Wednesday, 8 May 2024
กรุงเทพมหานคร

'ยิ่งลักษณ์' เป็นห่วงสถานการณ์น้ำมากในกทม. บ่นอุบ ถ้าได้ทำงานต่อ ปัญหาเช่นนี้คงไม่เกิด

‘ยิ่งลักษณ์’ บ่นอดเสียดายโครงการจัดการน้ำทั้งระบบที่เคยวางแผนมิได้ หากวันนั้นได้มีโอกาสเดินหน้านโยบาย วันนี้ปัญหาเช่นนี้คงไม่เกิดแนะ รัฐบาลวางแผนระบายน้ำประสานงานกับ กทม.

(11 ก.ย. 65) น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โพสต์เฟซบุ๊ก 'Yingluck Shinawatra' ระบุว่า จากที่ดิฉันได้ติดตามสถานการณ์สภาพอากาศในประเทศไทย เห็นว่าปีนี้เป็นปีที่ฝนตกมาก ทำให้มีปริมาณน้ำมาก แม้อาจจะไม่เท่าปี 2554 แต่ก็อดห่วงพี่น้องเกษตรกรไม่ได้ค่ะ โดยเฉพาะในพื้นที่ลุ่มภาคกลาง เพราะพบว่ามีการปล่อยให้น้ำไหลเข้าท่วมพื้นที่นา ทำให้ผลผลิตข้าวของชาวนาได้รับความเสียหาย ทั้งๆ ที่ควรระบายน้ำลงแม่น้ำเจ้าพระยาที่ยังพร่องอยู่ ขณะที่น้ำจากทุ่งรังสิตกำลังเข้ามาใกล้กรุงเทพฯ

‘รองผู้ว่าฯ จักกพันธุ์’ ฟันธง ไม่มีเด็ดขาด! เขตของบพาคนเที่ยว ชี้เป็นการศึกษาดูงาน

‘จักกพันธุ์’ ฟันธง ไม่มีเด็ดขาด! เขตของบ พาหัวคะแนนเที่ยว แจง ทำตามหลักทุกอย่าง ต้องผ่านด่านฝ่ายบริหาร ใช้อำนาจกรอง

เมื่อวันที่ 12 กันยายน สืบเนื่องกรณี นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี เลขาธิการพรรคกล้า เปิดเผยว่า พบความผิดปกติในงบประมาณกรุงเทพฯ ปี 2566 ที่จะเริ่มใช้ในวันที่ 1 ต.ค. 65 จำนวน 79,719 ล้านบาท โดยเฉพาะในเขตพื้นที่อ่อนไหวน้ำท่วม พบว่าเขตจตุจักร ซึ่งมีจุดเสี่ยงต้องเฝ้าระวังน้ำท่วม 11 จุด มีโครงการโยธาทางระบายน้ำถูกตัดงบประมาณทิ้ง แล้วเปลี่ยนเป็นโครงการพาคนไปเที่ยวสัมมนาสูงถึง 9,783,300 บาท ต่อมา นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯกทม. ตอบประเด็นดังกล่าวว่า ไม่น่าเป็นเช่นนั้น โดยสั่งการให้ ผศ.ดร.ทวิดา กมลเวชช ดูแลอยู่ 

ล่าสุด นายจักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าฯกทม. ชี้แจงกรณีดังกล่าวว่า หลังเรื่องผ่านสภา กทม. ก็มีการตั้งคณะกรรมการวิสามัญขึ้นมาพิจารณา ซึ่งมีทั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) กับข้าราชการ และในส่วนของฝ่ายบริหาร ร่วมกันพิจารณา ซึ่งคราวนี้การพิจารณาไม่แตกต่างจากครั้งที่ผ่านมา โดยหลังผ่านการพิจารณา คณะกรรมการก็จะไปพิจารณาว่าโครงการไหน รายการใดที่จะสามารถผ่านไปดำเนินการใช้ในปีต่อไปได้

“คราวนี้ ยืนยันว่าคณะกรรมการวิสามัญ ไม่ได้ตัดงบประมาณเกี่ยวกับเรื่องการระบายน้ำเลย แต่ในขณะเดียวกัน คณะกรรมการวิสามัญชุดนี้ก็พิจารณาว่าโครงการไหน หรือรายการไหน อาจจะมีการเบิกจ่ายเงินล่าช้า หรือการทำงานไม่เป็นไปตามสัญญา ก็อาจจะมีการลดจำนวนงบลง แต่ยืนยันไม่มีการตัด

