Friday, 11 July 2025
SPECIAL

วิชาภาษาไทย: เรื่อง ตัวอย่างข้อสอบวิชาสามัญ (ภาษาไทย)

THE STUDY TIMES X ClassOnline

????วันพุธที่ 7 กรกฎาคม

วิชาภาษาไทย: เรื่อง ตัวอย่างข้อสอบวิชาสามัญ (ภาษาไทย)

โดย ครูต้นคูน ดร.ณัฐพงศ์ ลาภบุญทรัพย์

ปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ (Ph.D. in Communication Arts) สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

#สอนวิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคม ระดับ ม.ต้น-ม.ปลาย

#ClassOnline

https://www.classonline.co.th/

.

.

'มัลคอล์ม แม็กลีน' ผู้พลิกโฉมการขนส่งสินค้ายุคใหม่ ชายผู้ผลักดันให้เกิดการขนส่งด้วย ‘ตู้คอนเทนเนอร์’

ทุกวันนี้เราคุ้นเคยกับภาพรถบรรทุกขนกล่องเหล็กขนาดใหญ่ที่เรียกกันว่า 'ตู้คอนเทนเนอร์' ซึ่งตู้เหล่านี้มีบทบาทที่สำคัญสำหรับการขนส่งระหว่างประเทศ เพราะช่วยลดต้นทุนและเวลาในการขนถ่ายสินค้าระหว่างรถบรรทุก, เรือ และรถไฟ 

ในสัปดาห์นี้ จึงขอเล่าเรื่องราวของชายผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้เกิดการขนส่งด้วยตู้คอนเทนเนอร์

มัลคอล์ม แม็กลีน (Malcom McLean) ในวัยหนุ่มได้ซื้อรถบรรทุกมือสองและทำธุรกิจขนส่งสินค้าให้แก่เกษตรกร ระหว่างรอการขนส่งสินค้าที่ท่าเรือ แม็กลีน เขาได้สังเกตวิธีการทำงานในยุคนั้นที่ยังใช้แรงงานคนเป็นหลัก... 

คนงานทยอยขนสินค้าลงจากรถบรรทุกแล้วไปเก็บในคลังสินค้าที่ท่าเรือ เมื่อเรือมาถึงท่าก็ทยอยขนสินค้าขึ้นเรือด้วยวิธีการชักรอก กว่าจะขนสินค้าขึ้นและลงเรือเสร็จก็ใช้เวลาหลายวัน หากช่วงไหนที่คนงานไม่ว่างหรือสภาพอากาศไม่ดี ก็หยุดทำงาน ส่งผลให้รถบรรทุกต้องจอดรอเป็นเวลานานเสียโอกาสในการไปวิ่งหารายได้ 

เมื่อเห็นดังนั้น แม็กลีน จึงคิดว่าจะมีวิธีการปรับปรุงการขนส่งให้ดีขึ้นได้อย่างไรบ้าง เพื่อเป็นการลดเวลาและต้นทุนในการขนส่ง แต่วิธีการขนส่งแบบใหม่ที่เขาคิดได้ต้องมีการปรับปรุงหลายอย่าง ซึ่งต้องใช้เงินลงทุนจำมาก จึงได้แต่เก็บความคิดเอาไว้ในใจ

ในปี 1940 แม็กลีนวัย 42 ปี ซึ่งตอนนี้เขาได้กลายเป็นเจ้าของบริษัทรถบรรทุกที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของสหรัฐอเมริกาในยุคนั้น และมีรถบรรทุกมากกว่า 1,700 คัน ก็ได้คิดว่าถึงเวลาแล้วที่จะเอาไอเดียที่เคยคิดไว้ตอนหนุ่มมาทำให้เป็นจริง 

เขาจึงตัดสินใจขายธุรกิจรถบรรทุก แล้วนำเงินมาซื้อมาธุรกิจเดินเรือ Pan Atlantic Tanker ที่มีเรือขนส่งน้ำมันอยู่ 2 ลำ แล้วยังกู้เงินมาอีก 42 ล้านเหรียญฯ เพื่อซื้อท่าเรือและอู่ต่อเรือ เพราะเขามั่นใจว่าวิธีการขนส่งแบบใหม่จะเปลี่ยนโฉมหน้าการขนส่งไปได้

แม็กลีน มีความคิดว่า หากสามารถขนเฉพาะส่วน 'หางเทรลเลอร์' ของรถบรรทุกขึ้นไปไว้บนเรือแทนที่จะใช้คนงานทยอยขนสินค้าขึ้นลง จะช่วยลดระยะเวลาในการขนถ่ายสินค้าและลดค่าใช้จ่ายได้ แต่เมื่อได้ทดลองจึงพบปัญหาว่า 'หางเทรลเลอร์' ที่มีล้อนั้น ลดพื้นที่บรรทุกสินค้าของเรือและยังไม่สามารถเอาหางเทรลเลอร์วางซ้อนกันได้ ส่งผลให้ในเรือหนึ่งลำขนส่งสินค้าได้ไม่มากต้นทุนการขนส่งจึงสูง 

แม็กลีน จึงได้พัฒนาส่วนหางเทรลเลอร์แบบใหม่ที่สามารถถอดล้อออกได้ เพื่อลดความสูงและสามารถวางซ้อนกันได้ แต่หางเทรลเลอร์แบบใหม่กลับใช้งานไม่สะดวกอย่างที่คิด แม็กลีน จึงได้ปรึกษากับ คีธ แทนท์ลิงเกอร์ (Keith Tantlinger) วิศวกรที่ทำงานในบริษัทผลิตเทรลเลอร์ และเขาก็ได้ช่วยออกแบบตู้คอนเทนเนอร์ที่สามารถแยกออกจากหางเทรลเลอร์ได้สำเร็จ

แล้วความฝันของแม็กลีน ก็เป็นความจริง!! 

