Friday, 24 January 2025
Hard News Team

BizMAX THE TOPIC จับประเด็น เน้นความรู้ EP.1/3 ตอน ‘เศรษฐกิจของคนตัวเล็ก’

BizMAX THE TOPIC จับประเด็น เน้นความรู้  EP.1/3 ตอน ‘เศรษฐกิจของคนตัวเล็ก’

พบกับ คุณเอ๋ อรรชวิชช์ สุวรรณภักดี เลขาธิการพรรคกล้า 

ดำเนินรายการโดย หยก THE STATES TIMES 

.

.

ความเข้าใจผิด ๆ ของประสิทธิภาพวัคซีน ในร้ายมีดี ในดีมีร้าย กับวิกฤตโรคระบาด ​| NEWS GEN TIMES ชวนคิด กับ กิตติธัช EP.3

NEWS GEN TIMES ชวนคิด กับ กิตติธัช

โดย​ อ.ต้อม -​ กิตติธัช ชัยประสิทธิ์ นักวิชาการอิสระ และอาจารย์ด้านสถาปัตยกรรม สอนพิเศษด้าน ปรัชญาการเมือง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง 

สำหรับ​ EP.3 นี้​ ชวนคิดไปกับประเด็นร้อนของ​วัคซีน​ หลังจากตอนนี้สังคมกำลังเข้าใจกันแบบสับสน... 

- เคลียร์ทุกความเข้าใจประสิทธิภาพ ‘วัคซีน’
ในห้วงเวลาที่หลายคนยังเลือกเข้าใจอะไรแบบผิด ๆ

- ในดีมีร้าย ในร้ายมีดี!! โอกาสใหม่จาก ‘วิกฤติ’ และการลาจากของผู้ที่ไหวตัวไม่ทัน
.

.

.

.

.

'ผู้นำคนพิการภาคตะวันออก'​ ใจถึง-พึ่งได้ ลงพื้นที่ มอบถุงยังชีพ สร้างขวัญกำลังใจให้กับคนพิการ และหน่วยงานของรัฐ

นายณรงค์ ไปวันเสาร์ นายกสมาคมคนพิการภาคตะวันออก และผู้นำคนพิการด้านการสร้างงาน สร้างอาชีพ ระดับชาติ เดินทางไปยังพื้นที่ต่างๆในจังหวัดชลบุรี และ เขตภาคตะวันออก เพื่อมอบถุงยังชีพให้กับ คนพิการ /องค์กรคนพิการ /ผู้นำท้องถิ่น และหน่วยงานภาครัฐ จำนวนกว่า 500 ถุง เพื่อมอบเป็นขวัญกำลังใจ ในช่วงที่สถานการณ์เชื้อไวรัสโควิค 19 ที่แพร่ระบาดไปทั่วโลก และโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการแพร่ระบาดรอบ 3 ที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยนั้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของพี่น้องประชาชน รวมถึงคนพิการ และครอบครัวคนพิการเป็นอย่างมาก 

ทั้งนี้ นายณรงค์​ ยังได้กล่าวถึงการดำเนินกิจกรรม "มอบถุงยังชีพ" นี้ ว่า อยากจะเป็นส่วนหนึ่งช่วยเหลือภาครัฐที่ได้ทำงานอย่างหนัก ในการดูแลคุณภาพด้านสาธารณสุขของประชาชน และยังคงต้องดูแลในเรื่องของการประกอบอาชีพของประชาชน เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจมากนัก

แม้เราจะเป็นเพียง "คนพิการ" แต่เราก็อยากจะร่วมกับรัฐบาลในการสร้างคุณงามความดี ตอบแทนพี่น้องประชาชน และประเทศชาติ ตามกำลังที่ทางสมาคมฯ พอจะช่วยเหลือได้ในยามที่คนไทยตกทุกข์ได้ยาก

ห้วงเวลานี้​ เราทุกคนควรจะจับมือกันและก้าวข้ามผ่านวิกฤติการณ์อันเลวร้ายนี้ไปด้วยกัน ด้วยการลงมือทำแบบ​ ​'คนละไม้_คนละมือ'​

'ตำรวจสอบสวนกลาง'​ ไม่ทอดทิ้งประชาชน และห่วงใย มอบน้ำใจแก่วิทยาลัยเทคโนโลยีพระมหาไถ่ พัทยา

พล.ต.ท.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผบช.ก. พล.ต.ต.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา รอง ผบช.ก. พล.ต.ต.มานะ กลีบสัตบุศย์ ผบก.อก.บช.ก. พ.ต.อ.ณัฐกร ประภายนต์ รอง ผบก.อก.บช.ก. และ​ พ.ต.อ.ณัฐพล ลิปิพันธ์​ ผกก.ฝอ.5.บก.อก.บช.ก.

