Friday, 9 May 2025
LITE

8 มีนาคม ของทุกปี วันสตรีสากล (International Women's Day) ร่วมเฉลิมฉลองความเสมอภาคและเท่าเทียม

วันสตรีสากล (International Women's Day) ตรงกับวันที่ 8 มีนาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันที่เหล่าสตรีจากทั่วโลก ไม่ว่าจะเชื้อชาติ ศาสนา อาชีพใด จะร่วมเฉลิมฉลองความเสมอภาคที่ได้รับมา และเป็นการแสดงให้เห็นถึงความเท่าเทียมกันในสังคมอีกด้วย

ความเป็นมาของวันสตรีสากล

ประวัติวันสตรีสากล เกิดขึ้นจากกรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้า รัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้พากันลุกฮือประท้วงให้นายจ้างเพิ่มค่าจ้าง และเรียกร้องสิทธิของพวกเธอ แต่สุดท้ายกลับมีผู้หญิงถึง 119 คน ต้องเสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ ด้วยการที่มีคนลอบวางเพลิงเผาโรงงานที่พวกเธอนั่งชุมนุมกันอยู่ โดยเหตุการณ์ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1857 (พ.ศ. 2400)

จากนั้นในปี ค.ศ. 1907 (พ.ศ. 2450) กรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้าที่เมืองชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ทนไม่ไหวต่อการเอารัดเอาเปรียบ กดขี่ ทารุณ ของนายจ้างที่ใช้งานพวกเธอเยี่ยงทาส เนื่องจากกรรมกรหญิงเหล่านี้ต้องทำงานหนักถึงวันละ 16-17 ชั่วโมง โดยไม่มีวันหยุด ไม่มีประกันการใช้แรงงานใด ๆ เป็นผลให้เกิดการเจ็บป่วยล้มตายตามมาในระยะเวลาอันรวดเร็ว แต่กลับได้รับค่าแรงเพียงน้อยนิด และหากตั้งครรภ์ก็ถูกไล่ออก

ความอัดอั้นตันใจจึงทำให้ "คลาร่า เซทคิน" (CLARE ZETKIN) นักการเมืองสตรีสายแนวคิดสังคมนิยม ชาวเยอรมัน ตัดสินใจปลุกระดมเหล่ากรรมกรสตรีด้วยการนัดหยุดงานในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1907 พร้อมกับเรียกร้องให้นายจ้างลดเวลาการทำงานลงเหลือวันละ 8 ชั่วโมง อีกทั้งให้ปรับปรุงสวัสดิการทุกอย่าง และให้สตรีมีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งด้วย

อย่างไรก็ตาม แม้การเรียกร้องครั้งนี้จะไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากมีแรงงานหญิงหลายร้อยคนถูกจับกุม แต่ก็ทำให้สตรีทั่วโลกสนับสนุนการกระทำของ "คลาร่า เซทคิน" และเป็นการจุดประกายให้สตรีทั่วโลกเริ่มตระหนักถึงสิทธิของตัวเองมากขึ้น

ต่อมาในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1908 (พ.ศ. 2451) มีแรงงานหญิงกว่า 15,000 คน ร่วมเดินขบวนทั่วเมืองนิวยอร์ก เรียกร้องให้ยุติการใช้แรงงานเด็ก โดยมีคำขวัญการรณรงค์ว่า "ขนมปังกับดอกกุหลาบ" ซึ่งหมายถึงการได้รับอาหารที่พอเพียงพร้อม ๆ กับคุณภาพชีวิตที่ดี

จนกระทั่งในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1910 (พ.ศ. 2453) ความพยายามของกรรมกรสตรีกลุ่มนี้ก็ประสบผลสำเร็จ เมื่อมีตัวแทนสตรีจาก 17 ประเทศ เข้าร่วมประชุมสมัชชาสตรีสังคมนิยม ครั้งที่ 2 ณ เมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก โดยในที่ประชุมได้ประกาศรับรองข้อเรียกร้องของบรรดากรรมกรสตรี ในระบบสาม 8 คือ ยอมให้ลดเวลาทำงานเหลือวันละ 8 ชั่วโมง ให้เวลาศึกษาหาความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของตัวเองอีก 8 ชั่วโมง และอีก 8 ชั่วโมงเป็นเวลาพักผ่อน พร้อมกันนี้ยังได้ปรับค่าแรงของแรงงานหญิงให้เท่าเทียมกับแรงงานชาย และยังมีการคุ้มครองสวัสดิการสตรีและแรงงานเด็กอีกด้วย

ทั้งนี้ ยังได้รับรองข้อเสนอของ 'คลาร่า เซทคิน' ด้วยการกำหนดให้วันที่ 8 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันสตรีสากล

7 มีนาคม พ.ศ. 2327 รัชกาลที่ 1 อัญเชิญ ‘พระแก้วมรกต’ มาประดิษฐานในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

วันนี้ เมื่อ 241 ปีก่อน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญ 'พระแก้วมรกต' จากโรงพระแก้วในวัดอรุณราชวราราม (วัดแจ้ง) มาประดิษฐานในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ภายหลังเสร็จสิ้นการสร้างพระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่ง 'พระแก้วมรกต' หรือ 'พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร' เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวไทยที่แกะสลักจากหยกอ่อนเนไฟรต์สีเขียวดังมรกต

สำหรับเหตุการณ์เกี่ยวกับ 'พระแก้วมรกต' หลังถูกอัญเชิญมาจากกรุงเวียงจันท์ มีเอกสารโบราณหลายฉบับกล่าวไว้ตรงกันว่า เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงปราบดาภิเษก เมื่อเสร็จสิ้นการสร้างพระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดารามแล้ว จึงโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระแก้วมรกตจากโรงพระแก้วในวัดอรุณราชวราราม (วัดแจ้ง) มาประดิษฐานในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม 'พระแก้วมรกต' หรือ 'พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร' พระคู่บ้านคู่เมืองของชาวไทย ประดิษฐาน ณ วัดพระศรีรัตนศาสดารามอย่างที่เราทราบกันในปัจจุบัน เมื่อวันจันทร์ ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 14 ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 7 มีนาคม 2327 นับถึงปัจจุบัน (2568) เป็นระยะเวลาทั้งสิ้น 241 ปี

‘มิลลิ’ สุดทนปมถูกเกรียนคีย์บอร์ดหมิ่นประมาทในโซเชียล เตือนครั้งสุดท้าย!! เตรียมจัดการชาวเน็ตเมนต์ด้วยถ้อยคำรุนแรง

มิลลิ ตั้งโต๊ะแถลงข่าว กรณีถูกเกรียนคีย์บอร์ดหมิ่นประมาทในโซเชียล ท้อจนร้องไห้ วอนคิดถึงใจกันบ้าง – ต้นสังกัดเทกแอ็กชัน ปกป้องศิลปิน

