Monday, 24 March 2025
WORLD

‘ทรัมป์ – เซเลนสกี’ ปะทะคารมเดือดต่อหน้าสื่อ สุดท้ายดีลแร่ธาตุหายากล่มไม่เป็นท่า

(1 มี.ค.68) เอพี รายงานความคืบหน้าหลังการหารือข้อตกลงธาตุหายาก หรือธาตุแรร์เอิร์ธระหว่าง ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ผู้นำยูเครน กับ ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐอเมริกา เมื่อวันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ ลงเอยด้วยความล้มเหลว

โดยเซเลนสกียืนกรานว่า จะไม่เข้าร่วมการเจรจาสันติภาพกับรัสเซีย จนกว่าจะมีหลักประกันด้านความปลอดภัยในการต่อต้านการโจมตีอีกครั้ง

ก่อนเสริมว่า การโต้เถียงอย่างดุเดือดกับประธานาธิบดีทรัมป์นั้น “ไม่ดีสำหรับทั้งสองฝ่าย” และว่า ทรัมป์ซึ่งยืนกรานว่าประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย พร้อมจะยุติสงครามที่ยืดเยื้อมากว่า 3 ปี จำเป็นต้องเข้าใจว่ายูเครนไม่สามารถเปลี่ยนทัศนคติที่มีต่อรัสเซียได้ในทันที ขณะที่นายทรัมป์ตำหนินายเซเลนสกีว่าไม่ให้เกียรติและยกเลิกการลงนามข้อตกลง

การประชุมพิเศษที่ห้องทำงานรูปไข่ของทำเนียบขาวในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เปลี่ยนจากการหารือที่อาจสร้างประวัติศาสตร์ให้กลายเป็นเหตุที่สร้างความตกตะลึงและอาจส่งผลกระทบไปทั่วโลก กำหนดเดิมนายเซเลนสกีคาดว่าจะลงนามในข้อตกลงที่อนุญาตให้สหรัฐเข้าถึงแร่ธาตุหายากของยูเครนได้มากขึ้น และจัดงานแถลงข่าวร่วมกัน แต่แผนดังกล่าวถูกยกเลิก หลังมีการโต้เถียงดุเดือดระหว่างสองผู้นำต่อหน้าสื่อมวลชน และยังไม่ชัดเจนว่าการพลิกผันครั้งนี้ จะส่งผลต่อข้อตกลงที่นายทรัมป์ยืนกรานว่ายูเครนจำเป็นต้องชดใช้เงินช่วยเหลือของสหรัฐกว่า 180,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 6.1 ล้านล้านบาทอย่างไร

เซเลนสกีและคณะเดินทางออกจากทำเนียบขาวไม่นาน หลังจากนายทรัมป์ตะโกนใส่ และแสดงออกว่าดูถูกอย่างเปิดเผย ทรัมป์กล่าวกับเซเลนสกีว่า “คุณกำลังพนันกับสงครามโลกครั้งที่สามและสิ่งที่คุณทำอยู่นั้นไม่เคารพประเทศนี้เลย ประเทศนี้สนับสนุนคุณมากกว่าที่หลายคนบอกว่าควรสนับสนุนเสียอีก”

ช่วง 10 นาทีสุดท้ายของการประชุมเกือบ 45 นาที กลายเป็นการปะทะคารมอย่างตึงเครียดระหว่างนายทรัมป์ รองประธานาธิบดีเจดี แวนซ์ ของสหรัฐ และนายเซเลนสกี ซึ่งต้องการกดดันนายทรัมป์ไม่ให้ละทิ้งยูเครนและเตือนว่าอย่าไว้ใจนายปูตินมากเกินไป เพราะผู้นำรัสเซียล่มข้อตกลงหย่าศึกด้วยตัวเองมากถึง 25 ครั้ง

แต่นายทรัมป์กลับตะโกนใส่นายเซเลนสกี ก่อนตอบว่า นายปูตินไม่ได้ทำลายข้อตกลงกับตน และส่วนใหญ่หลบเลี่ยงคำถามเกี่ยวกับการเสนอหลักประกันความปลอดภัยให้กับยูเครน

สถานการณ์ยิ่งตึงเครียดหลังจากแวนซ์ท้าทายเซเลนสกีว่า “ท่านประธานาธิบดี ด้วยความเคารพผมคิดว่าการที่คุณมาที่ห้องรูปไข่เพื่อพยายามฟ้องร้องเรื่องนี้ต่อหน้าสื่ออเมริกันถือเป็นการไม่ให้เกียรติ”

เซเลนสกีพยายามคัดค้าน และทำให้นายทรัมป์พูดเสียงดังว่า “คุณกำลังพนันกับชีวิตของผู้คนนับล้าน” ในช่วงหนึ่งนายทรัมป์ประกาศว่าตัวเองอยู่ “ตรงกลาง” และไม่ได้อยู่ฝ่ายยูเครนหรือรัสเซียในความขัดแย้งนี้

ทั้งยังเยาะเย้ยความเกลียดชัง ที่เซเลนสกีมีต่อปูตินว่าเป็นอุปสรรคต่อสันติภาพ “คุณเห็นความเกลียดชังที่เขามีต่อปูตินไหม มันยากมากสำหรับผมที่จะทำข้อตกลงด้วยความเกลียดชังแบบนั้น”

ขณะที่พรรคเดโมแครตวิจารณ์นายทรัมป์ และรัฐบาลทันทีที่ล้มเหลวการบรรลุข้อตกลงกับยูเครน นายชัค ชูเมอร์ หัวหน้าวุฒิสภาพรรคเดโมแครต กล่าวว่า ทรัมป์และแวนซ์ “กำลังทำงานสกปรกให้ปูติน”

ไทยไร้ทางเลือก!! กรณีส่ง 40 อุยกูร์ กลับมาตุภูมิซินเจียง ชี้ ต้องไม่ลืม!!! เหตุระเบิดที่ศาลพระพรหมเอราวัณ 17 ส.ค. 58

ความขัดแย้งที่ซินเจียง หรือ ความขัดแย้งระหว่างชาวอุยกูร์ กับ รัฐบาลจีน (Xinjiang conflict หรือ Uyghur–Chinese conflict) เป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในเขตปกครองตนเองซินเจียงทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน มาจากชาวอุยกูร์ ชนกลุ่มน้อยเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดในภูมิภาคที่ต้องการปกครองตนเอง ชาวอุยกูร์ (Uighurs Uygurs หรือ Uigurs) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์เติร์กที่มีต้นกำเนิดจากและมีส่วนเกี่ยวข้องทางวัฒนธรรมกับภูมิภาคเอเชียกลางและเอเชียตะวันออก ชาวอุยกูร์ได้รับการยอมรับว่าเป็นชนพื้นเมือง ในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน โดยถือเป็นหนึ่งในชนกลุ่มน้อยที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการในจำนวน 55 กลุ่มของจีน แต่ชาวอุยกูร์ได้รับการยอมรับจากรัฐบาลจีนว่า เป็นชนกลุ่มน้อยในภูมิภาคของประเทศในกรณีของความหลากหลายทางวัฒนธรรมเท่านั้น 

เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ เป็นเขตปกครองตนเองของจีนทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ เป็นเขตปกครองใหญ่ที่สุดของจีน เป็นเขตการปกครองชนชาติที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 8 ของโลก กินพื้นที่กว่า 1.6 ล้านตารางกิโลเมตร และเป็นเขตการปกครองที่มีประชากรมากที่สุดติดอันดับหนึ่งในสิบ ซินเจียงมีพรมแดนติดต่อกับ ประเทศรัสเซีย มองโกเลีย คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน ทาจิกิสถาน อัฟกานิสถาน ปากีสถาน และอินเดีย นอกจากนี้ยังมีพรมแดนติดต่อกับทิเบต มีน้ำมันสำรองอุดมสมบูรณ์ และเป็นภูมิภาคที่ผลิตแก๊สธรรมชาติใหญ่ที่สุดของจีน มีประชากรราว 24,870,000 คน ประกอบด้วย ชาวอุยกูร์ 45.84% ชาวฮั่น 40.48% ชาวคาซัค 6.50% ชาวหุย 4.51% และชาติพันธุ์อื่น ๆ อีก 2.67% เมืองสำคัญคือ อุรุมชี มีประชากรมากกว่า 2.3 ล้านคนประมาณ 75% เป็นชาวฮั่น 12.8% เป็นชาวอุยกูร์และ 10% มาจากกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ

ชาวอุยกูร์ส่วนส่วนหนึ่งหลบหนีออกมาเคลื่อนไหวนอกสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยชาวอุยกูร์ส่วนใหญ่ที่หลบหนีออกมาจะมุ่งหน้าไปยังตุรกีด้วยมีความคล้ายทางชาติพันธุ์ ภาษา และศาสนา โดยสหรัฐฯทั้งรัฐบาลและรัฐสภาต่างก็มีบทบาทในการสนับสนุนการเคลื่อนไหวของชาวอุยกูร์ โดยในเดือนธันวาคม 2019 สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ มีมติ 407 ต่อ 1 เสียงในการผ่านร่างกฎหมายที่กำหนดให้รัฐบาลของทรัมป์ต้องประณามและดำเนินมาตรการตอบโต้การจีนที่ใช้มาตรการปราบปรามอย่างรุนแรงต่อชาวมุสลิมอุยกูร์ (กฎหมาย ‘อุยกูร์ 2019’) โดยต้องเรียกร้องให้จีนปิดค่ายกักกันขนาดใหญ่ในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ รวมทั้งคว่ำบาตรเจ้าหน้าที่ของจีนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนดังกล่าว โดยพุ่งเป้าไปที่ นายเฉิน ฉวนกั๋ว เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ประจำซินเจียงผ่าน กฎหมายดังกล่าวประณามจีนเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน จากกรณีการปราบปรามชาวอุยกูร์ในซินเจียง ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ และเชื่อว่ามีชาวอุยกูร์และชาวมุสลิมชนกลุ่มน้อยนับล้านคนถูกควบคุมตัวอยู่ในค่ายปรับเปลี่ยนทัศนคติ ต่อมา 23 พฤษภาคม 2020 กระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐออกแถลงการณ์เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา เรื่องการเพิ่มชื่อบริษัทและสถาบันของจีนรวม 33 แห่ง เข้าสู่บัญชีดำการเป็นหน่วยงานที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อกลุ่มชาติพันธุ์ในจีน โดยเฉพาะชาวอุยกูร์ในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ 9 แห่ง และอีก 24 แห่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับ "การผลิตอาวุธทำลายล้าง" และกิจกรรมทางทหาร

ตั้งแต่มีนาคม พ.ศ.2557 มีชาวอุยกูร์ประมาณ 300 กว่าคนได้หลบหนีเข้ามาในบ้านเรา ซึ่งรัฐบาลจีนได้เรียกร้องให้รัฐบาลไทยส่งบุคคลเหล่านี้กลับไปยังประเทศจีน เนื่องจากอาจมีความเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดกฎหมายในประเทศจีน โดยรัฐบาลไทยได้ขอให้ฝ่ายจีนดำเนินการส่งหลักฐานการกระทำผิด และมีการพิสูจน์สัญชาติให้แก่ฝ่ายไทยพิจารณาก่อนที่จะดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดต่อไป รัฐบาลไทยได้ดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างรอบคอบ โดยคำนึงถึงหลักมนุษยธรรมควบคู่กับหลักสิทธิมนุษยชนและพันธกรณีระหว่างประเทศของไทย อีกทั้งรัฐบาลไทยได้พิจารณาอย่างรอบคอบจากหลักฐานของทุกฝ่าย สรุปว่า สามารถแยก'ชาวอุยกูร์'ดังกล่าว ได้เป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกจำนวน 172 คน ซึ่งกลุ่มนี้ ไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับการกระทำผิดกฎหมาย และบุคคลดังกล่าวได้แสดงความประสงค์ที่จะเดินทางไปตุรกีและรัฐบาลตุรกีพร้อมที่จะรับ 

ขณะเดียวกัน รัฐบาลไทยได้รับหลักฐานการกระทำผิดและการพิสูจน์สัญชาติ 'ชาวอุยกูร์' จำนวน 109 คนจากรัฐบาลจีน และยังมีอีกประมาณ 60 คนที่ยังอยู่ในความดูแลของไทย กระทรวงการต่างประเทศของไทย ระบุว่า จากข้อเท็จจริงข้างต้น รัฐบาลไทยจึงได้ดำเนินการต่อเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ.2558 และตัดสินใจส่งชาวอุยกูร์ จำนวน 172 คน ให้กับรัฐบาลตุรกี ซึ่งได้รับบุคคลเหล่านี้ไปตั้งถิ่นฐานในตุรกีเรียบร้อยแล้ว และในวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ.2558 รัฐบาลไทยได้ตัดสินใจส่งชาวอุยกูร์จำนวน 109 คน ตามที่รัฐบาลจีนได้ส่งหลักฐานการกระทำผิดและได้รับการพิสูจน์สัญชาติให้กับฝ่ายไทยแล้ว โดยยังมีชาวอุยกูร์ ประมาณ 60 คน(ยอดในขณะนั้น) อยู่ในความดูแลของรัฐบาลไทยซึ่งยังไม่มีหลักฐานเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดกฎหมายรัฐบาลไทย โดยจะพิจารณาดำเนินการตามความเหมาะสมต่อไป 

