Friday, 19 April 2024
LITE

'หลุยส์ วิตตอง' เผยโฉม 8 กระเป๋าสตางค์สะพายข้างหญิงสุดคูล ตอบโจทย์สาวยุคใหม่ 'หรู-เท่-ใช้งานง่าย' ใบเดียวจบ ไม่ต้องพกเยอะ

เชื่อว่าหลายคนคงคุ้นเคยกับกระเป๋าสตางค์ใบเล็กที่ต้องเก็บไว้ในกระเป๋าใหญ่อีกที แต่ทราบหรือไม่ว่า...ทุกวันนี้หลายคนก็เริ่มหันมาสนใจการใช้กระเป๋าสตางค์แบบสะพายข้างกันมากขึ้น เพราะไม่ต้องการพกข้าวของเยอะ และไม่อยากใช้กระเป๋าสะพายข้างใบใหญ่ 

ยิ่งในยุคดิจิทัลที่มีการใช้จ่ายและพกบัตรออนไลน์กันมากขึ้น กระเป๋าสตางค์แบบแยกจึงยิ่งไม่ค่อยจำเป็น 

จากแนวโน้มดังกล่าว จึงกลายเป็นไอเดียสำคัญให้แบรนด์ 'หลุยส์ วิตตอง' ได้รวบรวมกระเป๋าสตางค์สะพายข้างหญิง สำหรับคนที่กำลังมองหากระเป๋าสตางค์พกง่าย ใบเดียวจบ ไม่ต้องพกเยอะ แถมยังหยิบสตางค์ใช้ง่าย ไม่ต้องงมหาให้วุ่นวาย

และนี่คือ 8 คอลเลกชัน ที่ 'หลุยส์ วิตตอง' จัดมาให้...

1.กระเป๋าสตางค์สะพายข้างหญิงแบรนด์ หลุยส์ รุ่น Mini Bumbag

เริ่มกันที่ใบแรกที่มีชื่อรุ่นว่า Mini Bumbag ตัดเย็บจาก Monogram แคนวาส ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของหลุยส์ วิตตอง มาพร้อมรูปทรงที่มีความน่าสนใจ กับสี่เหลี่ยมคางหมู เป็นกระเป๋าสตางค์ใบไม่เล็กมาก สามารถจุของได้มากกว่าการใส่สตางค์ รองรับการบรรจุโทรศัพท์มือถือ หูฟัง กุญแจรถ บัตรต่าง ๆ มาพร้อมสายสะพายที่มีให้ใช้งานถึง 2 สายด้วยกัน โดยสายหนึ่งเป็นสายหนังสีน้ำตาล ส่วนอีกสายเป็นสายโซ่สีทอง สะพายข้างก็ได้ หรือสะพายเฉียงก็ไม่ขัดสำหรับกระเป๋าใบนี้ 

2.กระเป๋าสตางค์สะพายข้างหญิงแบรนด์ หลุยส์ รุ่น Nano Noé

ใบถัดมามีชื่อรุ่นว่า Nano Noé เป็นอีกหนึ่งดีไซน์ที่น่าสนใจ ใช้เป็นกระเป๋าสตางค์แบบสะพายข้างได้ เพราะใบไม่ใหญ่เกินไป ตัดเย็บจากผ้าแจ็คการ์ดลาย Monogram ดีไซน์รูปทรงเป็นแบบบักเก็ต มีเชือกรูดสำหรับเปิด-ปิดกระเป๋า บรรจุของได้พอสมควร ทั้งสตางค์ โทรศัพท์มือถือ หูฟัง บัตรต่าง ๆ สามารถสะพายข้างได้ด้วยสายหนังสีน้ำตาล มีสายโซ่สีทองหรูหราประดับที่ด้านหน้ากระเป๋า ใบนี้ออกแนวน่ารักเอาใจวัยรุ่น แมทซ์กับเสื้อผ้าง่าย ๆ ได้อย่างลงตัว 

3.กระเป๋าสตางค์สะพายข้างหญิงแบรนด์ หลุยส์ รุ่น Ivy

กระเป๋าสตางค์ใบนี้มีชื่อรุ่นว่า Ivy ที่มาพร้อมสี่เหลี่ยมผืนผ้าใบยาว สามารถใส่ธนบัตรแบบไม่ต้องพับได้ อีกทั้งยังสามารถบรรจุโทรศัพท์มือถือได้ด้วย ใบเล็กกะทัดรัดเหมาะสำหรับพกพาในชีวิตประจำวัน รุ่นนี้ผลิตจากผ้าแจ็คการ์ดลาย Monogram มาพร้อมสี Multicolor ยืนพื้นด้วยสีขาว รูปแบบเรียบง่ายไม่วุ่นวายด้วยดีไซน์ฝาปิด มีสายหนังให้สะพายข้างได้ และสายโซ่สีทองประดับเป็นลูกเล่นเพิ่มความหรูหรา

4.กระเป๋าสตางค์สะพายข้างหญิงแบรนด์ หลุยส์ รุ่น Pochette Accessoires

กระเป๋าสตางค์อีกหนึ่งใบฝากไว้กับรุ่นที่มีชื่อว่า Pochette Accessoires ตัดเย็บจากวัสดุ Damier แคนวาส เป็นอีกหนึ่งใบที่มาพร้อมรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าใบยาว ที่รองรับกับการใส่ธนบัตรแบบไม่ต้องพับได้ และสามารถใส่โทรศัพท์มือถือได้ด้วย ดีไซน์กระเป๋าไม่หนาเกินไป พกพาง่าย สามารถสะพายข้างได้ด้วยสายสะพายที่ทำจากหนัง มีสายโซ่สีทองประดับที่ด้านหน้ากระเป๋า มาพร้อมช่องแบ่งกระเป๋าขนาดใหญ่ ช่องกระเป๋าแคนวาสมีซิปด้านใน ช่องกระเป๋าแบนเรียบด้านใน 2 ช่อง และช่องใส่บัตรอีก 2  ช่อง เป็นแบบซิปรูดเปิด-ปิดกระเป๋าที่ด้านบน ใช้งานสะดวก

5.กระเป๋าสตางค์สะพายข้างหญิงแบรนด์ หลุยส์ รุ่น Félicie Pochette

ในส่วนของกระเป๋ารุ่นนี้ มีสายโซ่สีทองรองรับการถือ แต่สามารถสะพายข้างได้บางโอกาส เป็นการสะพายแบบสายสั้นพอกิ๊บเก๋ กับรุ่นที่มีชื่อว่า Félicie Pochette มาพร้อมวัสดุหนังสีน้ำเงิน Navy Blue เป็นหนังคาวไฮด์ลายเกรนเนื้อนุ่มประทับลาย Monogram Empreinte ภายในมีช่องต่างๆ รองรับการใส่สตางค์และบัตร ประกอบไปด้วยช่องใส่บัตร 8 ช่อง และยังมีกระเป๋าด้านใน 2 ใบ ที่สามารถแยกใช้งานได้ด้วย หากไม่ต้องการสะพายหรือไม่อยากใช้สายโซ่ก็ถอดออกได้ เพื่อใช้งานเป็นกระเป๋าเพาช์

6.กระเป๋าสตางค์สะพายข้างหญิงแบรนด์ หลุยส์ รุ่น Métis

กระเป๋าสตางค์ที่ชื่อรุ่นว่า Métis มาพร้อมรูปทรงสี่เหลี่ยมคางหมู ตัดเย็บจาก    หนังคาวไฮด์ลายเกรนเนื้อนุ่มประทับลาย Monogram Empreinte ประดับด้วยตัวล็อคสีทองที่ด้านหน้ากระเป๋าแบบ S lock ที่มาพร้อมดีไซน์ฝาปิดทันสมัย ในส่วนของสายสะพายใบนี้เป็นสายโซ่สีทอง สามารถสะพายข้างได้อย่างเหมาะเจาะ ให้ความหรูหรากำลังดี ใช้ออกงานสำคัญต่าง ๆ ได้อย่างลงตัว

7.กระเป๋าสตางค์สะพายข้างหญิงแบรนด์ หลุยส์ Pico Side Trunk

ใบถัดมาเป็นกระเป๋ารุ่นที่ชื่อว่า Pico Side Trunk ตัดเย็บจาก Monogram แคนวาสในตำนาน มาพร้อมรูปทรงคล้ายหีบขนาดเล็ก ดีไซน์ค่อนข้างโดดเด่นและแตกต่างจากกระเป๋าใบอื่น ๆ สามารถใช้งานแบบกระเป๋าสตางค์สะพายข้างได้ด้วยสายสะพายหนัง มาพร้อมขนาดกระเป๋าที่เล็กกะทัดรัด มีตัวล็อกสีทองแบบ S lock ที่ด้านหน้ากระเป๋า ตกแต่งมุมกระเป๋าโลหะแบบเดียวกันกับหีบในตำนานเมซง นอกจากสะพายข้างแล้ว ใบนี้ยังมีหูจับที่รองรับการเป็นกระเป๋าถืออีกด้วย  

8.กระเป๋าสตางค์สะพายข้างหญิงแบรนด์ หลุยส์ Coussin

ใบสุดท้ายกับกระเป๋าที่มีชื่อรุ่นว่า Coussin เป็นอีกหนึ่งใบที่มาพร้อมขนาดกระทัดรัด ใช้เป็นกระเป๋าสตางค์ได้ รูปทรงใบนี้เป็นสี่เหลี่ยมจตุรัส ทำจากหนังแกะเนื้อนิ่มประทับลาย Monogram มีสีดำเป็นสีพื้นของกระเป๋า ความพิเศษคือสายโซ่ที่ประดับด้านหน้ากระเป๋า เป็นโซ่ขนาดใหญ่ แต่งลูกเล่นเหลือบสีที่จะเปลี่ยนเป็นเฉดสีน้ำเงินและสีชมพูงดงามตามแสงตกกระทบ พร้อมกันนั้นก็ยังมีสายโซ่ขนาดเล็กที่มีสีเหลือบเช่นเดียวกัน โดยเส้นนี้รองรับการสะพายข้างได้ด้วยความสูงแนวตั้ง 50 เซนติเมตร

ทั้งหมดนี้ก็เป็นกระเป๋าสตางค์สะพายข้างหญิงแบรนด์ หลุยส์ ที่มาพร้อมขนาดกะทัดรัด ใช้เป็นกระเป๋าสตางค์ที่สามารถใส่ของอย่างอื่นเล็กน้อยได้ และยังสะพายข้างได้ เพื่อการพกพาที่สะดวก ไม่จำเป็นต้องพกกระเป๋าสะพายแยกอีกให้รุงรัง เหมาะกับคนที่ไม่ชอบพกกระเป๋าใบใหญ่เป็นอย่างดี

30 มีนาคม พ.ศ. 2565 ‘ในหลวง ร.10 - พระราชินี’ เสด็จฯ เปิดอาคารนวมินทรบพิตร ๘๔ พรรษา รพ.ศิริราช ใช้รองรับผู้ป่วยนอกได้ 5 แสนราย/ปี พร้อมมีเครื่องมือแพทย์ที่ทันสมัยเทียบเท่าสากล

เมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2565 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จฯ ไปทรงเปิดอาคารนวมินทรบพิตร ๘๔ พรรษา ณ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กรุงเทพฯ

ครั้นเมื่อเสด็จฯ ถึงโรงพยาบาลศิริราช สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี องค์ประธานคณะกรรมการอำนวยการจัดหาทุนอาคารนวมินทรบพิตร ๘๔ พรรษา ทรงเฝ้าฯ รับเสด็จ ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, รศ.นพ.วิศิษฎ์ วามวาณิชย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช เฝ้าฯ รับเสด็จ