จากกรณีที่ค่าย YUPP! เคยออกแถลงการณ์ไปเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2567 ซึ่งมีการเตือนผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียที่มีการแสดงความคิดเห็นในลักษณะดูหมิ่นด้วยถ้อยคำรุนแรงต่อศิลปิน มิลลิ ดนุภา คณาธีรกุล หรือ 'MILLI' โดยต้นสังกัดขอให้หยุดการกระทำเหล่านั้น แต่ยังพบว่าปัจจุบันมีผู้ที่ยังทำพฤติกรรมดังกล่าวเป็นจำนวนมาก

ล่าสุดเมื่อวันที่ (5 มี.ค.68) ที่ห้อง Sukhumvit โรงแรม Sheraton Grande Sukhumvit ค่าย YUPP! นำโดย 3 ผู้บริหาร ต้าร์ สักกพิช มากคุณ, โจ้ ศวิชญ์ สุวรรณกุล และ ฟลุ๊ค-พลกฤต ศรีสมุทร พร้อมด้วยศิลปิน มิลลิ และ ทนายชัยณรงค์ บุญสันติ์ ตั้งโต๊ะแถลงข่าวความชัดเจน ส่งสัญญาณเป็นครั้งสุดท้ายถึงผู้ที่กระทำการดังกล่าว

โดย มิลลิ เผยก่อนว่า “จริงๆ หนูเห็นคอมเมนต์เหล่านั้นมาตลอด เนื่องจากเป็นคนชอบเสิร์ชแฮชแท็กชื่อตัวเอง เพื่อที่จะเข้าไปอ่านคอมเมนต์หรือฟีดแบ็กต่าง ๆ ซึ่งก็จะเห็นทั้งหมดเท่าที่เราพอจะเห็นได้ จากประสบการณ์ที่ผ่านมาอาจจะทำให้เราเติบโตและจิตใจแข็งแกร่งขึ้น แต่สุดท้ายเวลาเราเจอคอมเมนต์ที่แย่ ๆ มันก็กระทบกับจิตใจเราโดยตรง ตัวหนูเองก็เสียใจเหมือนกัน”

จริง ๆ หนูเป็นคนที่ชอบให้คนเข้ามาติชมผลงาน เพราะจะได้นำไปปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาให้ดีขึ้น แต่ว่าในกรณีนี้จะเป็นคำพูดที่กระทบกระเทือนจิตใจพอสมควร เลยอยากจะให้ทุกคนคิดถึงใจหนูบ้าง บางทีถ้ามันแรงเกินไปหนูก็แอบรับไม่ไหวเหมือนกันค่ะ”

“เรื่องคอมเมนต์ในทางเสียหาย จริง ๆ เกิดขึ้นมาโดยตลอด แต่ก็จะมีช่วงหนึ่งที่หายไปเพราะว่าหนูไม่ได้ปล่อยผลงานอะไรออกมา แต่พอกลับมามีกิจกรรมอีกครั้ง คอมเมนต์เหล่านั้นก็กลับมาอีก หนูยอมรับว่าคอมเมนต์แย่ ๆ ที่อ่านเจอ ทำให้รู้สึกท้อและเสียใจถึงขั้นร้องไห้ เพราะการร้องไห้มันก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้เราเบาบางลงได้ในทางด้านอารมณ์”

“แล้วที่หนูผ่านช่วงเวลาแบบนั้นมาได้ก็เพราะคนรอบตัว ทั้งครอบครัวและค่าย หนูมีความเชื่อว่าในขณะที่มีคนไม่ชอบเราก็ยังมีคนชอบเราอยู่ แฟนคลับของหนูก็น่ารักกับหนูมาก ๆ เป็นกำลังใจในทุก ๆ วันไม่ว่าหนูจะสุขหรือเศร้า ที่ผ่านมาได้ก็เพราะพวกเขาด้วยค่ะ”

“หนูเลยคิดว่าวิธีการจัดการในลักษณะวันนี้ที่เกิดการแถลงข่าวขึ้น หรือให้ทางค่ายมาช่วยจัดการเป็นวิธีการที่ดีที่สุดแล้ว ตัวหนูเองก็เห็นด้วย เราได้มีการประชุมและไตร่ตรองกันอย่างรอบคอบแล้ว ที่สำคัญหนูยังแฮปปี้กับการทำงานเพลงอยู่ เลยพยายามจะไม่เอาเรื่องพวกนี้มาบั่นทอนตัวเองค่ะ”

“ถามว่าพวกคอมเมนต์แรงๆ ต่าง ๆ มีผลทำให้เราไม่กล้าที่จะโพสต์ความเห็นส่วนตัวลงในโซเชียลอีกไหม จากประสบการณ์ที่ผ่านมาหนูค่อนข้างไตร่ตรองเยอะขึ้นมากๆ ในการที่จะโพสต์อะไรแต่ละครั้ง มันก็อาจจะมีผลกระทบนิดหน่อย ด้วยเพราะว่าเราคิดมากๆ ก่อนที่จะโพสต์อยู่แล้ว แน่นอนว่ามันไม่ได้ลดความเป็นตัวตนของเรา เพราะหนูเชื่อว่าการเป็นตัวตนเราสามารถเติบโตขึ้นได้ เป็นเวอร์ชันที่ดีที่สุดของเราได้ในทุก ๆ วัน หนูรู้สึกว่านอกจากตัวเองจะเติบโตทางด้านจิตใจแล้ว เราก็ควรพัฒนาตัวเองในเรื่องของการคิดก่อนพูดด้วย ซึ่งหนูก็กำลังพัฒนาให้มันดีขึ้นเรื่อย ๆ ค่ะ”

ทนายชัยณรงค์ กล่าวว่า “ทางค่ายเคยมีหนังสือชี้แจงเกี่ยวกับข้อความที่คนแสดงความคิดเห็น ว่ามีความรุนแรงแบบไหน ลักษณะข้อความที่เกิดขึ้นถามว่ามันเข้าข่ายข้อกฎหมายไหม มันก็มีตั้งแต่เรื่องการดูหมิ่น หมิ่นประมาท การนำข้อมูลที่เป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งต้องเรียนว่าทางค่ายและศิลปินเองไม่มีเจตนาที่จะโต้ตอบด้วยความรุนแรง หรือให้เกิดเรื่องเกิดราวกับผู้ที่แสดงความคิดเห็น เพราะว่านโยบายของทางค่ายต้องการสร้างสรรค์เรื่องเพลง นำศิลปินไทยเข้าสู่เวทีโลก”