จากเหตุระเบิดที่ศาลพระพรหมเอราวัณ แยกราชประสงค์เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากถึง 20 คน บาดเจ็บอีก 130 คน เจ้าหน้าที่ตำรวจได้จับกุมตัวชาวอุยกูร์สองคนส่งฟ้องศาลคือ นายบิลาล โมฮำเหม็ด หรือ อาเด็ม คาราดัก เป็นจำเลยที่ 1 และนายเมียไรลี ยูซุฟู เป็นจำเลยที่ 2 ในข้อหาเกี่ยวข้องกับเหตุระเบิดที่แยกราชประสงค์ และคนไทยอีกคนหนึ่งในคดีนี้คือ น.ส.วรรณา สวนสัน ถูกแยกฟ้องอีกต่างหาก โดยผู้ต้องหาทั้งหมดอยู่ระหว่างดำเนินคดีตามกระบวนการยุติธรรมของไทย ดังนั้นกรณีของชาวอุยกูร์ในประเทศไทยจึงต้องดำเนินการอย่างเข้มข้นและเคร่งครัด ด้วยมีชาวอุยกูร์เคยก่อเหตุร้ายแรงในบ้านเรามาแล้ว ถือเป็นบทเรียนที่รัฐบาลต้องเตรียมการป้องกันและหาข่าวด้านความมั่นคงที่เกี่ยวเนื่องต่อไปอย่างต่อเนื่อง คนไทยเองต้องอย่าเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม เพราะจะนำมาซึ่งความเสียหายร้ายแรง และหากเป็นเพราะเจตนาไม่ชอบหรือหวังผลประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องจะถูกดำเนินคดีด้วยแม้ไม่ใช่ตัวการก็ในฐานะผู้สนับสนุนตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 86 ของไทยด้วย 

ดังนั้นการส่งชาวอุยกูร์ที่ตกค้างอยู่กลับสาธารณรัฐประชาชนจีนจึงชอบธรรมแล้ว ดังนั้น UNHCR และกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ โปรดอย่าได้ดัดจริตออกมาโวยวายในเรื่องนี้ เพราะตลอด 10 ปีที่ผ่านมาทำไม UNHCR จึงไม่ประสานจัดการส่งคนเหล่านี้ไปประเทศที่สาม (แต่สามารถประสานให้ผู้ต้องหาในคดีความผิดตามมาตรา 112 หนีออกนอกประเทศไปเป็นผู้ลี้ภัยได้) เช่นเดียวกับสหรัฐฯ ตอนนี้เองก็ใช้เครื่องบินลำเลียงทหารขนผู้อพยพหลบหนีเข้าเมืองออกนอกประเทศเป็นว่าเล่น จะกล่าวหาประณามใคร ควรทบทวนมองดูตัวเองให้ดีก่อน เพราะการกระทำกับคำพูดสุดที่ย้อนแย้งกันเสียเหลือเกิน

ทรัมป์ใช้ AI สร้างภาพ 'กาซาในฝัน' เมืองตากอากาศหรูภายใต้อิทธิพลอเมริกา

(28 ก.พ. 68) ทีมงานของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้เผยแพร่คลิปวิดีโอที่ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) สร้างภาพอนาคตของฉนวนกาซา ตามแนวคิดของทรัมป์ที่ต้องการเปลี่ยนพื้นที่ขัดแย้งแห่งนี้ให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวสุดหรูริมทะเล  

ในวิดีโอ 'กาซาในฝัน' ฉนวนกาซาปรากฏเป็นเมืองตากอากาศที่เต็มไปด้วยรีสอร์ตหรู ตึกระฟ้า และชายหาดสวยงาม พร้อมด้วยรูปปั้นขนาดใหญ่ของทรัมป์ตั้งตระหง่านอยู่กลางเมือง ภาพยังแสดงให้เห็นอีลอน มัสก์ มหาเศรษฐีอันดับหนึ่งของโลก ซึ่งเป็นพันธมิตรใกล้ชิดของทรัมป์ โปรยธนบัตรไปทั่ว เพื่อสื่อถึงโอกาสทางเศรษฐกิจของฉนวนกาซาในอนาคต  

หนึ่งในภาพที่อาจสร้างความไม่พอใจให้กับชาวปาเลสไตน์ คือภาพของทรัมป์นอนอาบแดดข้างนายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู ของอิสราเอล ซึ่งสะท้อนถึงความสัมพันธ์แน่นแฟ้นระหว่างทั้งสองผู้นำ  

อย่างไรก็ตาม ชาวปาเลสไตน์ที่ได้รับชมคลิปต่างแสดงความคิดเห็นว่า ฉนวนกาซาสามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้โดยไม่จำเป็นต้องขับไล่ชาวปาเลสไตน์ออกจากบ้านเกิดของตน ตามที่ทรัมป์เคยเสนอให้พวกเขาย้ายไปอยู่ในอียิปต์หรือจอร์แดน พวกเขายังมองว่า แม้ฉนวนกาซาในฝันของทรัมป์จะดูหรูหราและทันสมัยคล้ายกับนครดูไบ แต่การพัฒนาเช่นนี้ควรเกิดขึ้นโดยที่ประชากรเจ้าของพื้นที่ยังคงมีสิทธิ์อาศัยอยู่ในดินแดนของตนเอง

‘จอร์จ เยโอ’ อดีตรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของสิงคโปร์ เคยกล่าวในที่งานประชุมหัวข้อ China in Europe’s Future and Europe in China’s

‘จอร์จ เยโอ’ อดีตรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของสิงคโปร์ เคยกล่าวในที่งานประชุมหัวข้อ China in Europe’s Future and Europe in China’s เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม ปี 2023 ไว้ว่า ..