ในส่วนของเขตจตุจักรก็เหมือนกัน เฉพาะเขตจตุจักร ใช้งบประมาณไปประมาณ 536 ล้านบาท ในรอบแรก คณะกรรมการวิสามัญ ตัดไปแค่ 60,000 บาท ซึ่งเป็นการพิจารณาเกี่ยกับการก่อสร้างพื้นที่สีเขียว แต่หลังจากนั้น เขตจุตจักร คณะกรรมการพิจารณาแล้ว ท่านผู้อำนวยการเขต แปรฯงบประมาณมากพอสมควร ประมาณเกือบ 20 ล้านบาทได้ ในจำนวนนี้ ก็มีเกี่ยวกับเรื่องการขอเงินไปลอกท่อระบายน้ำเพิ่มเติม 3 ล้าน และทำฝาท่อระบายน้ำเพิ่ม 2 ล้าน ซึ่งคณะกรรมการวิสามัญให้ผ่านหมด” นายจักกพันธุ์ระบุ

นายจักกพันธุ์กล่าวต่อว่า ขณะเดียวกัน งบประมาณโดยรวมของสำนักงานเขตจุตจักร มีงบเพื่อการแก้ไขน้ำท่วมขัง เกือบ 20 ล้าน คณะกรรมการวิสามัญ ไม่ตัดเลย ขณะเดียวกัน งบแปรฯของสำนักงานเขตจตุจักร ได้ขอเงินโครงการดูงานสัมมนามา 5 โครงการ

“โครงการแรก เป็นการสัมนนา โครงการของข้าราชการ โครงการที่ 2 ของคนงาน สำนักงานเขตจตุจักร อีกโครงการ เกี่ยวข้องกับทางชุมชน ไปศึกษาดูงาน ซึ่งเป็นเรื่องที่สำนักงานเขตจตุจักร ต้องการพิจารณาการทำงาน โดยประชาชนมีส่วนร่วมด้วย” นายจักกพันธุ์กล่าว

เมื่อถามว่าตอนนี้ ทาง กทม.ไม่มีข้อกังวลใด ๆ เรื่องการตัด-เพิ่มงบตามที่หลายคนตั้งข้อสงสัย ? นายจักกพันธุ์ ชี้ว่า ก็เป็นการขอจัดตั้งงบประมาณ และแปรญัตติเป็นไปตามหลักเกณฑ์ต่างๆ แต่ขณะเดียวกันก็ยอมรับว่า ถ้ากรณีสำนักงานเขตใดพิจารณาแล้ว อาจจะขอยกเลิกโครงการ ก็สามารถดำเนินการได้ตามปกติ

เมื่อถามว่าทางเขตจตุจักร ของบไปศึกษาดูงานเกี่ยวกับอะไร ?
นายจักกพันธุ์เผยว่า โครงการแรก เป็นการดูงานของข้าราชการ สำนักงานเขตจตุจักร โครงการที่ 2 เป็นการศึกษาดูงานของลูกจ้าง คนงานของเขตจุตจักร อีก 3 โครงการ เป็นการพาชุมชนไปศึกษาดูงานต่างจังหวัดเช่นกัน ขณะเดียวกัน ก็เป็นเรื่องของฝ่ายพัฒนาชุมชน ซึ่งผู้อำนวยการเขตเองก็มีความประสงค์เอาประชาชนในพื้นที่ของท่านมามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสำนักงานเขต

ส่วนเขตอื่นก็มีโครงการลักษณะนี้เช่นเดียวกัน แต่อาจจะมีจำนวนโครงการมากน้อย แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับจำนวนของข้าราชการ บุคลาการ ของสำนักงานเขตนั้น ๆ

เมื่อถามว่า ถือเป็นเรื่องปกติหรือไม่ มีข้อสังเกตเรื่องการของงบหรือไม่อย่างไร ?
นายจักกพันธุ์ระบุว่า โดยปกติที่ผ่านมา โครงการเช่นนี้มีมาทุกปี ขณะเดียวกัน ปี 2561-2562 มีปัญหาเรื่องโควิด-19 โครงการเหล่านี้จึงหายไป หากเอาคนนับ 100 คน ไปนอนรวมกัน กินอยู่ด้วยกัน อาจมีปัญหาติดโรคภัยไข้เจ็บ

'กรณ์' หนุน 'ชัชชาติ' ชวนอาสาฯ ร่วมกรอกทรายกันน้ำท่วม ย้ำ!! อย่าไปคิดให้เป็นประเด็นการเมืองว่าผู้ว่าฯ ใครเลือก-ใครไม่เลือก 

นายกรณ์ จาติกวณิช กรรมการบริหารพรรคชาติพัฒนากล้า โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก 'กรณ์ จาติกวณิช - Korn Chatikavanij' ระบุว่า...

