Saturday, 27 April 2024
การค้า

“รองโฆษกรัฐบาล” ชี้ ดัชนีความเชื่อมั่นจชต.ขยับดี เร่ง การค้าชายแดนเปิดด่านเพิ่ม คู่เดินหน้าแผนบูรณาการสร้างสังคมพหุวัฒนธรรม

ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงสถานการณ์ภาคใต้ ว่า ความเชื่อมั่นจังหวัดชายแดนใต้ปรับตัวสูงขึ้น เช่นเดียวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ที่มีแนวโน้มดีขึ้น โดยสำนักงานโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ รายงานว่าดัชนีความเชื่อมั่นจังหวัดชายแดนใต้ไตรมาสที่ 3 ปี 2564 จากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน ประมาณ 34,000 คน ในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคใต้ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สงขลา และสตูล ความเชื่อมั่นอยู่ที่ระดับ 51.87 ปรับตัวสูงขึ้นจากระดับ 50.90 จากไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลจากความเชื่อมั่นด้านเศรษฐกิจและด้านสังคมที่มีมากขึ้น

น.ส.รัชดา กล่าวว่า นายกฯยินดีกับผลการสำรวจดังกล่าว เนื่องจากผลการดำเนินนโยบายรัฐ ที่ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ มุ่งเน้นทุกหน่วยงานบูรณาการการทำงานร่วมกัน ทั้งศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)และ สำนักงานโยบายและยุทธศาสตร์การค้า(สนค.) กระทรวงพาณิชย์ ตลอดจนหน่วยงานด้านความมั่นคงที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน เพื่อดำเนินงานตามแผนบูรณาการที่หนุนเสริมใน 2 มิติ คือ 1.การพัฒนาตามศักยภาพพื้นที่ ในระดับฐานราก 290 ตำบล 

มุ่งเน้นการแก้ปัญหาความยากจนตามฐานข้อมูล คือ ด้านสุขภาพ ,ความเป็นอยู่ ,การศึกษา,รายได้ และด้านการเข้าถึงบริการภาครัฐ เพื่อให้ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน 2.การพัฒนาเสริมสร้างความมั่นคง มุ่งเน้น 3 ด้าน คือ ด้านการสร้างความเข้มแข็งสังคมพหุวัฒนธรรม ส่งเสริมให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในการดำเนินชีวิตตามหลักความเชื่อ ศาสนา การประกอบศาสนกิจ การจัดงานประเพณีวัฒนธรรมต่าง และสร้างความเป็นธรรมและความเท่าเทียม ด้านการเยียวยา มุ่งเน้นเยียวยาทั้งร่างกาย จิตใจ และความสูญเสียทางทรัพย์สินต่อผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบอย่างทั่วถึงเป็นธรรม และด้านการเสริมสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับประชาชนทั้งในและนอกพื้นที่ รวมถึงการพัฒนาความสัมพันธ์ในการสร้างความร่วมมืออันดีจากองค์กรต่าง ๆ ทั้งภายในและต่างประเทศ

'ม.นเรศวร' เปิดเวทีประชุมนานาชาติระเบียงเศรษฐกิจ หลวงพระบาง อินโดจีนและเมาะลำไย ครั้งที่ 5 มุ่งส่งเสริมด้านการแข่งขันและความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน

เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2565 รองศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา พัดเกตุ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการมหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นประธานเปิด การประชุมระดับนานาชาติระเบียงเศรษฐกิจ หลวงพระบาง อินโดจีนและเมาะลำไย ครั้งที่ 5 (The 5th LIMEC Academic International Conference) เพื่อถ่ายทอดและขยายผลการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน บนระเบียงเศรษฐกิจหลวงพระบาง อินโดจีน และเมาะลำไย สู่สถาบันการศึกษา และหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งยังเป็นเวทีให้ให้นักเรียน นักวิจัย และคณาจารย์ ได้นำเสนอผลงานวิชาการ และแลกเปลี่ยนและแบ่งปันความรู้ที่เกี่ยวข้องกับระเบียงเศรษฐกิจหลวงพระบาง อินโดจีน และเมาะลำไย เพื่อร่วมมือกันพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจฯ สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) ในการส่งเสริมด้านการสร้างความสามารถ ในการแข่งขันและส่งเสริมความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน 

