครน

นายทรัมป์กล่าวมาโดยตลอดว่าลำดับความสำคัญในนโยบายของตนคือการยุติสงครามในยูเครนซึ่งปะทุขึ้นหลังรัสเซียรุกรานเต็มรูปแบบเมื่อเดือนก.พ. 2565

เนื่องจากสงครามทำให้สหรัฐสิ้นเปลืองทรัพยากรด้านต่างๆ ในรูปแบบการช่วยเหลือทางทหารแก่ยูเครน เมื่อต้นปีที่ผ่านมาสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติอนุมัติความช่วยเหลือทางการทหารมูลค่า 61,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 2.12 ล้านล้านบาท

สหรัฐเป็นผู้สรรหาอาวุธรายใหญ่ที่สุดของยูเครน ข้อมูลจากสถาบันคีลเพื่อเศรษฐกิจโลก องค์กรวิจัยของเยอรมนี ระบุว่าตั้งแต่เริ่มต้นสงครามจนถึงเดือนมิ.ย.2567 สหรัฐส่งมอบหรือให้คำมั่นที่จะส่งอาวุธยุทโธปกรณ์แก่ยูเครนมูลค่า 55,500 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 1.93 ล้านล้านบาท)

นายทรัมป์ให้คำมั่นซ้ำแล้วซ้ำเล่าในช่วงรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งว่าจะยุติสงครามในยูเครน ‘ในวันเดียว’ แต่ยังไม่มีการเปิดเผยว่าจะทำอย่างไร

แน่นอนว่าสงครามจะยุติลงเร็วกว่านี้ด้วยนโยบายของทีมที่นำทำเนียบขาวในขณะนี้ นี่คือแนวทางของพวกเขา คำมั่นสัญญาของพวกเขาต่อพลเมือง นายเซเลนสกีให้สัมภาษณ์สื่อยูเครน ก่อนเสริมว่ายูเครนต้องทำทุกวิถีทางเพื่อให้สงครามยุติลงภายในปีหน้า และยุติด้วยวิธีการทางการทูต

เลือกตั้ง ‘ประธานาธิบดี’ ทำสถานการณ์โลกเปลี่ยนไป เมื่ออเมริกาเปลี่ยนมือ กระทบ!! นโยบาย ‘เมียนมา’ ที่ ‘โดนัลด์ ทรัมป์’ อาจเดินหน้า สานสัมพันธ์

เมื่อไม่นานมานี้ ยูเครนได้ทำการโจมตีที่มั่นทางการทหารในรัสเซียตามที่อเมริกาส่งสัญญาณใช้อาวุธที่ทางนาโต้มอบให้จู่โจมรัสเซีย ในขณะที่ประธานาธิบดีปูตินได้เคยประกาศกร้าวแล้วว่าใครทำแบบนี้จะถือว่าเป็นศัตรูกับรัสเซียและรัสเซียจะตอบโต้กลับอย่างไม่ปรานี

นี่เป็นคำสั่งท้าย ๆ ของประธานาธิบดี โจ ไบเดนก่อนที่เขาจะหมดวาระในวันที่ 20 มกราคม 2568 นี้  ซึ่งนักวิเคราะห์หลายคนกล่าวว่าการที่โจเลือกที่จะสั่งให้ยูเครนทำแบบนี้ก็เพราะต้องการสร้างความยากลำบากให้แก่โดนัลด์ ทรัมป์

แต่ยูเครนไม่ใช่สงครามเดียวที่อเมริกาชักใยอยู่เบื้องหลัง เพราะยังมีสมรภูมิอื่นที่ยังเดือดอยู่เช่นกัน แต่ 1 ในสมรภูมิเหล่านั้นคือสมรภูมิในเมียนมา

