Friday, 9 May 2025
NEWSFEED

คุ้มครองผู้ใฝ่ดี ‘พระสยามเทวาธิราช’ บุคลาธิษฐาน เทพยดาผู้คุ้มครองสยามประเทศ

ประเทศไทยนั้นมีความหมิ่นเหม่ในการเสียบ้าน เสียเมืองตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ อาจจะเบาบางการรุกรานจากด้านพม่าแต่กับประเทศมหาอำนาจทางตะวันตกที่ใช้การค้าขายมาเป็นปัจจัย บ้านเมืองใดไม่รู้ทันเหตุการณ์ภายนอกประเทศว่าทางตะวันตกมีอำนาจจากเรือปืน ใครไม่รู้จักโอนอ่อนผ่อนปรนก็ล้วนแล้วแต่ตกเป็นเมืองขึ้น ทั้งฝั่งซ้ายและขวาของเมืองสยามล้วนไม่มีรอดพ้น (อันนี้ไม่ขอพาดพิงเรื่องของผู้รู้ที่ออกมาแสดงทัศนคติเรื่องเราไม่เก่งภาษาอังกฤษเพราะเราไม่ได้เป็นเมืองขึ้น น่าตีปากจริงๆ) 

เรามีดีอันใด?  มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์สิ่งไหน? หรือเราจะมีเทพยดาคุ้มครองประเทศให้ปลอดภัย 

วันนี้ขอเล่าเรื่องเทวดาผู้คุ้มครองประเทศไทยบ้างนะ…

ใช่ครับ!! ผมกำลังจะเล่าถึง ‘พระสยามเทวาธิราช’ แต่เรื่องนี้แล้วแต่วิจารณญาณของแต่ละบุคคลนะครับ ผมไม่ก้าวล่วง 

โดยในช่วงสิงหาคมของปีก่อนมี ‘เพจราษฎรสเปช’ (หรือ ‘เปรต’ ดี) เล่าประวัติศาสตร์ได้ น่าปวดหัวมาก โยง ‘พระสยามเทวธิราช’ เป็น ‘ผี’ เพียงเพราะไปเห็นภาพ พระสยามเทวาธิราช ที่มีรูปร่างคล้ายรัชกาลที่ 4 (อันนั้นเขาเรียกพระป้าย) เลยทึกทักไปเองว่า ‘เป็นลัทธินับถือผีสาง’ โดยส่วนตัว (ซึ่งแล้วแต่วิจารณญาณนะครับ) มันก็ถูกเรื่อง ‘ผี’ แต่มัน ‘ไม่ใช่ลัทธิ’ หากแต่มันคือ ‘ความเชื่อ’ ที่แตกต่างไปจากศาสนาหลัก มันเป็นเฉพาะของภูมิภาค (ที่ไอ้บางพวกยังทะลึ่งไปกราบฝาส้วม กินขี้ เชื่อแต่เรื่องไม่จริงได้เลย แอบแรงเล็กน้อย) ซึ่งนับเป็นเรื่องตลกของคนที่ไม่ได้เรียนประวัติศาสตร์ อะไรเลย 

เรื่องนี้เอง ผมเคยนำมาเล่ามาแล้วครั้งหนึ่งใน Meet THE STATES TIMES โดยไปโยงกับความเรื่องการไหว้ผีบ้าน นับถือผีเมือง (ผีเสื้อเมือง ทรงเมือง หลักเมือง ก็ล้วนแล้วอยู่ในหลักนี้) แต่กระนั้นการไหว้ดังนี้มันก็ไม่ใช่จะเพิ่งเกิดมา แต่มันเป็นความเชื่อที่มีอยู่อย่างยาวนานคู่ดินแดนอุษาคเนย์ ซึ่งคติความเชื่อเรื่องเทวดาผู้คุ้มครองบ้านเมืองนั้นเป็นความเชื่อที่สืบต่อกันมาอย่างยาวนาน และสร้างความร่มเย็นให้เกิดแก่บ้านเมืองนั้นๆ มานับร้อย นับพันปี 

อย่างภาคอีสานนั้นจะมีความเชื่อเรื่อง ‘มเหสักข์’ ซึ่งถือว่าเป็น ‘ผีผู้ทรงศักดิ์’ หรือ ‘เทวดาผู้คุ้มครองบ้านเมือง’ ให้อยู่อย่างร่มเย็น เป็นสุข โดยจังหวัดอย่าง ขอนแก่น, มหาสารคาม, ร้อยเอ็ด ฯลฯ ก็มีศาลมเหสักข์ ภาคเหนือเขาก็มี ‘ผีเสื้อเมือง’ ในหลายพื้นที่ ในกรุงเทพฯ ก็มี ‘พระเสื้อเมือง’ ในศาลหลักเมืองกรุงเทพ ฯ  โดย ‘มเหสักข์’ ก็คือเทพยดาผู้ให้ความร่มเย็นแก่จังหวัดนั้นๆ ส่วน ‘พระสยามเทวาธิราช’ นั้นก็มีคติที่เหมือนกัน เพียงแต่ท่านเป็นเทวดาที่ยกชั้นสูงขึ้นมาจากเทวดาผู้คุ้มครองเมือง เป็นเทวดาที่รวมเมืองต่างๆ ไว้ด้วยกัน ปกครองเมืองต่างๆ ไว้ด้วยบารมี โดยอาจจะเรียกได้ว่า เป็น ‘มเหสักข์หรือบุคลาธิษฐานแห่งสยามประเทศ’ เป็น ‘เทวดาผู้คุ้มครองประเทศ’ 

‘พระสยามเทวาธิราช’ เป็นเทวรูป หล่อด้วยทองคำสูง 8 นิ้ว กว้าง 2 นิ้ว ประทับยืนทรงเครื่องกษัตริยาธิราช ทรงฉลองพระองค์อย่างเครื่องของเทพารักษ์ มีมงกุฎเป็นเครื่องศิราภรณ์ พระหัตถ์ขวาทรงพระแสงขรรค์ พระหัตถ์ ซ้ายยกขึ้นจีบดรรชนีเสมอพระอุระ

หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล ทรงเล่าว่า “พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดการศึกษาประวัติศาสตร์ มีพระราชดำริว่า ประเทศไทยมีเหตุการณ์ที่เกือบจะต้องเสียอิสรภาพมาหลายครั้ง แต่เผอิญให้มีเหตุรอดพ้นภยันตรายมาได้เสมอ คงจะมีเทพยดาที่ศักดิ์สิทธิ์คอยอภิบาลรักษาอยู่ สมควรที่จะทำรูปเทพยดาองค์นั้นขึ้นสักการบูชา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ ปั้นหล่อเทวรูปขึ้น ถวายพระนามว่า ‘พระสยามเทวาธิราช”ประดิษฐาน ณ พระที่นั่งทรงธรรมในหมู่พระที่นั่งพุทธมณเฑียร ในพระอภิเนาว์นิเวศน์’ 

ต่อมาในสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงโปรดเกล้าฯ ให้รื้อหมู่พระที่นั่งพุทธมหามณเฑียรรวมทั้งพระที่นั่งทรงธรรม โปรดให้อัญเชิญ องค์พระสยามเทวาธิราชไปประดิษฐานอยู่ในเรือนแก้วทำด้วยไม้จันทน์ ลักษณะแบบวิมานเก๋งจีน มีคำจารึกเป็นภาษาจีนที่ผนังเบื้องหลัง แปลว่า ‘ที่สถิตแห่งพระสยามเทวาธิราช’ (暹國顯靈神位敬奉) อยู่ในมุขกลางของพระวิมานไม้แกะสลักปิดทอง ตั้งอยู่เหนือลับแลบังพระทวารเทวราชมเหศวร์ ตอนกลางพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระบรมมหาราชวัง จวบจนทุกวันนี้

