Tuesday, 7 May 2024
กรุงเทพมหานคร

สถานทูตอิสราเอลในไทย ใช้ตุ๊กๆ ติดป้ายตัวประกันที่ถูกจับร่อนทั่วกรุง ผิดมารยาทตามแบบธรรมเนียมพิธีการทางการทูตหรือไม่?

ผิดมารยาท…ตามแบบธรรมเนียมพิธีการทางการทูตหรือไม่?

สถานเอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำประเทศไทยจัดกิจกรรมรณรงค์ให้ปล่อยตัวประกันที่ถูกจับในฉนวนกาซา ด้วยการติดแผ่นป้ายใบหน้าตัวประกันหลังรถสามล้อกว่า 100 คัน และให้วิ่งไปตามถนนสายหลักต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ

พิธีการทูต (Diplomatic protocol) ในการเมืองระหว่างประเทศ เป็นมารยาททางการทูตและกิจการของรัฐ พิธีการทูตเป็นกฎซึ่งชี้นำว่ากิจกรรมหนึ่ง ๆ ควรดำเนินการอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาการทูต ดังนั้นการนำเรื่องราวของความขัดแย้งอันเป็นปัญหาระหว่างประเทศมารณรงค์ในประเทศที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ กับความขัดแย้งนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการนำเสนอข้อมูลเพียงด้านเดียวโดยไม่ยอมกล่าวถึงมูลเหตุของความขัดแย้งนั้น ส่วนพิธีสารเจาะจงพฤติกรรมที่เหมาะสมและเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปในประเด็นรัฐและการทูต

นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวถึงกรณี ว่า เวลาอิสราเอลทำอะไรไม่เคยมาขออนุญาตทางการไทย และขอยืนยันว่าการเคลื่อนไหวดังกล่าวนั้นไทยไม่ค่อยเห็นด้วย จึงได้มอบหมายให้ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เชิญเอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำประเทศไทยมาพูดคุย 

นายปานปรีย์ กล่าวอีกว่า ขณะนี้เรากำลังอยู่ในระหว่างช่วงการเจรจาให้ตัวประกันทั้ง 8 คนได้กลับมาสู่ประเทศไทย จึงไม่ประสงค์ที่จะสร้างปัญหาหรือไม่ประสงค์ที่จะทำให้ประเทศที่เกี่ยวข้องเกิดความเข้าใจผิดว่าเราไปสนับสนุนประเทศใดประเทศหนึ่ง โดยเฉพาะประเทศที่มีความขัดแย้งกันอยู่ ดังนั้น ไทยเป็นมิตรกับทุกประเทศและในส่วนของอิสราเอล ตนก็เชื่อว่าพยายามทำทุกอย่างเพื่อให้ชาวโลกเข้าใจว่าเขาไม่ได้มีส่วนทำให้เกิดปัญหานี้ แต่อย่างไรก็ตามในส่วนของไทยก็มองว่าเวลานี้ เรื่องสำคัญที่สุดคือ ให้ตัวประกันคนไทยทั้ง 8 คนปลอดภัยที่สุดและกลับมาประเทศไทย และไม่ประสงค์ให้ประเทศใดประเทศหนึ่งใช้เวทีของไทยสร้างความขัดแย้งให้เกิดขึ้น ทั้งยืนยันว่า รัฐบาลไทยยังคงพยายามหาแนวทางในการช่วยเหลือตัวประกันไทยที่เหลือ 

หลายปีที่ผ่านมาพฤติการณ์และพฤติกรรมของนักการทูตหลายชาติตะวันตกได้เข้ามายุ่งเกี่ยวและแทรกแซงทั้งทางการเมืองและกระบวนการยุติธรรมของไทยหลายครั้งหลายหน ซึ่งเป็นหน้าที่ของกระทรวงต่างประเทศต้องดำเนินการ แต่เพราะการปล่อยปละละเลย จะด้วยความเกรงใจหรือไม่สนใจใด ๆ ก็ตาม จึงทำให้ประเทศต่าง ๆ ใช้ประเทศไทยในการเคลื่อนไหวโดยไม่ให้ความสำคัญต่อแบบธรรมเนียมตามพิธีการทูต (Diplomatic protocol) ที่ตัวแทนของอารยประเทศพึ่งปฏิบัติดังเช่นกรณีที่เกิดขึ้น

เรื่อง: ปุณกฤษ ลลิตธนมงคล

'กรุงเทพ' ติดโผเมืองที่ใช้เวลาเดินทางไปทำงานมากที่สุดในโลก  พบใช้เวลาเฉลี่ย '58 นาที' ต่อเที่ยว สูงกว่าค่าเฉลี่ย 2 เท่า

ไม่นานมานี้ รายงานจาก 'การขนส่งสาธารณะทั่วโลกประจำปี 2022' ของ Moovit ซึ่งเป็นบริษัทวิเคราะห์การขนส่งของโลก ได้ระบุว่า...

เมืองอิสตันบูล เป็นเมืองที่รั้งอันดับหนึ่งของเมืองที่ผู้คนใช้เวลาเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะไปทำงานเฉลี่ยนานที่สุดในโลก คือ 77 นาทีต่อเที่ยว

ส่วน นิวยอร์ก และ กรุงเทพฯ ผู้คนใช้เวลาเดินทางไปทำงานเฉลี่ย 58 นาทีต่อเที่ยว หรือเกือบ 2 ชั่วโมงในการเดินทางไป-กลับ

ทั้งนี้ มีงานวิจัยหลายชิ้นพบความเชื่อมโยงระหว่างการใช้เวลาเดินทางไปทำงานที่ยาวนานกับสุขภาพจิตที่แย่ลง และมีแนวโน้มที่จะมีอาการซึมเศร้ามากกว่าผู้ที่เดินทางน้อยกว่า 30 นาที ถึง 16%

โดยเวลาที่เหมาะในการเดินทางควรอยู่ระหว่าง 5-16 นาทีต่อเที่ยว หรือมากสุดไม่ควรเกิน 30 นาทีต่อเที่ยว ซึ่งเป็นการสำรวจพบว่าเป็นช่วงระยะเวลาที่พนักงานสามารถรับได้และไม่ทำให้พวกเขาเหนื่อยกับการเดินทางมากเกินไป เท่ากับผู้คนในกรุงเทพฯ ใช้เวลาเดินทางไปทำงานมากกว่าค่าเฉลี่ยเกือบ 2 เท่าเลยทีเดียว

ฉะนั้น หากวัยทำงานรู้สึกว่าตนใช้เวลาเดินทางไปทำงานนานเกินไปในแต่ละวัน จนส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ อาจถึงเวลาที่จะพิจารณาย้ายที่อยู่ให้ใกล้ที่ทำงานมากขึ้น หรือหางานใหม่ที่ใกล้บ้านมากขึ้น

แต่ก็อย่างที่หลายคนรู้ดีว่า ชีวิตคนเราไม่สามารถเลือกได้ขนาดนั้น ใครไม่สามารถย้ายที่พักหรือย้ายที่ทำงานได้ในเร็วๆ นี้ ดร.ซอนยา นัตแมน จากคณะสาธารณสุข มหาวิทยาลัยดีคิน (Deakin University) ประเทศออสเตรเลีย แนะนำว่า หนึ่งในวิธีที่จะช่วยให้ลดผลเสียจากการเดินทางนานๆ บนท้องถนนได้ก็คือ...

