Wednesday, 14 May 2025
SPECIAL

'กูรูใหญ่' ฟันธง!! พปชร. หัวหอกขั้วที่ 3 ตั้งรัฐบาล ได้เวลาการเมืองยุคใหม่ที่เปิดเผยตรงไปตรงมา

(3 เม.ย.66) นายไพศาล พืชมงคล นักกฎหมาย และอดีตกรรมการผู้ช่วยรองนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า การเมืองยุคใหม่ที่เปิดเผยตรงไปตรงมา สง่างาม!!!

1.ในวาระวันสมัครรับเลือกตั้ง2566 วันแรก ลุงป้อม ไสช้างออกมากลางสมรภูมิแล้ว ประกาศพร้อมเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 โดย “จะเป็นนายกฯ ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน” จึงสวม 3 บท คือ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ลงสมัครรับเลือกตั้งแบบปาร์ตี้ลิสต์ และเป็นแคนดิเดตนายกลำดับ 1 ของ พปชร.

2.ในขณะเดียวกันก็เป็นแกนพรรคขั้วที่สาม ซึ่งขณะนี้มี 5 พรรค เตรียมการจัดตั้งรัฐบาลหลังเลือกตั้งไปพร้อมกัน และจัดขบวน 6 สาย ประสาน ส.ว. ประกันให้ได้เสียงเกิน 376 ในการเลือกนายกรัฐมนตรี

3.ในการฟอร์มรัฐบาลจะให้มีเสียงในสภาผู้แทนราษฎรเกิน 300 เสียง ซึ่งอาจมี 3 พรรคเป็นฝ่ายค้าน 150 เสียง เพื่อความงดงามในระบอบประชาธิปไตย ใช้ยุทธศาสตร์ก้าวข้ามความขัดแย้งเริ่มต้นใหม่ประเทศไทย และสามัคคีประชาชาติไทย ทำสงครามกับความยากจน

‘ธนาธร’ ชี้ ‘กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น’ มีผลดีมหาศาล ช่วยขับเคลื่อน ศก.-เกิดการจ้างงาน-ลดความเหลื่อมล้ำ

(3 เม.ย. 66) ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า พร้อมด้วย ชำนาญ จันทร์เรือง กรรมการบริหารคณะก้าวหน้า และวสันต์ เหลืองประภัสร์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมวงเสวนาวิชาการ ‘30 ปี ข้อถกเถียงเรื่องการกระจายอำนาจ กับการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดของไทย’ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการแถลงข่าว โดย สันติสุข กาญจนประกร บรรณาธิการ The Voters ที่กำลังเปิดการรณรงค์ล่ารายชื่อเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดทั้งประเทศ

ธนาธร ระบุว่าการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดในประเทศไทยนั้นยังเป็นโจทย์ที่ต้องมาพูดคุยกันในรายละเอียดอีกมาก แต่หลักการสำคัญที่สุดที่ไม่อาจขาดได้ คือการทำให้หน่วยการปกครองที่มีอำนาจสูงสุดทั้งในระดับจังหวัดและในระดับท้องถิ่นพื้นฐานอย่างเทศบาล และ อบต. ต้องมาจากการเลือกตั้งของประชาชน ซึ่งไม่ใช่รูปแบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบันของการปกครองท้องถิ่น ภายใต้กลไกราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาคแน่ ๆ

การจัดความสัมพันธ์ระหว่างส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันเป็นปัญหาอย่างมาก โดยเฉพาะในเรื่องของอำนาจและงบประมาณ ที่เต็มไปด้วย ‘งบฝาก’ ให้ท้องถิ่นทำภารกิจที่ไม่ใช่เรื่องของท้องถิ่น แต่แทบไม่มีงบประมาณให้ท้องถิ่นได้ทำเรื่องของตัวเองจริงๆ กลายเป็นอุปสรรคที่บดบังเจตนารมณ์ของประชาชนที่จะสร้างบ้านสร้างเมืองของตัวเอง ทำให้ประชาธิปไตยไม่มีความหมาย ทำให้การเลือกตั้งในระดับท้องถิ่น ไม่มีครั้งไหนที่ทำให้ชีวิตดีได้อย่างมีนัยสำคัญ

ธนาธรกล่าวต่อไปว่า ในด้านหนึ่งการรวมศูนย์เช่นนี้คือต้นเหตุหนึ่งของความเหลื่อมล้ำที่รุนแรงมากในประเทศไทย ที่สะท้อนออกมาให้เห็นได้อย่างชัดเจนที่สุดในต่างจังหวัด งานและรายได้ที่กระจุกตัวอยู่แต่เฉพาะตามเมืองใหญ่ โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร นอกจากนี้ระบบราชการรวมศูนย์ยังเป็นปัจจัยที่ฉุดรั้งขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งด้วย นั่นเป็นเพราะภายใต้โครงสร้างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน การอนุมัติโครงการใด ๆ แม้กระทั่งการสร้างสะพานลอยสักเส้นหนึ่งในตำบลหนึ่ง ล้วนแต่เป็นเรื่องของส่วนกลาง ต้องรอให้ถูกหยิบยกมาพิจารณาแล้วรอการอนุมัติ ทำให้ทุกการแก้ปัญหาเป็นเรื่องล่าช้า

เรื่องของอำนาจท้องถิ่นจึงเป็นเรื่องที่ส่งผลโดยตรงในทุกมิติของชีวิตประชาชน โดยเฉพาะในเรื่องเศรษฐกิจปากท้อง และได้เกิดข้อพิสูจน์มาแล้วว่าการกระจายอำนาจสามารถระเบิดพลังทางเศรษฐกิจได้จริง อย่างเช่นที่ญี่ปุ่น ที่ในปลายทศวรรษที่ 1980 เมื่อเผชิญกับวิกฤติฟองสบู่แตก ต้องหา new s-curve (อุตสาหกรรมใหม่) ที่จะพาประเทศไปข้างหน้าได้ สิ่งที่ญี่ปุ่นทำคือการกระจายอำนาจอย่างเต็มรูปแบบ เกิดการยกเลิกกฎหมายกว่า 100 ฉบับที่เดิมเคยให้ส่วนกลางเป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจในทุกเรื่องของท้องถิ่น เปลี่ยนมาเป็นการให้ท้องถิ่นมีอำนาจเต็ม จนแต่ละเมืองเริ่มมีการผลักดันสถานที่ท่องเที่ยว สินค้าและผลิตภัณฑ์ของท้องถิ่นขึ้นมาเป็นจุดขายใหม่ ออกแบบระบบขนส่งสาธารณะ และบริการสาธารณะต่าง ๆ ของตัวเองขึ้นมา