มีความเชื่อกันว่า ‘พระสยามเทวาธิราช’ ทรงเป็นประมุขของเทพารักษ์ที่ปกปักษ์รักษาบ้านเมือง มีเทพบริวารสำคัญ ได้แก่ พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง และพระหลักเมือง เป็นต้น ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระจอมกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงเคารพบูชาพระสยามเทวาธิราชเป็นอย่างสูง ทรงถวายเครื่องสักการะเป็นประจำทุกวัน และทรงถวายเครื่องสังเวยทุกวันอังคารและวันเสาร์ก่อนเวลาเพล กับโปรดเกล้าฯ ให้จัดพิธีสังเวยเทวดาในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 อันตรงกับวันขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติแบบโบราณด้วย ทั้งเป็นที่ร่ำลือกันว่าพระสยามเทวาธิราชนั้นศักดิ์สิทธิ์เป็นอย่างมาก

พระราชพิธีบวงสรวงใหญ่ ‘พระสยามเทวาธิราช’ ตามประเพณีกำหนดไว้ในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ของทุกปี อันเป็นวันขึ้นปีใหม่ตามจันทรคติแบบโบราณ ส่วนเครื่องสังเวยที่ใช้บูชาพระสยามเทวาธิราชตามประเพณีโบราณที่ปฏิบัติสืบต่อกันมานั้นประกอบด้วย หัวหมู เป็ด ไก่ เมี่ยงส้ม ทองหยิบ ฝอยทอง ส้มเขียวหวาน องุ่น มะตูมเชื่อม มะพร้าวอ่อน กล้วย หอมจันทร์ ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว ผลทับทิม และเทียนเงิน เทียนทอง ความสอดคล้องทางความเชื่อและพิธีกรรมของการบูชาพระสยามเทวาธิราช กับการ ‘ไหว้-พลี’ ให้กับ ‘พระขพุงผี’ ทำให้ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อธิบายว่า การบูชา ‘พระสยามเทวาธิราช’ เข้าลักษณะเป็น ‘พิธีผี’ ประการหนึ่ง…

“...การเซ่นสังเวยพระสยามเทวาธิราช การสังเวยเทพารักษ์ต่างๆ พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง พระหลักเมือง เหล่านี้จะเรียกว่าเกี่ยวกับศาสนาใดก็ไม่ได้ เพราะเทวดาเหล่านี้ก็ไม่มีในศาสนาพราหมณ์ ในศาสนาพุทธก็ไม่มี เห็นจะเป็นความเชื่อของคนไทยโดยเฉพาะที่นับถือผีมาตั้งแต่โบราณ...”

ความเชื่อเรื่องผีบ้านผีเมืองเมืองนี้ นับเป็นสิ่งที่แพร่หลายไปทั่วในกลุ่มวัฒนธรรมไทยและใกล้เคียง ซึ่งเป็นการบูชาผีบรรพบุรุษ แต่มิใช่บรรพบุรุษของชาวบ้านทั่วไป หากเป็นผีเจ้าเมืองที่เป็นผู้สร้างเมืองและเคยปกครองเมืองมาก่อน และเจ้าเมืองรุ่นหลังก็อัญเชิญให้ผีเจ้าเมืองผู้ผูกพันกับชุมชนให้ช่วยปกปักคุ้มครองรักษาบ้านเมือง ฉะนั้นเรื่องนี้จบไป แต่มันก็มีเรื่องอื่นที่วุ่นวายกับ พระสยามฯ ท่านไปอีก 

การไปวุ่นวายกับ ‘พระสยามเทวาธิราช’ ท่านนั้นก็มีในช่วงหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 มีการเปลี่ยนชื่อประเทศสยามเป็นประเทศไทย (จอมพล ป. ผู้พิบูลสงคราม นั่นเอง)  และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (ก็ ‘ปรีดี พนมยงค์’ นั่นแหละ) ได้หารือกับทางสำนักพระราชวังเรื่องการเปลี่ยนนาม ‘พระสยามเทวาธิราช’ เป็น ‘พระไทยเทวาธิราช’ ในครั้งนั้น โดยไปขอความเห็นจากทางกรมศิลปากร ซึ่งกรมศิลปากรมีความเห็นว่า…

“ให้คงชื่อเดิมไว้ แต่ยกเลิกการสังเวยประจำปีหรืองานพิธีอื่นๆ เกี่ยวกับพระสยามเทวาธิราช แต่ถ้าไม่สามารถยกเลิกพิธีการที่เกี่ยวข้อง กรมศิลปากรก็มีข้อเสนอให้ 2 แนวทางคือ ให้เปลี่ยนชื่อเป็น ‘พระไทยเทวาธิราช’ หรือสร้าง พระไทยเทวาธิราชขึ้นมาอีกองค์ ในที่สุดคณะรัฐมนตรีลงความเห็นว่า ให้คงไว้ตามเดิมเพราะ ‘พระสยามเทวาธิราช’ ก็ไม่ได้มีการทำพิธีเป็นทางการแต่อย่างใด” (ผมขอกราบกรมศิลปากรและคณะรัฐมนตรี  1 คำรบ !!!) 

แต่กระนั้นพิธีการบวงสรวง ‘พระสยามเทวาธิราช’ ก็ไม่ได้มีอย่างสม่ำเสมอดังเช่น ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง นี่กระมังทำให้ประเทศชาติเต็มไปด้วยความวุ่นวาย คณะราษฎรแก่งแย่งอำนาจกัน มีการใช้ประเทศเป็นเครื่องงัดข้อกันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และเหตุการณ์ใหญ่อีกหลายต่อหลายครั้งกระทบไปถึงความมั่นคงของชาติและราชบัลลังก์ 

‘ดร.ดิลก’ พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ กรมหมื่นสรรควิไสยนรบดี เจ้าชายนักเศรษฐศาสตร์คนแรกแห่งสยามที่คนไทยควรรู้จัก

หลังจากจบการประชุมเขตเศรษฐกิจ APEC 2022 เรื่องทางเศรษฐศาสตร์ก็ประดังประเดเข้าในหัวผม แต่มีเรื่องหนึ่งที่เด่นชัดและผมอยากนำมาเขียนเล่า ให้ท่านผู้ติดตามได้รู้จักกับ เจ้าชาย ‘นักเศรษฐศาสตร์’ ผู้รอบรู้ทางด้าน ‘ภูมิศาสตร์เศรษฐกิจ’ ของเมืองไทย และเป็นท่านแรกๆ ที่เขียนหนังสือเกี่ยวกับเศรษฐกิจของสยาม แต่ติดที่ว่าท่านทรงอาภัพด้วยทรงมีพระชนมายุค่อนข้างสั้น และเหตุแห่งการสิ้นพระชนม์นั้นไม่น่าจะที่จะมีใครอยากเอ่ยถึงนัก

พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 44 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาทิพเกสร เมื่อวันเสาร์ เดือน 6 ขึ้น 9 ค่ำ ปีวอก ฉศก จ.ศ. 1246 ตรงกับวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2427 โดยเจ้าจอมมารดาเจ้าทิพเกสร นับเป็นเจ้านายฝ่ายเหนือท่านแรกที่เข้ามาเป็นบาทบริจาริกาในพระพุทธเจ้าหลวง ท่านเป็นหลานทวดของพระเจ้ากาวิละ พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 1 เหตุที่ทรงมีสายพระโลหิตสัมพันธ์กับเจ้านายฝ่ายเหนือเช่นนี้จึงได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระราชบิดาว่า ‘ดิลกนพรัฐ’ อันมีความหมายว่า ‘ศรีเมืองเชียงใหม่’ 

