Saturday, 18 May 2024
ประเทศไทย

‘อ.พงษ์ภาณุ’ เปิดมุมมอง ‘หนี้สาธารณะ’ กับการพัฒนาประเทศ ข้อดี ‘ก่อหนี้-กู้ยืม’ สร้างแรงส่งสู่การลงทุน เพื่ออนาคตเศรษฐกิจ

ทีมข่าว THE STATES TIMES ได้พูดคุยกับ อ.พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ อดีตปลัดกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา อดีตรองปลัดกระทรวงการคลัง และผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ระดับประเทศ ที่มาร่วมพูดคุยในรายการ Easy Econ ซึ่งออกอากาศทางสถานีวิทยุ ส.ทร. FM93.0 MHz และสื่อออนไลน์ ในเครือ THE STATES TIMES ในประเด็น 'หนี้สาธารณะกับการพัฒนาประเทศ' เมื่อวันที่ 25 ก.พ.67 โดย อ.พงษ์ภาณุ กล่าวว่า…

หลังการแพร่ระบาดของโควิด ประเทศหลายประเทศ ทั้งประเทศร่ำรวยและประเทศกำลังพัฒนา ต่างก็มีระดับหนี้สาธารณะสูงขึ้นมาก และเมื่อธนาคารกลางปรับดอกเบี้ยสูงขึ้นในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา หนี้สาธารณะจึงเริ่มเป็นปัญหาและในบางประเทศเข้าขั้นวิกฤต เช่น สหรัฐอเมริกาเริ่มมีปัญหาเพดานหนี้จนอาจถึงขั้นรัฐบาลปิดดำเนินการ (Government Shutdown) จีนมีปัญหาหนี้รุนแรงในระดับรัฐบาลท้องถิ่นจนรัฐบาลกลางต้องเข้าไปอุ้ม ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป (EU) ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขหนี้ตามสนธิสัญญา Maastricht ได้

แม้ว่าในบางครั้งหนี้อาจเป็นปัญหาและก่อให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจได้ก็ตาม แต่หนี้โดยตัวเองไม่ได้เป็นสิ่งเลวร้ายที่จะต้องหวาดกลัวเสมอไป การก่อหนี้หรือการกู้ยืมมีบทบาทสำคัญทางเศรษฐกิจ ที่ทำให้เกิดการลงทุนเพื่อสร้างผลผลิตเพื่อการบริโภคในอนาคตแทนที่จะบริโภคหมดไปในปัจจุบัน ตลาดและสถาบันการเงินมีหน้าที่หลักในการระดมทุนจากผู้ออมและจัดสรรทุนในรูปหนี้หรือทุนไปยังกิจกรรม/โครงการที่นำไปสู่การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ระดับประเทศก็เช่นกัน การก่อหนี้สาธารณะมีจุดประสงค์เพื่อให้รัฐบาลมีทรัพยากรเสริมจากรายได้ภาษีอากร เพื่อจัดให้มีบริการที่จำเป็นต่อประชาชนและลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ

ยิ่งถ้าเป็นประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งมีข้อจำกัดด้านทรัพยากรที่จะระดมมาใช้ในการพัฒนาประเทศ อาจมีความจำเป็นต้องอาศัยเงินทุนจากภายนอกเข้ามาเสริมเงินออมในประเทศ ระเบียบโลกจึงได้กำหนดให้มีโครงสร้างทางตลาดและสถาบันที่เอื้อต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุนข้ามพรมแดนไปยังที่ที่มีความต้องการใช้เงินทุนนั้น

แต่ก็มีบุคคลบางกลุ่มพยายามบิดเบือนและสร้างความสับสนวุ่นวายขึ้นมาในสังคมไทยอยู่เนือง ๆ โดยเฉพาะกับข่าวแผนการออกพันธบัตรในต่างประเทศ ว่าเป็นการเปิดประตูเมืองชักศึกเข้าบ้าน ซึ่งจะนำไปสู่หายนะทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นแนวคิดที่มีอคติอย่างรุนแรงต่อกลไกตลาดการเงินระหว่างประเทศ

