Monday, 29 April 2024
เลือกตั้ง66

ย้อนมอง ‘หาเสียง-สื่อประชาสัมพันธ์’ สมัยแรกของสยาม ท่ามกลางกุศโลบายสร้างสรรค์ ไม่ฟาดฟันกันด้วยอวิชชา

ในตอนที่ผมกำลังพิมพ์เรื่องราวนี้อยู่นั้น การรับสมัครผู้ที่ต้องการเป็นสมาชิกผู้แทนราษฎรทั้งแบบแบ่งเขตและแบบบัญชีรายชื่อนั้นก็คงได้ดำเนินการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทุกพรรคคงเดินหน้าในการหาเสียงกันเต็มรูปแบบ ผมก็เลยอยากมาเท้าความถึงเรื่องราวการหาเสียงเลือกตั้งในอดีตให้ทุกท่านได้นึกจินตนาการสักหน่อย 

ผมจะเล่าถึงการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสยามเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2480 ในวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2480 เพื่อเลือกตั้ง ส.ส. จำนวน 91 ที่นั่ง จาก 182 ส่วนอีกครึ่งนั้นมาจากการแต่งตั้งโดยคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ซึ่งเป็นการเลือกตั้งแบบทางตรง คือผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกบุคคลหรือพรรคการเมืองได้โดยตรง 

แต่เวลานั้นยังไม่มีพรรคการเมืองครับ ผู้สมัครที่ลงรับเลือกตั้งจึงเป็นผู้สมัครอิสระ สำหรับ ส.ส. ก่อนหน้าการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2480 นั้น มาจากการเลือกตั้งทางอ้อม ซึ่งผู้มีสิทธิลงคะแนนจะเลือกผู้แทนตำบลเพื่อให้ไปเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกต่อหนึ่ง เพราะประชาชนยังอ่านออกเขียนได้มีจำนวนไม่มากนัก และ ส.ส. ชุดเลือกทางอ้อมนั้นได้พ้นตำแหน่งไปแล้ว แต่สุดท้ายพวกเขาก็กลับมาเป็นผู้แทนประเภทที่ 2 ด้วยการแต่งตั้ง เอาน่ะ ยุคนั้นราษฎรยังไม่เยอะ พวกผู้แทนที่กลับมาเป็นอีกมีความจำเป็น (หลัก ๆ ก็ก๊วนคณะราษฎรนั่นแหละ) 

แต่วัฒนธรรมหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นในยุคแรกเริ่มเลือกตั้งแห่งสยามนี้คือการหาเสียงแบบ ‘เคาะประตูบ้าน’ ซึ่งเอาเข้าจริง ๆ ผมว่าเป็นการหาเสียงสุดคลาสสิกที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน เพราะการเลือกตั้งในยุคนั้นต้องอาศัยการรู้จักหน้าตาของผู้สมัคร ยิ่งถ้าผู้สมัครรู้จักเข้าหาผู้นำหรือผู้ที่ได้รับความนับถือในสังคม ที่ปัจจุบันก็คือ ‘หัวคะแนน’ (มีมาตั้งแต่สมัยนั้น) อาทิ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ครูจากเมืองหลวง ตลอดจนพระสงฆ์ ก็ย่อมมีสิทธิ์ได้รับเลือก อันนี้คือการหาเสียงทางตรงซึ่งมักถูกนักเลือกตั้งรุ่นใหม่ดูถูกเหยียดหยาม ว่าช่างโบราณได้รับเลือกมาก็เป็นแค่ ‘ผู้แทนตลาดล่าง’ แต่ผมว่าเอาเข้าจริงการหาเสียงในรูปแบบนี้ยังใช้ได้ทุกยุค ทุกสมัย ขนาดที่พรรคการเมืองที่ว่ารุ่นใหม่บางพรรคยังต้องยอมศิโรราบ ‘การเคาะประตูและการใช้หัวคะแนน’ กลืนน้ำลายตัวเองตั้งแต่ยังไม่ได้รับเลือกตั้ง อันนี้ก็งง งงดี 

ส่วนอีกเรื่องที่น่าสนใจในยุคการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2480 ก็คือการใช้สื่อสิ่งพิมพ์ที่เรียกว่า ‘โปสเตอร์’ ผมว่าอันนี้น่าสนใจเพราะเขาใช้สื่อชนิดนี้ด้วยความสร้างสรรค์ สร้างคอนเทนต์กันสุดฤทธิ์ โดยเน้นการโฆษณาว่าตนเป็นใคร เก่งแบบไหน ใส่นโยบายกันสุดลิ่มทิ่มประตู ยกตัวอย่างให้อ่านดังนี้...