ธนาธรกล่าวต่อไป ว่า new s-curve คือสิ่งที่ประเทศไทยก็กำลังพยายามแสวงหาอยู่เช่นกัน เพราะอุตสาหกรรมที่เป็นเสาหลักของประเทศไทยมาโดยตลอดอย่างยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ มาถึงจุดอิ่มตัวของมันเองแล้ว แม้จะเพิ่มการลงทุนในรูปแบบเม็ดเงินใหม่ได้ แต่ไม่อาจเพิ่มกำลังการผลิต ไม่สามารถนำไปสู่การจ้างงานใหม่ ๆ ได้อีกต่อไป เรียกได้ว่าอุตสาหกรรมทั้งยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ จบที่ยุคนี้แล้ว

นครพนมเดือด!! 'ครูแก้ว' ประกาศล้มแลนด์สไลด์ มั่นใจ!! พา 'ภูมิใจไทย' ชนะยกจังหวัดทั้ง 4 เขต

(3 เม.ย.66) วันแรกในการเปิดรับสมัคร ส.ส.แบบแบ่งเขตทั่วประเทศ โดยตั้งแต่เช้าที่ศาลาประชาคมยงใจยุทธ ศาลากลางจังหวัดนคพนม บรรยากาศเป็นไปด้วยความคึกคัก มีบรรดาผู้สมัคร ส.ส. พรรคการเมืองต่างๆ เดินทางมารอคิวอย่างพร้อมเพรียง ซึ่งมีกองเชียร์ของแต่ละพรรคแห่มาให้กำลังใจอย่างคับคั่ง แต่เข้มงวดตามระเบียบกฎหมายเลือกตั้ง ห้ามจัดการรื่นเริงทั้งแตรวงหรือกลองยาว ต่างจากการเลือกตั้ง ส.ส.ที่ผ่านมา คงมีเพียงการเดินทางมาให้กำลังใจ คล้องมาลัยและมัดผ้าขาวม้าแบบที่เคยปฏิบัติมา เพื่อเป็นสิริมงคลตามวัฒนธรรมทางการเมือง

โดยการเปิดรับสมัคร ส.ส.นครพนมทั้ง 4 เขตเลือกตั้ง มีพรรคการเมืองใหญ่ที่สำคัญน่าจับตามอง เพียงแค่ไม่กี่พรรค ที่มีฐานคะแนนนิยม รวมถึงตัวผู้สมัครคนสำคัญ อาทิ เจ้าถิ่นที่ผูกขาดเก้าอี้ ส.ส.มาตั้งแต่สมัยเป็นพรรคความหวังใหม่ ถึงพรรคไทยรักไทย พลังประชาชน และเป็นพรรคเพื่อไทยในปัจจุบัน ตามด้วยพรรคภูมิใจไทย พรรคนี้ถือเป็นผู้ท้าชิงที่น่ากลัวมาก และพรรคพลังประชารัฐ พรรคก้าวไกล พรรคไทยสร้างไทย พรรครวมไทยสร้างชาติ พรรคเสรีรวมไทย เป็นต้น

ส่วนพรรคการเมืองที่น่าจับตามอง และเชื่อว่าจะต้องมีการแข่งขันกันอย่างเข้มข้น คือ พรรคเพื่อไทยกับพรรคภูมิใจไทย โดยในวันนี้ ทางพรรคเพื่อไทย มีแม่ทัพคนสำคัญ คือ นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช อดีต ผวจ.นครพนม คนที่ 29 (2537-2540) อดีตเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลของนายทักษิณ ชินวัตร และ รมช.ศึกษาธิการ ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปัจจุบันเป็นรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย นำทีมผู้สมัครพรรคเพื่อไทยทั้ง 4 เขตเดินทางมาสมัคร นอกจากนี้ ยังมีนายสมนาม เหล่าเกียรติ ผู้สมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย และ นายแพทย์ ประสงค์ บูรณ์พงศ์ รวมถึงมีแกนนำครอบครัวเพื่อไทยทั้ง 4 เขตเลือกตั้ง มาร่วมให้กำลังใจด้วย

ในเบื้องต้นก่อนจะมีการจับสลากเลือกลำดับว่า ใครจะเป็นผู้หยิบเบอร์ประจำตัวในการหาเสียงครั้งนี้นั้น นายศุภชัย โพธิ์สุ แกนนำพรรคภูมิใจไทย ได้ขอหารือร่วมกับ ดร.มนพร เจริญศรี แกนนำพรรคเพื่อไทย และ ดร.สมชอบ นิติพจน์ แกนนำพรรครวมไทยสร้างชาติ เพื่อทำข้อตกลงกันว่า ให้มีการจับเลือกเบอร์เพียงพรรคละคน สมมติแกนนำพรรคคนใดคนหนึ่งล้วงได้เบอร์ 1 ส่วนที่เหลืออีก 3 เขต ก็ได้เบอร์ 1 เหมือนกันหมด หลังตกลงเป็นที่เข้าใจแล้ว ก็ไปสอบถามนายสมพล พงษ์พิพัฒน์ ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดนครพนม ซึ่งได้รับคำตอบว่าทาง กกต.ไม่มีกฎหมายรองรับ จึงต้องกลับมาจับสลากเลือกเบอร์ของตัวเองในแต่ละเขตตามเดิม

ผลการจับสลากเลือกเบอร์ประจำตัวผู้สมัคร เฉพาะ 2 พรรคการเมืองใหญ่ เริ่มจากพรรคเพื่อไทยเขตเลือกตั้งที่ 1 ดร.ภูมิพัฒน์ พชรทรัพย์ ได้เบอร์ 6 เขตเลือกตั้งที่ 2 ดร.มนพร เจริญศรี เบอร์ 2 เขตเลือกตั้งที่ 3 ดร.ไพจิต ศรีวรขาน เบอร์ 2 และเขตเลือกตั้งที่ 4 นายณพจน์ศกร ทรัพยสิทธิ์ ได้เบอร์ 1 ภายหลังการสมัครทางทีมงานพรรคเพื่อไทย ได้เดินทางไปสักการะขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อเป็นสิริมงคลทั้งศาลหลักเมืองนครพนม องค์พญาศรีสัตตนาคราช และ องค์พระธาตุพนม พร้อมพบปะปราศรัยกับประชาชน แกนนำครอบครัวเพื่อไทย

ผวาบัตรโหล ‘สองใบ’ แต่คนละเบอร์ ‘พรรคกระแส’ อาจต้องเติม ‘กระสุน’

หลังจบความคึกคักกับการลงสมัคร ส.ส.เขตในช่วงเช้าจากทุกพรรค ก็อยากขอสรุปสถานการณ์หลักๆ ในรอบวัน รวมถึงสิ่งที่เชื่อว่าจะเกิดขึ้นต่อจากนี้ให้ดูเป็นข้อๆ... 