เป็นที่แน่ชัดเสียยิ่งกว่าชัดจากการที่อเมริกาเข้ามาแทรกแซงโดยให้การสนับสนุนทั้งเงินทุน อาวุธรวมถึงการฝึกทางยุทธวิธีให้แก่กองกำลังชาติพันธุ์ที่อยู่บริเวณชายแดนไทยและใช้ไทยเป็นที่มั่นในการนำเงินเข้ามาผ่านตัวแทนนายหน้ากลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยในไทย รวมถึงผ่านองค์กร NGO ต่างๆ รวมทั้งองค์กรที่มีการโฆษณาเปิดเผยว่าฝึกกองกำลังชาติพันธุ์ไว้ต่อต้านกองทัพรัฐบาลกลางของเมียนมาอย่าง Free Burma Ranger เป็นต้น นี่ยังไม่นับรวมพวกท่านทูตหัวทองที่ผลัดกันมาเยี่ยมเยียนเมืองชายแดนไทยติดเมียนมากันอย่างมิได้ขาดสายจนคนย่านนั้นเขารู้กันไปทั่ว

ประเด็นคือโจ ไบเดนจะปั่นให้ฝั่งเมียนมาลุกเป็นไฟอีกไหม เพราะดูจากนโยบายที่ทรัมป์ออกมาน่าจะส่งผลดีต่อเมียนมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ผ่านมาเม็ดเงินที่อเมริกาในยุคของโจ ไบเดน หยอดเข้ามาให้ทำสงครามก็ไม่สามารถพิชิตกองทัพเมียนมาได้อย่างเด็ดขาด จนบางทีไบเดนอาจจะไม่รู้ว่า กองกำลังชาติพันธุ์ในพม่าทำสงครามเป็นธุรกิจเช่นเดียวกัน

หากสถานการณ์ในเมียนมาสงบไปจนถึงวันที่ทรัมป์รับตำแหน่งมีความเป็นไปได้ว่าทรัมป์จะพยายามกลับมารักษาความสัมพันธ์ทางการทูตกับเมียนมาเพื่อเป็นการสกัดกั้นการขยายอำนาจของจีนมาสู่อ่าวเบงกอลมากกว่าเลือกที่จะสนับสนุนสงครามตัวแทนที่เห็นผลอยู่แล้วว่าไม่มีผลดีต่อสหรัฐเลยไม่ว่าด้านใด

เช่นเดียวกันหากปราศจากการอัดฉีดจากอเมริกาอำนาจของพรรคการเมืองในไทยบางพรรคที่ใช้ทุนจากตะวันตก หรือเหล่านายหน้าต่างด้าวที่เคยเป็นนายหน้าตัวกลางไซฟ่อนเงินก็อาจจะตกที่นั่งลำบากเช่นเดียวกัน

ยิ่งคนไทยตื่นรู้จักภัยคุกคามจากคนต่างด้าวกลุ่มนี้แล้วด้วย เราก็จะได้เห็นการแฉออกมาเพิ่มขึ้น แต่สุดท้ายก็ขึ้นกับฝ่ายการเมืองและกองทัพที่จะรักษาเสถียรภาพคนไทยอย่างไร

‘ทรัมป์’ ขู่ขึ้นภาษี!! ประเทศ BRICS หากรวมหัวไม่ใช้ ‘เงินดอลลาร์’

(1 ธ.ค. 67) ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐโดนัลด์ ทรัมป์ โพสต์ผ่านโซเชียลมีเดียส่วนตัวเมื่อวันที่ 30 พ.ย. ขู่จะขึ้นภาษีศุลกากร 100% กับกลุ่มประเทศบริกส์ (BRICS) 9 ประเทศ หากดำเนินการที่ถือเป็นการบ่อนทำลายค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ

คำขู่ครั้งล่าสุดนี้มุ่งเป้าโดยตรงไปยัง 9 ประเทศสมาชิกกลุ่มบริกส์ที่นำโดย จีน รัสเซีย อินเดีย บราซิล แอฟริกาใต้ อิหร่าน อียิปต์ สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ และเอธิโอเปีย ซึ่งปัจจุบันมีหลายประเทศกำลังสมัครเข้าเป็นสมาชิกเพิ่ม เช่น ประเทศไทย มาเลเซีย และตุรกี 