ได้มอบหมายให้ พ.ต.ต.เลอศักดิ์ พิเชษฐไพบูลย์ สว.ฝอ.5 บก.อก.บช.ก. พร้อมกำลังพลจิตอาสา บก.อก.บช.ก. เป็นตัวแทน ร่วมกันมอบวัตถุดิบประกอบอาหาร เครื่องดื่ม โดยการสนับสนุนจากเครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP) และอุปกรณ์ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แก่วิทยาลัยเทคโนโลยีพระมหาไถ่ พัทยา (มูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ)  

ซึ่งประกอบด้วย... 

1.ข้าวสาร จำนวน 220 กิโลกรัม
2.น้ำดื่ม จำนวน 100 แพค 
3.ไข่ไก่สด จำนวน1,000 ฟอง
4.หน้ากากอนามัย จำนวน 2,500 ชิ้น
5.เอทิลแอลกอฮอล์ จำนวน 60 ลิตร

โดยมี ซิสเตอร์ภาวิณี พิชัยศรีสวัสดิ์ ผู้จัดการวิทยาลัยเทคโนโลยีพระมหาไถ่ พัทยา  พร้อมคณะเป็นผู้รับมอบ ณ วิทยาลัยเทคโนโลยีพระมหาไถ่ พัทยา จ.ชลบุรี
http://www.cib.police.go.th/2016/news.php?id=882

States TOON EP.12

ย้ายประเทศไปไหนกันจ๊ะ?
 

ทยอยช่วยคนพิการ!! 'ภาครัฐ'​ ผนึก​ 'เอกชน'​ ขับเคลื่อนทีม 'เรามีเรา'​ ส่งมอบของบริจาค​ ช่วยคนพิการช่วงโควิดระบาดหนัก

ณ อาคาร 60 ปี บ้านราชวิถี กรมประชาสงเคราะห์ กรุงเทพมหานคร 'นางสาวสราญภัทร อนุมัติราชกิจ'​ อธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.)​ รับมอบแพมเพิส ถุงอเนกประสงค์ ถุงยังชีพ ข้าวสารและน้ำดื่ม พร้อมเงินบริจาค จากภาคเอกชนและภาคีเครือข่าย เพื่อนำไปช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเปราะบาง อาทิ คนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาสในสังคม ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์​ (พม.) ที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนและความยากลำบากจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในขณะนี้ 

พร้อมส่งต่อความห่วงใยมอบสิ่งของบริจาคจำนวน 300 ชุด ให้กับองค์กรคนพิการ 7 แห่ง ได้แก่ สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย, สมาคมผู้ปกครองออทิสซึม (ไทย), สมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย, สมาคมผู้ปกครองคนพิการทางสติปัญญาแห่งประเทศไทย, สมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย, สมาคมสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย เพื่อนำไปแจกจ่ายสิ่งของเครื่องใช้จำเป็นให้กับคนพิการที่ได้รับผลกระทบในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ต่อไป

นอกจากนี้ ทาง พก. ยังได้จัดให้มีคณะทำงานช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมาย ภายใต้ชื่อ 'ทีมเรามีเรา'​ ประกอบด้วย นักสังคมสงเคราะห์, นักพัฒนาสังคม และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานให้ความช่วยเหลือคนพิการ ซึ่งเป็นบุคลากรของ พก. จำนวน 15 ทีม เพื่อรับแจ้งเหตุ ประสานส่งต่อ และดำเนินการช่วยเหลือคนพิการที่ติดเชื้อโควิด-19 ทั้งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และส่วนภูมิภาค โดยประสานงานผ่านศูนย์บริการคนพิการประจำจังหวัดทั่วประเทศ 

อธิบดี พก. กล่าวว่า สำหรับขั้นตอนการดำเนินงานประกอบด้วย 

1) การเฝ้าระวังและคัดกรองข่าวสารคนพิการที่ต้องการความช่วยเหลือ จากสื่อออนไลน์ สายด่วนศูนย์ช่วยเหลือสังคม 1300 และสายด่วนคนพิการ รวมทั้งได้รับการประสานงานจากภาคีเครือข่าย  

2) การประสานงาน โดยการประสานข้อมูล (Fact Finding) ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จากนั้น จึงให้ความช่วยเหลือ 

และ 3) การติดตามผลให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง  

ทั้งนี้ มีการแบ่งคนพิการออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่... 