1. เป็นไปด้วยความคึกคักสำหรับการสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ในวันแรก 3 เม.ย. ซึ่งเป็น ส.ส.เขตทั่วประเทศ ส่วนวันที่ 4 เม.ย.จะเป็นวันแรกที่รับสมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ หรือ ปาร์ตี้ลิสต์ และจะคึกคักและลุ้นกันระทึกยิ่งกว่า เพราะเบอร์พรรคจะเหมือนกันทั้งประเทศ ส่วนเบอร์เขตนั้นเขตใครเขตมัน จับสลากได้เบอร์ไหนก็เบอร์นั้น

2) ระบบเลือกตั้งบัตรสองใบตามกฎหมาย กกต.ได้ออกแบบแล้ว บัตรเลือกตั้งส.ส.เขตสีเขียว มีช่องกาเครื่องหมาย มีเบอร์ผู้สมัคร แต่ไม่มีชื่อและสัญลักษณ์ (โลโก้) พรรค ที่เรียกกันตอนนี้ว่าเป็น ‘บัตรโหล’ ส่วนบัตรเลือกปาร์ตี้ลิสต์นั้นสีฟ้า มีช่องกาเครื่องหมาย, โลโก้พรรคและเบอร์พรรค

3) อธิบายเพิ่มเติมว่า เลือกตั้ง 2566 กำหนดให้เลือกตั้งแบบบัตรสองใบแบบแยกบัตรแยกเบอร์ ต่างจากปี 2554และ 2550 ที่กฎหมายกำหนดให้ทั้งคน (ผู้สมัคร ส.ส.เขต) และพรรคใช้เบอร์เดียวกัน...แบบว่าพรรคจับได้เบอร์ไหน ผู้สมัครก็ใช้เบอร์นั้นเหมือนกันทั้งประเทศ...ซึ่งแบบนี้พรรคใหญ่หรือพรรคที่กระแสดีชอบเป็นยิ่งนัก...  เพราะทำแคมเปญง่าย...

‘ชพก.’ ย้ำนโยบาย ศก.สายมู เดินสายขอพร-เสริมบารมี เข้าสักการะศาลหลักเมือง-พระพรหมเอราวัณ ก่อนสู้ศึกเลือกตั้ง

(3 เม.ย.66) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากเสร็จสิ้นการจับหมายเลขผู้สมัคร ที่ อาคารกีฬาเวสน์ 2 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) เขตดินแดง เรียบร้อยแล้ว นายกรณ์ จาติกวณิช พร้อมด้วย นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี นายวรวุฒิ อุ่นใจ รองหัวหน้าพรรค นายวรนัยน์ วาณิชกะ ที่ปรึกษาหัวหน้าพรรค และผู้สมัครเดินทางเข้าสักการะศาลหลักเมืองเป็นพรรคแรก จากนั้นนายกรณ์ ได้นำทีม ผูกผ้า 3 สี ก่อนที่ทั้งหมดจะนำพวงมาลัยดอกดาวเรือง เดินเข้ามาสักการะ องค์พระหลักเมือง เพื่อความเป็นสิริมงคล ก่อนลุยศึกเลือกตั้งต่อไป 

นายกรณ์ เปิดเผยว่า ตนได้ขอพรเพื่อให้ประชาชนคนไทยอยู่ดีมีสุข อิ่มท้อง มีงานการดีๆ ทำ มีเงินในกระเป๋า และข้าวของต้องไม่แพง ซึ่งตนจะเป็นหนึ่งในผู้ช่วยผลักดันให้ความหวังเหล่านี้เป็นจริงได้ด้วยความเป็นมืออาชีพทางเศรษฐกิจของทีมชาติพัฒนากล้า

‘ประเดิมชัย’ เตรียมหาเสียง ผลักดันสร้าง ‘สถานพยาบาล’ ใกล้บ้าน แก้ปัญหาผู้ป่วยไม่ต้องเดินทางไกล จ่อลงพื้นที่ทุกวัน 6 โมงครึ่ง-1 ทุ่ม

(3 เม.ย.66) ที่อาคารกีฬาเวสน์ 2 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) เขตดินแดง ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศการรับสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ซึ่งเปิดรับสมัครระหว่างวันที่ 3-7 เมษายนนี้

โดยเวลา 07.00 น. บรรยากาศวันแรก มีผู้สมัครหัวหน้าพรรค แกนนำพรรคและกองเชียร์ผู้สมัคร ส.ส. มาร่วมให้กำลังใจเป็นจำนวนมาก โดยจอดรถที่มีป้ายหาเสียงริมถนน รอนำตัวเลขมาติดที่ช่องว่าง หลังจากทราบหมายเลขผู้สมัคร

ในส่วนของพรรคภูมิใจไทย นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ หรือบี ผอ.เลือกตั้งกรุงเทพมหานคร พรรคภูมิใจไทย และอดีต รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม นำทีมผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขต กทม. จำนวน 33 คน ขึ้นรถโดยสารพลังงานไฟฟ้า ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายหาเสียง เคลื่อนออกจากพรรคภูมิใจไทย มาถึงหน้าอาคารกีฬาเวสน์ 2 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) เขตดินแดง ก่อนให้สัมภาษณ์ว่า ในการเลือกตั้งครั้งนี้พรรคภูมิใจไทยพร้อมมาก

นายประเดิมชัย บุญช่วยเหลือ เขต 5 ห้วยขวาง วังทองหลาง พรรคภูมิใจไทย ซึ่งย้ายมาจากพรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์หลังจับได้หมายเลข 8 โดยกล่าวถึงกระแสโจมตีพรรคว่า เชื่อว่าประชาชนไม่ได้เชื่อทันที แต่จะพิจารณาสิ่งที่ได้รับรู้ว่าจริงหรือไม่

“ใช่ว่าประชาชนพูดแล้วจะเชื่อ หรือพูดแล้วจะฟัง เขาฟังและนำกลับไปคิดว่าจริงหรือไม่จริง”

เมื่อถามว่า การย้ายพรรคมีผลกับฐานเสียงในพื้นที่มากน้อยแค่ไหน?

