Thursday, 9 May 2024
THE STATES TIMES TEAM

ตำรวจภาค 4 สกัดจับขบวนการค้ายาเสพติดมุกดาหาร ซุกยาบ้า 1.2 ล้านเม็ด ขณะลำเลียงไปส่งลูกค้าในภาคอีสานและภาคกลาง

เมื่อวันที่ 21 ธ.ค.66 เวลา 10.00 น. ที่ ภ.จว.มุกดาหาร พล.ต.ท.สรายุทธ สงวนโภคัย ผบช.ภ.4 แถลงผลการจับกุมเครือข่ายยาเสพติดรายสำคัญ พร้อมด้วย พล.ต.ต.ธนชาติ รอดคลองตัน รองผบช.ภ.4,พล.ต.ต.ชัชชัย วงค์สุนะ ผบก.ภ.จว.มุกดาหาร, พ.ต.อ.ธานินทร์ อินทพรต รอง ผบก.ภ.จว.มุกดาหาร, พ.ต.อ.กิตเตชิษฐ์ บำรุง รอง ผบก.ภ.จว.มุกดาหาร และ พ.ต.อ.พิชญ์วุฒิ โพธิ์จันทร์ ผกก.สภ.นิคมคำสร้อย

จากการสืบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.นิคมคำสร้อย ทราบว่า จะมีขบวนการค้ายาเสพติด ใช้รถยนต์ ขนยาบ้าล็อตใหญ่ ผ่าน จ.มุกดาหาร จึงนำกำลังไปตั้งจุดตรวจจุดสกัดบริเวณตู้ยามโชคชัย ต.โชคชัย อ.นิคมคำสร้อย จว.มุกดาหาร ต่อมาเวลาประมาณ 10.00 น. ของวันที่ 20 ธ.ค.66 พบรถเก๋งโตโยต้า ยาริส สีขาว หมายเลขทะเบียน 1xx 53xx กรุงเทพมหานคร ตรงตามข้อมูลที่ได้รับ ขับเข้าด่านตรวจ 

จึงเรียกตรวจค้น พบผู้ขับขี่ชื่อ นายยุทธนา โดยมีนายสารัตน์ และนายธนบดี โดยสารมากับรถคนดังกล่าว ระหว่างตรวจค้น ตำรวจสังเกตเห็นนายสารัตน์ ใช้โทรศัพท์ส่งข้อความแจ้งเตือนผู้อื่นว่ามีด่านอยู่ด้านหน้า จึงตรวจสอบโทรศัพท์ จากการสอบถามนายสารัตน์ รับว่าตนพร้อมพวกได้ขับรถนำทางให้นายวริทธิ์ธร ซึ่งเป็นคนขับรถลำเลียงยาเสพติด ระหว่างนั้น รถที่นายวิริท์ธร ขับขี่ ได้แล่นผ่านหน้าตู้ยามพอดี จึงนำกำลังไล่ติดตาม จนสามารถควบคุมรถเก๋งฮอนด้าซิตี้ สีขาว หมายเลขทะเบียน xx 21x นครพนม ได้บริเวณถนนชยางกูร จ.มุกดาหาร โดยรถคันดังกล่าวมีนายวริทธิ์ธร เป็นผู้ขับขึ่ และนายธนาธิป กับ น.ส.สุกัญญา นั่งโดยสารมาด้วย ตรวจค้นในรถพบกระสอบพลาสติกสีดำขนาดใหญ่พันด้วยเทปกาวสีเหลือง 3 กระสอบ ซุกซ่อนอยู่ภายในห้องโดยสารตอนหลัง สอบถาม นายวริทธิ์ธร รับสารภาพว่าเป็นกระสอบบรรจุยาบ้าจำนวน 1,200,000 เม็ด จึงแจ้งข้อหาว่า ร่วมกันจำหน่ายยาเสพติดให้โทษประเภท 1 (ยาบ้าหรือเมทแอมเฟตามีน) โดยการมีไว้ในความครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต อันมีลักษณะเป็นการกระทำเพื่อการค้าและเป็นการก่อให้เกิดการแพร่กระจายในกลุ่มประชาชน จากนั้นจึงจับกุมผู้ต้องหาพร้อมของกลาง นำส่ง พงส.สภ.นิคมคำสร้อย ดำเนินคดี 

จากการสอบสวนเบื้องต้น ทราบว่าผู้ต้องหารับยาบ้ามาจากพื้นที่ใกล้แนวชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน กำลังจะขนยาบ้าไปส่งให้ลูกค้าในภาคอีสานตอนล่างและภาคกลาง โดยขนยาบ้าส่งลูกค้ามาแล้วหลายครั้ง ซึ่งตำรวจภาค 4 จะได้สืบสวนสอบสวนขยายผล เพื่อกวาดล้างจับกุมผู้ร่วมขบวนการ รวมทั้งยึดอายัดทรัพย์สินทั้งหมดต่อไป

สรุป จับกุมผู้ต้องหา 6 คน ยาเสพติดของกลาง ยาเสพติดให้โทษประเภท 1 (ยาบ้าหรือเมทแอมเฟตามีน) ประมาณ 1.2 ล้านเม็ด ยึดอายัดทรัพย์สิน รวมมูลค่าประมาณ 1 ล้านบาท ได้แก่
1. รถยนต์เก๋งโตโยต้า ยาริส สีขาว หมายเลขทะเบียน 1ขภ 5367 กรุงเทพฯ จำนวน 1 คัน 
2. รถยนต์เก๋ง ยี่ห้อฮอนด้า ซิตี้ สีขาว หมายเลขทะเบียน กจ 214 นครพนม จำนวน 1 คัน 
3. โทรศัพท์มือถือ จำนวน 6 เครื่อง 

“จริงจัง แก้ไขปัญหา เพื่อประชาชน”กองทัพภาคที่ 3 จัดประชุมบูรณาการขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละออง 17 จังหวัดภาคเหนือ ประจำปี 2567

เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2566 พลโท ประสาน แสงศิริรักษ์ แม่ทัพภาคที่ 3/ ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 /ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการดับไฟป่า ภาค 3 เป็นประธานการประชุมบูรณาการขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็กในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ ประจำปี 2567 เพื่อเตรียมการรองรับสถานการณ์ไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ประจำปี 2567 ณ ห้องประชุมคชรัตน์ 1 กองบัญชาการกองทัพภาคที่ 3 ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จังหวัดพิษณุโลก มีหน่วยงานเข้าร่วมประชุม ได้แก่ หน่วยขึ้นตรงกองทัพภาคที่ 3ิ, กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด 17 จังหวัดภาคเหนือ , กองทัพอากาศ , กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กรมควบคุมมลพิษ, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ,กรมฝนหลวงและการบินเกษตร, สำนักเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน), ตำรวจภูธรภาค 5 และ ภาค 6, ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัสและอากาศยาน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, สำนักงานจัดการทรัพยากรป่าไม้, สำนักงานบริหารพื้นที่อนุรักษ์,  สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด/สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด และสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ   

สำหรับการประชุมได้แนวทางการเตรียมแผนปฏิบัติการระดับจังหวัดและ  กองทัพภาคที่ 3 /กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3  เสนอแผนการจัด ชป.ลว.ชุดปฏิบัติการลาดตระเวนร่วม จำนวน 69 ชุดปฏิบัติการ สนับสนุนให้กับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ตามนโยบายของรัฐบาลในสร้างการรับรู้ การลาดตระเวน ตรึงกำลัง ในพื้นที่ 9 ป่าแปลงใหญ่เผาไหม้ซ้ำซาก  

