Thursday, 28 March 2024
LITE

‘ลำไย ไหทองคำ’ ประกาศรับสมัคร ‘แดนเซอร์ชายแท้’ ชาวเน็ตตาลุกวาว!! หลังการันตีรายได้สูงสุดเฉียด ‘แสน’

(21 ก.พ. 67) ทำเอาหลายๆ คนถึงกับตาโต เมื่อได้เห็นประกาศการรับสมัครแดนเซอร์ชายแท้ของ ‘ลำไย ไหทองคำ’ พร้อมรายได้ที่จะได้รับนั้นค่อนข้างสูงมาก ขนาดนักร้องรุ่นใหญ่อย่าง ‘มอส ปฏิภาณ’ ยังสนใจไปขอสมัคร โดยสาวลำไยได้โพสต์ประกาศรับสมัครว่า…  

"ลำไย ไหทองคำ รับสมัคร DANCER ชายแท้ 2 คน

>> คุณสมบัติ
- ชายแท้ อายุระหว่าง 20-35 ปี
- สุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัวที่เป็นอุปสรรคต่อการเต้น
- ไลน์เต้นดี ชัดเจน แข็งแรง เต้นได้หลายแนว
- นิสัยดี มีวินัย ขยัน อดทน สู้งาน สามารถเดินทางไปงานคอนเสิร์ตได้ทั้งในและต่างประเทศ โดยไม่ติดภารกิจใดๆ
- สามารถอุ้มหรือยกแดนเซอร์หญิงได้ (จะพิจารณาเป็นพิเศษ)

>> วิธีการสมัคร
- แอดไลน์ สแกน QR Code ด้านล่าง
- ส่งรูปถ่ายหน้าตรง (กล้องสด) และคลิปสเต็ปการเต้นของตนเองมาที่ไลน์ เพื่อทำการ
คัดเลือก
- ผู้ที่ผ่านการคัดเลือก ทางค่ายจะนัดมา Audition รอบสุดท้ายเพื่อทำการตัดสิน

(การันตีรายได้ 6x,xXX - 1xX,xXX บาท/เดือน)" 

ทำเอาเหล่าบรรดาแฟนคลับตาลุกวาวกันเป็นแถว และต่างเข้ามาคอมเมนต์ขอสมัครอย่างล้นหลาม

21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455 ‘รัชกาลที่ 6’ ทรงประกาศใช้ ‘พุทธศักราช’ (พ.ศ.) เป็นศักราชประจำชาติ แทน ‘รัตนโกสินทร์ศก’ (ร.ศ.)

21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455 รัชกาลที่ 6 ประกาศยกเลิกใช้รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) หลังใช้มาได้เพียง 24 ปี (พ.ศ. 2432-2455)

รัตนโกสินทร์ศก หรือ รัตนโกสินทร์ศักราช (ร.ศ.) ถูกกำหนดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) โดยเริ่มนับจากปีที่มีการสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวง คือ พ.ศ. 2325 นับเป็นรัตนโกสินทร์ศก 1 (ร.ศ. 1) แต่ในทางพระพุทธศาสนา ยังคงใช้พุทธศักราช (พ.ศ.) ตามธรรมเนียมที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา

ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ทรงมีพระราชดำริว่าประเทศไทยเป็นเมืองพุทธศาสนา และเพื่อให้สอดคล้องกับประเทศต่างๆ ที่นับถือพุทธศาสนา จึงได้มีการประกาศเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทร์ศก 131 (พ.ศ. 2455) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ ‘พระพุทธศักราช’ ในราชการทั่วไป โดยถือเอาวันขึ้นปีใหม่ วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2456 เป็นวันเปลี่ยนมาใช้พุทธศักราชตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ซึ่งก่อนหน้าที่จะใช้พุทธศักราชและรัตนโกสินทร์ศก ประเทศไทยเคยใช้ ‘มหาศักราช’ (ม.ศ.) และ ‘จุลศักราช’ (จ.ศ.) มาก่อน

นอกจากนี้ ประเทศไทย กัมพูชา และสปป.ลาว เริ่มนับ พ.ศ. 1 เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้วครบ 1 ปี ส่วนที่ศรีลังกาและเมียนมา เริ่มนับปีพุทธศักราชตั้งแต่ปีที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน คือเมื่อ 544 ปีก่อนคริสตศักราช พุทธศักราชของศรีลังกาและเมียนมาจึงเร็วกว่าไทย 1 ปี

‘โจอี้ ภูวศิษฐ์’ ยินดี!! ให้แฟนคลับหน้าเวทีถ่ายรูป ‘ฟรี’ ย้ำ!! ไม่ต้องแนบเงิน เพราะทุกคนเสียค่าบัตรค่าโต๊ะมาดูแล้ว

เมื่อไม่นานมานี้ เพจ ‘Joey Pws’ ของ โจอี้ ภูวศิษฐ์ อนันต์พรสิริ นักร้องหนุ่มชื่อดัง ได้ออกมาโพสต์ถึงแฟนคลับหน้าเวที โดยเจ้าตัวยินดีให้ถ่ายรูปได้ฟรีโดยไม่ต้องให้เงิน

‘โจอี้’ ระบุข้อความว่า "ฝากแฟนๆ นะครับ ถ้าจะถ่ายรูปหน้าเวทีกับผมถ้าไม่ได้เล่นกีตาร์หรือพิณ ให้เปิดกล้องไว้แล้วยื่นมาได้เลยครับ ไม่ต้องให้เงินแลกถ่ายรูปเลยนะครับ ผมเต็มใจถ่ายให้ทุกคนแบบไม่รับตังค์ แค่ทุกคนเสียค่าบัตรค่าโต๊ะมาดูผม ผมก็ดีใจและเป็นเกียรติมากๆ แล้วครับ รักทุกคนนะครับ"