กลุ่มแรก คนพิการที่ติดเชื้อ ช่วยเหลือโดยการประสานหาโรงพยาบาล โรงพยาบาลสนาม และ Hospitel  

กลุ่มที่ 2 คนพิการที่อยู่ในครอบครัว ที่มีคนติดเชื้อ ช่วยเหลือโดยประสานตรวจเชื้อ และความช่วยเหลืออื่นๆ 

และกลุ่มที่ 3 คนพิการที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยง มีความวิตกกังวล ช่วยเหลือโดยให้คำปรึกษาคลายกังวล และแนะนำการปฏิบัติตนอย่างถูกวิธี

ทั้งนี้ทาง​ พม. และ​ พก. ยังได้แสดงความขอบคุณเครือข่ายและพันธมิตรในการขับเคลื่อนภารกิจงานครั้งนี้ และหากพบคนพิการที่มีภาวะความเสี่ยงจาก COVID - 19 ติดต่อ 1300 / 1479 หรือ ศูนย์บริการคนพิการจังหวัดทั่วประเทศ 

นอกจากนี้​ หากมีความประสงค์จะร่วมบริจาคสิ่งของเครื่องใช้จำเป็นสำหรับคนพิการในหน่วยงานสังกัด พก. สามารถติดต่อสอบถามได้ที่หน่วยงานทั้ง 22 แห่ง ทั่วประเทศ โทร 0 2354 3388 และ 1479 หรือเว็บไซต์ www.dep.go.th และ เฟสบุ๊กกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง!! 'กัญจนา ศิลปอาชา' เดินหน้าช่วยเหลือผู้พิการไทย ควักเงินล้าน​ หนุนผ่าน "องค์การคนพิการระดับชาติ"

'กัญจนา ศิลปอาชา'​ ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง มอบเงินช่วยเหลือคนพิการไทย ผ่าน 'องค์การคนพิการระดับชาติ'

วันศุกร์ที่ 7 พฤษภาคม  2564 ณ มูลนิธิออทิสติกไทย คุณกัญจนา ศิลปอาชา (คุณนา) ประธาน 'มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย'​ (มพพท) มอบเงินให้กับ 'มูลนิธิออทิสติกไทย'​ จำนวน 1​ ล้านบาท 'สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย' จำนวน 2 แสนบาท รวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 1,200,000 บาท เพื่อดำเนินจัดถุงยังชีพมอบให้แก่คนพิการและครอบครัว โดยมอบหมายให้ 'สภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศ' และ 'องค์การคนพิการระดับชาติ' รับหน้าที่ส่งมอบถุงยังชีพให้แก่คนพิการ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ซึ่งเป็นพื้นที่สีแดงเข้ม และเป็นพื้นที่ควบคุม ในช่วงสถานการณ์เชื้อไวรัสโควิด19 ที่แพร่ระบาดอยู่ในขณะนี้ จำนวนรวม 1,500 ชุด 

งานในครั้งนี้​ ได้​ คุณนิกร จำนง กรรมการมูลนิธิฯและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 'พรรคชาติไทยพัฒนา'​ เข้าร่วมเป็นเกียรติมอบเงิน​

รวมไปถึง อ.ชูศักดิ์ จันทยานนท์ นายกสมาคมสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทยคุณสุชาติ โอวาทวรรณสกุล นายกสมาคมผู้ปกครองคนพิการทางสติปัญญาแห่งประเทศไทย, คุณเอกกมล แพทยานันท์ นายกสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย, คุณกิตติพงษ์ หาดทวายกาญจน์ กรรมการสมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย, อ.ปราโมทย์ ธรรมสโรช, คุณกิจจาพร ชื่นบุญ มูลนิธิออทิสติกไทย, คุณธิติวัฒน์ สิทธิพูนปวีร์ ผู้แทนเครือข่าย สมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย, คุณชีวานนท์ พรรัตน์ธนิกกุล นายกสมาคมสหพันธ์แรงงานคนพิการไทย ที่ได้เข้าร่วมงานการรับบริจาคดังกล่าวด้วย