สำหรับในปีนี้ การประชุมจัดขึ้นในหัวข้อ “เทคโนโลยีดิจิตอลด้านโลจิสติกส์สำหรับฐานชีวิตใหม่” (Logistics for New Normal with Digital Technology) ซึ่งเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในการใช้ชีวิตและการดําเนินธุรกิจของเราหลังจากการเกิดขึ้นของ COVID-19 ที่เร่งการพัฒนา และการนําวิธีการทํางานใหม่ๆ มาใช้ เช่น การทํางานจากที่บ้าน บริการจัดส่งอาหารออนไลน์ ธนาคารดิจิทัล และการเว้นระยะห่างทางสังคม และกิจกรรมอื่นๆ แบบไม่ต้องสัมผัส ซึ่งเทคโนโลยีดิจิทัลได้กลายเป็นหนึ่งในโซลูชั่นที่สําคัญในการเชื่อมต่อเรา และเพื่อรักษาธุรกิจในหลายภาคส่วน ตั้งแต่การเงินไปจนถึงบริการภาครัฐ สุขภาพ และการศึกษา ตลอดจนเทคโนโลยีดิจิทัลด้านโลจิสติกส์และปัญญาประดิษฐ์พร้อมนี้ภายในงานจัดให้มีการบรรยายพิเศษ ในหัวข้อที่น่าสนใจ อาทิ หัวข้อ “มุมมองต่อการนาดิจิทัลทรานฟอเมชั่นมาใช้ในการสร้างการไหลของอุปสงค์และอุปทานในการข้ามแดน” หัวข้อ “Building Supply Chain Resilience in the post-pandemic World-The Role of Digital Technologies” และการเสวนาในหัวข้อ “Digital Technology for the New Normal in Business” เป็นต้น ณ ห้องประชุม 210 อาคารเอกาทศรถ มหาวิทยาลัยนเรศวร และในรูปแบบออนไลน์

'บิ๊กตู่' ปลื้ม!! RCEP ดัน ศก.อาเซียนโตเหนือปี 65 ขยายตัว 7% มูลค่ารวม 10 ล้านล้านบาท

(9 ก.พ. 66) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พอใจผลรายงานความตกลง RCEP ซึ่งทำให้การค้าไทยและประเทศสมาชิกขยายตัวร้อยละ 7.11 มูลค่าการค้ารวม 10 ล้านล้านบาท

นายอนุชา กล่าวว่า จากผลบังคับใช้ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership : RCEP) ซึ่งได้มีผลบังคับใช้ครบ 1 ปี ส่งผลให้การค้าของไทยกับประเทศสมาชิก RCEP อาทิ อาเซียน, จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ขยายตัว 7.11% จากปีก่อนหน้า โดยมีมูลค่าการค้ารวม 3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเท่ากับ 10 ล้านล้านบาท

นายอนุชา กล่าวว่า โดยแบ่งเป็นการส่งออกจากไทยไปประเทศสมาชิก RCEP มูลค่า 1.4 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (4.8 ล้านล้านบาท) โดยประเทศอาเซียน คือ อินโดนีเซีย, กัมพูชา และสิงคโปร์ เป็นตลาดส่งออกอันดับต้น รองลงมาเป็นเกาหลีใต้และออสเตรเลีย และการนำเข้าจากประเทศสมาชิก RCEP มูลค่า 1.6 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (5.7 ล้านล้านบาท) ขณะที่ไทยนำเข้าสินค้าจากบรูไนดารุสซาลาม, ออสเตรเลีย และเมียนมา เป็นอันดับต้น

ยุทธศาสตร์คานงัดเศรษฐกิจไทย 10 ล้านล้าน โอกาสที่ 'อาเซียน-จีน-ตะวันออกกลาง' พร้อมเสิร์ฟ

“...ปีนี้จะเป็นปีแห่งโอกาสในวิกฤติทางด้านการค้า การลงทุน การท่องเที่ยวของไทย...”

“…เราทำเงินจากโอกาสการค้าของไทยกว่า 10 ล้านล้านบาท ในตลาดอาเซียน-จีน-ตะวันออกกลาง...”

นี่คือคำกล่าวโดยนายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์, ที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรฯ และอดีตรัฐมนตรีช่วยพาณิชย์ ซึ่งถือเป็นภาคต่อ (ติดตามตอนแรก >> https://thestatestimes.com/post/2023031438) ในการฉายภาพเศรษฐกิจไทยที่กำลังพุ่งทะยาน โดยมีประชาธิปัตย์ทันสมัยเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนผ่านกระทรวงเกษตรฯ 

สำหรับในตอนล่าสุดนี้ นายอลงกรณ์ ได้พา THE STATES TIMES ไปโฟกัสถึงโอกาสขนาดใหญ่ที่ไทยกำลังปั้นให้เกิดเป็นผลลัพธ์จาก ตลาดอาเซียน-จีน-ตะวันออกกลาง ซึ่งเข้ามามีบทบาทต่อการเติบโตของภาคเศรษฐกิจไทยเป็นอย่างยิ่ง โดยมีรายละเอียดที่น่าสนใจ ดังนี้...

