Saturday, 17 May 2025
ค้นหา พบ 48168 ที่เกี่ยวข้อง

วันก่อตั้งคณะกรรมการโอลิมปิกสากล จุดเริ่มต้นมหกรรมกีฬาโอลิมปิก

วันนี้ เมื่อ 129 ปีก่อน กำเนิด คณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) เพื่อฟื้นฟูโอลิมปิกยุคโบราณสู่กีฬาโอลิมปิกสมัยใหม่

คณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2437 โดยมี ปิแอร์ เดอ กูเบอร์แตง ชาวฝรั่งเศส เป็นผู้นำในการประชุมระหว่างประเทศ ซึ่งจัด ณ มหาวิทยาลัยปารีส เพื่อฟื้นฟูกีฬาโอลิมปิกยุคโบราณสู่กีฬาโอลิมปิกสมัยใหม่ 

ซึ่งเป็นระยะเวลาสองปีก่อนการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งแรกที่ถูกจัดขึ้นในปี พ.ศ. 2439 โดย IOC เป็นองค์กรอิสระระหว่างประเทศที่ไม่แสวงหาผลกำไร ซึ่งมีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาสังคมแห่งมวลมนุษยชาติให้ดียิ่งขึ้นผ่านการเล่นกีฬาระดับสากล IOC เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการบริหารจัดการการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกระดับสากล

ขณะเดียวกัน วันที่ 23 มิถุนายนของทุกปี จึงถูกกำหนดให้เป็น ‘วันโอลิมปิก’ หรือ ‘Olympic Day’ เพื่อเฉลิมฉลองวันคล้ายวันก่อตั้งของคณะกรรมการโอลิมปิกสากล 

นอกจากนี้ วันโอลิมปิกยังมีเป้าหมาย ต้องการให้ผู้คนทั่วโลกได้มีส่วนร่วมกับกิจกรรมกีฬาในแบบฉบับของตัวเอง โดยไม่จำกัดเพศ อายุ หรือแม้กระทั่งความสามารถทางกีฬา ซึ่งตลอดหลายปีที่ผ่านมา คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ หรือ National Olympic Committee (NOC) ในแต่ละประเทศได้พยายามจัดกิจกรรมในวันนี้เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมและเข้าถึงกีฬามากขึ้น
 

พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ เป็นประธานเปิดการอบรมพัฒนาศักยภาพ เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดปราบปรามน้ำมันเถื่อน รุ่นที่ 2

วันนี้ (22 มิ.ย.66) เวลา 10.00 น. พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร. ในฐานะ ผอ.ศูนย์ปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิง (ศปนม.ตร.) ได้เดินทางมาเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการอบรมสัมมนาเพื่อเพิ่มขึดความสามารถและประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่ในการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิงของ ศปนม.ตร. รุ่นที่ 2 ประจำปีงบประมาณ 2566 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 21-23 มิ.ย.66 ณ โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 

การอบรมเจ้าหน้าที่ตำรวจในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งมีหน้าที่เป็นชุดปฏิบัติการในการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันเชื้อเพลิงทั้งหมด ซึ่งการอบรมนี้จะมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากกรมสรรพสามิต และกรมธุรกิจพลังงาน มาให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งในรุ่นนี้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจจากทั่วประเทศจำนวน 200 คน มาเข้ารับการอบรม โดยในปีนี้มีแผนการอบรมทั้งหมด 2 รุ่น และรุ่นแรกได้อบรมไปแล้วเมื่อช่วงเดือน ม.ค.66 ที่ผ่านมาจำนวน 200 คน

พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ กล่าวว่า ความผิดเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิงนั้น ถือเป็นปัญหาที่มีความสำคัญระดับชาติ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยในภาพรวม ความผิดเหล่านี้ทำให้รัฐสามารถเก็บภาษีได้ลดลง ทำให้เสียโอกาสในการนำงบประมาณเหล่านี้ไปพัฒนาประเทศ ที่ผ่านมา ศปนม.ตร. ได้มีการจับกุมผู้ต้องหาที่มีการลักลอบนำเข้าน้ำมันโดยผิดกฎหมายอย่างต่อเนื่อง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ปฏิบัติของ ศปนม.ตร. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติ ซึ่งได้นำเอาเจ้าหน้าที่จากทั่วประเทศกว่า 200 นายมาเข้ารับการอบรมในครั้งนี้ การอบรมนี้จะสร้างประโยชน์ทำให้การปราบปรามน้ำมันเถื่อนมีประสิทธิภาพมากขึ้น และนำรายได้เหล่านี้กลับมาพัฒนาประเทศได้ต่อไป

‘ชาวไทยมุสลิม’ สวมชุดมลายู ร่วมฉลอง ‘วันอีดิลอัฎฮา’ อวดโฉมอัตลักษณ์ที่ทรงเสน่ห์ได้อย่างอิสระเสรี

‘วันอีดิลอัฎฮา’ เป็นวันที่มีขึ้นเพื่อรำลึกถึงความเสียสละของ ‘อิบราฮิม’ ที่ยอมสละชีวิตบุตรชายของตัวเองเพื่อศาสดามูฮัมหมัด แต่ศาสดาได้มอบแกะให้อิบราฮิมเชือดแทน ชาวมุสลิมทั่วโลกจะฉลองวันนี้ด้วยการเชือดสัตว์ เช่น วัว และแพะ จากนั้นจึงนำไปแบ่งปันให้ญาติ มิตรสหาย ตลอดจนบริจาคให้ผู้ยากไร้

ซึ่งในปีนี้ สำนักจุฬาราชมนตรีได้ออกมาประกาศว่า มีผู้เห็นดวงจันทร์ 1 ซุ้ลฮิจญะฮฺ ฮ.ศ. 1444 ตรงกับอังคารที่ 20 มิถุนายน 2566 วันอารอฟะฮฺ ตรงกับวันพุธที่ 28 มิถุนายน 2566 และ ถือว่า ‘วันอีดิลอัฎฮา’ ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 29 มิถุนายน 2566 โดยให้พี่น้องมุสลิมทั่วประเทศได้ปฏิบัติศาสนกิจโดยพร้อมเพรียงกัน โดยคาดว่า บรรยายกาศการเฉลิมฉลองในปีนี้ จะเต็มไปด้วยความคึกคักของพี่น้องประชาชนชาวไทยมุสลิม ที่ต่างเดินทางไปร่วมกันปฏิบัติศาสนกิจโดยพร้อมเพรียง

นอกจากนี้ ชาวไทยมุสลิมทั้งผู้ใหญ่ เด็ก วัยรุ่น ยังสวมเครื่องแต่งกายด้วยชุดมลายู สีสันสวยงาม ยังมีให้เลือกหลากหลาย โดยแต่ละพื้นที่ก็จะนิยมแต่งกายแตกต่างกันออกไป แต่ทุกพื้นที่ก็ยังคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ของตัวเอง เช่น

ชุด ‘บาจู กูรง’ ลักษณะเด่นของชุดจะเป็นชุดที่ตัดเย็บจากผ้าผืนเดียวกันทำให้สี และลวดลายบนผืนผ้าจะเป็นแบบเดียวกันทั้งชุด มีความประณีตและสวยงาม เป็นชุดที่ดูสุภาพ ช่วยเสริมความโดดเด่นแก่ผู้สวมใส่

‘เสื้อโต๊ป’ ลักษณะชุดยาวคลุมข้อเท้า ผ่าหน้าความกว้างพอสำหรับสวมหัวได้ เสื้อแขนยาว นิยมใช้ผ้าสีขาวตัดเย็บ แต่การออกแบบปกและปลายแขนแตกต่างกัน เช่น คอกลมผ่าหน้ามีภู่ห้อย คอตั้ง ปกเชิ้ต ปลายแขนแบบปล่อย ปลายแขนติดกระดุมแบบเสื้อเชิ้ต หรือใช้ ‘Cufflink’