จากนั้น พระองค์ทรงเสด็จฯ ไปถวายราชสักการะพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก แล้วเสด็จฯ ไปยังศาลาศิริราช 100 ปี ถวายราชสักการะพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

โดย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระรัตนตรัย ทรงกราบ ประทับพระราชอาสน์ ทรงศีล และจากนั้น สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กราบบังคมทูลรายงานวัตถุประสงค์ของการจัดสร้างอาคารนวมินทรบพิตร ๘๔ พรรษา ความว่า…

“ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร 7 รอบ 84 พรรษา 5 ธันวาคม 2554 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดทำโครงการก่อสร้างศูนย์การแพทย์พร้อมระบบสาธารณูปโภคทดแทนกลุ่มอาคาร 3 หลัง ได้แก่ อาคารหริศจันทร์-ปาวา ตึกผะอบนพ สุภัทรา ระเบียบ และอาคารเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม”

“ซึ่งมีอายุการใช้งานมานานกว่า 50 ปี เพื่อเฉลิมพระเกียรติและถวายเป็นพระราชกุศลแด่ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และเพื่อให้โรงพยาบาลศิริราชมีอาคารแพทย์ที่ให้บริการเฉพาะทางอย่างครบวงจร เพื่อเป็นการเพิ่มพูนคุณภาพและประสิทธิภาพด้านบริการ”

“การนี้ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อว่า อาคารนวมินทรบพิตร ๘๔ พรรษา มีความหมายว่าอาคารที่สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้เป็นพระเจ้าแผ่นดินที่ทรงเป็นใหญ่ รัชกาลที่ 9 เนื่องในโอกาสมหามงคลที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษา”

“อาคารนวมินทรบพิตร ๘๔ พรรษา สูง 25 ชั้นมีชั้นใต้ดิน 2 ชั้น แบ่งการใช้งานพื้นที่ตามลักษณะงาน ประกอบด้วย งานบริการผู้ป่วยนอก งานบริการตรวจทางห้องปฏิบัติการ และการตรวจพิเศษต่าง ๆ รองรับผู้ป่วยนอกได้ประมาณ 500,000 รายต่อปี ผู้ป่วยในประมาณ 20,000 รายต่อปี สามารถให้บริการทางแพทย์และและการตรวจรักษาผู้ป่วยด้วยเครื่องมือทันสมัยได้อย่างครบวงจร มีประสิทธิภาพเทียบเท่ามาตรฐานสากล”

“นอกจากนี้ ยังได้ปรับปรุงทางเดินยกระดับ และทางเชื่อมระหว่างอาคารนวมินทรบพิตร ๘๔ พรรษา กับอาคารอื่น ๆ เพื่อความสะดวกคล้องตัวและปลอดภัยแก่ผู้ใช้บริการ รวมทั้งรับปรุงสภาพแวดล้อมและภูมิทัศน์ให้สวยงาม ปัจจุบันการก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์และเปิดบริการให้ประชาชนมาระยะหนึ่งแล้ว”

จากนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ไปยังแท่นพิธี ทรงกดปุ่มไฟฟ้าเปิดแพรคลุมป้ายอาคารนวมินทรบพิตร ๘๔ พรรษา 

ซึ่งพระองค์ทรงเสด็จฯ ไปยังอาคารนวมินทรบพิตร ๘๔ พรรษา ทอดพระเนตรนิทรรศการ ‘นวมินทรบพิตรศิริราชานุสรณ์’ ภายในอาคารจัดแสดงข้อมูลและนวัตกรรมภายในอาคาร เช่น ศูนย์รังสีวินิจฉัยกับเครื่องถ่ายภาพรังสีโพซิตรอนและเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ใช้ตรวจหาการแพร่กระจายในระยะเริ่มต้นของโรคมะเร็ง, ห้องจัดยาผู้ป่วยนอกอัตโนมัติ ซึ่งนำระบบจัดยาอัตโนมัติแบบครบวงจรมาให้บริการเป็นแห่งแรกของประเทศไทย

ต่อมาเสด็จฯ ทอดพระเนตรเครื่องฉายรังสีเร่งอนุภาคอิเล็คตรอน พร้อมระบบภาพนำวิถีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเครื่องแรก และเครื่องเดียวในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีประสิทธิภาพสูงในการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง

และทรงเสด็จฯ ไปทรงลงพระปรมาภิไธย และพระนามาภิไธยในสมุดที่ระลึก แล้วฉายพระบรมฉายาลักษณ์ พร้อมสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี และสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับผู้บริหารและคณะกรรมการ สมควรแก่เวลาเสด็จฯ กลับ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีประชาชนทั่วไป ครอบครัวผู้ป่วย เดินผ่านเข้าจุดคัดกรองเพื่อมารอเฝ้าฯ รับเสด็จ ซึ่งจัดไว้ตามเส้นทางเสด็จภายในโรงพยาบาลศิริราช ครั้นเสด็จฯ ถึงบริเวณด้านหน้าอาคารนวมินทรบพิตร ๘๔ พรรษา ประชาชนพร้อมใจเปล่งเสียงทรงพระเจริญดังกึกก้อง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงแย้มพระสรวลทักทายประชาชน

สำหรับอาคารนวมินทรบพิตร ๘๔ พรรษา พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 พระราชทานชื่อศูนย์การแพทย์ว่า ‘อาคารนวมินทรบพิตร ๘๔ พรรษา’ เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2556 และชื่อกำกับภาษาอังกฤษว่า ‘Navamindrapobitr 84th Anniversary Building’ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 มีความหมายว่า “อาคารที่สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้เป็นพระเจ้าแผ่นดินที่ทรงเป็นใหญ่ รัชกาลที่ 9 เนื่องในโอกาสมหามงคลที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษา”

โดยนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานเงิน 100 ล้านบาท สมทบทุนสร้างอาคารนวมินทรบพิตร ๘๔ พรรษา เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2560 ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี พระราชทานเงิน 700 ล้านบาท เพื่อจัดซื้อครุภัณฑ์ทางการแพทย์ เพื่อใช้ในอาคารนวมินทรบพิตร ๘๔ พรรษา เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ตลอดจนได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นประธานคณะกรรมการอำนวยการจัดหาทุน

นอกจากนี้ยังได้รับพระกรุณาธิคุณจากพระบรมวงศานุวงศ์ ประชาชนผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคทรัพย์สิ่งของเพื่อสมทบทุนอาคารมาอย่างต่อเนื่อง นับจากวันแรกที่โครงการเริ่มดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จพร้อมใช้ มีเรื่องราวเกิดขึ้นมากมายจนเป็นประวัติศาสตร์หน้าสำคัญของศิริราชและประชาชาติไทย

ทั้งนี้ อาคารนวมินทรบพิตร ๘๔ พรรษา เป็นอาคารสูง 25 ชั้น มีชั้นพื้นดิน 1 ชั้น ชั้นใต้ดิน 2 ชั้น และชั้นดาดฟ้า ซึ่งเป็นอาคารที่สูงที่สุดในโรงพยาบาลศิริราช มีพื้นที่ใช้สอยถึง 67,551 ตารางเมตร สามารถบริการแบบเต็มศักยภาพโดยรองรับผู้ป่วยนอกเพิ่มขึ้นประมาณ 500,000 รายต่อปี ผู้ป่วยในเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 20,000 รายต่อปี ขณะที่เตียงไอซียูเพิ่มขึ้นถึง 62 เตียง

ที่สำคัญภายในอาคารมีเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัย มีการแบ่งส่วนงานบริการเป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ ประกอบด้วย งานบริการผู้ป่วยนอก งานบริการผู้ป่วยใน และงานบริการตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ ในแต่ละชั้น อาทิ ชั้นบี 2 ศูนย์รังสีรักษาศิริราช (Siriraj Radiation Oncology Center) ศูนย์แห่งนี้มีเครื่องฉายรังสีที่ใช้รักษาผู้ป่วย มะเร็งที่เรียกว่า LINAC (Linear Accelerator) จำนวน 5 เครื่อง

นอกจากสามารถฉายรังสีในหลากหลายเทคนิคแล้ว ยังมีเครื่องที่มีนวัตกรรมทางการฉายรังสีขั้นสูง คือ เครื่องเร่งอนุภาค MR LINAC ที่เป็นเครื่องแรกและเครื่องเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีความแม่นยำสูง เพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา และลดผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยโรคมะเร็ง

โดยชั้น 4 ศูนย์รังสีวินิจฉัย (Diagnostics Radiology Center) ให้บริการ MRI จำนวน 2 เครื่อง CT จำนวน 1 เครื่อง ห้องตรวจ PET/CT (PET/CT Imaging Unit) จำนวน 1 เครื่อง และศูนย์ภาพวินิจฉัยเต้านมศิริราช (Siriraj Breast Imaging), ชั้น R3 ลานจอดเฮลิคอปเตอร์ (Helipad) เป็นต้น โดยเริ่มเปิดทยอยให้บริการทางการแพทย์มาตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2561 และเปิดให้บริการเต็มรูปแบบตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

‘กางเกงหอย’ ซอฟต์พาวเวอร์-อัตลักษณ์ ประจำหัวหิน นทท.แห่จอง-ซื้อติดมือเกลี้ยง เตรียมหยิบไปเล่นสงกรานต์

(29 มี.ค.67) นายกิติพงษ์ สิริเพชรเกษม ประธานกลุ่มเราเพื่อนกัน อ.หัวหิน จ.ประจวบฯ เปิดเผยว่า จากที่ กลุ่มเราเพื่อนกัน ร่วมกับ การการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานประจวบฯ อำเภอหัวหิน และเทศบาลเมืองหัวหิน

จัดกิจกรรม เดิน-วิ่ง ‘หัวหิน รักษ์เล#2 หัวหินถิ่นมีหอย HUA HIN THE CITY OF SHELLFISH’ ครั้งที่ 2 ขึ้น เมื่อเดือน ก.พ.67 ที่ผ่านมา พร้อมกับเปิดตัว ‘กางเกงหอย’ สื่อเรื่องราวหัวหินถิ่นมีหอยลงบนกางเกงในรูปแบบเดียวกับกางเกงช้าง โดยมีต้นแบบมาจากกางเกงแมวของโคราช

เพื่อให้เป็น Soft Power และเป็นอัตลักษณ์ของเมืองหัวหินอีกทางหนึ่ง และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากประชาชนนักท่องเที่ยว ทำให้มียอดจำหน่าย ‘กางเกงหอย’ ดีอย่างต่อเนื่องนับพันตัว และล่าสุดได้ไปเปิดจำหน่าย ‘กางเกงหอย’ ที่เคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ ศูนย์การค้าหัวหินมาร์เก็ต วิลเลจ และได้รับความสนใจจากประชาชนนักท่องเที่ยวจำนวนมาก สั่งจองและซื้อติดมือเพื่อไปเล่นสาดน้ำในช่วงเทศกาลสงกรานต์นี้