ประเทศไทยในฐานะประเทศกำลังพัฒนา ได้รับประโยชน์มหาศาลจากตลาดการเงินโลก เช่นเดียวกับประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงออกพันธบัตรรัฐบาลไทยในตลาดโลกครั้งแรก ที่ตลาดลอนดอน เมื่อกว่า 100 ปีมาแล้ว เพื่อก่อสร้างทางรถไฟสายแรกของประเทศไทย โครงสร้างพื้นฐานของประเทศสำคัญ ๆ ล้วนใช้เงินกู้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศทั้งนั้น อาทิเช่น ทางหลวงแผ่นดิน ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน เป็นต้น รัฐบาลประยุทธ์ก็กู้เงินเป็นเงินตราต่างประเทศจำนวนมาก หากไม่มีแหล่งเงินทุนจากต่างประเทศ ประเทศไทยคงไม่มีโอกาสพัฒนาเป็นประเทศที่มีรายได้ระดับปานกลางเช่นทุกวันนี้

ประเทศไทยมีระบบบริหารจัดการหนี้สาธารณะที่ดีที่สุดประเทศหนึ่งของโลก กฎหมายการเงินการคลังของไทยวางโครงสร้างและสถาบันภาครัฐเพื่อสร้างหลักประกันแห่งวินัยการเงินการคลังที่เหมาะสม และรัฐบาลไทยก็ถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดเสมอมา 

วันนี้หนี้สาธารณะของประเทศอยู่ในระดับปลอดภัยและมีองค์ประกอบที่เหมาะสม ทุนสำรองระหว่างประเทศมีความมั่นคง ประเทศไทยมี Credit Rating ในระดับ Investment Grade เสมอมา

ดังนั้น การออกพันธบัตรรัฐบาลในตลาดต่างประเทศ จึงไม่ใช่เรื่องที่จะเอามาสร้างความตระหนกตกใจในสังคมไทย ในทางตรงกันข้าม ทำนองเดียวกับการออกพันธบัตรเพื่อสร้าง Yield Curve ของตลาดตราสารหนี้ในประเทศ แผนการออกพันธบัตรในตลาดต่างประเทศดังกล่าวจะช่วยเสริมสร้างความน่าเชื่อถือของประเทศในสายตานักลงทุนระดับโลก และสร้างตลาดอ้างอิง (Benchmark) ให้กับตราสารหนี้ของภาคเอกชนที่จะพึงมีในอนาคตหากจำเป็น

'หนุ่ย พงศ์สุข' อึ้ง!! คำค้นหายอดนิยมในไทยที่ทั่วโลกเห็น หลายคำเห็นแล้วควรกลับมาปรับปรุงศึกษาในเชิงพฤติกรรม

เมื่อวานนี้ (27 ก.พ. 67) จากกรณีที่มีการเปิดเผย Digital Trends ปี 2024 จาก We Are Social ได้เปิดเผยข้อมูลที่น่าสนใจ เกี่ยวกับการจัดอันดับเว็บไซต์ที่คนไทยเข้ามากที่สุด 20 อันดับแรก พบว่ามีการค้นหาเว็บที่ไม่เหมาะสมกับเยาวชนเป็นอันดับต้น ๆ 

ล่าสุดพิธีกรด้านไอทีชื่อดังอย่าง ‘หนุ่ย พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์’ ได้อัปเดตผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ‘พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์’ พูดถึงประเด็นเรื่อง คีย์เวิร์ด หรือ คำค้นหา ยอดนิยมของคนไทย ระบุข้อความว่า 

"รายงานนี้ไปทั่วโลก … ‘รายงานการใช้อินเทอร์เน็ตของไทย’ ประเทศอื่นผมยังไม่ได้อ่านรายงาน แต่ประเทศไทยเรา มีผลค้นหาคำว่า ‘xี’ เป็น Top Google Searches อันดับ 15 เรามี ‘เว็บโป๊’ อยู่ใน Top10 และมีถึง 2 เว็บใน Top 20… ใครไม่อาย ผมอาย ! จะอ่านเพื่ออายไปด้วยกันหรือศึกษาในเชิงพฤติกรรม น่ารู้ทั้งนั้นครับ ปรับใช้กับการงานเราได้ เมื่อรู้รายละเอียดพฤติกรรมต่าง ๆ นี้ 

https://www.beartai.com/news/itnews/1363460 ภาพ Info ทุกช่องในบทความนี้สไลด์ขวาเพื่อซูมดูได้หมดทั้งรายงาน