“แต่ในปัจจุบันเราต้องเข้าใจว่าการแสดงความคิดเห็นผ่านสื่อโซเชียลต่างๆ ทำได้ง่ายมาก คลิกเดียวแสดงข้อความออกไปด้วยอารมณ์หรืออะไรก็ตามแต่ สิ่งนี้มันกระทบกระเทือนทั้งค่ายและศิลปิน แล้วถ้ามันไปกระทบคนอื่นจนทำให้เกิดความเสียหาย คุณเองก็ต้องรับผิดชอบข้อความที่คุณแสดงความคิดเห็นออกไปด้วย ที่ผ่านมาทางค่ายและศิลปินก็พยายามดูข้อความเหล่านั้น ส่วนว่าจะเข้ากรณีไหนตัวค่ายจะเป็นคนพิจารณาและทบทวน เพื่อไม่ให้เหตุการณ์มันเกิดซ้ำรอยอีก ส่วนมาตรการจะเป็นอย่างไรก็ต้องดูเป็นแต่ละกรณีไป เพราะทางค่ายไม่ได้มีนโยบายที่จะเล่นแบบตาต่อตาฟันต่อฟันแบบนั้น”

“สำหรับในเรื่องของการติชม ถ้าเป็นการติเพื่อก่อ ทางศิลปินและค่ายรับได้ แต่ไม่ใช่ว่าติแล้วทำให้คนอื่นดูถูกเกลียดชัง หรือไปด้อยค่าเขาไม่ว่าจะเป็นค่ายหรือศิลปินก็ตามแต่ ตรงนี้เน้นย้ำว่าต้องรับผิดชอบในสิ่งที่คุณทำด้วย เพราะว่าไม่ใช่คุณเห็นคนเดียว แต่คนอื่นเห็นข้อความเหล่านั้นด้วย”

“จริงๆ เรื่องแบบนี้ไม่ได้เกิดขึ้นแค่กับมิลลิหรือค่าย YUPP! แต่ศิลปินทุกคน ทุกค่าย ดารา และเกือบทุกวงการ เจอกันหมด ถึงอยากย้ำเตือนไว้เวลาคนที่จะทำแบบนี้ต้องเก็บกลับไปคิดว่าสิ่งที่คุณทำมันติดอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งปัจจุบันกฎหมายนี้ตามเรื่องนี้อยู่แล้ว ไม่ใช่ว่าปล่อยนิ่งดูดาย แน่นอนว่าเราอาจจะห้ามคนคอมเมนต์ไม่ได้ แต่อาจจะเป็นเสียงที่เรากำลังจะบอกออกไปให้ฉุกคิด”

ด้าน ต้าร์ สักกพิช หนึ่งในผู้บริหาร เผยว่า “ถามว่าฟางเส้นสุดท้ายคืออะไรถึงต้องออกมาตั้งโต๊ะแถลงข่าว ปัจจุบันทางค่ายโฟกัสเรื่องงานกับมิลลิมากๆ แล้วเราก็ห่างหายจากการกล่าวโทษกล่าวร้ายคนอื่นในอดีตมานานมากๆ แล้ว เรารู้สึกว่าตอนนี้อยากให้ทุกคนโฟกัสที่งานมากกว่า ส่วนคอมเมนต์ที่ไม่ได้เกี่ยวกับสิ่งที่เราทำ มันก็อาจจะทำร้ายจิตใจมิลลิได้ ทางค่ายเลยมีความจำเป็นที่ต้องออกมาแอ็กชันในวันนี้”

“ส่วนเดดไลน์หรือมาตรการจริงจังในการจัดการกับเรื่องนี้ก็จะเริ่มพิจารณากันตั้งแต่วันนี้เลย เราอยากแสดงจุดยืนในการเข้ามาปกป้องศิลปิน เพราะที่ผ่านมาค่ายก็เคยมีการชี้แจงออกไปแล้ว แต่อย่างมิลลิบอกว่าคอมเมนต์พวกนั้นก็จะหายไปสักพัก แต่พอเรากลับมาทำงานอย่างเข้มข้นเขาก็จะกลับมาอีก ถามว่าเป็นคนเดิม ๆ ไหม อันนี้ตอบยาก แต่ว่าลักษณะการคอมเมนต์จะคล้าย ๆ เดิม คือไม่ได้เกี่ยวกับงานหรือคอนเทนต์ที่เราปล่อยออกไป แต่ก็คิดว่ามาตรการนี้ที่เป็น Final Warning ของเราก็น่าจะช่วยให้เขาได้คิดมากขึ้น ว่าเรามีแอ็กชันที่มากขึ้นแล้ว”

6 มีนาคม พ.ศ. 2502 พระบาทสมเด็จพระจ้าอยู่หัว รัชการที่ 9 เสด็จฯ เยี่ยม “พสกนิกรภาคใต้” ครั้งแรก

วันนี้เมื่อ 66 ปีก่อน เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จออกเดินทางประกอบพระราชกรณียกิจในการเยี่ยมพสกนิกรทางภาคใต้ครั้งแรก ระหว่างวันที่ 6 - 26 มีนาคม พ.ศ.2502 

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จโดยขบวนรถไฟพระที่นั่ง จากสถานีหลวงจิตรลดา เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2502 เวลา 06.05 น. ระหว่างเส้นทาง ขบวนรถไฟพระที่นั่งได้เคลื่อนผ่านจังหวัดนครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ จนสิ้นสุดที่สถานีรถไฟชุมพร เวลา 17.45 น. ณ ที่นั้นนายส่ง มีมุทา ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ในขณะนั้น พร้อม ข้าราชการตำรวจทหาร พ่อค้าประชาชน เผ้ารับเสด็จฯ ที่สถานีรถไฟชุมพร 

จากนั้นได้ประทับรถยนต์พระที่นั่ง ไปยังจวนผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ซึ่งทางจังหวัดจัดถวายเป็นที่ประทับแรม และ เสวยพระกระยาหารค่ำ ก่อนเริ่มต้นการเสด็จพระราชดำเนินเป็นเวลา 20 วันด้วยรถยนต์พระที่นั่งเสด็จพระราชดำเนินทั่วภาคใต้ 14 จังหวัด

5 มีนาคม ของทุกปี 'วันนักข่าว' หรือ วันสื่อสารมวลชนแห่งชาติ จุดเริ่มต้นจากการก่อตั้ง สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย

วันนักข่าว หรือ วันสื่อสารมวลชนแห่งชาติในประเทศไทย ตรงกับวันที่ 5 มีนาคม ของทุกปี ซึ่งตรงกับ วันสถาปนา สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย หรือ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ในปัจจุบัน

สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ.2498 โดยนักข่าวรุ่นบุกเบิก จำนวน 16 คน จากหนังสือสำคัญ ระบุว่า "โดยที่ได้พิจารณาเห็นว่า หนังสือพิมพ์ได้มีการพัฒนาการก้าวหน้ามาเป็นลำดับและผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์ก็ได้เพิ่มพูนเป็นปึกแผ่นแน่นหนาขึ้นทุกที จึงเป็นการสมควรที่จะได้กำหนดวันที่ระลึกขึ้นสักวันหนึ่ง เพื่อแสดงออกถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของผู้ร่วมวงการ จึงตกลงกันให้ถือเอาวันที่ 5 มีนาคม เป็นวันนักข่าวและหนังสือพิมพ์รายวันทุกฉบับจะถือเอาวันนี้ เป็นประเพณีแห่งการหยุดงานประจำปี ตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม 2510 เป็นต้นไป"