เมื่อวันที่ 26 เมษายน 1956 เรือ SS Ideal X เรือบรรทุกน้ำมันที่มีการปรับปรุงใหม่ เพื่อสามารถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์บนดาดฟ้าเรือได้ แล่นออกจากท่าเรือที่นิวยอร์กไปยังฮุสตันพร้อมกับตู้คอนเทนเนอร์ 58 ตู้และน้ำมัน 15,000 ตัน 

จากนั้นในปีต่อมา เรือ Gateway City เรือคอนเทนเนอร์เต็มรูปแบบของแม็กลีนที่ขนตู้คอนเทนเนอร์ได้มากถึง 226 ตู้ แต่ใช้เวลาในการขนสินค้าขึ้นลงเพียงแค่ 8 ชั่วโมง ก็ได้ออกให้บริการ ซึ่งหากเทียบต้นทุนการขนส่งแล้ว แบบเดิมจะอยู่ที่ 5.86 เหรียญต่อตัน ส่วนแบบใหม่จะลดลงเหลือ 0.16 เหรียญต่อตัน ถูกลงมากกว่าเดิมถึง 37 เท่า 

นอกจากนั้นรถบรรทุกและเรือไม่ต้องจอดรอขนสินค้าขึ้นลงเป็นเวลานาน สามารถเพิ่มเวลาในการวิ่งรับส่งสินค้าเพื่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย

การขนส่งวิธีใหม่ของแม็กลีน นอกจากจะเร็วกว่าและถูกกว่าแล้ว สินค้ายังมีโอกาสเสียหายและสูญหายน้อยกว่าวิธีเดิมอีกด้วย เพราะสินค้าไม่ได้ถูกยกขนโดยตรงและยังใช้แรงงานน้อยลง

จากจุดนี้เอง จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่วงการขนส่ง ต่างให้ความสนใจกับการขนส่งด้วยระบบตู้คอนเทนเนอร์ โดยในปี 1962 ท่าเรือนิวยอร์กได้เปิดตัวท่าเรือแห่งใหม่ที่เป็นท่าเรือคอนเทนเนอร์แห่งแรกของโลก ตามมาด้วยการเปิดตัวท่าเรือคอนเทนเนอร์ที่ร็อตเตอร์ดัมในปี 1966 และท่าเรือสิงคโปร์ในปี 1972  

แน่นอนว่า ในทุกวันนี้มีการขนส่งด้วยตู้คอนเทนเนอร์ทุกท่าเรือหลักของโลก แต่มันจะไม่เกิดขึ้นได้ หากจุดเริ่มต้นทั้งหมดไม่ได้มาจาก 'มัลคอล์ม แม็กลีน' บุคคลระดับตำนานที่มีอิทธิพลต่อวงการอุตสาหกรรมและการค้าของโลกยุคใหม่

เขียนโดย อาจารย์ ศรัณย์ ดั่นสถิตย์ อาจารย์ประจำหลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา 


ข้อมูลอ้างอิง 
https://www.pbs.org/wgbh/theymadeamerica/whomade/mclean_hi.html
https://www.shippingandfreightresource.com/leaders-and-visionaries-in-shipping-malcom-mclean/
https://www.maritime-executive.com/article/the-story-of-malcolm-mclean
https://portfolio.panynj.gov/2015/06/23/the-world-in-a-box-a-quick-story-about-shipping/
https://www.shippingandfreightresource.com/leaders-and-visionaries-in-shipping-malcom-mclean/

ขอนแก่น - เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น “โครงการปรับปรุงระบบไฟฟ้าเป็นเคเบิลใต้ดิน 1 จังหวัด 1 ถนน เพื่อเฉลิมพระเกียรติ” ระยะทาง 832 เมตร กฟภ. สนับสนุนงบกว่า 34 ล้านบาท แล้วเสร็จใน 300 วัน

ขอนแก่นได้รับคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 4 จังหวัดของไทย ได้โครงการนำสายสื่อสารลงดินเทิดพระเกียรติในหลวง ประจำปี 64 ถนนนิกรสำราญ ระยะทาง 832 เมตร กฟภ. สนับสนุนงบกว่า 34 ล้านบาท แล้วเสร็จใน 300 วัน

วันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 ณ บริเวณด้านหลังเจ้าปู่ครูเย็น (ภายในบริเวณศาลเจ้าปึงเถ่ากงม่าขอนแก่น) ได้เปิดเวทีสาธารณะรับฟังความคิดเห็นประชาชนที่มีต่อ “โครงการปรับปรุงระบบไฟฟ้าเป็นเคเบิลใต้ดิน 1 จังหวัด 1 ถนน เพื่อเฉลิมพระเกียรติ” โดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดขอนแก่น ร่วมกับ สำนักการช่างเทศบาลนครขอนแก่น และประชาชนในเขตเทศบาลนครขอนแก่น จำนวนประมาณ 120 คน ได้เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว

นายทูล หาวิชา ผู้จัดการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดขอนแก่น กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของโครงการว่า โครงการปรับปรุงระบบไฟฟ้าเป็นเคเบิลใต้ดิน 1 จังหวัด 1 ถนนเฉลิมพระเกียรตินั้นมีจุดเริ่มต้นมาจากกระทรวงมหาดไทยต้องการขับเคลื่อนโครงการ 1 จังหวัด 1 ถนนเพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคล พระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคดำเนินการสนับสนุนตามภารกิจของหน่วยงาน โดยจัดระเบียบสายสื่อสาร นำสายไฟฟ้าลงใต้ดิน รวมถึงเป็นการพัฒนาพื้นที่ให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงาม

ซึ่งจังหวัดขอนแก่นได้รับคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 4 จังหวัดของประเทศไทย ที่ได้ดำเนินโครงการดังกล่าวนี้ และจังหวัดขอนแก่นได้คัดเลือกให้เส้นทางของถนนนิกรสำราญ (สี่แยกโรงเรียนสวนสนุก) ถึง ถนนโพธิสาร (ปากทางเข้าชุมชนโนนทัน) ระยะทางทั้งสิ้น 832 เมตร ด้วยเหตุผลเพราะเป็นเส้นทางที่ผ่านสถานที่สำคัญและสถานที่ท่องเที่ยว เช่น บึงแก่นนคร โฮงมูนมังเมืองขอนแก่น สำนักประชาสัมพันธ์เขต 1 ขอนแก่น ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อนุสาวรีย์พระนครศรีบริรักษ์ พ่อเมืองคนแรกของจังหวัดขอนแก่น รวมไปถึงเป็นเส้นทางที่มีการจัดกิจกรรมบ่อย

นายธีระศักดิ์ ฑีฆายุพันธุ์ นายกเทศมนตรีนครขอนแก่น เปิดเผยว่า สภาเมืองขอนแก่น มีมติเห็นชอบเป็นเอกฉันท์กับโครงการนี้ และขั้นตอนต่อไป คือ เทศบาลนครขอนแก่นจะได้ส่งมอบพื้นที่ให้กับการไฟฟ้าส่วนหน่วยงานภูมิภาคจังหวัดขอนแก่นเพื่อดำเนินการตามแผนงานก่อสร้าง โดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จะได้ทำการรื้อถอนระบบไฟฟ้า สายสื่อสาร และสายสัญญาณต่าง ๆ ที่ติดตั้งบนเสาไฟ ให้อยู่ในเคเบิลด้านในลงใต้ดิน ในส่วนของเทศบาลนครขอนแก่นจะเป็นผู้ดำเนินการเรื่องไฟฟ้าแสงสว่าง

