Sunday, 19 May 2024
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระดมกำลังปูพรมค้น 91 จุดทั่วประเทศ ตามแผน 'พิทักษ์ประชา ปราบยาเสพติด 1/66'

พล.ต.ท.ประจวบ วงศ์สุข ผู้ช่วย ผบ.ตร. ในฐานะ รอง ผอ.ศอ.ปส.ตร. เปิดเผยว่า ตามนโยบาย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ที่มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหายาเสพติดในทุกมิติ ทั้งการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ทำลายและตัดวงจรเครือข่ายค้ายาเสพติด ทั้งรายใหญ่และรายย่อย ขยายผล ยึดและอายัดทรัพย์สินให้ได้มากที่สุด รวมทั้งการสกัดกั้นลำเลียงยาเสพติดเข้าสู้ประเทศไทย และการส่งออกจากประเทศในผ่านระบบขนส่งพัสดุภัณฑ์ ไปรษณีย์ และระบบ Logistics ทุกรูปแบบ นั้น

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ภายใต้การนำของ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. ได้นำนโยบายรัฐบาล มาสู่การปฏิบัติ โดยมีนโยบายให้ดำเนินการปราบปรามทำลายเครือข่ายผู้ค้ายาเสพติดทุกระดับ และเพิ่มความเข้มในการทำลายเครือข่ายผู้ค้ารายย่อยในระดับชุมชนอย่างจริงจัง สืบสวนจับกุมผู้ค้ารายย่อยในชุนชน ขยายผลไปสู่การจับกุมเครือข่ายผู้ค้ารายสำคัญ และหากมีการจับกุมผู้ต้องหาพร้อมของกลางยาเสพติดจำนวนมาก ให้ทุกหน่วยดำเนินการขยายผล จับกุม ยึด อายัดทรัพย์สินเครือข่ายผู้ค้ายาเสพติดทุกราย โดยดำเนินการสืบสวนและวิเคราะห์ข้อมูลเส้นทางการเงินเพื่อหาความเชื่อมโยงเครือข่ายการค้ายาเสพติด เพื่อกำหนดเป้าหมายให้เจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องดำเนินการสืบสวนจับกุมทำลายเครือข่ายผู้ค้ารายกลางและรายย่อยในพื้นที่ชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

โดยมอบหมายให้ พล.ต.อ.ชินภัทร สารสิน รอง ผบ.ตร./ผอ.ศอ.ปส.ตร. และ พล.ต.ท.ประจวบ วงศ์สุข ผู้ช่วย ผบ.ตร./รอง ผอ.ศอ.ปส.ตร. ขับเคลื่อนการปฏิบัติ ควบคุมกำกับดูแลและสั่งการให้สืบสวนขยายผลคดีรายสำคัญของตำรวจภูธรภาค 5 หลังจากเมื่อวันที่ 28 ก.ย.65 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทำการจับกุมผู้ต้องหา 5 คน พร้อมของกลาง รถยนต์ 3 คัน ยาบ้า 1.5 ล้านเม็ด ในพื้นที่ จว.เชียงใหม่ จากนั้นจึงสืบสวนขยายผลและวิเคราะห์ข้อมูลทางโทรศัพท์และเส้นทางการเงิน จนทราบว่ามีเครือข่ายที่เชื่อมโยงกับตัวการสำคัญ เครือข่ายผู้ค้าระดับกลางและรายย่อยในชุมชน กระจายตัวอยู่ในหลายจังหวัดทั่วประเทศ จึงได้กำหนด เปิดปฏิบัติการ 'พิทักษ์ประชาปราบยาเสพติด 1/66' เมื่อวันพุธที่ 11 ม.ค.66 ที่ผ่านมา โดยปิดล้อมตรวจค้นเป้าหมาย 91 จุด พร้อมกันทั่วประเทศ ในพื้นที่ 13 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร, พระนครศรีอยุธยา, ปทุมธานี, สิงห์บุรี, สระบุรี, ลพบุรี, เชียงใหม่, นครสวรรค์, นครปฐม, สมุทรสงคราม, กาญจนบุรี, เพชรบุรี, และ สุพรรณบุรี โดยมีเป้าหมายจับ 10 หมายจับ

‘โรม’ ซัด ตร. ยื้อ ‘พรบ.ป้องกันทรมาน - อุ้มหาย’ อ้างอุปกรณ์ไม่พร้อม - เจ้าหน้าที่ขาดความรู้

‘โรม’ จี้ นายกฯ-สตช. อย่าใช้วิชามารเลื่อนกฎหมายพิทักษ์สิทธิมนุษยชน หลัง ผบ.ตร. ลงนามหนังสือขอเลื่อนปฏิบัติตาม พ.ร.บ. อุ้มหายฯ อ้างต้องจัดซื้อกล้องจำนวนมาก-เจ้าหน้าที่ขาดความรู้ ย้อนก่อนหน้านี้ ‘สุรเชษฐ์’ รอง ผบ.ตร. เคยบอกพร้อม 