“ขณะนี้ทางกลุ่มฯ ได้สั่งเพิ่ม ‘กางเกงหอย” ไปกับทางโรงงานอีกราวหนึ่งพันตัว โดยจากเดิมที่เป็นสีเขียว จะมีสีน้ำตาลอ่อนเพิ่มอีกหนึ่งสี เพื่อเป็นทางเลือกของของผู้สวมใส่ เนื่องจากมีประชาชนสอบถามเป็นจำนวนมาก โดย ‘กางเกงหอย’ ล็อตใหม่คาดว่า จะได้ราวสิ้นเดือนเมษายนนี้ ขณะที่ในปีนี้ที่ อ.หัวหิน ได้จัดงานเทศกาลสงกรานต์

“สงกรานต์ คอกระเช้า เสื้อลายดอก สืบสานประเพณีอันดีงามของไทย รับมรดกโลก และมีกิจกรรมมากมาย ที่ตลาดนัดแพไม้ รวม 3 วัน ตั้งแต่ 11-13 เม.ย.นี้ จึงขอเชิญชวนประชาชนนักท่องเที่ยวร่วมเล่นสาดน้ำสงกรานต์ได้ โดยเฉพาะคนที่สวมใส่ ‘กางเกงหอย หัวหิน’ มาเที่ยวภายในงาน ทางเราจะมีของที่ระลึกมอบให้ด้วย” นายนายกิติพงษ์ กล่าว

29 มีนาคม พ.ศ. 2561 ‘กรมพระศรีสวางควัฒนฯ’ เสด็จฯ เปิดนิทรรศการจิตรกรรมฝีพระหัตถ์ สะท้อนอีกมุมพระปรีชาด้านงานศิลปะที่รัก ควบคู่ภารกิจนานัปการ

เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2561 นับเป็นผลงานภาพวาดฝีพระหัตถ์ใน สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ที่รวบรวมมาจัดแสดงครั้งแรก ภายใต้ชื่อนิทรรศการศิลปกรรม ‘หลากลาย หลายชีวิต’ ขณะเดียวกันก็เป็นการนำเสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์ ในการทรงศึกษาระดับปริญญาเอก หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์ คณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (มศก.)

โดยการนี้ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จฯ ไปทรงเป็นประธานในพิธีเปิดและทอดพระเนตรนิทรรศการ ณ หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ถนนราชดำเนิน กรุงเทพฯ โดยพระองค์ทรงพระนิพนธ์ในวิทยานิพนธ์ถึงแรงดลใจที่ทำให้สนพระทัยในการวาดรูปว่า

“สมเด็จแม่เคยรับสั่งว่าทรงมีลูกเพียง 4 คน โปรดที่จะให้ศึกษาในแขนงต่าง ๆ กัน เพื่อที่จะได้มาทำประโยชน์ให้กับประเทศชาติได้หลายด้าน ดังนั้นเมื่อสมเด็จพระเทพรัตนฯ ทรงศึกษาทางด้านอักษรศาสตร์ก่อนแล้ว ข้าพเจ้าจึงได้ตัดสินใจมาเรียนทางด้านวิทยาศาสตร์ แม้จะชอบศิลปะก็ตาม”

“แต่เมื่อข้าพเจ้ากลับมาดำเนินชีวิตที่ผ่านมา ทำให้ข้าพเจ้าค้นพบตัวเองว่ายังมีสิ่งที่ข้าพเจ้ารัก และมีความสุขเมื่อได้คิดถึงและมีโอกาสทำได้ สิ่งนั้นคือ การทำงานศิลปะ ทุกครั้งที่ข้าพเจ้ามีเวลาเหลือจากการปฏิบัติพระราชภาระ ข้าพเจ้ามีความสุขมากเมื่อได้ทำงานที่อยู่กับตัวเองและรู้สึกถึงโลกของตัวเอง มีอิสรภาพ ไม่คิดฝัน จินตนาการได้ตามใจไม่มีขีดจำกัด ความรู้สึกขณะนั้นทำให้เข้าใจและตระหนักรู้ได้ว่า สิ่งนี้อาจเป็นวิถีทางหนึ่งที่ทำให้มนุษย์ได้พบกับความสุขที่แท้จริง ข้าพเจ้าจึงเลือกใช้การทำงานศิลปะเพื่อเป็นการบำบัดทุกข์ให้กับตัวเอง”

ส่วนแรงบันดาลพระทัยที่ทำให้ทรงวาดรูป ‘เสือ’ ทรงพระนิพนธ์ไว้ว่า

“เสือและสิงโตเป็นสัตว์สี่เท้าที่ข้าพเจ้ารักและสนใจมาตั้งแต่เยาว์วัย ทำให้ข้าพเจ้าสนใจเป็นอย่างยิ่งที่จะใช้เสือและสิงโตเป็นรูปธรรมในการแสดงออกในผลงานศิลปะของข้าพเจ้า”

และเหนือสิ่งอื่นใด ‘พระราชบิดา’ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นแรงบันดาลพระทัยในผลงานศิลปะครั้งนี้ด้วย

“เสือที่ปรากฏในผลงานชุดวิทยานิพนธ์ คือรูปสัญลักษณ์แทนความหมายของเจ้าป่าหรือพระราชา เป็นราชาผู้ปกครองดินแดนด้วยพระเมตตา ซึ่งหมายถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9”

“แรงบันดาลใจจากความใกล้ชิดผูกพัน เคารพรัก เทิดทูน และตระหนักซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ ผสมผสานกับภาพลักษณ์ของเสือ สิ่งมีชีวิตที่สงบสง่าเป็นเจ้าป่า เป็นราชาแห่งพงไพร นำมาซึ่งการสร้างสรรค์ทางศิลปะเชิงจินตนาการ โดยหยิบยืมลักษณะของเสือที่เปี่ยมไปด้วยความเมตตามาถ่ายทอดผ่านทักษะกระบวนการวาดเส้นและงานจิตรกรรม เพื่อบอกเล่าเรื่องราวในจิตใจภายใต้แนวคิด ราชาแห่งความรักและความเมตตา”

ส่วนรูปแบบและแนวความคิดของผลงานสร้างสรรค์ศิลปะ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงเสนอในรูปแบบของงานศิลปะกึ่งแฟนตาซี กึ่งเหนือจริงผสมผสานกับคุณลักษณะของงานศิลปะที่ซื่อตรง บริสุทธิ์ใจ โดยไม่ยึดถือแนวทางตามหลักวิชาการ โดยทรงใช้เทคนิคการทรงงานด้วยสีวิทยาศาสตร์สำเร็จรูป ซึ่งเป็นแบบเดียวกับที่ทรงงานด้านการออกแบบอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นสีเมจิกหลายสีชนิดหัวแหลม เป็นสีน้ำที่ไม่มีสารเคมีที่เป็นพิษ ไม่มีกลิ่นและทำลายสภาพแวดล้อม

ทั้งนี้ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงพระนิพนธ์ในวิทยานิพนธ์ตอนหนึ่งว่า

“การสร้างสรรค์ผลงานชุดวิทยานิพนธ์ จะให้ความสำคัญกับการสื่อสารแสดงแนวคิดเกี่ยวกับเสือเจ้าป่า ผู้เปรียบเสมือนราชา เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน โดยการสร้างสรรค์ของเสือท่ามกลางบริบทแวดล้อมที่แตกต่างกันออกไปตามเรื่องราวของเนื้อหาในแต่ละภาพ เป็นเสือที่ใจดี มีเมตตา เพียรสอนสั่งและกระทำแต่สิ่งที่ดีงามเพื่อผู้อื่น เป็นเสือที่มีความรักและความปรารถนาดีต่อทุกคน เป็นเสือที่มีแต่ความรู้สึกด้านบวก มีพลังแห่งความดีงามอยู่ภายในจิตใจเสมอ”

ทั้งนี้ นิทรรศการศิลปกรรม ‘หลากลาย หลายชีวิต’ จัดแสดงภาพวาดฝีพระหัตถ์ชุดเสือและผีเสื้อในอิริยาบถต่างๆ รวม 239 ภาพ แบ่งเป็นนิทรรศการชั้น 1 จัดแสดงผลงานประติมากรรมเสือ, ชั้น 2 ภาพฝีพระหัตถ์ชุดเสือกับสิ่งแวดล้อมและการจัดวาง เสือกับสัญลักษณ์ทางวิทยาศาสตร์ และเสือกับจินตนาการสร้างสรรค์, ชั้น 3 เสือกับลายเส้น ขาว-ดำ อัตลักษณ์ของเสือ และเสือกับธรรมชาติ และชั้น 4 ภาพฝีพระหัตถ์ชุดผีเสื้อ ลวดแขวนชุดผีเสื้อ และผลงานอินเตอร์แอคทีฟ (Interactive) ชุดผีเสื้อ

ด้าน ศ.พิษณุ ศุภนิมิตร ประธานหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มศก. กล่าวว่า การที่พระองค์เสด็จเข้าศึกษาในหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาทัศนศิลป์ ได้สร้างความแปลกใจแก่ตนอย่างมาก เนื่องจากพระองค์ทรงเชี่ยวชาญในด้านวิทยาศาสตร์มาก่อน จนกระทั่งมีผู้ขอพระราชทานถวายพระสมัญญาว่า ‘เจ้าฟ้านักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี’ แต่เมื่อเสด็จฯ มาทรงศึกษาในสาขาศิลปกรรม กลับทรงสร้างสรรค์ผลงานด้านศิลปกรรมในระดับเท่าเทียมกับศิลปินอาชีพ

“ในระหว่างทรงศึกษาในสาขาวิชาทัศนศิลป์ ทรงปฏิบัติพระองค์ดังเช่นนักศึกษาทั่วไป ทรงปฏิบัติตามเงื่อนไขของหลักสูตรและการสอน ทรงเสนอผลงานจิตรกรรมฝีพระหัตถ์เพื่อให้คณาจารย์กราบทูลสอนและแนะนำ จนมีจำนวนผลงานที่มากกว่านักศึกษาที่ศึกษากันตามปกติ แสดงให้เห็นถึงพระวิริยะอุตสาหะกับผลงานมากกว่า 300 ชิ้น และเมื่อคณาจารย์กราบทูลสอนแต่ละครั้ง ทรงมีผลงานมากกว่า 10 ชิ้น มาพระราชทานคณาจารย์กราบทูลแนะนำทุกครั้ง ทำให้คณาจารย์ตั้งข้อสงสัยว่า การที่ต้องทรงปฏิบัติภารกิจอื่นๆ เป็นอันมาก แต่ยังทรงมีเวลาเพื่อทำงานศิลปะได้มากมายเช่นนั้นได้อย่างไร” ศ.พิษณุ กล่าว

ด้าน อาจารย์ปัญญา วิจินธนสาร ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ จิตรกรรมปี 2557 หนึ่งในคณาจารย์ผู้ถวายการสอน กล่าวว่า พระองค์เคยมีรับสั่งถึงแรงบันดาลพระทัยด้านศิลปะ มาจากการได้ทรงออกแบบจิวเวลรีให้บริษัทแห่งหนึ่งจากประเทศอังกฤษ ที่ว่าจ้างเพื่อนำไปผลิตและจำหน่าย ขณะที่ทรงนำรายได้จากการออกแบบไปช่วยเหลือผู้ป่วยโรคมะเร็งที่สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ กระทั่งทรงออกแบบต่อเนื่องเป็นหลายร้อยชิ้น จึงสนพระทัยงานศิลปะโดยตรงอย่างจริงจัง