โดยใช้งบประมาณของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคทั้งสิ้น 34,566,445 บาท เมื่อนำสายเคเบิลลงดินแล้ว ประโยชน์ที่จะได้รับก็คือการปรับปรุงทัศนียภาพให้สวยงาม รักษาสภาพสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงการพัฒนาระบบการจ่ายไฟฟ้าให้สามารถรองรับความต้องการพลังงานไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นภายในเทศบาลนครขอนแก่น โดยจะใช้ระยะเวลาดำเนินการก่อสร้างทั้งสิ้นจำนวน 300 วัน (เดือนกรกฎาคม 2564 – เดือนพฤษภาคม 2565) และผลกระทบที่คาดว่าจะได้รับในช่วงก่อสร้างคือ การจราจร เนื่องจากแนวท่อร้อยสายและบ่อพักจะอยู่บนผิวจราจรจึงจำเป็นต้อง มีการปิดการจราจรช่องทางในบางช่วง , เสียงรบกวนซึ่งจากการก่อสร้างซึ่งแต่จะไม่เกินระดับความดังของเสียงตามที่กฎหมายกำหนด และฝุ่นละออง ซึ่งเกิดขึ้นจากการก่อสร้างซึ่งจะได้มีการควบคุมอย่างใกล้ชิดในระหว่างก่อสร้าง

นราธิวาส – ที่ปรึกษาผู้แทนพิเศษของรัฐบาลพร้อมคณะลงพื้นที่ เยี่ยมเยือนให้กำลังใจชาวบ้านที่ทางจังหวัดนราธิวาสมีคำสั่งให้ปิดหมู่บ้านและอยู่ระหว่างรอดูอาการ 14 วันจากสถานณ์โควิค

นายธนาธิป พรหมชื่นทีปรึกษาผู้แทนพิเศษของรัฐบาล นายอนิรุทร บัวอ่อน นายอำเภอสุไหงปาดี จ.นราธิวาส นายเพียร มะโนภักดิ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสุไหงปาดีพร้อมด้วยทีมงาน สท.3 สหาย นราธิวาส ลงพื้นที่จุดคัดกรองหน้าโรงเรียนราชภักดี ม.7 บ้านปิเหล็ง เขตบ้านโคกสะตอ ต.สุไหงปาดี อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 8 พฎษภาคม 2564 เวลา 10.00 น.

เพื่อพบปะให้กำลังใจกับเจ้าหน้าที่พร้อมมอบปลาโอสด 150 กก. ไก่สด 50 ตัว ไข่ไก่ 1,500 ฟอง น้ำดื่มสะอาด 1,200  ขวด น้ำดีโด้ 50 แพ็ก และขนมกินเล่น 50 ถุง ให้กับครอบครัวชาวบ้านโคกสะตอที่ถูกปิดหมู่บ้าน ตามประกาศจังหวัดนราธิวาส ตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2564  เนื่องจากตรวจพบเป็นพื้นที่มีการแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยมีนายอันนูวา กาเซ็ง ผู้ใหญ่บ้าน เป็นผู้รับมอบพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ทหาร ฝ่ายปกครอง อสม.ชรบ.ในพื้นที่ 

สำหรับบ้านโคกสะตอ มีประชากร 50 ครัวเรือน จำนวน 437 คน ตรวจพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ครั้งแรกเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2564 จำนวน 10 คน จำนวนผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 10 คน ซึ่งขณะนี้ทาง รพ.สต.สุไหงปาดีได้ส่งตัวไปอยู่ที LQ. ปาดีค็อมแพ็คกักตัวเป็นเวลา 14 วันเพื่อดูอาการ      

หลังจากนั้นคณะได้เดินทางไปยังโรงพยาบาลสุไหงปาดี เพื่อมอบน้ำดืมสะอาดจำนวน 2,400 ขวด ให้กับแพทย์และทีมงานพยาบาลเพื่อไว้บริการสำหรับผู้มาฉีดวัคซีนป้องกัน Covid -19 ณ โรงพยาบาลสุไหงปาดี จ.นราธิวาส อีกด้วย


ภาพ/ข่าว  แวดาโอ๊ะ หะไร จ.นราธิวาส

กรุงเทพฯ - “มูลนิธิมาดามแป้ง” เยียวยาครอบครัวอาสาดับเพลิงเสียชีวิต-เจ็บสาหัส พร้อมตั้งครัวช่วยผู้ประสบภัย โรงงานกิ่งแก้วระเบิด

“มูลนิธิมาดามแป้ง” ยื่นมือช่วยเหลือครอบครัวอาสาดับเพลิงที่เสียชีวิต และบาดเจ็บสาหัส พร้อมตั้งครัวมาดาม ส่งอาหารบรรเทาความเดือนร้อนผู้อพยพ และเจ้าหน้าที่ เหตุโรงงานระเบิด ซอยกิ่งแก้ว 21 ตั้งแต่วันแรกถึงปัจจุบัน

จากเหตุการณ์ระเบิดและเพลิงไหม้โรงงานผลิตโฟมและเม็ดพลาสติก ภายในซอยกิ่งแก้ว 21 ถ.กิ่งแก้ว ต.บางพลีใหญ่ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ จนมีอาสาดับเพลิงเสียชีวิต 1 ราย และบาดเจ็บสาหัสอีก 2 ราย อีกทั้ง พื้นที่โดยรอบยังถูกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ต้องอพยพประชาชนโดยรอบออกจากพื้นที่จำนวนมาก

“มูลนิธิมาดามแป้ง” โดย “มาดามแป้ง” นวลพรรณ ล่ำซำ ซีอีโอ เมืองไทยประกันภัย ในฐานะประธานกรรมการมูลนิธิฯ ซึ่งเห็นถึงความยากลำบากและความเสียสละของคนทำงานอาสายามเกิดภัย จึงตั้งใจมอบเงินช่วยเหลือครอบครัวของ นายกรสิทธิ์ ลาวพันธ์ หรือ น้องพอส อาสาสมัครดับเพลิงวัย 19 ปี ซึ่งเสียชีวิตจากการทำหน้าที่ จำนวน 50,000 บาท อีกทั้งมอบเงินช่วยเหลืออาสาดับเพลิงที่บาดเจ็บสาหัส 2 รายที่รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล คือ นายกฤษณะ นุชสุวรรณ และ นายนันทปรีชา มีแสง คนละ 20,000 บาท รวม 40,000 บาท รวมเป็นเงินช่วยเหลือทั้งสิ้น 90,000 บาท