"ขอให้วันนักข่าวจงเป็นวันแห่งความแช่มชื่นเบิกบาน เป็นวันแห่งความสามัคคี กลมเกลียวกัน เพื่อธำรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีและความเจริญก้าวหน้าของอาชีพหนังสือพิมพ์"

สำหรับบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ร่วมลงนาม ประกอบด้วย
- หนังสือพิมพ์เกียรติศักดิ์
- หนังสือพิมพ์ข่าวพาณิชย์
- หนังสือพิมพ์ข่าวสยาม
- หนังสือพิมพ์ซินเสียง
- หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
- หนังสือพิมพ์ตงฮั้ว
- หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
- หนังสือพิมพ์ประชาธิปไตย
- หนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย
- หนังสือพิมพ์หลักเมือง
- หนังสือพิมพ์ศิรินคร
- หนังสือพิมพ์สยามนิกร
- หนังสือพิมพ์สยามรัฐ
- หนังสือพิมพ์สากล
 - หนังสือพิมพ์บางกอกเวิลด์
 - หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์

ส่วนนายกสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย สมัยนั้นคือนายโชติ มณีน้อย

4 มีนาคม ของทุกปี วันสถาปนาไทยอาสาป้องกันชาติ (ทสปช.) รำลึกวีรกรรมหญิงกล้า ‘ท้าวสุรนารี’ วีรสตรีของไทย

วันที่ 4 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันสถาปนาไทยอาสาป้องกันชาติ (ทสปช.) โดยความเป็นมาของวันไทยอาสาป้องกันชาติสืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2369 บรรพชนของไทยได้สร้างวีรกรรมอันยิ่งใหญ่ โดยได้สละชีวิต เลือดเนื้อ และหยาดเหงื่อ เข้าปกป้องเอกราชอธิปไตยของแผ่นดิน กล่าวคือ ท้าวสุรนารี วีรสตรีของไทย ได้รวมพลังประชาชนหญิงชายชาวนครราชสีมาจับอาวุธเข้าต่อสู้ขับไล่อริราชศัตรูอย่างเข้มแข็ง แม้จะเป็นเพียงประชาชนพลเมือง และมีอาวุธยุทโธปกรณ์ที่น้อยกว่า แต่ด้วยจิตใจที่แกร่งกล้าและอุดมการณ์อันแน่วแน่ที่จะรักษาเอกราชไว้ ทำให้สามารถขับไล่ข้าศึกจนแตกพ่ายไป เหตุการณ์นั้นนับเป็นวีรกรรมที่เสียสละอย่างแท้จริงของประชาชน ที่รวมพลังกันลุกขึ้นต่อสู้กับศัตรูจนได้รับชัยชนะ ทางราชการจึงได้ประกาศ ให้วันที่ 4 มีนาคมของทุกปีเป็น “วันไทยอาสาป้องกันชาติ” หรือ วัน ทสปช.

ในส่วนของการจัดตั้งไทยอาสาป้องกันชาติ หรือ ทสปช. เกิดขึ้นเมื่อลัทธิคอมมิวนิสต์ได้แผ่ขยายอำนาจเข้ามาในประเทศไทย ราษฎรชาวไทยที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลจากการช่วยเหลือของทางราชการ จึงได้ผนึกกำลังเป็นกลุ่มอาสาสมัครต่าง ๆ ขึ้นต่อต้าน โดยรวมตัวกันในรูปแบบและเรียกชื่อต่าง ๆ กัน เช่น ไทยอาสาป้องกันตนเอง (ทสป.) อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) ราษฎรอาสาสมัครพัฒนาท้องถิ่นและป้องกันปราบปรามอาชญากรรม (รส.พป.) ราษฎรอาสาและป้องกันชายแดน ราษฎรอาสาสมัครป้องกันผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ เป็นต้น

และเพื่อให้กลุ่มราษฎรต่าง ๆ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และให้เกิดการจัดตั้งการฝึกอบรม การควบคุมดูแลเป็นไปด้วยความเรียบร้อย รัฐบาลจึงได้ออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยไทยอาสาป้องกันชาติ พ.ศ.2521 เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติตั้งแต่ 4 กันยายน 2521 โดยให้กลุ่มราษฎรอาสาสมัครต่าง ๆ รวมเข้าเป็นรูปแบบเดียวกันเรียกว่า “ไทยอาสาป้องกันชาติ” โดยเรียก ชื่อย่อว่า “ทสปช.”

‘ตี๋ลี่เร่อปา’ นางเอกระดับท็อปของวงการบันเทิงจีน ปัจจุบันขึ้นแท่นนักแสดงฝ่ายหญิงที่มีค่าตัวสูงสุด

(3 ก.พ. 68) เพจ WorldPulse โลกเล่าเรื่อง โพสต์ข้อความถึงนางเอกสาวชาวจีน เชื้อสายอุยกูร์ ‘ตี๋ลี่เร่อปา’ ว่า อุยกูร์ในมุมที่ฉีกออกไปบ้าง

ตี๋ลี่เร่อปา (Dilireba) เป็นศิลปินชาวจีน เชื้อสายอุยกูร์ โลดแล่นในวงการบันเทิงได้หมดทั้งนักแสดงมือรางวัล นักร้อง นักเต้น และนางแบบ

ตี๋ลี่เร่อปา หรือ ชื่อจริง ดิลราบา ดิลมูรัต (Dilraba Dilmurat) สามารถพูดได้ 5 ภาษา คือ ภาษาอุยกูร์, จีนถิ่นซินเจียง, จีนกลาง, อังกฤษ และเกาหลี

เธอมีแฟนคลับติดตามใน Weibo มากกว่า 80 ล้านคน 

Dilireba เกิดและเติบโตในเมืองอูรุมชี เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ลืมตาดูโลกเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 1992 ปัจจุบัน อายุ 33 ปี เป็นนักแสดงหญิงที่มีค่าตัวสูงที่สุด ในวงการบันเทิงจีน รับค่าตัวต่อเรื่อง 80-100 ล้านหยวน หรือราว 400-500 ล้านบาท 

ในปี 2019 เธอรับเป็นพรีเซนเตอร์ให้แบรนด์ต่าง ๆ ทั้งในประเทศ แบรนด์ระดับโลกถึง 35 แบรนด์ รวมรับค่าตัวทั้งหมด 3,700 ล้านหยวน (17,325,000,000 บาท)

แฟนคลับคนหนึ่ง เคยเขียนบรรยายความน่ารักจิตใจงามของตี๋ลี่เร่อปาว่า เธอมักซื้อขนมนมเนย ให้แฟนคลับที่มารอหลายชั่วโมงเพื่อเจอเธอ

ปัจจุบัน 
แปลโดย : วัชรินทร์ เศรษฐกุดั่น
ข้อมูลจาก : South China Morning Post
Who is Dilraba Dilmurat?