พ.ศ. 2440 พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐได้ทรงเข้าเรียนที่โรงเรียนวอร์เรนฮิลล์ เพื่อศึกษาในระดับประถมศึกษาตอนปลาย ก่อนที่จะย้ายไปเรียนที่โรงเรียนมัธยมชาร์เตอร์เฮ้าส์ ทั้งๆ ที่โรงเรียนมัธยมกินนอนที่อีตัน ได้ตกลงรับเข้าศึกษาแล้ว โดยเหตุผลที่พระยาวิสุทธสุริยศักดิ์ ผู้ดูแลการศึกษาของพระราชโอรสในอังกฤษขณะนั้น มีความเห็นว่าพระเจ้าลูกยาเธอยังขาด ‘ความพร้อม’ ที่จะไปเรียนที่อีตัน 

ต่อมาในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2443 พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ ได้เสด็จกลับกรุงเทพฯ เพราะเจ้าจอมมารดาเจ้าทิพเกสรป่วยหนักและถึงแก่อนิจกรรม คราวนั้นพระเจ้าลูกยาเธอฯ ได้ประทับอยู่เมืองไทยนานถึง 8 เดือน จนกระทั่งเสร็จสิ้นงานศพของพระมารดา จึงได้เสด็จกลับไปศึกษาต่อที่อังกฤษในเดือนมิถุนายน 2444 การว่างเว้นการเรียนไปนานหลายเดือน ทําให้พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐทรงเรียนตามพระสหายในชั้นเรียนไม่ทัน จึงต้องทรงย้ายไปเข้าเรียนที่โรงเรียนมัธยมของเอกชนที่ ‘แครมเม่อร์’ 

ในปีเดียวกันนี้ ปรากฏว่าพระองค์เจ้าดิลกนพรัฐทรงมีความขัดแย้งกับพระยาประสิทธิศัลยการและนายเวอร์นี ซึ่งได้รับหน้าที่ผู้ดูแลการศึกษาของบรรดาพระราชโอรสในอังกฤษ ณ ขณะนั้น พระองค์เจ้าดิลกฯ ได้ทรงมีลายหัตถ์ ถึงพระยาสุริยานุวัตร (เกิด บุนนาค) ปรารภถึงปัญหาการศึกษาเล่าเรียนว่าไม่ต้องพระประสงค์ที่จะอยู่โรงเรียนของเอกชน พระยาสุริยานุวัตร อัครราชทูต ณ กรุงปารีส ได้มีหนังสือกราบบังคมทูลความว่า ผู้ดูแลฯ มักจะตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ไปโดยไม่รับฟังเหตุผลจากพระเจ้าลูกยาเธอฯ 

ในหลวง ร.5 ทรงมีพระราชดําริว่า พระยาสุริยานุวัตร ดูเหมือนจะเชื่อพระเจ้าลูกยาเธอฯ มากเกินไป และทรงกล่าวถึงพระราชโอรสว่าเมื่อกลับเมืองไทยก็มิได้แสดงความเฉลียวฉลาด และก็ไม่ค่อยจะแข็งแรงด้วย หากเป็นผู้มีความเพียร ดังนั้นเมื่อเรียนที่อังกฤษมีปัญหาก็ควรจะให้ย้ายไปเรียนที่เยอรมัน แม้จะต้องเริ่มต้นกันใหม่ก็คงจะไม่ ‘ถอยหลังเข้าคลองเท่าไรนัก’ 

การย้ายไปเรียนเยอรมันนี่แหละถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของเจ้าชายนักเศรษฐศาสตร์ พระองค์ย้ายไปศึกษาที่เยอรมนีในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2444 โดยทรงเข้าศึกษาในโรงเรียนมัธยมที่เมืองฮาลเล ภายใต้การควบคุมดูแลของ ดร. ตริน ศาสตราจารย์ชาวเยอรมัน โดยพระองค์ทรงสําเร็จชั้นมัธยมศึกษาภายในเวลาเพียง 2 ปีเท่านั้น

พ.ศ. 2446 เมื่อมีพระชันษา 15 ปีบริบูรณ์ และได้ประทับอยู่ในยุโรปมาแล้วกว่า 6 ปี พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ ได้ทรงเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยมิวนิคในหลักสูตรวิชา ‘เศรษฐกิจการเมือง’ ซึ่งก็คือ ‘เศรษฐศาสตร์’ ในปัจจุบันนั่นเอง 

ภายหลังที่ได้ทรงศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยมิวนิคเป็นเวลา 2 ปี ก็ได้ทรงย้ายไปศึกษาในแขนงวิชาเดียวกัน ณ มหาวิทยาลัยทึบบิงเงิน ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่มีชื่อเสียงของเยอรมนีตอนใต้อีกแห่งหนึ่ง พระองค์ได้ทรงสำเร็จการศึกษาในหลักสูตรปริญญาเอกทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่งเรียกเป็นภาษาเยอรมันว่า ‘ดอกเตอร์วิทสตาตส์วิสเซนชัฟท์’ (เยอรมัน: Doktor der Wirtschafts-wissenschaften) ใน พ.ศ. 2450 ขณะทรงมีชันษาได้ 23 ปี 

โดยวิทยานิพนธ์ของพระองค์มีชื่อว่า Die Landwirtschaft in Siam โดย Dilock Prinz Von Siam แปลว่า ‘การเศรษฐกิจในประเทศสยาม โดย พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ’  ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2449/2450 ซึ่งในสมัยนั้นการศึกษา ‘ภูมิศาสตร์เศรษฐกิจ’ เป็นที่สนใจ โดยเฉพาะประเทศในภูมิเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ยังมีการศึกษาอยู่ค่อนข้างน้อย ก่อนหน้านี้หนังสือเล่มนี้หายากมากๆ แต่ปัจจุบันได้รับการแปลและสามารถหาอ่านได้ มีทั้งสิ้น 5 บท โดยสรุปเนื้อหาได้ดังนี้... 

บทแรก เป็นเรื่องกว้างๆ ทางด้านภูมิศาสตร์ของสยาม อันรวบรวมเอารัฐไทรบุรี, กะลันตัน และตรังกานู  เข้าไว้ด้วย ซึ่งในขณะนั้น ยังเป็นส่วนหนึ่งของพระราชอาณาจักรสยามอยู่

บทที่สอง ทรงกล่าวถึงระบบกฎหมาย พระเจ้าแผ่นดินและบรมวงศานุวงศ์ เจ้าเมืองออก ขุนนาง ข้าราชการ ราษฎร ไพร่และทาส ในแต่ละส่วนนั้นก็ยังซอยย่อยลงไปอีกตามลำดับชั้น ทรงให้รายละเอียดเกี่ยวกับแรงงานเกณฑ์ไว้เป็นจำนวนมาก ตลอดถึงทั้งข้อสังเกตบางประการในเรื่องไพร่สม ซึ่งเป็นที่น่าสนใจต่อนักประวัติศาสตร์มากๆ 

ในบทต่อมา ทรงอธิบายการเศรษฐกิจของชาวสยาม ทรงกำหนดอธิบายประเทศสยามว่า เป็นรัฐเกษตรกรรมแท้ๆ โดยมีปัจจัย 3 ประการคือ...
- สยามขาดแคลนแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ เช่น เหล็ก
- อยู่ในเขตอากาศร้อนไม่เหมาะกับการอุตสาหกรรม 
- เกษตรกรรมขยายต่อเนื่อง ได้ผลตอบแทนที่ง่ายและดีกว่า

ทรงตั้งข้อสังเกตว่า อุปสรรคอันใหญ่หลวงต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของสยามก็คือการขาดแคลนเงินทุน ทั้งทรงกล่าวถึงการปฏิรูประบบการจัดเก็บภาษีแหละให้ทบทวนฐานรายได้ของรัฐเสียใหม่ด้วย รวมไปถึงการถือครองที่ดินและการเสียภาษีที่ดิน (โคตรทันสมัย !!!!) เพื่อนำเงินภาษีเหล่านั้นมาเป็นแหล่งเงินทุนในการพัฒนาเศรษฐกิจ 