ทรัมป์กล่าวว่า ‘ไม่มีทาง’ ที่กลุ่ม BRICS จะเข้ามาแทนที่ดอลลาร์สหรัฐในการค้าโลก และประเทศใดก็ตามที่พยายามทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นได้ ‘ควรโบกมือลาจากสหรัฐอเมริกา’

ทั้งนี้ ในการประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มประเทศบริกส์ที่ประเทศรัสเซียเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย ได้กล่าวหาสหรัฐว่า ใช้ดอลลาร์เป็นอาวุธ’ และเรียกสิ่งนี้ว่าเป็น ‘ความผิดพลาดครั้งใหญ่’

แม้ว่าเงินดอลลาร์สหรัฐจะเป็นสกุลเงินที่ใช้กันมากที่สุดในการทำธุรกิจทั่วโลก และผ่านพ้นความท้าทายต่างๆ ในอดีตมาได้ แต่ประเทศสมาชิกกลุ่ม BRICS รวมถึงประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ต่างระบุว่าพวกเขาเบื่อหน่ายกับการที่สหรัฐมีอิทธิพลเหนือระบบการเงินโลก

จากข้อมูลของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เงินดอลลาร์สหรัฐมีสัดส่วนคิดเป็นประมาณ 58% ของทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของโลก และสินค้าโภคภัณฑ์หลักๆ เช่น ‘น้ำมัน’ ยังคงซื้อขายกันโดยใช้เงินดอลลาร์สหรัฐเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม อิทธิพลของดอลลาร์สหรัฐกำลังถูกท้าทายเนื่องจากส่วนแบ่งจีดีพีของกลุ่ม BRICS ที่เพิ่มขึ้น และความตั้งใจของกลุ่มบริกส์ที่จะซื้อขายกันในสกุลเงินที่ไม่ใช่ดอลลาร์สหรัฐ หรือเป็นกระบวนการที่เรียกว่าการลดการใช้เงินดอลลาร์สหรัฐ (De-dollarization) 

รัสเซียได้ผลักดันให้มีการจัดทำระบบการชำระเงินใหม่ เพื่อเป็นทางเลือกมาแทนที่เครือข่ายการสื่อสารสำหรับประมวลผลการชำระเงินระหว่างประเทศ หรือ ‘สวิฟท์’ (SWIFT) ที่ใช้กันอยู่ทั่วโลกในขณะนี้ ซึ่งจะช่วยให้รัสเซียสามารถหลบเลี่ยงการคว่ำบาตรของชาติตะวันตกและค้าขายกับพันธมิตรได้

อย่างไรก็ดี จากงานวิจัยของสภาแอตแลนติกบ่งชี้ว่า บทบาทของดอลลาร์สหรัฐในฐานะสกุลเงินสำรองหลักของโลกจะไม่ถูกคุกคามในอนาคตอันใกล้นี้ โดยผลวิจัยระบุว่า ดอลลาร์นั้น ‘มีความมั่นคงในระยะใกล้และระยะกลาง’ และยังคงครอบงำสกุลเงินอื่นๆ ต่อไป

การขู่ขึ้นภาษีล่าสุดของทรัมป์เกิดขึ้นหลังจากที่เขาขู่ว่า จะขึ้นภาษีศุลกากรกับสินค้านำเข้าทุกชนิดที่นำเข้าจากเม็กซิโกและแคนาดา 25% และขึ้นภาษีศุลกากรเพิ่มอีก 10% สำหรับสินค้าจากจีน เพื่อบังคับให้ทั้งสองประเทศดำเนินการมากขึ้นเพื่อหยุดยั้งการไหลเข้าของผู้อพยพผิดกฎหมายและยาเสพติดเข้าสู่สหรัฐ