ด้าน "มาดามแป้ง" กล่าวว่า “ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งแก่ครอบครัวน้องพอส รวมถึงผู้ที่บาดเจ็บทุกท่าน บ่อยครั้งที่เราต้องสูญเสียผู้ที่มีหัวใจอาสาแบบนี้ไปอย่างน่าเสียใจ มูลนิธิฯ เล็ก ๆ ของเราขอเป็นกำลังใจให้กับครอบครัวน้องพอส เงินจำนวนนี้คงเทียบไม่ได้กับชีวิตที่สูญเสีย แต่ขอให้รู้ว่าน้องคือผู้เสียสละที่แท้จริง และขอส่งกำลังใจให้เจ้าหน้าที่ อาสาสมัคร และคนในพื้นที่ให้ผ่านเหตุการณ์ไปโดยเร็ว ทุกอย่างมาจากความตั้งใจของเราทุกคน ที่อยากให้สถานการณ์นี้ผ่านไปได้โดยเร็ว”

นอกจากนี้ มูลนิธิมาดามแป้ง ยังตั้ง "ครัวมาดาม" ทันทีตั้งแต่วันแรกถึงปัจจุบัน เพื่อส่งมอบข้าวกล่องพร้อมสิ่งของที่จำเป็น บรรเทาความเดือดร้อนเร่งด่วนแก่ประชาชนในพื้นที่ ซึ่งอาศัยอยู่ที่ศูนย์อพยพทั้ง 5 แห่ง ได้แก่ วัดบางพลีใหญ่ใน, อบต.บางพลีใหญ่, รร.เตรียมปริญญานุสรณ์, รร.คลองบางกระบือ และวัดบางโฉลงใน กว่า 1,500 คน รวมทั้งเจ้าหน้าที่และอาสาสมัคร ณ ศูนย์บัญชาการกลาง ทั้งนี้ มูลนิธิมาดามแป้งยังมีแผนสนับสนุนความช่วยเหลือด้านอื่น ๆ ตามสถานการณ์ และความต้องการของประชาชนในพื้นที่เกิดเหตุต่อไป เพื่อส่งต่อน้ำใจคนไทยไม่ทิ้งกัน

เชียงใหม่ - อบจ.เชียงใหม่ มอบถุงยังชีพประชาชน 25 อำเภอ ช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19

นายพิชัย เลิศพงศ์อดิศร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วยนางวิภาวัลย์ วรพุฒิพงค์ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่และ คณะผู้บริหาร สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ มอบถุงยังชีพให้แก่ผู้นำชุมชนในพื้นที่อำเภอเมืองเชียงใหม่ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนชาวเชียงใหม่ ณ วัดนันทาราม ตำบลหายยา อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

นายพิชัย เลิศพงศ์อดิศร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า อบจ.เชียงใหม่ มีความตั้งใจที่ช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด-19 และสภาพเศรษฐกิจที่ตกต่ำในขณะนี้ โดยได้จัดสรรงบประมาณและมอบหมายให้ส่วนงานที่รับผิดชอบ จัดทำถุงยังชีพ จำพวกข้าวสารอาหารแห้ง มาม่า ปลากระป๋อง ประมาณ 40,000 ชุด เพื่อกระจายไปช่วยเหลือประชาชน 25 อำเภอทั่วจังหวัดเชียงใหม่ ตามสัดส่วนครัวเรือนที่ร้องขอมา จากการสำรวจความต้องการของ อปท.ในพื้นที่ที่ได้รับความเดือดร้อน

นางวิภาวัลย์ วรพุฒิพงค์ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวเพิ่มเติมว่า โดยวันนี้ ได้ส่งมอบถุงยังชีพ จำนวน 2,380 ชุด ให้แก่ผู้นำชุมชน 97 ชุมชน ทั้ง 4 แขวง ในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ เพื่อนำไปแจกจ่ายช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบ จากCOVID-19

นอกจากนี้ยังได้ส่งมอบถุงยังชีพอีกประมาณกว่า 35,000 ชุดผ่าน สจ.เขตทุกเขตเพื่อนำไปแจกจ่ายให้ประชาชน 25 อำเภอ ทั่วจังหวัดเชียงใหม่อย่างทั่วถึงต่อไปด้วย

ซึ่งหวังว่าจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนได้บ้าง อย่างไรก็ตามทางอบจ. จะได้หาแนวทางช่วยเหลือประชาชนเพิ่มเติมเป็นระยะ ๆ ต่อไป


ภาพ/ข่าว  วิภาดา / เชียงใหม่

สมุทรปราการ - “รองโจ” รอง ผบก.ชลบุรี ร่วมกับครอบครัวมีศิริ มอบอาหารปรุงสุกและน้ำดื่ม ให้บุคลากรทางการแพทย์

พ.ต.อ.กรวัฒน์ หันประดิษฐ์ รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี พร้อมด้วย ดร.วีร์สุดา รุ่งเรือง อดีตประธานชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้าน อ.บางพลีใหญ่ ร่วมกับ ร้าน OPOR fashion ครอบครัวมีศิริ นำอาหารปรุงสุกพร้อมด้วยน้ำดื่มนำมามอบให้กับบุคลากรทางการแพทย์ที่ปฎิบัติหน้าที่ให้บริการประชาชน ณ ศูนย์ให้บริการฉีดวัคซีน Covid-19 วัดบางพลีใหญ่กลาง

โดยนายธวัชชัย มีศิริ พร้อมครอบครัวมีศิริ จัดทำอาหารกล่องข้าวหมกไก่ทอด ข้าวมันไก่ ข้าวผัดกระเพราหมู และก๋วยเตี๋ยวเกี๊ยวกรอบ จำนวน 300 ชุด พร้อมทั้ง น้ำลำไย น้ำเก็กฮวย และน้ำดื่ม นำมามอบให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ จากโรงพยาบาลบางพลี  สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบางพลี และเจ้าหน้าที่ อสม.ที่มาอำนวยความสะดวกในการให้บริการฉีดวัคซีน ให้กับประชาชน ณ ศูนย์ให้บริการฉีดวัคซีน Covid-19 วัดบางพลีใหญ่กลาง ต.บางพลี อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจ ให้กับเจ้าหน้าที่และบุคลากรทางการแพทย์ ที่เสียสละเพื่อส่วนรวม โดยมี พระครูปลัดสุวัฒนศีลคุณ (พระครูแจ้) เจ้าอาวาสวัดบางพลีใหญ่กลาง และตัวแทนบุคลากรทางการแพทย์ ศูนย์ให้บริการฉีดวัคซีน Covid-19 ร่วมกันรับมอบ


ภาพ/ข่าว  คิว-ข่าวสมุทรปราการ  รายงาน

ปทุมธานี - พิธีเปิด "ครัวพระราชทาน อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย" จังหวัดปทุมธานี