ทั้งยังได้เขียนถึงปัญหาผู้ใช้แรงงานสยาม ซึ่งถูกแย่งงานจากคนจีน ที่มีค่าแรงถูกและต้นทุนอื่นๆ ต่ำ โดยเหตุผลที่พระองค์ได้ทรงบันทึกไว้ ช่างเป็นภาพที่ชัดในหัวผมมากๆ ดังนี้…

“ชาวสยามยอมอดยากหิวโหยเสียดีกว่าที่จะยอมมีชีวิตแบบพวกกุลีจีน พวกเขายะโสกับความเป็นอิสระ เขาจะยอมเชื่อฟังก็แต่ในสิ่งที่เข้ากับเขาได้เท่านั้น นี้...ผู้ใช้แรงงานชาวสยามรักสนุกเฮฮา ผ้านุ่งห่มดีๆ แลของสวยของงาม...พวกเขาพร้อมเสมอที่จะชวนญาติมิตรมาร่วมวงกินอาหารมื้อใหญ่ มีมโหรีแลฟ้อนรำบำเรอ พวกเขายินดีที่จะจ่ายประดาสิ่งที่เขามีอยู่ทั้งหมดออกไป จะมีก็แต่ต่อเมื่อเขาจำเป็นจะต้องใช้เงินอีกคราวเท่านั้น เขาจึงจะหวนกลับไปทำงานกันอีก...อ่านแล้วคุ้นๆ กับปัจจุบันนี้พอสมควรเลย ใช่ไหม ???? (ทุกวันนี้เป็นแรงงานพม่า กัมพูชา ฯลฯ) 

‘Jiwaru DAYS’ เพลงพิเศษเพื่อ BNK48 รุ่นแรก ความทรงจำสุดท้าย ก่อนแยกย้ายไปตามฝันตน

ดูเหมือน Jiwaru DAYS เพลงใหม่ของวง BNK48 ที่ถูกร้อยเพลงขึ้นมาเป็นเพลงของรุ่น 1 โดยเฉพาะนี้ กำลังส่งสัญญาณแห่งการจากลาระหว่าง ‘เหล่าโอตะ’ และ ‘พวกเธอ’ BNK48 1ST Generation 

Jiwaru DAYS เป็นบทเพลงที่สะท้อนถึงความรัก ความผูกพัน และมิตรภาพที่ดีของ BNK48 รุ่นแรก และน่าจะเป็นอีกบทเพลงที่ชวนให้คิดถึงเรื่องราวในวันวาน จนเรียกน้ำตาจากเมมเบอร์และแฟนๆ ได้ทั่วทั้งงานที่จะจัดขึ้นแบบในช่วงปลายปีนี้ ก่อนที่ BNK รุ่นแรกจะแยกย้ายไปตามเส้นทางของตัวเอง

คิดๆ แล้วก็ใจหาย!! เพราะนี่ คือ โมเมนต์ที่อาจจะทำให้แฟนคลับได้สัมผัส 2 ห้วงอารมณ์ในช่วงเวลาเดียวกัน ทั้ง ‘ความสุข’ + ‘ความเศร้า’ ใต้วินาทีแห่งการจากลาที่คงไม่มีใครอยากจะให้มันเกิดขึ้น แต่สุดท้ายมันก็ฉุดรั้งเอาไว้ไม่ได้ คงจะเหลือไว้แค่เพียงภาพความทรงจำของวันเก่าๆ ที่ผ่านมาร่วมกัน เมื่อนึกถึงทีไร ก็จะมีแต่ความสุข เหมือนกับความหมายของชื่อเพลง ‘Jiwaru Days’ 

โดยซิงเกิลพิเศษนี้ จะเน้นสื่อสารถึงเรื่องราวการจากลาของกลุ่มเพื่อนที่มีความผูกพันร่วมกัน เสมือนเป็นบทสรุปตลอด 6 ปีที่ผ่านมาของกลุ่มเด็กสาวผู้พกความฝันอันยิ่งใหญ่ในหัวใจ กอดคอกันก่อร่างสร้าง BNK48 ให้เป็นที่รู้จักอย่างทุกวันนี้ จนถึงปัจจุบันที่พวกเธอจะต้องแยกย้ายกันไปเติบโตในเส้นทางใหม่และรับบททดสอบอีกขั้นในหนทางข้างหน้า ซึ่งสไตล์ของเพลงจะมาในแนว J-pop จังหวะสนุกสนาน แบบฉบับ 48 Group เน้นเมโลดี้เพราะๆ น่ารักๆ...ถึงได้บอกไงว่า เป็นการจากลาที่จะเต็มไปด้วยความสุขผสมความเศร้าแบบไม่ต้องปฏิเสธ!! 

สำหรับวง BNK48 ซึ่งมีเพลงที่โด่งดังอย่างมากจาก Koisuru Fortune Cookies (คุ้กกี้เสี่ยงทาย) ภายใต้บริษัท independent Artist Management (iAM) เป็นวงไอดอลของประเทศไทย ที่มีแนวคิดเหมือนวงพี่ AKB 48 จากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมี Concept ชวนฝันแก่แฟนๆ คือ ‘ไอดอลที่คุณสามารถไปพบได้ (Idols you can meet)’ 

คอนเซปต์นี้สำคัญมากนะคะ เพราะเป็นการเปลี่ยนความคิดแบบเก่าที่ปกติแฟนคลับจะสามารถพบเจอเกิร์ลกรุ๊ปทั่วไปได้เฉพาะตามงานคอนเสิร์ต หรือรายการโทรทัศน์เท่านั้น แต่วง BNK48 นั้นจะพยายามลดระยะห่างระหว่างสมาชิกและแฟนคลับ โดยการเพิ่มการปฏิสัมพันธ์ด้วยหลากหลายวิธี ได้แก่ การสร้างโรงละครประจำวงที่มีการแสดงทุกสัปดาห์ การจัดตั้งงานจับมือ การถ่ายทอดสดในไลฟ์สตูดิโอ (ตู้ปลา) ฯลฯ 

ส่วนที่มาของชื่อ BNK48 (เผื่อใครยังไม่ค่อยคุ้น) มาจาก BANGKOK หรือ กรุงเทพมหานคร และเลข ‘48’ มาจากนามสกุลของ โคตาโระ ชิบะ ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท เอเคเอส โดยคำว่า ‘ชิ’ และ ‘บะ’ เป็นคำพ้องเสียงของภาษาญี่ปุ่น สามารถแปลความหมายได้เป็นเลข ‘4’ และ ‘8’ ตามลำดับ

BNK 48 เป็นหนึ่งในวงน้องสาวที่มีอยู่ 12 วง โดยมีสถานะเป็นวงน้องสาวต่างประเทศลำดับที่ 2 ของ AKB 48 ซึ่งวงเหล่านี้มีรูปแบบการจัดการและลักษณะคล้ายๆ กันหลายประการ เช่น การก่อตั้งโรงละครประจำวง, การจัดกิจกรรมร่วมกันอย่างงานเลือกตั้งเซ็มบัตสึ และหากวงน้องสาวมีต้นกำเนิดนอกประเทศญี่ปุ่น ก็จะมีการออกซิงเกิลเพลงที่เป็นการแปลจากเพลงต้นฉบับของวงพี่สาวให้อยู่ในฉบับภาษาท้องถิ่น เป็นต้น รวมไปถึงระบบแลกเปลี่ยนสมาชิกที่เปิดโอกาสให้สมาชิกวงสามารถย้ายไปเป็นสมาชิกวงอื่นในเครือเดียวกันได้ นอกจากนี้ วง BNK 48 ยังมีวงน้องสาวเป็นของตัวเองในประเทศไทยคือ CGM 48 ซึ่งก่อตั้งเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2562 โดยมีที่ตั้งและทำกิจกรรมอยู่ที่ จังหวัดเชียงใหม่เป็นหลัก