จากนั้น ทรัมป์ได้โทรศัพท์คุยกับประธานาธิบดีเม็กซิโก ‘คลอเดีย เชนบาม’ ซึ่งกล่าวเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาว่าเ ธอเชื่อมั่นว่าจะสามารถหลีกเลี่ยงสงครามภาษีกับสหรัฐได้ ทางด้านนายกรัฐมนตรี ‘จัสติน ทรูโด’ ของแคนาดาเดินทางกลับในวันเสาร์หลังจากพบกับทรัมป์ โดยที่ไม่ได้รับคำยืนยันว่าประธานาธิบดีสหรัฐคนใหม่จะถอยห่างจากการขู่ขึ้นภาษีกับแคนาดา

ทรัมป์โนมิกส์: เศรษฐกิจของโดนัลด์ ทรัมป์ที่กำลังจะกลับมาเขย่าโลก

ทรัมป์โนมิกส์ (Trumponomics) หมายถึงนโยบายเศรษฐกิจที่ดำเนินการในช่วงที่โดนัลด์ ทรัมป์ ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ (ปี 2017–2021) ซึ่งเน้นไปที่การลดภาษี การลดกฎระเบียบ การคุ้มครองทางการค้า และนโยบาย “America First” โดยมีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นการเติบโตภายในประเทศ ลดการขาดดุลการค้า และฟื้นฟูภาคการผลิตและการจ้างงานของสหรัฐฯ 

ในตอนนั้นเองการดำเนินนโยบายทรัมป์โนมิกส์เป็นกรอบนโยบายเศรษฐกิจที่สร้างความแตกแยก เพราะในมุมของผู้สนับสนุนต่างพากันชื่นชมที่นโยบายนี้ที่เน้นความสำคัญของผลประโยชน์ภายในประเทศ ความสามารถในการแข่งขันของบริษัท และการลดกฎระเบียบ ในขณะที่นักวิจารณ์ชี้ให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำที่เพิ่มขึ้น หนี้ที่สูงขึ้น และความตึงเครียดทางการค้า ส่งผลกระทบระยะยาวต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันรวมไปถึงก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ไปทั่วโลกอีกด้วย

‘TikTok’ ร้อง!! ศาลสหรัฐ ให้ระงับการแบนแอป จนกว่า ‘โดนัลด์ ทรัมป์’ จะขึ้นเป็นประธานาธิบดี

(10 ธ.ค. 67) Tiktok ยื่นคำร้องเมื่อวันจันทร์ว่า ศาลอุทธรณ์สหรัฐเขตโคลัมเบียควรออกคำสั่งห้ามนับถอยหลังวันครบกำหนดขายหุ้นหรือแบนแพลตฟอร์ม (ซึ่งมีระยะเวลาให้ทำตามข้อกำหนดน้อยกว่า 6 สัปดาห์) เพื่อให้ศาลฎีกาสามารถพิจารณาคำเรียกร้องของบริษัทที่อ้างว่า การเรียกร้องของรัฐบาลสหรัฐละเมิดสิทธิในเสรีภาพของการพูดและสิทธิตามรัฐธรรมนูญอื่น ๆ

ติ๊กต็อกและไบท์แดนซ์ ระบุในคำร้องที่ยื่นต่อศาลว่า “การสั่งห้ามเป็นเรื่องที่เหมาะสมอย่างยิ่ง เพราะจะช่วยให้รัฐบาลชุดใหม่มีเวลาพิจารณาจุดยืนของตนเอง ซึ่งอาจช่วยให้เกิดการหารือถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นและความจำเป็นในการพิจารณาของศาลฎีกา”

นิกเกอิเอเชีย ระบุว่า ติ๊กต็อกสามารถยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อพิจารณาคำตัดสินของศาลแขวง แต่ต้องมีเสียงจากผู้พิพากษา 4 ใน 9 ที่ตกลงจะพิจารณาคดีนี้ จึงจะได้รับการพิจารณาต่อไป