เลือกให้ นายชอ้อน อำพล เป็นผู้แทนดีกว่า นายชอ้อน อำพล บรรณาธิการ ‘สยามรีวิว’ เมื่อได้เป็นผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการแล้ว จะฟันฝ่าชาวสมุทรปราการเป็นลูกเมียหลวงให้ได้ จะไม่ต้องได้รับความลำบากอย่างที่ท่านเห็นอยู่เดี๋ยวนี้ ถ้าเขาได้เป็นผู้แทนมาแต่แรกแล้ว สมุทรปราการและพระประแดงจะไม่เป็นเช่นนี้เลย....ปิดท้ายด้วย....ท่านจะเห็นว่า นายชอ้อน อำพล ช่วยท่านจริงก็ต่อเมื่อท่านได้ ให้เขาเป็นผู้แทนในวันเลือก...

...เอากับเขาสิ อยากใช้ผมก็เลือกผม อะไรประมาณนั้น

หรืออย่างเช่น...ทองหล่อ บุณยนิตย์ เนติบัณฑิต ทนายความ พูดจริง ทำจริง มนตรีนครธนบุรี...ศรีกรุง ฉบับวันที่ 1 เมษายน พุทธศักราช 2480 ว่า นายทองหล่อ บุณยนิตย์ เนติบัณฑิตอัยการผู้นี้นับว่าเป็นผู้มีความรู้ในทางกฎหมายและการเมืองทั้งเป็นผู้ที่มีใจเป็นกุศล.... 

หรือจะเป็นอย่าง...โปสเตอร์ของขุนพิเคราะห์คดี....รักชาติ, ถิ่น, ฐาน, รักบ้าน, รักเรือน ก็อย่าให้ได้ชื่อว่าขายชาติ อย่าเชื่อคำยุยงส่งเสริมฯ ของเขาเราจะเสียแนวไก่ต่อ (ไก่ต่อไปซะอย่างนั้น)...

บ้างก็วางนโนบายเป็นข้อ ๆ แบบของ นายพันตรีหลวงขจรกลางสนาม ที่ระบุนโยบายเป็นคำคล้องกันดังนี้...ข่าวสาส์นการเดิน...เหินห่างโจรภัย...ไม่เสียเวลาไปศาล...สมานสามัคคี...มีที่พึ่ง...ปิดท้ายอีก 3 เรื่องจากหลวงขจรฯ คือ... พ้นความยากจน...มีคนรักษา...วิชาความรู้....หลัก ๆ พออ่านจบผมก็อดอมยิ้มไม่ได้ เพราะมันช่างสนุกสนานจริง ๆ ‘โปสเตอร์’ หาเสียงยุค พ.ศ. 2480

แต่ถึงกระนั้นแผ่นปิดเหล่านี้ก็ไม่ได้โจมตีใครอย่างเอิกเกริก และไม่มีการกลั่นแกล้งกันอย่างจริงจัง เป็นสีสันแห่งการเลือกตั้งอย่างแท้จริง ผิดกับยุคนี้ที่การทำสื่อเลือกตั้ง เน้นให้มีจำนวนมาก เน้นให้ได้เปรียบคนอื่น เน้นบังป้ายคนอื่นจนกระทั่งไม่สนใจว่าจะบดบังทัศนวิสัยหรือไม่ รวมไปถึงบางป้ายที่ไม่เกี่ยวกับการเลือกตั้งก็ออกมาตั้งกันอย่างน่าประหลาด อย่างป้ายสีแดงของโครงการหมู่บ้านแคนดิเดตผู้นำก็ตั้งบังชาวบ้าน เยอะยิ่งกว่าป้ายหาเสียงเสียอีก อันนี้หยอกนะครับ เพราะน่าจะไปแก้ไขกันแล้ว มั้งนะ !!! 