ป.ล. ตั้งแต่ยุคแรกที่มีการเปิดเผยรายงานอินเทอร์เน็ตไทย ยุคนั้นเพื่อนผมผู้จัดทำรายงาน (โดยอีกบริษัทหนึ่ง) เพื่อนเปิดเผยว่าเขาต้อง ‘ตัดออกหลายคำค้น’ เพราะเผยแพร่ไปคงไม่ดี ยุคนี้กล้าเปิดเผยกันแล้ว… พฤติกรรมการค้นหาเรายังไม่ต่างจากการใช้อินเทอร์เน็ตยุคแรกนัก 

xี น่าอาย แต่ไม่น่าห่วงเท่า พนัน ครับ"

'รมว.ปุ้ย' เร่งผลักดันอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์แบบไร้รอยต่อ ลั่น!! ให้การสนับสนุนผู้ประกอบการทุกด้านอย่างเต็มศักยภาพ

เมื่อวานนี้ (1 มี.ค. 67) นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า เป็นที่ทราบกันดีว่า รัฐบาลได้มุ่งสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า หรือ EV ที่รัฐบาลได้มีการกำหนดมาตรการต่าง ๆ ในการส่งเสริม อาทิ การลดอัตราอากรขาเข้ารถยนต์สำเร็จรูป และการลดอัตราภาษีสรรพสามิต เป็นต้น โดยในขณะนี้อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า หรือ EV มีการเติบโตขึ้นเป็นลำดับ มีนักลงทุนมากมายให้ความสนใจในการเข้ามาลงทุนในประเทศ 

แต่ในขณะเดียวกันการส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าก็ส่งผลให้ยอดขายรถยนต์เครื่องยนต์สันดาป หรือ ICE ปรับตัวลดลง ส่งผลต่อยอดขายของผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์และอุตสาหกรรมสนับสนุนตกลงเป็นอย่างมาก ซึ่งผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และอุตสาหกรรมสนับสนุนที่เป็นหนึ่งในห่วงโซ่อุปทาน และมีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ รวมถึงมีส่วนสำคัญในการช่วยขับเคลื่อนให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรมยานยนต์ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ซึ่งในขณะนี้กลุ่มอุตสาหกรรมเหล่านี้ได้ประสบปัญหาดังที่กล่าวถึง กระทรวงอุตสาหกรรม จะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง จึงมอบหมายให้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม เร่งหารือและรับฟังความคิดเห็นจากผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับทราบถึงประเด็นปัญหาความต้องการจากภาคเอกชนในส่วนของอุตสาหกรรมสนับสนุน รวมทั้งเป็นแนวทางการช่วยเหลือและสนับสนุนที่ตรงจุดและตรงต่อความต้องการ

รมว.พิมพ์ภัทรา กล่าวต่อว่า จากการรับฟังปัญหาและข้อเสนอแนะ พบว่า ผู้ประกอบการชิ้นส่วนยานยนต์และผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมสนับสนุนที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนผ่านไปสู่ยานยนต์ไฟฟ้า ได้ประสบปัญหาในการดำเนินธุรกิจในด้านต่าง ๆ อาทิ ปัญหาบุคลากรในภาคอุตสาหกรรม ปัญหาการปรับเปลี่ยนสายการผลิตไปสู่อุตสาหกรรมอื่น ปัญหาต้นทุนการเงินที่สูง ปัญหาจากมาตรการความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) 

รวมถึงมาตรการและนโยบายอื่น ๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการประกอบธุรกิจ อาทิ มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti-dumping: AD) มาตรการต่ออายุสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าที่ผลิตภายในประเทศ (CKD) และการกำหนดคำนิยามของวัตถุดิบภายในประเทศ (Local Content : LC) ให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น เช่น Local Content ในระบบราง เป็นต้น ซึ่งข้อเสนอดังกล่าวนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม ได้มอบหมายให้หน่วยงานภายใต้สังกัดเร่งดำเนินการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาภาคอุตสาหกรรมสนับสนุนใน 3 ประเด็นหลัก ตามข้อเสนอแนะจากกลุ่มผู้ประกอบการ ประกอบด้วย...