นายประเดิมชัยกล่าวว่า “แน่นอนว่า ในช่วงแรกๆ อาจจะมีผล แต่จากการที่ผมได้ลงพื้นที่และทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชน ถึงจุดที่นำไปสู่การเปลี่ยนพรรคของผม เพราะผมต้องการจะมาทำประโยชน์อะไรให้กับคนกรุงเทพมหานคร ในฐานะที่เป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครมา 5 สมัย 20 ปี ซึ่งก็เก็บเกี่ยวเอาประสบการณ์ความเดือดร้อน ความต้องการของคนกรุงเทพมหานคร รวมทั้งในพื้นที่ที่ผมลงสมัครรับเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็นเขตห้วยขวาง หรือเขตวังทองหลาง ยังมีปัญหาที่จะต้องได้รับการแก้ไขโดยเฉพาะในเรื่องของสถานพยาบาล ที่พี่น้องประชาชนเรียกร้องค่อนข้างมาก” นายประเดิมชัย กล่าว

นายประเดิมชัย กล่าวต่อว่า “ตอนนี้คนห้วยขวาง คนวังทองหลาง คนบางกะปิ คนจตุจักร คนลาดพร้าว ไม่มีโรงพยาบาล 

5 เขตตรงนี้ไม่มีโรงพยาบาลใกล้เคียง จะต้องเดินทางไปรักษาตัวไกล ตรงนี้ผมก็นำมาเป็นนโยบายในการที่จะผลักดัน เพื่อขับเคลื่อนให้มีสถานพยาบาลรองรับดูแลคน 5 เขตการปกครองนี้” นายประเดิมชัย กล่าว

เมื่อถามว่า พรรคภูมิใจไทยค่อนข้างคาดหวังกับเขตของคุณประเดิมชัยอย่างมาก รู้สึกกดดันหรือไม่? นายประเดิมชัยเผยว่า ไม่รู้สึกกดดันแต่อย่างใด

“ไม่มีเลย เพราะผมคิดว่าผมลงสมัครมาตั้งแต่ปี 2533 จนกระทั่งถึงปี 2557 ในฐานะที่เป็นสมาชิกสภาท้องถิ่น ลง ส.ข.ปี 33 ลง ส.ก.ปี 2537-2557 ก็เปลี่ยนพรรคมาแล้วอย่างน้อย 4 พรรค

แต่การเปลี่ยนพรรคเปลี่ยนค่าย ผมคิดว่าเป็นเรื่องปกติ เพราะผมยึดถือเอาความเดือดร้อน เอาประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง สิ่งใดที่ผมสามารถไปยืนอยู่และสามารถจะทำประโยชน์ให้กับพี่น้องประชาชนได้ ผมก็เลือกที่จะไปอยู่” นายประเดิมชัยระบุ

เมื่อถามว่า คิดว่าการเลือกตั้งรอบนี้ คนกรุงเทพฯจะเลือกจากกระแสพรรค หรือบุคคล นายประเดิมชัยกล่าวว่า “ณ ขณะนี้ ผมคิดว่าทุกพรรคต่างก็นำเสนอนโยบาย ถามว่าวันนี้คนกรุงเทพฯตัดสินใจ ในการที่จะเลือกใครหรือยัง ผมเชื่อว่าคนส่วนใหญ่ยังไม่ได้ตัดสินใจ ยังรอที่จะศึกษา ทั้งคุณสมบัติของผู้สมัครรวมทั้งนโยบายของแต่ละพรรค ที่จะสามารถนำไปแก้ไขปัญหาหรือตรงกับความต้องการที่เขาอยากจะได้ ฉะนั้น วันนี้ผมยังไม่เชื่อว่าคนกรุงเทพฯตัดสินใจ

‘คิง ณภัทร’ เผย ตั้งใจยื่นสมัคร ส.ส. 5 เม.ย. นี้ หลังหลายคนกังวลไม่มีชื่อสมัคร ส.ส. วันแรก

(3 เม.ย.66) นายณภัทร ชุ่มจิตตรี ว่าที่ผู้สมัครส.ส. เขต 1 ประจวบคีรีขันธ์ ได้ออกมาโพสต์คลิปชี้แจงประเด็นที่ไม่มีรายชื่อผู้สมัคร ส.ส. ในวันที่ 3 เมษายน 2566 โดยระบุว่า…

“สวัสดีครับ พ่อแม่พี่น้องชาวประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 ผมนายณภัทร ชุ่มจิตตรี หรือ คิง ก่อนบ่าย วันนี้จะมาชี้แจงประเด็นที่พี่น้องประชาชนหลายคนสงสัยว่า ทำไมผมไม่มีรายชื่อเป็นผู้สมัคร ส.ส. เขต 1 ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งวันนี้เป็นวันเปิดรับสมัครเป็นวันแรก เนื่องด้วยผมตั้งใจไว้ว่าจะไปสมัครในวันพุธ ที่ 5 เมษายน 2566

‘ชัยวุฒิ’ เผย เสียงตอบรับ ‘พปชร.’ ดีเยี่ยม ประชาชนคุ้นเคยกันดี - ฐานแฟนคลับแน่น

(3 เม.ย.66) ที่อาคารกีฬาเวสน์ 2 ศูนย์เยาวชนไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในฐานะรองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวถึงการลงพื้นที่ใน กทม. ว่าเท่าที่ไปช่วยผู้สมัคร เสียงตอบรับดีมาก ซึ่งพรรค พปชร. เป็นภาพที่เคยได้รับการเลือกตั้งใน กทม. มาแล้วรอบหนึ่ง ประชาชนรู้จักคุ้นเคยอยู่แล้ว จึงเชื่อว่ายังมีแฟนคลับอยู่

ผู้สื่อข่าวถามว่า ยังมั่นใจว่าจะได้ ส.ส.เท่าเดิมใช่หรือไม่ นายชัยวุฒิ กล่าวว่า เป็นเป้าหมาย เราไม่อยากให้น้อยกว่าเดิม จะพยายามทำให้ดีที่สุด 