3 มีนาคม พ.ศ. 2544 เครื่องบินโบอิ้งการบินไทย ระเบิดคาลานจอด ก่อน ‘ทักษิณ ชินวัตร’ จะขึ้นเครื่องเพียงไม่กี่นาที

วันนี้ เมื่อ 24 ปีก่อน เครื่องบินโบอิ้ง 737-4D7 ของการบินไทย เที่ยวบินที่ 114 เกิดระเบิดขึ้นก่อนที่ผู้โดยสารขึ้นเครื่องไม่กี่นาที 

เครื่องบินลำดังกล่าวเกิดระเบิดขึ้น กลางสนามบินดอนเมือง สร้างความแตกตื่นให้กับผู้คนจำนวนมาก โชคดีของผู้โดยสารที่ยังไม่มีใครขึ้นบนเครื่องบิน จึงไม่มีผู้โดยสารสังเวยชีวิตในครั้งนั้น มีเพียงเจ้าหน้าที่จำนวน 8 คนอยู่บนเครื่องและในจำนวนนี้เสียชีวิต 1 คน

เครื่องบินโบอิ้ง 737-4D7 ของการบินไทย เที่ยวบินที่ 114 ที่มีกำหนดการเดินทางจากท่าอากาศยานดอนเมือง ไปท่าอากาศยานเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2544 เวลา 14.48 น. แต่ปรากฏว่า 35 นาทีก่อนกำหนดการบิน ขณะที่เครื่องจอดอยู่ที่ท่าอากาศยานดอนเมืองได้เกิดการระเบิดขึ้น ผลการสอบสวนพบว่าเกิดการสันดาปที่ถังน้ำมันส่วนกลาง ซึ่งอยู่ใกล้กับระบบปรับอากาศซึ่งทำงานอย่างต่อเนื่อง และมีความร้อนสูง ขณะเกิดเหตุยังไม่มีผู้โดยสารอยู่บนเครื่อง มีเพียงเจ้าหน้าที่จำนวน 8 คน ในจำนวนนี้เสียชีวิต 1 คน

ทั้งนี้ เที่ยวบินดังกล่าว มีบุคคลสำคัญหลายคนเดินทางไปด้วย รวมทั้งนายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น และพานทองแท้ ชินวัตร บุตร ซึ่งจะเดินทางไปร่วมพิธีเปิดศูนย์การค้าสุรวงศ์เซ็นเตอร์ ของ ‘เจ๊แดง’ นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ที่จังหวัดเชียงใหม่

หลังเกิดเหตุนายทักษิณ แถลงว่า การระเบิดนี้เป็นการก่อวินาศกรรมเพื่อหวังลอบสังหารตนเอง โดยฝีมือของผู้เสียผลประโยชน์ชาวต่างชาติ (ว้าแดง) เนื่องจากนโยบายปราบปรามยาเสพติดของรัฐบาล หลังจากที่เจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐานของไทยตรวจพบหลักฐานที่เชื่อว่าอาจเป็นร่องรอยของระเบิดซีโฟร์หรือเซมเท็กซ์ (Semtex)

อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 11 เมษายน 2544 คณะกรรมการความปลอดภัยในการขนส่งแห่งชาติของสหรัฐ (National Transportation Safety Board) ที่ส่งผู้เชี่ยวชาญเดินทางเข้ามาร่วมสอบสวนด้วย แถลงว่า ได้นำชิ้นส่วนไปทดสอบที่ห้องทดลองของเอฟบีไอแล้วไม่พบร่องรอยของวัตถุระเบิด และว่ากรณีนี้คล้ายกับการระเบิดของเครื่องโบอิง 737 ของสายการบินฟิลิปปินส์ เมื่อเดือนพฤษภาคม 2543 ซึ่งเกิดจากความบกพร่องของถังน้ำมันเชื้อเพลิง

ภายหลังการระเบิด ท่าอากาศยานในประเทศไทยได้กำหนดมาตรการตรวจสอบผู้โดยสารรัดกุมขึ้น มีการตรวจสอบบัตรประจำผู้โดยสารทุกคนก่อนขึ้นเครื่อง มีการเอกซเรย์กระเป๋า และสำนักนายกรัฐมนตรีได้จัดสรรงบประมาณ เพื่อจัดซื้อเครื่องบินประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ‘ไทยคู่ฟ้า’

2 มีนาคม พ.ศ. 2477 รัชกาลที่ 7 ทรงประกาศสละราชสมบัติ ในขณะประทับอยู่ที่ประเทศอังกฤษ

วันนี้เมื่อ 91 ปีก่อน ... 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 คืออีกหนึ่งวันสำคัญในประวัติศาสตร์ชาติไทยที่อยากให้คนไทยทุก ๆ คนจดจำ สำนึก และตระหนักซึ้งถึงพระมหากรุณาธิคุณแห่งองค์พระมหากษัตริย์ไทย เพราะนี่คือวันที่รัชกาลที่ 7 ทรงประกาศสละราชสมบัติ โดยขณะนั้นพระองค์ได้ประทับอยู่ที่ประเทศอังกฤษ

หลังจากเหตุการณ์การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 จากคณะราษฎรส่งผลให้ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีไปประทับที่ประเทศอังกฤษ และแต่งตั้งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

หลังจากนั้นไม่นาน พระองค์ทรงตัดสินพระทัยสละราชสมบัติ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 โดยในพระราชหัตถเลขาสละราชสมบัติ ปรากฏข้อความที่ใช้อ้างอิงกันเสมอในเวลาต่อมา ดังนี้

"... ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใด โดยเฉพาะเพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิ์ขาดและโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของราษฎร ... บัดนี้ ข้าพเจ้าเห็นว่าความประสงค์ของข้าพเจ้าที่จะให้ราษฎรมีสิทธิออกเสียงในนโยบายของประเทศไทยโดยแท้จริงไม่เป็นผลสำเร็จ และเมื่อข้าพเจ้ารู้สึกว่าบัดนี้เป็นอันหมดหนทาง ที่ข้าพเจ้าจะช่วยเหลือ ให้ความคุ้มครองแก่ประชาชนได้ต่อไปแล้ว ข้าพเจ้าจึงขอสละราชสมบัติ และออกจากตำแหน่งพระมหากษัตริย์แต่บัดนี้เป็นต้นไป ..."