ติ๊กต็อกได้ขอให้ศาลอุทธรณ์ตัดสินคำร้องสั่งห้ามนับถอยหลังกำหนดขายหุ้น ภายในวันที่ 16 ธ.ค. นี้ ขณะที่กระทรวงยุติธรรมขอให้ศาลปฏิเสธคำร้องของบริษัทโดยไม่ต้องมีการพิจารณาคดีเพิ่มเติม

การยื่นคำร้องขอสั่งห้ามของติ๊กต็อกมีขึ้นหลังจากศาลตัดสินเมื่อวันศุกร์ (6 ธ.ค.) ยกฟ้องการท้าทายทางกฎหมายของติ๊กต็อกต่อ พระราชบัญญัติคุ้มครองชาวอเมริกันจากแอปพลิเคชันที่ควบคุมโดยปรปักษ์ต่างชาติ (Protecting Americans from Foreign Adversary Controlled Applications Act.)

คำสั่งของศาลที่ออกมาเมื่อวันที่ 6 ธ.ค. ผู้พิพากษา 3 คน บอกว่า การสั่งให้ขายหุ้นหรือแบนแอพลิเคชัน ไม่ได้ปิดกั้นเสรีภาพในการพูด และไม่ได้ละเมิดการคุ้มครองด้านความเท่าเทียม

อนึ่ง วันครบกำหนดให้ไบท์แดนซ์ขายติ๊กต็อกคือวันที่ 19 ม.ค. ซึ่งเป็นเส้นตายที่มีขึ้นก่อนวันว่าที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์จะเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการในวันที่ 20 ม.ค.

แม้ทรัมป์เป็นผู้อยู่เบื้องหลังของการแบนติ๊กต็อก แต่เขาได้เปลี่ยนจุดยืนในระหว่างหาเสียงเลือกตั้ง โดยบอกว่าตนไม่เห็นด้วยกับความเคลื่อนไหว (การแบนติ๊กต็อก) ดังกล่าว ซึ่งการสนับสนุนของเขามีขึ้นหลังจากได้พบกับมหาเศรษฐีเจฟฟ์ แยส ที่เป็นผู้ลงทุนรายแรกในไบท์แดนซ์ และเป็นหนึ่งในผู้บริจาคเงินทางการเมืองรายใหญ่สุดของการหาเสียงของทรัมป์

ทั้งนี้ ติ๊กต็อกอาจต้องสูญรายได้มากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ และบรรดาครีเอเตอร์อาจสูญเสียรายได้รวมกันเกือบ 300 ล้านดอลลาร์ภายในเวลาเพียง 1 เดือน ถ้าไม่ยุติการแบนแอปฯ

ติ๊กต็อกเผยเมื่อวันจันทร์ว่า แพลตฟอร์มมีผู้ใช้งานชาวอเมริกันมากถึง 170 ล้านคน และว่าการโฆษณา การตลาด และการเข้าถึงแบบออร์แกนิกบนแอปฯนั้น สร้างเม็ดเงินให้กับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของสหรัฐ 24,200 ล้านดอลลาร์ในปี 2566 ในขณะที่การดำเนินงานของบริษัทเองก็มีส่วนหนุนจีดีพีสหรัฐอีก 8,500 ล้านดอลลาร์

ซัคเคอร์เบิร์ก บริจาค 1 ล้านดอลลาร์ สมทบกองทุนพิธีรับตำแหน่งโดนัลด์ ทรัมป์

(13 ธ.ค.67) เมตา (Meta) ได้บริจาคเงินจำนวน 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ให้กับกองทุนพิธีสาบานรับตำแหน่งของว่าที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ โดยการยืนยันจากบริษัทเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม ซึ่งถือเป็นความเคลื่อนไหวที่สะท้อนถึงความพยายามในการปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองฝ่าย