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย ทรงห่วงใยและทรงตระหนักถึงความเดือดร้อนของราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จึงพระราชทานพระราชานุญาตให้สภากาชาดไทย โดยสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ จัดตั้ง "ครัวพระราชทาน อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย" ณ ศูนย์คหกรรมศาสตร์ช่อพวงชมพู คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ในระหว่างวันที่ 7-16 กรกฎาคม 2564

เพื่อประกอบอาหารปรุงสุกใหม่สำหรับนำไปมอบให้แก่ประชาชนจังหวัดปทุมธานี ซึ่งเป็นการจัดตั้งครัวพระราชทานฯ แห่งที่ 13 นับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19โดยในวันนี้ (7 กรกฎาคม 2564) เวลา 10.00 น. นายเตช บุนนาค เลขาธิการสภากาชาดไทย เป็นประธานในพิธีเปิด "ครัวพระราชทาน อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย" พร้อมมอบอาหารพระราชทานให้แก่ผู้แทนจากอำเภอต่าง ฯ จำนวน 3,000 ชุด ณ ศูนย์คหกรรมศาสตร์ช่อพวงชมพู คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

โดยเมนูอาหารพระราชทานในวันนี้ ประกอบด้วย ข้าวสวยไก่กระเทียม น้ำพริก ผักสุด จากนั้น ประธานและคณะได้เดินทางเข้าเยี่ยมผู้สูงอายุและผู้ป่วยยากไร้ จำนวน 3 รายในพื้นที่ตำบลคลองหก อำเภอคลองหลวง พร้อมมอบอาหารพระราชทาน น้ำดื่ม และชุดธารน้ำใจกู้ชีวิตฝ่าวิกฤติโควิด-19 เพื่อน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ยังความปลาบปลื้มแก่ประชาชนที่ได้รับอาหารพระราชทานและต่างสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น

อาหารปรุงสุกใหม่จากครัวพระราชทาน อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย จะแจกจ่ายไปยังประชาชนในพื้นที่ 7 อำเภอ ของจังหวัดปทุมธานี ได้แก่ อำเภอเมืองปทุมธานี อำเภอคลองหลวง อำเภอธัญบุรี อำเภอลำลูกกา อำเภอสามโคก อำเภอลาดหลุมแก้ว และอำเภอหนองเสือ โดยคำนึงถึงการบริหารจัดการครัวที่เน้นความสะอาด ถูกสุขลักษณะ ประกอบหารปรุงสดใหม่ สะอาด โดยเน้นให้ผู้ประกอบอาหารแต่งกายตามมาตรฐาน คือ สวมหมวกคลุมผม สวมผ้ากันเปื้อน สวมหน้ากากอนามัย และสวมถุงมือ รวมถึงการแจกจ่ายอาหารพระราชทานที่มีการจัดระเบียบการรักษาระยะห่างทางสังคม เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

ทั้งนี้ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระลอก 3 ครัวพระราชทาน อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย ได้ผลิตอาหารปรุงสุกพร้อมรับประทาน และมอบให้แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ บุรีรัมย์ นครสวรรค์ และตรัง ไปแล้วรวมจำนวน 145,104 ชุด และยังคงให้ความช่วยเหลือในจังหวัดอื่น ๆ ต่อไปจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย ผู้มีจิตศรัทธาสามารถร่วมบริจาคเงิน 99 บาท ในโครงการ "พลังใจ 99 บาท ก้าวผ่านวิกฤต COVID-19" เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ต้องกักกันตน ผู้สูงวัยที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ และไร้ที่พึ่ง เพื่อลดความเสี่ยง ป้องกัน และเยียวยาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ผ่านการดำเนินงานของสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์สำนักงานบริหารกิจการเหล่ากาชาด สถานีกาชาด เหล่ากาขาดจังหวัด และกิ่งกาชาดอำเภอ ด้วยการสแกน QR CODE ผ่านแอปพลิเคชันธนาคารในระบบ E-DONATION หรือโอนเงินผ่านบัญชีธนาคารกสิกรไทย สาขาสำนักสีลม ชื่อบัญชี "สภากาชาดไทย เพื่อภัยพิบัติ" ประเภทบัญชี "กระแสรายวัน" เลขที่ 001-1-34567-0 หรือธนาคารกรุงไทย สาขาสุรวงศ์ ชื่อบัญชี "สำนักงานจัดหารายได้ สภากาชาดไทย" ประเภทบัญชี "กระแสรายวัน" เลขที่ 023-6-06799-0 สอบถามเพิ่มเติม โทร.1664


ภาพ/ข่าว  ประภาพรรณ ขาวขำ/รายงาน

อำเภอขุนหาญเปิดยุทธการ 238 พิทักษ์นครลำดวน กวาดล้างยาเสพติดตามแนวชายแดนไทยกัมพูชา

เมื่อวันที่ 7 กรกฏาคม 2564  ภายใต้การอำนวยการของนายวัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ/ผอ.ศอ.ปส.จ.ศก. และนายคมป์ สังข์วงษ์ นายอำเภอขุนหาญ ได้สั่งการให้นายจุติเพชร บุญเนตร ปลัดอำเภอ งานป้องกัน เจ้าพนักงาน ป.ป.ส. เลขประจำตัว 620041นำกำลังสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน อ.ขุนหาญ ที่ 6 สนธิกำลังกับตำรวจ สภ.ขุนหาญ และทหาร ฉก.3 ร่วมกันระดมกวาดล้างอาชญากรรมและการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ตามแผน "ยุทธการ 238 พิทักษ์นครลำดวน" ในพื้นที่รับผิดชอบของ ศป.ปส.อ.ขุนหาญ 

โดยมีผลการดำเนินการดังนี้ เวลาประมาณ 00.01 น.ได้ร่วมทำการจับตัว นายเอกวัฒน์ วรรณพัน ชาวตำบลบึงมะลู อ.กันทรลักษ์  และนายฐิติศักดิ์ เขียวทอง ชาวตำบลบึงมะลู อ.กันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ พร้อมด้วยของกลาง เป็น

- ยาเสพติดให้โทษประเภท 1(ยาบ้า) ลักษณะชนิดเม็ดสีส้มกลมแบน จำนวน 1,986 เม็ด
- ยาเสพติดให้โทษประเภท 1(ยาบ้า) ลักษณะชนิดเม็ดสีเขียวกลมแบน จำนวน 14 เม็ด

รวมเป็นยาบ้าทั้งหมดจำนวน 1,200 เม็ด ผลตรวจการปัสสาวะเป็นบวก โดยกล่าวหาว่า ร่วมกันมียาเสพติดให้โทษประเภท 1 (ยาบ้า)ไว้ในครอบครอง เพื่อจำหน่ายโดยผิดกฎหมาย เสพยาเสพติดให้โทษประเภท 1 (ยาบ้า) โดยผิดกฎหมาย มีพฤติกรรม ได้นำยาเสพติด(ยาบ้า) เข้ามาจำหน่ายในเขต อ.ขุนหาญ