ด้าน ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพอากาศ และหน่วยเกี่ยวข้อง วางแผนการดำเนินงานตั้งแต่ห้วงก่อนเกิดสถานกาณ์วิกฤต โดยเริ่มติดตามสถานการณ์ ประสานการปฏิบัติกับภาคีเครือข่าย และตรวจสอบความพร้อมของหน่วยปฏิบัติตั้งแต่เดือน ตุลาคม  ตั้งแต่วันที่  1 ธันวาคม 2566 ที่ผ่านมา ศูนยุทธการทางอวกาศ / ได้ทำการวิเคราะห์จุดความร้อนที่มีโอกาส เกิดไฟไหม้ ส่งให้ ศูนย์ปฏิบัติการดับไฟป่า กองทัพภาคที่ 3   และ กรมยุทธการทหารอากาศ / วางแผนการฝึกบินควบคุมไฟป่า กองทัพอากาศ ประจำปี 2567  ในเดือน ธันวาคม โดยใช้พื้นที่ จังหวัดเชียงใหม่ และเชียงราย เป็นพื้นที่การฝึก

ในเดือนมกราคม 2567 ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพอากาศ วางแผนพิจารณาในการส่งอากาศยาน ในการบินกระจายเสียงเพื่อรณรงค์ สร้างการรับรู้และเข้าใจ ในการไม่เผาป่า  ให้กับประชาชนในพื้นที่ที่ยากแก่การเข้าถึง และยากแก่การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ส่วนเดือน กุมภาพันธ์  – พฤษภาคม เป็นห้วงที่สถานการณ์รุนแรงที่สุด ในห้วงนี้จะพิจาณาในการส่งอากาศยานประเภท sensor shooter ตามระดับสถานการณ์ และตามที่ได้รับการประสานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการสนับสนุนภารกิจ และ ตั้งแต่เดือน มิถุนายน เป็นต้นไป เป็นห้วงที่สถานการณ์ในภาคเหนือคลี่คลายลง ในห้วงนี้ จะเป็นห้วงของการสรุปผลการปฏิบัติ และปรับปรุงแผนการปฏิบัติการ 

ด้านการใช้อากาศยาน ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพอากาศ ได้ประยุกต์ใช้ ขีคความสามารถของกองทัพอากาศ สำหรับภารกิจ ดังนี้
1. การบินกระจายเสียง รณรงค์ สร้างการรับรู้และเข้าใจ ในการไม่เผาป่า ให้กับประชาชนในพื้นที่ที่ยาก แก่การเข้าถึง รับรู้ข้อมูลข่าวสาร โดย อากาศยานแบบ AU-23
2. การบินเพื่อลาดตระเวนค้นหาพื้นที่ไฟป่า โดย อากาศยานแบบ AU-23,  อากาศยานแบบ DA-42 และอากาศยานไร้คนขับแบบ Aerostar BP
3. การบินควบคุมไฟป่าโดย BT-67 ที่ติดตั้ง Fire Guardian Tank  สามารถบรรทุกน้ำได้ 3000 ลิตรต่อ 1 ครั้ง และ C-130 บรรทุกอุปกรณ์ PCADS โดยบรรทุกได้มากสุด 10 ลูกต่อ 1 ครั้ง, โดย PCADS 1 ลูกบรรจุน้ำผสมสารยับยั้งไฟป่า จำนวน 1000 ลิตร ในการบินควบคุมไฟป่านั้น จะใช้พิจารณาอากาศยานและอุปกรณ์ ตามลักษณะภูมิประเทศและพื้นที่เป้าหมาย / เพื่อสร้างแนวกันไฟ ไม่ให้ลุกลามไปยังพื้นที่ที่กำหนด
4. การบินลำเลียงทางอากาศ เพื่อขนส่งกำลังพล และยุทโธปกรณ์ให้กับหน่วยงานที่ร่วมปฏิบัติภารกิจ และการบินส่งกลับสายแพทย์ทางอากาศ ในกรณีมีผู้ปฏิบัติงานได้รับบาดเจ็บรุนแรง และต้องการการรักษาอย่างเร่งด่วน โดย อากาศยานแบบ C-130 และ เฮลิคอปเตอร์แบบ EC-725

และ 5. การบินค้นหาและช่วยชีวิต ในกรณีหน่วยดับไฟป่าภาคพื้นติดกับดักของไฟ หรือ หลงป่า โดย เฮลิคอปเตอร์แบบ EC-725 

นอกจากนี้ ยังได้ประยุกต์ใช้ขีดความสามารถของหน่วยภาคพื้น เพื่อประกอบกำลังและสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยบิน เช่น 1. ชุดวางแผนร่วม ทำหน้าที่ประสานการปฏิบัติกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อแบ่งพื้นที่ปฏิบัติงาน กำหนดวงรอบปฏิบัติงาน และวางแผนการปฏิบัติ ร่วมกัน
2. ชุดแปลความภาพถ่าย จะนำภาพถ่ายทางอากาศที่บินค้นหาพื้นที่ไฟป่า วิเคราะห์ขนาดความรุนแรง ทิศทาง และจัดลำดับความสำคัญ และส่งให้กับหน่วยเกี่ยวข้อง เพื่อจัดการกับพื้นที่ไฟป่า
3. ชุดควบคุมห้วงอากาศ เพื่อ monitor และแนะนำการปฏิบัติให้กับอากาศยานจากหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติภารกิจ และ 4. ชุดวิเคราะห์จุดความร้อน จะนำภาพถ่าย Hotspot จากดาวเทียม มาวิเคราะห์และคัดกรองอีกครั้งหนึ่ง เพื่อกำหนดพื้นที่ที่คาดว่าจะเกิดไฟป่า

ผบช.ปส. ลงพื้นที่ แถลงจับเครือข่ายนักบิน หลังตำรวจเปิดปฏิบัติการปิดล้อมตรวจค้น เพื่อจับกุมเครือข่ายค้ายาเสพติดรายสำคัญ 4 จุด ในพื้นที่บ้านอาดี่ ต.แม่ยาว อ.เมือง จ.เชียงราย

ตามนโยบายการปราบปรามยาเสพติดของ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เน้นการใช้ทุกมาตรการทางกฎหมายเพื่อทำลายเครือข่ายยาเสพติด และยึดทรัพย์ที่ได้มาจากการค้ายาเสพติด ประกอบกับนโยบายของ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผบ.ตร. และ พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ รอง ผบ.ตร./ผอ.ศอ.ปส.ตร. และ พล.ต.ท.สำราญ นวลมา, พล.ต.ท.นิรันดร เหลื่อมศรี, พล.ต.ท.อัคราเดช พิมลศร ผู้ช่วย ผบ.ตร. ในฐานะ รอง ผอ.ศอ.ปส.ตร. มุ่งเน้นในการเร่งรัดดำเนินการป้องกันปราบปราม ยาเสพติดในทุกมิติ เนื่องจากปัญหายาเสพติดอาชญากรรมที่สร้าง ความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนและเป็นภัยสังคม

