(6 ธ.ค.67) บมจ.อีเทอเนิล เอนเนอยี (EE) เปิดเผยว่า นายพันธ์ธวัช นาควิสุทธิ์ หรือนอท สลากพลัส ได้ทำการซื้อขายหุ้นของบริษัทผ่านระบบการซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยบนกระดานรายใหญ่ (Big Lot Board) ประจำวันที่ 4 ธันวาคม 2567 จำนวน 1,607,000,000 หุ้น คิดเป็น 57.81% ของทุนชำระแล้วของบริษัท ซึ่งส่งผลให้นายพันธ์ธวัช กลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท
จากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการถือหุ้นในบริษัทในครั้งนี้ การที่นายพันธ์ธวัช ถือหุ้นในบริษัทเกินกว่า 25% ของหุ้นสามัญที่ออกและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมดและสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น มีผลทำให้นายพันธ์ธวัช มีหน้าที่ในการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ที่เหลือทั้งหมดของกิจการ (Mandatory TenderOffer) โดยราคาทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ที่เหลือทั้งหมดของกิจการจะเท่ากับ 0.14 บาทต่อหุ้น
ดังนั้น บริษัทจะดำเนินการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องตามกฎหมาย รวมถึงการแต่งตั้งที่ปรึกษาทางการเงินอิสระเพื่อให้ความเห็นแก่ผู้ถือหุ้นเกี่ยวกับคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ของนายพันธ์ธวัช ในครั้งนี้
ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 9/2567 เมื่อวันที่ 4 ธ.ค.67 อนุมัติแต่งตั้งนายพันธ์ธวัช ให้ดำรงตำแหน่งประธาน กรรมการ และกรรมการใหม่แทนตำแหน่งกรรมการที่ว่างอยู่ พร้อมอนุมัติการเปลี่ยนชื่อของบริษัทจากเดิม 'บริษัท อีเทอเนิล เอนเนอยี จำกัด (มหาชน)' และชื่อภาษาอังกฤษ 'Eternal Energy Public Company Limited' เปลี่ยนเป็น 'บริษัท เทคลีด เอ็นพีเอ็น จำกัด (มหาชน)' และชื่อภาษา อังกฤษ 'TECHLEAD NPN PUBLIC COMPANY LIMITED'
นอกจากนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทยังมีมติอนุมัติการเพิ่มทุนจดทะเบียนจำนวน 2,720,000,000 บาท จากทุนจดทะเบียนเดิมจำนวน 4,970,000,000 บาท เป็นทุนจดทะเบียนจำนวน 7,690,000,000 บาท โดยการออกและจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้แก่บุคคลใน วงจำกัด (Private Placement : PP) จำนวน 2,720,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1.00 บาท หรือคิดเป็น 49.12% ของทุนชำระ แล้วของบริษัทภายหลังการเพิ่มทุนชำระแล้ว ในราคาเสนอขายหุ้นละ 0.19 บาท คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 516,800,000 บาท เพื่อ เสนอขายให้แก่บุคคลในวงจำกัด
รายชื่อบุคคลในวงจำกัด จำนวนหุ้นที่ได้รับ มูลค่าหุ้นที่ได้รับ สัดส่วนการถือหุ้นภายหลังการเข้าทำการจัดสรร (หุ้น) การจัดสรร(บาท) รายการ (ร้อยละ)
1.นายคีรีภัทร์ ศุภสินประภาพงศ์ 1,038,142,857 หุ้น 197,247,143 บาท คิดเป็น 18.88%
2.นายไพบูลย์ ทรงเพ็ชรมงคล 541,181,818 หุ้น 102,824,545 บาท คิดเป็น 9.84%
3.นายวิชิต จิรัฐิติเจริญ 407,071,429 หุ้น 77,343,571 บาท คิดเป็น 7.40%
4.นายจักรวิตร ภัทรจินดา 383,603,896 หุ้น 72,884,740 บาท คิดเป็น 6.97%
5.น ส.สุกัญญา ทิพย์มณี 350,000,000 หุ้น 66,500,000 บาท คิดเป็น 6.36%
รวม 2,720,000,000 หุ้น 516,800,000 บาท คิดเป็น 49.45%
บริษัทได้ปรับเปลี่ยนธุรกิจจากที่บริษัทมีรายได้จากธุรกิจกัญชงและกัญชา แต่เนื่องจากธุรกิจนี้มีอัตราความเสี่ยงสูงจากการ เปลี่ยนแปลงนโยบายภาครัฐ และยังมีวงจรเงินสดที่ช้า จึงมีแนวทางในการขยายการลงทุนในธุรกิจอื่นที่มีศักยภาพในการเติบโต โดย สามารถสร้างกระแสเงินสดที่สม่ำเสมอให้บริษัท และสร้างความแข็งแกร่งให้ฐานะการเงินของบริษัท อีกทั้งช่วยลดความเสี่ยงในการพึ่งพาธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง และเพิ่มโอกาสให้กับบริษัทในอนาคต ตลอดจนเป็นการเพิ่มศักยภาพและความเชื่อมั่นในการดำเนินธุรกิจของบริษัทต่อผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) รวมถึงเสริมสร้างความเชื่อมั่นให้แก่สถาบันการเงิน
โดยบริษัทอยู่ในระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนในธุรกิจอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและสารสนเทศ (ธุรกิจ Tech) ซึ่งรวมถึง (1) ธุรกิจสื่อ เทคโนโลยี (Technology Media) (2) ธุรกิจให้บริการชำระเงิน (Payment Gateway Solution) และ/หรือ (3) ธุรกิจแพลตฟอร์มตลาดซื้อขาย (Marketplace Platform)
เนื่องจากเห็นว่าธุรกิจ Tech เป็นธุรกิจที่มีศักยภาพในการเติบโตจากการสร้างรายได้และความสามารถขยายตัวได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังมีต้นทุนในการดำเนินงานต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับธุรกิจอื่นที่ต้องลงทุนในสินทรัพย์ และเป็นธุรกิจที่สอดคล้องกับทิศทางเมกะเทรนด์ (Mega Trend) ซึ่งได้แก่การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล (Digital Transformation) จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันผู้คนใช้ชีวิตและใช้เวลากับอุปกรณ์สื่อสารกันมากขึ้น ทำให้สื่อออนไลน์และแพลตฟอร์มดิจิทัลมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจประเทศไทยและเศรษฐกิจโลก
โดยแพลตฟอร์มดิจิทัลเป็นการเชื่อมโยงระหว่างผู้บริโภคและผู้ขายหรือภาคธุรกิจผ่านอินเทอร์เน็ต บริษัทจึงมีความสนใจในการเข้าลงทุนในธุรกิจดังกล่าว ซึ่งคาดว่าจะสามารถสร้างกระแสเงินสดให้กับบริษัทอย่างสม่ำเสมอ มีผลตอบแทนการลงทุน (IRR) ไม่ น้อยกว่า 12% และมีศักยภาพการเติบโตในอนาคต (Potential Upside) จากธุรกิจที่สอดคล้องกับทิศทางเมกะเทรนด์
ทั้งนี้ บริษัทจะนำเงินทุนที่ได้รับจากการออกและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนตามรายการ Private Placement ไปใช้เพื่อลงทุนในธุรกิจ Tech ประมาณ 467-517 ล้านบาท ภายในปี 2568 และใช้เงินทุนหมุนเวียนของบริษัทไม่เกิน 50 ล้านบาทภายในปี 2568