ขนทรายช่วยชาวกรุงเทพฯ ก่อนลงร่วมงาน #เจี๊ยะฉ่ายภูเก็ต 

เมื่อเช้าก่อนขึ้นเครื่อง ผมเห็นผู้ว่า #ชัชชาติ ออกประกาศหาอาสาสมัครไปกรอกทรายทำกระสอบกั้นนํ้าท่วม 2.5 ล้านกระสอบ ผมก็เลยไลน์ชวนเพื่อนที่ #ชาติพัฒนากล้า (ยังเรียกไม่คล่องปากนัก 😅) บอกใครว่างมาช่วยกัน

เราเอาพลั่วติดไม้ติดมือไป แต่จริงๆ กทม. มีเตรียมไว้ให้ ถุงมือเอาไปเอง รองเท้าบูทปกติเอาไว้ยํ่านา #ข้าวอิ่ม ที่สารคาม และคู่เดิมนี้ใส่ตักทรายครั้งล่าสุดก็ช่วงนํ้าท่วมใหญ่ปี ‘54 

เจ้าหน้าที่ฝากบอกว่า ใครว่างมาช่วยด้วยนะครับ กำลังคนเขาไม่พอจริงๆ คนละไม้คนละมือ 

'กทม.-ซีพีเอฟ' เปิดโครงการ 'กล้าจากป่า พนาในเมือง (กทม.)' มุ่งสร้างพื้นที่สีเขียว - กำแพงกรองฝุ่นทั่วกรุงเทพฯ

(11 ต.ค. 65) เวลา 07.30 น. ณ สวนลุมพินี เขตปทุมวัน นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยนายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหารบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ร่วมเปิดตัวโครงการ 'กล้าจากป่า พนาในเมือง (กทม.)' เพิ่มพื้นที่สีเขียวในกรุงเทพฯ สนับสนุนโครงการปลูกต้นไม้ล้านต้น สร้างพื้นที่สีเขียวและกำแพงกรองฝุ่นทั่วกรุงเทพฯ  

พร้อมกันนี้ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้รับมอบกล้าไม้จากซีพีเอฟ เพื่อนำไปกระจายต่อให้คนกรุงเทพฯ ร่วมกันปลูกต้นไม้ รวมทั้งปลูกในพื้นที่ว่างของกทม. รวมทั้งร่วมกับผู้บริหาร ซีพีเอฟ แจกกล้าไม้ให้ประชาชนและผู้สนใจ จำนวน 1,000 ต้น 

ประกอบด้วยไม้ยืนต้น 4 ชนิด ได้แก่ พะยูง กฤษณา ยางนา มะขาม และไม้ฟอกอากาศ อาทิ ออมชมพู เงินไหลมา ซึ่งกล้าไม้เหล่านี้ ซีพีเอฟจ้างงานชุมชนรอบเขาพระยาเดินธงเพาะกล้าและดูแลจนกล้าไม้แข็งแรง เป็นการกระจายอาชีพและสร้างรายได้สู่ชุมชนอีกทางหนึ่ง

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวขอบคุณในความร่วมมือของซีพีเอฟ ที่ร่วมสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีของ กทม. เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้มากเพียงพอต่อการนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีให้กับพี่น้องชาวกรุงเทพมหานคร และสนับสนุนโครงการปลูกต้นไม้ล้านต้น ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการที่กทม. มีความมุ่งมั่นส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของประชาชน และสิ่งแวดล้อมของเมือง หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ความร่วมมือกับซีพีเอฟ ครั้งนี้จะเป็นการจุดประกายในการสร้างความตระหนัก สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน ให้เริ่มลงมือทำด้วยการปลูกต้นไม้ในบริเวณบ้านของตนเอง ทั้งไม้ยืนต้นและไม้กระถาง ซึ่งจะช่วยกรองฝุ่นและดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

‘กรุงเทพมหานคร’ ยังยืนหนึ่ง เมืองน่าพักผ่อนมากที่สุดในเอเชียแปซิฟิก

กรุงเทพฯ คว้าอันดับ 1 เมืองน่าพักผ่อนมากที่สุดในเอเชียแปซิฟิก (Best Leisure time city in Asia-Pacific) 6 ปีซ้อน

