ชวนคิดประเด็น นายกฯ คนใหม่จะมาจากไหน หาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ถอดใจลาออก โดย อาจารย์กิตติธัช ชัยประสิทธิ์ นักวิชาการอิสระ และอาจารย์ด้านสถาปัตยกรรม สอนพิเศษด้าน ปรัชญาการเมือง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้โพสต์ลงเฟซบุ๊กว่า...
นายกพระราชทาน = เป็นไปไม่ได้
นายกคนนอก/คนกลาง = เป็นไปได้
(ตามกลไกเสียงข้างมากในรัฐสภา)
-----------------
นายกพระราชทาน = เป็นไปไม่ได้
-----------------
ประเด็นก็คือ "ปัญหาการเมืองต้องแก้ด้วยการเมือง" และพระมหากษัตริย์ท่านจะไม่ทรงลงมายุ่งกับฝ่ายการเมืองแน่นอน เพราะเป็นการรักษาสถานะและหลักการตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ฝ่ายการเมือง มีปัญหาการเมือง ก็ต้องแก้ไขกันเอง
แต่ท่านอาจจะให้ข้อคิดหรือคำแนะนำสำหรับสถานการณ์บ้านเมืองได้ ดังเช่น ธรรมเนียมของประชาธิปไตยแบบอังกฤษที่ "ทุกสัปดาห์" นายกรัฐมนตรีต้องถวายงานแก่ควีนเอลิซาเบท และจะทรงมีคำแนะนำ ข้อสงสัย ซักถาม ในทางลับ (Weekly Audience)
แต่ทั้งหมดล้วนไม่มีผลทางกฎหมาย นายกรัฐมนตรีจะนำข้อเสนอ/คำชี้แนะนั้นไปปฏิบัติหรือไม่ เป็นดุลพินิจของนายกฯ ในฐานะผู้นำรัฐบาล
เช่นเดียวกับที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทำในยามที่บ้านเมืองเกิดปัญหา เช่น กรณีพฤษภาทมิฬที่ทรงเรียกทั้งสองฝ่ายเข้าพบ เพื่อขอให้ยุติการเผชิญหน้าระหว่างคนไทยทั้งสองฝ่าย
https://www.youtube.com/watch?v=R5CDd78IiDk
รวมไปถึงที่ท่านให้คำแนะนำแก่ผู้ว่าและส่วนราชการ ในกรณีการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมใหญ่ ปี พ.ศ. 2538
https://www.youtube.com/watch?v=A55bbuxqrgA
*** เช่นเดียวกับใน ปี พ.ศ. 2548 ที่พันธมิตรฯ และฝ่ายค้านอย่างประชาธิปัตย์เวลานั้น พยายามเสนอขอนายกพระราชทานตาม มาตรา 7 แต่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ท่านก็ไม่ทรงตอบรับ และทรงมีรับสั่งชัดเจนในวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2549 ว่าเป็นเรื่องไม่ถูกต้องและไม่เป็นประชาธิปไตย
(เพราะมาตรานี้ไม่ได้มีเจตนาเช่นนั้น)
https://www.youtube.com/watch?v=2Wt8f06qf6w
-----------------
นายกคนนอก/คนกลาง = เป็นไปได้
-----------------
ในทางกลับกัน...นายกรัฐมนตรีคนนอก (บัญชีรายชื่อพรรคการเมือง) ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 272 สามารถทำได้ ตามขั้นตอนต่อไปนี้
1.) ส.ส. 250 เสียง ยื่นเรื่องเสนอต่อสภาขอเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีที่อยู่นอกบัญชีรายชื่อพรรคการเมือง และหากได้รับการรับรองจากเสียง 2 ใน 3 ของทั้งสภา (500 จาก 750) ก็สามารถเสนอได้
2.) เมื่อผู้ได้รับการเสนอชื่อ ได้รับ "เสียงข้างมาก" จำนวน 251+ เสียงจากสภาผู้แทนราษฎร คนที่ได้รับเลือกก็จะเป็นนายกรัฐมนตรี
***ดังนั้นกระบวนการนี้ จึงเป็นมติตามเสียงข้างมากของสภาผู้แทนราษฎร และไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์แต่ประการใด จึงไม่ใช่นายกฯ พระราชทาน
-----------------
ในแง่ความเป็นจริง
-----------------
หากกรณีนี้เกิดขึ้นจริง ย่อมหนีไม่พ้นที่พรรคการเมืองบางพรรค (ที่กลัวว่าจะถูกโดดเดี่ยว) จะต้องออกมาโจมตีเรื่อง "ไม่เป็นประชาธิปไตย" แม้ว่าจะมาจากเสียงข้างมากในสภาฯ ก็ตาม
และแน่นอนว่าข้ออ้างที่สำคัญที่สุดคือ เรื่อง "ส.ว." แต่หากเกิดกรณีนี้ขึ้นจริง และ ส.ว.มีมติไม่ลงคะแนนเสียงไปเลือกนายกฯ ร่วมกับ ส.ส. ย่อมทำให้ข้อครหาหมดไป
และกรณีเช่นนี้อาจเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะหากสองพรรคใหญ่เห็นพ้องต้องกันและจับมือกันเพื่อให้ได้นายกรัฐมนตรีที่เสียงส่วนใหญ่ในสภาผู้แทนราษฎรเห็นว่าเหมาะสมจะขึ้นมาเป็นผู้นำประเทศได้
ที่มา : https://www.facebook.com/story.php?story_fbid=4332705306793595&id=100001625041497
โปรเด็ด! ถึง 31 ก.ค. นี้ Ford Ranger, MG ZS, Mazda 2 และ Nissan อัลเมร่า ทักไลน์ @THESHOPSTIMES
คลิก????https://lin.ee/vfTXud9