อนึ่ง พระองค์ทรงกลับไปใช้พระนามและพระราชอิสริยยศเดิม ได้แก่ สมเด็จเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา รวมระยะเวลาในการครองราชย์ได้ 9 ปี ขณะมีพระชนมายุได้ 41 พรรษา โดยไม่ทรงตั้งรัชทายาทเพื่อพระราชทานวโรกาสให้รัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้คัดเลือกพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่เอง คณะรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรจึงได้อัญเชิญเสด็จ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล เสด็จขึ้นครองราชย์ขณะมีพระชนมายุ 9 พรรษา ซึ่งพระองค์เป็นเจ้านายเชื้อพระบรมวงศ์พระองค์ที่ 1 ในลำดับพระราชสันตติวงศ์แห่งกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พ.ศ. 2467 ขึ้นทรงราชย์สืบพระราชสันตติวงศ์ต่อไป ตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477

‘ลิซ่า’ ใส่ทองเส้นเท่าโซ่โชว์ในเอ็มวีเพลงใหม่ อวดชาวเน็ตที่เคยตั้งคำถาม รวยจริงเหรอ? ไม่เห็นเคยใส่ทอง!

(1 มี.ค.68) ‘ลิซ่า ลลิษา มโนบาล’ ออกมายอมรับว่าในฐานะที่ตนเป็น Lady Boss แล้ว จำเป็นอย่างมากที่ตามอ่านคอมเมนต์ อยากใส่ใจชาวเน็ต เพื่อนำฟีดแบ็กมาปรับปรุง พัฒนางานและตนเอง

ล่าสุดชาวเน็ตก็ได้เห็นความใส่ใจของลิซ่า หลังเคยมีชาวเน็ตตั้งคำถามว่า ลิซ่า รวยจริงเหรอ? หรือสะกดจิตกันว่ารวย ทำไมไม่เคยเห็นซื้อทอง ใส่ทองออกงานเลย ในเอ็มวีเปิดตัวอัลบั้มเพลง Fuckuptheworld ก็เลยได้เห็นลิซ่าใส่ทองเส้นเท่าโซ่เต็มคอ เป็นการการันตีว่า ลิซ่ารู้คอมเมนต์คนไทยบางคน และชีแคร์!

จากประเด็นดังกล่าวทำชาวเน็ต เม้าธ์มอยคอมเมนต์กันต่อว่าลิซ่ายังต้องใส่ใจอีก 2 เรื่องคือ ลิซ่าต้องมีซีนรถฟอร์จูนเนอร์ และ ซีนสอบ กพ. ให้คนไทยบางส่วนสบายใจด้วย ทำโซเชียลฮากับประเด็นนี้อยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว

ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล ประจำวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2568

✨ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
✨ประจำวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2568

🟢รางวัลที่ 1 รางวัลละ 6,000,000 บาท : 818894

🔴รางวัลข้างเคียงรางวัลที่ 1 จำนวน 2 รางวัล รางวัลละ 100,000 บาท : 818893 818895

🔴รางวัลเลขหน้า 3 ตัว รางวัลละ 4,000 บาท : 139 530

🔴รางวัลเลขท้าย 3 ตัว รางวัลละ 4,000 บาท : 781 656

🔴รางวัลเลขท้าย 2 ตัว รางวัลละ 2,000 บาท : 54

🟢รางวัลที่ 2 รางวัลละ 200,000 บาท : 626086 009425 706361 445710 966801

🟢รางวัลที่ 3 รางวัลละ 80,000 บาท :  
073890 543296 989397 164491 337602 
708975 265729 198946 939068 123509

🟢รางวัลที่ 4 รางวัลละ 40,000 บาท 
940408 033953 531409 036660 705735
083894 298466 403073 109672 776759
050705 892775 917346 596529 648142 
606229 534220 035786 656620 802886
924160 359272 461198 730796 347098
314436 652959 466654 963209 938342
190194 786889 482643 760808 764499
770896 433312 399140 261092 730690
783813 127601 121143 801667 406749
300157 052868 722324 815244 047197

🟢รางวัลที่ 5 รางวัลละ 20,000 บาท

608427 795363 399660 215784 720680 
622328 154530 495643 253930 172143 
993052 400084 237014 561656 880304
336835 325053 827929 332950 359521
108798 922294 272193 765241 850203
837254 196824 157570 713335 244432
255142 028348 879210 092952 836397
989074 372164 816587 641873 679023
906844 989237 55774 060137 753659
450981 667158 506232 219953 701748
750470 583089 660401 549267 767982
824645 510846 702804 291205 519732
419305 432973 429243 983571 805860
376226 519069 284819 875552 840042
140002 384608 887529 968167 777059
965121 266027 933882 609909 764291
452554 560073 163865 013081 522828
712633 289079 751539 015145 735425
044736 947659 261524 554737 015230
181502 336944 153215 788314 559492

1 มีนาคม พ.ศ. 2433 รัชกาลที่ 5 ทรงประกาศพระบรมราชโองการ ให้สร้างทางรถไฟสายแรกในราชอาณาจักรไทย

รัชกาลที่ 5 ทรงประกาศพระบรมราชโองการ ให้สร้างทางรถไฟสายแรกในราชอาณาจักรไทย จากกรุงเทพฯ ถึงเมืองนครราชสีมา หลังจากที่ทำการสำรวจพื้นที่ เพื่อทำการสร้างทางรถไฟ เมื่อปี พ.ศ.2430 ดังมีพระราชดำริบางตอนว่า “การสร้างหนทางรถไฟเดินไปมาในระหว่างหัวเมืองไกล เป็นเหตุให้ความเจริญแก่บ้านเมืองได้ เป็นอย่างสำคัญอันหนึ่ง เพราะทางรถไฟอาจจะชักย่นหนทางหัวเมืองซึ่งตั้งอยู่ไกลไปมาถึงกันยากให้กลับเป็นหัวเมืองใกล้ไปมาถึงกันได้โดยสะดวก....”

ย้อนกลับไปในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงได้รับแรงบันดาลพระราชหฤทัยจากการทรงทอดพระเนตรการสร้างทางรถไฟในชวาและทรงประทับรถไฟในอินเดีย พระองค์ทรงเห็นว่ารถไฟจะทำให้ราชอาณาจักรสยามมีความเจริญยิ่งขึ้น และจะช่วยเสริมสร้างความมั่นคงให้กับราชอาณาจักรได้ ซึ่งในขณะนั้นราชอาณาจักรสยามกำลังถูกกดดันจากชาติตะวันตกในการล่าอาณานิคม ดังนั้นการสร้างทางรถไฟจึงได้เกิดขึ้น เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2433 โดยมีประกาศพระบรมราชโองการสร้างทางรถไฟสยามตั้งแต่กรุงเทพมหานครถึงนครราชสีมา ดังมีข้อความแสดงพระราชดำริบางตอนว่า