คดีที่ 2 ต่อมาเมื่อวันที่ 1 ต.ค.66 เวลา 22.00 น. ตำรวจ กก.2 บก.ปส.3 ได้ร่วมกันสืบสวนและจับกุม นายสุทธิศักดิ์ฯ กับพวก 4 คน พร้อมของกลางยาเสพติด ไอซ์ จำนวน 591 กก. ซุกซ่อนภายในรถยนต์กระบะ ทะเบียน ผต 64XX เชียงราย ในพื้นที่ อ.เทิง จว.เชียงราย ซึ่งยาเสพติดดังกล่าวถูกลำเลียงจากพื้นที่ชายแดนนำเข้ามาเก็บไว้ในพื้นที่ อ.เชียงของ จว.เชียงราย ก่อนที่จะถูกส่งมอบให้กับเครือข่ายลำเลียง จนถูกตรวจค้นจับกุมดังกล่าว ชุดจับกุมทำการสืบสวนขยายผลถึงผู้สั่งการและบุคคล ในเครือข่ายลำเลียงยาเสพติดดังกล่าวและทำการขออนุมัติหมายจับ จำนวน 2 ราย คือ นายอุดมศักดิ์ฯ พร้อมพวก

คดีที่ 3 เมื่อวันที่ 26 พ.ย.66 บช.ปส. โดย กก.2 บก.ปส.3 และ บก.ขส. พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่หน่วยปราบปรามยาเสพติด หน่วยข่าวกรองทางทหาร ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก ได้ร่วมกันสืบสวนติดตามพฤติกรรมเครือข่าย ลำเลียงยาเสพติดจากภาคเหนือ พบว่าจะใช้รถกระบะลักษณะตีคอก ก 13XX (ป้ายแดง) กำแพงเพชร และ รถกระบะอีซูซุ ยX 81XX เชียงใหม่ ลำเลียงยาเสพติดจาก จว.เชียงใหม่ ไปยังพื้นที่ จว.พระนครศรีอยุธยา โดยอำพรางด้วยพืชผลทางการเกษตร เป็นยาบ้า 10 ล้านเม็ด พร้อมผู้ต้องหา 5 คน ต่อมาเจ้าหน้าที่ชุดจับกุมตรวจยึด สามารถสืบสวนขยายผลทราบว่าผู้สั่งการ เครือข่ายลำเลียงยาเสพติดดังกล่าว คือ นายธวัชชัยฯ จึงได้ทำการขออนุมัติหมายจับ เพื่อทำการสืบสวนจับกุมขยายผล

คดีที่ 4 เมื่อวันที่ 16 ธ.ค.66 เวลาประมาณ 14.00 น. ตำรวจ กก.2 บก.ปส.3 ร่วมกันเจ้าหน้าที่ตำรวจทหารหน่วยปราบปรามยาเสพติด หน่วยข่าวกรองทางทหาร ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก และ กองกำลังผาเมือง ทำการสืบสวนเครือข่าย นายจะแจฯ ใช้รถยนต์กระบะทะเบียน ยต 19XX เชียงใหม่ ซึ่งลำเลียงยาเสพติดจากชายแดนด้าน อ.แม่อาย จว.เชียงใหม่ เข้ามาพักคอยไว้ในพื้นที่ ต.แม่ยาว อ.เมืองเชียงราย จว.เชียงราย ได้ทำการตรวจยึด ยาบ้า จำนวน 1,118,000 เม็ด ขณะเตรียมนำส่งมอบให้กับเครือข่ายเพื่อลำเลียงเข้าสู่พื้นที่ตอนใน เจ้าหน้าที่ผู้ตรวจยึดได้รวบรวมพยานหลักฐานส่งดำเนินคดี และขยายผลการจับกุมตรวจยึด และตรวจค้นในพื้นที่พักคอยยาเสพติด ต.แม่ยาว อ.เมืองเชียงราย จว.เชียงราย 

ด้าน พล.ต.ท.คีรีศักดิ์ ตันตินวะชัย ผบช.ปส. กล่าวว่า ภายใต้แผนปฏิบัติการ “กวาดล้างเครือข่ายนักบินกลุ่มลำเลียงยาเสพติดชายแดนภาคเหนือ” มุ่งเป้าเพื่อดำเนินคดีและยึดทรัพย์ผู้สั่งการเครือข่ายยาเสพติดและ  ปิดล้อมตรวจค้นจับกุมขยายผลบุคคลเครือข่ายในพื้นที่พักคอย และดำเนินการสกัดกั้นการลักลอบลำเลียงยาเสพติดในพื้นที่ชายแดนอย่างจริงจัง โดยจะร่วมบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้มาตรการปราบปราม ทางกฎหมาย โดยเฉพาะในพื้นที่เร่งด่วนตามมาตรา 5 (10) ของประมวลกฎหมายยาเสพติด ซึ่งกำหนดสถานะของพื้นที่ชายแดนที่มีความจำเป็นเร่งด่วน

เพื่อป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ในพื้นที่ชายแดน 15 อำเภอ 3 จังหวัด ได้แก่ 6 อำเภอของ จว.เชียงราย, 5 อำเภอของ จว.เชียงใหม่ และ 4 อำเภอของ จว.นครพนม โดยมีเป้าหมายเพื่อลดการลักลอบลำเลียงยาเสพติดเข้ามาภายในประเทศ ตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลในการสกัดกั้นตามแนวชายแดน

ผบ.ตร.เป็นประธานพิธีเปิดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อป้องกันและเฝ้าระวังอันตรายจากความร้อนที่เกิดจากการฝึกอบรม เสริมสร้างทักษะ ความรู้ ความสามารถผู้ปฏิบัติงานดูแลด้านพยาบาลของศูนย์ฝึกอบรม

วันที่ 21 ธ.ค.66 เวลา 09:00 น. พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นประธานพิธีเปิดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อป้องกันและเฝ้าระวังอันตรายจากความร้อนที่เกิดจากการฝึกอบรม ณ ห้องแจ้งยอดสุข ชั้น 3 อาคารฝึกอบรมและสวัสดิการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยมีผู้บังคับบัญชาระดับสูงของสำนักงานตำรวจแห่งชาติและโรงพยาบาลตำรวจเข้าร่วมพิธีฯ
    
สำหรับโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการฯ ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ สืบเนื่องมาจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นองค์กรปราบปรามอาชญากรรม และบังคับใช้กฎหมายในระดับมาตรฐานสากลที่ประชาชนเชื่อมั่นศรัทธา ซึ่งการที่จะสามารถไปสู่เป้าหมายดังกล่าวนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการพัฒนากำลังพลให้มีประสิทธิภาพ มีความรู้ ทักษะทางยุทธวิธี จากการฝึกอบรมหลักสูตรต่างๆ ซึ่งในการฝึกอบรมนั้น ก็มักเกิดปัญหากรณีผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับบาดเจ็บระหว่างการฝึก โดยเฉพาะสาเหตุที่เกิดจากความร้อนที่ส่งผลให้เกิดภาวะอันตรายต่อร่างกายจนได้รับบาดเจ็บหรือถึงแก่ชีวิต  

สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหา และมีความห่วงใยกำลังพล จึงมอบหมายให้กองบัญชาการศึกษา จัดทำโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการนี้ขึ้น เพื่อให้ผู้บริหาร, ครูฝึก และ ผู้ที่ทำหน้าที่พยาบาลประจำสังกัดศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 1-9 หรือหน่วยฝึกอบรมที่ได้รับมอบหมาย มีทักษะความรู้ความสามารถและความเข้าใจในการกำกับดูแลหรือวิธีป้องกันกรณีผู้เข้ารับการฝึกอบรม ได้รับบาดเจ็บจากการฝึกอบรม รวมไปถึงเพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติในการปรับพื้นฐานผู้เข้ารับการฝึกอบรม ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยมีหัวข้อการฝึกอบรม ดังนี้ 