“รู้กันว่า พวกอเมริกัน ไม่ชอบคนจีนและชาวมุสลิม แต่ไม่รู้ทำไม พวกเขากลับรักชาวจีนมุสลิม เสียอย่างนั้น”

วงดนตรีดังเม็กซิโก ยกเลิกการแสดงด่วน หลังแก๊งค้ายาส่งศีรษะมนุษย์และจดหมายขู่ฆ่า

(28 ก.พ. 68) ศิลปินเจ้าของรางวัลแกรมมี วงกรูโป ฟีร์เม จากเม็กซิโก ตัดสินใจยกเลิกการแสดงในงานคาร์นิวัลเมืองมาซัตลัน ซึ่งมีกำหนดในวันที่ 1 มี.ค. 2568 หลังจากได้รับคำขู่ฆ่าสมาชิกวง ซึ่งคาดว่าเป็นฝีมือของแก๊งค้ายาเสพติด

ตามรายงานจากสื่อท้องถิ่น เม็กซิโก วงดนตรีชื่อดังที่มีแนวทางการเล่นดนตรีผสมผสานกับดนตรีพื้นบ้านซิโนโลอา ได้รับข้อความขู่ฆ่าในลักษณะที่ระบุว่า “ถ้าวงกรูโป ฟีร์เม ขึ้นแสดงที่งานคาร์นิวัลมาซัตลัน เราจะฆ่าพวกแกทุกคน” นอกจากนี้ยังพบศีรษะมนุษย์ที่ถูกตัดขาดและถูกทิ้งไว้บนกล่องสีเขียวข้างทางในเมืองติฮัวนาเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา พร้อมทั้งพบว่าชิ้นส่วนร่างกายถูกเก็บไว้ในตู้แช่เย็น

หลังการค้นพบดังกล่าว ทีมอัยการรัฐบาฮากาลิฟอร์เนียได้เริ่มการสืบสวน แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจยังไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับคดีนี้ ศีรษะมนุษย์ถูกพบห่างจากสถานที่จัดงานกว่า 1,600 กิโลเมตรในพื้นที่ทางใต้ของชายแดนสหรัฐ-เม็กซิโก

บริษัท มิวสิค วีไอพี เอนเทอร์เทนเมนต์ ซึ่งเป็นต้นสังกัดของวงกรูโป ฟีร์เม ได้ประกาศยกเลิกการแสดงในวันที่ 1 มี.ค. 2568 โดยให้เหตุผลว่าเป็นการคำนึงถึงความปลอดภัยของทุกฝ่าย ซึ่งไม่นานหลังจากนั้น นักร้องเม็กซิกันอีกสองราย โฮซี กูเอน และฮอร์เก เมดินา ก็ได้ยกเลิกการแสดงในงานคาร์นิวัลเดียวกันโดยไม่มีการระบุเหตุผลเพิ่มเติม

วงกรูโป ฟีร์เม จากเมืองติฮัวนาเริ่มมีชื่อเสียงตั้งแต่ปี 2563 และได้สร้างชื่อจากเพลงฮิตหลายเพลง รวมถึงได้รับรางวัลมากมายจากเวทีลาตินแกรมมี ในปี 2564 พวกเขาชนะรางวัลอัลบั้มเพลงยอดเยี่ยมจากงาน Latin Grammy Award และในปีที่แล้วก็ได้ร่วมงานกับเดมี โลวาโต ในเพลง 'Chula'

การข่มขู่ครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการข่มขู่ศิลปินจากกลุ่มค้ายาในเม็กซิโก ที่มักจะพยายามขัดขวางการแสดงของศิลปินในประเทศ โดยก่อนหน้านี้หลายศิลปินก็ต้องยกเลิกการแสดงเนื่องจากความรุนแรงจากแก๊งอาชญากรรม

สมาคมอุยกูร์ในสหรัฐฯ บุกสถานทูตไทย จี้ไทยรับผิดชอบ ส่ง 40 อุยกูร์กลับจีน

(28 ก.พ.68) สมาคมอุยกูร์ในสหรัฐอเมริกา (Uyghur American Association) ได้โพสต์ภาพและข้อความผ่านเฟซบุ๊ก พร้อมประณามการส่งตัวชาวอุยกูร์ 40 คนกลับจีนโดยรัฐบาลไทย โดยระบุว่า "พวกเรายืนหยัดหน้าสถานทูตไทยในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เพื่อประท้วงการส่งตัวชาวอุยกูร์ 40 คนกลับไปยังประเทศจีน ซึ่งเป็นประเทศที่มีประวัติการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอุยกูร์ ขณะนี้พวกเขากำลังตกอยู่ในภาวะเสี่ยงถูกจับกุม ทรมาน และอาจถึงชีวิต"

การประท้วงครั้งนี้มีการมอบพวงหรีดสีดำให้กับสถานทูตไทยเพื่อแสดงความไว้อาลัยและปฏิเสธการกระทำที่ไม่ยุติธรรม โดยสมาคมฯ ขอขอบคุณผู้ร่วมชุมนุมที่ออกมาแสดงพลังและให้การสนับสนุนชาวอุยกูร์ในการต่อสู้เพื่อความยุติธรรม

ในระหว่างการชุมนุม ผู้ประท้วงได้ชูป้ายข้อความที่รุนแรง รวมถึง “แพทองธาร ชินวัตร มือของเธอเปื้อนเลือดของชาวอุยกูร์” “ประเทศไทยทรยศต่อสิทธิมนุษยชน” “ประเทศไทยสมรู้ร่วมคิดในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของชาวอุยกูร์” และ “ประเทศไทยล้มเหลวในการปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศในการปกป้องชีวิตมนุษย์”

รมว.ต่างประเทศสหรัฐอ่อนซ้อม แก้ปัญหาอุยกูร์ไม่ได้ สะท้อนอาเซียนเมินสหรัฐฯ หันหา 'จีน-รัสเซีย' มากขึ้น

(28 ก.พ. 68) การส่งตัวชาวมุสลิมอุยกูร์จากไทยกลับสู่จีน สะท้อนให้เห็นว่ารัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐคนใหม่ 'มาร์โก รูบิโอ' ยังอ่อนประสบการณ์ สะท้อนถึงความล้มเหลวในความพยายามของ มาร์โค รูบิโอ ที่จะรักษาความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์กับไทย

ย้อนไปเมื่อช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา ระหว่างการให้การต่อสภาคองเกรสก่อนเข้าดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ รูบิโอเน้นย้ำถึงความสำคัญของการล็อบบี้รัฐบาลไทยไม่ให้ส่งตัวอุยกูร์กลับจีน โดยระบุว่า “ประเทศไทยเป็นพันธมิตรที่แข็งแกร่งของสหรัฐฯ และเป็นพันธมิตรทางประวัติศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิด” อย่างไรก็ตาม เพียงหนึ่งเดือนหลังจากที่เขาเข้ารับตำแหน่ง รัฐบาลไทยก็ตัดสินใจดำเนินการสวนทางกับความพยายามของวอชิงตัน

รูบิโอออกแถลงการณ์ทันทีหลังการส่งตัวเกิดขึ้น โดยระบุว่า “เราขอประณามอย่างรุนแรงที่สุดต่อการที่ไทยบังคับส่งตัวชาวอุยกูร์กลับจีน” พร้อมเตือนว่าไทยอาจละเมิดพันธกรณีระหว่างประเทศตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานของสหประชาชาติ เขายังเรียกร้องให้รัฐบาลไทยตรวจสอบว่าจีนปกป้องสิทธิมนุษยชนของชาวอุยกูร์หรือไม่