ทั้งนี้ BNK48 ได้เริ่มเปิดรับสมัครสมาชิกครั้งแรกเมื่อกลางปี พ.ศ. 2559 และเปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2560 พร้อมกับซิงเกิลแรกในชื่อ อยากจะได้พบเธอ ด้วยสมาชิก 30 คน ทั้งนี้ สมาชิกของวงนั้นมีจำนวนไม่แน่นอน เนื่องจากมีการเปิดรับสมาชิกรุ่นใหม่และมีการจบการศึกษาอยู่ตลอดเวลา 

จากนั้นในช่วงแรกได้มีการประชาสัมพันธ์วงผ่านรายการโทรทัศน์ BNK48 Senpai และผลงานเพลงตามงาน Roadshow ต่างๆ จนมีชื่อเสียงขึ้นในปี พ.ศ. 2560 ในผลงานเพลง ‘คุกกี้เสี่ยงทาย’ รวมถึงกิจกรรมที่เกิดขึ้นในไทยครั้งแรกอย่าง งานจับมือ, งานถ่ายรูปคู่ หรือ 2-shot, งานเลือกตั้งเซ็มบัตสึ และการแสดงในโรงละคร ทำให้วงเป็นที่กล่าวถึง และมีผลงานต่างๆ ตามมาทั้งตัวบุคคลและทีม ตั้งแต่งานเพลง การแสดงซีรีส์ และภาพยนตร์ ตลอดช่วง 6 ปีที่ผ่านมา จนเกิดปรากฏการณ์ ‘เหล่าโอตะ’ (แฟนคลับ) ที่ตามติดพวกเธอมากขึ้นๆ และกลายเป็นวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อไอดอลวงอื่นๆ ที่มีแฟนคลับน่ารักๆ จนศิลปิน ไอดอล มีพลังในการผลิตผลงานออกมาอย่างต่อเนื่อง จนถือเป็นการเปิดหน้าประวัติศาสตร์ครั้งใหญ่ให้แก่วงการไอดอลไทยกันเลยทีเดียว 

สำหรับเมมเบอร์รุ่นที่ 1 วง BNK48 มีทั้งหมด 22 คน ได้แก่ เฌอปราง-เฌอปราง อารีย์กุล, โมบายล์-พิมรภัส ผดุงวัฒนะโชค, เนย-กานต์ธีรา วัชรทัศนกุล, น้ำหนึ่ง-มิลิน ดอกเทียน, ปัญ-ปัญสิกรณ์ ติยะกร, เจนนิษฐ์-เจนนิษฐ์ โอ่ประเสริฐ, มิวสิค-แพรวา สุธรรมพงษ์, ตาหวาน-อิสราภา ธวัชภักดี, อร-พัศชนันท์ เจียจิรโชติ, ปูเป้-จิรดาภา อินทจักร, จ๋า-ณปภัช วรพฤทธานนท์, ไข่มุก-วรัทยา ดีสมเลิศ, แก้ว-ณัฐรุจา ชุติวรรณโสภณ, น้ำใส-พิชญาภา นาถา, ก่อน-วฑูศิริ ภูวปัญญาสิริ, จิ๊บ-สุชญา แสนโคต, มายด์-ปณิศา ศรีละเลิง, เคท-กรภัทร์ นิลประภา, มิโอริ-มิโอริ โอคุโบะ, ซัทจัง-สวิชญา ขจรรุ่งศิลป์, เจน-กุลจิราณัฐ วรรักษา และเปี่ยม-รินรดา อินทร์ไธสง 

'อันเฆลา อัลวาเรซ' คุณยายวัย 95 เติมฝันให้ชีวิต คว้า ‘ศิลปินหน้าใหม่ยอดเยี่ยม’ เวทีลาตินแกรมมี อวอร์ดส์

เมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2565 บนเวทีประกาศรางวัลของวงการเพลงจากประเทศแถบลาตินอเมริกาและประเทศที่ใช้ภาษาสเปนและโปรตุเกสเป็นหลักครั้งล่าสุดที่ลาสเวกัส สหรัฐอเมริกา อันเฆลา อัลวาเรซ ได้สร้างประวัติการณ์ของการวงการเพลงด้วยการขึ้นรับรางวัล ‘ศิลปินหน้าใหม่ยอดเยี่ยม’ คนล่าสุด ในวัย 95 ปี คู่กับ ซิลวานา เอสตราดา ศิลปินรุ่นหลานวัย 25 ปี

ทั้ง ‘อัลวาเรซ’ และ ‘เอสตราดา’ ต่างเป็นผู้ชนะบนเวทีทั้งคู่ แต่ ‘อัลวาเรซ’ ได้กลายเป็นผู้สร้างประวัติศาสตร์ของเวทีลาตินแกรมมี อวอร์ดส์ ด้วยการเป็นผู้เข้าชิงและผู้ชนะรางวัลบนเวทีนี้ที่อายุมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา

อัลวาเรซ ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ระหว่างรับรางวัลโดยอุทิศรางวัลนี้ให้พระผู้เป็นเจ้าและประเทศคิวบา บ้านเกิดที่รักยิ่งของเธอ ซึ่งเธอกล่าวว่า จะไม่มีวันลืมไปตลอดชีวิต

ศิลปินหน้าใหม่วัย 95 ปี ยังตบท้ายว่า “สำหรับคนที่ยังทำฝันให้เป็นจริงไม่ได้ แม้ว่าชีวิตนี้ยากนัก แต่มันมีทางออกเสมอ ฉันสัญญาว่าคุณจะสมหวังได้ด้วยความรักและศรัทธา ไม่มีคำว่า ‘สายเกินไป’ ตามด้วยการลุกขึ้นยืนปรบมือให้เกียรติอย่างยาวนานจากผู้ร่วมงาน

'ฝนธิป ศรีวรัญญู' สร้างชื่อใน Mrs.Heritage International 2022 ที่มาเลเซีย คว้า 2 รางวัลใหญ่ ตอกย้ำ Soft Power ไทยสุดแกร่ง

(19 พ.ย.65) วัฒนธรรมไทย Soft Power ไทย โดยคนไทยได้คว้ารางวัลใหญ่อีกครั้ง จาก 'ฝนธิป ศรีวรัญญู' คว้ารางวัลทรงคุณค่าในงานประกวด Mrs.Heritage International 2022 ซึ่งเธอได้กล่าวคำขอบคุณต่อทุกแรงเชียร์ว่า...

ฝนขอขอบคุณทุกแรงเชียร์ แรงโหวต แรงสนับสนุนน ในการประกวดที่ประเทศมาเลเซียนะคะ 

'บิ๊กตู่' ชวนขยายระยะเวลา 'โคเซ็น' ปั้นบุคลากรคุณภาพ เพิ่มศักยภาพคนรองรับเทคโนโลยียุคใหม่ และ EEC

การประชุมเอเปค 2022 ที่จัดขึ้นในประเทศไทยนั้น ถือเป็นความสำเร็จของรัฐบาลที่ทำให้ ไทยนั้นก้าวขึ้นสู่เวทีผู้นำเศรษฐกิจ งานนี้มีผู้นำเขตเศรษฐกิจ ผู้นำประเทศต่างๆ มากมาย ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นมหาอำนาจที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจโลก และหนึ่งในนั้นก็คือ ‘คิชิดะ ฟูมิโอะ’ นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่น ประเทศแห่งเทคโนโลยี ผู้นำแห่งอุตสาหกรรมล้ำยุค นายกฯ ของญี่ปุ่นนั้น ได้เข้าหารือทวิภาคีไทย-ญี่ปุ่น กับ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของไทย ในโอกาสเยือนไทยเพื่อร่วมการประชุมเอเปค APEC 2022 THAILAND โดยไทยนั้นพร้อมเป็นหุ้นส่วนกับญี่ปุ่นในการพัฒนาเทคโนโลยีด้านพลังงาน และส่งเสริมการลงทุนในธุรกิจพลังงานคาร์บอนต่ำ ผ่านข้อเสนอความร่วมมือทางด้านพลังงาน หรือ ‘ไวท์เปเปอร์’ ซึ่งก็สอดรับกับนโยบายเศรษฐกิจ BCG ของประเทศไทย 