- ระบบการแพทย์ฉุกเฉินและระบบสาธาณสุขไทย โดย น.อ.(พิเศษ) นพ.นิสิทธิ์ เจริญยิ่ง รองเลขาธิการ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
- อาการบาดเจ็บจากความร้อน (Heat Relatedillness) โดย พ.ต.อ.ณัฐพล ปิตะนีละบุตร นายแพทย์ (สบ 5) กลุ่มงานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลตำรวจ พร้อมคณะ
- แนวทางปฏิบัติในการปรับพื้นฐานผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรนักเรียนนายสิบตำรวจ เพื่อเตรียมความพร้อมทางร่างกายและจิตใจ โดย พ.ต.อ.ธนเสฏฐ์ ภิรมย์เอี่ยม รองผู้บังคับการสำนักการศึกษาและประกันคุณภาพ กองบัญชาการศึกษา 
- จิตเวช “การประเมินและดูแลสุขภาวะทางจิตใจ” โดย พ.ต.อ.เกริกกมล แย้มประยูร นายแพทย์ (สบ 5) กลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด โรงพยาบาลตำรวจ พร้อมคณะ
- แนวทางการปฏิบัติเพื่อป้องกันและดูแลอาการบาดเจ็บจากความร้อนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยมีการแบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติการวินิจฉัยอาการและการรักษา เพื่อดูแลผู้ป่วยที่มีอาการบาดเจ็บจากความร้อน
- การอภิปรายและนำเสนอผลสรุปจากการฝึกอบรม และทำแบบทดสอบหลังการฝึกอบรม

โดยการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อป้องกันและเฝ้าระวังอันตรายจากความร้อนที่เกิดจาก การฝึกอบรม ทั้งสิ้นจำนวน 2 รุ่น ดังนี้

รุ่นที่ 1 ประกอบด้วยกองบัญชาการศึกษา, ศูนย์ฝึกอบรม กองบัญชาการตำรวจนครบาล, ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธร 1-9, กองกำกับการ 1-9 กองบังคับการฝึกพิเศษ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน รุ่นที่ 2 ประกอบด้วยกองบัญชาการศึกษา, ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 1-9, กองแผนงานกิจการพิเศษ สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ, โรงเรียนในร้อยตำรวจ, ศูนย์ฝึกอบรมกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง และสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง

'บิ๊กต่อ' ชื่นชม 'ผู้การจ๋อ' ส่งทีมตาม 'ไล่ล่าสุดขอบฟ้า' ขึ้นเหนือตะครุบมือยิง 'ครูเจี๊ยบ' คาดอยปุยได้สำเร็จ

วันที่ 20 ธันวาคม พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผบ.ตร. พร้อมด้วย พล.ต.อ.ธนา ชูวงศ์ รอง ผบ.ตร.(สส) พล.ต.ท.สำราญ นวลมา ผู้ช่วย ผบ.ตร. แถลงผลการไล่ล่าคนร้าย ก่อเหตุยิงครูเจี๊ยบ ภายหลังสั่งการให้ พล.ต.ท.ธิติ แสงสว่าง ผบช.น. , พล.ต.ต.นพศิลป์ พูลสวัสดิ์ รอง ผบช.น. ,พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผบก.สส.บช.น. ,พล.ต.ต วิทวัส ชินคำ ผบก.น.5 , พร้อมด้วย เจ้าหน้าที่ชุดสืบสวน บก.สส.บช.น. ร่วมกับ พล.ต.ต.วรพงศ์ คำลือ ผบก.สส.ภ.5 และ พ.ต.อ.จิตร์พิสุทธิ์ อิ่มสงวน รอง ผบก สส.ภ.5 ร่วมกันจับกุมตัว นายอนาวิน แก้วเก็บ หรืออั้ม อายุ 20 ปี อยู่บ้านเลขที่ 120 ม.6 ต.คลองพระอุดม อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ตามหมายจับศาลอาญากรุงเทพใต้ที่ จ.1070/2566 ลงวันที่ 22 พ.ย. 66 ข้อหา “ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา โดยไตร่ตรองไว้ก่อน , ร่วมกันมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืน ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาติ , ร่วมกันพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต , ร่วมกันยิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุ ในเมือง หมู่บ้านหรือที่ชุมนุมชน , ร่วมกันสมคบตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป เพื่อกระทำความผิดอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่บัญญัติไว้ในภาค 2 นี้”

นายกฤติ ล้ำเลิศ หรือทิว อายุ 23 ปี อยู่บ้านเลขที่ 90/177 ซ.วัดหลวง แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ จ.กรุงเทพฯ ตามหมายจับศาลอาญากรุงเทพใต้ที่ จ.1198/2566 ลงวันที่ 16 ธ.ค. 66 ข้อหา “ร่วมกันสมคบกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป เพื่อกระทำความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน (ซ่องโจร)” จับกุมได้ที่ บนดอยปุย ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ จับกุมได้เมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 66 เวลา 09.00 น.

พฤติการณ์ตามที่ พล.ต.ท.ธิติ แสงสว่าง ผบช.น. , พล.ต.ต.นพศิลป์ พูลสวัสดิ์ รอง ผบช.น. สั่งการ พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผบก.สส.บช.น. หลังมีการเปิดปฏิบัติการ "ปิดเมืองล่ามือยิงครูเจี๊ยบ และน้องหยอด" ไป 2 ครั้ง และสามารถจับกุมผู้ต้องหาในลักษณะเป็นองค์กรอาชญากรรม จำนวน 22 ราย แต่ยังไม่สามารถจับกุม "มือยิงและมือขี่" ที่ลงมือก่อเหตุ 

ทาง พล.ต.ท.ธิติ จึงสั่งให้ พล.ต.ต.ธีรเดช คัดมือดีไล่ล่าติดตามมือยิงรายนี้ให้ได้ คดีนี้ ยอมรับว่า งานหินเพราะเจ้าตัว "หนีสุดชีวิต" และยังมีคนในองค์กรอาชญากรรม คอยช่วยเหลือในการพาหลบหนี

ภายหลังชุดสืบนครบาลได้เบาะแสว่าผู้ต้องหาหลบหนีไปบนดอยปุย  จังหวัดเชียงใหม่ จึงจัดทีมขึ้เหนือ โดยประสานงานกับ บก.สส.ภ.5 ขึ้นดอยปุย จนสามารถจับกุมตัว นายอนาวิน และนายกฤติ์ มือยิง ขณะกบดานกางเต้นอยู่บนดอย ขณะกำลังวางแผนเตรียมเดินทางออกนอกประเทศ

สอบสวน นายอนาวิน ให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหาอยอมรับว่าเป็นมือยิงในคดีนี้ โดยเริ่มออกล่าตั้งแต่วันที่ 10 พ.ย. 66 เวลา 22.00 น. แล้วไปขโมยแผ่นป้ายทะเบียนที่ละแวกเขตดินแดง จากนั้นได้เริ่มหาเหยื่อโดยไปหาเหยื่อละแวกร่มเกล้า แต่ไม่เจอ จึงไปจอดแอบกบดารละแวก คลอง 14 อยู่สักครู่ จากนั้นช่วงเช้าตรู่ได้เริ่มขับมาตระเวนหาเหยื่อในเมือง จนกระทั่งเจอกลุ่มนักศึกษาอุเทนถวาย จึงลงมือก่อเหตุ โดยยอมรับว่าตนเองยิงปืนนัดแรกกระสุนพลาดเป้าไปโดนคนด้านหลัง ซึ่งก็คือ ครูเจี๊ยบ จากนั้นได้ยิงซ้ำที่คอและศรีษะ ก่อนจะหลบหนีไปทางทาง จ.อยุธยา และพ่นเปลี่ยนสีรถ และไปทำลายรถ และหลบหนีไป จ.อุบลราชธานี