ขณะที่รัฐบาลสหรัฐฯ และชาติตะวันตกแสดงความไม่พอใจ สถานเอกอัครราชทูตจีนในไทยออกแถลงการณ์ตอบโต้ โดยยืนยันว่าการส่งตัวชาวอุยกูร์กลับจีนนั้นเป็นไปตามกฎหมายไทยและกฎหมายระหว่างประเทศ พร้อมชี้ว่า “บุคคลบางส่วนที่ถูกส่งกลับมีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มก่อการร้าย”

ข้อกล่าวหาที่ว่ากลุ่มอุยกูร์บางส่วน มีความเกี่ยวข้องกับ ‘ขบวนการอิสลามเตอร์กิสถานตะวันออก’ (ETIM) ซึ่งเป็นองค์กรก่อการร้ายไม่ได้กล่าวหาแบบไร้หลักฐาน เพราะตามรายงานของ Reuters เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ระบุว่า เจ้าหน้าที่จีนเคยเตือนว่าชาวอุยกูร์ที่หลบหนีผ่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีเป้าหมายจะนำแนวคิดญิฮาดกลับไปยังจีน โดยมีบางส่วนเดินทางไปเข้าร่วมรบในซีเรียกับกลุ่ม Turkistan Islamic Party (TIP)

นอกจากรอยเตอร์ ช่วงที่ผ่านมามีสื่อตะวันตกเริ่มให้ความสนใจกับประเด็นนี้มากขึ้น เช่น The Economist รายงานว่า “Militant Uyghurs in Syria threaten the Chinese government” และ The Telegraph พาดหัวข่าวว่า “Uyghur fighters in Syria vow to come for China next” ซึ่งสะท้อนถึงความกังวลของรัฐบาลจีนที่เพิ่มขึ้น

เหตุการณ์ล่าสุดนี้ถูกมองว่าเป็นสัญญาณว่าไทยเอนเอียงไปทางจีนมากขึ้น ท่ามกลางการแข่งขันระหว่างมหาอำนาจ ในขณะที่สหรัฐฯ และสหประชาชาติแสดงความ 'เสียใจ' ต่อการกระทำของไทย ผู้เชี่ยวชาญด้านการทูตชี้ว่าเรื่องนี้เกี่ยวข้องโดยตรงกับดุลอำนาจระหว่างไทย-จีน-สหรัฐฯ

เป็นที่น่าสังเกตอีกว่า ในวันเดียวกับที่ไทยส่งตัวอุยกูร์ให้จีน ทางรัสเซียได้ส่ง เซอร์เก ชอยกู รัฐมนตรีกระทรวงความมั่นคงไปหารือกับผู้นำอินโดนีเซียและมาเลเซีย ซึ่งทั้งอินโดฯ และมาเลเซีย กำลังพยายามเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม  BRICS อย่างชัดเจนตลอดช่วงที่ผ่านมา สะท้อนว่าทั้งรัสเซีย-จีน ต่างกำลังขยายอิทธิพลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งคงต้องจับตากันว่า กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐที่นำโดยรัฐมนตรีใหม่ถอดด้านอย่าง มาร์โก รูบิโอ จะแก้เกมนี้เช่นไร

สหรัฐประณามไทยส่ง 40 อุยกูร์กลับจีน แต่ตัวเองก็ไล่ตะเพิดผู้อพยพไม่ต่างกัน

(28 ก.พ. 68) กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ออกแถลงการณ์แสดงความไม่พอใจต่อการที่รัฐบาลไทยส่งตัวผู้ลี้ภัยชาวอุยกูร์อย่างน้อย 40 คนกลับไปยังจีนเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ระบุว่า การดำเนินการดังกล่าวทำให้ชาวอุยกูร์ต้องกลับไปเผชิญสถานการณ์ที่เสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยไม่มีหลักประกันในการได้รับกระบวนการทางกฎหมายที่เหมาะสม พร้อมย้ำว่ากลุ่มชาติพันธุ์นี้เคยถูกกดขี่ ข่มเหง บังคับใช้แรงงาน และทรมานภายใต้การปกครองของจีน

“ในฐานะพันธมิตรที่ยาวนานของไทย เรารู้สึกตกใจกับเหตุการณ์นี้ ซึ่งอาจขัดแย้งกับพันธกรณีของไทยตามอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน รวมถึงข้อตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับการคุ้มครองบุคคลจากการบังคับให้หายสาบสูญ” แถลงการณ์ระบุ

นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังชี้ว่า การส่งตัวชาวอุยกูร์กลับจีนขัดกับแนวทางดั้งเดิมของไทยที่ให้ความช่วยเหลือและคุ้มครองกลุ่มผู้ลี้ภัยที่อยู่ในภาวะเปราะบาง ทั้งยังเรียกร้องให้รัฐบาลไทย และประเทศอื่น ๆ ที่มีชาวอุยกูร์ลี้ภัยอยู่ หลีกเลี่ยงการส่งพวกเขากลับไปยังจีน

สหรัฐฯ ย้ำข้อกล่าวหาต่อจีนว่า ทางการปักกิ่งภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์จีนมีพฤติกรรมละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อชาวอุยกูร์และชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ ในซินเจียง พร้อมเรียกร้องให้มีการติดตามตรวจสอบอย่างเข้มงวดเกี่ยวกับสวัสดิภาพของผู้ที่ถูกส่งตัวกลับ และให้รัฐบาลไทยแสดงความชัดเจนในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของชาวอุยกูร์ที่ได้รับผลกระทบจากกรณีนี้

อย่างไรก็ตาม ในขณะที่สหรัฐอเมริกาออกแถลงการณ์ประณามการกระทำของไทย แต่เป็นที่น่าสังเกตว่านโยบายต่อต้านผู้อพยพเข้าเมืองผิดกฎหมายของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ก็ขัดแย้งต่อหลักสิทธิมนุษยชนเช่นกัน 

จีนปฏิวัติวงการยา!! ใช้ AI คิดค้นยารักษามะเร็งปอดสูตรใหม่ ชี้ประสิทธิภาพเหนือกว่ายา 'คีทรูดา' ของสหรัฐฯ

(27 ก.พ.68) ซินหัวรายงานว่า ในขณะที่ดีปซีก (DeepSeek) ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ของจีน ทำให้โลกตะลึงกับนวัตกรรมที่มีราคาน่าเหลือเชื่อ บริษัทไบโอเทคสัญชาติจีนที่ก่อตั้งมาเกือบสิบปีและไม่ได้เป็นที่รู้จักมากนักอย่าง 'อะคีโซ' (Akeso) ได้สั่นสะเทือนวงการเภสัชกรรมด้วยยารักษาโรคมะเร็งปอดตัวใหม่