(12 ม.ค. 66) ที่รัฐสภา รังสิมันต์ โรม โฆษกพรรคก้าวไกล แถลงข่าวกรณีผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ลงนามชะลอการบังคับใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2566 ว่า กฎหมายฉบับนี้ผ่านสภามาหลายเดือน แต่กำหนดให้มีผลบังคับใช้หลังประกาศในราชกิจจานุเบกษา 120 วัน เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เตรียมตัวปฏิบัติตามกฎหมายใหม่

รังสิมันต์ กล่าวว่า กฎหมายฉบับนี้มีความสำคัญในฐานะการยกระดับกระบวนการยุติธรรมที่คุ้มครองพี่น้องประชาชน รวมถึงเจ้าหน้าที่รัฐ โดยสาระสำคัญข้อหนึ่งที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) อ้างว่าไม่สามารถปฏิบัติตามกฎหมายฉบับนี้ได้ คือการติดกล้องบันทึกภาพระหว่างปฏิบัติภารกิจ ซึ่งจุดประสงค์ของกฎหมายต้องการให้สามารถตรวจสอบได้ว่า ระหว่างการควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่ ไม่ได้มีการทำร้ายร่างกายหรือซ้อมทรมาน

"หากเราไปดูประเทศที่เจริญแล้ว ที่บังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังและโปร่งใส อย่างสหรัฐอเมริกา หลายประเทศในยุโรป ก็จะพบว่า การที่เจ้าหน้าที่ตำรวจมีการติดกล้องประจำตัวไว้ เป็นเรื่องปกติมาก และทำให้ทราบได้ว่า การควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่ตำรวจ เป็นการควบคุมตัวตามกฎหมายจริงหรือไม่ หากย้อนกลับมาดูที่ประเทศไทย ก็มีการกล่าวอ้างอยู่เป็นระยะว่าการควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่ มีการซ้อมทรมาน การทำร้ายร่างกาย หรือมีการควบคุมตัวที่ไม่ได้เป็นไปตามมาตรฐานสากล ดังนั้นกฎหมายฉบับนี้จึงมีเจตนารมณ์ที่ดี" รังสิมันต์ กล่าว

โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติชี้แจงข้อกังวลกรณีชาวจีนถือวีซ่านักท่องเที่ยวทำธุรกิจในไทย ยืนยันสำนักงานตำรวจแห่งชาติจะบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ตรวจสอบและบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มข้น

(16 ม.ค. 66) เวลา 9.30 น.พลตำรวจตรี  อาชยน ไกรทอง โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ชี้แจงข้อกังวลกรณีชาวจีนถือวีซ่านักท่องเที่ยวทำธุรกิจในไทย ว่า จากกรณีที่สื่อมวลชนได้มีการนำเสนอข่าวว่า ผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหารย่านเยาวราชมีข้อกังวลประเด็นชาวจีนถือวีซ่านักท่องเที่ยวทำธุรกิจในไทย โดยระบุว่า กลุ่มชาวจีนรุ่นใหม่ที่มาลงทุนโดยใช้นอมินี หรือมีเพียงวีซ่านักท่องเที่ยวเข้ามาประกอบธุรกิจหลากหลายประเภทในย่านเยาวราช เช่น ร้านอาหาร ร้านค้าขาย ฯลฯ ผลกระทบที่เกิดขึ้นคือ เม็ดเงินต่างๆ จะกระจายสู่ท้องถิ่นน้อยลง และผู้ประกอบการไทยจะประสบปัญหาในระยะยาว ขณะที่รูปแบบการใช้จ่ายจะใช้จ่ายผ่านระบบของจีนระหว่างคนจีนกับคนจีนด้วยกัน รวมถึงสามารถเปิดบัญชีได้ แต่ไม่ทราบว่าปลายทางของเงินจะกลับไปอยู่ที่ประเทศต้นทางของเขาหรือไม่ แต่ที่เห็นชัดคือ ไม่ต้องเสียภาษีเหมือนกับนักธุรกิจชาวไทยนั้น 

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในฐานะหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายที่มีโทษทางอาญา และสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ในฐานะหน่วยงานตรวจสอบและบังคับใช้พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พุทธศักราช 2522 สรุปดังนี้

1) คนต่างด้าวถือหนังสือเดินทางสัญชาติจีน สามารถเข้าประเทศไทยได้โดยสามารถขอรับการตรวจลงตราที่ท่าอากาศยาน VOA Visa on arrival ประเภทการท่องเที่ยว 15 วัน ซึ่งปัจจุบันมีมติคณะรัฐมนตรี และประกาศกระทรวงมหาดไทย ขยายให้อยู่เป็นจำนวน 30 วัน และเจ้าของพักอาศัยหรือผู้ครอบครองจะต้องแจ้งที่พักอาศัยให้เจ้าหน้าที่ทราบ เมื่อรับคนต่างด้าวเข้าพักในประเทศไทย

ตำรวจไซเบอร์ เตือนภัยข้อความสั้น (SMS) หลอกให้กดลิงก์รับอั่งเปาในช่วงเทศกาลตรุษจีน

พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) ขอประชาสัมพันธ์เตือนภัยมิจฉาชีพ ฉวยโอกาสใช้เทศกาลต่างๆ สำคัญก่อเหตุหลอกลวงประชาชนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ดังนี้
วันตรุษจีน หรือวันขึ้นปีใหม่ตามปฏิทินจีนถือเป็นเทศกาลที่สำคัญ มีการเฉลิมฉลองกันในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วย โดยวันตรุษจีนปีนี้ ตรงกับวันที่ 22 มกราคม 2566 ตามธรรมเนียมจะเป็นวันที่จะไปไหว้ขอพรญาติผู้ใหญ่ หรือคนที่เรานับถือ รวมถึงมีการมอบอั่งเปาให้ระหว่างกัน ไม่ว่าจะเป็นผู้ใหญ่มอบให้เด็ก ลูกหลานมอบให้พ่อแม่ เป็นต้น

แต่ก็เป็นหนึ่งในแผนประทุษกรรมเดิมๆ ของมิจฉาชีพที่นำมาใช้ในการหลอกลวงประชาชน โดยมิจฉาชีพจะฉวยโอกาสดังกล่าวส่งลิงก์ที่แนบมากับข้อความสั้น (SMS) อ้างว่าท่านได้รับอั่งเปาฟรี ได้รับสิทธิพิเศษ หรือได้รับเงินรางวัลต่างๆ มิจฉาชีพจะหลอกลวงประชาชนคลิกเข้าไปในเว็บไซต์ปลอม หลอกลวงให้กรอกข้อมูลส่วนบุคคล และข้อมูลทางการเงิน เช่น ชื่อนามสกุล วันเดือนปีเกิด เบอร์โทรศัพท์ หมายเลขบัตรประชาชน เลขบัญชีธนาคาร เลขบัตรเดบิตหรือเครดิต รหัสหลังบัตร 3 หลัก รหัส OTP เป็นต้น เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในทางมิชอบ ไม่ว่าจะเป็นการนำข้อมูลไปเข้าถึงบัญชีสื่อสังคมออนไลน์แล้วไปหลอกยืมเงินผู้อื่น ใช้บัตรเดบิตหรือเครดิตรูดชำระค่าสินค้า หรือถูกโอนเงินจากบัญชีธนาคาร หรือนำไปแอบอ้างทำเรื่องที่ผิดกฎหมาย

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ให้ความสำคัญ และมีความห่วงใยต่อภัยการหลอกลวงผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับการหลอกลวงเอาข้อมูลส่วนตัวของประชาชน ไปใช้ประโยชน์ในทางมิชอบ โดยได้กำชับไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งวางมาตรการในการป้องกันและปราบปรามอย่างต่อเนื่อง และจริงจัง

'สำนักงานตำรวจแห่งชาติ' แถลงผลงานรอบ 3 เดือน ขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล กวาดล้างอาชญากรรมอย่างเด็ดขาดและต่อเนื่อง

สืบสวนปราบปรามจับกุม คดียาเสพติด คดีออนไลน์ การพนัน อาวุธปืน สถานบริการ เพิ่มความเข้มในการคัดกรองและจัด
ระเบียบคนต่างด้าวฯ แก้ไขปัญหาและช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่

วันนี้ (20 ม.ค. 66) เวลา 11.00 น. ตามนโยบาย พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มอบหมายให้ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. ขับเคลื่อนนโยบายสำคัญของรัฐบาล โดยเฉพาะด้านการปราบปรามอาชญากรรมอย่างเฉียบขาด จริงจัง บังคับใช้ทุกมาตรการทางกฎหมาย ยังคงนโยบาย ผบ.ตร. ในการยกระดับการบริการประชาชน แก้ไขปัญหาอาชญากรรมที่สร้างความเดือดร้อนต่อประชาชน แก้ไขปัญหายาเสพติดทุกมิติ และอาชญากรรมออนไลน์ การพนัน อาวุธปืน สถานบริการ เพิ่มความเข้มในการคัดกรองและจัดระเบียบคนต่างด้าวผิดกฎหมาย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ขอแถลงผลการดำเนินการ ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.65 – 31 ธ.ค.65 ดังนี้

1. ด้านการกวาดล้างอาชญากรรม
1.1 สถิติคดีอาญา 4 กลุ่ม ทั่วประเทศ สามารถจับกุมได้ 221,205 คดี
1.2 การระดมกวาดอาชญากรรมในช่วงเทศกาลสำคัญ (APEC, ฟุตบอลโลก, ปีใหม่) จับกุมความผิดเกี่ยวกับอาวุธปืน วัตถุระเบิด และเครื่องกระสุน ทั้งสิ้น 11,811 คดี ผู้ต้องหา 10,450 คน จับบุคคลตามหมายจับคดีอาญาได้ 9,465 หมายจับ ผู้ต้องหา 9,255 คน จับกุมการลักลอบเล่นการพนันทายผลการแข่งขันฟุตบอลโลก ผู้ต้องหา 12,245 ราย ยึดทรัพย์สินมูลค่ารวม 1,770,565,337 บาท และเงินทุนหมุนเวียน 11,202,398,188 บาท
1.3 กวาดล้างและจัดระเบียบ คนต่างด้าวที่ผิดกฎหมาย ระดมกวาดล้างคนต่างด้าว Overstay ในห้วงวันที่ 1 ธ.ค.-13 ธ.ค.65 จับกุมได้ 7,886 ราย สถิติการจับกุมในข้อหาหลบหนีเข้าเมือง 3,017 ราย, ช่วยเหลือ ซ่อนเร้น 23 ราย และนำพาคนต่างด้าว