“ตอนสอนก็สังเกตว่า พระองค์หากสนพระทัยด้านใด ก็จะไปศึกษาค้นคว้า แต่กับงานด้านศิลปะ ทราบว่าพระองค์ไม่เคยเรียนที่ไหนมาก่อน แต่ทรงศึกษาเองโดยธรรมชาติ จึงเป็นจุดเด่นของศิลปะของพระองค์คือ การใช้จินตนาการและความคิดที่มองข้ามการใช้ทักษะ อย่างวาดเสือ ผีเสื้อ ดอกไม้ จากจินตนาการกว่าความเป็นจริงทางธรรมชาติ และทรงต้องการจะสื่อความหมายออกมา”

“อย่างช่วงงานพระบรมศพในหลวง ร.9 ทรงวาดภาพฝีพระหัตถ์ผีเสื้อกับดอกบัวที่สวยมาก ไปถวายที่เบื้องหน้าพระบรมโกศ ที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท แต่ไม่ได้นำมาจัดแสดงในครั้งนี้ แต่ผลงานภาพวาดฝีพระหัตถ์ที่นำมาจัดแสดงอื่น ๆ ก็สื่อไปด้วยความหมายต่อความรักความผูกพันที่มีต่อในหลวง ร.9 เช่น เสือที่นอนแนบกับแผ่นดิน เสือลุยไฟ ที่ต้องการสื่อถึงความยากลำบาก อุปสรรคของในหลวง ร.9 เสือที่มองเหลียวกลับมายังแผ่นดิน แฝงความหมายว่าในหลวง ร.9 มองมาที่แผ่นดินและราษฎร เหล่านี้ทรงสื่อความหมายเสือคือผู้ปกครองเหนือราชอาณาจักร อันสื่อถึงในหลวง ร.9 พระราชาผู้ปกครองแผ่นดินด้วยพระเมตตา”

ซึ่ง อ.ปัญญา จึงขอยกย่อง สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ว่าทรงเป็นศิลปินที่หายากในโลก ด้วยทรงใช้เหตุผลและจินตนาการสร้างสรรค์ออกมาเป็นงานศิลปะ ดั่งศิลปินระดับโลก เช่น เลโอนาร์โด ดาวินชี และเหมือนอัครศิลปินคือ ในหลวง ร.9 และมีความเพียรในการวาดภาพฝีพระหัตถ์ โดยจะทรงพกกระดานวาดภาพไปทุกครั้ง อย่างบนเฮลิคอปเตอร์ก็ยังทรงงานด้านศิลปะ ทรงวาดภาพเป็นประจำทุกวัน กระทั่งภายใน 3 ปี มีภาพวาดฝีพระหัตถ์กว่า 300 ภาพดังกล่าว

ทั้งนี้ ภายในงานได้จำหน่ายผลิตภัณฑ์เสื้อลายเสือ จากภาพวาดฝีพระหัตถ์ บริเวณบูธ Art Shop ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดทำขึ้นเพื่อจำหน่ายแก่ประชาชนทั่วไปได้มีโอกาสสนับสนุนผลิตภัณฑ์ โดยเสื้อลายเสือจากภาพวาดฝีพระหัตถ์นี้ จะเป็นภาพเสือในอิริยาบถต่าง ๆ และด้านล่างจะมีลายเซ็นพระนาม ‘ChulabhornMahidol’ ทุกตัว ราคาจำหน่าย ‘เสื้อยืด’ 350 บาท และ ‘เสื้อโปโล’ 450 บาท โดยรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายจะทูลเกล้าถวายสมทบทุนมูลนิธิจุฬาภรณ์ เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส ผู้ป่วยยากไร้ในพระอนุเคราะห์ สนับสนุนทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนและนักศึกษาที่เรียนดี ประพฤติดี แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ บรรเทาความเดือดร้อนผู้ประสบภัยพิบัติ ตลอดจนพัฒนาชุมชน สร้างอาชีพ และเสริมรายได้ให้ประชาชน

28 มีนาคม พ.ศ. 2451 วันคล้ายวันประสูติ ‘พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์’ ผู้ทรงสร้าง ‘ตึกจักรพงษ์’ สถานที่พบปะเรียนรู้-ทำกิจกรรม ในรั้วจุฬาฯ

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ เป็นพระโอรสพระองค์เดียวในสมเด็จพระเชษฐาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ กับหม่อมคัทริน ณ พิศณุโลก (สกุลเดิม เดสนิตสกายา) พระชายาชาวรัสเซีย ประสูติเมื่อวันเสาร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2451 เมื่อเวลา 23.58 น. ที่ห้องแดง ภายในวังปารุสกวัน ถือเป็นบุคคลเดียวที่ถือกำเนิดบนตำหนักวังปารุสกวัน

พระองค์ทรงเข้าศึกษาที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จนพระชันษาครบ 13 ปี ได้เสด็จไปทรงศึกษาที่ โรงเรียนแฮร์โรว์ ประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2466 - 2470 จากนั้นทรงศึกษาระดับอุดมศึกษา ที่วิทยาลัยตรินิตี้ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ด้านประวัติศาสตร์ ทรงได้รับปริญญาตรี (ศศ.บ. เกียรตินิยม) เมื่อปี พ.ศ. 2473 และปริญญาโท (ศศ.ม. เกียรตินิยม) นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงสนพระทัยในงานประพันธ์และประวัติศาสตร์ ทรงพระนิพนธ์หนังสือไว้ 13 เล่ม โดยเล่มที่สำคัญคือ เกิดวังปารุสก์, เจ้าชีวิต, ดาราทอง, ไทยชนะ

ทั้งนี้ ในปีพุทธศักราช 2475 สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เสด็จพระราชดำเนินไปยัง สหราชอาณาจักร เพื่อทรงสำรวจว่า จะทรงศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยใด โดยครั้งนั้น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ซึ่งตามเสด็จ ได้กราบทูลว่า ต้องการช่วยเหลืออาจารย์และนิสิตจุฬาฯ ให้มีสถานที่พบปะและทำกิจกรรมร่วมกัน 

สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก จึงพระราชทานคำแนะนำว่า ควรสร้างสโมสรสถาน ให้อาจารย์และนิสิตใช้เป็นที่พบปะสังสรรค์ และเล่นกีฬาในร่ม เพราะช่วงเวลานั้นนิสิตไม่มีอาคารเพื่อทำกิจกรรมดังกล่าว พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ จึงประทานเงินจำนวน 20,000 บาท ให้สร้างขึ้นในปี 2475 และเพื่อเป็นอนุสรณ์ถึง สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ พระบิดาของพระองค์ ไปในคราวเดียวกัน 

นับแต่นั้นเป็นต้นมา ตึกจักรพงษ์ได้กลายเป็นสถานที่ให้นิสิตได้รวมตัวใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ มีการจัดตั้งสโมสรต่าง ๆ ให้นิสิตได้เรียนรู้ในสิ่งที่ชอบ เรียนรู้การใช้ชีวิตและทำงานร่วมกับคนอื่น รวมถึงเป็นสถานที่เชื่อมการสมาคมในหมู่อาจารย์ นิสิตเก่า นิสิตใหม่ เข้าหากัน หรือแม้แต่เป็นสถานที่พักอาศัยของเหล่าเด็กกิจกรรม ที่ทำงานกันจนดึกดื่น ไม่ยอมกลับหอพัก 

ดังนั้น ตึกจักรพงษ์เป็นแหล่งรวมความทรงจำดี ๆ มากมาย และตึกจักรพงษ์ไม่เคยเงียบเหงา กลายเป็นสถานที่บ่มเพาะเหล่านักคิด นักทำอย่างแท้จริง และล้วนมีผู้คนผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาอยู่เสมอ 

จวบจนเมื่อ พ.ศ. 2528 เมื่อสโมสรย้ายออกไปยังสถานที่แห่งใหม่ ตึกจักรพงษ์จึงได้เปลี่ยนหน้าที่มาเป็นพิพิธภัณฑ์จัดแสดงสิ่งของทรงคุณค่า และน่าสนใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของจุฬาฯ ภายใต้ชื่อ หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

27 มีนาคม พ.ศ. 2454 ‘ในหลวง ร.6’ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนา ‘กรมศิลปากร’ เป็นครั้งแรก ‘ดูแลคุ้มครอง-อนุรักษ์-เผยแพร่องค์ความรู้’ ด้านมรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ

ในทุกวันที่ 27 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันที่สำคัญยิ่งสำหรับบุคลากรที่ทำงานในหน่วยงานที่สังกัดกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม เพราะเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกการช่างจากกระทรวงโยธาธิการและกรมพิพิธภัณฑ์จากกระทรวงธรรมการ ที่ตั้งขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 มารวมไว้ด้วยกันเป็นกรมใหม่ และพระราชทานนามว่า ‘กรมศิลปากร’ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2454 และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ เสนาบดีกระทรวงมุรธาธร ทรงเป็นผู้บัญชาการกรมศิลปากรคนแรก

ต่อมา ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยุบกรมศิลปากร โดยรวมเข้ากับราชบัณฑิตยสภาและเรียกกรมศิลปากรว่า ‘ศิลปากรสถาน’ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2469 แต่ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 ได้มีประกาศพระราชบัญญัติตั้งกระทรวงและกรม เมื่อ พ.ศ.2476 จัดตั้งกรมศิลปากรขึ้นมาใหม่ โดยให้สังกัดกระทรวงธรรมการ เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2476 ด้วยเหตุนี้ กรมศิลปากรจึงได้กำหนดเอาวันที่ประกาศจัดตั้งกรมศิลปากรขึ้นมาใหม่ เป็นวันคล้ายวันสถาปนากรมศิลปากร ในเอกสารจดหมายเหตุ ชุด กระทรวงศึกษาธิการ ศธ.0701.9.6/4 เรื่อง วันสถาปนากรมศิลปากร พ.ศ. 2496 ได้กล่าวถึงการจัดงานวันคล้ายวันสถาปนากรมศิลปากร ในวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2496 ภายในเอกสาร มีการกล่าวอวยพรข้าราชการในกรมศิลปากร โดย จอมพล ป. พิบูลสงคราม ขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น มีการจัดงานทำบุญ และเชิญพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ ช่วงท้ายของงานมีการจัดรายการนิยายอิงประวัติศาสตร์ประกอบดนตรีไทยออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียง เรื่อง ราเมศวร ซึ่งเอกสารชุดนี้สะท้อนให้เห็นถึงการจัดงานระลึกวันคล้ายวันสถาปนากรมศิลปากรในช่วงเวลานั้น

ใน พ.ศ. 2522 นายเดโช สวนานนท์ อธิบดีกรมศิลปากรในสมัยนั้น ได้มอบหมายให้กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับประวัติกรมศิลปากรใหม่ และในที่ประชุมกรมศิลปากร เมื่อวันอังคารที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 จึงมีมติให้กำหนดวันคล้ายวันสถาปนากรมศิลปากร โดยยึดตามวันที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนากรมศิลปากรขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งก็คือ วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2454 นับตั้งแต่นั้น วันที่ 27 มีนาคม ของทุกปี จึงกลายเป็นวันคล้ายวันสถาปนากรมศิลปากร

เนื่องในโอกาสครบรอบ 113 ปี วันคล้ายวันสถาปนากรมศิลปากรใน พ.ศ. 2567 กรมศิลปากรในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแล คุ้มครอง อนุรักษ์ ฟื้นฟู และเผยแพร่องค์ความรู้ทางด้านมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติมาอย่างยาวนาน ด้วยคุณูปการที่หน่วยงานแห่งนี้สร้างเอาไว้ ทำให้ในวันที่ 27 มีนาคม ของทุกปี จึงเป็นวันที่ชาวกรมศิลปากรจะระลึกถึงการก่อตั้งกรมศิลปากร หน่วยงานที่เป็นเสาหลักในการธำรงไว้ซึ่งมรดกวัฒนธรรมของชาติ ให้คนรุ่นหลังได้ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญทางศิลปวัฒนธรรมของชาติสืบไป