ส่วน นายกฤติ ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา แต่ยอมรับว่าเป็นบุคคลตามหมายจับจริง

ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก/ผู้ช่วยผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก ลงพื้นที่มอบของขวัญปีใหม่และอ่านสารอวยพรปีใหม่ให้แก่กำลังพลที่ปฏิบัติราชการสนาม ตามแนวชายแดนภาคเหนือ

เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2566 เวลา 08.30 น. พลเอก อุกฤษฎ์ บุญตานนท์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก/ผู้ช่วยผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก เป็นผู้แทน พลเอก เจริญชัย หินเธาว์ ผู้บัญชาการทหารบก/ ผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก เดินทางมาตรวจเยี่ยมหน่วย และอำนวยพรปีใหม่ให้กับกำลังพลที่ปฏิบัติราชการสนาม ประจำปี 2567 ของหน่วยในพื้นที่กองทัพภาคที่ 3 ในระหว่างวันที่ 18 - 19 ธันวาคม 2566 

โดยมี พลโท ประสาน แสงศิริรักษ์ แม่ทัพภาคที่ 3/ผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการกองทัพภาคที่ 3 ให้การต้อนรับ ที่ ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพภาคที่ 3 นับว่าเป็นหน่วยที่มีความสำคัญมีการพัฒนาทุกๆด้านโดยเฉพาะการปฏิบัติตามพันธกิจ 5 ประการ ของศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก ได้แก่ การเฝ้าตรวจและป้องกันพื้นที่ชายแดน การเสริมสร้างความมั่นคงในพื้นที่ชายแดน การแก้ไขปัญหาความมั่นคงในพื้นที่ชายแดน การประสานความร่วมมือกับประเทศ เพื่อนบ้าน และการปฏิบัติในพื้นที่ระวังป้องกัน

โอกาสนี้ พลเอก อุกฤษฎ์ บุญตานนท์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก/ผู้ช่วยผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก ได้อ่านสารอำนวยอวยพรปีใหม่ จากพลเอก เจริญชัย หินเธาว์ ผู้บัญชาการทหารบก/ผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก ที่มีถึงกำลังพล และส่งมอบของขวัญปีใหม่จากกองทัพบก แก่ผู้แทนหน่วยที่ปฏิบัติราชการสนามในพื้นที่กองทัพภาคที่ 3 ร่วมเป็นผู้แทนในการรับมอบ ส่งต่อไปยังกำลังพลเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่ทหารทุกนาย ก่อนพบปะเยี่ยมเยียนกำลังพลที่มาร่วมต้อนรับ ตลอดจนกล่าวอวยพรปีใหม่ ให้ทุกภาคส่วนปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเข้มแข็ง ปลอดภัย มีความสุข สุขภาพร่างกายแข็งแรง และช่วงเทศกาลปีใหม่นี้ ขอให้ดูแลรักษาความปลอดภัยให้ประชาชนได้มีความสุขเพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้แก่ประชาชนอีกด้วย

สวธ. ร่วมกับ สถาบันไทยคดีศึกษา จัดเสวนาพร้อมรับฟังความคิดเห็น การจัดทำข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม “ชุดไทย” เพื่อเตรียมเสนอยูเนสโก เสริมสร้างให้เกิดพลวัตและคุณค่าต่อสังคมสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

วันพุธ ที่ 20 ธันวาคม 2566 เวลา 13.30 น. กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม จัดงานการประชุมรับฟังความคิดเห็นผู้เกี่ยวข้องในโครงการจัดทำข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม "ชุดไทย" เพื่อเสนอขึ้นทะเบียนต่อองค์การยูเนสโก โดยมี นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม เป็นประธาน ผศ.ดร.เสาวธาร โพธิ์กลัด ผู้อำนวยการสถาบันไทยคดีศึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อนุชา ทีรคานนท์ หัวหน้าคณะทำงาน อาจารย์เผ่าทอง ทองเจือ ที่ปรึกษาคณะทำงาน และ อาจารย์ วีรธรรม ตระกูลเงินไทย ที่ปรึกษาคณะทำงาน ร่วมด้วย สินจัย เปล่งพานิช เข้าร่วมการประชุมเสวนา พร้อมการรับฟังความคิดเห็นในการเตรียมความพร้อมจัดทำข้อมูล ณ หอประชุมเล็ก ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม เปิดเผยว่า ชุดไทยเป็นชุดประจำชาติที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่เหมือนกับชาติอื่น ๆ ด้วยการออกแบบและการตัดเย็บที่ประณีตอันเป็นพัฒนามาจากการนุ่งห่มแบบไทย สร้างสรรค์ขึ้นโดยใช้ผ้าทอที่เป็นงานฝีมือของช่างไทยในท้องถิ่นต่าง ๆ ทั่วทุกภูมิภาคที่มีความโดดเด่นเฉพาะตัว สำหรับสุภาพสตรีมีแบบหลัก ๆ จำนวน ๘ แบบ หรือเป็นที่รู้จักในนามว่า “ชุดไทยพระราชนิยม” โดยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงริเริ่มให้มีการศึกษาค้นคว้าเครื่องแต่งกายสตรีไทยสมัยต่าง ๆ และออกแบบเพื่อทรงใช้เป็นฉลองพระองค์ในโอกาสที่โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชดำเนินเยือนสหรัฐอเมริกาและประเทศยุโรปอย่างเป็นทางการ เมื่อ ๖๐ กว่าปีที่ผ่านมา จึงนับว่าเป็นที่มาของการเกิดขึ้นของ “ชุดไทยพระราชนิยม” ที่มีแพทเทิร์นในการตัดเย็บแบบร่วมสมัย ส่วนของสุภาพบุรุษ มี ๓ รูปแบบ ซึ่งคนไทยทุกภูมิภาคมักสวมใส่ชุดไทยในวาระโอกาสต่าง ๆ และเมื่อมีโอกาสสำคัญในชีวิต 

อธิบดีสวธ. กล่าวต่อว่า ในปัจจุบันการสวมใส่ชุดไทยถือเป็นแนวปฏิบัติทางสังคมที่แสดงออกทางวัฒนธรรมร่วมของชาวไทยทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทำให้เกิดความภาคภูมิใจและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชุมชนชาวไทย การเลือกใช้ชุดไทยแบบต่างๆ ให้เหมาะสมแก่โอกาส ถือเป็นความเคารพต่อแนวปฏิบัติทางสังคม และการให้เกียรติซึ่งกันและกัน ส่วนการเลือกใช้ผ้า และการตัดเย็บ ถือเป็นการสร้างรายได้ให้แก่ช่าง และช่วยธำรงไว้ซึ่งงานช่างฝีมือดั้งเดิมด้านการทอผ้าพื้นบ้านของภูมิภาคต่าง ๆ ในประเทศ เสริมสร้างให้เกิดพลวัตในการสร้างสรรค์สิ่งทอพื้นบ้านอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ชุดไทย จึงมีคุณค่าต่อสังคมในมิติบทบาททางวัฒนธรรม และมิติการพัฒนาคุณภาพชีวิต ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ต่อไป