กกต.จัดเวทีเลือกตั้งเชิงสมานฉันท์เลือกตั้งสร้างสรรค์ กกต.กาฬสินธุ์ เปิดเวที รับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน ในการเลือกตั้ง ส.ส. 14 พ.ค.นี้ เป็นไปด้วยโปร่งใส ไม่หาเสียงใส่ร้ายป้ายสี นำเสนอนโยบายที่แก้ไขปัญหาให้กับปปช.อย่างแท้จริง

วันที่ 9 เมษายน 2566 ที่ห้องประชุมทศพร โรงแรมริมปาว อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ นายศุภศิษย์ กอเจริญยศ ผวจ.กาฬสินธุ์ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการปฏิรูปการเมืองสุจริตบนฐานของการเลือกตั้ง (เลือกตั้งเชิงสมานฉันท์) กิจกรรมเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ซึ่งสำนักงาน กกต.ประจำ จ.กาฬสินธุ์จัดขึ้น เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเลือกตั้งเชิงสมานฉันท์ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง เกี่ยวกับกฎหมาย ระเบียบ วิธีปฏิบัติ ในการเลือกตั้งแก่ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ผู้สนับสนุน สื่อมวลชน และประชาชน

นอกจากนี้มีการเปิดเวทีเสวนา หัวข้อ 'การเมืองสุจริต' โดยมีนายสุรพงษ์ ทิพย์โอสถ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (ผอ.กกต.) ประจำ จ.กาฬสินธุ์ นายภูมิสิทธิ์  ขัตติยานุกูลกิจ นายฤทธิรงค์ พิลาไชย นายสุรเดช เคราะห์ดี ผู้ตรวจการเลือกตั้งประจำ จ.กาฬสินธุ์ พร้อมคณะ พล.ต.ต.มนตรี จรัลพงศ์ ที่ปรึกษาผวจ.กาฬสินธุ์ นายสมบูรณ์ นาสาทร อุปนายกสมาคมนักข่าวกาฬสินธุ์ ผู้สมัครและตัวแทนผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.กาฬสินธุ์ ทั้ง 6 คน เครือข่ายภาคประชาชน กลุ่มสตรี ผู้แทนจาก อสม. ประชาชน ผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม

นายสุรพงษ์ ทิพย์โอสถ ผอ.กกต.ประจำ จ.กาฬสินธุ์ กล่าวว่า การรับสมัครการเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขต ทั้ง 6 เขตเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 3-7 เมษายน 2566 ที่ผ่านมาจังหวัดกาฬสินธุ์มีผู้สมัคร รวม 75 คน จาก 17 พรรคการเมือง ซึ่งกิจกรรมครั้งนี้ที่ กกต.จ.กาฬสินธุ์จัดขึ้น 

กกต.เพชรบูรณ์จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการเลือกตั้งแก่ คณะกรรมการประจำเขตเลือกตั้ง และ ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.

ที่หอประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์ นายกฤษณ์ คงเมือง ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นประธานเปิดโครงการปฏิรูปการเมืองสุจริตบนพื้นฐานของการเลือกตั้ง กิจกรรมอบรมเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเลือกตั้งเชิงสมานฉันท์ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง  โดยมี นายสุวิทย์ ศรีวงษา ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ กล่าวรายงาน พร้อมด้วยคณะกรรมการประจำเขตเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งทั้ง 6 เขต และผู้สนับสนุนผู้สมัคร เข้าร่วมรับฟัง