26 มีนาคม พ.ศ. 2459 ‘ในหลวง ร.6’ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนา ‘จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย’ มหาวิทยาลัยไทยแห่งแรกที่มีการศึกษาแบบตะวันตก ตามพระราชดำริ ‘ในหลวง ร.5’

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นับเป็นการก่อกำเนิดมหาวิทยาลัยครั้งแรกในเมืองไทยที่มีการศึกษาตามแบบตะวันตก ถือกำเนิดจากโรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งขึ้น ณ ตึกยาวข้างประตูพิมานชัยศรีในพระบรมมหาราชวัง เมื่อ พ.ศ. 2442 และได้รับพระบรมราชานุญาตให้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนมหาดเล็ก เมื่อ 1 เมษายน พ.ศ. 2445

ทั้งนี้เพื่อผลิตบุคลากรให้รับราชการ ซึ่งมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระอนุสรณ์คำนึงถึงพระบรมราโชบายในสมเด็จพระบรมชนกาธิราชที่จะ “ให้มีมหาวิทยาลัยขึ้นสำหรับเป็นสถาบันอุดมศึกษาของชาวสยาม” พอที่จะช่วยให้กิจการปกครองท้องที่ของกระทรวงมหาดไทยดำเนินไปได้

เมื่อสมควรขยายการจัดการศึกษาเพื่อสนองความต้องการของ กระทรวง ทบวง กรมอื่น ๆ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาโรงเรียนมหาดเล็กเป็นสถาบันอุดมศึกษา พระราชทานนามว่า ‘โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว’ เมื่อ 1 มกราคม พ.ศ. 2453

ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์แน่ชัดในการตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นในอนาคต เห็นได้จากพระราชดำรัสที่พระราชทานในวันก่อศิลาพระฤกษ์โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ 3 มกราคม พ.ศ. 2458 ทรงดำรัสไว้ว่า

“วันนี้เรายินดีที่ได้รับเชิญให้มาวางศิลาฤกษ์สำหรับมหาวิทยาลัยนี้ เพราะเป็นกิจอันหนึ่งซึ่งเราปรารถนาอยู่นานแล้ว ที่จะยังให้เป็นผลสำเร็จตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้ทรงพระราชปรารถนามานานแล้วในเรื่องที่จะให้มีมหาวิทยาลัยขึ้น สำหรับเป็นสถานอุดมศึกษาของชาวสยาม…ตัวเราเป็นรัชทายาท จึ่งรู้สึกเป็นหน้าที่อันหนึ่งที่จะต้องทำการนั้นให้สำเร็จตามพระราชประสงค์…เรามีความยินดีที่ได้เห็นการดำเนินล่วงมาได้มากแล้ว ในบัดนี้เราได้วางศิลาฤกษ์ด้วยความหวังที่ได้เห็นแลความดีงามในอนาคตกาลแห่งมหาวิทยาลัยนี้”

ในปีต่อมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเป็น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2459 พร้อมกับโอนมหาวิทยาลัยแห่งนี้ไปขึ้นกับกระทรวงธรรมการในวันเดียวกัน

ต่อมาเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2460 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมมหาวิทยาลัยขึ้นอีกกรมหนึ่ง ขึ้นตรงต่อกระทรวงธรรมการ มีตำแหน่งหัวหน้าเป็นชั้นอธิบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขึ้นกับกรมนี้ โดยมี พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นชัยนาทนเรนทร ทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมมหาวิทยาลัยเป็นพระองค์แรก และมีพระยาอนุกิจวิทูร (สันทัด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เป็นผู้บัญชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคนแรก (ต่อมาตำแหน่งนี้เปลี่ยนไปเรียกเป็นอธิการบดี ตั้งแต่ พ.ศ. 2478 เป็นต้นมา)

‘หนุ่ม คงกะพัน’ สุดยอดเพื่อนแท้ ‘เมฆ วินัย ไกรบุตร’ ‘ช่วยเหลือ-เคียงข้าง’ จนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต

เมื่อไม่นานมานี้ วงการบันเทิงไทยได้สูญเสีย ‘เมฆ วินัย ไกรบุตร’ นักแสดงมากฝีมือไปอย่างไม่มีวันหวนกลับ สร้างความโศกเศร้า เสียใจแก้ครอบครัว เพื่อนร่วมงาน และเหล่าแฟนคลับเป็นอย่างมาก

เมื่อวานนี้ (24 มี.ค. 67) เพจเฟซบุ๊ก ‘เก้ากระบี่เดียวดาย’ ได้โพสต์ข้อความเกี่ยวกับมิตรภาพดี ๆ ระหว่าง 2 เพื่อนซี้ ‘เมฆ วินัย ไกรบุตร’ และ ‘หนุ่ม คงกะพัน แสงสุริยะ’ โดยระบุว่า…

“เพื่อนมีไว้ทำไม?

เพื่อนมีไว้ทำไม? เป็นชื่อคอนเสิร์ต วันอังคารที่ ๒๖ มีนาคมนี้ เวลา ๑๘.๐๐  ๐๑.๐๐ น. (หกโมงเย็นถึงตีหนึ่ง) ณ โรงเบียร์เยอรมันตะวันแดง สาขาเลียบทางด่วนรามอินทรา ความจริงแล้วคอนเสิร์ตนี้มีกำหนดการวางไว้แต่แรก เพื่อเป็นการระดมทุนในการรักษาคุณวินัย ไกรบุตร และหาทุนทรัพย์มาช่วยดูแลครอบครัว เพราะว่าเดิมนั้นคุณวินัย เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงหลักในการดูแลครอบครัว จนกระทั่งคุณวินัยป่วยเป็นโรคตุ่มน้ำพองเมื่อห้าปีก่อน 

เมฆ วินัย ไกรบุตร เกิดวันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๓ ที่ตำบลเกาะลันตาใหญ่ อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ ในครอบครัวที่มีฐานะยากจน ทำให้ชีวิตวัยเด็กของเขาต้องทำอาชีพหลายอย่างหลังจากเรียนจบจากเทคนิคเขาก็กลายเป็นชาวประมง และทำงานโรงแรม

จนกระทั่งอายุย่างเข้า ๒๒ ปี มีเพื่อนที่อยู่กรุงเทพฯ ไปเยี่ยมเขาและชวนเขาเข้ามาเที่ยวกรุงเทพฯ ทำให้เมฆ วินัย ติดตามเพื่อนเข้ามาเพื่อลองหางานทำ ในตอนนั้นเขาต้องแชร์ห้องพักกับเพื่อน ๆ แถวมหาวิทยาลัยรามคำแหงสอง โดยการนอนสลับกันรอบเช้ากับรอบค่ำเพราะว่าหอพักไม่ให้นอนเกินสี่คน 

วันหนึ่งเมฆ วินัย ไปลองหางานแถวสยาม มาบุญครองก็พบกับโมเดลลิ่ง ขอถ่ายภาพเขาเพื่อส่งแคสติ้งโฆษณา ซึ่งความจริงแล้วก่อนหน้านั้นเขาเคยถูกทาบทามหลายครั้งแต่เนื่องจากเขากลัวจะโดนหลอก เขาจึงไม่กล้า แต่ในวันนั้นโมเดลลิ่งที่มาชักชวนเป็นผู้หญิงอายุไล่ ๆ กัน ทำให้เขาคลายกังวล และสุดท้าย เขาก็ได้งานโฆษณาตัวแรกจากทาง สยามสตูดิโอ 

โฆษณาธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ปี ๒๕๓๕ นับว่าเป็นผลงานแรกในวงการบันเทิงของ วินัย ไกรบุตร หลังจากนั้นเขาก็กลายเป็นนายแบบสุดฮอตของยุคนั้น ด้วยความสูง ๑๘๐ เซนติเมตร ใบหน้าคมคายแบบชายไทย ร่างกายเต็มไปด้วยมัดกล้าม นับว่ามีรูปลักษณ์ค่อนข้างเฉพาะตัว นอกจากผลงานโฆษณาแล้ว เขายังได้แสดงมิวสิควิดีโอหลายตัวของแกรมมี่ อาทิ โสภาสถาพร บิลลี่ โอแกน ต่างคนต่างไป - อรพรรณ พานทอง เสียมั้ย หนุ่ย อำพล (๒๕๓๕) และ ลักไก่ อัสนี-วสันต์ (๒๕๓๖)

แต่มาโด่งดังสุด ๆ กับ มิวสิควิดีโอเพลง ยอม ของวงหินเหล็กไฟ จากค่ายอาร์เอส ในปี ๒๕๓๖ ทำให้หลังจากนั้น ปีถัดมาเขาก็เข้าสู่วงการภาพยนตร์ในปี ๒๕๓๗ จากผลงานภาพยนตร์เรื่องแรกหอบรักมาห่มป่า ก่อนที่จะกลายเป็นพระเอกเต็มตัวกับ ภาพยนตร์เรื่อง ผู้ชายหัวใจไม่พายเรือ (๒๕๓๘) ประกบกับ ธัญญาเรศ รามณรงค์ 

ในช่วงที่เมฆ วินัย ยังเป็นนายแบบอยู่นั้น เขาอาศัยเช่าห้องพักอยู่กับเพื่อนหลายคน หนึ่งในนั้นคือเพื่อนที่เขาสนิทที่สุด ก็คือ ‘หนุ่ม คงกะพัน แสงสุริยะ’ ที่หลังจากที่เมฆ วินัยเริ่มเล่นหนัง ไม่นาน หนุ่ม คงกระพันเพื่อนสนิทของเขาก็มีผลงานเพลงชุดแรกกับทาง บริษัทสโตน เอ็นเตอร์เทนเมนท์ ในชื่อชุด หนุ่ม คงกระพัน และมีเพลงโปรโมต คือเพลง บาทเดียว อย่างเลวร้าย และ จากนี้และตลอดไป ในปี ๒๕๓๘ หลังจากนั้นเขาก็เริ่มแสดงละครในปี ๒๕๓๙ 

แม้ว่าจะเข้าวงการกันแล้ว แต่ความสัมพันธ์ของทั้งคู่ก็ยังแนบแน่น และพักอยู่คอนโดเดียวกันอีกสิบกว่าปี จนในตอนนั้นมีข่าวว่าทั้งสองมีความสัมพันธ์แบบชายรักชาย 

ในช่วงยุค ๙๐ ทั้งเมฆ วินัย และ หนุ่ม คงกะพัน ต่างแสดงละครเป็นหลักจนกระทั่ง เมฆ วินัยมีโอกาสได้แสดงภาพยนตร์เรื่องนางนาก (๒๕๔๒) ที่กำกับโดย นนทรีย์ นิมิบุตร ภาพยนตร์ประสบความสำเร็จทางด้านรายได้อย่างมาก จนทำให้เมฆ วินัย ต้องเดินสายโชว์ตัวตามงานเทศกาลภาพยนตร์ต่างประเทศ โดยมีหนุ่ม คงกะพันขอติดตามเพื่อนสนิทไปด้วย 