อย่างไรก็ตาม มีแฟนคลับแห่คอมเมนต์ชื่นชมศิลปินกันเป็นจำนวนมาก เช่น ศิลปินน่ารักที่สุด, นี่แหละที่ผมเป็นส่วนหนึ่งของแฟนคลับ รักและจะเป็นแฟนคลับตลอดไปครับ, ศิลปินที่ไม่คิดว่าเป็นศิลปินต้องแบบนี้ครับ, น่ารักกับแฟนเพลงที่สุด, คือน่ารักแท้ อยากไปดูคอนเสิร์ตโจอี้ เป็นต้น

20 กุมภาพันธ์ ของทุกปี กำหนดเป็น ‘วันทนายความ’ หนึ่งในสถาบันด้านกระบวนการยุติธรรม

วันที่ 20 กุมภาพันธ์ของทุกปี ผู้ประกอบวิชาชีพทนายความทั่วประเทศถือเป็นวันทนายความ

วันนี้ในอดีต เมื่อปี พ.ศ. 2500 เป็นวันที่ทนายความในขณะนั้นมีแนวความคิดริเริ่มที่ต้องการให้วิชาชีพทนายความ ควรจะมีสถาบันที่เป็นตัวแทนของวิชาชีพทนายความ และเป็นอิสระควบคุมดูแลกันเอง จึงได้ประชุมกันก่อตั้งสมาคมทนายความแห่งประเทศไทยขึ้น โดยจดทะเบียนก่อตั้งเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500

ต่อมาสมาคมทนายความแห่งประเทศไทยได้ร่วมกันใช้ความเพียรพยายามเรียกร้องและผลักดันร่างกฎหมาย พระราชบัญญัติทนายความเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2528 จึงประสบผลสำเร็จออกประกาศใช้เป็นกฎหมาย โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธย ในพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 เมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2528 และมีผลบังคับใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้

ในวันทนายความของทุกปีสมาชิกสภาทนายความทั่วประเทศจึงได้ร่วมกันจัดกิจกรรมเพื่อแสดงพลังสามัคคี และแสดงความพร้อมในการทำหน้าที่ช่วยเหลือประชาชนผู้ยากไร้และไม่ได้รับความเป็นธรรม ตลอดจนหน้าที่เผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายให้แก่ประชาชน ตามหน้าที่ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติทนายความ

19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 ‘ไทย-ลาว’ หยุดยิงใน ‘สมรภูมิร่มเกล้า’ ความขัดแย้งจากข้อพิพาทเส้นแบ่งดินแดน

วันนี้เมื่อ 36 ปีก่อน ‘ไทย-ลาว’ ประกาศหยุดยิงใน ‘สมรภูมิร่มเกล้า’ เหตุการณ์ความขัดแย้งที่ผ่านมาแล้วกว่าสามทศวรรษ

ความขัดแย้งระหว่างไทยและลาวบริเวณชายแดน อันเนื่องมาจากข้อพิพาทในการกำหนดเส้นแบ่งดินแดนทำให้เกิดการปะทะกันระหว่างทหารพรานไทยและลาวหลายครั้งตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม ปี 2530 เมื่อทหารลาวได้เข้าทำลายรถแทรกเตอร์ของเอกชนไทย ทำให้คนงานเสียชีวิตหนึ่งราย ในพื้นที่ซึ่งลาวอ้างว่าอยู่ในเขตตาแสงของแขวงไชยะบุรี พร้อมระบุว่าบ้านร่มเกล้าอยู่เข้าลึกไปในเขตลาว 2 กิโลเมตร

ด้านกองทัพภาคที่ 3 ได้ส่งกองกำลังหลักเข้าผลักดันกองกำลังลาวที่เข้ามายึดพื้นที่ยุทธศาสตร์หลายแห่ง โดยวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ระบุว่า ยุทธการบ้านร่มเกล้า ได้เริ่มขึ้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 เมื่อ พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ ผบ.ทบ. (ในขณะนั้น) ประกาศจะผลักดันกองกำลังต่างชาติที่เข้ามายึดครองพื้นที่ในเขตไทยทุกรูปแบบด้วยการใช้กำลังทหาร จึงทำให้เกิดการสู้รบอย่างดุเดือด

ทหารไทยได้รุกตอบโต้ยึดที่มั่นต่างๆ ที่ลาวครองไว้กลับมาได้เป็นส่วนมาก รวมทั้งได้ทำการโอบล้อมบริเวณตีนเนิน 1428 ไว้ได้ แต่ไม่สามารถบุกขึ้นไปถึงยอดเนินซึ่งทหารลาวใช้เป็นฐานต่อต้านได้ ซึ่งไทยต้องเสียเครื่องบินรบแบบเอฟ-5 หนึ่งลำ และโอวี-10 อีกหนึ่งลำพร้อมกับชีวิตทหารอีกนับร้อยนายในการศึกครั้งนี้

หลังการสู้รบดำเนินไปอย่างดุเดือด ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 นายไกสอน พมวิหาร นายกรัฐมนตรีลาวในขณะนั้น ได้ส่งสาส์นถึง พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีไทยในขณะนั้น เสนอให้หยุดยิง พร้อมตั้งคณะกรรมการพิสูจน์เขตแดน และติดต่อสหประชาชาติให้ช่วยเป็นคนกลางไกล่เกลี่ย ซึ่งพล.อ.เปรมตอบรับ นำไปสู่การเจรจาและได้ข้อตกลงโดยทั้งสองฝ่ายจะหยุดยิงในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 เวลา 08.00 น. และถอยจากแนวปะทะฝ่ายละ 3 กิโลเมตร

18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473 ‘ไคลด์ ทอมบอห์’ ค้นพบ ‘ดาวพลูโต’ อดีตดาวเคราะห์ดวงที่ 9 ของระบบสุริยะ