สำหรับ คุณกัญจนา ถือเป็นผู้ผลักดันและส่งเสริมสิทธิคนพิการมาโดยตลอด ตั้งแต่ปี 2538 ในสมัยพรรคชาติไทย ฯพณฯบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 21 รับผิดชอบงานด้านการศึกษา ได้ริเริ่มนโยบาย 'คนพิการทุกคนที่อยากเรียนต้องได้เรียน'​ ต่อมาจนกลายเป็นนโยบาย และสโลแกนระดับประเทศ เกิดการปฎิรูปการจัดการศึกษาคนพิการ มีการจัดสร้างศูนย์การศึกษาพิเศษทั่วประเทศ ให้ความสำคัญกับ 'นโยบายเรียนร่วม/เรียนรวม'​ ที่ให้คนพิการสามารถเรียนร่วมในโรงเรียนทั่วไปได้ ทำให้คนพิการจำนวนมากได้เรียนจากหลักปีละหมื่นคน เป็นปีละกว่าสี่แสนคน จนถึงปัจจุบัน

ท้ายนี้ 'ผู้นำคนพิการ' ได้เข้าขอบคุณ คุณกัญจนา  ศิลปอาชา คณะกรรมการมูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ที่มอบโอกาส และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ในการช่วยเหลือคนพิการต่อไป

"แม้เงินจำนวนดัวกล่าว อาจจะช่วยเหลือคนพิการ ที่มีมากกว่า 2 ล้านคนทั่วประเทศไม่ได้ครบทุกคน แต่อย่างน้อย ก็ยังเป็นการแสดงออกถึงความห่วงใย จากผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมือง และเป็นส่วนหนึ่งที่จะสร้างแรงจูงใจ ให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสังคม มาร่วมกัน​ 'คนละไม้_คนละมือ'​ เพื่อสร้างสรรค์สังคมไทยให้น่าอยู่ สืบไป" กัญจนา​ กล่าว

‘Wisesight’ ผู้ให้บริการด้านการวิเคราะห์ข้อมูลโซเชียลมีเดียรายใหญ่ในประเทศไทย สะท้อนมุมมองโซเชียลกับวัคซีนต้านโควิด 5 แบรนด์ ที่ทุกคนกำลังจะได้ฉีดเร็ว ๆ นี้ พบ วัคซีน ‘Sinovac’ ถูกโลกโซเชียลพูดถึงมากสุด กว่า 5.5 ล้านครั้ง

ข่าวการฉีดและจัดหาวัคซีนป้องกันโควิด-19 ถือเป็นประเด็นร้อนแรงบนโลกโซเชียลในปัจจุบัน ซึ่งล่าสุดรัฐบาลได้ประกาศให้ประชาชนเริ่มลงทะเบียนจองคิวฉีดวัคซีนโควิดผ่านช่องทาง Line Official Account และ Application หมอพร้อม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม ที่ผ่านมา

บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด (Wisesight) ส่องความคิดเห็นของคนไทยบนโลกโซเชียลเรื่องวัคซีนต้านโควิด ทั้ง 5 แบรนด์ ที่รัฐได้ทำการนำเข้ามาเพื่อให้บริการแก่ประชาชน ได้แก่ ซิโนแวค (Sinovac), ไฟเซอร์ (Pfizer), แอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca), ซิโนฟาร์ม (Sinopharm) และ สปุตนิก วี (Sputnik V)

ไวซ์ไซท์ได้ทำการเก็บข้อมูลผ่านเครื่องมือ ZOCIAL EYE ในช่วงวันที่ 20-30 เมษายน พ.ศ.2564 พบว่าประเด็นดังกล่าวได้รับ Engagement สูงกว่า 10,000,000 Engagement จากช่องทาง Facebook และ Twitter เป็นหลัก โดยความคิดเห็นของชาวโซเชียลส่วนใหญ่ได้ให้ความสำคัญกับประเด็นเรื่องประสิทธิภาพ และกังวลถึงผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนเป็นอันดับต้น ๆ เรามาดูกันครับว่าในสถานการณ์นี้ชาวโซเชียลพูดถึงวัคซีนแบรนด์ไหนกันมากที่สุด!