‘เสื้อปาเต๊ะ’ จากจังหวัดยะลา ตัดจากผ้า Sutra Patek Indonesia (สตรอ ปาเต๊ะ อินโดนีเซีย) เป็นผ้าปาเต๊ะ ที่นิยมสวมใส่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในอดีตจะใช้เป็นผ้านุ่ง หรือ ผ้าถุง แต่ปัจจุบันมีการส่งเสริม พัฒนาต่อยอดผ้าท้องถิ่น นำมาออกแบบ ตัดเป็นเครื่องแต่งกาย กระเป๋า รองเท้า และอื่นๆ อีกมากมาย โดยลวดลายของผ้าปาเต๊ะ ส่วนใหญ่มีรูปแบบมาจากธรรมชาติ เช่น ต้นไม้ ดอกไม้ หรือรูปเลขาคณิตต่างๆ บางลายก็จะเป็นการผสมผสานวัฒนธรรมความเป็นมลายูและจีนเข้าไว้ด้วยกัน ถ่ายทอดออกมาผ่านลวดลายบนผ้า เช่น รูปดอกท้อ ดอกโบตั๋น พัด ลายหงส์ หรือ นกฟินิกส์ เป็นต้น

ทั้งนี้ การสวมชุดมลายูของชาวไทยมุสลิมในวันสำคัญนั้น ถือเป็นการคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาวไทยมุสลิม ซึ่งกำลังได้รับการผลักดันให้เป็นมรดกโลก ถือเป็นวัฒนธรรมร่วมสมัยที่เป็นเสน่ห์ และยังเป็นการตอกย้ำให้เห็นอย่างชัดเจน ถึงอัตลักษณ์ที่ทรงคุณค่าของพี่น้องชาวไทยมุสลิมทุกกลุ่มในประเทศนี้ ซึ่งล้วนได้รับการยอมรับ และแสดงออกได้อย่างอิสระเสรี ตราบใดที่ไม่ขัดต่อกฎหมายในประเทศไทย
 

‘บริษัทเรือดำน้ำ’ ที่พาชมซาก ‘เรือไททานิก’ เปิดมากว่า 14 ปี โกยรายได้ต่อปี 344 ล้านบาท

วันที่ (23 มิ.ย. 66) บริษัทโอเชียนเกต ก่อตั้งเมื่อปี 2552 โดย ‘สต็อกตัน รัช’ อดีตนักบินสู่นักประกอบเรือดำน้ำมือฉมัง เขามีเรือดำน้ำที่สร้างขึ้นเองหลายลำ โดยเขาดูแลด้านการเงินและวิศวกรรมของบริษัท โดย ‘โอเชียนเกต’ ให้บริการเรือดำน้ำแบบมีคนขับสำหรับเพื่ออุตสาหกรรม การวิจัย การสำรวจใต้ทะเลลึก และการบันทึกสื่อและภาพยนตร์ใต้น้ำ บริษัทมีเรือดำน้ำ ให้บริการ 3 รุ่น ได้แก่

1.) TITAN ระดับความลึก 4,000 เมตร (13,123 ฟุต) วัสดุทำจากคาร์บอนไฟเบอร์และไทเทเนียม สามารถเข้าถึงมหาสมุทรเกือบ50% ของโลกได้ ไททันเป็นเรือดำน้ำเพียงลำเดียวในโลกที่สามารถบรรทุกผู้โดยสารถึง 5 คนไปที่ความลึกเหล่านี้ได้