และญี่ปุ่นนั้นก็พร้อมที่จะใช้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ของอาเซียน ไทยกับญี่ปุ่นในอนาคตก็จะยกระดับความสัมพันธ์เป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์กันอย่างรอบด้าน โดยจะดำเนินการให้เป็นรูปธรรมอย่างเร่งด่วน 

ชักศึกเข้าบ้านภาค 2 ความขัดแย้งของตระกูล รักต่างขั้วอำนาจ ลุกลามการเมืองระหว่างประเทศ

ชักศึกเข้าบ้านภาค 2 “กูต้องตายเพราะอยากมีเมียแหม่ม” ความขัดแย้งของตระกูล รักต่างขั้วอำนาจ ลุกลามการเมืองระหว่างประเทศ” 

จากตอนที่แล้วที่เล่าถึงเหตุการณ์ระทึกระหว่างวังหลวงและวังหน้า ลามไปถึงการดึงเอาชาติมหาอำนาจตะวันตกในช่วงเวลานั้นคืออังกฤษ เข้ามาวุ่นวายในกิจการบ้านเมือง ก่อนที่เหตุจะระงับไปด้วยวิธีทางการทูตและการประนีประนอมกันเพื่อบ้านเมือง อาการเหมือน ณ ปัจจุบันที่กลุ่มคนจำนวนเล็กๆ รับใบสั่งมาสร้างความปั่นป่วน จากเรื่องความขัดแย้งของอำนาจทางการเมือง ที่จะลามไปถึงนานาชาติเพื่อดึงชาติตะวันตกเข้ามายุ่มย่ามภายใน เรื่องนี้ก็คล้ายๆ กัน 

ตัวละครสำคัญจากภาคแรกที่ลามมาภาคนี้ได้แก่ 'สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)' ท่านผู้สำเร็จราชการต้นรัชกาลที่ 5 และ 'โทมัส ยอร์ช น็อกซ์'กงสุลแห่งอังกฤษประจำประเทศสยาม และตัวเอกของภาคนี้ 2 ท่านคือ พระปรีชากลการ (สำอาง อมาตยกุล) ขุนนางหัวก้าวหน้า บุตรของพระยากสาปนกิจโกศล (โหมด อมาตยกุล) เสนาบดีสำคัญสมัยรัชกาลที่ 4 และ 'แฟนนี่ น็อกซ์' บุตรสาวของ มร.น็อกซ์ กงสุลอังกฤษ

เรื่องต้องย้อนกลับไปกล่าวถึงความขัดแย้งกันของตระกูลขุนนาง 2 ตระกูล คือ 'ตระกูลบุนนาค' ซึ่งมากล้นบารมี ส่วนอีกตระกูลที่พอจะเทียบเคียงบารมีได้ก็คงเป็น 'ตระกูลอมาตยกุล' ข้าแผ่นดินตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยร้อยร้าวเล็กๆ เริ่มมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 โดย พระยากสาปนกิจโกศล ขณะยังเป็นขุนนางหนุ่ม ผู้มีความรู้เชิงช่างสูง ไปวิจารณ์ 'สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ' (ทัต บุนนาค) เมื่อครั้งยังเป็น พระยาศรีพิพัฒน์ฯ เรื่องการซ่อมแซมกำแพงอุโบสถวัดพระเชตุพนฯ ว่าซ่อมอย่างไม่ถูกต้อง หลังจากนั้นก็มีเหตุกำแพงถล่มทับคนงาน จนล้นเกล้ารัชกาลที่ 3 ถึงกับทรงบริภาษเหน็บเรื่องนี้จึงทำให้ตระกูลบุนนาคเสียหน้า 

เรื่องถัดมาพระยาเจริญราชไมตรี (ตาด อมาตยกุล) ผู้เป็นน้องชาย ผู้เป็นหนึ่งในสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ชำระคดีฉ้อโกง โดยมีคดีโกงเงินเข้าพระคลังของ 'กรมนา' ซึ่งเสนาบดีกรมนาในขณะนั้นคือ 'พระยาอาหารบริรักษ์ (นุช บุญหลง)' หลานของ 'สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์' ซึ่งความผิดคดีนี้ทำให้ พระยาอาหารบริรักษ์ต้องถูกออกจากราชการ ริบราชบาทว์ ถูกเฆี่ยน จำคุกและได้มีการพาดพิง 'สมเด็จเจ้าพระยาฯ' แต่ไม่ระคายเคืองท่าน แต่คดีนี้ทำให้ 'สมเด็จเจ้าพระยาฯ' จำแน่ๆ เพราะท่านไปจัดหนักในคดีของ 'พระปรีชากลการ' (ข้อขัดแย้งต้นรัชกาลที่ 5 ไว้ผมจะเล่าในบทความถัดๆ ไปนะครับ) 

เกริ่นมาซะยาว ตอนนี้มาดูที่ตัวเอกของภาคนี้ 'พระปรีชากลการ' (สำอาง อมาตยกุล) บุตรชายคนที่ 2 ของพระยากสาปนกิจโกศล จบวิศวกรรมศาสตร์จากสกอตแลนด์ เป็นข้าราชสํานักหนุ่มรุ่นใหม่ที่ในหลวง ร.5 ทรงโปรดปรานมากคนหนึ่ง ด้วยผลงาน เช่น ประดิษฐ์ซุ้มจุดด้วยไฟแก๊สถวายในงานเฉลิมพระชนมพรรษา และเป็นนายงานสร้างตึกแถวบนถนนบำรุงเมือง ฯลฯ จนได้เป็นหนึ่งในคณะสภาที่ปรึกษาในพระองค์ ซึ่งประกอบด้วยพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่จำนวน 49 คน มีหน้าที่ถวายคำปรึกษาส่วนพระองค์ สืบสวนข้อเท็จจริงในราชการต่างๆ เพื่อกราบบังคมทูลและถวายความเห็นให้ทรงทราบ สอดส่องเหตุการณ์สำคัญในบ้านเมือง รวมไปถึงการชำระความฎีกาที่มีผู้นำมาถวาย ถือได้ว่าเป็นกำลังสำคัญของ 'วังหลวง' ที่กำลังปฏิรูปและพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง 

เมื่อถึง พ.ศ. 2416 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ทําเหมืองทองคำที่บ่อทองเมืองกบินทร์บุรี ได้จัดตั้งเครื่องจักรทําทองที่เมืองกบินทร์บุรี และสร้างตึกที่จะจัดตั้งเครื่องจักรที่เมืองปราจีนบุรีอีกแห่งหนึ่ง โดยมีพระปรีชาฯเข้าไปดำเนินการจนสำเร็จ ต่อมาเมื่อถึง พ.ศ. 2419 พระยาอุไทยมนตรี (ขริบ) ผู้ว่าราชการเมืองปราจีนบุรีถึงแก่กรรม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระปรีชาฯ ว่าราชการเมืองปราจีนบุรีแทนต่อไป 

นักศึกษาไทยชุบชีวิต 'ชะลอม' ผ่านผลงานโลโก้ APEC กระตุ้นความนิยมงานจักสานสู่สังคมไทยอีกครั้ง