สถานที่เกิดเหตุ บริเวณประตูทางออกหน้าโรงเรียนสำโรงเกียรติ หมู่ที่ 9 ต.บักดอง อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ     เจ้าหน้าที่จึงได้จับกุมตัวผู้ต้องหาทั้งสองรายพร้อมด้วยของกลางทั้งหมด ส่งพนักงานสอบสวน สภ.ขุนหาญ เพื่อดำเนินคดีตามกฏหมายต่อไป


ข่าว/ภาพ  ทีมข่าวศรีสะเกษ

ไฟในโรงงานผลิตเม็ดโฟม กิ่งแก้ว 21 ปะทุขึ้นมาอีกครั้งหลังฝนตกลงมา เร่งอัดเคมีโฟมคุมสถานการณ์ไว้ได้

เมื่อเวลา 17.00 น ของวันนี้ วันที่ 6 กรกฎาคม 2564 ไฟได้เกิดปะทุลุกไหม้ขึ้นมาอีกครั้งอย่างรุนแรง เนื่องจากในช่วงดังกล่าวมีฝนตกลงมาและมีลมกรรโชกแรง ทำให้เปลวเพลิงยิ่งลุกโหมอย่างรุนแรง ซึ่งขณะเกิดเหตุยังมีเจ้าหน้าที่ดับเพลิงประจำการณ์อยู่ตรงจัดที่เกิดการปะทุของเหลวไฟ โดยกลุ่มควันสีดำจำนวนมากถูกกระแสพัดมาปกคลุมอยู่บนถนนกิ่งแก้วจนไม่สามารถมองเห็นผิวการจราจร เจ้าหน้าที่ตำรวจและมูลนิธิร่วมกตัญญูร่วมทั้งอาสาสมัครกู้ภัยต้องเข้าประจำการตามจุดรวมพลที่อยู่ทางด้านต้นลม เจ้าหน้าที่ดับเพลิงได้ระดมฉีดอัดน้ำยาเคมีโฟมใช้เวลาประมาณ 30 นาที กลุ่มควันเริ่มเบาบางลง ส่วนสาเหตุน่าจะเกิดจากการที่ฝนตกลงมาแล้วทำให้ชั้นโฟมที่เราฉีดอัดปิดอากาศไว้เกิดเบาบางลงทำให้เกิดไฟปะทุขึ้นมาได้ แต่ขณะนี้สามารถควบคุมสถานการณ์เอาไว้ได้แล้ว

ด้านนายปภินวิช ละอองแก้ว ปภ.จังหวัดสมุทรปราการ ได้กล่าวว่า ขณะนี้ท่านนายอำเภอในฐานะผู้รับผิดชอบในการทำงาน จะเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดของจังหวัด มาการประชุมปรับปรุงแผนการทำงาน เพราะปล่อยไว้ให้เป็นอย่างนี้กันไม่ได้ ก็คงต้องมีการปรับปรุงแนวทางการทำงานใหม่เพื่อที่จะให้ยุติและสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนให้มากที่สุด เพราะเราคลุมสถานการณ์อยู่แบบนี้ โอกาสที่มันจะเกิดขึ้นอีกมันก็ยังมี เราก็เห็นกันอยู่แล้วมันจะดับมันก็ไม่ดับ เพราะฉะนั้นเราถึงได้บอกว่าเราไม่วางใจต้องมีการเฝ้าระวังกันอยู่ตลอด

ซึ่งก็ได้รับแจ้งจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผ่านมาทางท่านนายอำเภอ ว่าจะมีบริษัทจากจังหวัดระยอง ว่าจะมาสนับสนุนการกำจัดสารระเหย ให้ระเหยขึ้นไปในอากาศได้ แต่ก็ยังไม่มั่นใจก็คงต้องรอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพราะการตัดสินใจอะไรต้องผ่านผู้ดูแลในพื้นที่ร่วมไปถึงท่านผู้ว่าราชการจังหวัด ที่จะตัดสินใจว่าจะใช้อย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อกำหนดพื้นที่เป้าหมาย

ในส่วนที่ทำให้เกิดเปลวไฟปะทุขึ้นมานั้นส่วนหนึ่งก็เกิดจากแสงแดดตอนกลางวันที่ลงมาเผาเคมีโฟมที่เราฉีดอัดเอาไว้ให้บางลงและเกิดรอยแตกร้าวจึงทำให้เกิดการปะทุขึ้นมาได้ เพราะว่าความร้อนที่อยู่ด้านล่างมันอาจจะยังคงอยู่ โดยขณะนี้ตอนนี้กำลังเริ่มอ่อนล้าเพราะทำงานกันมาตั้งแต่วันแรก

ปภ.จังหวัด โดยท่านผู้ว่าราชการจังหวัด ก็ได้ให้ระดมสรรพกำลัง อปท.ทุกแห่งในจังหวัดสมุทรปราการ ให้เข้าปฎิบัติหน้าที่เป็นเวรผลัด วันละ 3 ผลัด ในการเฝ้าระวังท้องถิ่นละ 1 คัน ก็เท่ากับว่าผลัดละ 4 คัน ที่จะเข้ามาประจำอยู่ตรงนี้หมุนเวียนกันไปวันละ 8 ชั่วโมง เพื่อไม่ให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดต้องอ่อนล้าเสียกำลัง ซึ่งตรงนี้อาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย


ภาพ/ข่าว  ก๊วก สมุทรปราการ

สมุทรปราการ - “นันทิดา” นายก อบจ. ลงพื้นที่เยี่ยมประชาชนศูนย์พักพิงบางพลี แจงปมดราม่า ไม่ได้หายไปไหน

นางสาวนันทิดา แก้วบัวสาย นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ นำคณะผู้บริหารลงพื้นที่เยี่ยมประชาชนที่ศูนย์พักพิงภายในวัดบางพลีใหญ่กลาง อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ พร้อมด้วย นายสุนทร ปานแสงทอง รองนายก อบจ. ดร.พิริยะ โตสกุลวงศ์ รองนายก อบจ. นายสมลักษณ์ ควรสงวน รองนายก อบจ. นางสาวชนม์ทิดา อัศวเหม และนายรัชชานนท์ ทองอร่าม เลขานุการนายก อบจ.สมุทรปราการ นายชนะ หงวนงามศรี รองประธานสภา อบจ. สมุทรปราการ ร่วมลงพื้นที่เยี่ยมประชาชน