2.) Cyclops 1 ระดับความลึก 500 เมตร (1,640 ฟุต) Cyclops 1 เป็นเรือดำน้ำลำแรกของรุ่น Cyclops เป็นเรือดำน้ำต้นแบบ สู่การสร้างรุ่น Titan ทั้งซอฟต์แวร์เทคโนโลยี และอุปกรณ์ เปิดตัวครั้งแรกในปี 2558 ถูกไปใช้ในภารกิจต่าง ๆ มากมายในมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรแอตแลนติก รวมถึงอ่าวเม็กซิโก

3.) Antipodes ระดับความลึก 305 เมตร (1,000 ฟุต) เดินทางในระดับน้ำที่ตื้น มีโดมอะคริลิกครึ่งวงกลมสองโดมให้มุมมองที่ไม่มีเด่นชัด และเป็นเรือที่เหมาะสำหรับการทำงานเป็นทีมร่วมกัน

ซึ่งการดำเนินธุรกิจของ ‘โอเชียนเกต’ มีดังนี้

ปี 2552-2554 - บริษัทซื้อเรือดำน้ำรุ่น Antipodes, ยานพาหนะหุ่นยนต์สองลำ, เรือสนับสนุนต่าง ๆ และอุปกรณ์สนับสนุนหลายชิ้น  

ปี 2555 - ได้รับเรือดำน้ำลำที่ 2 และสร้างขึ้นมาใหม่เป็น Cyclops 1 เพื่อทำหน้าที่เป็นต้นแบบสำหรับเรือไททัน

กิจการดำเนินไปอย่างราบรื่น และประสบความสำเร็จในการสำรวจมากกว่า 14 ครั้ง จากการดำน้ำมากกว่า 200 ครั้งทั้งในมหาสมุทรแปซิฟิก แอตแลนติก และอ่าวเม็กซิโก 

ปี 2561 - ‘เดวิด ลอชริดจ์’ อดีตผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการทางทะเลของบริษัท โอเชียนเกต (OceanGate) ถูกไล่ออกจากบริษัทหลังจากทำรายงานด้านความปลอดภัยของเรือดำน้ำไททัน

ปี 2563 - ‘สต็อคตัน’ ซีอีโอ ให้สัมภาษณ์กับสื่อว่า เรือไททันแสดงอาการล้าจากการหมุน (Cyclic Fatigue) ในการทดสอบที่ระดับความลึก 4,000 เมตร ทำให้ขีดความสามารถถูกลดลงเหลือ 3,000 เมตร

ต่อมาทางบริษัทได้ปรับปรุงตัวเรือ และยกเลิกการใช้ตัวถังที่เป็นคาร์บอนไฟเบอร์ไป 

ปี 2565 บริษัทได้เริ่มกลับมาให้บริการเรือดำน้ำครั้งแรก โดย 1 ในบริการเด่น คือ ทัวร์ชมเรือไททานิก

ซึ่งการเดินทางแต่ละครั้งใช้เวลาเดินทาง 8 วัน มีค่าใช้จ่ายต่อหัวราว 250,000 ดอลลาร์ หรือราว 8.7 ล้านบาท

ปัจจุบัน ‘รายได้’ บริษัทโอเชียนเกต อยู่ที่ประมาณ 9.9 ล้านดอลลาร์ต่อปี หรือ 344 ล้านบาท โดยได้รับการระดมทุนมาแล้ว 2 ครั้งทั้งหมด รวม 19.8 ล้านดอลลาร์หรือ 689 ล้านบาท

ทั้งนี้ ถ้าเทียบกับธุรกิจเรือดำน้ำด้วยกัน โอเชียนเกต ไม่ใช่ผู้นำอุตสาหกรรมกลุ่มในแง่รายได้ ข้อมูลจาก growjo.com จัดอันดับดังนี้

อันดับ 1 SAFE Boats International รายได้ 51.9 ล้านดอลาร์/ปี (1,818 ล้านบาท)
อันดับ 2 Oil Companies International Marine Forum (OCIMF) 26.2 ล้านดอลลาร์/ปี (917 ล้านบาท)
อันดับ 3 Intermarine 17.4 ล้านดอลลาร์/ปี ( 609 ล้านบาท)
อันดับ 4 OceanGate 9.9 ล้านดอลลาร์/ปี (344 ล้านบาท)
อันดับ 5 PYI 5.4 ล้านดอลลาร์/ปี (189 ล้านบาท)
 