เมื่อถามว่า วันนี้มีกลุ่มทะลุวังมาเคลื่อนไหวทางการเมือง นายชัยวุฒิ กล่าวว่า คิดว่ากลุ่มนี้พยายามเคลื่อนไหวทางการเมือง ก็เป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญ แต่ตนเคยบอกแล้วว่าการเคลื่อนไหวแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 112 สุ่มเสี่ยงที่จะขัดรัฐธรรมนูญ และผิดกฎหมายได้ จึงอยากให้ระมัดระวัง 

เมื่อถามว่า เป็นห่วงว่าจะเกิดความวุ่นวาย เหมือนกรณีเวทีปราศรัยที่สะพานพระราม 8 หรือไม่ นายชัยวุฒิ กล่าวว่า ไม่วุ่นวายหรอก คนไม่กี่คน ไม่ใช่คนส่วนใหญ่ของประเทศ คนในประเทศส่วนใหญ่เขาไม่เดือดร้อนเรื่องนี้หรอก ส่วนใหญ่ไม่ได้มีปัญหากับมาตรา 112 เขาไม่อยากแก้กันหรอก เป็นแค่ความต้องการของคนกลุ่มหนึ่ง ซึ่งตนเชื่อว่ามีการยุยงปลุกปั่น

‘ชาวบ้าน’ ขึ้นป้ายขอโจรเมตตา หลังถูกงัดห้องขโมยของนับไม่ถ้วน พ้อ!! “บ้านนี้โดนงัดบ้าน ไปหลายรอบแล้ว ไปบ้านอื่นก่อน ช่วงนี้หมดแล้ว”

(3 เม.ย.66) ความเดือดร้อนของชาวบ้านย่านบางเสาธง ถูกโจรงัดห้องขโมยของนับครั้งไม่ถ้วน จนต้องติดป้ายขอโจรเมตตาไปบ้านอื่นก่อน ชาวบ้านบอกเฉพาะตัวเองห้องเดียวโดนไป 3 ครั้ง ท้าโจรมางัดห้องดูได้หมดตัวแล้ว

ความเดือดร้อนของผู้พักอาศัยในหอพักแห่งหนึ่งในซอยคลองปั้นหยา ถนนเทพารักษ์ ตำบลบางเสาธง อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ ต้องอยู่กับความหวาดระแวงหัวขโมยในพื้นที่ ถูกขโมยรถจักรยานยนต์ ถูกงัดห้อง ขโมยยางอะไหล่รถยนต์ ขโมยจักรยาน มานับครั้งไม่ถ้วน จนต้องตัดสินใจทำป้ายไวนิลสีเหลืองขนาดใหญ่มาติดไว้ที่หน้าตึกมีข้อความว่า "เรียนคุณขโมยที่เคารพ บ้านนี้โดนงัดบ้าน ขโมยรถ ไปหลายรอบแล้ว ขอเวลาทำงานสักพัก เพราะมีหน้าที่ต้องดูแลครอบครัว จึงขอความเมตตาจากคุณขโมย ให้ไปบ้านอื่นก่อน ช่วงนี้หมดแล้ว ด้วยความเคารพอย่างสูง ที่นี่ อำเภอบางเสาธง สมุทรปราการ"

นายภานุพงศ์ พรมมา อายุ 52 ปี บอกว่าอยู่ในหอพักแห่งนี้มา 10 ปี หอพักถูกงัดห้องบ่อยครั้ง วันเดียวโดนงัดไป 3 ห้องรวดก็มี เฉพาะห้องตนก็เคยโดนงัดห้องมาแล้วถึง 3 ครั้ง ถูกขโมยไปทั้ง ทอง พระ เงินสด โทรศัพท์ มูลค่าที่สูญไปก็เป็นหลักหมื่นบาท ที่ไม่ได้ไปแจ้งความเพราะคิดว่าไปแจ้งความไว้ก็เท่านั้น แค่เรื่องของหายตำรวจคงไม่ตามให้ ก็อยากจะฝากโจรให้มางัดห้องตนใหม่ เพราะไม่มีอะไรจะให้มันแล้ว ส่วนทางตำรวจตนก็อยากให้ตำรวจผ่านมาทางนี้บ่อย ๆ ผ่านมาก็มองมาบ้าง

นายธีรวุฒิ ชังอินทร์ ผู้ดูแลหอพัก บอกว่า มาดูแลหอพักแห่งนี้ได้ 5 ปี ถูกโจรขโมยของไป 5 ครั้งแล้ว ได้ไปทั้งมอเตอร์ไซด์ จักรยาน ซึ่งครั้งล่าสุดก็โดนงัดห้องไป เมื่อวันจันทร์ที่ 27 มีนาคม ที่ผ่านมา จนทนไม่ไหวนำป้ายไวนิลมาติดไว้ที่หน้าหอพัก เพื่อแสดงความไม่ได้นิ่งนอนใจ อยากให้ตำรวจส่งสายตรวจมาบ้าง เพราะไปแจ้งความก็ทำได้แค่ลงบันทึกประจำวัน การติดป้ายครั้งนี้ก็จึงอยากให้ตำรวจรับรู้ถึงความเดือดร้อนของประชาชนด้วย


ที่มา : https://news.ch7.com/detail/634698

ชลบุรี รับสมัครเลือกตั้ง ส.ส.ชลบุรี วันแรก คึกคัก แกนนำพรรคการเมืองนำทีมสมัคร ส.ส. 10 เขต

วันนี้ (3 เม.ย.66) บรรยากาศการรับสมัคร ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ชลบุรี เขต 1-10 ที่ ศาลาประชาคมเทศบาลเมืองบ้านสวน จังหวัดชลบุรี พบว่า บรรยากาศเป็นไปด้วยความคึกคักบรรดาผู้สมัคร ทั้ง 12 พรรคการเมือง ประกอบด้วย ไทยสร้างไทย เสรีรวมไทย ภูมิใจไทย เพื่อไทย รวมไทยสร้างชาติ ประชาธิปัตย์ พลังประชารัฐ ก้าวไกล ไทยภักดี มิติใหม่ สังคมประชาธิปไตยไทย และเพื่อชาติ ต่างขนลูกทีมร่วมสมัครกับทาง กกต.จังหวัดชลบุรี  โดยมีนางสาว วิชชุดา เมฆานุวงศ์ ผอ.กกต.ชลบุรี เป็นประธานในการเปิดรับสมัคร ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 1-10 ชลบุรี วันแรก ซึ่งทุกพรรค รวมถึงทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเริ่มเตรียมตัวกันตั้งแต่เช้า