โดยเดินทางมาให้กำลังใจ และช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์เพลิงไหม้โรงงานผลิตพลาสติกภายในซอย กิ่งแก้ว 21  โดยศูนย์พักพิงช่วยเหลือประชาชนวัดบางพลีใหญ่กลาง มีผู้ประสบภัยเข้ามาพักอาศัยกว่า 300 คน แรงระเบิดส่งผลกระทบทำให้บ้านเรือนประชาชน รถยนต์ โรงงาน และอาคารโดยรอบที่อยู่ในรัศมีได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก 

อีกทั้งยังพบว่ามีสารเคมีและวัตถุดิบในการผลิตถูกเพลิงเผาไหม้กลายเป็นกลุ่มควันฟุ้งกระจายไปทั่วบริเวณ จนทางจังหวัดต้องประกาศเป็นพื้นที่เสี่ยงภัย และทำการอพยพประชาชนออกห่างในรัศมี 5 กิโลเมตร

สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถือเป็นอีกหนึ่งกำลังสำรองหลัก ที่คอยทำหน้าที่ให้การสนับสนุนการปฏิบัติงานของทางจังหวัดสมุทรปราการ ให้บรรลุเป้าหมาย เพื่อให้สถานการณ์คลี่คลายและกลับคืนสู่ภาวะปกติ  โดยเฉพาะองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ ที่เป็นหน่วยงานแรก ๆ ที่ส่งทีมเจ้าหน้าที่พร้อมอุปกรณ์เข้าไปร่วมปฏิบัติการดับเพลิงตั้งแต่เกิดเหตุและยืนหยัดช่วยเหลืออยู่ต่อไปจนกว่าภารกิจจะสำเร็จลุล่วง อบจ.สมุทรปราการ สนับสนุนภารกิจร่วมกับทางจังหวัด ได้แก่ รถฉีดน้ำยาโฟม จำนวน 4 คัน ,น้ำยาโฟม จำนวน 100 ถัง ,รถดับเพลิง จำนวน 2 คัน ,รถพ่นละอองน้ำจำนวน 9 คัน ,บอลลูนไลน์ จำนวน 4 เครื่อง (ประจำตามศูนย์อพยพ) และรถสุขา 4 คัน (ประจำตามศูนย์อพยพ)

นอกจากนี้ยังได้ประสานงานไปยัง นายชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม ประธานหอการค้าจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อขอการสนับสนุนทางด้านอาหาร น้ำดื่ม และสิ่งของเครื่องใช้จำเป็นต่าง ๆ ในการยังชีพให้แก่ผู้ประสบภัย ตามศูนย์อพยพชั่วคราว ซึ่งภารกิจครั้งนี้จะเห็นได้ว่า บทบาทและกรอบภารกิจในการกู้วิกฤติไฟไหม้โรงงานผลิตย่านถนนกิ่งแก้วครั้งนี้ ทุกฝ่ายล้วนให้ความร่วมมือ สนับสนุนการดำเนินการของทางจังหวัดสมุทรปราการ ให้บรรลุเป้าหมายโดยพร้อมเพรียงกัน


ภาพ/ข่าว  คิว-ข่าวสมุทรปราการ รายงาน

นราธิวาส - ผู้บังคับหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 41 ร่วมนายก อบต.สุไหงปาดี ลงพื้นทีเยียมเยืยนให้กำลังใจชาวบ้าน

ที่ทางจังหวัดนราธิวาสมีคำสั่งให้ปิดหมู่บ้านและอยู่ระหว่างรอดูอาการ 14 วันจากสถานณ์โควิคระบาด พันเอกภูมิ โพพี ผู้บังคับหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 41 สำนักงานพัฒนาภาค 4 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนาร่วมนายเพียร มะโนภักดิ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสุไหงปาดี ลงพื้นที่จุดคัดกรอง หน้าโรงเรียนราชภักดี ม.7 บ้านปิเหล็ง เขตบ้านโคกสะตอ ต.สุไหงปาดี อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 6 พษฎาคม 2564 เวลา 10.00 น เพื่อพบปะให้กำลังใจ แก่เจ้าหน้าที่ และมอบถุงยังชีพจำนวน 100 ชุด น้ำดื่มสะอาด 360 ขวดให้กับครอบครัวบ้านโคกสะตอที่ถูกปิดหมู่บ้าน ตามประกาศจังหวัดนราธิวาส ตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2564  เนื่องจากตรวจพบเป็นพื้นที่มีการแพร่ระบาดของ COVID 19 โดยมีนายอันนูวา กาเซ็ง ผู้ใหญบ้าน เป็นผู้รับมอบพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร ฝ่ายปกครอง อสม.ชรบ.ในพื้นที่ 

สำหรับบ้านโคกสะตอ มีประชากร 50 ครัวเรือน จำนวน 437 คน ตรวจพบผู้ติดเชื้อโควิด -19 ครั้งแรกเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2564 จำนวน 10 คน  จำนวนผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 10 คน   


ภาพ/ข่าว  แวดาโอ๊ะ หะไร จ.นราธิวาส

เชียงราย - ศบภ.มทบ.37 ซักซ้อมการตรวจความพร้อมกองร้อยช่วยเหลือประชาชน เพื่อเตรียมกำลัง และยุทโธปกรณ์ ให้พร้อมรองรับสถานการณ์ภัยพิบัติ ในการช่วยเหลือประชาชน

เมื่อวันที่ 5 ก.ค. 64, 1400 พล.ต. ศุภฤกษ์ สถาพรผล ผอ.ศบภ.มทบ.37 มอบหมายให้ พ.อ. วีรพงศ์ ไชยวัง หน.ฝยก.ศบภ.มทบ.37 นำกำลังพลดำเนินการซักซ้อมการตรวจความพร้อมกองร้อยช่วยเหลือประชาชน เพื่อเตรียมกำลัง และยุทโธปกรณ์ ให้พร้อมรองรับสถานการณ์ภัยพิบัติ ในการช่วยเหลือประชาชน ให้ได้อย่างทันท่วงที และมีประสิทธิภาพ รวมถึงเกิดความเข้าใจและแนวทางการปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ณ สนามฝึก หน้า ร้อย.มทบ.37 ค่ายเม็งรายมหาราช อ.เมือง จว.เชียงราย มีกำลังพล พร้อมเครื่องมือพิเศษ เข้ารับการซักซ้อมการตรวจความพร้อมฯ จำนวน 118 นาย และยานพาหนะ จำนวน 15 คัน การปฏิบัติเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