1) การพัฒนาและส่งเสริมกลุ่มอุตสาหกรรม โดยการเพิ่มทักษะและพัฒนาองค์ความรู้ให้แก่บุคลากรภาคอุตสาหกรรม รวมถึงสนับสนุนกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในการลดการปล่อย CO2 เพื่อรองรับนโยบายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) 

2) การส่งเสริม สนับสนุน และปรับตัวเพื่อปรับเปลี่ยนสายการผลิตไปสู่อุตสาหกรรมอื่นตามที่ผู้ประกอบการได้เสนอมา เช่น อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ เครื่องมือแพทย์และเครื่องมือแพทย์สำหรับสัตว์เลี้ยง เครื่องจักรกลการเกษตร ชิ้นส่วน Aftermarket การผลิตชิ้นส่วนทดแทน (REM) อุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมการบิน และระบบราง เป็นต้น

3) การสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำผ่านทาง SME D Bank และกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ และสนับสนุนการค้ำประกันผ่านโครงการติดปีก SMEs ไม่มีหลักทรัพย์ดีพร้อมค้ำประกันให้ 

ทั้งนี้ ในเรื่องของมาตรการและนโยบายที่เป็นอุปสรรคต่อการประกอบการ ทางกระทรวงอุตสาหกรรมจะทำการศึกษาและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเร่งดำเนินการให้เป็นไปตามข้อเสนอของผู้ประกอบการต่อไป

รมว.อุตสาหกรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวงอุตสาหกรรม ยังได้มีการหารือกับทางกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง เพื่อกำหนดแนวทางการคิดอัตราอากรขาเข้าของอุตสาหกรรมส่วนยานยนต์ และอุตสาหกรรมสนับสนุน นอกจากนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม ได้มีโอกาสร่วมหารือ นายไซโตะ เคน รัฐมนตรีว่าการกับการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรม (METI) ของญี่ปุ่น โดยมีแนวทางความร่วมมือและแลกเปลี่ยนกรอบการทำงานร่วมกัน เพื่อการพัฒนากลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์อุตสาหกรรมสนับสนุน โดยมุ่งเน้นการพัฒนาใน 4 ประเด็น...

1) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนจากยานยนต์ 
2) การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของภาคอุตสาหกรรมการผลิต 
3) การลดปริมาณของเสียหรือชิ้นส่วนจากยานยนต์ (End-of –Life Vehicle) 
และ 4) การพัฒนาพลังงานสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ พร้อมทั้ง เสนอให้ทางญี่ปุ่นพิจารณาให้ไทยเป็นแหล่งสุดท้ายในการผลิตรถยนต์สันดาปภายใน (Last man standing) ควบคู่ไปกับการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ซึ่งนายไซโตะ เคน รัฐมนตรีว่าการกระทรวง METI มีความเห็นพ้องกับแนวทางนี้เช่นกัน 

‘ผบ.ทร.’ ยัน!! ‘เกาะกูด’ เป็นของไทย ไม่มีทางเป็นของ ‘กัมพูชา’ เด็ดขาด

จากกรณีการหาผลประโยชน์บนพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-กัมพูชา ที่กำลังเป็นกระแสวิพากษณ์วิจารณ์อยู่ในขณะนี้ ว่าอาจทำไทยส่อสูญเสียเกาะกูด จ.ตราด ล่าสุด พล.ร.อ.อะดุง พันธุ์เอี่ยม ผบ.ทร. ได้แสดงจุดยืนที่หนักแน่น ยืนยันเกาะกูดเป็นของประเทศไทย ไม่มีทางเป็นของกัมพูชาเด็ดขาด โดยระบุว่า…