อันดับ 1 : ซิโนแวค (Sinovac) 5,520,197 Engagement

วัคซีนเทคโนโลยีชนิดเชื้อตายที่มีชื่อว่า "โคโรนาแวค" (CoronaVac) ผลิตโดย บริษัท ซิโนแวค ไลฟ์ ไซแอนซ์ ประเทศจีน มีประสิทธิภาพป้องกันสายพันธ์ดั้งเดิมได้ 49.6% แต่ประสิทธิภาพจะลดลงอีกเมื่อเจอสายพันธุ์แอฟริกา อังกฤษ และบราซิล โดยประเด็นหลักที่เกี่ยวข้องและได้รับการพูดถึงควบคู่กันคือไม่อยากฉีด และคุณภาพต่ำ

อันดับ 2 : ไฟเซอร์ (Pfizer) 3,022,726 Engagement

วัคซีนชนิดสารพันธุกรรม (mRNA) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่เคยใช้กับวัคซีนป้องกันโรคอีโบล่า และมีประสิทธิภาพป้องกันไวรัสกลายพันธ์ุได้สูง ร่วมกันผลิตโดยบริษัทไฟเซอร์ ประเทศสหรัฐอเมริกาและบริษัทไบโอเอ็นเทค ประเทศเยอรมนี (Pfizer-BioNTech) โดยประเด็นหลักที่เกี่ยวข้อง และได้รับการพูดถึงควบคู่กันคือความต้องการฉีด และคุณภาพดีที่สุด

อันดับ 3 : แอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca) 925,936 Engagement

วัคซีนที่ใช้วิธีการผลิตแบบเวกเตอร์ ผลิตโดยบริษัท AstraZeneca สัญชาติอังกฤษ-สวีเดน ร่วมกับมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด มีประสิทธิภาพป้องกันสายพันธุ์ดั้งเดิมได้ 76% ส่วนสายพันธุ์อื่น ๆ ยังไม่มีผลระบุที่ชัดเจน โดยประเด็นหลักที่เกี่ยวข้องและได้รับการพูดถึงควบคู่กันคือเรื่องการผูกขาด และคุณภาพดี

อันดับ 4 : ซิโนฟาร์ม (Sinopharm) 671,431 Engagement

วัคซีนเทคโนโลยีชนิดเชื้อตาย ที่พัฒนาโดยบริษัทชิโนฟาร์ม ประเทศจีน มีประสิทธิภาพป้องกันสายพันธ์ุดั้งเดิมได้ 70% แต่ประสิทธิภาพจะลดลงเมื่อเจอสายพันธุ์แอฟริกา โดยประเด็นหลักที่เกี่ยวข้องและได้รับการพูดถึงควบคู่กันคือความต้องการฉีด และราคาแพง

อันดับ 5 : สปุตนิก วี (Sputnik V) 294,338 Engagement

วัคซีนที่ใช้วิธีการผลิตแบบเวกเตอร์เช่นเดียวกับวัคซีนของแอสตราเซเนกาที่ต้องฉีดทั้งหมด 2 เข็ม ผลิตโดยประเทศรัสเซีย ตั้งชื่อตามดาวเทียมดวงแรกที่ถูกส่งขึ้นไปโคจรรอบโลก มีประสิทธิภาพสูงถึง 91.6% โดยประเด็นหลักที่เกี่ยวข้องและได้รับการพูดถึงควบคู่กันคือความต้องการฉีด และคุณภาพดีที่สุด

โครงการ 1 กลุ่มจังหวัด 1 นิคมอุตสาหกรรมเกษตรอาหารคืบหน้า ล่าสุด 4 จังหวัด ได้แก่ ร้อยเอ็ด เพชรบุรี สระบุรีและกาญจนบุรี พร้อมร่วมโครงการ

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการความร่วมมือ ระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กรกอ.) เปิดเผย วันนี้ (7พ.ค.) ว่า การปฏิรูปภาคเกษตรแบบครบวงจรภายใต้ ‘5ยุทธศาสตร์เฉลิมชัย’ คืบหน้าอย่างมาก โดยเฉพาะโครงการ 1 กลุ่มจังหวัด 1 นิคมอุตสาหกรรมเกษตรอาหาร ได้รับความสนใจจากภาครัฐ ภาคเอกชนและภาควิชาการในหลายจังหวัด ขณะนี้มีจังหวัดเสนอตัวเข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นใหม่ได้แก่กาญจนบุรี เพชรบุรี สระบุรี และร้อยเอ็ด

“จังหวัดเพชรบุรีมีพื้นที่อำเภอท่ายางและแก่งกระจาน จะพัฒนาเป็นเขตผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเกษตรในรูปแบบเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farming) จังหวัดกาญจนบุรีที่อำเภอท่าม่วงเป็นนิคมอุตสาหกรรมเกษตรอาหารและเอสเอ็มอี มุ่งตลาด 7 ประเทศรอบอ่าวเบงกอล โดยเล็งทวายเป็นท่าเรือส่งออก การพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมของทั้ง 2 จังหวัด เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจตะวันตก (Western Economic Corridor) ส่วนสระบุรีจะพัฒนาเป็นซิลิคอนวัลเล่ย์เกษตรอาหารเน้นสตาร์ทอัพที่ spin-off จากผลงานวิจัยและพัฒนาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมหรือศูนย์ AIC ในโมเดลเดียวกับการพัฒนาซิลิคอนวัลเลย์ของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด”