สมุทรปราการ - นิพนธ์ ขอบคุณ ทุกฝ่ายปฏิบัติการดับเพลิงโรงงานกิ่งแก้ว จนเสร็จสิ้น แสดงความเสียใจ จนท. เสียชีวิต 1 ราย มีผู้บาดเจ็บกว่า 40 ราย ยืนยัน รัฐบาลพร้อมดูแลเยียวยาความเสียหาย

เมื่อเวลา 14.00 น. เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2564  นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้เดินทางลงพื้นที่เหตุโรงงานไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้ว (บริษัท หมิงตี้ เคมีคอล) จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อติดตามตรวจความเสียหาย และให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ว่า ความคืบหน้าเหตุเพลิงไหม้โรงงานสารเคมี บริษัทหมิงตี้ เคมิคอล จำกัด ซอยกิ่งแก้ว จังหวัดสมุทรปราการ ขณะนี้ได้มีการจัดตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์  ที่มูลนิธิร่วมกตัญญู สมุทรปราการ ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ เป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ ผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว มีบ้านเรือนประชาชนเสียหาย 100 หลัง ผู้บาดเจ็บ 40 ราย ผู้เสียชีวิต 1 รายเป็นเจ้าหน้าที่ ในส่วนเรื่องความเสียหายของโรงงานหรือโครงสร้างอาคาร ต้องรอทางจังหวัดสมุทรปราการประชุมสรุปผลอีกครั้ง ขณะนี้เพลิงสงบแล้ว แต่เจ้าหน้าที่ยังคงเฝ้าระวังการปะทุของไฟอย่างต่อเนื่อง

นายนิพนธ์ กล่าวว่า สำหรับการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยในระยะเร่งด่วน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี ทรงห่วงใยราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภัย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงครัวพระราชทาน เพื่อดูแลประชาชนในพื้นที่ ส่วนเรื่องการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ กระทรวงมหาดไทย มีหลักเกณฑ์การช่วยเหลืออยู่แล้ว เมื่อจังหวัดได้มีการประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ กรณีฉุกเฉิน จังหวัดก็สามารถใช้จ่ายเงินทดรองราชการในอำนาจผู้ว่าราชการจังหวัด วงเงิน 20 ล้านบาท ตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2562 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้าของผู้ประสบภัย หากงบไม่พอสามารถขยายต่อได้ครั้งละ 20 ล้านบาท

“การเสียชีวิตของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน เป็นเรื่องที่เราไม่อยากให้เกิด ต้องเสียใจกับครอบครัวผู้สูญเสียด้วย ทางภาครัฐก็มีหลักเกณฑ์ในการช่วยเหลือด้วยและต้องขอบคุณเจ้าหน้าที่ทุกคนที่มีส่วนร่วมในปฏิบัติการดับเพลิงครั้งนี้ ตั้งแต่อาสาสมัคร พนักงานดับเพลิง เจ้าหน้าที่กู้ภัย ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย “ นายนิพนธ์กล่าว

 

จากนั้นได้เดินทางไปยังจุดอพยพประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุเพลิงไหม้ ณ วัดบางพลีใหญ่ใน ซึ่งมีประชาชนพักอาศัยอยู่กว่า 300 คน โดยได้ร่วมมอบของบรรเทาทุกข์ร่วมกับรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ โดยนำน้ำดื่ม เจลแอลกอฮอล์ และหน้ากากอนามัย มอบความช่วยเหลือเบื้องต้นไปสมทบช่วยประชาชน เพื่อมอบให้กับหน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่นทำหน้าที่บริหารจัดการกระจายตามจุดต่างๆตามความเหมาะสมต่อไป


ภาพ/ข่าว  นายปรีชา สถิตย์เรืองศักดิ์ / หาดใหญ่ จ.สงขลา

จันทบุรี - ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รมช.สาธารณสุข ลงพื้นที่จันทบุรีตรวจเยี่ยม โครงการฉีดวัคซีนโควิด-19 พื้นที่เศรษฐกิจชายแดน

 

ที่ตลาดชายแดนบ้านแหลม ตำบลเทพนิมิต อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมคณะ ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการฉีดวัคซีนโควิด-19 พื้นที่เศรษฐกิจตามแนวชายแดนโดยมี นายอลงกรณ์ แอคะรัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี นายแพทย์ธนิศ เสริมแก้ว สาธารณสุขนิเทศก์ เขตสุขภาพที่ 6 นายแพทย์อภิรักษ์ พิศุทธ์อาภรณ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดจันทบุรี นายแพทย์ธีรพงศ์ ตุนาค ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระปกเกล้า ดร.รัฐวิทย์ ตั้งเกียรติพชร นายกสมาคมการค้าและการท่องเที่ยวชายแดนไทย กัมพูชา จันทบุรี ให้การต้อนรับ

เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 ระลอกใหม่ จังหวัดจันทบุรี มีผู้ป่วย ทั้งสิ้น 1,313 คน ซึ่งกระจายทุกอำเภอ รวมผู้ติดเชื้อคนไทยที่เดินทางกลับมาจากประเทศกัมพูชาจำนวน 231 คน ซึ่งขณะนี้กลับมาแล้วทั้งสิ้น 496 คน และมีแนวโน้มที่จะเดินทางกลับมาเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นจังหวัดจันทบุรี ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่เขตชายแดนติดต่อประเทศกัมพูชา 2 อำเภอ คือ อำเภอโป่งน้ำร้อน และอำเภอสอยดาว มีด่านชายแดน 5 ด่านแบ่งเป็นด่านถาวร 2 ด่าน และด่านชั่วคราว 3 ด่าน มีประชากรอาศัยในเขตพื้นที่ชายแดน ทั้งคนไทยและแรงงานต่างด้าว จำนวนมาก จึงต้องมีการเตรียมความพร้อม เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 ในพื้นที่ชายแดน และรองรับการเดินทางของคนไทย จากกัมพูชากลับมาอย่างต่อเนื่อง

จังหวัดจันทบุรี ได้ดำเนินการตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยงผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในพื้นที่ชายแดน ตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม 2564 จนถึงปัจจุบัน จำนวน 5,888 คน พบติดเชื้อเป็นคนไทย 30 คน คนกัมพูชา 34 คน และครั้งนี้ได้จัดทำโครงการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด -19 ให้แก่ประชาชนคนไทย และแรงงานต่างด้าว ที่อาศัยในพื้นที่ชายแดน ของอำเภอโป่งน้ำร้อน และอำเภอสอยดาว จำนวนทั้งสิ้น 1,000 คน ซึ่งเป็นวัคซีน ตามนโยบายควบคุมการระบาดในพื้นที่ชายแดน ของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยตรง


ภาพ/ข่าว  เอกลักษณ์ อานาภรณ์  ผู้สื่อข่าวจ.จันทบุรี


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top