“อย่าง ‘เกาะกูด’ เพื่ออธิบายให้ท่านเข้าใจ สนธิสัญญา ‘ไทย-ฝรั่งเศส’ เกาะกูดเป็นของไทย ไม่มีทางเป็นอื่น เพราะสนธิสัญญาไทยฝรั่งเศสเขียนไว้อย่างนั้น ฉะนั้นไม่ต้องกังวล เกาะกูดไม่มีทางไปเป็นของประเทศกัมพูชาเด็ดขาด”

ส่อง 'เขมร' จัด 'เรือรบ' พร้อมทหารกล้า เตรียมล่าขุมทรัพย์ไทย ส่วนประเทศไทยมี 'เรือประมงสู้' พร้อมนักการเมืองส้มชักธงรบ

ประเด็น 'เกาะกูด' ที่คนไทยถูก 'มนต์เขมร' อ้างอีกครั้งว่าเป็นพื้นที่ทับซ้อน หวังจะตะกายฮุบไปครองเพื่อ 'สมบัติใต้ทะเลลึก' ในอนาคต ผมคิดว่ายังไงก็เป็นได้แค่ 'ปาหี่ยี่ห้อเขมร' ที่ถนัดแต่แสวงหาสมบัติของคนอื่นมาเป็นของตัวเองหน้าตาเฉย

ที่ผ่านมาก็ลักเอาทรัพย์สินทางปัญญา, ศิลปะการต่อสู้, แผ่นดิน บัดนี้ก็ถึงเวลาของท้องทะเลไกล 

แต่งานนี้ 'เป็นไปได้' ที่มี 'คนไทยนิสัยขายชาติ' รวมหัวเล่นบทตีสองหน้า แฝงหัวใจเป็น 'พ่อค้าสินในน้ำ' เพราะไม่ใช่จะมีแค่เพชร, พลอย หรือปะการังแปลก ๆ งาม ๆ แต่คือ แหล่งน้ำมันใต้ทะเลไทย ที่หากใครครอบครองได้ก็จะร่ำรวย มีเงินมากกว่า 'Bernard Arnault' และ 'Elon Musk' รวมกันเป็นแรงจูงใจให้คิดทรยศชาติตัวเอง 

แต่สุดท้ายเรื่องนี้ก็จะหายไปกับสายลม เมื่อคนไทยตื่น และตระหนักถึงความหวงแหนแผ่นดิน...โจรต่างชาติอย่างเขมร ก็ต้องคิดหนัก

อย่างไรเสีย ก็มีข่าวโปรยออกมาสักพักแล้วว่า 'นักลักชาวเขมร' ได้เตรียมเรือรบ ทหารกล้า อาวุธหนัก มาตรึงกำลังใกล้เราแค่จมูก หวังขู่ให้คนไทยกลัว แต่คนไทยอย่างพวกเรามี 'กองทัพเรือประมง' ที่อดีตหัวหน้าพรรคการเมืองล้มสถาบัน คอยใช้อวน สุ่ม เบ็ด ตาข่าย และแห เป็นอาวุธประจำเรือ ก็ยากที่ 'เขมรหิว' จะฝ่าด่าน 'เรือประมงส้ม' ของนายพล พิธา จมูกยาว ผู้บัญชาการประมงคนปัจจุบันเข้ามาได้

เขมรใช้เรือรบ ใช้ปืน ใช้ทหาร แต่เราชาวไทยตะโกนถามเขมรกลับไปดังก้องทะเลว่า “ทหารมีไว้ทำไม?” ทำให้เขมรสามสี่ห้าฝ่าย งง จนต้องหยุดชะงักแผนการกลืนเกาะของประเทศเพื่อนบ้านอย่างเราลงชั่วคราว 

'มหาโจรยึดเกาะ' ต่างสงสัยในคำถาม “ทหารมีไว้ทำไม?” จนต้องเอา 'ปริศนาธรรม' ของ 'นายพลส้ม' มาขบคิดต่อถึงความปราดเปรื่องเรื่องการปกป้องผืนทะเลไทย 