รายงานระบุว่าไอโวเนสซิแมบ (Ivonescimab) เป็นยาตัวใหม่ของอะคีโซที่ผ่านการทดลองในจีนและมีประสิทธิภาพเหนือกว่าคีทรูดา (Keytruda) ยารักษาโรคมะเร็งที่พัฒนาโดยเมอร์ค (Merck) และสร้างรายได้แก่บริษัทอเมริกันที่ครองตลาดการรักษาโรคมะเร็งมากกว่า 1.3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 4.4 ล้านล้านบาท)

ข้อมูลทางคลินิกจากการประชุมโรคมะเร็งปอดระดับโลก (World Conference on Lung Cancer) เผยว่าผู้ป่วยที่ได้รับยาตัวใหม่ของอะคีโซสามารถระงับการเติบโตอีกครั้งของเนื้องอกร้ายได้นาน 11.1 เดือน ซึ่งนานกว่ายาคีทรูดาที่มีระยะการระงับการเติบโตของเนื้องอกร้ายราว 5.8 เดือน

อะคีโซเผยผ่านสำนักข่าวซีเอ็นเอ็นว่าการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ของอะคีโซเกิดจากความเข้าใจเชิงลึกเกี่ยวกับชีววิทยาของโรคและวิศวกรรมโปรตีน รวมถึงได้รับประโยชน์จากระยะเวลาการพัฒนาอันรวดเร็วและทรัพยากรผู้มีความรู้ความสามารถชั้นนำในจีน

รายงานเสริมว่าช่วง 10 ปีที่ผ่านมา กลุ่มบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพหรือไบโอเทคของจีนได้เริ่มต้นคิดค้นและพัฒนายาขั้นสูงที่สามารถแข่งขันโดยตรงกับผลิตภัณฑ์ยาจากตะวันตกเพิ่มขึ้น พร้อมกับลงนามข้อตกลงใบอนุญาตหลายฉบับมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐกับเหล่าหุ้นส่วนชาติตะวันตกเพื่อจัดจำหน่ายยาสู่ทั่วโลกด้วย

สถานทูตจีน เผยส่ง 40 ชาวจีนกลับประเทศ หลังลักลอบเมืองโดยผิด กม. - ถูกกักตัวในไทยกว่า 10 ปี

(27 ก.พ. 68) - เฟซบุ๊กเพจ สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีน Chinese embassy in Bangkok โพสต์ข้อความ โดยมีเนื้อหาดังนี้

ชาวจีนที่ลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย 40 รายถูกส่งตัวกลับซินเจียงของประเทศจีนจากประเทศไทย โดยเที่ยวบินเช่าเหมาลำของบริษัทการบินพลเรือนของจีน ซึ่งเป็นมาตรการที่เป็นรูปธรรมระหว่างจีนและไทยที่ได้ร่วมมือจัดการกับอาชญากรรมการลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายและปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ที่ถูกต้องตามกฎหมายของพลเมืองจีน ตามกฎหมายของสองประเทศและแนวปฏิบัติระหว่างประเทศ

ชาวจีนที่ลักลอบเข้าเมืองโดยผิดหมายที่ถูกส่งกลับจีนในครั้งนี้ ถูกควบคุมตัวอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลา 10 กว่าปี เนื่องจากปัจจัยระหว่างประเทศที่ซับซ้อน หน่วยงานความมั่นคงสาธารณะและหน่วยงานตรวจคนเข้าเมืองของประเทศจีน ได้ดำเนินการอย่างรวดเร็วเพื่อให้คนเหล่านี้กลับบ้านหลังจากปฏิบัติตามขั้นตอนทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยปฏิบัติตามข้อกำหนดของการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวด ได้มาตรฐาน ยุติธรรมและมีอารยะ และช่วยให้พวกเขากลับไปใช้ชีวิตปกติ

แบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าจีนแห่ติดตั้ง AI ของ DeepSeek พลิกโฉม ตู้เย็น ทีวี หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ขึ้นแท่นอัจฉริยะตัวจริง

(27 ก.พ. 68) หลายแบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านในจีนประกาศว่าจะนำโมเดลปัญญาประดิษฐ์ (AI) ของบริษัทสตาร์ตอัป DeepSeek มาใช้ในผลิตภัณฑ์ของตน โดยขยายการใช้งานจากเดิมที่มีในทีวี ตู้เย็น และหุ่นยนต์ดูดฝุ่น ซึ่งจะทำให้การยอมรับโมเดล AI ในจีนเติบโตไปอีกขั้น

ตามรายงานจากรอยเตอร์ โมเดลภาษาขนาดใหญ่ (LLM) ของ DeepSeek ได้กลายเป็นตัวเปลี่ยนเกมในวงการ AI ปีนี้ ด้วยประสิทธิภาพที่ไม่แพ้ระบบจากตะวันตก แต่ต้นทุนต่ำกว่ามาก ส่งผลให้ DeepSeek กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งความสำเร็จและความภาคภูมิใจของจีน นอกจากนี้ยังถือเป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงการที่จีนสามารถพัฒนาเทคโนโลยีได้ แม้จะเผชิญกับความพยายามจากสหรัฐฯ ในการขัดขวาง

แหล่งข่าวเผยว่า เหลียง เหวินเฟิง ผู้ก่อตั้ง DeepSeek ได้รับการยกย่องจากทางการจีน และบริษัทกำลังเตรียมเปิดตัว R2 ซึ่งเป็นการพัฒนาต่อยอดจากโมเดล R1 ในเร็วๆ นี้

ในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านจากจีนหลายราย เช่น ไฮเออร์ (Haier), ไฮเซ่นส์ (Hisense) และทีซีแอล (TCL) ได้ประกาศใช้โมเดล AI ของ DeepSeek ตามรอยผู้ผลิตยานยนต์และบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ เช่น หัวเว่ย (Huawei) และเทนเซ็นต์ (Tencent)

แม้ว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านจะมีความสามารถในการรับคำสั่งด้วยเสียงอยู่แล้ว แต่การใช้โมเดล AI ของ DeepSeek จะช่วยเพิ่มความแม่นยำและประสิทธิภาพในการใช้งาน

หลิว ซิงเหลียง นักวิเคราะห์อุตสาหกรรม กล่าวว่าหุ่นยนต์ดูดฝุ่นอัจฉริยะจะสามารถใช้ความสามารถในการแยกวิเคราะห์คำสั่งจาก DeepSeek-R1 เพื่อปรับตำแหน่งและหลีกเลี่ยงสิ่งกีดขวางได้เร็วและมีความซับซ้อนมากขึ้น