‘ติ่ง มัลลิกา’ เปรียบ ‘พิธา’ เป็นแก๊งคอลเซ็นเตอร์ หลอกประชาชน นโยบาย 3,000 บาท ทำไม่ได้จริง ขึ้นค่าแรง 450 บาท ก็ลวงแรงงาน

ติ่ง มัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ได้ให้สัมภาษณ์ในรายการคนดังนั่งเคลียร์ ทางช่อง 8 เมื่อวันที่ 22 มิ.ย. 2566 เกี่ยวกับประเด็น ที่นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคและแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของก้าวไกล ได้เคยหาเสียงไว้ในการที่จะให้เงินผู้สูงอายุ และการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ โดยมีใจความว่า ...

ข้อที่ 1 เขาประกาศเองว่าเขาทำไม่ได้ นโยบาย 3,000 บาท เนื่องมาจากว่าเขาเป็นรัฐบาลพรรคผสม จากนั้นเขาไปดูงบประมาณแล้ว เขาจะต้องไปดึงงบไป เกลี่ยงบมา เขาจะต้องจ่ายเงิน 3,000 บาทให้ คนแก่ 1 คน ทั้งประเทศมีคนแก่ 12 ล้านคน สรุปเขาจะต้องใช้เงิน 6 แสนล้านบาท พิธาหลอกลวงประชาชนหรือไม่ พิธาเป็นยิ่งกว่าแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่
ทำบาปมากที่ไปหลอกคนแก่ทั่วทั้งประเทศไทย ตอนหาเสียงที่ทาบอกว่าสามารถทำได้ภายใน 100 วัน แต่ปัจจุบันบอกว่า 3,000 บาทจะทำได้หลังปี 2570 เท่ากับที่ผ่านมาพิธาหลอกลวงประชาชน

ข้อที่ 2 เงินค่าจ้าง 450 บาท หลอกลวงแรงงาน ทั้งหมดเลย ทั้งแรงงานต่างด้าว ทั้งแรงงานไทย อ้างว่าทำไม่ได้ เพราะเนื่องมาจาก เวลาจะขึ้นค่าแรง 450 บาทนั้น จะต้องไปผ่านคณะกรรมการ 3 ฝ่าย คณะกรรมการ 3 ฝ่ายนั้นเป็นบอร์ดไม่ใช่นายกจะสั่งซ้ายสั่งขวาได้เลย เขาหลอกลวงประชาชน จะมีหรือที่ว่า นักการเมืองอย่างพิธา ที่อยู่คณะกรรมาธิการงบต่างๆนั้นจะไม่รู้เรื่องนี้ เขาจะต้องรู้อยู่แล้วว่าการจะประกาศขึ้นค่าแรงงานนั้นไม่สามารถประกาศได้เลยจะต้องผ่านคณะกรรมการ 3 ฝ่าย ซึ่งคณะกรรมการ 3 ฝ่ายนี้เพิ่งประชุมไปเมื่อปี 2565 ค่าแรง 300 บาทยังไม่ขึ้น นั่นก็แปลว่าถ้าคุณเข้าไปเป็นรัฐบาล 100 วันค่าแรงมันก็ยังไม่สามารถที่จะขึ้นได้อยู่ดี เพราะฉะนั้นสรุปได้ 2 อย่างก็คือข้อ 1 พิธาไม่รู้พิธาไม่มีความรู้ ในเรื่องของกลไกในเรื่องของการบริหารประเทศ หรือข้อที่ 2 ก็คือพิธาเจตนาหลอกลวงประชาชน มัลลิกากล่าวทิ้งท้าย
 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top