ด้าน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสาวธาร โพธิ์กลัด  ผู้อำนวยการสถาบันไทยคดีศึกษา กล่าวว่า สถาบันไทยคดีศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับการสนับสนุนจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม จัดทำข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม "ชุดไทย"  เพื่อเสนอขอขึ้นทะเบียนต่อยูเนสโก ในรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมวลมนุษยชาติ โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ดังนั้น คณะทำงานจึงดำเนินการศึกษา รวบรวมข้อมูลจากเอกสารชั้นต้น ข้อมูลการสวมใส่ชุดไทยในอดีตจนถึงปัจจุบัน การสัมภาษณ์ผู้สืบทอดมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมแต่ละแขนงที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผู้ประกอบการชุดไทย โดยมุ่งหวังที่จะนำเสนอให้เห็นถึงคุณค่า “ชุดไทย” ทั้งมิติบทบาททางวัฒนธรรม การพัฒนาคุณภาพชีวิต การส่งเสริมให้เกิดกลุ่มอาชีพและรายได้ การลดความเหลื่อมล้ำ เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน 

ดร.เสาวธาร กล่าวต่อว่า การจัดประชุมในวันนี้ จะเป็นการดำเนินงานตามหลักเกณฑ์และรูปแบบการเสนอขึ้นทะเบียน ในรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ ต่อองค์การยูเนสโก โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยจะขอรับฟังข้อเสนอแนะอย่างรอบด้านต่อปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการสงวนรักษา และปัจจัยที่จะส่งเสริมให้เห็นคุณค่าของ “ชุดไทย” ทั้งมิติบทบาททางวัฒนธรรมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ต่อจากนี้ คณะทำงานจะได้รายงานข้อมูลต่อกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พิจารณาอนุมัติข้อมูล แล้วจึงเสนอขอมติเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เพื่อเสนอต่อสำนักงานเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วย การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ต่อไป

ภายในงานดังกล่าว มีการเสวนาเรื่อง “วิวัฒนาการเครื่องแต่งกายไทยถึงชุดไทยพระราชนิยม” โดยมีอาจารย์ เผ่าทอง ทองเจือ ที่ปรึกษาคณะทำงาน, อาจารย์ วีรธรรม ตระกูลเงินไทย ที่ปรึกษาคณะทำงาน, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อนุชา ทีรคานนท์ หัวหน้าคณะทำงาน ได้ให้ความรู้ถึงประวัติศาสตร์ หลักฐานการใช้ชุดไทยเริ่มตั้งแต่สมัยทวารวดี กรุงศรีอยุธยา วิวัฒนาการต่อมาจนถึงยุครัตนโกสินทร์ และเข้าสู่ยุครุ่งเรือง ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงพัฒนาและสร้างมาตรฐานให้ชุดไทยได้รับความนิยม และมีการจำแนกการใช้งานตามวาระ โอกาสต่าง ๆ อย่างเป็นระเบียบแบบแผน และหลังจากจบการเสวนา มีการประชุมรับฟังความคิดเห็น เตรียมความพร้อมจัดทำข้อมูล “ชุดไทย” เพื่อเตรียมเสนอยูเนสโก โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อนุชา ทีรคานนท์ หัวหน้าคณะทำงาน ในประเด็นสำคัญต่าง ๆ ดังนี้ ประกอบด้วย ผู้ถือครองหลักคือคนไทยในทุกภูมิภาคของประเทศและในต่างประเทศ, กลุ่มช่างตัดเย็บชุดไทย, กลุ่มช่างทอผ้าพื้นบ้าน, การสืบทอดความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้องด้านการผลิตวัตถุดิบผ้าทอพื้นบ้าน, หน้าที่ทางสังคม และความหมายทางวัฒนธรรมต่อชุมชน และเป็นมรดกภูมิปัญญาฯ ที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดของยูเนสโก ในการรวบรวมข้อมูลของมรดกภูมิปัญญาฯ ที่เน้นกระบวนการมีส่วนร่วม จากชุมชนผู้ถือครองอย่างกว้างขวาง อีกด้วย 

ครั้งแรกกับ แฟชั่นโชว์เสื้อผ้า Low Carbon ประธานผู้บริหาร นิคมฉะเชิงเทรา บลูเทค ซิตี้ ร่วมแถลงข่าว นำชีวิตสู่สังคมไร้มลพิษ

วานนี้  20 ธันวาคม 2566  ที่โรงแรมเซ็นทาราซันไรซ่า อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี นางสาวฐิติลักษณ์ คำพา รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิราพร ระโหฐาน ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยศรีปทุม  วิทยาเขตชลบุรี และ นางสาวกุลพรภัสร์ วงศ์มาจารภิญญา  ประธานผู้บริหารนิคมอุตสาหกรรม ฉะเชิงเทรา บลูเทคชิตี้  ร่วมแถลงข่าวการจัดงาน  Dark Sky Fashion Show Low Carbon 2024 ซึ่งจะจัดขึ้นในวันพุธที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ Sky running track เซ็นทรัล ศรีราชา โดยมีการแสดงแฟชั่นโชว์ผลิตภัณฑ์สิ่งทอ เสื้อผ้าที่ทำจากธรรมชาติ วัสดุ Low Carbon

มหาวิทยาลัย ศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี ร่วมกับ นิคมอุตสาหกรรม ฉะเชิงเทรา บลูเทคชิตี้ ร่วมกับภาคีเครือข่าย 25 องค์กร ร่วมจัดงาน Dark Sky Fashion Show Low Carbon 2024 จากโลกร้อน-สู่โลกเดือด หยุดยั้งได้ด้วยสองมือคุณด้วยการ เลือกสวมใส่เสื้อผ้า ที่มาจากเส้นใยธรรมชาติ ย้อมสีธรรมชาติลดน้ำสารเคมี ลดคาร์บอน ลดโลกร้อน ด้วยร่วมกันปลูกต้นไม้ให้กับโลกทุกวันในการใช้สินค้าในชีวิตประจำวันด้วย Low Carbon เพื่อเป็นมหาวิทยาลัยผู้นำสังคม Low Carbon โดยมีความรับผิดชอบต่อสังคมที่ส่งผลต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งในด้าน เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม โดยมหาวิทยาลัยได้ดำเนินกิจกรรมดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง และได้รวมพลังกันรณรงค์และใช้เสื้อผ้า ลดคาร์บอน ลดกิจกรรมปลดปล่อยคาร์บอนและ เเละเป็นการประชาสัมพันธ์ผ้าไทยสู่ระดับนานาชาติ ในการกระตุ้น เศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม BCG และสนับสนุนใช้ผ้าใยธรรมชาติ ผ้าย้อมสีธรรมชาติ  โดยนำผ้า Low Carbon มาเชื่อมกับศิลปะวัฒนธรรมภูมิปัญญานวัตกรรมเทคโนโลยีให้เกิดความสวยงาม ความเป็นเอกลักษณ์ในตัวผลิตภัณฑ์ 