4 ราย สถิติการดำเนินคดีในข้อหาตาม พ.ร.บ.ค้ามนุษย์ (10 ประเภทความผิด) จำนวน 34 คดี จับกุมผู้ต้องหาได้ 64 ราย และช่วยเหลือผู้เสียหายได้ 91 ราย (ข้อมูลจาก ศพดส.ตร.)
1.4 โครงการประชาสัมพันธ์ เครือข่ายป้องกันอาชญากรรม
1.4.1 โครงการฝากบ้าน 4.0 ในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2566 มีประชาชนเข้าร่วมโครงการ จำนวน 8,583 ราย  เป็นการลงทะเบียนผ่านทางแอปพลิเคชัน 'ฝากบ้าน 4.0' จำนวน 7,190 ราย และลงทะเบียนผ่านการติดต่อกับสถานีตำรวจ  ในละแวกบ้าน จำนวน 1,393 ราย ขอประชาสัมพันธ์ให้ทราบว่า “สามารถลงทะเบียนฝากบ้าน 4.0 ได้ตลอดทั้งปี ไม่ใช่เฉพาะช่วงเทศกาล”
1.4.2 โครงการ Stop Walk and Talk เป็นการเก็บข้อมูลจากการหยุดรถตรวจพูดคุยกับประชาชน นำข้อมูลมาใช้ในการป้องกันอาชญากรรมก่อนเกิดเหตุ ซึ่งในการห้วงมีการประชุม APEC มีการบันทึกข้อมูลบุคคลที่พบปะพูดคุย จำนวน 593,621 ครั้ง
1.4.3 เพื่อนบ้านเตือนภัย ให้ประชาชนสามารถดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของตนเองได้ในขั้นต้น เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างตำรวจกับประชาชน และระหว่างประชาชนด้วยกัน
1.4.4 โครงการ 1 ตำรวจ 1 หมู่บ้าน พบปะทำความรู้จัก รับฟังปัญหาจากประชาชน แสวงหาความร่วมมือ ทำลายกระบวนการยาเสพติด ควบคุมและลดพฤติกรรมที่อันตราย ในระยะที่ 1 จัดเจ้าหน้าที่ตำรวจลงสู่ชุมชน จำนวน 1,365 ชุมชน แก้ไขปัญหาอาชญากรรมได้ 203 คดี

2. ด้านการป้องกันปราบปรามยาเสพติด
2.1 สถิติการจับกุมคดียาเสพติด จับกุมได้ 69,385 คดี ผู้ต้องหา 68,354 คน (ปริมาณของกลา ยาบ้า 93,118,132 เม็ด, ไอซ์ 77,246 กิโลกรัม, เฮโรอีน 36,861 กิโลกรัม เคตามีน 43,084 กิโลกรัม โคเคน 262 กิโลกรัม และ ยาอี 54,789 เม็ด)
2.2 โครงการค้นหา ผู้ใช้ ผู้เสพ ผู้ติดยา และผู้ป่วยจิตเวช เพื่อนำเข้าสู่การบำบัดรักษา จำนวน 401,452 คน โดย แบ่งเป็น ผู้ใช้ ผู้เสพ ผู้ติดยา จำนวน 350,056 คน ผู้สมัครใจนําเข้ากระบวนการบําบัดยาเสพติด จำนวน 106,937 คน ผู้ป่วยจิตเวชส่งเข้ารับการบำบัด จำนวน 51,396 คน ในจำนวนนี้ เป็นผู้ป่วยจิตเวชสาเหตุจากยาเสพติด จำนวน 25,586 คน
2.3 โครงการชุมชนยั่งยืน ดำเนินการไปแล้วจำนวน 2,966 ชุมชน พบผู้เสพยาเสพติด จำนวน 28,164 คน ในปี พ.ศ. 2566 จะดำเนินการอีกจำนวน 1,483 หมู่บ้าน/ชุมชน นำเข้าสู่การบำบัดรักษาโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน (Community Based Treatment : CBTx)