ทราบหรือไม่ว่า โลโก้สามสีของการประชุมผู้นําเขตเศรษฐกิจเอเปค (APEC Economic Leaders Meeting) ปี 2022 ที่ปรากฏอยู่ทั่วกรุงเทพมหานคร ซึ่ง เป็นเมืองเจ้าภาพจัดการประชุมฯ ในสัปดาห์นี้นั้น เกิดจากฝีมือการออกแบบของนักศึกษาไทย วัย 21 ปี

ชวนนท์ วงศ์ตระกูลจง นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือ คนเก่งที่ว่า โดยเขาได้บอกเล่าถึงกระบวนการออกแบบโลโก้สําหรับการประชุมทางเศรษฐกิจระดับโลกกับสํานักข่าวซินหัวว่า ความท้าทายอยู่ที่จะผสมผสานอัตลักษณ์ ของเอเปคเข้ากับสัญลักษณ์ของไทยได้อย่างไร 

ชวนนท์ เผยว่า ช้าง วัด หรือยักษ์ มักถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของไทย แต่เขามองว่ามันธรรมดาเกินไปและอยากคิดนอก กรอบ และไม่อยากใช้สัญลักษณ์ที่ใช้กันบ่อย ๆ จึงนึกถึง 'ชะลอม' ขึ้นมา 

“เรานึกถึงต้มยํากุ้งเมื่อพูดถึงอาหารไทย หรือรถตุ๊กตุ๊กเมื่อพูดถึงการขนส่ง แล้วสัญลักษณ์ของเศรษฐกิจในไทยที่อยู่คู่กับ คนไทยมานานคืออะไร ผมนึกถึงชะลอม ซึ่งเป็นเครื่องไม้เครื่องมือที่ใช้งานกันมาแต่โบราณ มันจักสานขึ้นจากไม้ไผ่และเป็นงานฝีมือ ที่ยั่งยืน ซึ่งสะท้อนความสมดุลของวิสัยทัศน์การประชุมฯ ในปีนี้” ชวนนท์กล่าว 

ชวนนท์ใช้เวลาราว 3 เดือน ปรับแต่งลักษณะของชะลอมจนกลายเป็นโลโก้รูปแบบสุดท้าย โดยไผ่ที่จักสานเข้าด้วยกัน ก่อตัวเป็นช่องว่าง 21 ช่อง สื่อถึงสมาชิก 21 เขตเศรษฐกิจของเอเปค ส่วนปลายชะลอมที่ชี้ขึ้นฟ้าสื่อถึงการเติบโตของเอเปค ส่วนสีต่าง ๆ อาทิ สีน้ำเงินอันเป็นสัญลักษณ์การอํานวยความสะดวก สีชมพูแห่งการเชื่อมโยง และสีเขียวที่ยั่งยืน ยัง สะท้อนหัวข้อการประชุมฯ ปีนี้ ได้แก่ 'เปิดกว้าง สร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล' (Open. Connect. Balance.) 

ชักศึกเข้าบ้าน!! เรื่องป่วนสยามสมัยรัชกาลที่ 5 ปฐมเหตุแห่งการยกเลิกวังหน้า

ในช่วงที่ประเทศไทยกำลังเป็นเจ้าภาพการประชุม APEC 2022 ที่ดีงาม และพร้อมที่จะต่อยอดในทุกๆ ด้าน เพื่อให้ประเทศไทยเดินหน้าต่อในเรื่องเศรษฐกิจ แต่ก็ยังมีกลุ่มคนอีกหลายกลุ่ม กำลัง ‘ชักศึกเข้าบ้าน’ ด้วยการ จะประท้วงในการจัดประชุมครั้งนี้ จะชุมนุมเพื่อให้สะท้อนปัญหาของพวกตัวเอง (ปัญหาที่ใครต่อใครเขาก็ไม่เดือดร้อนนะยกเว้นไอ้พวกกลุ่มนี้) 

โดยมีผู้สนับสนุนเป็นทุนจากต่างชาติ และ / หรือ อาจจะเป็นคนในชาติที่เป็นทาสตะวันตก ตั้งใจสร้างสถานการณ์ต่างๆ พร้อมด้วย ‘การข่าวปลอม’ และ ‘การข่าวป่วน’ ของพวกเขา ที่วางแผนไว้เพื่อให้การประท้วงของพวกเขาไปอยู่ในสายตาของสื่อต่างชาติที่มาทำข่าว APEC 2022 ทั้งยังพร้อมทำทุกอย่างเพื่อด้อยค่าประเทศตัวเอง ให้เกิดขึ้นในสายตาของชาติอื่นๆ 

พูดถึงเหตุการณ์ที่ไปดึงเอาต่างชาติเข้ามายุ่มย่ามในบ้านเมืองเรา มีอยู่เหตุการณ์ป่วนหนึ่งในสมัยอดีต ซึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่ที่ทำให้ในกาลต่อมามีการยกเลิกตำแหน่งเรียกว่า ‘วังหน้า’ หรือ ‘กรมพระราชวังบวรสถานมงคล’ กันเลยทีเดียว 

เรื่องป่วนที่จะเล่าในครั้งนี้ เป็นเรื่องใหญ่ของแผ่นดินที่เกิดขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งขณะนั้นลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตก อังกฤษและฝรั่งเศส กำลังคุกคามประเทศรอบข้างสยาม และกำลังจ้องมองสยามอย่างตาเป็นมัน

เหตุการณ์ในครั้งนั้นมีตัวละครสำคัญเป็นทหารอังกฤษตกงาน เพราะพนันม้าจนหมดตัวจากอินเดีย ชื่อ ร้อยเอก ‘โทมัส ยอร์ช น็อกซ์’ เขาเดินทางมาสยามเพื่อหางาน โดยตามเพื่อนชาติเดียวกันมาก็คือ ‘ร้อยเอกอิมเปย์’ ซึ่งเข้ามาสอนทหารวังหลวงในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4  ส่วนตัว ‘ร้อยเอก น๊อกซ์’ นั้นเขาได้เข้าไปสมัครเป็นคนฝึกทหารของวังหน้าในรัชกาลที่ 4 คือพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว แล้วเผอิญพอพูดภาษาไทยได้ประมาณนึง ก็เลยเถิดได้ไปเป็นล่ามให้สถานทูตอังกฤษ จนได้เลื่อนขึ้นเป็นถึงทูต (คุณพระ !!!! ) 

นอกจากนี้ ยังมีอาชีพเสริมเป็นสื่อมวลชนสายเสี้ยมกึ่งปลุกปั่น (อันนี้ผมตั้งเอง) เขียนคอลัมน์ของตัวเองไปลงหนังสือพิมพ์ในยุโรป โดยเขียนเชียร์วังหน้าอย่างสุดลิ่มทิ่มประตู (ก็นายจ้างเก่าเขาน่ะนะ) ว่าเก่งกว่าวังหลวงมาก เวลาวังหลวงออกว่าราชการก็ต้องให้วังหน้าชักใยอยู่เบื้องหลัง (จินตนาการตามข้อนี้ นี่มันเมืองจีนหรือไง? มีซูสีไทเฮาผู้ชายว่าการอยู่หลังม่านยังงี้ บ้าบอที่สุด !!!!) 

