สถานทูตอิสราเอลในไทย ใช้ตุ๊กๆ ติดป้ายตัวประกันที่ถูกจับร่อนทั่วกรุง ผิดมารยาทตามแบบธรรมเนียมพิธีการทางการทูตหรือไม่?

ผิดมารยาท…ตามแบบธรรมเนียมพิธีการทางการทูตหรือไม่?

สถานเอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำประเทศไทยจัดกิจกรรมรณรงค์ให้ปล่อยตัวประกันที่ถูกจับในฉนวนกาซา ด้วยการติดแผ่นป้ายใบหน้าตัวประกันหลังรถสามล้อกว่า 100 คัน และให้วิ่งไปตามถนนสายหลักต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ

พิธีการทูต (Diplomatic protocol) ในการเมืองระหว่างประเทศ เป็นมารยาททางการทูตและกิจการของรัฐ พิธีการทูตเป็นกฎซึ่งชี้นำว่ากิจกรรมหนึ่ง ๆ ควรดำเนินการอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาการทูต ดังนั้นการนำเรื่องราวของความขัดแย้งอันเป็นปัญหาระหว่างประเทศมารณรงค์ในประเทศที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ กับความขัดแย้งนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการนำเสนอข้อมูลเพียงด้านเดียวโดยไม่ยอมกล่าวถึงมูลเหตุของความขัดแย้งนั้น ส่วนพิธีสารเจาะจงพฤติกรรมที่เหมาะสมและเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปในประเด็นรัฐและการทูต

นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวถึงกรณี ว่า เวลาอิสราเอลทำอะไรไม่เคยมาขออนุญาตทางการไทย และขอยืนยันว่าการเคลื่อนไหวดังกล่าวนั้นไทยไม่ค่อยเห็นด้วย จึงได้มอบหมายให้ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เชิญเอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำประเทศไทยมาพูดคุย 

นายปานปรีย์ กล่าวอีกว่า ขณะนี้เรากำลังอยู่ในระหว่างช่วงการเจรจาให้ตัวประกันทั้ง 8 คนได้กลับมาสู่ประเทศไทย จึงไม่ประสงค์ที่จะสร้างปัญหาหรือไม่ประสงค์ที่จะทำให้ประเทศที่เกี่ยวข้องเกิดความเข้าใจผิดว่าเราไปสนับสนุนประเทศใดประเทศหนึ่ง โดยเฉพาะประเทศที่มีความขัดแย้งกันอยู่ ดังนั้น ไทยเป็นมิตรกับทุกประเทศและในส่วนของอิสราเอล ตนก็เชื่อว่าพยายามทำทุกอย่างเพื่อให้ชาวโลกเข้าใจว่าเขาไม่ได้มีส่วนทำให้เกิดปัญหานี้ แต่อย่างไรก็ตามในส่วนของไทยก็มองว่าเวลานี้ เรื่องสำคัญที่สุดคือ ให้ตัวประกันคนไทยทั้ง 8 คนปลอดภัยที่สุดและกลับมาประเทศไทย และไม่ประสงค์ให้ประเทศใดประเทศหนึ่งใช้เวทีของไทยสร้างความขัดแย้งให้เกิดขึ้น ทั้งยืนยันว่า รัฐบาลไทยยังคงพยายามหาแนวทางในการช่วยเหลือตัวประกันไทยที่เหลือ 

หลายปีที่ผ่านมาพฤติการณ์และพฤติกรรมของนักการทูตหลายชาติตะวันตกได้เข้ามายุ่งเกี่ยวและแทรกแซงทั้งทางการเมืองและกระบวนการยุติธรรมของไทยหลายครั้งหลายหน ซึ่งเป็นหน้าที่ของกระทรวงต่างประเทศต้องดำเนินการ แต่เพราะการปล่อยปละละเลย จะด้วยความเกรงใจหรือไม่สนใจใด ๆ ก็ตาม จึงทำให้ประเทศต่าง ๆ ใช้ประเทศไทยในการเคลื่อนไหวโดยไม่ให้ความสำคัญต่อแบบธรรมเนียมตามพิธีการทูต (Diplomatic protocol) ที่ตัวแทนของอารยประเทศพึ่งปฏิบัติดังเช่นกรณีที่เกิดขึ้น

เรื่อง: ปุณกฤษ ลลิตธนมงคล