หากนั่งรถสาธารณะให้ยืนดีกว่านั่ง (หรือยืนสลับนั่ง) เพื่อให้ร่างกายได้เคลื่อนไหว และพยายามทำให้การเดินทางของคุณปราศจากความเครียดเท่าที่จะเป็นไปได้ เช่น ฟังพอดแคสต์ ฟังเพลง หรือหนังสือเสียง สวมรวมถึงเลือกรองเท้าที่ใส่สบาย ยืนนานๆ แล้วไม่เมื่อยไม่เจ็บเท้า เป็นต้น

สำรวจค่าฝุ่น 'วันวาเลนไทน์' กรุงเทพฯ ระดับสีแดง 17 พื้นที่ สีส้ม 50 พื้นที่

(14 ก.พ.67) เพจกรุงเทพมหานคร โพสต์กราฟฟิคพร้อมเนื้อหาระบุว่า ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร ขอรายงานสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 67 เวลา 05.00-07.00 น. ตรวจวัดได้ 54.3-82.9 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) พบว่าเกินมาตรฐานจำนวน 67 พื้นที่ เกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีแดง มีผลกระทบต่อสุขภาพ (มาตรฐานไม่เกิน 75.1 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 17 พื้นที่ ระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพจำนวน 50 พื้นที่ ดังนี้

อยู่ในระดับสีแดง มีผลกระทบต่อสุขภาพ (มาตรฐานไม่เกิน 75.1 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 17 พื้นที่ คือ

1.เขตลาดกระบัง ด้านหน้าโรงพยาบาลลาดกระบังข้างป้อมตำรวจ : มีค่าเท่ากับ 82.9 มคก./ลบ.ม.
2.เขตหนองแขม สามแยกข้างป้อมตำรวจ ถนนมาเจริญ เพชรเกษม 81 : มีค่าเท่ากับ 82.1 มคก./ลบ.ม.
3.เขตบางเขน ภายในสำนักงานเขตบางเขน : มีค่าเท่ากับ 79.9 มคก./ลบ.ม.
4.เขตประเวศ ด้านหน้าห้างสรรพสินค้าซีคอน สแควร์ : มีค่าเท่ากับ 79.8 มคก./ลบ.ม.
5.เขตบางพลัด ภายในสำนักงานเขตบางพลัด : มีค่าเท่ากับ 79.7 มคก./ลบ.ม.
6.เขตทวีวัฒนา ทางเข้าสนามหลวง 2 : มีค่าเท่ากับ 79.4 มคก./ลบ.ม.
7.เขตหนองจอก บริเวณหน้าสำนักงานเขตหนองจอก : มีค่าเท่ากับ 78.8 มคก./ลบ.ม.
8.เขตธนบุรี ริมป้ายรถเมล์บริเวณแยกมไหศวรรย์ : มีค่าเท่ากับ 78.2 มคก./ลบ.ม.
9.เขตบึงกุ่ม ภายในสำนักงานเขตบึงกุ่ม : มีค่าเท่ากับ 77.6 มคก./ลบ.ม.
10.เขตคลองสามวา ภายในสำนักงานเขตคลองสามวา : มีค่าเท่ากับ 77.4 มคก./ลบ.ม.
11.เขตบางบอน ใกล้ตลาดบางบอน : มีค่าเท่ากับ 76.9 มคก./ลบ.ม.
12.เขตบางกอกน้อย บริเวณหน้าสถานีตำรวจรถไฟบางกอกน้อย : มีค่าเท่ากับ 76.2 มคก./ลบ.ม
13.เขตปทุมวัน หน้าห้างสามย่านมิตรทาวน์ : มีค่าเท่ากับ 75.8 มคก./ลบ.ม.
14.เขตมีนบุรี สวนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ตรงข้ามสำนักงานเขตมีนบุรี : มีค่าเท่ากับ 75.7 มคก./ลบ.ม.
15.เขตคันนายาว บริเวณปากทางถนนสวนสยามตัดกับถนนรามอินทรา : มีค่าเท่ากับ 75.7 มคก./ลบ.ม.
16.เขตยานนาวา ใกล้ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สำนักงานใหญ่ : มีค่าเท่ากับ 75.4 มคก./ลบ.ม.
17.เขตตลิ่งชัน ถนนพุทธมณฑลสาย 1 ตัดกับถนนบรมราชชนนี : มีค่าเท่ากับ 75.3 มคก./ลบ.ม.

อยู่ในระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (มาตรฐานไม่เกิน 37.5 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 50 พื้นที่ คือ

18.สวนเสรีไทย เขตบึงกุ่ม : มีค่าเท่ากับ 74.8 มคก./ลบ.ม.
19.เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ด้านหน้าสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ : มีค่าเท่ากับ 74.8 มคก./ลบ.ม.
20.เขตหลักสี่ ภายในสำนักงานเขตหลักสี่ : มีค่าเท่ากับ 73.9 มคก./ลบ.ม.
21.เขตบางนา บริเวณหน้าห้าง สรรพสินค้าบิ๊กซี บางนา : มีค่าเท่ากับ 72.1 มคก./ลบ.ม.
22.สวนหนองจอก เขตหนองจอก : มีค่าเท่ากับ 72.0 มคก./ลบ.ม.
23.สวนหลวงพระราม 8 เขตบางพลัด : มีค่าเท่ากับ 71.2 มคก./ลบ.ม.
24.เขตจตุจักร บริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : มีค่าเท่ากับ 70.8 มคก./ลบ.ม.
25.เขตคลองสาน บริเวณหน้าห้องสมุดใต้สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน : มีค่าเท่ากับ 70.7 มคก./ลบ.ม.
26.สวนทวีวนารมย์ เขตทวีวัฒนา : มีค่าเท่ากับ 70.4 มคก./ลบ.ม.
27.สวนธนบุรีรมย์ เขตทุ่งครุ : มีค่าเท่ากับ 70.0 มคก./ลบ.ม.
28.เขตบางซื่อ ภายในสำนักงานเขตบางซื่อ : มีค่าเท่ากับ 69.5 มคก./ลบ.ม.
29.เขตสัมพันธวงศ์ บริเวณหน้าหัวมุม ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ (วงเวียนโอเดียน) : มีค่าเท่ากับ 69.2 มคก./ลบ.ม.
30.เขตพระโขนง ภายในสำนักงานเขตพระโขนง : มีค่าเท่ากับ 68.8 มคก./ลบ.ม.