การบริจาคนี้เกิดขึ้นเพียง 2 สัปดาห์หลังจากที่ มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ซีอีโอของเมตา ได้ไปพบปะกับทรัมป์ที่บ้านพักส่วนตัวของเขาที่มาร์อาลาโก โดยวอลล์สตรีทเจอร์นัลด์รายงานข่าวการบริจาคครั้งนี้ก่อน และซีเอ็นเอ็นได้ยืนยันข้อมูลดังกล่าว

ซัคเคอร์เบิร์กคาดหวังที่จะมีบทบาทมากขึ้นในนโยบายด้านเทคโนโลยีของรัฐบาลใหม่ ซึ่งถือเป็นการกลับลำอย่างชัดเจนจากเหตุการณ์เมื่อเกือบ 4 ปีที่แล้ว เมื่อเมตาได้ระงับบัญชีของทรัมป์จากแพลตฟอร์มหลังจากเกิดเหตุการณ์จลาจลที่อาคารรัฐสภาสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2021

ทรัมป์เคยใช้งานแพลตฟอร์มเฟซบุ๊กและอินสตาแกรมอย่างกว้างขวางในระหว่างการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีครั้งแรก ก่อนที่จะถูกระงับบัญชี เนื่องจากความกังวลว่าเขาอาจก่อให้เกิดความรุนแรงต่อไปและปฏิเสธผลการเลือกตั้งของโจ ไบเดน

แม้ว่าบัญชีของทรัมป์จะถูกคืนสถานะในปี 2023 แต่เขาก็ยังคงแสดงความผิดหวังต่อซัคเคอร์เบิร์ก โดยในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ทรัมป์ได้กล่าวหาว่าเมตาเป็น "ศัตรูของประชาชน" และยังบอกว่าเจ้าพ่อเทคโนโลยีควรถูกจำคุกฐานแทรกแซงการเลือกตั้ง

ในความพยายามที่จะฟื้นฟูความสัมพันธ์ ซัคเคอร์เบิร์กได้ยกย่องทรัมป์ในที่สาธารณะ เกี่ยวกับปฏิกิริยาตอบสนองของทรัมป์หลังจากที่เขาถูกยิงเมื่อเดือนกรกฎาคม โดยกล่าวว่า "การได้เห็นโดนัลด์ ทรัมป์ ลุกขึ้นหลังจากถูกยิง และชูกำปั้นขึ้นไปบนอากาศ พร้อมกับธงชาติสหรัฐฯ คือหนึ่งในสิ่งที่เจ๋งที่สุดที่ผมเคยพบเห็นในชีวิต"

นอกจากนี้ ซัคเคอร์เบิร์กยังได้ขอโทษทรัมป์ในช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมา เกี่ยวกับการเผยแพร่ภาพถ่ายที่ผิดพลาด พร้อมขอให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนเผยแพร่

10 ประเทศพันธมิตรสหรัฐที่กำลังจะเผชิญความเสี่ยงจากทรัมป์มากที่สุด

(17 ธ.ค. 67) ในขณะที่ทั่วโลกกำลังหวาดหวั่นกับการขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐของโดนัลด์ ทรัมป์ (Donald Trump) ที่เตรียมเดินหน้านโยบาย “America First” ที่ให้ความสำคัญกับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจควบคู่ไปกับความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งอาจนำไปสู่การเก็บภาษีนำเข้าจากประเทศพันธมิตรที่ทรัมป์มองว่าเอาเปรียบสหรัฐฯ ในด้านการค้าและความมั่นคงทางการทหาร

ไทยเองเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความเสี่ยงสูงเป็นอันดับ 2 ในบรรดาประเทศที่ถูกจัดว่าเป็นพันธมิตรของสหรัฐ เพราะจากข้อมูลล่าสุดเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม (Information Technology & Innovation Foundation : ITIF) ซึ่งเป็นองค์กรวิจัยนโยบายสาธารณะที่ไม่แสวงหากำไรของสหรัฐ ที่เผยแพร่รายงานออกมาเมื่อวันที่ 9 ธันวาคมที่ผ่านมาได้จัดทำดัชนีประเมินความเสี่ยงดัชนีต่อภาษีนำเข้า (Trump Risk Index) ของประเทศพันธมิตรที่อาจเผชิญกับมาตรการภาษีของสหรัฐฯ โดยพิจารณาจากปัจจัยดังต่อไปนี้