นายสุวิทย์ ศรีวงษา ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ กล่าวว่า การให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมรับฟังประกอบ ด้วยคณะกรรมการประจำเขตเลือกตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งทั้ง 6 เขตเลือกตั้ง และผู้สนับสนุนผู้สมัครจำนวน 181 คน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับกฎหมาย ระเบียบ วิธีปฏิบัติ ข้อห้ามและความผิด หรือการกระทำที่อาจสุ่มเสี่ยงต่อการฝ่าฝืนกฎหมายของผู้สมัคร หรือผู้เกี่ยวข้อง ทำให้การหาเสียงเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายปราศจากการใส่ร้ายป้ายสีซึ่งกันและกัน และเพื่อสร้างการยอมรับเรื่องการ รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย รู้รักสามัคคี การรักษาความเป็นมิตร ก่อนและหลังการเลือกตั้ง แก่ผู้สมัครรับเลือกตั้ง อันจะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม และส่งผลให้การเลือกตั้งเป็นที่ยอมรับของประชาชน

ทีมเศรษฐกิจ ปชป. โชว์แนวทางขับเคลื่อน ศก.ไทย ชูใช้เงิน กบข.-กองทุนสำรองฯ 3 แสนล้าน ให้เกิดสภาพคล่อง

(10 เม.ย.66) ที่พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ทีมเศรษฐกิจพรรคประชาธิปัตย์ ร่วมกันแถลง ‘อัดฉีดเศรษฐกิจ 1 ล้านล้านบาท ใครได้อะไร’ โดยนายพิสิฐ ลี้อาธรรม ประธานคณะกรรมการนโยบาย พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การกระตุ้นเศรษฐกิจ 1 ล้านล้านบาท ไม่ใช่เป็นการแจกเงินทั่วไป ๆ ประชาธิปัตย์มองภาพรวมว่าเศรษฐกิจจะมีทิศทางและต้องเดินต่อไปอย่างไร โดยการดูแลเศรษฐกิจมหาภาค ซึ่งสิ่งที่ประชาธิปัตย์นำเสนอ ต้องการจะให้เศรษฐกิจโตถึง 5 เปอร์เซนต์ ให้ขยายตัวตามศักยภาพที่เรามีอยู่ ดังนั้นเราจะทำอย่างไรให้เศรษฐกิจภาพรวมโตอย่างน้อย 5 เปอร์เซนต์ หากโตไม่ถึงก็จะไม่เป็นแรงจงใจนักลงทุน และไม่มีเงินมาดูแลคนในประเทศ ดังนั้นการให้เศรฐกิจโตอย่างยั่งยืนเป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้น แต่ที่ผ่านมาเรามาผิดทางเพราะเราไปกระตุ้นให้คนใช้จ่ายโดยที่ใช้จ่ายหมดเปลือง ดังนั้นเราจึงต้องกระตุ้นโดยการนำเงินเก่าที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์ ให้ได้ถึง 1 ล้านล้านบาท เพื่อให้เศรษฐกิจมีการขับเคลื่อน ไม่ใช่ไปกู้หรือไปก่อหนี้ ดังนั้นสิ่งที่ประชาธิปัตย์นำเสนอจะต่างจากสิ่งที่รัฐบาลทำมา 

นายพิสิฐ กล่าวต่อว่า หลายพรรคการเมืองมีการพูดเศรษฐกิจโต 5 เปอร์เซนต์ แต่ไม่บอกว่าโตอย่างไร ได้แต่บอกว่าเอาเงินใส่เข้าไปเพื่อใช้จ่าย แต่บอกว่าว่าใช้จ่ายแล้วจะเกิดอย่างไร แต่ประชาธิปัตย์ มีกลไกลที่ทำให้เศรษฐกิจโตอย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ ไม่สร้างปัญหาในอนาคต และพยายามให้หนี้อยู่ในกรอบ เพราะหลายพรรคเสนอวิธีการแก้ปัญหาหนี้โดยการการพักหนี้ บายพลาสระบบเครดิตบูโร ทั้งหมดทำให้เศรษฐกิจอ่อนแอลง หากทำแบบนี้ใครจะกล้าเอาเงินใหม่เข้ามา ถ้าเราใส่ทุนเข้าไปเศรษฐกิจจะมีความแข็งแรงมากขึ้น โดยการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น ด้วยเงิน 1 ล้านล้านบาท จะมีทั้งระดับรากหญ้าโดยผ่านธนาคารหมู่บ้าน ชนชั้นกลางโดยการปลดล็อก กบข. และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เอ็สเอ็มอีและสตาร์ทอัพ โดยเงินก้อนแรกธนาคารหมู่บ้าน ชุมชนละ 2 ล้านบาท ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธกส.) มีเงินอยู่แล้ว และเวลานี้รัฐบาลเป็นหนี้ ธกส. อยู่ 8 แสนล้านบาท ซึ่งรัฐบาลต้องคืนหนี้ธกส. แล้ว ธกส. จะเอาเงินนี้มาใช้เรื่องนี้ได้ และถ้าทุกหมู่บ้าน ทุกชุมชน มีเงินเข้าไปในระบบ โดยมีออมสิน และ ธกส. เข้าไปช่วยกำกับเรื่องบัญชี เราก็จะมีระบบสถาบันการเงินที่ให้ประโยชน์อ่างแท้จริงในระดับรากหญ้า 