31.เขตดินแดง ริมถนนวิภาวดีรังสิต : มีค่าเท่ากับ 68.3 มคก./ลบ.ม.
32.เขตคลองเตย ภายในสำนักงานเขตคลองเตย : มีค่าเท่ากับ 68.2 มคก./ลบ.ม.
33.เขตบางกะปิ ข้าง ป้อมตำรวจตรงข้ามสำนักงาน เขตบางกะปิ : มีค่าเท่ากับ 68.1 มคก./ลบ.ม.
34.เขตสายไหม ป้ายรถเมล์ด้านหน้าสำนักงานเขตสายไหม : มีค่าเท่ากับ 67.9 มคก./ลบ.ม.
35.สวน 60 พรรษาสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เขตลาดกระบัง : มีค่าเท่ากับ 67.8 มคก./ลบ.ม.
36.เขตดุสิต ริมสวนหย่อมตรงข้ามสำนักงานเขตดุสิต : มีค่าเท่ากับ 67.6 มคก./ลบ.ม.
37.เขตบางกอกใหญ่ บริเวณสี่แยกท่าพระ แขวงวัดท่าพระ : มีค่าเท่ากับ 67.6 มคก./ลบ.ม.
38.เขตบางขุนเทียน ภายในสำนักงานเขตบางขุนเทียน : มีค่าเท่ากับ 67.0 มคก./ลบ.ม.
39.เขตวังทองหลาง ด้านหน้าปั๊มน้ำมัน เอสโซ่ ซ.ลาดพร้าว 95 : มีค่าเท่ากับ 67.0 มคก./ลบ.ม.

40.เขตดอนเมือง ด้านข้างสำนักงานเขตดอนเมือง : มีค่าเท่ากับ 66.8 มคก./ลบ.ม.
41.สวนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เขตบางกอกน้อย : มีค่าเท่ากับ 66.2 มคก./ลบ.ม.
42.เขตราษฎร์บูรณะ ภายในสำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ : มีค่าเท่ากับ 66.1 มคก./ลบ.ม.
43.เขตจอมทอง ภายในสำนักงานเขตจอมทอง : มีค่าเท่ากับ 65.0 มคก./ลบ.ม.
44.เขตลาดพร้าว ภายในสำนักงานเขตลาดพร้าว : มีค่าเท่ากับ 65.0 มคก./ลบ.ม.
45.เขตบางรัก ข้างป้อมตำรวจหน้าลานบางรักเลิฟลี่ พลาซ่า : มีค่าเท่ากับ 64.9 มคก./ลบ.ม.
46.เขตทุ่งครุ หน้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี : มีค่าเท่ากับ 64.8 มคก./ลบ.ม.
47.สวนกีฬารามอินทรา เขตบางเขน : มีค่าเท่ากับ 64.4 มคก./ลบ.ม.
48.เขตบางแค ภายในสำนักงานเขตบางแค : มีค่าเท่ากับ 64.4 มคก./ลบ.ม.
49.เขตสะพานสูง ภายในสำนักงานเขตสะพานสูง : มีค่าเท่ากับ 64.0 มคก./ลบ.ม.

50.สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ เขตจตุจักร : มีค่าเท่ากับ 63.7 มคก./ลบ.ม.
51.เขตพญาไท หน้าแฟลตทหารบกใกล้โรงพยาบาลวิชัยยุทธ ตรงข้ามกระทรวงการคลัง : มีค่าเท่ากับ 63.6 มคก./ลบ.ม.
52.สวนเบญจกิติ เขตคลองเตย : มีค่าเท่ากับ 62.2 มคก./ลบ.ม.
53.อุทยานเบญจสิริ เขตคลองเตย : มีค่าเท่ากับ 62.2 มคก./ลบ.ม.
54.เขตพระนคร ภายในสำนักงานเขตพระนคร : มีค่าเท่ากับ 61.3 มคก./ลบ.ม.
55.เขตห้วยขวาง ภายในสำนักงานเขตห้วยขวาง (ด้านข้างโรงเพาะชำ) ถนนประชาอุทิศ : มีค่าเท่ากับ 61.0 มคก./ลบ.ม.
56.สวนวชิรเบญจทัศ เขตจตุจักร : มีค่าเท่ากับ 60.9 มคก./ลบ.ม.
57.เขตบางคอแหลม บริเวณป้อมตำรวจสี่แยกถนนตก : มีค่าเท่ากับ 60.9 มคก./ลบ.ม.
58.เขตสาทร สี่แยกหน้าสำนักงานเขตสาทร ซอย ถนนเซนต์หลุยส์ : มีค่าเท่ากับ 60.3 มคก./ลบ.ม.
59.สวนหลวง ร.9 เขตประเวศ : มีค่าเท่ากับ 60.1 มคก./ลบ.ม.
60.สวนบางแคภิรมย์ เขตบางแค : มีค่าเท่ากับ 59.6 มคก./ลบ.ม.

61.เขตวัฒนา ตรงข้าม noble Reveal(ข้าง MK gold restaurants) : มีค่าเท่ากับ 59.4 มคก./ลบ.ม.
62.สวนสันติภาพ เขตราชเทวี : มีค่าเท่ากับ 59.4 มคก./ลบ.ม.
63.สวนจตุจักร เขตจตุจักร : มีค่าเท่ากับ 58.0 มคก./ลบ.ม.
64.เขตราชเทวี ภายในสำนักงานเขตราชเทวี : มีค่าเท่ากับ 56.7 มคก./ลบ.ม.
65.สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา เขตบางคอแหลม : มีค่าเท่ากับ 55.9 มคก./ลบ.ม.
66.เขตภาษีเจริญ หน้ามหาวิทยาลัยสยาม(ประมาณซอยเพชรเกษม 36) ทางเข้ามหาวิทยาลัย : มีค่าเท่ากับ 55.5 มคก./ลบ.ม.
67.สวนลุมพินี เขตปทุมวัน : มีค่าเท่ากับ 54.3 มคก./ลบ.ม.