"การสร้างหนทางรถไฟเดินไปมาในระหว่างหัวเมืองไกล เป็นเหตุให้ความเจริญแก่บ้านเมืองได้เป็นอย่างสำคัญอันหนึ่ง เพราะทางรถไฟอาจจะชักย่นหนทางหัวเมืองซึ่งตั้งอยู่ไกลไปมาถึงกันยากให้กลับเป็นหัวเมืองใกล้ไปมาถึงกันได้โดยสะดวกเร็วพลัน การย้ายขนสินค้าไปทางเป็นการลำบาก ก็สามารถจะย้ายขนไปมาถึงกันได้โดยง่าย เป็นการเปิดโอกาสให้อาณาประชาราษฎร์ มีทางตั้งการทำมาหากินกว้างขวางออกไปและทำทรัพย์สมบัติกรุงสยามให้มากมียิ่งขึ้นด้วย ทั้งเป็นคุณประโยชน์ในการบังคับบัญชา ตรวจตราราชการบำรุงรักษาพระราชอาณาเขตให้ราษฎรอยู่เย็นเป็นสุขได้โดยสะดวก"

ต่อมาในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนากรมรถไฟขึ้นเป็นครั้งแรกในสังกัดกระทรวงโยธาธิการ จากนั้นในวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2434 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ไปทรงขุดดินถมทางรถไฟหลวงสายแรก

สำหรับการก่อสร้างทางรถไฟสายนครราชสีมาได้แล้วเสร็จบางส่วน ในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2439 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีพระอัครราชเทวี ไปทรงประกอบพระราชพิธีเปิดการเดินรถไฟหลวงสายแรกในราชอาณาจักร พระองค์ทรงตอกหมุดตรึงรางรถไฟกับไม้หมอนและเสด็จพระราชดำเนินโดยรถไฟพระที่นั่งไปยังจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้รวมกิจการของกรมรถไฟสายเหนือและกรมรถไฟสายใต้เป็นกรมรถไฟหลวง และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบูรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง และได้เปลี่ยนขนาดทางกว้างรางรถไฟให้เป็นทางกว้าง 1 เมตรทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังมีการสร้างสะพานพระราม 6 เป็นสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาสะพานแรกในประเทศไทยเพื่อเชื่อมทางรถไฟสายเหนือกับสายใต้เข้าด้วยกัน

จากนั้นรัฐสภาได้ตราพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 มีผลใช้บังคับวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2494 กรมรถไฟจึงได้เปลี่ยนเป็นการรถไฟแห่งประเทศไทย และมีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงคมนาคมตามพระราชบัญญัตินี้

การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ดำเนินกิจการต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน การรถไฟแห่งประเทศไทยได้น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นอย่างสูง จึงได้จัดสร้างอนุสรณ์ปฐมฤกษ์รถไฟหลวงและทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2534 ณ บริเวณที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกอบพระราชพิธีเปิดการเดินรถไฟหลวงสายแรกในราชอาณาจักร และถือเอาวันที่ 26 มีนาคมของทุกปี เป็นวันสถาปนากิจการรถไฟอีกด้วย

28 กุมภาพันธ์ 2501 ในหลวง ร.9 - พระราชินี เสด็จบวงสรวงสมเด็จพระนเรศวร และสมโภชพระพุทธชินราช ณ พิษณุโลก

เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501 เวลา 09.30 น. พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปยังศาลเทพารักษ์ พระราชวังจันทน์ จังหวัดพิษณุโลก เพื่อทรงบวงสรวงสักการะเทพารักษ์และพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยในโอกาสนี้ได้พระราชทานผ้าแพรสีชมพูสำหรับผูกที่หน้าศาลเทพารักษ์เป็นเครื่องสักการะ  

จากนั้น ทั้งสองพระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปยังวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร เพื่อทรงประกอบพระราชพิธีสมโภชพระพุทธชินราช ในพระราชพิธีนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระสุหร่ายถวายพัดรัตนาภรณ์ พร้อมด้วยต้นไม้ทองและต้นไม้เงิน ทั้งยังทรงเปลื้องเครื่องราชอิสริยาภรณ์นพรัตน์ราชภรณ์เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ขณะที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเปลื้องผ้าสะพักถวายแด่พระพุทธชินราช  

ในโอกาสเดียวกัน พระองค์ทรงพระราชทานผ้าไตรแก่พระสงฆ์จำนวน 20 รูป เพื่อประกอบพิธีเจริญพระพุทธมนต์ จากนั้นได้ทรงประเคนภัตตาหารแด่พระสงฆ์ และทรงร่วมพิธีถวายดอกไม้เพลิงเป็นพุทธบูชา โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลกเป็นผู้จุดดอกไม้เพลิง หลังจากเสร็จสิ้นพระราชพิธี เจ้าพนักงานได้เบิกแว่นเวียนเทียนสมโภชพระพุทธชินราช ก่อนที่ทั้งสองพระองค์จะเสด็จพระราชดำเนินกลับ  

พระราชพิธีครั้งนี้สะท้อนถึงพระราชศรัทธาอันแรงกล้าต่อพระพุทธศาสนา และเป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์สำคัญที่จารึกไว้ในประวัติศาสตร์ไทย

27 กุมภาพันธ์ 2514 ในหลวงรัชกาลที่ 9 และพระราชินี เสด็จฯ จ.อุตรดิตถ์ ทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ ‘เขื่อนสิริกิติ์’

วันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 ถือเป็นอีกหนึ่งวันสำคัญในประวัติศาสตร์ของจังหวัดอุตรดิตถ์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางศิลาฤกษ์เขื่อนสิริกิติ์ ณ อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ นับเป็นโครงการพัฒนาแหล่งน้ำที่มีบทบาทสำคัญต่อการบริหารจัดการน้ำของประเทศไทย

เขื่อนแห่งนี้เดิมมีชื่อว่า 'เขื่อนผาซ่อม' เนื่องจากตั้งอยู่บริเวณเขาผาซ่อม ตำบลผาเลือด อำเภอท่าปลา โดยเป็นเขื่อนดินขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นเพื่อกั้นแม่น้ำน่าน ซึ่งเป็นหนึ่งในลำน้ำสำคัญของแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อมาเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2511 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระนามาภิไธยของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ มาขนานนามใหม่ว่า 'เขื่อนสิริกิติ์' เพื่อเป็นเกียรติแก่พระองค์

เขื่อนสิริกิติ์เป็นเขื่อนดินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีบทบาทสำคัญในการกักเก็บน้ำเพื่อการชลประทาน การผลิตกระแสไฟฟ้า และการป้องกันน้ำท่วม โดยเฉพาะพื้นที่ราบสองฝั่งแม่น้ำน่านตั้งแต่จังหวัดอุตรดิตถ์ลงไป ซึ่งแต่เดิมมักประสบปัญหาน้ำท่วมเป็นประจำ