เมื่อเพื่อนประสบความสำเร็จ เพื่อนอีกคนก็ยิ่งจะมีความสุข หนุ่ม คงกะพันรู้สึกดีใจแทนเพื่อนรักของเขา จากเด็กบ้านนอกที่เข้ามากรุงเทพและต้องแชร์ห้องพักกันนอน สู่การเป็นดาราชื่อดังระดับนานาชาติ 

เมื่อ วินัยประสบความสำเร็จทางด้านภาพยนตร์ หนุ่ม คงกะพันกลับพบเส้นทางที่ชัดเจนของตัวเอง คือการเป็นพิธีกร รายการสารคดีแนวสืบสวนสอบสวนหาความจริง อย่าง บางอ้อ และเรื่องจริงผ่านจอ 

เส้นทางของเพื่อนอาจจะไม่ได้เดินเคียงคู่กันไปได้ตลอด เมื่อต่างคนต่างเติบโตและมีครอบครัวเป็นของตัวเอง ทั้งสองก็มีช่วงเวลาห่างกันไปบ้าง จนกระทั่งเมฆ วินัยป่วยด้วยโรคตุ่มน้ำพอง 

และอย่างที่ทราบกันดีว่าตลอดอาการป่วยของเมฆ วินัยนั้นจะมีหนุ่ม คงกะพัน ที่คอยอยู่ดูแลเสมอ ไม่เคยทอดทิ้งกัน แม้กระทั่งการขอขมาเจ้ากรรมนายเวร จนเป็นกระแสทางโซเซียลที่คนทั้งประเทศติดตามอย่างเอาใจช่วย 

จะเห็นความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งของคนทั้งคู่ จนการขอขมากรรมเสร็จสิ้น จากการป่วยยาวนานถึงห้าปีของเมฆ วินัย การที่ต้องดูแลลูก ๆ สามคน ทำให้ทางหนุ่ม อยากจะจัดคอนเสิร์ตเพื่อช่วยเหลือเพื่อนอีกครั้ง ในชื่อ คอนเสิร์ตว่า เพื่อนมีไว้ทำไม?

ซึ่งในตอนแรกก็จะให้คุณวินัยมาร่วมในคอนเสิร์ตนี้ด้วย แต่วันที่ ๒๐ มีนาคม เมฆ วินัยก็ได้เสียชีวิต จากภาวะความดันตก ติดเชื้อในกระแสเลือด กระทั่งหัวใจหยุดเต้น เสียก่อน 

หลายคนเคยพูดคำว่า “เป็นเพื่อนกันไปจนวันตาย” แต่สำหรับบางคนแม้เพื่อนจะตายไปแล้วแต่ความเป็นเพื่อนนั้นก็ไม่ได้จบลงไปด้วย 

หลายคนบอกว่าตายไปแล้วจะเอาอะไรติดตัวไปด้วยก็ไม่ได้ แต่สำหรับข้าพเจ้ามองว่า แน่นอนขอรับเราอาจจะเอาวัตถุใดติดตัวไปกับเราไม่ได้เลย แต่ความรักเป็นสิ่งที่ไม่เคยจางหรือลดลงเลย แม้ว่าเราจะไม่อยู่บนโลกใบนี้อีกแล้ว หากเรามีเพื่อนที่ดีอย่าง คุณหนุ่ม คงกะพัน 

คอนเสิร์ต เพื่อนมีไว้ทำไม นั้นมีเพื่อนศิลปินมากมายมาแสดง ทั้งทางโรงเบียร์เยอรมันตะวันแดงก็ไม่คิดค่าสถานที่ ศิลปินที่มากว่าสามสิบชีวิตไม่คิดค่าตัว เป็นคอนเสิร์ตที่อบอวลไปด้วยมิตรภาพที่ส่งให้กับ คุณเมฆ วินัย ไกรบุตร 

หลายคนมักจะพูดถึง วินัย ไกรบุตร ในฐานะพระเอกร้อยล้านคนแรกของประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทย แต่สำหรับข้าพเจ้านั้น ความสำเร็จที่แท้จริงของคุณวินัย ไกรบุตร คือการมีเพื่อนที่ดี ภรรยาที่ดี ที่พร้อมจะเคียงข้างเขาทั้งวันที่สุข วันที่ทุกข์ และแม้แต่วันที่เขาไม่อยู่บนโลกใบนี้แล้วก็ตาม 

มีบางอย่างที่แม้แต่ความตายก็ไม่สามารถพรากไปจากผู้คนได้ ‘มิตรภาพ’ คือสิ่งหนึ่งที่ว่านั้นขอรับ 

The thought that you could die tomorrow frees you to appreciate your life now.
ความตายก็มีด้านดี ความคิดที่ว่าคุณอาจจะตายในวันพรุ่งนี้ จะทำให้คุณตระหนักถึงคุณค่าของชีวิตในปัจจุบัน 

สำหรับคนที่ยังอยู่โปรดถนอมมิตรภาพที่มีไว้ด้วยหัวใจของท่าน เพราะไม่มีความสำเร็จใดมีความหมายเทียบเท่ากับ มิตรภาพอีกแล้ว 

ขอบคุณ คุณหนุ่มคงกะพัน และเพื่อน ขออำลาคุณเมฆ วินัย อีกครั้งขอรับ 

ปล. คอนเสิร์ต เพื่อนมีไว้ทำไม? ทุกท่านสามารถมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือได้โดยการซื้อบัตร แบบเหมาโต๊ะ มี 2 ราคาคือ 1. เหมาโต๊ะละ 20,000 จำนวน 10 โต๊ะ 2. เหมาโต๊ะละ 15,000 บาท จำนวน 23 โต๊ะ (1 โต๊ะ 8 ที่นั่ง พร้อมอาหาร 10 อย่าง เบียร์ 1 ทาวเวอร์ มิกเซอร์ฟรีตลอดทั้งงาน ) 

ท่านที่สนใจสามารถติดต่อ จองโต๊ะได้ที่ นวธันย์ ธวัชวงศ์เดชากุล (เบญ) เบอร์โทร 089-055-3654 

นอกจากนี้ท่านที่สนใจแบบไม่เหมาโต๊ะ สามารถซื้อบัตรเข้างาน ได้ที่ โรงเบียร์เยอรมันตะวันแดง สาขาเลียบทางด่วนรามอินทรา ได้ในราคา 300 บาท ต่อ 1 ท่าน สามารถติดต่อสำรองบัตรได้ที่ โทร.(02) 944-5131- 2 หรือ Line @ tawandang2 และที่ FB : โรงเบียร์เยอรมันตะวันแดง รามอินทรา พบกันวันอังคารที่ 26 มีนาคม 2567 เวลา 18.00-01.00 น.

25 มีนาคม พ.ศ. 2434 ‘ในหลวง ร.5’ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จัดตั้ง ‘กระทรวงยุติธรรม’ ปรับโฉมระบบยุติธรรมไทยให้ทันสมัย - แก้ปัญหาพิจารณาคดีล่าช้า

ประเทศสยามในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 บ้านเมืองเกิดปัญหาต่าง ๆ มากมายในกระบวนการพิจารณาคดีความ ทำให้การอำนวยความยุติธรรมเป็นไปอย่างยากลำบาก จนนำไปสู่วิกฤตทางการศาลขึ้น โดยสาเหตุหลักมาจาก 

1. ความไม่เหมาะสมของระบบการศาลเดิมที่ขึ้นตามกระทรวงต่าง ๆ ทำให้เกิดความล่าช้าสับสน

2. ความไม่เหมาะสมของวิธีพิจารณาความแบบเดิม ที่มีวิธีการพิจารณาและพิพากษาคดี รวมถึงขอบเขตการลงโทษที่ไม่เหมาะสม

3. ความบีบคั้นจากต่างประเทศในด้านการศาล สืบเนื่องมาจากการมีสิทธิสภาพนอกอาณาเขตของชาวต่างชาติ ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อความมั่นคงในเอกราชของไทย

ด้วยเหตุนี้ เพื่อให้ระบบยุติธรรมในสยามมีประสิทธิภาพ มีความเหมาะสม และสามารถบังคับใช้ได้แก่ประชาชนทั่วไปในสยาม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศจัดตั้งกระทรวงยุติธรรมขึ้น เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2434 โดยมีการรวบรวมศาลต่าง ๆ ที่กระจัดกระจายเข้ามาในระบบภายใต้การควบคุมของกระทรวงยุติธรรม และกำหนดรูปแบบวิธีพิจารณาและพิพากษาคดีขึ้นใหม่อีกด้วย

24 มีนาคม พ.ศ. 2565 ‘กรมพระศรีสวางควัฒนฯ’ พระราชทานพระโอวาทแก่บัณฑิต ม.เกษตรศาสตร์ “ผู้มีความกตัญญูรู้คุณ ย่อมปรารถนาที่จะตอบแทนคุณในทางที่ดีที่ชอบ”

เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2565 สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จไปยังคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เขตบางเขน ทรงเปิดอาคารศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ 60 พรรษา ซึ่งสร้างขึ้นเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ที่ทรงได้รับการยกย่องเป็นเจ้าฟ้านักวิทยาศาสตร์ เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุ 60 พรรษา รวมถึงในโอกาสการสถาปนา คณะวิทยาศาสตร์ครบรอบ 50 ปี โดยได้รับพระราชทานนาม จากสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี พร้อมกับพระราชทานพระอนุญาต ให้เชิญอักษรพระนาม จภ. ประดับที่อาคาร โดยเป็นอาคารคู่ สูง 6 ชั้น และ 12 ชั้น ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2561

ภายในมีการออกแบบ ให้เป็นอาคารต้นแบบประหยัดพลังงาน ประกอบด้วย ห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐาน ในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสถานที่จัดการเรียนการสอน รองรับงานปฏิบัติการค้นคว้าวิจัย และการจัดประชุมสัมมนา ตลอดจนการดำเนินงานอื่นๆ ของคณะวิทยาศาสตร์ ในการส่งเสริมการผลิตบัณฑิต ที่มีศักยภาพสูง มีความพร้อมในการทำงาน และสร้างสรรค์คุณค่าให้เกิดประโยชน์ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ นอกจากนี้ ยังเป็นศูนย์นวัตกรรมวิทยาศาสตร์ และการจัดการเทคโนโลยี ที่รวบรวมผลงาน ด้านวิทยาศาสตร์ที่โดดเด่น ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ แก่บุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์ ทั้งภาคเอกชน ภาคอุตสาหกรรมชุมชนและสังคม ให้นำความรู้ไปเป็นแบบอย่างในการสร้างสรรค์นวัตกรรม ทางการเกษตร อาหาร พลังงาน สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนต่อไป

จากนั้น เวลา 13.37 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้เสด็จแทนพระองค์ ไปยังอาคารจักรพันธ์เพ็ญศิริ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2563 เป็นวันที่ 4 โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มีผลงานดีเด่น เข้ารับพระราชทานปริญญา ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ 1 คน มีผู้สำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาเอก ปริญญาโท และปริญญาตรี จากคณะศึกษาศาสตร์, คณะเศรษฐศาสตร์ ศรีราชา, คณะวิศวกรรมศาสตร์ ศรีราชา, คณะพาณิชยนาวี-นานาชาติ, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์, คณะวิทยาการจัดการ และคณะวิทยาศาสตร์ ศรีราชา เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร รวม 1,714 คน