>> สำหรับข้อแนะนำสุขภาพ :

- คุณภาพอากาศระดับสีแดง : มีผลกระทบต่อสุขภาพ
ประชาชนทุกคน : งดกิจกรรมกลางแจ้ง หากมีความจำเป็นต้องทำกิจกรรมกลางแจ้งให้ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองทุกครั้ง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์ ผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรอยู่ในพื้นที่ปลอดภัยจากมลพิษทางอากาศ ให้เตรียมยาและอุปกรณ์ที่จำเป็นให้พร้อมและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

- คุณภาพอากาศระดับสีส้ม: เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
ประชาชนทั่วไป : ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร จำกัดระยะเวลาในการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ควรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา
ประชาชนกลุ่มเสี่ยง : ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร เลี่ยงการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์สภาพอากาศในพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง(คาดการณ์แนวโน้มสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อฝุ่นPM2.5 โดยสภาพทางอุตุนิยมวิทยา)

ช่วงวันที่ 14-15 ก.พ. 67 การระบายอากาศอ่อน ประกอบกับอากาศใกล้ผิวพื้นมีลักษณะปิด ส่งผลให้ความเข้มข้นของฝุ่นละอองมีแนวโน้มทรงตัวถึงเพิ่มขึ้น ส่วนในช่วงวันที่ 16-22 ก.พ. 67 การระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ดี อากาศใกล้ผิวพื้นมีลักษณะค่อนข้างเปิดสลับปิด ส่งผลให้ค่าฝุ่นละอองมีแนวโน้มลดลง และคาดการณ์วันนี้ มีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส

จากการตรวจสอบข้อมูลจุดความร้อน (hotspot) ผ่านดาวเทียม จากหน่วยงาน NASA พบจุดความร้อนที่ดาวเทียมตรวจพบค่าความร้อนสูงผิดปกติจากค่าความร้อนบนผิวโลกบริเวณพื้นที่กรุงเทพมหานคร พบจุดความร้อนที่ดาวเทียมตรวจพบค่าความร้อนสูงผิดปกติจากค่าความร้อนบนผิวโลกบริเวณพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2567 จำนวน 3 จุด ดังนี้ จุดที่ 1 เวลา 13.26 น. แขวงแขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว จุดที่ 2-3 เวลา 13.26 น. แขวงลำผักชี เขตหนองจอก (อยู่ระหว่างประสานตรวจสอบจุดความร้อนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง)

สำนักสิ่งแวดล้อมได้ประสานแจ้งทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เพิ่มความเข้มงวดการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง เพื่อเป็นการบรรเทาความรุนแรงของสถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5 และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสุขภาพอนามัยของประชาชน และขอเชิญชวนส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนและทุกภาคส่วน โดยช่วยกันปรับเปลี่ยน พฤติกรรมและลดกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดฝุ่นละออง เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพ ‘5 วิธีลดฝุ่น คุณก็ทําได้’ 1. หมั่นทําความสะอาดบ้านด้วยวิธีเช็ดฝุ่น 2. งดเผาขยะ งดจุดธูป 3. ปลูกต้นไม้ช่วยดูดซับมลพิษดักจับฝุ่นละออง 4. เดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ และ 5. ดับเครื่องยนต์ขณะจอดรถ ตรวจสภาพเครื่องยนต์ไม่ให้มีค่าควันดํา เกินมาตรฐาน

‘ดร.เอ้’ แนะ 3 แนวทางแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 ใน กทม. ชี้!! หากปล่อยไว้นาน กระทบสุขภาพ เสี่ยงเป็นมะเร็งปอด

(22 ก.พ. 67) นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) กล่าวว่า จากสถานการณ์ฝุ่นพิษในพื้นที่ กทม. ปัจจุบันถึงขั้นวิกฤตแล้ว ส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนอย่างมาก ถือเป็นภัยต่อรุ่นลูกหลาน เพราะอัตราการเป็นโรคมะเร็งปอดและโรคที่เกี่ยวข้องกับ PM2.5 จะมีอัตราการตายก้าวกระโดด

กทม. ควรแก้ปัญหามาตั้งนานแล้ว แต่กลับปล่อยให้ถึงขั้นวิกฤตแบบทุกวันนี้ ทั้งที่กทม. มีอำนาจเต็มในการแก้ปัญหา โดยใช้ข้อบัญญัติ กทม.ทางด้านความสะอาด ความปลอดภัยและความเรียบร้อย ทุกเขตมีหน้าที่และเจ้าหน้าที่พร้อม สามารถตรวจจับควันดำ ตรวจสอบไซต์งานก่อสร้างได้ ทั้งจับ ปรับ ไปจนถึงระงับการก่อสร้างได้ แต่ที่ผ่านมาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกลับไม่บังคับใช้หรือแก้ปัญหาอย่างจริงจัง

“ภารกิจ กทม.ถือเป็นภารกิจที่หนักหน่วง ผู้บริหารจึงต้องมีภาวะผู้นำ ในเรื่องการติดตามงาน อย่างมีประสิทธิภาพ และปัญหา กทม.จะแก้ไขสั่งการแบบลอยตัวไม่ได้ กทม. ต้องการผู้นำที่ดุดัน และเอาจริงมากกว่านี้ ไม่เช่นนั้นแล้วปัญหาฝุ่นพิษ หรือทุกปัญหาจะไม่สามารถแก้ไขได้เลย” นายสุชัชวีร์ กล่าว

นายสุชัชวีร์ กล่าวต่อว่า ส่วน 11 มาตรการลดฝุ่นที่ กทม. ประกาศออกมาทั้ง เข้มงวดตรวจจับรถควันดำ ประสานตำรวจเข้มงวดกวดขัน ขอความร่วมมือ Work From Home รณรงค์บำรุงรักษาเครื่องยนต์ ควบคุมสถานประกอบการไม่ปล่อยมลพิษ งดกิจกรรมเกิดฝุ่น เข้มงวดห้ามเผาทุกชนิด เพิ่มความถี่ล้างถนน ฉีดล้างต้นไม้