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473 เป็นวันค้นพบ ‘ดาวพลูโต’ อดีตดาวเคราะห์อันดับที่ 9 ของระบบสุริยะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ซึ่งถูกค้นพบโดย ‘ไคลด์ ทอมบอห์’

ดาวพลูโต (Pluto) เป็นอดีตดาวเคราะห์อันดับที่ 9 ในระบบสุริยะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ เป็นวัตถุแถบไคเปอร์ชิ้นแรกที่ถูกค้นพบ มีขนาดใหญ่และมีมวลมากที่สุดเป็นอันดับสองในบรรดาดาวเคราะห์แคระที่รู้จักในระบบสุริยะ และยังเป็นวัตถุที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 9 และมวลมากเป็นอันดับที่ 10 ในระบบสุริยะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์

ดาวพลูโตมีลักษณะเหมือนกับวัตถุอื่น ๆ ในบริเวณเดียวกัน ประกอบด้วยหินและน้ำแข็งเป็นส่วนใหญ่ มีมวลและปริมาตรประมาณ 1 ใน 6 และ 1 ใน 3 ของดวงจันทร์ตามลำดับ ซึ่งวงโคจรของดาวพลูโตมีความเยื้องศูนย์กลางมาก อยู่ที่ 4.4-7.4 พันล้านกิโลเมตรจากดวงอาทิตย์ ดาวพลูโตมีระยะห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 32.6 หน่วยดาราศาสตร์

ดาวพลูโตมีดาวบริวารที่ 5 ดวง ได้แก่ แครอน, สติกซ์, นิกซ์, เคอร์เบอรอส และไฮดรา ซึ่งในบางครั้งดาวพลูโตและแครอนถูกจัดเป็นระบบดาวคู่ เนื่องจากจุดศูนย์กลางมวลของวงโคจรไม่ได้อยู่ในดาวดวงใดดวงหนึ่งเฉพาะ ทำให้ไอเอยูยังไม่มีการให้คำนิยามของระบบดาวเคราะห์แคระคู่อย่างเป็นทางการ และแครอนกลายเป็นดาวบริวารของดาวพลูโตอย่างเป็นทางการในเดือนกันยายน พ.ศ. 2559

ชื่อของดาวพลูโตถูกตั้งขึ้นตามชื่อของเทพเจ้าแห่งยมโลก ซึ่งถูกเสนอโดยนักเรียนหญิงวัย 11 ปีในออกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ และถูกตั้งชื่ออย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2473 โดยสมาชิกทุกคนได้ลงคะแนนให้ชื่อพลูโตทั้งหมดและได้ถูกประกาศในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2473

อย่างไรก็ตามหลังจากที่ชื่อดาวพลูโตเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ทำให้วอลต์ ดิสนีย์ได้รับแรงบันดาลใจ โดยเขาได้เสนอชื่อเพื่อนสุนัขของมิกกี้ เมาส์ว่า พลูโต

ทั้งนี้ ต่อมาในปี พ.ศ. 2549 สหพันธ์ดาราศาสตร์สากลได้ประกาศลดขั้นของดาวพลูโตให้เป็นเพียงแค่ดาวเคราะห์แคระ จึงทำให้ระบบสุริยะเหลือดาวเคราะห์เพียง 8 ดวงเท่านั้น

17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 สิ้น ‘พลอากาศตรี อาวุธ เงินชูกลิ่น’ ศิลปินแห่งชาติ ผู้อยู่เบื้องหลังสร้างพระเมรุ ‘สมเด็จย่า-พระพี่นาง-เจ้าฟ้าเพชรรัตนฯ’

วันนี้เมื่อ 11 ปีที่แล้ว 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 เวลาประมาณ 05.40 น. พลอากาศตรี อาวุธ เงินชูกลิ่น ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ (ประยุกต์ศิลป์) สาขาย่อย สถาปัตยกรรม ประจำปี 2541 ในวัย 71 ปี ได้เสียชีวิตลงอย่างสงบด้วยโรคมะเร็งตับ หลังจากที่ก่อนหน้านี้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลศิริราชอย่างต่อเนื่อง และญาติได้นำศพไปประกอบพิธีทางศาสนาที่ ศาลากลางน้ำ วัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร พร้อมทั้งขอพระราชทานน้ำหลวงอาบศพในเย็นวันนี้ เวลา 15.00 น. 

ทั้งนี้ พลอากาศตรี อาวุธ เงินชูกลิ่น เกิดเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ.2485 ที่กรุงเทพมหานคร จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่โรงเรียนวัดราชโอรส เมื่อ พ.ศ. 2499 ต่อมาได้เข้าศึกษาในโรงเรียนช่างศิลป และศึกษาสถาปัตยกรรมไทยจนได้รับปริญญาศิลปบัณฑิต สาขาสถาปัตยกรรมไทย จากมหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อ พ.ศ. 2507 ซึ่งในสมัยนั้นยังมิได้สถาปนาเป็นคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ดังเช่นปัจจุบัน

เมื่อจบการศึกษาและทำงานเป็นผู้ออกแบบเล็กๆ น้อยๆ กับสถาปนิกรุ่นพี่มาระยะหนึ่ง เห็นว่าไม่ค่อยมั่นคงจึงสมัครเข้ารับราชการเป็นสถาปนิกประจำกองทัพอากาศอยู่นาน 9 ปี จนติดยศเรืออากาศเอก โดยพลอากาศตรี อาวุธ ได้เคยเล่าเกร็ดชีวิตทหารให้ฟัง ในวันงานเลี้ยงเชิดชูเกียรติ โดยสภาสถาปนิกครั้งหนึ่งว่า