ปลายปี 2565 ไทยเป็นเจ้าภาพในการประชุม APEC ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญและมีผลต่อเศรษฐกิจของไทยและภูมิภาคอาเซียนอย่างมาก รวมถึงการฟื้นความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับซาอุดีอาระเบีย ในรอบ 30 ปี ถือเป็น 'ลมส่งท้าย' ถึงปีนี้ ซึ่งจะเป็นปีแห่งโอกาสในวิกฤติของไทยทางด้านการค้า, การลงทุน, การท่องเที่ยว

เริ่มต้นปีด้วยข่าวดี เมื่อจีนเริ่มผ่อนคลายนโยบายการควบคุมโควิดและเปิดประเทศในเดือนมกราคม

ทั้งนี้ภาคการเกษตรของไทยถือเป็นกลไกสําคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยพร้อมกับยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเกษตรไทย ภายใต้วิสัยทัศน์เปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาสสร้างเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งในประเทศ พร้อมทั้งมุ่งเน้นการขับเคลื่อนการผลิตสินค้าเกษตรมูลค่าสูงด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่และนวัตกรรม องค์ความรู้ ศาสตร์พระราชาภูมิปัญญาไทยโดยจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (Agritech and Innovation Center : AIC) ทั้ง 77 จังหวัด และศูนย์ AIC ประเภทศูนย์ความเป็นเลิศ (Center of Excellence) อีก 23 ศูนย์ เมื่อ 1 มิถุนายน 2563 ซึ่งถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีที่สำคัญของการยกระดับอัพเกรดการพัฒนาประเทศภายใต้ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีเกษตร 4.0 และยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิตบนความร่วมมือระหว่าง นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีพาณิชย์กับ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีเกษตรฯ

สำหรับโอกาสการค้าการลงทุนของไทยในจีน-ตะวันออกกลาง และอาเซียน ประเทศไทยถือได้ว่ามีศักยภาพสูงโดยใช้จุดแข็งของไทยที่ขอเรียกว่า...

>> '8 ลมใต้ปีก' ช่วยผลักดันโอกาสของไทยและหุ้นส่วนเศรษฐกิจให้เดินหน้าสู่ความสำเร็จ ได้แก่...

1. การฟื้นสัมพันธ์ไทย-ซาอุดีอาระเบีย 
- สร้างระเบียงเศรษฐกิจใหม่ (New Economic Corridor) ระหว่างไทย-ซาอุดีอาระเบีย อาเซียนและตะวันออกกลาง

2. รถไฟลาว-จีน เชื่อมไทย เชื่อมโลก 
- การพัฒนาโลจิสติกส์เชื่อมการขนส่งการค้า และการลงทุนของไทยไปยังตลาดทุกมณฑลในจีน อาเซียนตะวันออกกลาง เอเซียกลาง ยุโรป และอังกฤษเพราะการขนส่งสินค้าจะเร็วขึ้น ต้นทุนจะลดลง โดยเฉพาะอีสานเกตเวย์ และท่าเรือหวุ่งอ๋างเปิดเส้นทางสู่แปซิฟิก

3. 'ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค' (RCEP:Regional Comprehensive Economic Partnership)
- เป็นเขตการค้าเสรี (FTA) ที่ใหญ่ที่สุดของโลก ทำให้ภาษีนำเข้าสินค้าไทยเหลือศูนย์ทันทีเกือบ 30,000 รายการ ใน 14 ประเทศที่ร่วมเป็น FTA Partner ของ RCEP เริ่มมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 โดยมีสมาชิก 15 ประเทศรวมทั้งจีน และประเทศอาเซียนซึ่งผู้มีบทบาทสำคัญคือรองนายกรัฐมนตรีนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีพาณิชย์และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เป็นประธานการประชุมตั้งแต่ต้นจนบรรลุข้อตกลงRCEP