โดยการจับสลากหมายเลขนั้น ทั้ง 10 เขต มีผู้มาสมัครพร้อมกันก่อนเวลา 08.30 น. ทำให้ผู้สมัครแต่ละพรรคไม่สามารตกลงกันได้ทำให้การจับสลากต้องจับสลาก 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 เป็นการจับสลากลำดับรายชื่อการยื่นใบของผู้สมัคร และครั้งที่ 2 เป็นการจับสลากหมายเลขผู้สมัครในแต่ละเขต

 
ทั้งนี้ จากการจับสลากหมายเลขผู้สมัคร ส.ส. เขต 8 ปรากฏว่า หมายเลข 1 ได้แก่ นายปิยะพงษ์ สงค์สุข เสรีรวมไทย หมายเลข 2 ได้ แก่ นายมานพ ประกอบธรรม รวมไทยสร้างชาติ หมายเลข 3 ได้แก่ นายโอฬาร์ ปัญญปิติพัฒน ประชารัฐ หมายเลข 4 ได้แก่ นายจรัส คุ้มไข่น้ำ ก้าวไกล หมายเลข 5 ได้แก่ นายสกลชัย เจริญรุจิจินต์ ไทยสร้างไทย หมายเลข 6 ได้แก่ นางพจนารถ แก้วผลึก ประชาธิปัตย์ หมายเลข 7 ได้แก่ นายพชรนน คณาโชติโภคิน ภูมิใจไทย  หมายเลข 8 ได้ นายอมรพิพัฒน์ ภูบาล  ไทยภัคดี และหมายเลข 9 ได้แก่นายเชาวลิตร แสงอุทัย เพื่อไทย ส่วน เขต 9 หมายเลข 1 ได้แก่ว่าที่ ร.ต.ประกฤต กลิ่นวิชิต ประชาธิปัตย์ หมายเลข 2 ได้แก่ นายแมน อินทรพิทักษ์ เพื่อไทย หมายเลข 3 ได้แก่นางสาวกวินนาถ ตาคลี ประชารัฐ หมายเลข 4 ได้แก่นายนิรันดร์ วัฒนศาสตร์สาธร รวมไทยสร้างชาติหมายเลขที่ 5 ได้แก่ นายพงษ์วริษฐ์ วงศ์หนองแวง เสรีรวมไทย หมายเลข 6 ได้แก่นายสุไอนี เจริญสุข ภูมิใจไทย หมายเลข 7 ได้แก่ นายชาลี สิกุลจ้อย  ไทยสร้างไทย หมายเลย 8 ได้แก่ นายยอดชาย พึ่งพร ก้าวไกล และหมายเลข 9 ได้แก่ นายวิรัตน์ บุญเชิด ไทยภัคดี และเขต 10 หมายเลข 1 ได้แก่นายสมชาติ คุณปลื้ม รวมไทยสร้างชาติ หมายเลข 2 ได้แก่ นางศศิมาภรณ์ ชมไพร ไทยสร้างไทยหมายเลข 3 ได้แก่ นายสะถิระ เผือกประพันธุ์ พลังประชารัฐ หมายเลข 4 ได้แก่ นายสรพงษ์ พ่วงอ่อน ไทยภัคดี หมายเลข 5 ได้แก่ นางสาวนิชนันท์ วังคะฮาต ก้าวไกล หมายเลข 6 ได้แก่ นายจักรกริช จิตต์สมุทร เสรีรวมไทย และหมายเลข 7 ได้แก่ นายพนธกร ใคร่ครวญ เพื่อไทย


ส่วนบรรดากองเชียร์ นั้นทาง กกต.ได้จัดสถานที่ไว้ที่ด้านล่างอาคาร ศาลาประชาคมเทศบาลบ้านสวน ซึ่งพบว่ามีกองเชียร์ของแต่ละพรรคมารอลุ้นหมายเลขและให้กำลังใจผู้สมัครของตัวเองอย่างคึกคัก ซึ่งหลังจากรับสมัครเสร็จทั้ง 10 เขต  จะกลับไปหาเสียงในแต่ละเขตตัวเองต่อไป

สตูล สถานที่รับสมัครเลือกตั้งฯคึกคักแต่เช้า หลายว่าที่ผู้สมัครแต่ละพรรคเข้ายื่นเอกสารกรอกข้อมูล หวังเลขเดี่ยวนำโชค กองเชียร์นำป้ายชูให้กำลังใจ

วันที่ 3 เมษายน 2566 สถานที่รับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่ 1-2 จังหวัดสตูล โดยใช้ หอประชุมอำเภอเมืองสตูล เป็นสถานที่รับสมัคร ทำให้บรรยากาศตั้งแต่เช้า  มีกองเชียร์ ของแต่ละว่าที่ผู้สมัครฯ เดินมาให้กำลังใจกันต่างมีป้ายชู  โดยว่าที่ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฯ ทั้ง 2 เขต ต่างนำเอกสารประกอบมายื่นทางเจ้าหน้าที่กกต.สตูล ประจำแต่ละลำดับ  มีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบรายละเอียดอย่างครบถ้วน ก่อนเข้ามานั่งรอ จุดที่ ทางกกต.สตูลเตรียมจับหมายเลข ขณะที่อดีต ส.ส. สตูล ทั้ง   2 เขต อย่าง นายพิบูลย์  รัชกิจประการ อดีตอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสตูลเขต 1 จาก พรรคภูมิใจไทย และ นายวรศิษฎ์  เลียงประสิทธิ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสตูลเขต 2 จากพรรคภูมิใจไทย เดินทางยื่นเอกสารตรวจสอบครบถ้วน โดยเพียงพูดสั้นกับทางผู้สื่อข่าวว่า ไม่หวังเลขเดี่ยว ได้เลขอะไรก็ได้  ขอเพียงเลขที่สวยงามก็พอ แค่เพียงคิดอย่างเดียวว่า ต้องการทำงานเพื่อจังหวัดสตูล ขณะที่นายตติยภัทร์  ปิติเศษฐพันธุ์ ว่าที่ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย  ก็เดินทางมายื่นใบสมัครเช่นกัน และพรรคอื่นๆทยอยตามมา 
ด้านว่าที่ผู้สมัครท่านอื่นๆจากพรรคต่างๆทยอยเดินทางมาแต่เช้า ต่างรอความหวังที่จะได้จับฉลากหมายเลขที่ โดดเด่น เลขเดี่ยวที่สามารถจำได้ 