เป็นโชคร้ายหรือโชคดีก็ไม่ทราบ ที่ในเช้าวันหนึ่ง เกิดมองไม่เห็นทหารชั้นนายพลผู้บังคับบัญชาที่เดินสวนมา จึงไม่ได้ยืนตรงทำความเคารพ เลยถูกสั่งขังเสียหลายวัน ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้ได้โอนมาเป็นนายช่างศิลป์ สังกัดกองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร เมื่อปี พ.ศ. 2518 

เมื่อถึงปี พ.ศ. 2521 ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายบูรณปฏิสังขรณ์ ในกองสถาปัตยกรรมไทย ในกรมศิลปากรนั้นเอง และได้เจริญเติบโตเรื่อยมา จากที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านบูรณปฏิสังขรณ์ ระดับ 9 จนเป็นอธิบดีกรมศิลปากร ในปี พ.ศ. 2544 และมาดำรงตำแหน่ง ผู้เชี่ยวชาญด้านออกแบบสถาปัตยกรรมไทย และบูรณปฏิสังขรณ์สถาปนิกระดับ 10 เมื่อ พ.ศ. 2545 และเกษียณอายุราชการในปีนั้น

พลอากาศตรี อาวุธ มีผลงานมากมาย โดยเฉพาะผลงานสำคัญ ด้านการอนุรักษ์โบราณสถานของชาติ และออกแบบงานด้านสถาปัตยกรรมไทย เช่น

งานบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระปฐมเจดีย์, งานบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และพระบรมมหาราชวัง รวมทั้งได้เป็นผู้รับผิดชอบในการบูรณปฏิสังขรณ์ โบราณสถานแห่งชาติที่สำคัญอีกหลายแห่ง

ส่วนงานออกแบบด้านสถาปัตยกรรม เช่น ออกแบบ และควบคุมการก่อสร้าง พระที่นั่งสันติชัยปราการ ในสวนสันติชัยปราการ, พระอุโบสถ วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก ฯลฯ 

และงานออกแบบด้านสถาปัตยกรรมที่ถือเป็นภารกิจสำคัญที่ทุกคนจดจำคือ เป็นผู้ออกแบบ และควบคุมงานก่อสร้างพระเมรุมาศ ทรงปราสาทจตุรมุขยอดเกี้ยว และอาคารรายรอบที่ใช้ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี 

เป็นหัวหน้าคณะทำงานออกแบบ และควบคุมการก่อสร้างพระเมรุ ในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ 

และเป็นหัวหน้าผู้ออกแบบพระเมรุ ในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี 

ในด้านการเผยแพร่วิชาความรู้ ด้านสถาปัตยกรรมไทย และการอนุรักษ์ พลอากาศตรี อาวุธ ได้เป็นอาจารย์พิเศษ ที่เป็นกำลังสำคัญ ที่ภาควิชาสถาปัตยกรรมไทย ให้คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ทั้งที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยศิลปากร ที่จบการศึกษามา นอกจากนี้ ยังได้เป็นผู้บรรยาย และเป็นวิทยากรในกิจกรรมทางวิชาการมากมาย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับ พ.ศ. 2550 ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว.) และ พ.ศ. 2551  มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)

เมื่อ 'อว.' ให้ทุน 'นศ.ต่างชาติ' เรียนต่อ 'ตรี-โท-เอก' ในรั้ว 'ม.ไทย' สะท้อน!! Soft Power ด้านการศึกษาที่พบได้บ่อยจาก 'สยาม'

เมื่อไม่นานมานี้ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยไทย เชิญชวนนักศึกษาต่างชาติสมัครรับทุนในปีการศึกษา 2567 โดยผู้สมัครที่สนใจสามารถส่งใบสมัครโดยตรงกับสถาบันเจ้าภาพภายในระยะเวลาการสมัครของแต่ละโปรแกรม 

ทั้งนี้ ดาวน์โหลดข้อมูลเกี่ยวกับโครงการทุนการศึกษา มหาวิทยาลัยเจ้าภาพ และขั้นตอนการสมัครได้ที่: https://mhesi.e-office.cloud/d/ffeb26cc

ทั้งนี้ ‘การมอบทุนการศึกษา’ ถือเป็นเรื่องปกติและเห็นได้บ่อยครั้งในสังคมไทย เพื่อมอบโอกาสทางการศึกษาและเป็นการส่งเสริม สนับสนุน และให้กำลังใจแก่เยาวชนที่มุ่งมั่น ใฝ่เรียนรู้ การมอบทุนให้แก่นักศึกษาต่างชาติ ก็ถือเป็นการสะท้อน Soft Power ของไทย สื่อถึงการมอบความปรารถนาดี ความเมตตา และโอบอ้อมอารี ที่เป็นนิสัยพื้นฐานของคนไทย

ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล ประจำวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

📌รางวัลที่ 1: 941395

📌รางวัลเลขหน้า 3 ตัว: 056 , 330

📌รางวัลเลขท้าย 3 ตัว: 587 , 375

📌รางวัลเลขท้าย 2 ตัว: 43

📌รางวัลข้างเคียงรางวัลที่ 1: 941394 , 941396

📌รางวัลที่ 2 : 211823 , 373681 , 796338 ,113367 , 496441

📌รางวัลที่ 3 : 936126 , 460139 , 134889 , 552114 , 042623 , 843088 , 278597 , 443451

487983 , 381382

📌รางวัลที่ 4: 385067 , 752257 , 500392 , 374357 , 914215 , 539332 , 612090 , 756050 290149 , 763978 , 301175 , 727557 , 644916 , 075236 , 310055 , 363420 , 981752 301276 , 836608 , 044458 , 832234 , 637827 , 889886 , 633434 , 125127 , 119756 500829 , 438338 , 366476 , 038359 , 777366 , 563369 , 084081 , 389775 , 188306 039220 , 660302 , 426909 , 181834 , 815554 , 549309 , 808757 , 555748 , 947702 911101 , 802581 , 456575 , 656500 , 226954 , 889033