4. มินิ-เอฟทีเอ (Mini-FTA)
- เป็นกลยุทธ์ใหม่เพิ่มโอกาสความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าการลงทุนเปิดตลาดเมืองรองในประเทศต่างๆ ปูทางสร้างโอกาสสำหรับผู้ประกอบการไทย โดยรัฐมนตรีพาณิชย์เดินหน้าเชื่อมสัมพันธ์กับเมืองต่างๆในหลายประเทศ เช่น ไห่หนาน, กานซู และเสิ่นเจิ้นของจีน / เมืองโคฟุของญี่ปุ่น / เมืองเตลังกานาของอินเดีย และปูซานของเกาหลีใต้ เป็นต้น

5. FTA และการเปิดเจรจา FTA รอบใหม่ 
- ไทยมีความตกลงการค้าเสรี (FTA) ที่มีผลบังคับใช้แล้วถึง 14 ฉบับ กับ 18 ประเทศ ทำให้ไทยมีศักยภาพในการเป็นจุดหมายการลงทุนและการค้า รวมทั้งการเปิดเจรจา FTA กับสหภาพยุโรป อังกฤษ EFTA และ UAE

6. การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่
- เป็นอีกปัจจัยที่มีบทบาทสำคัญต่อการค้าการลงทุนในการสร้างศักยภาพเศรษฐกิจ และขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เช่น โครงการรถไฟสี่รางทางคู่ โครงการรถไฟความเร็วสูง โครงการพัฒนาท่าเรือมาบตาพุดระยะที่ 3 โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก โครงการท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 โครงการทางหลวงระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์)

การค้าจีน-ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ทะลุ 14 ล้านล้านบาท ตอกย้ำความไว้ใจ-แน่นแฟ้นระหว่างประเทศ

(24 มี.ค.66)  (ซินหัว) — การค้าระหว่างจีนกับกลุ่มประเทศตามแนวแม่น้ำโขงเติบโตอย่างต่อเนื่องในปี 2022 แม้เผชิญการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) และภาวะเศรษฐกิจโลกซบเซา

รายงานระบุว่าปริมาณการค้าระหว่างจีนกับกัมพูชา ลาว เมียนมา ไทย และเวียดนามในปีก่อน มีมูลค่ารวมอยู่ที่ 4.16 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 14.22 ล้านล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 เมื่อเทียบปีต่อปี โดยเป็นผลมาจากความไว้วางใจและความร่วมมือที่แน่นแฟ้นระหว่างกัน

‘จีน-บราซิล’ บรรลุข้อตกลงการค้า ใช้สกุลเงิน ‘หยวน-เรอัล’ หวังลดการพึ่งพาเงินดอลลาร์ หนุนการค้าทวิภาคีมากขึ้น

เมื่อวันพุธที่ 29 มี.ค. 66 รัฐบาลบราซิล ได้ประกาศว่า จีนและบราซิลบรรลุข้อตกลงการค้า โดยใช้สกุลเงินหยวนและเงินเรอัล ในการทำธุรกรรมกันโดยตรงแทนการใช้เงินดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นสกุลเงินกลาง ซึ่งนับเป็นความพยายามล่าสุดของจีน ที่จะลดการพึ่งพาเงินดอลลาร์ในการค้าระหว่างประเทศ

ด้านสำนักงานส่งเสริมการค้าและการลงทุนของบราซิล (ApexBrasil) แถลงว่า “ข้อตกลงนี้ เป็นที่คาดหวังว่าจะช่วยลดต้นทุน สนับสนุนการค้าทวิภาคียิ่งขึ้น และอำนวยความสะดวกในการลงทุน”

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานเมื่อวานนี้ (29 มี.ค. 66) ว่า จีนเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของบราซิล โดยเมื่อปีที่แล้ว มีมูลค่าการค้าทวิภาคีสูงเป็นประวัติการณ์ถึง 1.505 แสนล้านดอลลาร์

ข้อตกลงดังกล่าว เกิดขึ้นหลังเสร็จสิ้นการประชุมภาคธุรกิจระดับสูงระหว่างจีน-บราซิล ในกรุงปักกิ่ง โดยก่อนหน้านี้มีการทำความตกลงเบื้องต้นระหว่างสองประเทศเมื่อเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา

‘อีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน’ โอกาสใหม่เศรษฐกิจ ‘จีน-แอฟริกา’ ช่วยกลุ่มธุรกิจเข้าถึงลูกค้าเป้าหมายมากขึ้น ลดต้นทุนรอบด้าน