ให้ความรู้สุขภาพอนามัย ออกหน่วยบริการสาธารณสุข หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ดำเนินการตามมาตรการ ลดฝุ่นในโรงเรียนนั้น เป็นสิ่งที่ต้องทำทุกวันอยู่แล้ว และต้องทำมาตั้งนานแล้ว ไม่ใช่มาประกาศ มาทำตอนนี้ ทุกวันนี้เรายังเห็นรถขนส่งควันดำวิ่งกันอยู่เลย ยังเห็นไซต์งานก่อสร้างที่ไร้ความรับผิดชอบ ไม่มีอะไรปกปิดหรือป้องกันอยู่เลย

ดังนั้น สิ่งที่ กทม.ควรต้องแก้ปัญหาในเรื่องฝุ่นพิษและทำเร่งด่วน คือ 

1.ป้าย กทม.ต้องขึ้นแสดงสภาพอากาศ รัฐรู้แค่ไหน ประชาชนต้องรู้เท่านั้น 

2.อำนาจ กทม.มีอยู่แล้วในการจัดการเรื่องฝุ่น โดยคุมเรื่องรถขนส่งและไซต์งานก่อสร้างที่ไร้ความรับผิดชอบ

3.กำหนดเขตมลพิษต่ำ Bangkok Low Emission Zone หรือ B-LEZ (บีเลส) นำร่อง 16 เขตกรุงเทพฯชั้นใน ซึ่งเป็นเขตที่มีประชากรอาศัยหนาแน่น ทั้งผู้อยู่อาศัย ผู้มาทำงาน และนักเรียน มีทั้งโรงเรียนและโรงพยาบาลอยู่ในพื้นที่นี้เป็นจำนวนมาก

'สกลธี' เสียดาย!! กทม.โอนภารกิจลงทุนรถไฟฟ้าใหม่ 3 เส้นคืนให้คมนาคม พร้อมวิเคราะห์ 4 ข้อ 'ถูก-ผิด' ที่อยากให้ กทม.ลองนำไปพิจารณาใหม่

(1 มี.ค.67) นายสกลธี ภัททิยกุล อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า...

เห็นข่าวที่ผู้บริหาร กทม.จะโอนภารกิจลงทุนรถไฟฟ้าใหม่ 3 เส้นทางประกอบด้วย สายสีเทา ระยะที่ 1 (วัชรพล - ทองหล่อ) สายสีเงิน (บางนา - สุวรรณภูมิ) และสายสีฟ้า (ดินแดง - สาทร) คืนกลับให้กระทรวงคมนาคมแล้วบอกตรงๆ ว่าเสียดายครับ

ทั้ง 3 เส้นทางเป็นโครงการที่อยู่ในภารกิจของ กทม. และได้ทำการศึกษามานาน แต่ยังไม่ได้ลงมือทำเพราะใช้งบประมาณเยอะพอสมควร ซึ่งก็เป็นเหตุผลที่ทางผู้บริหาร กทม. ได้ให้ข่าวกับทางสื่อสารมวลชน ประกอบกับให้เหตุผลว่าการโอนภารกิจกลับคืนกระทรวงคมนาคมจะได้ประสานคิดค่าตั๋วร่วมกับรถไฟฟ้าสายสีอื่นภายใต้กระทรวงคมนาคมง่ายกว่าไม่มีค่าแรกเข้าซ้ำซ้อน ประโยชน์จะได้เกิดกับประชาชนสูงสุด

อันนี้ผมว่ามีทั้งส่วนถูกและไม่ถูกครับ

1. เรื่องการลงทุนมีส่วนถูกคือถ้าให้ กทม. ลงทุนเพียงฝ่ายเดียวก็คงเกิดยากและกระทบกับงบประมาณในส่วนอื่นที่ต้องดูแลพี่น้องชาวกรุงเทพฯ แต่โครงการใหญ่แบบนี้โดยเฉพาะทั้ง 3 เส้นทางที่มีผู้อยู่อาศัยและศักยภาพในการใช้บริการจำนวนมากย่อมดึงดูดเอกชนให้มาร่วมทุนได้อย่างแน่นอน รวมถึงยังสามารถบริหารจัดการสินทรัพย์โดยรอบสถานีในรูปของการเช่า การโฆษณาหรือการเชื่อมต่อสถานีกับอาคารต่างๆ กลับคืนมาได้ไม่มากก็น้อย 

2. หรือถ้าหาเอกชนร่วมทุนไม่ได้จริงๆ (ซึ่งกรณีนี้ผมว่ามีโอกาส แต่ยากมาก เพราะทั้ง 3 เส้นทางมีศักยภาพในการดึงดูดเอกชนมาลงทุน) ด้วยสายสัมพันธ์ของท่านผู้ว่าฯ กับรัฐบาลน่าจะแบ่งงบประมาณ มาลงทุนในโครงการเหล่านี้ได้ไม่มากก็น้อย

3. เรื่องค่าแรกเข้าซ้ำซ้อนอันนี้ถูกครับว่าไม่ควรเก็บ แต่การโอนทั้ง 3 เส้นทางไปให้กระทรวงคมนาคม สมมติว่าก่อสร้างเสร็จทั้ง 3 เส้นทาง ส่วนใหญ่ก็ต้องมาเชื่อมกับสายสีเขียว (ของ กทม.) ซึ่งเป็นกระดูกสันหลังของกรุงเทพฯ อยู่ดี ความซ้ำซ้อนก็ยังคงมีอยู่ ทางที่ถูกควรจะนั่งเจรจากันระหว่าง กทม. กับรัฐบาลแก้ปัญหาเรื่องการเก็บค่าแรกเข้าซ้ำซ้อนและใช้ตั๋วร่วมใบเดียวให้เกิดให้ได้ซักที เหมือน Octopus card ของฮ่องกง ที่ใช้ได้เกือบทุกการคมนาคมขนส่งและร้านสะดวกซื้อ

4. ถึงที่สุดถ้าเลือกโอนไปให้กระทรวงคมนาคมและกระทรวงคมนาคมรับขึ้นมา ก็ใช่ว่าโครงการจะเกิดได้เร็ว เนื่องจากในส่วนของทางกระทรวงคมนาคมก็มีโครงการอีกมากมายของตัวเองที่ต้องผลักดันทั่วประเทศ รวมถึงรถไฟในกรุงเทพฯ อีกหลายเส้นทางที่อยู่ภายใต้กระทรวงคมนาคมก็ยังไม่เกิด ยิ่งโครงการเรือธงของกระทรวงอยากจะทำเรื่อง Land Bridge ซึ่งใช้งบประมาณเป็นล้านๆ บาท ความเร่งด่วนของรถไฟฟ้าทั้ง 3 สายในกรุงเทพฯ น่าจะไม่อยู่ในสายตาของทางกระทรวงแน่นอนครับ