3. ด้านการปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี
3.1 การแจ้งความออนไลน์ รับแจ้งความ 67,479 คดี ขยายผลและออกหมายจับจำนวน 321 Case ID จับกุมได้ 95 Case ID คิดเป็น 30% พบความเสียหายรวม 8,815,670,563 บาท อายัดบัญชีได้ 24,614 บัญชี อายัดเงินได้ 105,917,104 บาท
3.2 ความร่วมมือภาคีเครือข่ายและการประชาสัมพันธ์
3.2.1 บันทึกข้อความร่วมมือ (MOU) ระหว่าง สำนักงานตำรวจแห่งชาติกับสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ  มีผู้แทนจากกระทรวงดิจิทัลฯ กสทช. ธนาคารแห่งประเทศไทย ปปง. ร่วมเป็นสักขีพยาน
3.2.2 โครงการสร้างภาคีเครือข่ายป้องกันอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (Cyber Vaccine) อบรมครูแม่ไก่ 11 กองบัญชาการ รวม 116 นาย และ ครู ข.ไข่ จำนวน 29 กองบังคับการ
3.2.3 บันทึกความร่วมมือ (MOU) ระหว่างสำนักงานตำรวจแห่งชาติกับไปรษณีย์แห่งประเทศไทย จัดทำโปสเตอร์รูปแบบกลโกงของมิจฉาชีพ จำนวน 2,000,000 แผ่น แจกจ่ายให้ประชาชนและสถานีตำรวจทั่วประเทศ
3.2.4 โครงการ แชทบอท@police1441 ผ่านแอปพลิเคชัน Line เพื่อให้ข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีแก่ประชาชน ตลอด 24 ชั่วโมง
 
3.4 ปรับปรุงระเบียบกฎหมาย
3.4.1 ร่วมกับกระทรวงดิจิทัลฯ เสนอร่าง พ.ร.ก.มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ..... เพื่อให้ครอบคลุมการปฏิบัติของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยร่างกฎหมายดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
3.4.2 ร่วมเสนอร่างประกาศ ปปง. เรื่อง การจัดทำข้อมูลบุคคลผู้เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดมูลฐานและการฟอกเงินฯ เข้าสู่ระบบตรวจสอบรายชื่อบุคคลที่มีความเสี่ยงสูงด้านการฟอกเงิน HR-03

4. ด้านการยกระดับการบริการประชาชนของสถานีตำรวจ
4.1 Service Mind ปรับแนวคิดการให้บริการประชาชนของสถานีตำรวจทั่วประเทศ จำนวน 1,484 สถานี เน้นการให้บริการดุจญาติมิตร รับรู้ แก้ไขปัญหาให้ประชาชนในพื้นที่ ยกระดับการบริการทุกสายงาน เช่น สายตรวจต้องเข้าไปรับรู้ปัญหาของชุมชน (Stop Walk and Talk) พนักงานสอบสวนต้องแจ้งความคืบหน้าทางคดีให้ทราบ เป็นต้น
4.2 สำรวจความพึงพอใจประชาชน ต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งประเทศ โดยมีที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิและนักวิชาการภายนอกเป็นผู้สำรวจจากกลุ่มประชากรเป้าหมาย จำนวน 80,000 หมู่บ้าน ประชาชน 1 ล้าน คน ทำการสำรวจ 2 ครั้ง/ปี (ครั้งที่ 1 ในเดือน ม.ค.66 และ ครั้งที่ 2 ในเดือน ก.ค.66)
4.3 การรับเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ออนไลน์ (ผ่านระบบ JCOMS)  เปิดช่องทางให้ประชาชนได้มีโอกาสร้องเรียน ร้องทุกข์ หรือแจ้งเบาะแสต่าง ๆ ผ่านเว็บไซต์ JCOMS : www.jcoms.police.go.th และเว็บไซต์สำนักงานจเรตำรวจ : www.jaray.go.th หรือสแกนผ่านทาง QR Code ปัจจุบันมีการรับเรื่องร้องเรียน 1,851 เรื่อง แจ้งเบาะแส/ขอความช่วยเหลือ 1,261 เรื่อง รวม 3,112 เรื่อง

สมาคมตำรวจประชุมคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกพนักงานสอบสวนหญิงดีเด่น ระดับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อรับการเชิดชูเกียรติในวันสตรีสากล ประจำปี 2566

ตามที่สมาคมตำรวจได้รับมอบหมายจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้รับผิดชอบในการจัดประชุมพิจารณาคัดเลือกพนักงานสอบสวนหญิงดีเด่น ระดับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อรับการเชิดชูเกียรติในวันสตรีสากล มาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2550 จนถึงปัจจุบัน โดยในปีนี้ สมาคมตำรวจได้กำหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการ เพื่อพิจารณาคัดเลือกพนักงานสอบสวนหญิงดีเด่น ระดับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อรับการเชิดชูเกียรติในวันสตรีสากลประจำปี 2566 เมื่อวันพุธที่ 25 มกราคม 2566 เวลา 08.30 – 17.00 น. ณ ห้องบุณยะจินดา 4 อาคารสโมสรตำรวจ ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ 
โดยมีคณะอนุกรรมการในการร่วมพิจารณา ประกอบด้วย

1. พล.ต.อ.วินัย ทองสอง นายกสมาคมตำรวจ 
ประธานอนุกรรมการ 
2. พล.ต.อ.ชัยยง กีรติขจร รองนายกสมาคมตำรวจ รองประธานอนุกรรมการ
3. พล.ต.ท.สราวุฒิ การพานิช ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ รองประธานอนุกรรมการ 
4. พล.ต.ต.ธวัชชัย นิลานุช ผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการสืบสวนสอบสวน     อนุกรรมการ
5. พล.ต.ต.สหัส โหรวิชิต ผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการสืบสวนสอบสวน       อนุกรรมการ
6.พ.ต.อ.สุริยะ ประภายสาธก ผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการสืบสวนสอบสวน อนุกรรมการ
7.พ.ต.อ.พิพัฒน์ บุญเพ็ชร์ ผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการสืบสวนสอบสวน       อนุกรรมการ
8. พ.ต.อ.หญิง ปวีณา เอกฉัตร ผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการสืบสวนสอบสวน  อนุกรรมการ
9. พ.ต.ท.หญิง ศิริมา ชวะโนทัย ผู้ทรงคุณวุฒิ งานสังคมสงเคราะห์ รพ.ตร 
อนุกรรมการ