นิตยา แสงมณี // ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดสตูล

ผู้สมัคร ส.ส.สมุทรสาคร ตกลงนอกรอบ เคลียร์เบอร์เดียวกันทุกเขตทั้งจังหวัด

‘สมุทรสาคร’ เลือกตั้งสมานฉันท์ ผู้สมัครส.ส.ตกลงนอกรอบ ได้เบอร์เดียวกันทั้ง 3 เขต

(3 เม.ย.66) ที่ห้องประชุมสาครบุรีชั้น3 อาคารสหกรณ์ออมทรัพย์ครูจังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งจัดให้เป็นสถานที่รับสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.สมุทรสาคร ทั้ง 3 เขต ปรากฏว่าบรรยากาศในตอนเช้าเป็นไปอย่างคึกคัก โดยผู้สมัครจากพรรคการเมืองพร้อมกองเชียร์ติดตามกันมาให้กำลังใจกับผู้สมัครเป็นจำนวนมาก ทั้ง 10 พรรคต่างได้เดินทางมาถึงก่อนเวลา 08.30 น. ซึ่งเป็นเวลาที่เปิดรับสมัคร

เมื่อถึงเวลารับสมัครทางเจ้าหน้าที่ที่รับสมัครได้ให้ผู้สมัครทุกพรรคการเมืองให้ไปตกลงกันก่อนในการที่จะยื่นใบสมัคร หากตกลงกันไม่ได้ก็จะใช้วิธีการจับเบอร์ ปรากฏว่าทุกพรรคการเมืองต่างออกมาตกลงกันและอยากได้เบอร์เดียวกันทั้ง 3 เขต เพื่อที่จะง่ายต่อการใช้หาเสียง

ผลการหารือใช้เวลา 10 นาที เป็นที่ตกลงกันได้ โดยทุกพรรคเห็นเหมือนกันว่าอยากได้เบอร์เดียวกันทุกเขตทั้งจังหวัด จึงมีการจับเบอร์กันก่อน หากพรรคไหนได้เบอร์อะไร ก็จะไปยื่นใบสมัครเรียงตามลำดับเบอร์

ทั้งนี้ ปรากฏว่า เบอร์ 1 พรรคพลังประชารัฐ เบอร์ 2 พรรครวมไทยสร้างชาติ เบอร์ 3 พรรคเพื่อไทย เบอร์ 4 พรรคไทยภักดี เบอร์ 5 พรรคประชาธิปัตย์ เบอร์ 6 พรรคไทยสร้างไทย เบอร์ 7 พรรคภูมิใจไทย เบอร์ 8 พรรคเสรีรวมไทย เบอร์ 9 พรรคก้าวไกล และเบอร์ 10 พรรคคลองไทย

เจ้าหน้าที่ที่รับสมัครจึงได้มีการทำบันทึกข้อตกลงเอาไว้ ถือเป็นเรื่องที่ดีที่ทุกพรรคตกลงกันได้ และง่ายต่อการหาเสียงเลือกตั้ง


ที่มา : https://www.naewna.com/politic/721755

ระยอง รับสมัคร ส.ส.แบบแบ่งเขตระยองคึกคัก หน้าเก่า-ใหม่สมัครเพียบ ทุกคนมั่นใจจะได้รับเลือก

เมื่อวันที่ 3 เม.ย.2566 ผู้สื่อข่าวรายงาน บรรยากาศรับสมัคร ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งระยอง ที่บริเวณหอประชุมศูนย์ราชการจังหวัดระยอง ภายในศาลากลางจังหวัดระยอง ต.เนินพระ อ.เมืองระยอง จ.ระยอง ซึ่ง กกต.กำหนดรับสมัครฯ ระหว่างวันที่ 3-7 เม.ย.66 ซึ่งบรรยากาศก่อนเปิดให้ลงทะเบียนในเวลา 08.30 น.มีบรรดาผู้สมัคร ส.ส.ระยอง หน้าเก่า และหน้าใหม่ทยอยเดินทางรอตั้งแต่เช้ากันอย่างคึกคัก โดยเฉพาะ น.ส.กมนทรรศน์ หรือเอิร์ธ กิตติสุนทรสกุล ผู้สมัคร ส.ส.ระยอง เขต 1 พรรคก้าวไกล เดินทางมาจากศูนย์ประสานงานพรรค ด้วยรถ จยย.ไฟฟ้า รณรงค์ให้ตระหนักโลกร้อน พร้อมผู้สมัครของพรรคเดินทางมาด้วยรถสองแถว และรถ จยย.พ่วงข้าง ซึ่งผู้สมัครทุกพรรคมั่นใจว่าจะได้รับเลือก

ขณะที่นายสาธิต ปิตุเตชะ ผู้สมัคร ส.ส.ระยอง เขต 2 พรรค ปชป.นำผู้สมัครอีก 4 เขต เดินเท้าจากสนามกีฬากลางจังหวัดระยอง มายังสถานที่รับสมัครฯ ตั้งแต่เวลา 05.00 น.ระยะทาง 9 กม.เพื่อเป็นการแสดงสัญลักษณ์สนับสนุนสุขภาพและคุณภาพชีวิตของคนระยอง ส่วนพรรคไทยสร้างไทย ก็เดินทางมาด้วยรถ จยย.พ่วงข้าง เป็นสีสันก่อนเปิดรับสมัคร โดยมีกองเชียร์มาให้กำลังใจเพียบ ซึ่งผู้สมัครฯ ส่วนใหญ่เดินทางมาก่อนเวลารับสมัคร จึงต้องใช้วิธีจับฉลาก เพื่อเข้ายื่นเอกสารสมัครฯ ซึ่งหากเอกสารครบถ้วน ก็จะได้เบอร์ หรือหมายเลขใช้ในการหาเสียง 

สำหรับจังหวัดระยอง มี 5 เขตเลือกตั้ง มีผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง 590,378 คน หน่วยเลือกตั้ง 798 หน่วย

นายใจเพชร สาครพานิช ผอ.กกต.ระยอง กล่าวว่า บรรยากาศการเปิดรับสมัคร ส.ส.ระยอง แบบแบ่งเขตในวันนี้ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ผู้สมัครทุกคนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี.