พอเข้าสู่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งขึ้นครองราชย์ เมื่อ วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 โดยในขณะนั้น พระองค์มีพระชนมายุเพียง 15 พรรษา จึงได้แต่งตั้ง ‘สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)’ เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และกลุ่มผู้สำเร็จราชการได้ตั้ง พระองค์เจ้ายอดยิ่งยศฯ โอรสของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ขึ้นเป็น ‘กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ’ ซึ่งในตอนนั้นวังหน้ายังมีความสัมพันธ์สนิทสนมกับ ‘ร้อยเอก น็อกซ์’ กงสุลอังกฤษลูกจ้างเก่าเป็นอย่างดี 

มาถึงจุดหลักของเรื่องราวนี้ ในกาลที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบรรลุนิติภาวะสามารถว่าราชการด้วยพระองค์เองได้แล้วประมาณ 2 ปี ก็มีมือดีทิ้ง ‘บัตรสนเท่ห์’ (จดหมายไร้ชื่อคนส่ง) เตือนให้วังหน้าระวังตัว เพราะว่ากำลังจะถูกลอบปลงพระชนม์ !!!! บรรดาขุนนางวังหน้าก็บ้าจี้ เชื่อตามจดหมายเปิดผนึกฉบับนั้น ก็เลยเร่งเกณฑ์ผู้คน ทั้งข้าทาสบริวาร ทั้งทหารและพลเรือนจากทั่วสารทิศเข้ามาเตรียมพร้อม 

ฝ่ายวังหลวงพอเห็นแบบนั้น ก็ไม่ไว้ใจสถานการณ์เหมือนกัน เลยเตรียมกำลังไว้เงียบๆ เหมือนกัน (คุณพร้อมผมก็พร้อมว่างั้นเถอะ) แต่จะเงียบยังไง ฝ่ายวังหน้าก็รู้จนได้ และแล้วการเผชิญหน้าของทั้งสองฝ่ายก็เกิดขึ้นกันอย่างเปิดเผย จากบัตรสนเท่ห์แผ่นเดียวกำลังจะทำให้บ้านเมืองลุกเป็นไฟซะแล้ว 

ในช่วงที่สถานการณ์ไม่น่าไว้วางใจ ก็ได้เกิดเหตุการณ์ที่เหมือนเป็นฟางเส้นสุดท้ายตามความเชื่อของคนเสี้ยมและคนโดนเสี้ยม คือในคืนหนึ่งได้เกิดเพลิงไหม้ขึ้นในพระบรมมหาราชวัง ใกล้กับตึกเก็บดินระเบิดและอาวุธต่างๆ เคราะห์ดีมากที่มีผู้พบเห็นเสียก่อนและดับไฟได้ทัน หากลุกลามลุกไหม้ไปนอกจากจะสร้างความเสียหายจากการระเบิดเพราะดินดำ ก็อาจจะลามขึ้นไปห้องเก็บพระมหาพิชัยมงกุฎและสมบัติล้ำค่าของแผ่นดินอื่นๆ ทั้งยังอาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วย

เมื่อเหตุการณ์รุนแรงถึงขั้นนี้ กรมพระราชวังบวรฯ ก็ร้อนตัว (ซึ่งจริงๆ ยังไม่รู้เลยว่าเหตุการณ์เกิดขึ้นเพราะอะไร? จะร้อนตัวเพื่อ?) ก็เกรงจะเกิดภัยกับพระองค์ (ขุนนางของพระองค์นั่นแหละเสี้ยมจนเรื่องไม่จริงจะกลายเป็นเรื่องจริงอยู่แล้ว) จึงเสด็จลี้ภัยไปที่บ้านกงสุลอังกฤษทันที ตรงนี้แหละเป็นจุดสำคัญ เพราะนี่คือโอกาสที่เปิดช่องให้ 2 กงสุล คืออังกฤษและฝรั่งเศสถือโอกาสสอดแทรกเข้ามาเพื่อหยิบยื่นความหวังดีประสงค์ร้ายแทบจะในทันที โดยเฉพาะอังกฤษ 

โดยชาติตะวันตกเสนอให้แบ่งประเทศสยามออกเป็นส่วนๆ จะได้ไม่ต้องทะเลาะกัน (ตูจะทะเลาะกันเอง พวกเอ็งยุ่งอะไรด้วยฟะ?) คนที่ถูกใจเรื่องนี้ ก็คงจะเป็นไอ้คนทิ้งบัตรสนเท่ห์และไอ้พวกนักเสี้ยมนั่นแหละ (คล้ายๆ กับปัจจุบันไหมคุณว่า) และไม่เพียงแค่นำเสนอความคิด แต่อังกฤษยังทะลึ่งมีใบบอกไปถึงผู้สำเร็จราชการเมืองสิงคโปร์ให้เข้ามาช่วยเจรจา (มาเจรจาอะไร?) โดย ‘เซอร์แอนดรูว์ คลาร์ก’ ผู้สำเร็จราชการสิงคโปร์ ได้เดินทางเข้ามาแทบจะทันที 

แต่ตรงนี้ผมคงต้องกราบแทบฝ่าละอองธุลีพระบาทองค์ในหลวงรัชกาลที่ 5 ไว้หนึ่งคำรบ เพราะพระองค์ไม่ปล่อยให้ เซอร์แอนดรูว์ คลาร์ก ได้ไปยุ่งเหยิงอะไรกับเรื่องการแบ่งเค้กเมืองสยาม พระองค์ชิงจัดการต้อนรับผู้สำเร็จราชการอย่างสมเกียรติและได้พูดคุยอย่างเปิดเผยเป็นกันเอง ก่อนปิดท้ายด้วยการรับสั่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า “กรณีนี้เป็นเพียงความขัดแย้งในราชตระกูล พระองค์สามารถจัดการเองได้” (ชาติอื่นไม่น่าจะต้องมายุ่งว่างั้น) 

พอจัดการเรื่องของ ‘เซอร์แอนดรูว์ คลาร์ก’ เรียบร้อยแล้ว ทรงวิตกว่าเรื่องจะลามต่อไปอีก จึงส่งเรือเร็วไปรับ ‘สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)’ ผู้ใหญ่ของแผ่นดิน ซึ่งเกษียณจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชการไปพักอยู่ที่บ้านสวนราชบุรี ให้เข้ามาปรึกษาเพื่อช่วยกันแก้ไขสถานการณ์ โดยสมเด็จเจ้าพระยาฯ ก็ไม่รอช้า ไปเข้าเฝ้าฯ กรมพระราชวังบวรฯ พร้อมด้วยพระราชหัตถเลขาของในหลวงรัชกาลที่ 5 ซึ่งมีข้อแสดงความจริงใจในพระราชหฤทัยถึง ‘กรมพระราชวังบวรสถานมงคล’ ความว่า... 

‘LISA’ พาเพลง ‘LALISA’ คว้า ‘Best K-Pop’ จากงาน ‘2022 MTV Europe Music Awards’

ต้องบอกว่างานประกาศรางวัล MTV Europe Music Awards หรือ MTV EMA ปีนี้ที่เมืองดุสเซลดอร์ฟ ประเทศเยอรมนี จัดขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ตามเวลาท้องถิ่นซึ่งช้ากว่าไทยเรา 6 ชั่วโมง ศิลปินเคป็อปจากเกาหลีใต้ผงาดกวาดกันไปหลายรางวัลกันเลย

เริ่มจาก 4 สาว ‘แบล็กพิงก์’ (BLACKPINK) พวกเธอผ่านเข้าชิง 4 สาขาซึ่งมากที่สุดในบรรดาศิลปินกลุ่มปีนี้ และสมหวังคว้าไปได้ 2 รางวัลนั่นคือรางวัล Best K-Pop แก่ ‘ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล’ (Lisa) สมาชิกชาวไทยและน้องเล็กของวง ที่สร้างประวัติศาสตร์กวาดรางวัลนี้ทั้งเวที MTV EMA และ MTV VMA ที่สหรัฐฯ เมื่อเดือนสิงหาคม และเป็นศิลปินเดี่ยวเคป็อปในรอบ 10 ปี ที่คว้ารางวัลเวทีนี้ถัดจาก ‘ไซ’ (Psy) เจ้าของเพลง Gangnam Style

นอกจากนี้ BLACKPINK ยังคว้ารางวัล Best Metaverse Performance จากผลงาน BLACKPINK X (PUBG) 2022 In-Game Concert: [The Virtual] ซึ่งพวกเธอคว้ารางวัลเดียวกันนี้ได้ที่งาน MTV VMA ที่สหรัฐก่อนหน้านี้ด้วย


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top