‘โรม’ จวก!! กกต. ปมเว็บลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้าล่ม ซัด!! ควรขยายเวลาเพิ่ม ไม่ใช่ขอโทษแล้วเงียบหาย

(11 เม.ย.66) รังสิมันต์ โรม โฆษกพรรคก้าวไกล ทวงถามคำตอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กรณีการขยายวันลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้า นอกเขต และนอกราชอาณาจักร ที่พรรคก้าวไกลเสนอให้เพิ่มไปจนถึงช่วงวันสงกรานต์ ว่า กกต.ต้องมีคำตอบเรื่องนี้ ไม่ใช่แค่ออกมาพูดขอโทษแบบส่ง ๆ แต่ไม่สามารถให้ความชัดเจนได้ว่าสุดท้ายจะดำเนินการอย่างไร เพราะเรื่องนี้ไม่ใช่ความผิดของประชาชน กกต. มีหน้าที่ทำให้เว็บไซต์ลงทะเบียนใช้งานได้ตามเวลาที่ขีดเส้นไว้ การอ้างว่าเว็บไซต์ล่มเพราะมีประชาชนเข้าใช้งานจำนวนมากพร้อมกัน เป็นเหตุผลที่รับฟังไม่ได้ ในเมื่อ กกต. ควรคาดการณ์เหตุการณ์นี้ได้อยู่แล้ว มีทั้งงบประมาณเป็นพันล้านจากภาษี มีทั้งเวลาเตรียมการทำงาน ทำไมยังปล่อยให้เรื่องแบบนี้เกิดขึ้น

ถึงที่สุด หาก กกต. ยังไม่มีคำตอบ คงต้องเตือนว่าระวังจะโดนประชาชนฟ้องร้อง เนื่องจากรัฐธรรมนูญ มาตรา 50 กำหนดให้การเลือกตั้งเป็นหน้าที่ของคนไทย การที่ประชาชนคนหนึ่งไม่สามารถไปใช้สิทธิได้ ทั้งที่เขาไม่ได้ต้องการอย่างนั้น จะทำให้เขาถูกตัดสิทธิหลายข้อเป็นเวลาถึง 2 ปี ตามที่ระบุใน พ.ร.ป.เลือกตั้ง ส.ส. มาตรา 35 เช่น ไม่มีสิทธิร่วมลงชื่อยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้ง ส.ส., ไม่มีสิทธิรับสมัครเป็น ส.ส. หรือสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น หรือ ส.ว., ขาดคุณสมบัติที่จะดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง นายก อบจ. ที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น และทุกตำแหน่งที่ผ่านการเลือกตั้ง

“มันใช่เรื่องหรือไม่ ที่ประชาชนต้องถูกจำกัดสิทธิทั้งที่เขาไม่ได้ทำผิดอะไร เขาต้องการไปเลือกตั้ง แต่หน่วยงานจัดการเลือกตั้งกลับไม่สามารถอำนวยความสะดวกให้เขาได้ ทั้งที่เป็นภารกิจหลักขององค์กร หาก กกต. ยังทำหน้าที่ไม่คุ้มค่าเงินภาษีแบบนี้ อาจถูกประชาชนฟ้องร้อง ดังนั้นรีบออกมาให้คำตอบดีกว่า ว่าจะขยายวันลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้า หรือมีมาตรการอย่างไรเพื่อรักษาสิทธิของประชาชน ไม่ให้ต้องรับผลกระทบจากเหตุที่มาจากความผิดพลาดของ กกต. เอง” รังสิมันต์กล่าว