1. งบประมาณกลาโหม: ประเทศที่จัดสรรงบประมาณด้านกลาโหมต่ำกว่า 2% ของ GDP อาจถูกมองว่าไม่ให้ความร่วมมือในด้านความมั่นคงร่วมกัน
2. ดุลการค้า: ประเทศที่มียอดเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ สูงมาก อาจถูกกล่าวหาว่ามีการค้าที่ไม่เป็นธรรม
3. อุปสรรคทางการค้า: ประเทศที่ตั้งกำแพงภาษีหรือนโยบายที่กีดกันสินค้าสหรัฐฯ อาจตกเป็นเป้าหมาย
4. ท่าทีต่อจีน: พันธมิตรที่มีนโยบายอ่อนข้อหรือไม่สนับสนุนท่าทีของสหรัฐฯ ต่อจีน อาจถูกเพ่งเล็ง 

โดยถ้าผลการประเมินวิเคราะห์ถูกจัดเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง “ดัชนีความเสี่ยงจากทรัมป์ของ ITIF” (ITIF’s Trump Risk Index) ซึ่งจะสะท้อนออกมาในรูปผลคะแนนรวมที่ต่ำหรือติดลบมาก โดยทั้ง 10 ประเทศประกอบไปด้วย

ในทางกลับกัน ประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำ ได้แก่ ลิทัวเนีย เอสโตเนีย โปแลนด์ ลัตเวีย และ ออสเตรเลีย ซึ่งมีการใช้จ่ายด้านกลาโหมสูง ดุลการค้าที่สมดุล และนโยบายที่สนับสนุนสหรัฐฯ อย่างชัดเจน ซึ่งถ้าแต่ละประเทศที่มีความเสี่ยงมีการปรับเปลี่ยนนโยบายให้สอดคล้องก็อาจช่วยให้พันธมิตรเหล่านี้สามารถรักษาความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและความมั่นคงกับสหรัฐฯ ได้อย่างยั่งยืน พร้อมหลีกเลี่ยงความเสียหายจากมาตรการภาษีนำเข้าในอนาคตได้ค่ะ

‘โดนัลด์ ทรัมป์’ บีบให้ยุโรปซื้อ ‘น้ำมัน - ก๊าซ’ จากสหรัฐฯ หากไม่อยากเจอ!! มาตรการลงโทษ ขึ้นภาษีศุลกากร

(21 ธ.ค. 67) ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐโดนัลด์ ทรัมป์ เปิดเผยผ่านแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียของตนเองว่า เขาได้แจ้งกับสหภาพยุโรป (อียู) ว่าอียูจะต้องลดช่องว่างการขาดดุลการค้ากับสหรัฐด้วยการซื้อน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติจากสหรัฐให้มากขึ้น ไม่เช่นนั้น อียูอาจต้องเผชิญการขึ้นภาษีนำเข้าจากสหรัฐเป็นรายต่อไป 

"ผมบอกกับสหภาพยุโรปว่าพวกเขาต้องชดเชยการขาดดุลมหาศาลกับสหรัฐ ด้วยการซื้อน้ำมัน และก๊าซในปริมาณมาก มิฉะนั้นจะต้องเจอภาษีศุลกากร” ทรัมป์โพสต์ข้อความทาง Truth Social 

ทั้งนี้ จากข้อมูลของทางการสหรัฐระบุว่า สหรัฐขาดดุลการค้าสินค้า และบริการกับอียูถึง 1.313 แสนล้านดอลลาร์ ในปี 2022