📌รางวัลที่ 5: 035736 , 019328 , 818287 , 193192 , 014671 , 095947 , 233423 , 711151 446339 , 181917 , 306001 , 657274 , 996047 , 277050 , 795971 , 143793 , 611073 520537 , 374810 , 574692 , 189393 , 584252 , 922417 , 543667 , 152190 , 584863 700313 , 005617 , 146868 , 387206 , 188188 , 255988 , 175113 ,  361557 , 850980 133453 , 041950 , 241143 , 406936 , 517656 , 736154 , 510381 , 594938 , 243949 663612 , 456150 , 412996 , 300048 , 113391 , 770452 , 278567 , 471303 , 625515 612374 , 164740 , 960902 , 904426 , 461672 , 479387 , 703034 , 503711 , 995054 937938 , 033577 , 302352 , 533774 , 254855 , 647570 , 002860 , 162860 , 179639 965175 , 332488 , 884007 , 219226 , 748606 , 248303 , 604482 , 008370 , 245048 770386 , 121121 , 986008 , 983366 , 571133 , 425681 , 913543 , 753804 , 416655 879546 , 405171 , 866426 , 758573 , 925375 , 655079 , 332689 , 593124 , 961609 216166 , 095789

16 กุมภาพันธ์ ของทุกปี ‘วันสมเด็จพระนารายณ์มหาราช’ กษัตริย์ผู้มีความรอบรู้-ปราดเปรื่อง

วันนี้เป็นวันสำคัญทางประวัติศาสตร์ โดยถูกยกให้เป็น ‘วันสมเด็จพระนารายณ์มหาราช’ เนื่องจากเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อวันจันทร์ เดือนยี่ ปี พ.ศ. 2175 ซึ่งตรงกับวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2175 นั่นเอง

ทั้งนี้ สมเด็จพระนารายณ์ หรืออีกพระนามหนึ่งว่า สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3 เป็นพระมหากษัตริย์ในอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา โดยทรงขึ้นครองราชย์เมื่อแรม 2 ค่ำ เดือน 12 พ.ศ. 2199 ในขณะที่มีพระชนมายุ 25 พรรษา

ตลอดรัชสมัยของพระองค์ ทรงมีพระราชกรณียกิจที่ส่งเสริมให้กรุงศรีอยุธยาเจริญรุ่งเรือง ทั้งด้านเศรษฐกิจ การต่างประเทศ การศึกษา และศิลปวัฒนธรรม โดยเฉพาะด้านการค้าขาย ทรงติดต่อค้าขายกับชาวต่างประเทศอย่างเป็นรูปธรรม โดยพระองค์ทรงปรับปรุงพระคลังสินค้า โปรดเกล้าฯ ให้ต่อเรือกำปั่นหลวง เพื่อทำการค้ากับต่างประเทศ นอกจากนี้ยังทรงจัดคณะทูตเดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีถึงประเทศฝรั่งเศสอีกด้วย

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงได้ชื่อว่าเป็นกษัตริย์ที่มีความรอบรู้และปราดเปรื่อง ตลอดจนทรงมีไหวพริบปฏิภาณในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้ลุล่วง โดยครั้งหนึ่งฝรั่งเศสได้ส่งคณะทูตนำโดย เชอวาเลียร์ เดอ โชมองต์ มาเข้าเฝ้าเพื่อทูลขอให้พระองค์ทรงเข้ารีต แต่พระองค์ทรงปฏิเสธด้วยพระปรีชาสามารถไปว่า

"การที่ผู้ใดจะนับถือศาสนาใดนั้น ย่อมแล้วแต่พระผู้เป็นเจ้าบนสวรรค์จะบันดาลให้เป็นไป ถ้าคริสตศาสนาเป็นศาสนาดีจริงแล้ว และเห็นว่าพระองค์สมควรที่จะเข้าเป็นคริสตศาสนิกแล้ว สักวันหนึ่งพระองค์จะถูกดลใจให้เข้ารีตจนได้"

นอกจากนี้พระองค์ยังได้ให้เสรีภาพแก่ราษฎร ที่จะนับถือคริสตศาสนาได้ตามความเลื่อมใสของตน เรื่องนี้ทำให้เชอวาเลียร์ เดอ โชมองต์ พอใจเป็นอย่างยิ่ง

วันนี้ถือเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพ ‘สมเด็จพระนารายณ์มหาราช’ จึงสมควรเป็นอย่างยิ่งในการเทิดพระเกียรติและระลึกถึงพระปรีชาสามารถ ตลอดจนพระอัจฉริยภาพอันเปี่ยมล้นของพระองค์

‘เอ็ด ชีแรน’ ทำคอนเทนต์รีวิวขนมถุงเมืองไทย ยกให้ ‘ไดโนเสาร์-เยลลี่’ ขึ้นแท่นขนมถูกใจที่สุด

(15 ก.พ.67) กลายเป็นซอฟท์พาวเวอร์อีกหนึ่งอย่างของเมืองไทยไปแล้วสำหรับขนมถุงอบกรอบยี่ห้อต่างๆ ที่นับได้ว่าประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีขนมถุงวางจำหน่ายหลากหลายมากที่สุดประเทศหนึ่งในโลก แม้แต่ ‘เอ็ด ชีแรน’ ศิลปินชื่อดังที่เพิ่งมาเปิดคอนเสิร์ตที่ประเทศไทย ก็ขอทำคอนเทนต์ลองชิมขนมถุงกับเขาบ้าง