ที่กล่าวมาทั้งหมดก็อยากจะหวังเห็นทีมผู้บริหาร  กทม. ชุดนี้ใช้ความพยายามสูงสุดทุกทางในการที่จะให้โครงการเกิดเสียก่อน ถ้าเดินแล้วมันไม่ได้หรือติดจริงๆ จะยกโอนให้กระทรวงคมนาคมผมว่าคนกรุงเทพฯ ก็คงไม่ติดใจครับ

เอาไว้วันหลังมีโอกาสจะมาแบ่งปันสิ่งดีๆ ที่อยากให้เกิดในกรุงเทพฯ ของเราเพื่อให้เมืองของเราอยู่สบายและมีความสุขเหมือนเมืองใหญ่ๆ ทั่วโลกครับ

ป.ล. อีกสิ่งหนึ่งที่ผมอยากให้เกิดมากและเยอะๆ คือขนส่งสาธารณะสายรองหรือ Feeder ที่จะพาคนเข้าขนส่งขนาดใหญ่ได้สะดวกขึ้น เพราะไม่ใช่ทุกคนที่จะมีบ้านหรือคอนโดอยู่ในระยะเดินถึงสถานีรถไฟฟ้าได้ครับ 

'รทสช.' ซัด กทม. ลอยแพ 'คลองโอ่งอ่าง' ไม่เหลือเค้า 'แลนด์มาร์ก' แห่งเมืองกรุง

เมื่อวานนี้ (7 มี.ค.67) นายเกรียงยศ สุดลาภา สส.บัญชีรายชื่อ พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ได้หารือระหว่างการประชุมสภาผู้แทนราษฎรฝากถึงกรุงเทพมหานคร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ถึงการเสียโอกาสของ ‘คลองโอ่งอ่าง’ ว่า ปัจจุบันพื้นที่คลองโอ่งอ่างได้ถูกปล่อยทิ้งร้าง กลายเป็นพื้นที่ให้คนเร่ร่อนมาหลับนอน สร้างความไม่ปลอดภัยให้กับประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียง

ทั้งนี้การพัฒนาคลองโอ่งอ่าง ซึ่งเริ่มต้นจากปี 2558 กรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้มีโครงการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำพื้นที่สาธารณะ พร้อมทั้งปรับปรุงภูมิทัศน์ดูแลความสะอาดคลองโอ่งอ่าง แล้วนำมาทำเป็นพื้นที่ท่องเที่ยว ทำโครงการถนนคนเดิน พัฒนาทำน้ำดำที่เคยเน่าเสียให้เป็นน้ำใส มีการวางระบบท่อระบายน้ำเสียที่อยู่ริมคลองโอ่งอ่าง พัฒนาพื้นที่ 2 ข้างทางให้คนใช้ประโยชน์ร่วมกันจนกลายเป็น Landmark แห่งใหม่ของกรุงเทพฯ

อีกทั้งยังมีการจัดทำโครงการถนนคนเดินทุกวันศุกร์ วันเสาร์ และวันอาทิตย์ แต่ปัจจุบันพื้นที่เหล่านี้ ได้ถูกปล่อยทิ้งร้าง โดยที่ผ่านมาได้รับการร้องเรียนจากผู้ประกอบการหลายรายที่ค้าขายในบริเวณดังกล่าวว่า ปัจจุบัน กทม. ไม่ได้ให้ความสำคัญจัดกิจกรรมถนนคนเดินเหมือนในอดีตอีกแล้ว และน้ำในคลองโอ่งอ่างเริ่มเน่าเสียอีกครั้ง น้ำในคลองที่เคยใสกลายเป็นน้ำดำ

“ขอหารือ ผ่านไปยังกทม. ว่า เพราะเหตุใดถึงไม่มีการพัฒนาจัดกิจกรรมและสิ่งดี ๆ ที่เคยทำมาให้ต่อเนื่อง เพื่อเป็นการสร้างประโยชน์ สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ และยังสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการ รวมทั้งไม่ทำให้เกิดปัญหากับประชาชนในพื้นที่”

สำหรับ ‘คลองโอ่งอ่าง’ นั้น เป็นคลองที่มีความสำคัญกับกรุงเทพฯ มาตั้งแต่สมัยอดีต โดยเป็นช่วงหนึ่งของคลองรอบกรุง มีขอบเขตจากปากคลองมหานาคไปถึงปากคลองทางแม่น้ำเจ้าพระยาทางตอนใต้ มีระยะทางรวมประมาณ 750 เมตร และคลองโอ่งอ่าง ยังทำหน้าที่เป็นเส้นแบ่งเขตปกครองระหว่าง เขตพระนคร กับ เขตสัมพันธวงศ์ ด้วย

โดยในอดีต ‘คลองโอ่งอ่าง’ เป็นหนึ่งเส้นทางการค้าขายและเดินทางทางเรือมาตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ จนเมื่อผ่านกาลเวลามาถึงปี 2526 กรุงเทพมหานครได้เปิดสัมปทานเปิดพื้นที่ให้เช่า บนคลองโอ่งอ่าง เพื่อย้ายผู้ค้าจากคลองถมเดิมมาที่คลองโอ่งอ่างนี้แทน จนกลายเป็นย่านสะพานเหล็กทับคลอง เป็นแหล่งขายเกม และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ชื่อดังของวัยรุ่นยุค 80-90 

ต่อมาในเดือนตุลาคม 2558 รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้เข้ามาจัดระเบียบ กทม. โดยมติของรัฐบาลได้ทำการรื้อถอนอาคารร้านค้าต่าง ๆ บริเวณริมคลองโอ่งอ่างที่ถูกบดบังทัศนียภาพมานานกว่า 40 ปี เพื่อทำการปรับภูมิทัศน์ให้เป็นถนนคนเดินที่ร่มรื่นรวมถึงมีร้านค้าและมีความสวยงามทางศิลปะ เพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งใหม่ของกรุงเทพฯ คล้ายกับคลองช็องกเยช็อน ในประเทศเกาหลีใต้

ราชกิจจาฯ ประกาศห้ามจอดรถ บริเวณช่องเว้าเกาะกลาง ใต้สถานี BTS  เพื่อแก้ไขปัญหา รถติด-อุบัติเหตุ จัดระเบียบการจราจร