'พรรคเพื่อไทย' เปิดตัวเว็บไซต์ แนะนำข้อมูลแบบครบจบ 'ผู้สมัคร ส.ส.เขต-บัญชีรายชื่อ-แคนดิเดตฯ ทั้ง 3 คน'

(11 เม.ย.66) พรรคเพื่อไทย โพสต์ข้อความแนะนำเว็บไซต์ใหม่ ว่า...

ผู้สมัคร ส.ส. เพื่อไทย แถวบ้านเราเป็นใคร เบอร์อะไรกันนะ แล้วแคนดิเดตนายกฯ เพื่อไทย เป็นใครกันบ้าง

เช็กได้แล้วที่นี่!

พรรคเพื่อไทยเปิดตัวเว็บไซต์ให้ประชาชนเข้าไปทำความรู้จักผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ทั้งแบบเขตและแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย รวมถึงแนะนำแคนดิเดตฯ ทั้ง 3 คน ค้นหาได้ง่ายๆ ตามขั้นตอนต่อไปนี้

1) เข้าเว็บไซต์ https://candidate.ptp.or.th
2) ค้นหาผู้สมัคร - เลือกจังหวัด และ เขต/อำเภอ หรือ พิมพ์ ชื่อ-นามสกุล

เพียงเท่านี้ก็จะเจอข้อมูลผู้สมัครในเขตบ้านตัวเองว่าผู้สมัคร ส.ส. เพื่อไทย เขตบ้านเราเป็นใคร เรียนจบที่ไหน เคยทำงานอะไรมาบ้าง พร้อมบอกเบอร์ผู้สมัคร ส.ส. แบบเขต ให้พี่น้องได้พิจารณา

กำปากกาไว้ให้แน่น ท่องให้ขึ้นใจ #เลือกเพื่อไทยทั้งคนทั้งพรรค


14 พ.ค. นี้ กา ส.ส. เขตบ้านท่าน
คู่กับเบอร์ 29 พรรคเพื่อไทยได้เลย
 

รู้ทันการเมืองไทย ชวนส่องนโยบาย ‘คิดใหญ่ ทำเป็น’ พรรคเพื่อไทย บนแนวคิด ‘หลักกู’ ที่ไม่คำนึงถึง ‘หลักการ’

หลายนโยบายก็เคยส่องแล้ว วันนี้ขอถือโอกาสส่องอีกที นโยบายก็เคยส่องแล้วขอส่องซ้ำด้วยบทความเดิม ส่วนอันไหนที่ไม่เคยส่องจะได้จัดการส่องใหม่สั้น ๆ เพื่อให้กระชับ ดังนี้ครับ

การกำหนดค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาทต่อวัน ผู้เขียนเชื่อว่า เศรษฐกิจของประเทศน่าจะมีปัญหาอย่างแน่นอน เมื่อมีพรรคการเมืองหาเสียงด้วยการกำหนดอัตราค่าจ้างและเงินเดือนโดยไม่ได้คำนวณจาก ‘ดัชนีราคาผู้บริโภค’ (Consumer Price Index : CPI) วิธีคิดค่าจ้างขั้นต่ำที่ใช้ฐานคิดคำนวณจาก ‘หลักกู’ โดยไม่คำนึงถึง ‘หลักการ’ ซึ่งต้องนำข้อมูลและปัจจัยที่เกี่ยวข้องมากมายหลายตัวมาคิดคำนวณให้ได้ ‘ดัชนีราคาผู้บริโภค’ (CPI) แล้วจึงจะสามารถคำนวณค่าแรงขั้นต่ำได้ (เป็นไปได้ไหม? ค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาทต่อวันของพรรคเพื่อไทย https://thestatestimes.com/post/2023033141)