ทางด้านนักการทูตอาวุโสรายหนึ่งในอียูเปิดเผยกับสำนักข่าวซีเอ็นบีซีว่า ไม่ได้รู้สึกแปลกใจอะไรกับท่าทีของทรัมป์ในครั้งนี้ และมองว่าพลังงานเป็น ‘ทางเลือกที่ดี’ หากจะต้องซื้อสินค้าจากสหรัฐมากขึ้น  

ขณะที่แหล่งข่าวนักการทูตอีกรายหนึ่งเปิดเผยว่า นายกรัฐมนตรีโอลาฟ ชอล์ซ ของเยอรมนี ได้พูดคุยกับทรัมป์ในเรื่องนี้เมื่อคืนวันพฤหัสบดี ที่ผ่านมา หลังจากที่บรรดาผู้นำประเทศในอียูได้ประชุมร่วมกันเป็นครั้งสุดท้ายของปีนี้เกี่ยวกับประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับอียู

คองเกรสสหรัฐฯ เปิดงบช่วยยูเครน ใช้เงินภาษีคนอเมริกันไปแล้วเกือบ 5 ล้านดอลลาร์

(24 ธ.ค. 67) กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เปิดเผยว่า ตลอดทั้งปี 2024 รัฐบาลสหรัฐมีการใช้เงินภาษีของชาวอเมริกันไปแล้วเกือบ 4.8 ล้านดอลลาร์ (ราว 163 ล้านบาท) ซึ่งภายหลังการเปิดเผยดังกล่าว สมาชิกวุฒิสภาสังกัดพรรครีพับลิกันจากรัฐเคนทักกี นาย แรนด์ พอล กล่าววิพากษ์วิจารณ์ว่า เป็นการใช้งบประมาณของรัฐบาลไบเดนที่ไร้เหตุผลที่สุดของปี 2024 

รายงานยังระบุว่า นับตั้งแต่เกิดเหตุความขัดแย้งในยูเครน รัฐบาลวอชิงตันได้ใช้เงินภาษีของชาวอเมริกันในการให้การสนับสนุนรัฐบาลเคียฟและช่วยเหลือทหารยูเครนไปแล้วเกือบ 174 พันล้านดอลลาร์ โดยนายพอล กล่าวว่า "บางคนในกระทรวงการต่างประเทศยังคิดว่ามันเป็นเรื่องที่ดีที่จะใช้เงินภาษีชาวอเมริกันอีก  4.8 ล้านดอลลาร์เพื่อกิจการในยูเครน 

นายพอล ยังเรียกร้องให้รัฐบาลสหรัฐฯ กลับไปใช้วิธีการทางการทูตที่จริงจัง แทนที่จะพึ่งพากลยุทธ์ผ่านการทหาร พร้อมเน้นย้ำว่า ผู้เสียภาษีชาวอเมริกันจำนวนมากที่กำลังดิ้นรนเพื่อให้พอเพียงในการดำรงชีวิตกำลังเป็นผู้จ่ายเงินในการใช้จ่ายนี้

พอลกล่าวว่า มันเป็นเรื่องที่ “น่าฉงน” ที่เห็นรัฐบาลสหรัฐฯ ใช้จ่ายเงินภาษีของประชาชนในช่วงเวลาที่ชาวอเมริกันจำนวนมากกำลัง “ประสบปัญหาทางการเงิน”

รายงานที่มีความยาว 41 หน้าครอบคลุมถึงการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นมูลค่ากว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งสว.พอลเรียกว่า "เป็นการใช้จ่ายที่ไร้ประสิทธิภาพของรัฐบาล"

ก่อนหน้านี้ ในการสัมภาษณ์กับ NBC News ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่ได้รับเลือก โดนัลด์ ทรัมป์ ได้กล่าวว่า ภายใต้การบริหารของเขา รัฐบาลเคียฟไม่น่าจะได้รับความช่วยเหลือในระดับเดียวกับที่พวกเขาได้รับในสมัยประธานาธิบดีโจ ไบเดน


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top