10. รศ.สุดสงวน สุธีสร 
ผู้ทรงคุณวุฒิ อดีตอาจารย์คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์   
อนุกรรมการ
11. นางสาว กรรณนิกา เจริญลักษณ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว  
อนุกรรมการ
12. นางสาว ราภรณ์ พงศ์พนิตานนท์ 
ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว     
อนุกรรมการ
13. นางสาว ชนานาถ วิไลรัตน์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว  
อนุกรรมการ

14. พ.ต.อ.ดร.ศิริพล  กุศลศิลป์วุฒิ  รองผู้บังคับการสถาบันส่งเสริมงานสอบสวน อนุกรรมการ
15. พ.ต.อ.วิทวัส  เข่งคุ้ม ผู้กำกับการกลุ่มงานส่งเสริมงานสอบสวน ๑ 
สถาบันส่งเสริมงานสอบสวน อนุกรรมการ
16. พล.ต.ท.สุรพล วิรัตน์โยสินทร์ เลขาธิการสมาคมตำรวจ เลขานุการ    
17. พล.ต.ต.อนุชา สุทธยดิลก ผู้บังคับการสถาบันส่งเสริมงานสอบสวน ผู้ช่วยเลขานุการ
18 เจ้าหน้าที่สถาบันส่งเสริมงานสอบสวนที่ได้รับมอบหมายจำนวน 8 คน    ผู้ช่วยเลขานุการ
19. เจ้าหน้าที่สมาคมตำรวจที่ได้รับมอบหมายจำนวน 2 คน ผู้ช่วยเลขานุการ
20.เจ้าหน้าที่กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวที่ได้รับมอบหมาย
จำนวน 2 คน    
ผู้ช่วยเลขานุการ

ในปีนี้คณะกรรมการดำเนินงานวันสตรีสากลได้มีการเพิ่มรางวัลด้านพนักงานสอบสวนหญิงดีเด่น เป็น 3 รางวัล ดังนี้

ผบ.ตร. พร้อมภาคีเครือข่าย มอบรางวัลคลิปกล้องหน้ารถ 'โครงการอาสาตาจราจร' รวม 180,000 บาท / เริ่มใช้ระบบตัดคะแนน 3 สัปดาห์ มีผู้ถูกตัดคะแนนแล้วกว่าหมื่นราย

วันนี้ (31 ม.ค. 66) เวลา 09.30 น.ณ ห้องสารสิน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. , พล.ต.ท.ธนา  ชูวงศ์ ผู้ช่วย ผบ.ตร. , พล.ต.ท.ประจวบ วงศ์สุข ผู้ช่วย  ผบ.ตร. ,พล.ต.ท.วีระ จิรวีระ รอง จตช. , พล.ต.ท.นัยวัฒน์ ผะเดิมชิต ผบช.สยศ.ตร. และ พล.ต.ต.เอกราช  ลิ้มสังกาศ ผบก.ทล. พร้อมด้วย  นพ.แท้จริง ศิริพานิช เลขาธิการมูลนิธิเมาไม่ขับ, คุณกานดา วัฒนายิ่งสมสุข ที่ปรึกษา ฝ่ายการตลาด บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) คุณนิตยา ลีธีระกุล รองผู้จัดการฝ่ายรายการ สถานีวิทยุพิทักษ์สันติราษฎร์ สวพ.91 และ คุณอัจฉรา บัวสมบูรณ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สถานีวิทยุ จส.100  ร่วมแถลงผลการมอบรางวัล และเกียรติบัตร โครงการอาสาตาจราจร โดยมอบรางวัลให้กับประชาชนเจ้าของคลิปกล้องหน้ารถที่บันทึกอุบัติเหตุทางถนนหรือการกระทำผิดกฎจราจรที่สำคัญ รวม 28 รางวัล เป็นเงิน 180,000 บาท ประกอบด้วยคลิปอุบัติเหตุ ช่วง 7 วันควบคุมเข้มข้นเทศกาลปีใหม่ 2566 จำนวน 7 รางวัล และคลิปประจำเดือน พ.ย. และ ธ.ค.2565 โดยมีบริษัท วิริยะฯ สนับสนุนเงินรางวัลในโครงการนี้   