โอกาสนี้ พระราชทานพระโอวาท ความสำคัญตอนหนึ่งว่า "ในวันนี้ ใคร่จะกล่าวเพิ่มเติม ถึงคุณธรรมที่สำคัญยิ่ง อีกประการหนึ่ง คือความกตัญญู ความกตัญญูนั้น หมายถึง ความตระหนักรู้ถึงคุณความดี ของบุคคลต่าง ๆ และสิ่งต่าง ๆ เป็นต้น ว่าบิดามารดาและผู้ปกครอง ซึ่งให้ชีวิตและเลี้ยงดูมา ครูบาอาจารย์ ซึ่งถ่ายทอดสรรพวิชา และอบรม บ่มนิสัย สังคมและชาติบ้านเมือง ซึ่งเป็นที่อยู่ที่อาศัย และประกอบอาชีพการงาน ผู้มีความกตัญญูรู้คุณ ย่อมปรารถนาที่จะตอบแทนคุณ ด้วยการประพฤติตน ปฏิบัติงานแต่ในทางที่ดีที่ชอบ ก่อให้เกิดผลดี ที่พึงประสงค์ คือความเจริญมั่นคง ทั้งในชีวิตและกิจการงาน พร้อมทุกส่วน จึงขอให้บัณฑิตทุกคน พิจารณาคุณค่าของความกตัญญู ให้ทราบชัด แล้วตั้งใจปลูกฝัง สร้างเสริมคุณธรรมข้อนี้ให้งอกงาม"

23 มีนาคม พ.ศ. 2277 วันคล้ายวันพระราชสมภพ ‘สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช’ ผู้นำทัพปราบข้าศึกพม่าและสถาปนา ‘อาณาจักรธนบุรี’

สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือ สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 หรือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มีพระนามเดิมว่า สิน เป็นคนไทยเชื้อสายจีน เป็นพระมหากษัตริย์ผู้ก่อตั้งอาณาจักรธนบุรี และเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวของราชอาณาจักรธนบุรี พระองค์ทรงพระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2277 ตรงกับปีขาล ขึ้น 15 ค่ำเดือน 5 จุลศักราช 1096 ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา

เดิมพระองค์เป็นนายทหารในรัชกาลสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ ต่อมา พ.ศ. 2310 เกิดการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง พระองค์ได้เป็นผู้นำขับไล่ทหารพม่าที่ยึดครองกรุงศรีอยุธยาอยู่ในเวลานั้น และได้ปราบดาภิเษกเป็นพระเจ้ากรุงศรีอยุธยาอีก 7 เดือนถัดมา โดยพระองค์ย้ายเมืองหลวงไปยังกรุงธนบุรี และรวบรวมแผ่นดินซึ่งมีขุนศึกก๊กต่าง ๆ ปกครองให้กลับเป็นปึกแผ่นอีกครั้ง เช่นเดียวกับการขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง 

นอกจากนี้ ยังทรงฟื้นฟูราชอาณาจักรในด้านต่าง ๆ ให้กลับคืนสู่สภาวะปกติหลังสงคราม ทั้งส่งเสริมกิจการด้านเศรษฐกิจ ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม วรรณกรรม และการศึกษา ภายหลังรัฐบาลไทยประกาศให้วันที่ 28 ธันวาคมของทุกปีเป็น ‘วันสมเด็จพระเจ้าตากสิน’ และยังทรงได้รับสมัญญานามมหาราช

พระองค์เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 เมื่อพระชนมพรรษา 48 พรรษา หลังถูกสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกซึ่งเป็นพระสหายสำเร็จโทษ และสืบราชสมบัติต่อเป็นต้นราชวงศ์จักรีในปัจจุบัน รวมเวลาครองราชย์ 15 ปี พระองค์มีพระราชโอรสและพระราชธิดารวมทั้งสิ้น 30 พระองค์ พระองค์ทรงเป็นวีรกษัตริย์ของชาติไทยที่ประชาชนรู้จักดีและเป็นที่เคารพสักการะมากที่สุดพระองค์หนึ่ง นอกจากนี้ยังมีพระบรมราชานุสรณ์ของพระองค์มีประดิษฐานมากที่สุด

‘นันยาง’ เกาะกระแส เปิดตัว ‘กางเกงช้างดาว’ สะท้อนเรื่องราวรองเท้าแตะ หวังพารองเท้ายางพาราสัญชาติไทย ให้ต่างชาติรู้จัก-สัมผัสวิถีการสวมใส่

(22 มี.ค. 67) เฟซบุ๊ก​นันยาง Nanyang โพสต์ประกาศเปิดตัว ‘กางเกงช้างดาว’ พร้อมรายละเอียดต่าง ๆ ทั้งแนวคิดการออกแบบ ความหมายของลวดลาย และราคา รวมถึงช่องทางการสั่งซื้อ โดยระบุว่า…

ครั้งแรกของ ‘ช้างดาว’ ตั้งแต่ พ.ศ. 2496 ที่ผลิต ‘กางเกงช้างดาว’ ที่ถ่ายทอดเรื่องราวของ ‘รองเท้าแตะช้างดาว’ ตลอดระยะเวลากว่า 7 ทศวรรษหลายร้อยล้านคู่ได้ผ่านร้อนหนาวร่วมกับคนไทยและชาวต่างชาติทั่วโลก ด้วยเอกลักษณ์ความสบาย ง่ายง่าย ทนทาน ลุยไปทุกที่ ใส่ได้หมดไม่ว่ารวยหรือจน ทุกเพศทุกวัย และได้รับความนิยมจากรุ่นสู่รุ่น ช้างดาวจึงเป็นมากกว่ารองเท้า เป็นมากกว่าแฟชัน แต่เป็น ‘สไตล์’ ที่อยู่เหนือกาลเวลา

ขอเชิญชวนท่านร่วมเป็นเจ้าของ ‘กางเกงช้างดาว’ ใส่คู่กับ ‘รองเท้าแตะช้างดาว’ เพื่อเป็นก้าวสำคัญที่จะทำให้รองเท้าแตะยางพาราสัญชาติไทย ให้ชาวต่างชาติได้รู้จักและสัมผัสวิถีการสวมรองเท้าธรรมดาในวันสบาย ๆ สไตล์ไทยแลนด์ เช่นเดียวกับพวกเราทุกคน

ทั้งนี้เมื่อดูผิวเผินจะเห็นลวดลายอัตลักษณ์ของรองเท้าช้างดาวแล้วนั้น หากพิจารณาให้ลึกเข้าไปข้างในจะเห็นการเล่าเรื่องผ่านรองเท้าที่เป็นสื่อเชิงสัญญะของสัจธรรมแห่งการดำเนินชีวิตอีกด้วย

“เหมือนกันเกินก็เดินลำบาก ต่างกันมากก็ยากจะเดินไหว ต่างคนต่างดีก็ต่างคนต่างไป คู่ที่ตรงใจคือคู่ที่ไปกันทน”

22 มีนาคม พ.ศ. 2455 ‘ในหลวง ร.6’ ทรงโปรดเกล้าฯ ‘พระราชบัญญัติขนานนามสกุล’ ขึ้นครั้งแรก กำหนดให้คนไทยมีชื่อตัว-ชื่อสกุล ง่ายต่อการทำทะเบียนเกิด-สมรส-ตาย

ก่อนรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในขณะนั้นประเทศสยามยังไม่มีการใช้ ‘นามสกุล’ ดังนั้นจึงมีเพียงชื่อที่บิดามารดา หรือผู้เป็นที่เคารพนับถือตั้งให้ การจะรู้ว่าใครเป็นใครจึงต้องจำแนกจากรูปลักษณ์ หรือต้องถามว่าเป็นลูกเต้าเหล่าใครและตั้งบ้านเรือนที่ใด ดังเรียกกันว่า ‘ฉายา’

ซึ่งการไม่มีชื่อสกุลประจำตระกูลนี้ เป็นเหตุให้เกิดความขัดข้องยุ่งยากต่าง ๆ นานัปการ ไม่ว่าทางราชการหรือทางส่วนตัว หรือในการปกครองบ้านเมืองก็ดี ในระหว่างสังคมมนุษย์ย่อมสับสนอลเวงเป็นอันมาก ถ้าญาติผู้น้อยไม่รู้จักญาติผู้ใหญ่ ใครอาวุโสทางศักดิ์ญาติก็แทบนับกันไม่ถูก หรือไม่รู้จักลำดับสูงต่ำในสกุลกำเนิดของตนเอง ที่ควรใกล้ชิดกลมเกลียวกันก็เป็นเหินห่าง ไม่อาจรวมกันติด ไม่มีการติดต่อรวบรวมกันเป็นหมู่เหล่า ต่างครอบครัวต่างตั้งตนเป็นเอกเทศหมด ไม่มีใครรักใคร่นับถือเชิดชูใคร ใครก็ไม่ช่วยเหลือใคร นาน ๆ เข้าก็อาจถึงกลับกลายเป็นอื่นกันไปทั้งสิ้น หรือกลับไปรวมอยู่แต่กับสิ่งใกล้ชิดที่ไม่มีสายสัมพันธ์กัน โดยไม่เคยคำนึงถึงการสืบสกุลรุนชาติ นานหนักเข้าก็อาจทำให้ชาติไทยแตกแยกกันทีละน้อยๆ จนถึงสลายตัวไปในที่สุด นอกจากนั้นในทางปกครองหรือทางศาล ซึ่งเกี่ยวกับจะต้องให้ความคุ้มครอง ความยุติธรรมตลอดจนการลงโทษหรือในกรณีอื่น ๆ ก็เช่นกัน

ด้วยเหตุดังกล่าวมาแล้ว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทาน “พระราชบัญญัติขนานนามสกุล พระพุทธศักราช 2456” เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2455 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2456 เพื่อให้คนไทยทุกคนต้องมีชื่อตัวและชื่อสกุลให้แพร่หลายทั่วถึงพลเมือง ตลอดทั่วพระราชอาณาจักร เพื่อที่จะได้ทราบรูปพรรณสัณฐานบุคคล และเทือกเถาเหล่ากอสืบมาแต่บิดามารดาใด เพื่อที่จะได้จัดทำทะเบียนคนเกิด คนตาย และการจดทะเบียนสมรสไว้เป็นหลักสืบไป

‘เมฆ วินัย’ เสียชีวิตอย่างสงบ ในวัย 54 ปี หลังเกิดภาวะความดันตก-ติดเชื้อในกระแสเลือด

(21 มี.ค.67) เป็นข่าวเศร้าของวงการบันเทิงอีกครั้ง เมื่อ ‘เอ๋ อรชัญญาช์’ ภรรยาของอดีตพระเอกร้อยล้าน ‘เมฆ วินัย ไกรบุตร’ ได้ออกมาแจ้งข่าวว่า ‘เมฆ วินัย’ ได้เสียชีวิตลงอย่างสงบเมื่อเวลา 23.49 น. เมื่อวานนี้ (20 มี.ค.) ด้วยภาวะความดันตก ติดเชื้อในกระแสเลือด และสิ้นใจในเวลาต่อมา

ซึ่ง ‘เมฆ วินัย’ ทุกข์ทรมานจากการป่วยเป็นโรคตุ่มน้ำพองมากว่า 5 ปี อาการขึ้นๆ ลงๆ มาโดยตลอด แต่ก็ได้ ‘เอ๋ อรชัญญาช์’ ภรรยาคู่ชีวิตและครอบครัวที่คอยดูแลอย่างใกล้ชิด พร้อมกับขายผลิตภัณฑ์ calcy collagen เพื่อนำรายได้มาเป็นค่าใช้จ่ายในการรักษาตัว จากนั้นเมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมาดูเหมือนทุกคนจะเริ่มมีความหวังมากขึ้น เมื่อ ‘หนุ่ม คงกระพัน’ ในฐานะเพื่อนสนิท ได้เริ่มพา ‘เมฆ วินัย’ ไปพบ ‘อ.ไพศาล แสนไชย’ ที่นิมิตรเห็นถึงกรรมเก่าและได้แนะนำให้ ‘เมฆ วินัย’ ไปทำการขออโหสิกรรมจากคนที่เชื้อว่าเคยก่อกรรมมาเมื่ออดีตชาติ เมื่อได้ไปขออโหสิกรรมจนครบทุกคน อาการก็ดูเหมือนจะดีขึ้นมาตามลำดับ แผลเริ่มแห้งขึ้นมาก