เรื่องราวของ 'เกาะกูด' ที่กำลังเป็นข่าวอยู่ในขณะนี้ แม้จะยังไม่มีบทสรุปออกมาในเนื้อข่าว แต่เดาได้ง่าย ๆ ว่า สิ่งใดที่เป็นของคนไทย ก็จะเป็นของไทยวันยังค่ำ สิ่งใดที่ฉลาดล้ำ ก็จะไม่มีทางโง่เง่าเต่าตุ่น 

'ทหารมีไว้ทำไม?' ไม่เห็นต้องเก็บเอาไปคิดเลย

ส่องจำนวนนักกีฬา 'อาเซียน' สู้ศึก 'โอลิมปิก' ที่ปารีส

ชวนส่องจำนวนนักกีฬาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แต่ละประเทศ ที่มีคุณสมบัติเข้าร่วมการแข่งขัน​กีฬาโอลิมปิก​ 2024 ที่ปารีส ซึ่ง ‘ประเทศไทย’ ของเรา ​มีจำนวนนักกีฬา​มากเป็นอันดับ 1 ✨🇹🇭

สำหรับชาวกัมพูชา​ คงจริงดังที่ชาวเน็ตกัมพูชาพูดเอาไว้ว่า "โอลิมปิกไม่สำคัญ​เท่าซีเกมส์” เพราะยังไงกัมพูชาก็ไม่มีโอกาสได้ไปโอลิมปิกแน่นอน…

'ไทยซัมมิทฯ' ชี้!! ทุนจีนที่ทำ EV ไม่ต่างจากทัวร์ศูนย์เหรียญ เข้ามาตั้งโรงงาน ดึง บ.ผลิตชิ้นส่วนเข้ามาเอง ไม่ซื้อของจาก บ.ไทย

(6 มี.ค.67) จากบทสัมภาษณ์ของ ดร.สาโรจน์ วสุวานิช รองประธานกิตติมศักดิ์ บมจ.ไทยซัมมิทกรุ๊ป และกรรมการและประธานกิตติมศักดิ์ บมจ.ไทยซัมมิท ฮาร์เนส ในฐานะประธานสภาอุตสาหกรรมภาคตะวันออก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท) ได้เปิดเผยเกี่ยวกับทุนจีนที่เข้ามาตั้งโรงงานในประเทศไทย โดยได้ให้มุมมองไว้ว่า...

“รถยนต์ไฟฟ้า EV จากจีนที่เข้ามาทุกวันนี้ ก็ไม่ต่างอะไรกับทัวร์ศูนย์เหรียญเพราะจีนที่มาตั้งโรงงานเอาเครือข่ายที่ผลิตชิ้นส่วนเข้ามาทั้งหมด ไม่ซื้อกับคนไทยเลย ต่างกับบริษัทญี่ปุ่นที่ยังแบ่งให้คนไทยบ้าง แต่ว่าจีนไม่แบ่งเลย รวมถึงธุรกิจอื่นที่จีนเข้ามาเช่นเดียวกัน”

โอกาสจะทำการค้ากับบริษัทจีนยาก ตอนนี้รัฐบาลไทยลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากรสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าที่นำเข้ามาทั้งคัน และชิ้นส่วนไปอีก 1 ปี โดยจะสิ้นกำหนดในปี 2568 เท่ากับช่วงนี้รถยนต์ไฟฟ้ายี่ห้อต่าง ๆ ที่นำเข้ามาขายในประเทศไทยได้กี่แสนคันเท่ากับการกินส่วนแบ่งตลาดรถยนต์สันดาปค่ายญี่ปุ่นไป และตอนนี้ค่ายรถญี่ปุ่นปรับแผนลดการผลิตลงง ส่งผลกระทบให้ยอดขายชิ้นส่วนของคนไทยลดลงไปด้วย

ไม่เพียงแต่รถยนต์ EV แต่รวมถึงอุปกรณ์ไฟฟ้าแทบจะทุกประเภท เช่น ตู้เย็น ก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน โดยไทยได้รับผลกระทบจากสินค้าจีนมาดัมพ์ราคาขายถูกกว่าสินค้าไทย 35-50% ทำให้ SMEs ไทยสู้ไม่ไหว แต่สินค้าจีนคุณภาพไม่ค่อยดี เสียหายเคลมไม่ได้ ทำให้ผู้ใช้งานบางคนยังยอมใช้สินค้าไทยบ้าง