เขากล่าวเสริมว่า “อุปกรณ์เหล่านี้จะสามารถเข้าใจคำสั่งที่ซับซ้อนได้ เช่น ขัดพื้นไม้ในห้องนอนใหญ่เบาๆ และระมัดระวังไม่ให้โดนตัวต่อเลโก้”

ทรัมป์คุมสื่อ!! จำกัดนักข่าว AP-Reuters-Bloomberg อ้างปรับสมดุล แต่สื่อใหญ่ฟาดกลับ คุกคามเสรีภาพ

รัฐบาลของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เริ่มใช้มาตรการใหม่ในการควบคุมการเข้าถึงของสื่อมวลชนภายในทำเนียบขาว โดยการจำกัดการเข้าร่วมของนักข่าวบางสำนักในกิจกรรมต่าง ๆ ส่งผลให้ AP, Reuters และ Bloomberg ออกแถลงการณ์ประณามว่าเป็นการละเมิดเสรีภาพสื่อและขัดแย้งกับหลักการประชาธิปไตย

เมื่อวันที่ (26 ก.พ.68) ตามเวลาท้องถิ่น การประชุมคณะรัฐมนตรีครั้งแรกของรัฐบาลทรัมป์มีการเลือกสำนักข่าวที่สามารถเข้าถึงข้อมูลในทำเนียบขาว โดยเจ้าหน้าที่ทำเนียบขาวได้คัดเลือกสื่อที่ได้รับอนุญาตให้เข้าร่วม ซึ่งนักข่าวจาก AP, Reuters, HuffPost และ Der Spiegel ถูกปฏิเสธ ไม่ให้เข้าร่วมงาน ในขณะที่สำนักข่าวที่ได้รับอนุญาตกลับเป็น ABC News, Newsmax, Axios, Bloomberg และ NPR

มาตรการนี้เป็นไปตามคำแถลงของทำเนียบขาวเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ซึ่งระบุว่า ทำเนียบขาวจะเป็นผู้กำหนดว่าใครสามารถทำข่าวในพื้นที่สำคัญ เช่น ห้องทำงานรูปไข่ (Oval Office) ซึ่งถือเป็นศูนย์กลางของการบริหารงานของประธานาธิบดี

ยิ่งไปกว่านั้น รายงานยังเผยว่า กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ได้สั่งให้พนักงานทุกคนยกเลิกการสมัครสมาชิกสื่อที่ถูกมองว่าเป็น 'ฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล' เช่น The Economist, New York Times, Politico, Bloomberg, AP และ Reuters ซึ่งจะส่งผลต่อการเข้าถึงข้อมูลจากสำนักข่าวเหล่านี้ในระดับโครงสร้าง

ไม่เพียงแค่ทำเนียบขาวและกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ (Pentagon) ก็ได้มีการถอดสำนักข่าวใหญ่ 4 แห่ง ได้แก่ NBC News, The New York Times, NPR และ Politico ออกจากพื้นที่ของเพนตากอน พร้อมเปิดโอกาสให้สื่อขนาดเล็ก เช่น One America News Network (OAN), New York Post, Breitbart News Network และ HuffPost เข้ามาทำข่าวแทน ซึ่งถูกอธิบายว่าเป็น 'การปรับโครงสร้างการรายงานข่าว'

การตัดสินใจดังกล่าวได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงจากหลายฝ่ายในวงการสื่อและนักวิเคราะห์ ที่มองว่าเป็นความพยายามในการจำกัดการเข้าถึงของสื่อที่มีท่าทีวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล ขณะเดียวกัน ฝ่ายที่สนับสนุนทรัมป์มองว่าเป็นการ 'ปรับสมดุล' ให้กับสื่อมวลชนที่มีอคติต่อฝ่ายอนุรักษ์นิยม

ขณะนี้ยังไม่มีการตอบโต้จากทำเนียบขาวเกี่ยวกับแถลงการณ์ของ AP, Reuters และ Bloomberg แต่คาดว่า ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลทรัมป์และสื่อหลักจะทวีความรุนแรงในอนาคต

จีนเสนอปรับกม.ใหม่ให้แต่งงานได้ตั้งแต่อายุ 18 ปี พร้อมสร้างระบบจูงใจ หวังแก้วิกฤตประชากรลดลง

(27 ก.พ.68) ที่ปรึกษาทางการเมืองระดับชาติของจีนได้แนะนำให้ลดอายุการแต่งงานตามกฎหมายลงเหลือ 18 ปี เพื่อเพิ่มโอกาสในการมีบุตรในสภาวะที่ประชากรลดลงและ 'ปลดปล่อยศักยภาพในการเจริญพันธุ์' โดยเฉพาะในการเผชิญกับการลดลงของประชากรในประเทศ

เฉิน ซงซี สมาชิกของคณะกรรมการที่ปรึกษาการเมืองแห่งชาติของจีน (CPPCC) กล่าวกับ Global Times ว่า เขามีแผนที่จะยื่นข้อเสนอให้มีการยกเลิกข้อจำกัดทั้งหมดเกี่ยวกับการมีบุตรในจีน และจัดตั้ง 'ระบบจูงใจ' สำหรับการแต่งงานและการมีบุตรในหมู่ประชากรชาวจีนรุ่นใหม่

คำกล่าวของเฉินเกิดขึ้นก่อนการประชุมรัฐสภาประจำปีของจีนในสัปดาห์หน้า ซึ่งเจ้าหน้าที่คาดว่าจะประกาศมาตรการต่างๆ เพื่อลดผลกระทบจากการลดลงของประชากรในประเทศ

ในปัจจุบัน อายุกฎหมายการแต่งงานในจีนอยู่ที่ 22 ปีสำหรับผู้ชาย และ 20 ปีสำหรับผู้หญิง ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในอายุการแต่งงานที่สูงที่สุดในโลกเมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่กำหนดอายุการแต่งงานตามกฎหมายที่ 18 ปี

เฉินกล่าวว่า อายุการแต่งงานตามกฎหมายของจีนควรลดลงเหลือ 18 ปี "เพื่อเพิ่มฐานประชากรที่มีความสามารถในการมีบุตรและปลดปล่อยศักยภาพในการเจริญพันธุ์" โดยเขาเชื่อว่ามาตรการนี้จะสอดคล้องกับมาตรฐานสากล

จำนวนประชากรของจีนลดลงเป็นปีที่สามติดต่อกันในปี 2024 ขณะที่จำนวนการแต่งงานลดลงถึง 20% ซึ่งถือเป็นการลดลงที่มากที่สุดในประวัติศาสตร์ แม้จะมีความพยายามจากรัฐบาลในการส่งเสริมให้คู่รักวัยหนุ่มสาวแต่งงานและมีบุตร