นโยบายประชานิยมที่พรรคการเมืองต่าง ๆ นิยมนำมาหาเสียงกับเกษตรกรเสมอมาคือ การพักหนี้ การยกหนี้ แต่ต้องนำงบประมาณซึ่งมาจากภาษีอากรมาอุดหนุนช่วยเหลือธนาคารเจ้าหนี้เงินกู้ ซึ่งก็ได้แก่ธนาคารเพื่อเกษตรกร ส่วนวาทะกรรมที่ว่า “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” นั้น คงเคยเห็นแต่นโยบายจำนำข้าวของพรรคเพื่อไทยที่ทำให้เกิดการทุจริตอย่างมโหฬาร หนี้จากโครงการดังกล่าวยังใช้ไม่หมดจนทุกวันนี้ ทั้ง ๆ ที่นโยบายสำหรับเกษตรกรควรเป็นเรื่องของการพัฒนาให้เกษตรกรพึ่งตนเองได้ และสามารถใช้หนี้สินที่มีอยู่ได้จนหมด

ทุกวันนี้ผู้คนยังเข้าใจผิดคิดว่า ที่ดินหลวงมีอยู่เอามาแปลงเป็นเอกสารสิทธิต่าง ๆ กระทั่งเป็นโฉนดกันง่าย ๆ ไม่สนับสนุนเรื่องพวกนี้ครับ เพราะที่สุดเมื่อที่ดินที่พี่น้องประชาชนได้มามีมูลค่ามากขึ้นที่สุดก็จะถูกขายเปลี่ยนมือไปจนหมด แต่ควรสนับสนุนให้ที่ดินที่เป็นที่รกร้างว่างเปล่าที่หน่วยราชการต่าง ๆ ครอบครองอยู่ หากหน่วยงานนั้น ๆ ไม่ได้ใช้ประโยชน์แล้ว ควรส่งคืนกรมธนารักษ์ผู้ดูแลที่ดินราชพัสดุทั้งหมด เพื่อนำมาจัดสรรให้ประชาชนที่ขาดโอกาสและรายได้น้อย ได้เช่าเพื่อประกอบอาชีพตามแต่ความถนัดและเหมาะสม แบ่งสรรพื้นที่ของที่ดินอย่างบริสุทธิ์และยุติธรรม โดยคำนวณค่าเช่าจากรายได้ของผู้เช่า ห้ามการเช่าช่วง การโอนเปลี่ยนผู้ครอบครองเด็ดขาด ซึ่งภาครัฐก็ได้ผลประโยชน์อย่างเหมาะสม ประชาชนผู้เช่าก็จะมีความรับผิดชอบและรู้สึกหวงแหนสิทธิที่ได้รับมา ให้เป็นความเท่าเทียมทางสังคมที่เหมาะสมและเป็นที่ยอมรับให้เป็นบรรทัดฐานที่ถูกต้องของสังคมต่อไป

เป็นนโยบายที่เห็นแล้ว ฮาสุด ๆ เลยต้องให้ภาพนี้เล่าเรื่องแทน

เป็นอีกนโยบายที่เห็นแล้ว ต้องอธิบายด้วยภาพเหล่านี้

ขอเน้นย้ำว่า หน่วยงานที่รับผิดชอบในการออกธนบัตรคือ ธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระ ไม่ใช่กระทรวงการคลัง กระทรวงการคลังที่มีหน้าเพียงออกเหรียญกษาปณ์ กับส่งลายเซ็นของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสำหรับพิมพ์ลงบนธนบัตรเท่านั้น และสำคัญที่สุดเงินดิจิทัลที่ถูกต้องตามกฎหมายในประเทศไทยยังไม่มีมี เงินดิจิทัลทุกชนิดบนโลกใบนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยไม่ได้ให้การรับรองว่าเป็นเงินที่ถูกต้องตามกฎหมาย เงินดิจิทัลที่ถูกต้องตามกฎหมายรับรองโดยธนาคารแห่งประเทศไทยอยู่ระหว่างการพัฒนาโดยธนาคารแห่งประเทศไทยเอง

เปิดตัวขุนพล ‘พรรคใหญ่’ ชิงชัยเก้าอี้ ส.ส. ชลบุรี ใครได้หมายเลขไหน? อย่าจำผิด!!