(10 มี.ค.67) เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ข้อบังคับหัวหน้าเจ้าพนักงานจราจรในเขตกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการห้ามจอดรถทุกชนิดตลอดเวลา ยกเว้นรถที่ทํางานบํารุงรักษาระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสในบริเวณช่องเว้าเกาะกลางถนนทางด้านขวาของทางเดินรถใต้สถานี พ.ศ. 2567

โดยระบุว่า ด้วยได้มีการจัดทําช่องเว้าเข้าไปในเกาะกลางถนนทางด้านขวาของทางเดินรถ บริเวณใต้สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส เพื่อใช้เป็นที่จอดรถเฉพาะรถที่ทํางานบํารุงรักษาระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส แต่ปรากฏว่ามีประชาชนนํารถเข้าไปจอดในบริเวณดังกล่าว ทําให้รถที่ทํางานบํารุงรักษาระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส ไม่สามารถจอดรถได้ ประกอบกับมีการจอดรถในลักษณะกีดขวางการจราจรในทางเดินรถ เป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัด และอาจเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ จึงจําเป็นต้องออกประกาศข้อบังคับหัวหน้าเจ้าพนักงานจราจร เพื่อจัดระเบียบการจราจรในบริเวณดังกล่าว

ฉะนั้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 139 (2) แห่ง พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 26 ประกอบกับมาตรา 38 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอ่านาจตามบทบัญผัติแห่งกฎหมายที่ตราชึ้นเพื่อความั่นคงของรัฐความสงบเรียบร้อยของประชาชน และคําสั่งสํานักงานตํารวจแห่งชาติ ที่ 62/2566 ลงวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2566 แต่งตั้งผู้บัญชาการตํารวจนครบาลหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติราชการแทน เป็นหัวหน้าเจ้าพนักงานจราจรในเขตกรุงเทพมหานคร จึงได้ออกข้อบังคับไว้ ดังนี้

ข้อ 1 ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับหัวหน้าเจ้าพนักงานจราจรในเขตกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการห้ามจอดรถทุกชนิดตลอดเวลา ยกเว้นรถที่ทํางานบํารุงรักษาระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส ในบริเวณช่องเว้าเกาะกลางถนนทางด้านขวาของทางเดินรถใต้สถานี พ.ศ. 2567”

ข้อ 2 ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ข้อ 3 ห้ามหยุดหรือจอดรถทุกชนิดตลอดเวลา ยกเว้นรถที่ทํางานบํารุงรักษาระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส ในบริเวณช่องเว้าเกาะกลางถนนทางด้านขวาของทางเดินรถใต้สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส ดังต่อไปนี้

1.สถานีห้าแยกลาดพร้าว
2.สถานีพหลโยธิน
3.สถานีรัชโยธิน
4.สถานีเสนานิคม

5.สถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
6.สถานีกรมป่าไม้
7.สถานีบางบัว
8.สถานีกรมทหารราบที่ 11
9.สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ

10.สถานีพหลโยธิน 59
11.สถานีสายหยุด
12.สถานีสะพานใหม่
13.สถานีโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช

14.สถานีพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ
15.สถานีแยก คปอ.
16.สถานีบางจาก
17.สถานีปุณณวิถี

18.สถานีอุดมสุข
19.สถานีบางนา
20.สถานีแบริ่ง
21.สถานีกรุงธนบุรี

22.สถานีวงเวียนใหญ่
23.สถานีโพธิ์นิมิต
24.สถานีตลาดพลู
25.สถานีวุฒากาศ
26.สถานีโรงจอดและซ่อมบํารุงรถไฟฟ้าบางหว้า

ข้อ 4 นับตั้งแต่วัน เวลา ที่ข้อบังคับนี้ใช้บังคับ ให้ยกเลิก ข้อบังคับ กฎ ระเบียบ คำสั่งใดที่ขัดหรือแย้งกับข้อบังคับนี้

ประกาศ ณ วันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

‘ชัชชาติ’ วอนอย่าโยง ‘คลองโอ่งอาง’ เข้าประเด็นการเมือง ย้ำ!! กทม.พัฒนาอย่างเต็มที่-เคารพผลงานผู้ว่าฯ เก่าทุกคน

(14 มี.ค.67) นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยถึงประเด็นที่นายปารเมศ วิทยารักษ์สรรค์ สส.กรุงเทพฯ (เขต 1 พระนคร ป้อมปราบศัตรูพ่าย สัมพันธวงศ์) พรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์ถึงการพัฒนาย่านคลองโอ่งอ่างว่า

ขอร้องอย่าให้เป็นประเด็นเรื่องการเมือง กทม.พยายามพัฒนาย่านให้มีความยั่งยืน ไม่ใช่จัดงานอีเวนต์หรือตลาดนัด ที่เป็นกิจกรรมชั่วคราว แต่ก่อนคลองโอ่งอ่างเป็นหลังบ้านของผู้พักอาศัย ส่วนที่มีการถ่ายภาพที่จอดรถเยอะ เพราะมีพื้นที่ส่วนต่อขยายไปยังคลองบางลำพู ที่ยังก่อสร้างยังไม่เสร็จ รวมถึงบางช่วงที่เป็นหลังร้านหรือออฟฟิศ ที่ต้องมีการจอดรถบ้างเป็นปกติ

“ถามว่าเราจะไปคลองโอ่งอ่างเพื่ออะไร คำตอบคือ ไม่มีสินค้า ไม่มีอัตลักษณ์เหมือนกับปากคลองตลาด เสาชิงช้า บรรทัดทอง ตลาดน้อย การพัฒนาอัตลักษณ์ต้องใช้เวลา การนำผู้ค้าด้านนอกมาจัดตลาดนัด ผมว่าคนในพื้นที่ไม่ได้ประโยชน์อย่างยั่งยืน แต่เราก็น้อมรับฟังคำติชม” นายชัชชาติกล่าว

นายชัชชาติ กล่าวว่า หัวใจของคลองโอ่งอ่าง อยู่ใกล้กับวิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ เบื้องต้นอาจจะทำเป็นสตรีตอาร์ต เพื่อช่วยดึงดูดคนมาเยี่ยมชม อย่างไรก็ตาม คนในชุมชนก็ต้องช่วยกันพัฒนาอัตลักษณ์ด้วย ไม่ใช่เพียงแค่มาดูคลอง หรือมาพายเรือแคนู เรือคายัคก็ไม่ได้อีก เพราะคลองแคบและมีตลิ่งสูง ถ้าอยากพายเรือ ให้ไปที่สวนลุมพินี สวนรถไฟ และอีกหลาย ๆ ที่ ซึ่งเหมาะกับการพายเรือมากกว่า