การลดลงของประชากรในจีนส่วนใหญ่เกิดจากนโยบายลูกคนเดียวที่บังคับใช้ระหว่างปี 1980 ถึง 2015 โดยคู่รักได้รับอนุญาตให้มีบุตรได้สูงสุด 3 คนตั้งแต่ปี 2021

เฉินกล่าวว่า จีนควรยกเลิกข้อจำกัดเกี่ยวกับจำนวนบุตรที่ครอบครัวสามารถมีได้ เพื่อให้สามารถตอบสนอง 'ความต้องการเร่งด่วนในการพัฒนาประชากรในยุคใหม่'

อย่างไรก็ตาม จำนวนคนที่เลือกที่จะไม่มีบุตรกำลังเพิ่มขึ้น เนื่องจากค่าครองชีพในการเลี้ยงดูลูกที่สูง หรือการไม่อยากแต่งงานหรือหยุดพักการทำงาน

รัฐบาลจีนได้พยายามออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการมีบุตร เช่น การขยายเวลาการลาคลอด, สิทธิประโยชน์ทางการเงินและภาษีสำหรับการมีบุตร รวมถึงการสนับสนุนด้านที่อยู่อาศัย

อย่างไรก็ตาม จีนเป็นหนึ่งในประเทศที่มีค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูลูกสูงที่สุดเมื่อเทียบกับ GDP ต่อหัวของประชากร ตามรายงานจากสถาบันวิจัยชื่อดังของจีนเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งได้พูดถึงต้นทุนเวลาและโอกาสที่ผู้หญิงต้องสูญเสียในการมีบุตร

CPPCC ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทเป็นที่ปรึกษาในลักษณะเชิงพิธีการ จะประชุมพร้อมกับรัฐสภา และประกอบด้วยกลุ่มผู้ประกอบการศิลปิน พระภิกษุ และตัวแทนจากสังคมต่าง ๆ แต่ไม่มีอำนาจในการออกกฎหมาย

ทรัมป์ โบ้ย 'อียู' เอาเปรียบสหรัฐฯ มานาน ต้องเจอกำแพงภาษี 25% อียูเตือนพร้อมโต้กลับ

(27 ก.พ.68) ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศระหว่างการประชุมคณะรัฐมนตรีว่า สหภาพยุโรป (อียู) เป็นองค์กรที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อ 'เอารัดเอาเปรียบ' สหรัฐ พร้อมย้ำว่าถึงเวลาแล้วที่ต้องแก้ไขความเสียเปรียบที่เกิดขึ้นกับอเมริกา โดยหนึ่งในมาตรการหลักคือการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากอียูในอัตรา 25% ซึ่งรวมถึงภาษีนำเข้ารถยนต์ โดยรายละเอียดเพิ่มเติมจะมีการประกาศในภายหลัง

ด้านคณะกรรมาธิการยุโรป (อีซี) ซึ่งเป็นฝ่ายบริหารของอียู ออกแถลงการณ์โต้ว่า อียูเป็นตลาดการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจสหรัฐมาโดยตลอด อย่างไรก็ตาม อียูพร้อมใช้มาตรการตอบโต้ทันที หากสหรัฐดำเนินนโยบายภาษีที่ไม่เป็นธรรม เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของผู้ผลิตและผู้บริโภคในยุโรป

ข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเผยว่า สหรัฐขาดดุลการค้ากับอียูสูงถึง 235,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 7.94 ล้านล้านบาท) ในปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้ทรัมป์ผลักดันมาตรการดังกล่าว

ผู้นำสหรัฐย้ำว่า วอชิงตันจำเป็นต้องเร่งแก้ไขความไม่สมดุลทางการค้า โดยกล่าวหาว่าอียูยังไม่นำเข้าสินค้าสหรัฐในระดับที่เพียงพอ โดยเฉพาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ หากสถานการณ์ยังไม่เปลี่ยนแปลง สหรัฐอาจจำเป็นต้องใช้มาตรการภาษีที่เข้มงวดขึ้นเพื่อกดดันอียูให้เปิดตลาดมากขึ้น

ฮ่องกงเล็งลดเจ้าหน้าที่รัฐบาล 10,000 ตำแหน่ง ทุ่มงบ 1 พันล้านดอลล์ แก้คลังขาดดุลด้วย AI

(26 ก.พ. 68) รัฐบาลฮ่องกงเปิดเผยแผนลดจำนวนข้าราชการ 10,000 ตำแหน่งภายในปี 2570 เพื่อรับมือกับปัญหาขาดดุลงบประมาณที่ทวีความรุนแรงขึ้น พร้อมกับการเร่งลงทุนด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อสร้างเสถียรภาพทางการเงินท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่ไม่แน่นอนและปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ที่ทวีความตึงเครียด

ในงานแถลงงบประมาณประจำปี พอล ชาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของฮ่องกงได้ประกาศว่า “มาตรการนี้เป็นการวางรากฐานที่ชัดเจนเพื่อฟื้นฟูดุลการคลังในระยะยาว โดยการดำเนินการอย่างมีขั้นตอนและการวางแผนอย่างรอบคอบ”

ตามรายงานจากสำนักข่าวรอยเตอร์ มาตรการนี้จะลดจำนวนข้าราชการลง 2% ต่อปีในช่วงสองปีข้างหน้า พร้อมกับการตรึงเงินเดือนข้าราชการในปีนี้ เพื่อบรรลุเป้าหมายของการรัดเข็มขัดทางการคลังอย่างเข้มงวด

ชานยังระบุว่า รัฐบาลมีแผนลดค่าใช้จ่ายภาครัฐลง 7% ตั้งแต่ปีนี้จนถึงสิ้นปีงบประมาณ 2571 ซึ่งจะช่วยเสริมสร้าง “รากฐานทางการคลังที่มั่นคงสำหรับการเติบโตในอนาคต”

มาตรการนี้เกิดขึ้นหลังจากรายได้จากการขายที่ดินของรัฐบาลฮ่องกงลดลงอย่างมาก ทำให้การขาดดุลงบประมาณพุ่งสูงถึง 87,200 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง ซึ่งเกือบสองเท่าของตัวเลขที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ที่ 48,100 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง

ในส่วนของการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออนาคต ชานประกาศว่า ฮ่องกงจะใช้จุดแข็งในฐานะศูนย์กลางระหว่างประเทศในการเร่งพัฒนาอุตสาหกรรม AI โดยมีการจัดสรรงบประมาณ 1,000 ล้านดอลลาร์ฮ่องกงสำหรับการตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนา AI เพื่อรองรับการพึ่งพาตนเองด้านเทคโนโลยีตามนโยบายของรัฐบาลจีน


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top