โดย เอ็ด ชีแรน ที่ขอลองซอฟท์พาวเวอร์ชื่อดังของไทยทั้งบุกไปกินร้านอาหารสตรีทฟู้ดระดับมิชลินหนึ่งดาวของเจ๊ไฝ หรือแม้กระทั่งไปสักยันต์เมตตามหานิยมกับ อ. เหน่ง เอาไว้ที่ต้นขา ล่าสุดก็ได้โพสต์คลิปลงใน TikTok ขณะยืนอยู่หน้าร้านสะดวกซื้อ เพื่อไปซื้อขนมถุงพร้อมระบุว่า “ผมอยู่ที่เซเว่นฯ ได้ยินมาว่าที่นี่มีขนมน่าสนใจ”

ซึ่งเจ้าตัวก็หยิบขนมมาลองมากมายทั้ง เยลลี่, ขนมไดโนเสาร์, ขนมมะเขือเทศ, สาหร่ายอบกรอบ, ชาข้าว, ขนมรสปลาหมึก ฯลฯ ก่อนจะกลับที่พักเพื่อไปลองขนมดังกล่าว

ซึ่งเจ้าตัวก็ได้ระบุว่าชอบขนมเยลลี่กับขนมไดโนเสาร์ งานนี้แฟนเพลงชาวต่างชาติหลายคนแทบไม่อยากเชื่อสายตาว่านักร้องดังจะทำตัวเรียบง่ายและกลายเป็นนักรีวิวในโลกโซเชียลไปเสียแล้ว พร้อมกับขอให้เขาเดินทางไปเที่ยวยังประเทศอื่นๆ และลองขนมหรืออาหารของประเทศนั้นๆ พร้อมกับรีวิวแบบนี้บ้าง

15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2508 ‘แคนาดา’ ประกาศใช้ ‘ธงเมเปิลสีแดง’ เป็นธงชาติอย่างเป็นทางการ

แคนาดา มีประวัติศาสตร์หลังการมาถึงของชาวตะวันตกยาวนานราว 400 ปี เบื้องแรกในฐานะดินแดนอาณานิคมของฝรั่งเศส ก่อนตกมาอยู่ในความครอบครองของอังกฤษในเวลาถัดมา

การใช้ธงชาติของรัฐก่อนที่จะมาเป็นแคนาดาในปัจจุบัน เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยโดยมีสัญลักษณ์ที่สะท้อนความเป็นรัฐภายใต้อิทธิพลของเจ้าอาณานิคมอยู่เสมอ

เมื่อเข้าถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นสถานการณ์ที่ช่วยส่งเสริมการสร้างอัตลักษณ์ และความเป็นชาติของแคนาดา การสนับสนุนอังกฤษในสงครามยังมีส่วนที่นำไปสู่วิกฤตการณ์ทางการเมือง เมื่อประชาชนจำนวนมากพากันต่อต้านการเกณฑ์ทหาร โดยเฉพาะกลุ่มชาวแคนาดาในควิเบกที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส

หลังจบสงครามโลกครั้งที่ 1 แคนาดาเดินหน้าสู่ความเป็นรัฐเอกเทศมากขึ้น และพยายามหาธงชาติใหม่เพื่อสะท้อนอัตลักษณ์ใหม่ เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2468 แต่ก็ยังหาข้อสรุปไม่ได้ จนกระทั่งปีพ.ศ. 2507 ที่รัฐสภาได้ประกาศคัดเลือกธงชาติขึ้นมาใหม่อีกครั้ง

ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2507 รัฐสภาได้มีมติเลือกธงชาติพื้นแดงขาว ที่มีใบเมเปิลสีแดง ปลายใบ 11 แฉก อยู่ตรงกลาง ให้เป็นธงชาติของแคนาดา โดยสีแดงบนธงซ้ายและขวา หมายถึง มหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรแปซิฟิก ส่วนสีขาว หมายถึง ผืนแผ่นดินอันกว้างใหญ่และหิมะ ใบเมเปิลคือสัญลักษณ์ของแคนาดา ซึ่งใช้เป็นตราแผ่นดินมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 19

ทั้งนี้ พิธีสถาปนาธงชาติแคนาดาอย่างเป็นทางการมีขึ้นในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2508 ณ รัฐสภาแคนาดา

‘บอสชาตรีแห่ง ONE’ มุ่งปั้น ‘มวยไทย’ ให้ก้องโลก สำนึกคุณ-สานต่อเจตนารมณ์ ‘ครูยอดธง เสนานันท์’

(14 ก.พ.67) ภาพนายใหญ่ขององค์กรศิลปะการต่อสู้ระดับโลก วัน แชมเปียนชิพ ‘ชาตรี ศิษย์ยอดธง’ หรือที่นักมวยไทยเรียกติดปากว่า ‘บอสชาตรี’ สวมชุดครูมวยไทยร่วมงาน ‘มหัศจรรย์ วันมวยไทย ดังไกลสู่ชาวโลก’ ที่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันมวยไทย 6 ก.พ.ที่ผ่านมา ในฐานะตัวแทนครูมวยไทยผู้ทรงคุณวุฒิและปูชนียบุคคลแห่งวงการมวยไทย เป็นภาพที่มีมนต์ขลังสมกับความศักดิ์สิทธิ์ของพิธีการในวันนั้น

หลังจบงาน ‘ชาตรี’ ได้เขียนโพสต์ซึ่งมีใจความตอนหนึ่งว่า “ผมประหลาดใจที่ท่านนายกฯ มอบรางวัลพิเศษแก่ผมในฐานะผู้มีคุณูปการต่อกีฬามวยไทย และรัฐบาลไทยให้เกียรติผมเป็น 1 ใน 20 ครูมวยผู้ทรงอิทธิพลที่สุดของวงการมวยไทย ความจริงคือผมเพียงสานต่อสิ่งที่คนรุ่นก่อนปูทางไว้ ผมเป็นหนี้บุญคุณ ครูยอดธง เสนานันท์ และเพื่อนสมัยเด็กในค่ายศิษย์ยอดธงสำหรับความสำเร็จของผม”