รัฐบาลได้วางแผนพัฒนาลุ่มน้ำน่านเป็น 3 ระยะ โดยเขื่อนสิริกิติ์เป็นส่วนหนึ่งของแผนในระยะแรก เพื่อใช้กักเก็บน้ำให้เพียงพอต่อการเกษตรและการผลิตไฟฟ้า ส่วนระยะที่สองและสาม มีการวางแผนก่อสร้างเขื่อนนเรศวรและเขื่อนอุตรดิตถ์เพื่อทดน้ำและกระจายน้ำให้ทั่วถึงมากขึ้น

การก่อสร้างเขื่อนสิริกิติ์เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2511 และแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2515 โดยแบ่งการก่อสร้างออกเป็นสองส่วนหลัก ได้แก่ ส่วนตัวเขื่อนและระบบชลประทาน ซึ่งดำเนินการโดยกรมชลประทาน และส่วนของโรงไฟฟ้า ซึ่งรับผิดชอบโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)

ตัวเขื่อนมีโครงสร้างที่แข็งแรง สามารถกักเก็บน้ำได้ในปริมาณมหาศาล และยังมีอุโมงค์ระบายน้ำ อุโมงค์ส่งน้ำเข้าเครื่องกังหันผลิตไฟฟ้า และระบบกระจายน้ำที่ช่วยให้การบริหารจัดการน้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ปัจจุบันเขื่อนสิริกิติ์ยังคงเป็นแหล่งน้ำสำคัญที่ช่วยให้พื้นที่เกษตรกรรมหลายล้านไร่ได้รับน้ำเพียงพอต่อการเพาะปลูก นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีความสวยงามและดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยี่ยมชมธรรมชาติรอบเขื่อน รวมถึงศึกษาระบบการจัดการน้ำของไทย

54 ปีผ่านไป นับตั้งแต่พิธีวางศิลาฤกษ์ในวันนั้น เขื่อนสิริกิติ์ยังคงทำหน้าที่เป็นแหล่งน้ำหล่อเลี้ยงชีวิตของประชาชน และเป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ของพระราชกรณียกิจที่ทรงคุณค่าของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

26 กุมภาพันธ์ 2500 การเลือกตั้งครั้งที่ 9 ของไทย สกปรกที่สุดในประวัติศาสตร์ ในยุคจอมพล ป. พิบูลสงคราม นับคะแนนยืดเยื้อถึง 7 วัน 7 คืน

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทยเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ถือเป็นการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 9 ของประเทศ ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังจากสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดวาระ ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2495) การเลือกตั้งครั้งนี้ถูกจัดขึ้นโดยรัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม และถูกกล่าวขานว่าเป็น 'การเลือกตั้งที่สกปรกที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย'

การเตรียมการเลือกตั้งที่ไม่โปร่งใส

ก่อนการเลือกตั้ง มีรายงานว่า พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ ได้จัดเลี้ยงกลุ่มอันธพาลและนายตำรวจระดับสูง เพื่อขอให้ช่วยสนับสนุนพรรคเสรีมนังคศิลา ซึ่งมีจอมพล ป. เป็นหัวหน้าพรรค นอกจากนี้ ยังมีการทุจริตในกระบวนการเลือกตั้งหลายประการ เช่น การเพิ่มชื่อในบัญชีผู้มีสิทธิเลือกตั้งอย่างผิดปกติ, การติดประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งล่าช้าหรือไม่ติดเลย, การพบบัตรเลือกตั้งปลอมที่มีการกาเครื่องหมายเลือกผู้สมัครของพรรคเสรีมนังคศิลาไว้ล่วงหน้า (เรียกว่า 'ไพ่ไฟ') การใช้กลุ่ม 'พลร่ม' ที่เวียนไปลงคะแนนเสียงให้พรรคเสรีมนังคศิลาในหลายเขต, การออกแบบคูหาลงคะแนนให้อยู่ห่างจากจุดรับบัตรเลือกตั้งเพื่อสร้างความสับสน, วันเลือกตั้งที่เต็มไปด้วยความรุนแรง

ในวันเลือกตั้ง 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 มีเหตุการณ์ไม่ชอบมาพากลเกิดขึ้นหลายกรณี โดยเฉพาะการใช้ความรุนแรงและข่มขู่ผู้ใช้สิทธิ์เลือกตั้ง เช่น กลุ่มอันธพาลบุกเข้าทำร้ายกรรมการเลือกตั้งประจำหน่วยและลงคะแนนแทน, ผู้ใช้สิทธิ์บางรายที่แสดงความคิดเห็นขัดแย้ง เช่น ตะโกนว่า "นายควงชนะแน่" ถูกทำร้ายจนบาดเจ็บสาหัส, บางหน่วยเลือกตั้งไม่เปิดให้ลงคะแนนจนถึงเที่ยงวัน และบางหน่วยเปิดให้ลงคะแนนเกินเวลาที่กำหนด

ในระหว่างการนับคะแนน พบว่าหมายเลข 25-33 ซึ่งเป็นของพรรคเสรีมนังคศิลา ถูกนับเป็นบัตรดี แม้ว่าจะมีข้อผิดพลาดหรือเสียหาย แต่บัตรเสียของผู้สมัครพรรคอื่นกลับถูกนับเป็นบัตรเสียตามเดิม, ที่หน่วยเลือกตั้งสวนลุมพินีเกิดไฟดับระหว่างการนับคะแนน เมื่อไฟกลับมา คะแนนเสียงของพรรคเสรีมนังคศิลาเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติ พบว่าคะแนนเสียงของหมายเลข 25-33 ใน 13 หน่วยเลือกตั้ง เพิ่มขึ้นกว่า 200% เมื่อเทียบกับจำนวนผู้มาลงทะเบียน

เมื่อผลการเลือกตั้งถูกเปิดเผย ประชาชนจำนวนมากแสดงความไม่พอใจ โดยเฉพาะกลุ่มนิสิตนักศึกษาที่ร่วมสังเกตการณ์และพบหลักฐานการโกงเลือกตั้งมากมาย สื่อมวลชนและประชาชนวิพากษ์วิจารณ์ว่าการเลือกตั้งครั้งนี้เต็มไปด้วยการทุจริตและไร้ความชอบธรรม อย่างไรก็ตาม จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ออกแถลงการณ์ผ่านหนังสือพิมพ์ว่า "อย่าเรียกว่าการเลือกตั้งสกปรกเลย ควรเรียกว่าเป็นการเลือกตั้งไม่เรียบร้อย"

ความไม่พอใจของประชาชนที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้สถานการณ์การเมืองร้อนระอุ จนกระทั่งเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นำกองทัพเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ส่งผลให้ประเทศไทยเข้าสู่ยุคเผด็จการทหาร ซึ่งดำเนินต่อไปจนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ที่นำไปสู่การล่มสลายของระบอบเผด็จการทหารในที่สุด


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top