“เรื่องย่านต้องพัฒนาจากตัวเอง จะเห็นได้จากลานคนเมือง เราจัดอีเวนต์ตลาดนัดได้ แต่จัดเสร็จต่างคนต่างไป คนที่มาขายก็ไม่ใช่คนแถวนั้น แต่เรียนว่าไม่ใช่เรื่องการเมือง เราเคารพผลงานของทุกท่านที่ผ่านมา ไม่เคยคิดเป็นประเด็นการเมืองทั้งสิ้นเลย เราก็พัฒนาย่านเยอะแยะทั่วกรุงเทพฯ เลย” นายชัชชาติกล่าว

อย่างคลองผดุงกรุงเกษม มีการพัฒนาริมคลองให้มีความสวยงาม บางช่วงไม่ได้มีร้านค้าหรือกิจกรรมทางธุรกิจ ซึ่งคนก็มาวิ่งมาเดินชมความสวยงาม เดินไปถึงตลาดเทวราช มีขายของสด ขายต้นไม้

“ผมเบื่อเรื่องการเมืองนะ เราทำงานอย่างเดียว เพราะเราไม่ได้มีความทะเยอทะยานอะไร ขอทำหน้าที่ให้ดีที่สุด ผู้ว่าฯ กทม.ที่ผ่านมาก็ทำผลงานได้ดี” นายชัชชาติ กล่าว

ชื่นชม!! ‘หนุ่ม’ ประดิษฐ์ ‘ฉากจำลอง’ เล็กๆ ในเมืองไทย เก็บครบทุกรายละเอียด สวยงามเป็นเอกลักษณ์

(20 มี.ค.67) โลกโซเชียลได้แชร์ภาพงานฉากจำลองจากผู้ใช้เฟซบุ๊ก ‘Forrest Kong’ โดยโพสต์ข้อความระบุว่า “ขออนุญาต admin เผยแพร่ผลงานการทำฉากจำลอง งาน 50% ตอนนี้ ขอบคุณทุกคำติชมจากโพสต์ที่ผ่านมาด้วยครับ”

ซึ่งในภาพถ้าสังเกตดี ๆ งานฉากจำลองนี้สมจริงแม้กระทั่งความทรุดโทรมของตึกอาคาร เสาไฟฟ้า สายไฟรกรุงรัง ตู้โทรศัพท์สาธารณะ ป้ายขายบ้าน การมีคนมือบอนพ่นสีใส่กำแพง สะพานลอย ป้ายบอกทาง และถ้าไม่มีใครบอกว่าเป็นฉากจำลอง คนคงนึกว่าเป็นภาพจริงอย่างแน่นอน

ขณะที่ชาวเน็ตต่างคอมเมนต์ไปในทิศทางเดียวกันว่า เป็นงานเนียน งานละเอียดสุด ๆ ถ้าไม่มีการบอกว่าเป็นโมเดลจำลอง ก็คิดว่าเป็นรูปจริงอย่างแน่นอน ความยากของงานนี้คือ การใส่รายละเอียดลงไปได้ครบ 

'เพจดัง' เตือน!! ชาว กทม.เตรียมจมฝุ่น ไม่จำเป็นอย่าออกนอกบ้าน หลังกัมพูชาเผามหึมาหลายจุด ส่งกลิ่นไหม้กลางดึก จนรับรู้ได้

(21 มี.ค. 67) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีเมื่อช่วงค่ำของวันที่ 20 มี.ค.ที่ผ่านมา หลายพื้นที่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เกิดเหตุการณ์ที่ประชาชนเหม็นกลิ่นควัน อีกทั้งบรรยากาศเหมือนควันปกคลุมหลายแห่งนั้น

ต่อมาเพจ Drama-addict โพสต์ข้อความระบุว่า....

“สาเหตุน่าจะมาจาก ลมพัด pm 2.5 มา ตอนนี้ทางกัมพูชามีการเผาแบบมหึมาหลายจุดมาก แล้วลมตอนนี้พัดจากตะวันออกไปตะวันตก น่าจะพัด pm 2.5 จำนวนมากจากกัมพูชา เข้ามาทางภาคตะวันออก แล้วมาทางภาคกลาง”

ต่อมาได้โพสต์ภาพและข้อความเพิ่มเติมว่า “กทม. และปริมณฑล จมฝุ่น ไม่จำเป็น อย่าออกนอกบ้าน คนที่มีโรคประจำตัว ควรอยู่ในบ้าน เปิดเครื่องกรองอากาศ อย่าออกกำลังกายนอกบ้าน พรุ่งนี้ น่าจะจมฝุ่นหนัก เป็นไปได้ก็ WFH กันซักวันสองวัน”

ขณะที่ด้านเพจ 'เพื่อนชัชชาติ' ได้โพสต์ข้อความลงใน (X) โดยระบุว่า...

พรพรหม ณ.ส. วิกิตเศรษฐ์ ที่ปรึกษาของผู้ว่าฯ และผู้บริหารด้านความยั่งยืน กทม. ได้ชี้แจงถึง 3 สาเหตุ #กลิ่นไหม้ ดังนี้...

1. ทิศทางลมวันที่ 20 เป็นทิศตะวันออก (ตามภาพ) ซึ่งต่างจากวันอื่นๆ ช่วงนี้ที่มาจากอ่าวไทย ส่วนจุดเผาในช่วง 24 ชม.ที่ผ่านมาพบที่ปริมณฑลหลายจุด

2. ระยะนี้สภาพอากาศแปรปรวน มีพายุฤดูร้อน ประกอบกับมีความกดอากาศสูงผ่านทางอีสานมาเมื่อวาน ส่งผลให้ความสูงของชั้นบรรยากาศผสม (Mixing Height) ลดต่ำลง ฝุ่นละอองเกิดการสะสมตัวเพิ่มมากขึ้น

3. ความชื้นในบรรยากาศทำให้เกิดฝุ่นละออง PM2.5 ทุติยภูมิ (Secondary PM2.5) เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะชนิดที่เกิดจากพวกสารประกอบไนโตรเจนและแอมโมเนียจะเกิดปฏิกิริยาได้ดีในสภาวะที่มีความชื้นสูง


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top