โดยมุ่งเน้นสร้าง 5 เป้าหมายหลักได้แก่ สร้างคน, สร้างความรู้, สร้าง อาชีพ, สร้างรายได้ และสร้างสังคม Low Carbon  คือ 1. การสร้างคน โดยการเพิ่มทักษะ ให้กลุ่มชุมชน เด็กนักเรียนขาดโอกาส และนักศึกษาที่มีความสนใจด้านแฟชั่น  2.การสร้างความรู้ โดย มหาวิทยาลัยศรีปทุมเปิดหลักสูตร นักออกแบบภูมิปัญญาท้องถิ่นร่วมสมัย โดยนักศึกษาลงพื้นที่เรียนรู้ร่วมกับชุมชน ในส่วนของภาคทฤษฎีการออกแบบ ภาคปฏิบัติ ภาคประเมินผลการตลาด  3. การสร้างอาชีพ คือ จากต้นน้ำอาชีพเกษตรกรปลูกวัตถุดิบ มาสู่กระบวนการผลิต ออกแบบตัดเย็บ จนกระทั่งถึงปลายน้ำที่มีตั้งแต่คอสตูม เมกเกอร์ บิวตี้ บล็อคเกอร์ สินค้าแฟชั่นจากภูมิ ปัญญาท้องถิ่นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงร้านค้า โรงแรม ภาคบริการ การท่องเที่ยว โรงงาน อุตสาหกรรมล้วนเป็นการต่อยอดตลอดห่วงโซ่อุปทานทั้งสิ้น 4. การสร้างรายได้ จากสินค้าแฟชั่นท้องถิ่น ร่วมสมัยและการติดอาวุธทางปัญญาเพิ่มเติมด้านการตลาดและการวางแผนธุรกิจให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ 5. การสร้างสังคม Low carbon คือ การขับเคลื่อนให้เกิด Application ขึ้นมาเพื่อให้ได้ดาวน์โหลดไว้ใช้ ตรวจสอบการลดคาร์บอนในชีวิตประจำวันภายใต้แนวคิด Low Carbon Lifestyle

สสส.- สคอ.สานพลังภาคีเครือข่าย ลดเจ็บ-ตายช่วงเทศกาล “ยิ่งดื่มนาน สมองยิ่งเสี่ยง ดื่มไม่ขับ ปีใหม่ 2567” ชี้อุบัติเหตุมากกว่า 50% พบแอลกอฮอล์ในเลือด “หมอประชา” เผยเหล้าส่งผลต่อสมองเสี่ยงอุบัติเหตุสูง

เมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 2566 ณ โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ สำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ (สคอ.) และภาคีเครือข่าย แถลงข่าว “ยิ่งดื่มนาน สมองยิ่งเสี่ยง ดื่มไม่ขับ” ปีใหม่ 2567 เน้นย้ำรณรงค์ช่วงเทศกาลสำคัญ ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าวว่า “ดื่มแล้วขับ” เป็นสาเหตุหลักของอุบัติเหตุทางถนน โดยเฉพาะช่วงเทศกาลผลการตรวจแอลกอฮอล์ในเลือดของกลุ่มผู้ประสบอุบัติเหตุทางถนน พบว่า มากกว่า 50% พบแอลกอฮอล์ในเลือด ดื่มไม่ขับ และลดใช้ความเร็ว เป็นเรื่องที่ทุกคนป้องกันได้ เพื่อฉลองปีใหม่นี้อย่างปลอดภัย และมีความสุข สสส. ได้ผลิตสปอตโฆษณา 2 เรื่อง รณรงค์ให้ผู้ขับขี่ตระหนักถึงอันตราย ลด ละ เลิกพฤติกรรมดื่มแล้วขับ ขับขี่อย่างปลอดภัย ไม่ประมาท ให้เห็นผลเสียของแอลกอฮอล์ต่อการขับขี่ที่ผลกระทบต่อสมอง และส่งผลต่อการขับขี่ จึงได้พัฒนาแคมเปญ ดื่มไม่ขับ : ดื่มเหล้าเมาถึงสมอง สื่อสารผลเสียของแอลกอฮอล์ ที่ส่งผลต่อสมอง ทำให้ตอบสนองช้าลง ตัดสินใจเบรกรถไม่ทัน และกะระยะในการขับขี่ผิดพลาด 

“สสส. ขับเคลื่อนร่วมกับภาคีเครือข่ายสร้างความปลอดภัยทางถนน พัฒนาเครือข่ายตำบลสุขภาวะ รณรงค์ป้องกันปัญหาอุบัติเหตุทางถนนเข้มข้นใน 189 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน 35 อำเภอ 20 จังหวัด เครือข่ายเหยื่อเมาแล้วขับร่วม 100 เครือข่าย ทั่วประเทศ ร่วมรณรงค์ในพื้นที่ หนุนเสริมตรวจแอลกอฮอล์ในผู้ขับขี่ทุกรายที่ประสบอุบัติเหตุ และไม่สนับสนุนการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้กับเด็กและเยาวชน และเครือข่ายสนับสนุนการป้องกันอุบัติเหตุจราจรระดับจังหวัด (สอจร.) ที่มีอยู่ทั่วประเทศ เพิ่มความเข้มข้นช่วงเทศกาลปีใหม่ โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดที่มีการจัดกิจกรรมฉลองปีใหม่ หรือพื้นที่อำเภอเสี่ยง และพื้นที่ท่องเที่ยวเน้นมาตรการดูแลเรื่อง ดื่มไม่ขับ-ไม่ขับเร็ว-สวมหมวกนิรภัย” ดร.นพ.ไพโรจน์ กล่าว

นายวิทยา จันทร์เสนะ ผู้อำนวยการกองบูรณาการความปลอดภัยทางถนน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กล่าวว่า สถิติอุบัติทางถนนจากศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) รายงานว่า ปีใหม่ 2566 ตั้งแต่วันที่ 29 ธ.ค. 2564 – 4 ม.ค. 2566 เกิดอุบัติเหตุรวม 2,440 ครั้ง ผู้เสียชีวิต 317 ราย ผู้บาดเจ็บ 2,437 คน สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ขับเร็ว 37.5% ดื่มแล้วขับ 25.49% ตัดหน้ากระชั้นชิด 18.69% ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุดคือรถจักรยานยนต์ 82.11% รถกระบะ 5.56% รถเก๋ง 3.24% ศปถ. ได้มีแนวทางดำเนินการป้องกันลดอุบัติเหตุทางถนน 1. กำหนดเป็น “วาระแห่งชาติ” บูรณาการร่วมขับเคลื่อนในพื้นที่อย่างจริงจัง ต่อเนื่องตลอดทั้งปี โดยใช้แผนแม่บทความปลอดภัยทางถนน พ.ศ. 2565 – 2570 เป็นกรอบดำเนินงาน 2. ระดับพื้นที่ใช้กลไก ศปถ.จังหวัด ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนอำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เน้นมาตรการชุมชน มาตรการทางสังคม อาทิ เคาะประตูบ้าน ด่านชุมชน ด่านครอบครัว ป้องปรามพฤติกรรมเสี่ยง 3. จังหวัดร่วมกับตำรวจภูธรจังหวัด บังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด จริงจัง และต่อเนื่อง ควบคู่กับการรณรงค์ให้มีความตระหนัก สร้างจิตสำนึก รับผิดชอบต่อสังคม 4. ทุกภาคส่วนบูรณาการข้อมูลอุบัติเหตุทางถนน 5. เสริมสร้าง ปลูกฝัง สร้างความตระหนักรู้ และจิตสำนึกอย่างจริงจัง เกิดวัฒนธรรมความปลอดภัย