ปชป.ส่งผู้สมัคร ส.ส.แบบแบ่งเขต ครบทั้ง 9 เขต ในวันแรกของการรับสมัครเลือกตั้ง ส.ส.จังหวัดสงขลา

วันนี้ 3 เม.ย.66 นายนิพนธ์ บุญญามณี รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และผู้อำนวยการเลือกตั้งพรรค ปชป. เข้าสังเกตการณ์และให้กำลังใจแก่ผู้สมัครรับเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จากพรรคประชาธิปัตย์แบบแบ่งเขตทั้ง 9 เขตเป็นวันแรก ในการเปิดรับสมัคร ณ อาคารศูนย์กีฬาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา โดยมีกรรมการสาขาพรรคทั้ง 9 เขต พร้อมแกนนำพรรค  เดินทางมาให้กำลังใจแก่ว่าที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้ง 9 เขตอย่างเนืองแน่น บริเวณอาคารศูนย์การกีฬาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ซึ่งผลการรับสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคประชาธิปัตย์ เขตเลือกตั้งที่ 1 นายสรรเพชญ บุญญามณี หมายเลข  4

 

เขต 2 นายนิพัฒน์ อุดมอักษร หมายเลข 4  
เขต 3 นายสมยศ พลายด้วง หมายเลข 4
เขต 4 นายชัยวุฒิ ผ่องแผ้ว หมายเลข 6
เขต 5 นายเดชอิศม์ ขาวทอง หมายเลข 3
เขต 6 นางสาวสุภาพร กำเนิดผล หมายเลข 2
เขต 7 นายศิริโชค โสภา หมายเลข 2
เขต 8 พล.ต.ต.สุรินทร์ ปาลาเร่ หมายเลข 7
เขต 9 นายศักดิ์สิทธิ์ ขาวทอง หมายเลข  1

ปทุมธานี เปิดรับสมัคร ส.ส.แบ่งเขตปทุมธานีคึกคัก

เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2566 เวลา 08.00 น. ที่วิทยาลัยการอาชีวศึกษาปทุมธานี (วกศ.ปทุมธานี) ถนนรังสิต-ปทุม อ.เมือง จ.ปทุมธานี   ได้มีผู้สมัครเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งจากจากพรรคต่าง ๆ เดินทางมายืนใบสมัครกันอย่างคึกคักในวันแรกของการเปิดรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ทั้ง 7 เขตเลือกตั้ง จังหวัดปทุมธานี ตามที่ กกต. ประกาศรับสมัครตั้งแต่วันที่ 3-7 เม.ย. โดยมีกลุ่มกองเชียร์ของแต่ละพรรคเดินทางมาให้กำลังใจกับผู้สมัคร เช่น พรรคเพื่อไทย  พรรคภูมิใจไทย พรรคพลังประชารัฐ พรรคประชาธิปัตย์   พรรคก้าวไกล  พรรคเสรีรวมไทย พรรครวมไทยสร้างชาติ พรรครวมแผ่นดิน เป็นต้น


บรรยากาศเริ่มคึกคักตั้งแต่เช้ามีผู้สมัครและผู้สนับสนุนต่างทยอยเดินทางมาก่อนเวลา ยังสถานที่รับสมัครโดยทั้งหมดต่างสวมเสื้อแสดงสัญลักษณ์ของพรรคหรือผู้สมัครที่ตนเองสนับสนุน มีการเตรียม ดอกกุหลาบ พวงมาลัยดอกดาวเรือง ป้ายข้อความให้กำลังใจโดยมุ่งหวังให้ผู้สมัครที่ตนสนับสนุนได้รับหมายเลขประจำตัวที่เป็นเลขมงคลและง่ายต่อการหาเสียง ทุกคนก็อยู่ในกฎระเบียบของกฎหมายเลือกตั้งในภาพรวมสงบเรียบร้อย โดยผู้สมัครแต่ละคนต่างก็มีความมั่นใจที่จะลงต่อสู้แข่งขันการเมืองในครั้งนี้อย่างสร้างสรรค เมื่อสมัครเสร็จสิ้นก็จะขึ้นรถและเริ่มออกหาเสียง

 

สำหรับผู้สมัครบางส่วนทั้ง 7 เขต อย่างไม่เป็นทางการ ผู้สมัครเขต 1 ได้แก่ พรรคเพื่อไทย นายสุรพงษ์  อึ้งอัมพรวิไล , พรรคพลังประชารัฐ นายเสวก ประเสริฐสุข , พรรคภูมิใจไทย  นายนพพร  ขาวขำ , พรรครวมไทยสร้างชาติ  นายสุรศักดิ์ สุรทัตโชค ผู้สมัครเขต 2 ได้แก่ พรรคเพื่อไทย  นายศุภชัย  นพขำ, พรรคพลังประชารัฐ นายนภดล  ลัดดาแย้ม , พรรคภูมิใจไทย  พล.ต.ต.วัฒนา  วงศ์จันทร์ , พรรประชาธิปัตย์ นายคิว อรุโณรส ผู้สมัครเขต 3  ได้แก่ พรรคเพื่อไทย  นายยุทธศักดิ์  ชูประเสริฐ , พรรคภูมิใจไทย นายอนาวิน  รัตนสถาพร , พรรคก้าวไกล น.ส.ชลธิชา  แจ้งเร็ว ผู้สมัครเขต 4  ได้แก่ พรรคเพื่อไทย  นายสุทิน  นพขำ , พรรคภูมิใจไทย น.ส.ณัฐธิดา เกียรติพัฒนาชัย , พรรครวมไทยสร้างชาติ น.ส.ประเสริฐศรี  ฮ้อแสงชัย ผู้สมัครเขต 5 ได้แก่ พรรคเพื่อไทย  นายชัยยันต์  ผลสุวรรณ , พรรคพลังประชารัฐ  นายวิรัช  พยุงวงษ์ ,  พรรคภูมิใจไทย นายพิษณุ  พลธี , พรรคพลังประชารัฐ ส.ส.เกียรติศักดิ์  ส่องแสง ผู้สมัครเขต 6 ได้แก่ พรรคเพื่อไทย  นายมนัสนันท์ หลีนวรัตน์ , พรรคพลังประชารัฐ  นายเกียรติศักดิ์  ส่องแสง  , พรรคภูมิใจไทย นายเอกชัย ศรีสุขชยะกุล , พรรครวมไทยสร้างชาติ นายภัทรพล แก้วสกุณี และ ผู้สมัครเขต 7  ได้แก่ พรรคเพื่อไทย นายยงยุทธ  มั่นบุปผชาติ  , พรรคพลังประชารัฐ น.ส.กฤษณา  วงศ์คำ , พรรคภูมิใจไทย น.ส.พรพิมล  ธรรมสาร


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top