ทีมเศรษฐกิจ ปชป. โชว์แนวทางขับเคลื่อน ศก.ไทย ชูใช้เงิน กบข.-กองทุนสำรองฯ 3 แสนล้าน ให้เกิดสภาพคล่อง

(10 เม.ย.66) ที่พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ทีมเศรษฐกิจพรรคประชาธิปัตย์ ร่วมกันแถลง ‘อัดฉีดเศรษฐกิจ 1 ล้านล้านบาท ใครได้อะไร’ โดยนายพิสิฐ ลี้อาธรรม ประธานคณะกรรมการนโยบาย พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การกระตุ้นเศรษฐกิจ 1 ล้านล้านบาท ไม่ใช่เป็นการแจกเงินทั่วไป ๆ ประชาธิปัตย์มองภาพรวมว่าเศรษฐกิจจะมีทิศทางและต้องเดินต่อไปอย่างไร โดยการดูแลเศรษฐกิจมหาภาค ซึ่งสิ่งที่ประชาธิปัตย์นำเสนอ ต้องการจะให้เศรษฐกิจโตถึง 5 เปอร์เซนต์ ให้ขยายตัวตามศักยภาพที่เรามีอยู่ ดังนั้นเราจะทำอย่างไรให้เศรษฐกิจภาพรวมโตอย่างน้อย 5 เปอร์เซนต์ หากโตไม่ถึงก็จะไม่เป็นแรงจงใจนักลงทุน และไม่มีเงินมาดูแลคนในประเทศ ดังนั้นการให้เศรฐกิจโตอย่างยั่งยืนเป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้น แต่ที่ผ่านมาเรามาผิดทางเพราะเราไปกระตุ้นให้คนใช้จ่ายโดยที่ใช้จ่ายหมดเปลือง ดังนั้นเราจึงต้องกระตุ้นโดยการนำเงินเก่าที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์ ให้ได้ถึง 1 ล้านล้านบาท เพื่อให้เศรษฐกิจมีการขับเคลื่อน ไม่ใช่ไปกู้หรือไปก่อหนี้ ดังนั้นสิ่งที่ประชาธิปัตย์นำเสนอจะต่างจากสิ่งที่รัฐบาลทำมา 

นายพิสิฐ กล่าวต่อว่า หลายพรรคการเมืองมีการพูดเศรษฐกิจโต 5 เปอร์เซนต์ แต่ไม่บอกว่าโตอย่างไร ได้แต่บอกว่าเอาเงินใส่เข้าไปเพื่อใช้จ่าย แต่บอกว่าว่าใช้จ่ายแล้วจะเกิดอย่างไร แต่ประชาธิปัตย์ มีกลไกลที่ทำให้เศรษฐกิจโตอย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ ไม่สร้างปัญหาในอนาคต และพยายามให้หนี้อยู่ในกรอบ เพราะหลายพรรคเสนอวิธีการแก้ปัญหาหนี้โดยการการพักหนี้ บายพลาสระบบเครดิตบูโร ทั้งหมดทำให้เศรษฐกิจอ่อนแอลง หากทำแบบนี้ใครจะกล้าเอาเงินใหม่เข้ามา ถ้าเราใส่ทุนเข้าไปเศรษฐกิจจะมีความแข็งแรงมากขึ้น โดยการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น ด้วยเงิน 1 ล้านล้านบาท จะมีทั้งระดับรากหญ้าโดยผ่านธนาคารหมู่บ้าน ชนชั้นกลางโดยการปลดล็อก กบข. และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เอ็สเอ็มอีและสตาร์ทอัพ โดยเงินก้อนแรกธนาคารหมู่บ้าน ชุมชนละ 2 ล้านบาท ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธกส.) มีเงินอยู่แล้ว และเวลานี้รัฐบาลเป็นหนี้ ธกส. อยู่ 8 แสนล้านบาท ซึ่งรัฐบาลต้องคืนหนี้ธกส. แล้ว ธกส. จะเอาเงินนี้มาใช้เรื่องนี้ได้ และถ้าทุกหมู่บ้าน ทุกชุมชน มีเงินเข้าไปในระบบ โดยมีออมสิน และ ธกส. เข้าไปช่วยกำกับเรื่องบัญชี เราก็จะมีระบบสถาบันการเงินที่ให้ประโยชน์อ่างแท้จริงในระดับรากหญ้า 

“ถ้าประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล เราจะผลักดันให้ทุกหมู่บ้านมีระบบสถาบันการเงินพื้นบ้านให้เกิดขึ้นตามกฎหมายที่มีอยู่แล้ว ซึ่งไม่ต้องเสียเวลาทำมารถทำได้เลยภายในเวลาไม่กี่เดือน สำหรับคนชั้นกลาง ที่มีเงิน กบข. คือข้าราชการไม่สามารถเอามาใช้ได้ ให้สามารถเอาเงินออกมาซื้อบ้านได้ และจะต้องปลดล็อกเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ให้มีสิทธิ์เอาเงินมาใช้ซื้อบ้าน ผ่อนบ้านได้ และช่วยลดปัญหาภารหนี้สิน โดยสามารถปล่อยออกมาได้ 30 เปอร์เซนต์ หรือ 4 แสนล้านบาท ของ 1.4 ล้านล้านบาท แต่อาจจะมีครึ่งหนึ่งที่ไม่เอามาใช้เพราะมีฐานะดีแล้ว ก็อาจจะปล่อยออกมาใช้ประมาณ 2 แสนล้านบาท บวกกับเงิน กบข. 1 แสนล้านบาท รวม 3 แสนล้านบาทในกลุ่มนี้ ซึ่งจะเห็นได้ว่าไม่ได้ใช้เงินหลวงหรือเงินกู้เลย แต่เป็นการปลดล็อคให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนได้” นายพิสิฐ กล่าว

นายพิสิฐ​กล่าวต่อว่าในส่วนเอสเอ็มอีและสตาร์ตอัปที่ขณะนี้ขาดเงินหมุนเวียนและเดือดร้อนมาก 3 ปีที่ผ่านมาเขาเผาหลอกเพราะเงินขาดมือ แต่ตอนนี้เริ่มเผาจริงแล้ว กิจการเริ่มโดนยึดหรือถูกขายทิ้ง ดังนั้นเราต้องรีบในการช่วยเหลือเอสเอ็มอี ที่ผ่านมาธนาคารแห่งประเทศไทยพยายามจะอัดเงินในรูปของซอฟต์โลน แต่ช่วยไม่ได้เพราะซอฟต์โลน ธนาคารฯ ไม่กล้าปล่อยแล้วเพราะกลัวหนี้่จะพุ่งขึ้น สิ่งที่ทำได้คือใส่ทุนลงไป โดยเราตั้งไว้ 3 แสนล้านบาท ซึ่งที่มาของเงินมีอยู่และจะแจ้งคณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.) ต่อไป เพราะพบว่ามีเงินอยู่ในระบบการคลังที่จะทำตรงนี้ได้ โดยเป็นเงินนอกงบประมาณ ยืนยันว่านโยบายของพรรคฯ ไม่ได้ก่อหนี้เพิ่ม แต่เป็นการลดหนี้ และทำได้จริง