‘BBC’ ชี้!! ปี 66 คนไทยกว่า 10 ล้านคน แห่รักษาอาการป่วย ผลพวงจาก ‘มลพิษทางอากาศ’ ที่ลุกลามอย่างกว้างขวาง


BBC รายงานว่า ในปี พ.ศ. 2566 มีคนไทย 10 ล้านคนเข้ารับการรักษาอาการป่วยที่เกี่ยวข้องกับมลพิษ

ทางการไทยระบุในปี พ.ศ. 2566 คนไทยมากกว่า 10 ล้านคนเข้ารับการรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศ ข้อมูลจากสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ออกมาในขณะที่คุณภาพอากาศของประเทศไทยแย่ลง การเผาป่าและไฟป่าที่ลุกลามอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะทางตอนเหนือของประเทศ มักก่อให้เกิดหมอกควันพิษในช่วงต้นปี 


ต้นปี พ.ศ. 2567 มีผู้ป่วยโรคที่เกี่ยวข้องกับมลภาวะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับปีก่อน จาก 1.3 ล้านคนในช่วง 9 สัปดาห์แรกของปี พ.ศ. 2566 จำนวนผู้ที่เข้ารับการรักษาอาการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับมลพิษเพิ่มขึ้นเป็น 1.6 ล้านคนในต้นปี พ.ศ. 2567 AFP รายงานว่า ประเทศไทยมีประชากรประมาณ 72 ล้านคน กรณีรวมถึงผู้ที่มีโรคเรื้อรัง เช่น มะเร็งปอด หลอดลมอักเสบ หอบหืด และโรคหัวใจ


ประเทศไทยต้อง ‘จัดลำดับความสำคัญ... ผลกระทบของ PM2.5 ต่อสุขภาพของประชาชน’ สศช. ระบุ PM 2.5 หมายถึงระดับของอนุภาคอันตรายขนาดเล็กที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5 ไมโครเมตรหรือเล็กกว่า ที่สามารถเข้าสู่กระแสเลือดผ่านทางปอดได้ การสัมผัสกับมลพิษขนาดเล็กเหล่านี้อาจทำให้เกิดอาการแสบร้อนและคันในดวงตาและผิวหนัง รวมถึงอาการไอและแน่นหน้าอก อาการเหล่านี้อาจรุนแรงขึ้นในผู้ที่มีภาวะหัวใจหรือปอดอยู่แล้ว


จังหวัดทางภาคเหนือของประเทศไทยบางจังหวัดได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นหนึ่งในเมืองที่มีมลพิษมากที่สุดในโลกจากเว็บไซต์ติดตามคุณภาพอากาศ เชียงใหม่ เชียงราย และลำปาง ได้รับการจัดอันดับ ‘ไม่ดีต่อสุขภาพ’ จาก Platform ติดตาม IQAir มลพิษทางอากาศของประเทศไทยเป็นปัญหาในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งโดยปกติจะเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมีนาคม โดยมีสาเหตุหลักมาจากการเผาไร่อ้อยและนาข้าวตามฤดูกาลของเกษตรกร


เมื่อต้นปีที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน ให้คำมั่นที่จะปรับปรุงคุณภาพอากาศ ฝ่ายนิติบัญญัติยังเห็นชอบร่างกฎหมายที่มุ่งแก้ไขปัญหานี้ด้วย เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ไทยได้ประกาศแผนการจัดเตรียมเครื่องบิน 30 ลำทั่วประเทศเพื่อทำฝนเทียมบรรเทามลพิษ ในเดือนกุมภาพันธ์ หน่วยงานภาครัฐในกรุงเทพฯ เรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ทำงานจากบ้านเป็นเวลาสองวัน เนื่องจากระดับมลพิษในเมืองหลวงและจังหวัดใกล้เคียงถึงระดับที่ไม่ดีต่อสุขภาพ