นายอลงกรณ์ เปิดเผยด้วยว่า ล่าสุด นายยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ ประธานคณะอนุกรรมการส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรอาหารของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานว่า เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ.2564 นายชยันต์ ศิริมาศ ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นประธานการประชุมหารือการส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร จังหวัดร้อยเอ็ด ณ ห้อง Smart Room ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีนายชนาส ชัชวาลวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ ผู้แทนสถาบันการศึกษา ภาคเอกชน เข้าร่วมหารือ พร้อมได้ถ่ายทอดสัญญาการประชุมผ่านระบบ zoom meeting ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย

ทั้งนี้ สืบเนื่องจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีนโยบายส่งเสริมเขตอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร และมติจากการประชุมคณะกรรมการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และสภาอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย (กรกอ.) เห็นชอบให้มีการส่งเสริมการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารขึ้นมาโดยจะดําเนินการในพื้นที่ 18 กลุ่มจังหวัด โดยจะมีการเชื่อมโยงการนํานวัตกรรมทางการเกษตรมาใช้ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AIC) ในแต่ละจังหวัด ซึ่งเป็นการพัฒนาเกษตรกรในช่วงต้นทาง เพื่อยกระดับเกษตรกร ให้สามารถป้อนวัตถุดิบ การเกษตรไปสู่อุตสาหกรรมเกษตรและอาหารในช่วงปลายทาง

โดยจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นหนึ่งในจังหวัดเป้าหมายในการดำเนินการโครงการหนึ่งนิคมอุตสาหกรรมเกษตรอาหาร หนึ่งกลุ่มจังหวัด ของพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง ดังนั้น การประชุมในครั้งนี้จึงเป็นการหารือถึง แนวทางการจัดทําข้อมูลรายละเอียดศักยภาพของพื้นที่ และสินค้าเป้าหมาย พร้อมทั้งจัดทําแนวทางการพัฒนาเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารของจังหวัดร้อยเอ็ด พร้อมมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมเสนอต่อที่ประชุมคณะอนุกรรมการส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ.2564 ต่อไป

โดยจะพิจารณาข้อเสนอของทุกจังหวัดที่เสนอตัวเข้าร่วมโครงการ 1 กลุ่มจังหวัด 1 นิคมอุตสาหกรรมบรรจุในวาระการประชุมของอนุกรรมส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรอาหารก่อนนำเสนอต่อ กรกอ. ในการประชุมเดือนหน้า หากจังหวัดใดสนใจจะเข้าร่วมโครงการสามารถเสนอตัวมาได้ก่อนการประชุมสัปดาห์หน้า

ทั้งนี้ มติที่ประชุม กรกอ. ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ.2564 ได้เห็นชอบโครงการ 1 กลุ่มจังหวัด 1 นิคมอุตสาหกรรม โดยส่งเสริมและสนับสนุนการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเกษตรอาหารทั้งขนาดเล็กขนาดกลางขนาดใหญ่ให้ครบทั้ง 18 กลุ่มจังหวัด เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงและตอบโจทย์การเพิ่มมูลค่าตลอดห่วงโซ่ของผลผลิตการเกษตรโดยจะกระจายการลงทุน การสร้างงาน และการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากเพื่อเป็นการสร้างความสมดุลใหม่ของการพัฒนาประเทศ (New Development Balancing) ภายใต้ 5 ยุทธศาสตร์ปฏิรูปภาคเกษตรกรรมของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แก่

1.) ยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิต

2.) ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีเกษตร 4.0

3.) ยุทธศาสตร์ ‘3’s’ (Safety-Security-Sustainability) เกษตรปลอดภัย เกษตรมั่นคง และเกษตรยั่งยืน

4.) ยุทธศาสตร์การบริหารเชิงรุกแบบบูรณาการกับทุกภาคส่วนโดยเฉพาะโมเดล ‘เกษตร-พาณิชย์ทันสมัย’ และ

5.) ยุทธศาสตร์เกษตรกรรมยั่งยืนตามแนวทางศาสตร์พระราชา


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top