อีกหนึ่งข่าวน่ายินดี! นิตยสารธุรกิจและท่องเที่ยว Business traveller จัดอันดับให้ 'กรุงเทพมหานคร' เป็นอันดับ 1 เมืองที่น่าพักผ่อนหย่อนใจมากที่สุดในเอเชียแปซิฟิก (Best Leisure time city in Asia-Pacific) ต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 จากการสำรวจของ Business Traveller Asia-Pacific Awards 2022 ซึ่งสะท้อนว่าไทยยังเป็นจุดหมายปลายทางที่นักท่องเที่ยวทั่วโลกชื่นชอบ

นอกจากนี้ ไทยยังคว้ารางวัลอันดับ 3 ในประเภทเมืองสำหรับธุรกิจที่ดีที่สุด (Best Business Cities in Asia) ขณะที่สายการบินประจำชาติอย่างการบินไทย (Thai Airways) ติด Top 3 ประเภทสายการบินที่ดีที่สุดในเอเชีย-แปซิฟิก (Best Airline of Asia-Pacific) อีกด้วย

กรุงเทพฯ ขึ้นแท่น เมืองไมซ์พัฒนามากสุด หลังมีคะแนนเพิ่มจากปีก่อนอย่างก้าวกระโดด

กรุงเทพฯ คว้ารางวัล 2022 Most Improved Award เมืองไมซ์ทำคะแนนปรับปรุงการพัฒนายั่งยืนเพิ่มสูงสุด

เฟซบุ๊กเพจ MICE in Thailandโพสต์ข้อมูลว่าข่าวดีสำหรับประเทศไทยอีกครั้ง 'กรุงเทพฯ' ได้รับรางวัลจาก Global Destination Sustainability Index (GDS-Index)ในหมวด Most Improved Award 2022 ในฐานะเมืองที่มีคะแนนปรับปรุงการพัฒนาอย่างยั่งยืนในอุตสาหกรรมไมซ์และท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดจากปีก่อนหน้ามากที่สุด (73.66%)

ทั้งนี้ นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและนายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการเป็นตัวแทนเข้ารับรางวัลในงาน ICCA Annual Congress 2022 ซึ่งเป็นงานประชุมประจำปีของสมาคมอุตาหกรรมการประชุมนานาชาติหรือ International Congress and Convention Association ที่จัดขึ้นในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2565 ณ เมืองคราโคว ประเทศโปแลนด์

‘ชัชชาติ’ เตือนม็อบห้ามเคลื่อนขบวน-ค้างคืน ชี้!! หากออกจากลานคนเมือง กทม.ไม่รับผิดชอบ

(16 พ.ย. 65) นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวภายหลังตรวจเยี่ยมกิจกรรมที่ลานคนเมือง ศาลาว่าการ กทม. (เสาชิงช้า) ถึงกรณีเปิดพื้นที่ให้ชุมนุมในช่วงการประชุมเอเปคบริเวณลานคนเมืองวันนี้เป็นวันแรก ว่า กรุงเทพมหานครมีหน้าที่รับนโยบายจากภาครัฐมาปฏิบัติเป็นหลัก โดยมีการวางกำลังกระจายเจ้าหน้าที่พร้อมประสานกับหน่วยงานต่าง ๆ ตลอดเวลา

“จากกระแสว่าจะมีการชุมนุมค้างคืน ผมขอย้ำว่าไม่มีการอนุญาตให้ค้างคืน การชุมนุมต้องเป็นไปตามนโยบายและข้อตกลง เรื่องนี้ได้มอบหมายให้พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก และ พล.ต.อ.อดิศร์ งามจิตสุขศรี ที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นผู้ดูแลความเรียบร้อย ซึ่งจากการประสานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับการร้องขอให้เปิดพื้นที่ลานคนเมืองให้เป็นที่แสดงออกในการชุมนุม ประชาชนจะได้ไม่ต้องลงถนนหรืออาจไปกระทบต่อการเดินทางของผู้ร่วมประชุมเอเปค” นายชัชชาติ กล่าว