สำหรับ 10 เขตของจังหวัดชลบุรี ตามการแบ่งเขตของ กกต. มีดังนี้ 

>> เขต 1 อำเภอเมืองชลบุรี (เฉพาะตำบลแสนสุข, ตำบลเหมือง, ตำบลห้วยกะปิ, ตำบลบ้านปีก, ตำบลเสม็ด, ตำบลอ่างศิลา, ตำบลหนองข้างคอก และตำบลหนองรี)          

>> เขต 2 อำเภอเมืองชลบุรี (เฉพาะตำบลบางทราย, ตำบลบ้านโขด, ตำบลมะขามหย่ง, ตำบลบางปลาสร้อย, ตำบลบ้านสวน และตำบลนาป่า)     

>> เขต 3 อำเภอเมืองชลบุรี (เฉพาะตำบลคลองตำหรุ, ตำบลหนองไม้แดง, ตำบลดอนหัวพ่อ และตำบลสำนักบก) อำเภอพานทอง และ อำเภอบ้านบึง (เฉพาะตำบลหนองช้ำซาก, ตำบลมาบไผ่, ตำบลหนองบอนแดง และตำบลหนองชาก)        
                                                                                         
>> เขต 4 อำเภอบ้านบึง (ยกเว้นตำบลหนองซ้ำซาก, ตำบลมาบไผ่, ตำบลหนองบอนแดง และตำบลหนองชาก) อำเภอบ่อทอง และอำเภอหนองใหญ่           
                                                                                                 
>> เขต 5 อำเภอพนัสนิคม และอำเภอเกาะจันทร์                                                                          

‘ชัยวุฒิ’ ยัน!! พปชร. ไม่จับมือ ‘เพื่อไทย-ก้าวไกล’ ชี้!! จุดยืน ‘ม.112 - ยกเลิกเกณฑ์ทหาร’ ไม่ตรงกัน

(12 เม.ย.66) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และรองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ให้สัมภาษณ์ภายหลังพิธีรถน้ำดำหัวพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว. กลาโหม เนื่องในเทศกาลสงกรานต์ 2566 ว่า เนื่องในเทศกาลปีใหม่ไทยคณะรัฐมนตรีจึงมารถน้ำขอพรจากนายกรัฐมนตรี และร่วมพิธีทำบุญ ขณะที่นายกรัฐมนตรีได้อวยพรให้ทุกคนมีความสุข เจริญก้าวหน้า และประสบความสำเร็จ

นายชัยวุฒิ กล่าวว่า ส่วนพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ไม่ได้เดินทางมาร่วมพิธีในวันนี้ เนื่องจากติดภารกิจให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง เพื่ออธิบายนโยบายของพรรคพลังประชารัฐให้ประชาชนได้รับทราบ

นายชัยวุฒิ กล่าวถึงกรณีพล.อ.ประวิตร ระบุสาเหตุที่ไม่สามารถจับมือร่วมกับพรรคการเมืองที่ มีแนวคิดแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา ม.112 ว่า พรรคพลังประชารัฐมีจุดยืนทางการเมืองที่ชัดเจน เราทำงานมา 4 ปีพี่น้องประชาชนรู้อยู่แล้วว่ามีแนวคิดอย่างไร ในเรื่องของการดูแลชาติบ้านเมือง ให้สงบสุขไม่มีความขัดแย้ง โดยเฉพาะเรื่องที่เราคิดว่าเป็นปัญหาและไม่ทำแน่นอน ซึ่งหากมีพรรคการเมืองไหนที่เสนอนโยบายที่เราไม่เห็นด้วย อย่าง เรื่องการแก้ไข ม.112 และการยกเลิกการเกณฑ์ทหาร คงไม่สามารถร่วมงานกันได้อยู่แล้ว นี่เป็นแนวหลักการ ไม่ได้เป็นเรื่องของอคติ หรือความขัดแย้ง 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top