ชื่อของ ‘ครูยอดธง เสนานันท์’ มักถูกเอ่ยถึงบ่อยครั้งโดย ‘ชาตรี’ ผู้ฝากตัวเป็นศิษย์ตั้งแต่สมัยเริ่มหัดเรียนวิชามวยไทยใหม่ ๆ ‘ครูยอดธง’ จึงถือเป็นครูมวยไทยคนแรกของ ‘ชาตรี’ และท่านยังเป็นปูชนียบุคคลแห่งวงการมวยไทยผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาแด่นักมวยระดับแชมป์โลกมากมาย ทั้งได้สร้างคุณงามความดีอันเป็นที่ประจักษ์กลายเป็นที่รักและเคารพไปทั่วสารทิศ

จากศิษย์ก้นกุฎิของ ‘ครูยอดธง’ หลายปีผ่านไป ‘ชาตรี’ ได้ใช้ความรู้ความสามารถ ประกอบกับคุณธรรมที่ได้รับการอบรมสั่งสอนมา ก่อตั้งยิมศิลปะการต่อสู้ Evolve MMA ที่สิงคโปร์ ซึ่งเปรียบเสมือนสาขาหนึ่งของค่ายมวยศิษย์ยอดธง ครั้งนั้น ‘ครูยอดธง’ ได้กล่าวถึงความสำเร็จของลูกศิษย์ด้วยความชื่นชมยินดี 

“(ครูมวย) เขาบอกว่าเขามีความภูมิใจได้มาอยู่ศิษย์ยอดธงที่สิงคโปร์​ ยิ่งมาเห็นครูเขาก็ดีใจ ครูก็บอกต้องรวมถึง ‘ชาตรี’ ด้วย คือไม่เอาเปรียบนักมวย ครูคิดว่าทั่วโลกไม่มีใครเขาจ้างแบบนี้หรอก ครูก็ฝากขอบคุณ ‘ชาตรี’ ที่เป็นลูกศิษย์ครูคนหนึ่ง แล้วมาสร้างชื่อเสียงศิษย์ยอดธงให้ทั่วโลกได้รู้ได้เรียน และเงินรางวัลมากที่สุดในโลก”

“หลาย ๆ คนเขาก็อยากมาอยู่ ‘ศิษย์ยอดธง’ ทั้งนั้น เอ่ยชื่อมาก็รู้จัก เขาก็อยากมาอยู่ เพราะ ‘ศิษย์ยอดธง’ สิงคโปร์ ทาง​ ‘ชาตรี’ ไม่เคยเอาเปรียบลูกน้อง มีแต่ให้กับให้ ถ้าอยู่ในระเบียบของ ‘ชาตรี’” 

นอกจากเป็นผู้ก่อตั้ง Evolve MMA ซึ่งปัจจุบันได้รับการยกย่องว่าเป็นสถานที่ฝึกสอนศิลปะการต่อสู้ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียแล้ว ‘ชาตรี ศิษย์ยอดธง’ ยังได้ก่อตั้ง ‘วัน แชมเปียนชิพ’ องค์กรศิลปะการต่อสู้ระดับโลก รวมถึง ‘วัน ลุมพินี’ ซึ่งเป็นรายการศิลปะการต่อสู้ที่นักมวยไทยใฝ่ฝันอยากร่วมแข่งขันมากที่สุด ด้วยค่าตัวที่จ่ายสูงสุดในประเทศไทย รวมถึงโบนัส และโอกาสที่จะยกระดับอาชีพไปสู่การเป็นซูเปอร์สตาร์ระดับโลก 

ทั้งหมดนี้เป็นหนึ่งในจุดประสงค์ของ ‘ชาตรี’ ที่ตั้งใจจะสานต่อเจตนารมณ์ของ ‘ครูยอดธง’ ผู้ล่วงลับ เพื่อที่จะสืบทอด ส่งเสริม และสานต่อให้กีฬาประจำชาติมวยไทย และนักกีฬาไทยสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศชาติสืบไป

14 กุมภาพันธ์ ของทุกปี ‘วันแห่งความรัก’ หรือ ‘วันวาเลนไทน์’ Valentine's Day วันระลึกถึง ‘นักบุญวาเลนไทน์’ ผู้อุทิศตนเพื่อความรัก

‘วันวาเลนไทน์’ หรือในภาษาอังกฤษ คือ ‘Valentine's Day’ หรือ ‘วันแห่งความรัก’ นั่นเอง และคงเป็นวันที่ใครหลาย ๆ คนรอคอย... โดยเฉพาะหนุ่มสาวที่ตื่นขึ้นมา พร้อมรอยยิ้ม เพื่อเตรียมของขวัญวาเลนไทน์ คำหวาน และข้อความพิเศษ ๆ มอบให้กับคนรักของตัวเอง

สำหรับประวัติหลาย ๆ คนคงสงสัยว่า วันวาเลนไทน์ (Valentine's Day) คืออะไรและเกิดขึ้นเพราะอะไร โดยเหตุเพราะวันที่ 14 กุมภาพันธ์นั้นเป็นวันเสียชีวิตของนักบุญวาเลนไทน์ หรือเซนต์วาเลนไทน์ นักบุญแห่งความรักนั่นเอง โดยนักบุญวาเลนไทน์ เป็นผู้ริเริ่มการจัดงานแต่งงานในยุคที่ไม่นิยมให้แต่งงานกัน เหตุเพราะในช่วงนั้น โรม ต้องประสบกับสงคราม จักรพรรดิคลอดิอุสที่สอง ต้องการเกณฑ์คนไปรบ แต่มีบุคคลจำนวนมากที่มีครอบครัว มีภรรยา มีคนรัก ต่างไม่อยากจะทิ้งครอบครัวไป ทำให้ จักรพรรดิคลอดิอุสที่สอง ตัดสินใจให้ยกเลิกการแต่งงานและการหมั้นทั้งหมดของชาวโรมันในยุคนั้นไปหมด อย่างสิ้นเชิง