ผบ.ตร.กล่าวว่า โครงการนี้ เป็นการสร้างความร่วมมือจากภาคประชาชน  เพื่อร่วมกันเป็นตาจราจร สอดส่องการทำผิดกฎจราจรบนท้องถนน เมื่อประชาชนเกิดการรับรู้ว่า บนถนนอาจมีกล้องหน้ารถบันทึกการฝ่าฝืนกฎจราจรและจะถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจติดตามมาดำเนินคดี จะช่วยยับยั้งการฝ่าฝืนกฎหมายบนท้องถนน โดยคลิปต่าง ๆ จะเป็นพยานหลักฐานให้เจ้าหน้าที่ตำรวจติดตามผู้กระทำผิดมาดำเนินคดี ตลอดจนเป็นพยานหลักฐานในชั้นศาลเพื่อพิจารณาลงโทษผู้ทำผิด โดยประชาชนผู้ที่พบเห็นการทำผิดกฎจราจร หรืออุบัติเหตุ สามารถส่งคลิปมาในช่องทางที่กำหนด ได้แก่ เพจตำรวจทางหลวง เพจกองบังคับการตำรวจจราจร รวมถึงเพจเครือข่ายที่ร่วมโครงการ ทั้งเพจมูลนิธิเมาไม่ขับ สวพ.91 และ จส.100 คลิปสำคัญที่ได้รับการคัดเลือก

นอกจากประชาชนจะได้รับเงินรางวัลแล้ว ยังได้รับใบประกาศเกียรติคุณจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในฐานะพลเมืองดี ช่วยส่งพยานหลักฐานเพื่อช่วยคนดีชี้คนผิด เป็นส่วนหนึ่งในการลดอุบัติเหตุทางถนน ทางด้าน นพ.แท้จริง ศิริพานิช เลขาธิการมูลนิธิเมาไม่ขับ  กล่าวเสริมว่า เพื่อให้เกิดการรณรงค์สร้างจิตสำนึกการขับขี่ในช่วงปีใหม่ที่ผ่านมา  โครงการได้มีรางวัลพิเศษ ให้กับเจ้าของคลิปที่บันทึกเหตุการณ์อุบัติเหตุ หรือการทำผิดกฎจราจรช่วง 7 วันควบคุมเข้มข้นเทศกาลปีใหม่ 2566 (29 ธ.ค.65 – 4 ม.ค.66) รวมจำนวน 7 รางวัล รางวัลละ 10,000 บาท  ซึ่งผลของโครงการนี้ เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยในการสร้างการตระหนักรู้ในการ ขับขี่ปลอดภัย ให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมาย ช่วยลดอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลปีใหม่อย่างเป็นรูปธรรม

รายงานผลการดำเนินงานและการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ Performance Report and Exchange of Views on Combating Human Trafficking

วันอังคารที่ ๓๑ มกราคม 256๖ เวลา ๑๔.00 - ๑๖.๓๐ น. ณ ห้องประชุมศรียานนท์ ชั้น 2 อาคาร 1 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พลตำรวจเอก สุรเชษฐ์  หักพาล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการศูนย์พิทักษ์เด็ก สตรี ครอบครัว ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ และภาคประมง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ให้ความสำคัญในเรื่องการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ เพื่อให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากยิ่งขึ้น จึงมีการประชุมหารือ แนวทางการแสวงหาความร่วมมือระหว่างสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วยงานต่อต้านยาเสพติดและอาชญากรรมต่างประเทศประจำประเทศไทย (Foreign Anti-Narcotics and Crime Community of Thailand : FANC) โดยกล่าวรายงานผลการดำเนินการค้ามนุษย์ (TIP Report) ในหัวข้อดังนี้ รูปแบบการค้ามนุษย์ในปีปัจจุบัน สถิติคดี ค้ามนุษย์และค้าประมง ความสำเร็จการดำเนินคดีในแต่ละชั้น (ตำรวจ ศาล อัยการ) การดำเนินคดีเจ้าที่รัฐ สถิติคดีค้าแรงงานในภาคประมง และผลสำเร็จการดำเนินคดีระหว่างประเทศ

ผบ.ตร.เซ็นย้ายขาด ผกก.สน.ห้วยขวาง แต่ยังให้ช่วยราชการ ศปก.เหมือนเดิม เพื่อเปิดทางคณะกรรมการสอบสวนดำเนินการเต็มที่ ย้ำหากหลักฐานเอี่ยวถึงใครฟันเด็ดขาดทั้งอาญา วินัย และปกครอง

วันที่ 1 ก.พ. 66  ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  พล.ต.ต.อาชยน ไกรทอง โฆษก ตร.เปิดเผยถึง การย้าย ผกก.สน.ห้วยขวาง ว่า “เดิม พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร.มีคำสั่งด่วนให้ ผบช.น.สั่งการให้ พ.ต.อ.ยิ่งยศ สุวรรณโณ ผกก.สน.ห้วยขวาง มาช่วยราชการที่ ศปก.บช.น  เป็นการลงโทษทางปกครองไปก่อนในฐานะที่เป็นหัวหน้าสถานีไม่สามารถควบคุมกำกับดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาในสังกัด

ต่อมาถึงช่วงการแต่งตั้งโยกย้ายประจำปี ทางกองบัญชาการตำรวจนครบาล พิจารณาแล้วเห็นว่า สมควรปรับย้ายข้าราชการตำรวจ เพื่อให้การรวบรวมพยานหลักฐานกรณีมีข้าราชการตำรวจในสังกัดสถานีตำรวจนครบาลหัวยขวางบางรายบกพร่องต่อการปฏิบัติหนัาที่และน่าสงสัยว่ากระทำความผิดทางวินัยหรืออาญา ตรงตามความเป็นจริงและเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย  จึงเสนอเปลี่ยนแปลงการแต่งตั้งดำรงตำแหน่ง จำนวน 2ราย มายัง ตร. และต่อมา ตร. ได้มีคำสั่งที่ 72/2566 ลงวันที่ 30 ม.ค.66  ให้ พ.ต.อ.ยิ่งยศ สุวรรณโณ ผกก.สน.ห้วยขวาง โยกไปเป็น ผกก.สน.หนองจอก โดยให้ พ.ต.อ.สุกฤต มังคละสวัสดิ์ ผกก.สน.ราษฎร์บูรณะ เป็น ผกก.สน.ห้วยขวาง แทน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ.2566 เป็นต้นไป

ผบ.ตร.สั่งเข้มทุกหน่วย ปฏิบัติตามกฎเหล็กจุดตรวจ ตำรวจแต่งเครื่องแบบ มี bodycam บันทึกข้อมูลด่าน ใช้วาจาสุภาพ แม่นกฎหมาย นำหลักรัฐศาสตร์มาช่วยในการตรวจตรานักท่องเที่ยวเพื่อสร้างภาพลักษณ์บรรยากาศการท่องเที่ยวที่ดี พร้อมสั่งคุมอบายมุขทุกประเภท ห้ามปล่อยปละละ

วันนี้ (6 ก.พ.66) เวลา 13.00 น. พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. พร้อมด้วย พล.ต.อ.วิสนุ ปราสาททองโอสถ จตช., พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ รอง ผบ.ตร., พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร., พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รอง ผบ.ตร. และ ผู้ช่วย ผบ.ตร. ประชุมทางไกลผ่านระบบออนไลน์ ร่วมกับ ผบช., ผบก.,รอง ผบก. และ หน.สถานี หน่วยต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อกำชับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจการตั้งด่าน จุดตรวจ จุดสกัด การลงข้อมูลในระบบ TPCC การเสริมสร้างทางวินัยคุมเข้มการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่และอบายมุขทุกประเภท ในที่ประชุม ผบ.ตร.สั่งการให้หน่วยปฏิบัติตามหนังสือบันทึกข้อความด่วนที่สุดที่ 0007.22/438 ลงวันที่ 2 ก.พ. 66 เรื่อง กำชับการปฏิบัติเกี่ยวกับการตั้งด่านตรวจ จุดตรวจ และจุดสกัด 
 

โดยเน้นย้ำเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่ประจำด่านตรวจ จุดตรวจ และจุดสกัดทุกนายแต่งเครื่องแบบและติดกล้องบันทึกภาพเคลื่อนไหวแบบดิจิทัล (Police Body Camera) ตลอดระยะเวลาการปฏิบัติ ให้บันทึกภาพและเสียงขณะตรวจไว้ตลอดเวลา แล้วนำไปจัดเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของหน่วยในโอกาสแรกหลังเลิกการปฏิบัติ โดยเก็บไว้ไม่น้อยกว่า 20 วัน การตั้งจุดตรวจเพื่อป้องกันปราบปรามอาชญากรรม และจุดตรวจเพื่อบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก ต้องได้รับอนุมัติจาก ผบก. ขึ้นไปทุกครั้ง

กำชับการตั้งด่านตรวจ จุดตรวจ ให้ทุกหน่วยลงข้อมูลในสารสนเทศของ ตร. (Thai Police Checkpoint Control : TPCC) ให้ผู้บังคับบัญชาระดับ ตร. บช. หรือ ภ. และ บก. หรือ ภ.จว. ออกสุ่มตรวจการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการตั้งด่านตรวจ จุดตรวจ และจุดสกัดให้เป็นไปตามแนวทางที่ ตร.กำหนด หากตรวจพบให้แนะนำ ตักเตือน ปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องโดยเร็ว ทั้งนี้ ให้ติดตามผลการปรับปรุงแก้ไขในกรณีดังกล่าวด้วย  พร้อมให้ จต. สุ่มตรวจการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการตั้งด่านตรวจ จุดตรวจ โดยนำข้อมูลจุดบกพร่อง ปัญหาที่พบเข้าที่ประชุมบริหารระดับภาค หรือ ตร. เพื่อแก้ไขปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

หากมีกรณีร้องเรียน ปรากฏเป็นข่าว หรือปรากฏตามสื่อสังคมออนไลน์ และผลการตรวจสอบพบว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจมีพฤติการณ์ส่อไปในทางทุจริต หรือแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบหรือเรียกรับสินบน ให้พิจารณาดำเนินการทางวินัย อาญา และปกครอง แล้วแต่กรณีกับเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง และพิจารณาข้อบกพร่องของผู้บังคับบัญชาผู้ที่มีหน้าที่ควบคุมกำกับ ดูแล จนถึง หน.สถานี หรือ ระดับ บก.หรือ ภ.จว. ที่ปล่อยปละละเลย แล้วแต่กรณีด้วย 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top