แต่แล้วเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ‘เมฆ วินัย’ ต้องเข้าแอดมิทที่โรงพยาบาลด่วน ด้วยอาการเป็นลมในห้องน้ำ 3 วันติด ทางครอบครัวจึงตัดสินใจพาส่งโรงพยาบาลทันที ผลคือร่างกายขาดธาตุเหล็ก ขาดวิตามินแร่ธาตุ และสารอาหารหลายตัว ทำให้ร่างกายรับไม่ไหว บวกกับโรคตุ่มน้ำพองที่มีอยู่เดิมด้วย จนในที่สุดเมื่อเวลา 23.49 น. ของวันที่ 20 มีนาคม ‘เมฆ วินัย’ ก็เสียชีวิตลงอย่างสงบ ด้วยภาวะความดันตก และติดเชื้อในกระแสเลือด สิริอายุ 54 ปี

21 มีนาคม พ.ศ. 2497 วันเกิด ‘พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา’ นายกรัฐมนตรีคนที่ 29 ของไทย ‘ผู้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน-สร้างความเจริญ’ ให้กับประเทศไทยตลอด 9 ปี

‘พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา’ หรือที่คนไทยทั้งประเทศรู้จักในนาม ‘ลุงตู่’ นายกรัฐมนตรีคนที่ 29 ของไทย และเป็นหนึ่งในนายกฯ ที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุด ได้รับโปรดเกล้าแต่งตั้งเป็นองคมนตรี เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

ทั้งนี้ ‘ลุงตู่’ เกิดที่ จ.นครราชสีมา เป็นบุตรชายของพันเอก (พิเศษ) ประพัฒน์ จันทร์โอชา และเข็มเพชร จันทร์โอชา มารดาซึ่งรับราชการครู เป็นบุตรชายคนโตจากพี่น้องทั้งหมด 4 คน โดยคนหนึ่งคือ พลเอก ปรีชา จันทร์โอชา อดีตปลัดกระทรวงกลาโหมและอดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก

สำหรับประวัติการศึกษาของ ‘ลุงตู่’ ได้สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 จากโรงเรียนสหะกิจวิทยา อำเภอเมือง จ.ลพบุรี (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของวิทยาลัยเทคโนโลยีลพบุรี) ต่อมาได้เข้าศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย อำเภอเมือง จ.ลพบุรี แต่เรียนได้เพียงปีเดียวก็ลาออก เนื่องด้วยบิดาเป็นนายทหารจำต้องโยกย้ายไปในหลายจังหวัด และได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนวัดนวลนรดิศ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ในสมัยที่ศึกษาอยู่ที่นี่ ‘ลุงตู่’ เคยถูกนำเสนอประวัติผ่านนิตยสารชัยพฤกษ์ ในฐานะเด็กเรียนดีอีกด้วย จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และในปี พ.ศ. 2514 ได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนเตรียมทหาร จนสำเร็จเป็นนักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 12 (ตท.12) และในปี พ.ศ. 2519 เป็นนักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 23 และหลักสูตรชั้นนายร้อย รุ่นที่ 51 ในปีเดียวกัน และในปี พ.ศ. 2524 หลักสูตรชั้นนายพัน รุ่นที่ 34 และในปี พ.ศ. 2528 หลักสูตรหลักประจำโรงเรียนเสนาธิการทหารบก ชุดที่ 63 และเป็นศิษย์เก่า และในปี พ.ศ. 2550 เข้าเรียนหลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน รุ่นที่ 2

สำหรับเส้นทางทางการเมือง ‘ลุงตู่’ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เข้าสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครั้งแรก เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2557 ภายหลังจากได้ตัดสินใจเข้ายึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลรักษาการ (ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) เมื่อ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ก่อนที่จะดำรงตำแหน่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือ คสช. กระทั่งมีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562

และเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2562 ภายหลังการประชุมร่วมรัฐสภา พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้รับการสนับสนุนจากเสียงส่วนใหญ่ของสมาชิกรัฐสภา ให้ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง (สมัยที่ 2)

แม้จุดเริ่มต้นของการนั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรีคนที่ 29 จะมาจากการทำรัฐประหาร แต่ ‘ลุงตู่’ ก็พิสูจน์ให้พี่น้องคนไทยทั้งประเทศเห็นแล้วว่าตั้งใจเข้ามาทำงานเพื่อประเทศชาติ โดยได้มุ่งมั่นทำงานแรงกาย สร้างความเจริญ และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานหลายอย่างให้แก่ประเทศไทย ตลอด 9 ปีที่ทำหน้าที่ ‘ผู้นำประเทศ’

และนี่คือ 9 เรื่องดี ๆ ที่ ‘ลุงตู่’ ได้ฝากไว้ให้คนไทยทั้งประเทศ

1. กำหนด ‘ยุทธศาสตร์ชาติ’ ระยะยาว 20 ปี เพื่อเป็นเข็มทิศนำทางและกรอบแนวคิดในการพัฒนาประเทศในทุกมิติ ให้เกิดความต่อเนื่อง เป็นเป้าหมายให้ทุกภาคส่วนได้ทำงานร่วมกัน ขับเคลื่อนประเทศตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกระดับ 

2. ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมครั้งยิ่งใหญ่ ในทุกระบบ ทั้งทางถนน ทางราง ทางทะเล และทางอากาศ รองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในอนาคต ยกบทบาทของประเทศจากความโดดเด่นทางภูมิรัฐศาสตร์ ให้เป็นศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์ ด้านการบิน ด้านการขนส่งสินค้า ด้านการท่องเที่ยว ฯลฯ

3. สร้างความพร้อมเรื่อง ‘เศรษฐกิจดิจิทัล’ และ ‘เศรษฐกิจแพลตฟอร์ม’ โดยมีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม ดิจิทัล และ 5G ที่โดดเด่นในภูมิภาค เป็นที่ดึงดูดการลงทุนบริษัทชั้นนำของโลกหลายราย ซึ่งจะส่งเสริมบทบาทให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้าน 5G - Data center - Cloud services ที่สำคัญในภูมิภาค มีการใช้ประโยชน์ของประชาชนในชีวิตประจำวัน การศึกษาหาความรู้ การประกอบอาชีพ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของตนและสร้างรายได้ที่สูงขึ้นของคนทุกกลุ่ม ทุกสาขาอาชีพ  

4. กำหนด 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งล้วนเป็นอุตสาหกรรมแห่งอนาคต รวมทั้งมีเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และเขตส่งเสริมเศรษฐกิจเพื่อกิจการพิเศษ ทั้งด้านการแพทย์ ด้านนวัตกรรม ด้านดิจิทัล เป็นต้น ที่เป็นแหล่งบ่มเพาะแรงงานทักษะสูง-แรงงานแห่งอนาคต รวมถึงเกษตรอัจฉริยะ เพื่อตอบสนองตลาดแรงงานในอนาคต และการพัฒนาประเทศในศตวรรษที่ 21

5. สร้างกลไกในการบริการจัดการทรัพยากรที่สำคัญของชาติ ได้แก่ 

-‘น้ำ’ ออกกฎหมายน้ำฉบับแรกของประเทศ มีสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) บูรณาการหน่วยงานน้ำในทุกระดับ 

-‘ดิน’ ตั้งคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) และจัดทำแผนที่ One Map เพื่อแก้ปัญหาที่ดินทับซ้อนมาหลายสิบปี รวมทั้งจัดสรรที่ดินทำกินให้กับผู้ยากไร้-เกษตรกร 
-
‘ป่า’ ออกกฎหมายป่าชุมชน ไม้มีค่า และตลาดคาร์บอนเครดิต เพื่อส่งเสริมการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับประเทศ

6. พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เช่น ส่งเสริมสวัสดิการกลุ่มเปราะบางทั้งเด็ก-ผู้สูงอายุ-ผู้พิการ ส่งเสริมบทบาทกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) กองทุนยุติธรรม และกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) เพื่อสร้างสังคมที่เท่าเทียม ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และการยกระดับศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ด้วยการศึกษา รองรับความท้าทายใหม่ ๆ ของโลกในอนาคต

7. ปฏิรูปกฎหมายไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ ส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขัน อำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ และดึงดูดการลงทุนเพื่อสร้างรายได้เข้าประเทศ รวมทั้งแก้ไขและบังคับใช้กฎหมายให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล สามารถแก้ไขวิกฤตชาติได้ในหลายเรื่อง เช่น ปลดธงแดง ICAO และแก้ปัญหาการประมงผิดกฎหมาย IUU สร้างความเชื่อมั่นประเทศไทยในเวทีโลก 

8. ประยุกต์เทคโนโลยีที่ทันสมัยในระบบราชการไทย เพื่อยกระดับการให้บริการแก่ประชาชนและเอกชน ที่เข้าถึงง่าย - สะดวก - โปร่งใส เช่น บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่ช่วยให้การจ่ายเงินช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางตรงเป้าหมาย เต็มเม็ดเต็มหน่วย ตรวจสอบได้ และ UCEP สายด่วน 1669 บริการการแพทย์ฉุกเฉิน ฟรีทุกสิทธิ์ ทุกโรงพยาบาล เป็นต้น

9. สร้างความสัมพันธ์ทั่วโลก ทั้งในรูปแบบทวิภาคี-พหุภาคี และเขตการค้าเสรี (FTA) รวมทั้งรื้อฟื้นความสัมพันธ์ไทย-ซาอุดีอาระเบีย เพื่อขยายความร่วมมือ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และตลาดการค้าระหว่างกัน

ทั้งหมดนี้ เกิดขึ้นได้ภายใต้การบริหารประเทศของ ‘ลุงตู่’ และแม้การเดินทางของประเทศไทยในช่วง 9 ปีที่ผ่านมา จะไม่ได้ราบรื่น หรือง่ายดาย ซ้ำยังคงมีวิกฤตโควิด วิกฤตความขัดแย้งในโลก ที่ส่งผลกระทบด้านราคาพลังงาน ค่าครองชีพ และเงินเฟ้อจนถึงในปัจจุบัน แต่ด้วยความร่วมมือร่วมใจ เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคนไทย ช่วยให้สามารถฟันฝ่าอุปสรรคต่าง ๆ และฟื้นตัวมาได้ ท่ามกลางสถานการณ์โลกที่ยังคงผันผวนแปรปรวน

ก็ต้องบอกว่า ‘ประเทศไทย’ นับจากวันนี้เป็นต้นไป จะไม่ได้เริ่มนับที่ 1 อีกต่อไป หากทุกอย่างที่ ‘ลุงตู่’ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้สร้างมานั้นได้รับการ ‘ต่อยอด’ ก็จะทำให้ประเทศไทยเดินทางเข้าสู่ ‘เส้นชัย’ ได้เร็ววันยิ่งขึ้น


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top