แต่นักบุญวาเลนไทน์กลับสวนกระแสของจักรพรรดิคลอดิอุสที่สอง ชักชวนคู่รักมาแต่งงานหลายต่อหลายคู่ จนโดนจับตัวไปขังเอาไว้ และในคุกที่คุมขังนักบุญวาเลนไทน์นั้น เขาได้พบรักกับสาวตาบอดนางหนึ่ง เมื่อโดนจับได้ นักบุญวาเลนไทน์จึงถูกนำตัวไปประหารในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ วันดังกล่าวจึงกลายมาเป็น วันวาเลนไทน์ วันที่ผู้คนจะรำลึกถึงนักบุญผู้อุทิศตนให้ความรักนั่นเอง

ทั้งนี้ สัญลักษณ์วันวาเลนไทน์ วันแห่งความรัก คือ เทพเจ้าคิวปิด ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งความรักดั้งเดิมของชาวโรมัน ร่างกายเป็นเด็กทารกติดปีก กำลังโก่งคันศรทองเล็งไปยังหัวใจของผู้คน ตามตำนานของกรีกและโรมันพูดถึงคิวปิดว่า เป็นบุตรของมาร์ (เทพเจ้าของสงคราม) และ วีนัส (เทพเจ้าแห่งความรักและความงาม)  

ตำนานความรักของ เทพเจ้าคิวปิด นั้น ในอดีตเทพเจ้าวีนัสอิจฉา ‘ไซกี’ ธิดาวัยกำลังแรกรุ่นของกษัตริย์องค์หนึ่ง ที่สำคัญคือไซกีสวยกว่าเทพเจ้าวีนัสมาก นางเลยส่งเทพเจ้าคิวปิดไปหาไซกี เพื่อบันดาลให้ไซกีมีความรักกับบุรุษเพศ แต่เทพเจ้าคิวปิดกลับหลงรักไซกีและพามาที่วัง และลอบมาหาในเวลากลางคืนเพื่อไม่ให้ไซกีรู้ว่าตนเองเป็นใคร แต่มีคนยุให้ไซกีแอบดูตอนเทพเจ้าคิวปิดนอนหลับ แต่ด้วยความตื่นเต้นของไซกีที่เห็นเทพเจ้าคิวปิดเป็นหนุ่มรูปงาม เลยเผลอทำน้ำมันตะเกียงหกใส่เทพเจ้าคิวปิด เมื่อเทพเจ้าคิวปิดรู้สึกตัวตื่นขึ้นก็โกรธมากที่นางขัดคำสั่ง จึงทิ้งนางไป

เมื่อโดนทิ้ง ไซกีก็ออกตามหาเทพเจ้าคิวปิด ซึ่งตลอดเวลาไซกีถูกเทพเจ้าวีนัสกลั่นแกล้งต่าง ๆ นานา จนเทพเจ้าคิวปิดเห็นใจต้องเข้ามาช่วย เทพเจ้าจูปิเตอร์เห็นใจ จึงช่วยให้ทั้งสองได้ครองรักกัน

‘ลิซ่า’ คอนเฟิร์ม!! เตรียมปรากฏตัวใน ‘The White Lotus’ ซีรีส์ชื่อดังของ HBO จ่อบินลัดฟ้ามาถ่ายทำที่เมืองไทย

(13 ก.พ.67) หลังจากปล่อยให้แฟนชาวไทยรอลุ้นอยู่นาน ในที่สุดก็มีการคอนเฟิร์มเป็นที่เรียบร้อยแล้วว่าซีรีส์ตลกร้าย เสียดสีประเด็นสังคมอย่าง The White Lotus ซีรีส์จาก HBO จะมาถ่ายทำที่ประเทศไทย

ล่าสุดวันนี้ก็เซอร์ไพรส์คอซีรีส์และแฟน K-pop อีกครั้ง เพราะมีการยืนยันผ่านทางค่าย LLOUD เผยว่า ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล จะร่วมแสดงในซีรีส์ The White Lotus ในซีซั่น 3 ด้วย

นับเป็นครั้งแรกที่ได้เห็น สาวลิซ่า โลดแล่นในวงการซีรีส์ ท่ามกลางแฟน ๆ ที่ตั้งตารอชมบทบาทใหม่ในอุตสาหกรรมบันเทิงของเธอ

สำหรับซีรีส์ The White Lotus เป็นออริจินัลซีรีส์ของ HBO ฝีมือการเขียนบทและกำกับโดย Mike White ซึ่งกวาดรางวัลมากมาย เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับผู้คนที่เข้าพักในโรงแรมหรู ก่อนจะเจอเหตุการณ์สุดอลเวงที่คาดไม่ถึง

ตัวซีรีส์เต็มเปี่ยมไปด้วยการจิกกัด เสียดสีประเด็นในสังคม ผ่านตัวละครที่มีความหลากหลาย ทั้ง เพศ เชื้อชาติ ชนชั้น และความเชื่อ

โดยในซีซั่น 3 นี้ มีการเปิดเผยรายชื่อนักแสดง มีนักแสดงไทยมาโชว์ฝีมือ ได้แก่ ‘ดอม เหตระกูล’ ‘เมธี ทับทิมทอง’ มีกำหนดเริ่มถ่ายทำในเดือนกุมภาพันธ์ที่กรุงเทพฯ, ภูเก็ต และเกาะสมุย


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top