นายชัชชาติ กล่าวว่า ส่วนตัวมองว่าพื้นที่ลานคนเมืองทำให้ประชาชนแสดงออกได้ตามหลักประชาธิปไตย และไม่กังวลเพราะเคารพความคิดเห็นซึ่งกันและกัน การชุมนุมแสดงความเห็นต่างเป็นเรื่องที่สากลเข้าใจ และเป็นเรื่องที่สวยงามหากไม่แสดงออกด้วยความรุนแรง อย่างไรก็ตาม หากมีการเคลื่อนตัวออกนอกพื้นที่ที่กำหนด อำนาจหน้าที่จะเป็นของฝ่ายความมั่นคงในการจัดการดูแลทันที เพราะ กทม.ดูแลได้เฉพาะพื้นที่ที่กำหนดให้เท่านั้น และไม่มีการเชิญชวนให้ใครมาชุมนุม เพียงแต่เปิดพื้นที่ให้สามารถแสดงออกได้ ซึ่งได้เปิดมาตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแล้ว

‘ชัชชาติ’ ระบุ BTS ปรับขึ้นราคาตามกรอบสัญญา ชี้ กทม.ทำได้แค่เจรจา หลังชะลอมาก่อนหน้า

(1 ธ.ค. 65) นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวภายหลังการประชุมหัวหน้าหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร ถึงกรณีการประกาศปรับอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้า BTS ที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2566 ว่า เป็นไปตามกฎสัมปทานอยู่แล้ว เพราะมีโอกาสปรับขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งเป็นสัญญาที่มีมาตั้งนาน โดยมีการเจรจาให้ชะลอมา 2 เดือนก่อนหน้านี้ โดยเป็นการปรับพร้อมสายสีน้ำเงิน

ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครได้มีการพยายามเจรจาชะลอให้มากที่สุดแล้ว แต่ต้องบอกว่านี่เป็นสัญญาที่มีโอกาสปรับขึ้นตามกรอบที่ทำสัญญาไว้ล่วงหน้า ถือเป็นสิทธิของ BTS โดยการเจรจาทำได้เพียงแค่ชะลอให้เลื่อนออกมาเพียงแค่ 2 เดือน จนมาถึงการประกาศปรับขึ้นอัตราค่าโดยสารในครั้งนี้และถือเป็นข้อผูกพัน โดยตามรูปแบบสัมปทาน อย่างมากทำได้เพียงแค่ขอความร่วมมือ แต่หาก BTS ไม่ตกลง กรุงเทพมหานครก็ไม่สามารถมีอำนาจสั่งให้ BTS ชะลอการปรับอัตราค่าโดยสารไปมากกว่านี้ได้

ส่วนกรณีที่มีหลายฝ่ายแสดงความคิดเห็นว่าการปรับอัตราค่าโดยสารของ BTS ในครั้งนี้จะใช้เป็นเครื่องมือต่อรองในการทวงหนี้ส่วนต่อขยายที่ 2 หรือไม่นั้น เท่าที่ทราบรายได้ของ BTS ขึ้นอยู่กับจำนวนของผู้โดยสาร โดยส่วนต่อขยายที่ 2 มีผู้โดยสารใช้บริการเป็นจำนวนมาก ซึ่งได้ค่าแรกเข้าเป็นหลัก 1,000 ล้านบาท หากนำผู้โดยสารเข้าระบบ 100,000 คน คิด 10 บาทต่อคน วันหนึ่งก็เป็นจำนวนเงินหลายล้านบาท แต่ทั้งนี้คงต้องมีการเจรจาเรื่องการชำระหนี้ เพราะการชำระหนี้นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ถ้าง่ายคงจ่ายไปตั้งแต่ 3-4 ปีแล้ว เพราะเป็นเรื่องทางด้านเทคนิค การเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จะเอาเงินของกรุงเทพมหานครมาจ่ายเลยก็เป็นไปได้ยาก ต้องผ่านระบบงบประมาณ ผ่านการอนุมัติของสภากรุงเทพมหานคร

'ดร.เสรี' ชี้!! ชาวกทม.เทคะแนนเลือกผู้แก้ปัญหา แต่สุดท้ายได้คนมาออก Event เล่น Cosplay

(22 ธ.ค. 65) ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาดและการสื่อสาร โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กว่า...

วิ่งๆๆๆๆ เต้นๆๆๆๆ ออก Event เล่น Cosplay มาแล้ว 6 เดือน

มีอะไรที่เรียกว่าเป็นการแก้ปัญหา

มีอะไรที่เรียกว่าเป็นการพัฒนา

มีอะไรที่ทำได้ตามคำสัญญา

แบบนี้ยังมีคนมอบรางวัลว่าเป็นขวัญใจ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top