นพ.ประชา กัญญาประสิทธิ์ “หมอประชาผ่าตัดสมอง” ศัลยแพทย์ระบบประสาทและหลอดเลือดสมอง รพ.เชียงใหม่ราม กล่าวว่า 84% ของประชากรทั่วโลกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มแอลกอฮอล์ ทำให้สูญเสียความสามารถการตัดสินใจ ความมีเหตุผล การควบคุมการเคลื่อนไหว  สูญเสียความสามารถการรับรู้ มองเห็น ได้ยิน และความจำ ยิ่งดื่มยิ่งส่งผลต่อสมอง และเสี่ยงอุบัติเหตุสูง ทั้งนี้ระดับแอลกอฮอล์ในเลือด 0.01-0.05% ทำให้เริ่มตื่นตัว 0.03 - 0.12% โดพามีน (Dopamine) เริ่มหลั่งจะรู้สึกสดชื่น มีความมั่นใจ รู้สึก Relax สดใส  0.08 - 0.25% เริ่มกดสมองส่วนต่างๆ เช่น กดสมองส่วนหน้าเกิดการยั้งคิด กดสมองส่วนทรงตัวทำให้ทรงตัวไม่ได้ กดสมองส่วนที่แปลประสาทตาทำให้ตาเบลอ กดสมองส่วนที่ใช้พูดก็จะพูดช้า กดสมองส่วนที่ทำให้ตัดสินใจส่งผลให้ให้ตัดสินใจผิดพลาดได้ง่ายดาย 0.18 - 0.30% สับสน ความจำเริ่มเสื่อมลง มากกว่า 0.25% จะเริ่มซึมเริ่มหลับ มากกว่า 0.35% ก็ทำให้โคม่า และมากกว่า 0.45%ทำให้เสียชีวิตได้ 

นายพรหมมินทร์ กัณธิยะ ผู้อำนวยการสำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ (สคอ.)  กล่าวว่า ปีใหม่นี้ ทาง สคอ. ได้สื่อสารประชาสัมพันธ์ และรณรงค์สร้างความรู้ ความตระหนักแก่ประชาชนผู้ขับขี่อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ก่อนเทศกาล และช่วงเทศกาล โดยผลิตสื่อฯ และชุดข้อมูลการเฝ้าระวังป้องกัน ลดอุบัติเหตุทางถนนสนับสนุนภาคีเครือข่ายทั้งรัฐ และเอกชน กระจายไปตามพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ เป็นกรอบ และแนวทางทำงานในพื้นที่ตามนโยบายศปถ. อีกทั้งเทศกาลปีใหม่นี้ได้วางแผนลงพื้นที่ติดตามกรณีอุบัติเหตุใหญ่ ที่เกิดช่วงเทศกาลปีใหม่ 

โดยใช้ข้อมูลจาก ศปถ. ที่รายงานการเกิดอุบัติเหตุรายวัน จัดทำเป็นคลิปวิดีโอสะท้อนผลกระทบ ปัญหา สาเหตุ และข้อเสนอแนวทางแก้ไขขับเคลื่อนในระดับนโยบาย สู่การปฏิบัติให้เกิดความปลอดภัยทางถนนในอนาคต สิ่งที่น่ากังวล คือ ความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดอุบัติเหตุทางถนนเพิ่มขึ้น จากการอนุญาตให้เปิดสถานบริการได้ถึงตี 4  ขอให้ผู้เกี่ยวข้องยึดมั่นในเงื่อนไขตามกฎกระทรวงมหาดไทย และนโยบายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการห้ามขายคนอายุต่ำกว่า 20 ปี - คนเมา ตรวจแอลกอฮอล์คนขับก่อนกลับ หากเกิน 50 mg% จัดที่พักคอย หากไม่รอให้ติดต่อเพื่อนหรือ ญาติพากลับ หรือจัดหารถส่งลูกค้า จะช่วยลดผลกระทบความสูญเสียจากอุบัติเหตุทางถนนได้

ทีมทนายมั่นใจ 'ลุงพล' ไม่เกี่ยวการตายน้องชมพู่ โจทก์ไร้ทั้งพยานหลักฐานและผลตรวจนิติวิทยาศาสตร์

'แถลงข่าว' เมื่อเวลา 22.35 น. วันที่ 19 ธันวาคม ที่โรงแรมริเวอร์ ฟร้อนท์ นายไชย์พล วิภา หรือ ลุงพล และ นางสมพร หลาบโพธิ์ หรือ ป้าแต๋น ซึ่งเป็นลุงและป้าน้องชมพู่ พร้อมด้วย นายสุรชัย ชินชัย หัวหน้าทีมทนายความ และคณะทนายความจากสำนักกฎหมายธรรมรังสี แถลงข่าวคาดการณ์ผลจากการเป็นทนายว่าความในคดีการเสียชีวิตของน้องชมพู่ซึ่งศาลจังหวัดมุกดาหาร นัดอ่านคำพิพากษาในเวลา 10:00 น. วันที่ 20 ธันวาคมนี้ ว่ายังมีความมั่นใจในตัวลุงพลและป้าแต๋นว่าไม่ได้กระทำความผิดตามที่ถูกฟ้อง โดยทั้งลุงผลและป้าแต๋นไม่ได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่น้องชมพู่หายตัวไปในวันที่ 11 พฤษภาคม 2563 แต่อย่างใด อีกทั้งพยานฝ่ายโจทก์ก็ไม่ได้มีการนำสืบแสดงให้เห็นถึงมูลเหตุจูงใจของจำเลยที่จะกระทำความผิดตามข้อกล่าวหา อีกทั้งยังไม่ปรากฏว่าลุงพลและป้าแต๋นมีสาเหตุโกรธเคืองกับพ่อและแม่ของน้องชมพู่ซึ่งเป็นโจทก์ร่วมในคดีนี้ อีกประการหนึ่งที่สำคัญก็คือการเสียชีวิตของน้องชมพู่ไม่ได้ทำให้ลุงพลและป้าแต๋นได้ประโยชน์ใดๆ เช่นประโยชน์จากกรมธรรม์ประกันชีวิต เงินฌาปนกิจหรือประโยชน์อื่นใด

ทีมทนายกล่าวว่าส่วนการนำสืบเพื่อพิสูจน์การกระทำความผิดในด้านการตรวจทางนิติวิทยาศาสตร์ก็ไม่ปรากฏ DNA ของลุงพลและป้าแต๋นในศพและกางเกงของน้องชมพู่ ส่วนการได้เส้นผมของน้องชมพู่จำนวน 1 เส้นภายในรถของลุงพล ก็เป็นการตรวจค้นของเจ้าหน้าที่โดยที่ไม่ได้ให้ลุงพลรับรู้รับทราบว่าได้เส้นผมไปจากบริเวณใดในการตรวจค้นรถจึงเป็นการแสวงหาพยานหลักฐานที่ไม่สุจริต ประเด็นที่ 2 คือเส้นผมที่เจ้าหน้าที่ได้ไปไม่มีรากผมจึงทำให้ไม่สามารถตรวจ DNA ว่าเป็นเส้นผมของน้องชมพู่หรือไม่  จึงต้องการใช้ตรวจโดยวิธี “ไมโทคอนเดรีย DNA” ซึ่งเป็นผลตรวจที่บอกถึงลำดับญาติทางสายแรกฝ่ายหญิงเท่านั้น ขณะที่รถของลุงพลคันดังกล่าวที่พบเส้นผมของน้องชมพู่ ก็เป็นรถที่ก่อนหน้าน้องชมพู่เมื่อครั้งยังมีชีวิตก็เคยเข้าไปโดยสารเป็นปกติอยู่แล้ว ทั้งยังไม่พบร่องรอยการถูกทำร้ายร่างกายบนศพของน้องชมพู่ด้วยเช่นกัน


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top