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ผู้อยู่อาศัยและกลุ่มสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยยังได้ยื่นฟ้องเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการต่อต้านมลพิษ เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่ประมาณ 1,700 คน ได้ฟ้องร้องอดีตนายกรัฐมนตรี ประยุทธ์ จันทร์โอชา และหน่วยงานของรัฐ 2 แห่ง ที่ไม่ใช้อำนาจลดมลพิษในภาคเหนือ ซึ่งพวกเขากล่าวว่าทำให้ชีวิตแต่ละคนสั้นลงประมาณ 5 ปี ในเดือนมกราคมปีนี้ ศาลปกครองเชียงใหม่มีคำสั่งให้รัฐบาลจัดทำแผนฉุกเฉินเพื่อปรับปรุงคุณภาพอากาศภายใน 90 วัน

อัปเดตแผนที่สัญญาณ 5G ในอาเซียน ประเทศไทยครอบคลุมที่สุดในย่านนี้

เมื่อไม่นานมานี้ ookla.com ได้เปิดเผยแผนที่ 5G ภูมิภาค แสดงให้เห็นชัดเจน ประเทศไทย สัญญาณแรงชัด และครอบคลุมทุกภูมิภาค ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมเศรษฐกิจสมัยใหม่อย่างมาก ด้วยความเร็วและประสิทธิภาพในการสื่อสารที่สูงกว่าสร้างโอกาสให้ประเทศไทยในหลาย ๆ ด้านดังนี้

1.เพิ่มความเร็วและประสิทธิภาพในการสื่อสาร โดย 5G มีความเร็วสูงถึง 100 เท่าของเครือข่าย 4G ซึ่งช่วยให้การสื่อสารและการส่งข้อมูลเร็วขึ้นมากขึ้น ทำให้ธุรกิจสามารถทำงานได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

2. สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ 5G เปิดโอกาสให้ธุรกิจและผู้สร้างเทคโนโลยีใหม่ได้ใช้งานเครือข่ายที่มีความเร็วสูง เช่น รถยนต์ไร้คนขับ (self-driving cars) หรือการใช้งาน Augmented Reality (AR) และ Virtual Reality (VR) ได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว

3. สร้างโอกาสใหม่ในธุรกิจ เครือข่าย 5G เปิดโอกาสให้ธุรกิจใหม่ๆ และธุรกิจเดิมสามารถพัฒนาและขยายธุรกิจได้ในรูปแบบใหม่ เช่น การให้บริการ Internet of Things (IoT) หรือการพัฒนา Smart Cities

4.สร้างงาน การพัฒนาเครือข่าย 5G ต้องการความชำนาญและแรงงานที่มีความรู้ความสามารถที่สูง ซึ่งจะสร้างโอกาสใหม่ในการจ้างงานและสร้างงานใหม่ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและการสื่อสาร

'โจ-มณฑานี' ปลื้ม!! ช่องยูทูบดังด้านดนตรีบำบัดจิตใจ หลังพบภาพวิวสวยเมืองไทย ถูกนำมาประกอบคอนเทนต์เพียบ

(13 มี.ค.67) จากเฟซบุ๊ก 'Jo Montanee' โดยคุณโจ มณฑานี ตันติสุข ดีเจ พิธีกร นักวิจารณ์ นักเขียนและวิทยากรชื่อดัง ได้โพสต์ข้อความ ระบุว่า...

ช่องยูทูบ 'Sceneric Relaxation' ที่มีผู้ติดตามทั่วโลกกว่าล้านคน เป็นช่องดนตรีเวิลด์มิวสิคแนวบำบัดใจ ที่นำเอาดนตรีมาประกอบภาพภูมิประเทศอันงดงามระดับ 4K

Thailand เราอยู่ในเพลย์ลิสต์ของช่องด้วย ซึ่งประเทศแถบอาเชียน พี่โจไล่ดูภายใน 1 ปี ไม่มีเลยค่ะ มีแต่ไทย! 

คลิปวิดิโอยาวสะใจ ภาพฉ่ำๆ ตระการตา เหมาะกับการเปิดคลอดูเพลินยาวๆ ไปได้เลยค่ะ 🇹🇭❤️

https://youtu.be/SadzfrxVuF0?si=0pPhlxGh9m1pFw6X


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top