เมื่อไม่นานมานี้ สำนักข่าวซินหัว, ปักกิ่ง รายงานว่า หนังสือพิมพ์ข้อมูลเศรษฐกิจรายวัน (Economic Information Daily) สังกัดสำนักข่าวซินหัวรายงานเมื่อไม่นานนี้ว่า ‘อีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน’ ได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญของความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และการค้าที่เติบโตอย่างรวดเร็วระหว่างจีนและแอฟริกา โดยทำให้มีสินค้าจากแอฟริกาเข้าสู่ตลาดจีนเป็นจำนวนมาก

ผู้ขายกาแฟจากเอธิโอเปีย ซอสพริกจากรวันดา ชาดำจากเคนยา ช็อกโกแลตจากกานา เม็ดมะม่วงหิมพานต์จากแทนซาเนีย ฯลฯ เข้าถึงผู้บริโภคชาวจีนได้อย่างง่ายดาย ผ่านแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน

มีสินค้ามากกว่า 200 ชนิดจากกว่า 20 ประเทศในทวีปแอฟริกา ที่ได้รับการแนะนำสู่สายตาผู้บริโภคชาวจีนผ่านการสตรีมมิง หรือ ไลฟ์สด บนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซช่วงเทศกาลชอปปิงออนไลน์ ที่จัดขึ้นโดยจีนตั้งแต่วันที่ 28 เม.ย.- 12 พ.ค. ปี 2022 เพื่อส่งเสริมการขายสินค้าจากแอฟริกา โดยข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ชี้ว่ายอดขายชาดำของเคนยาและยอดขายกาแฟเอธิโอเปียในช่วงเทศกาลดังกล่าว เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 409 และร้อยละ 143.1 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับยอดในปี 2021

ขณะที่แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนของจีน เช่น คิลิมอลล์ (Kilimall) อาลีบาบา (Alibaba) คิคู (Kikuu) และ ชีอิน (Shein) ก็พยายามที่จะเจาะเข้าสู่ตลาดแอฟริกาเช่นกัน

ยกตัวอย่างเช่น คิลิมอลล์ แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่ก่อตั้งในเคนยาเมื่อปี 2014 และมีห่วงโซ่อุปทานส่วนใหญ่อยู่ในจีน ได้เปิดบริการธุรกรรมอีคอมเมิร์ซ บริการชำระเงินผ่านมือถือ และบริการขนส่งข้ามพรมแดน แก่ผู้ใช้งานในแอฟริกากว่า 10 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่มาจากเคนยา ยูกันดา และไนจีเรีย เกิดการสร้างงานมากกว่า 10,000 ตำแหน่งให้กับคนในท้องถิ่น

‘ด่านบกกานฉีเหมาตู’ รายงานการค้าปี 2023 ‘จีน – มองโกเลีย’ ยอดสินค้าพุ่ง 10 ล้านตัน ทะลุเป้าเร็วกว่าปี 2022 เกือบ 4 เดือน!!

(25 เม.ย. 66) สำนักข่าวซินหัว, ฮูฮอต รายงานว่า หน่วยงานบริหารด่านบกกานฉีเหมาตู ซึ่งเป็นด่านทางหลวงขนาดใหญ่ที่สุดบนพรมแดนจีนและมองโกเลีย รายงานปริมาณการค้าระหว่างสองประเทศผ่านด่านบกกานฉีเหมาตู ในปีนี้ได้สูงเกิน 10 ล้านตันแล้ว

รายงานระบุว่าด่านบกกานฉีเหมาตู ซึ่งตั้งอยู่ในเขตปกครองตนเองมองโกเลียในทางตอนเหนือของจีน ได้จัดการสินค้าราว 10.02 ล้านตัน ระหว่างวันที่ 1 ม.ค. – 22 เม.ย.66 หรือคิดเฉลี่ยอยู่ที่ 112,600 ตันต่อวัน

ทั้งนี้ ด่านบกกานฉีเหมาตูเป็นด่านทางหลวงแห่งแรกของมองโกเลียใน ที่มีปริมาณการค้าสินค้าสูงถึง 10 ล้านตันในปี 2023 ซึ่งบรรลุเป้าหมายเร็วกว่าปี 2022 เกือบ 4 เดือน

ด่านบกกานฉีเหมาตูมุ่งมั่นเพิ่มประสิทธิภาพพิธีการศุลกากร ด้วยการดำเนินมาตรการเพิ่มเติมเพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้า ขณะเป็นช่องทางนำเข้าพลังงานที่สำคัญของจีน และศูนย์กลางสำคัญของระเบียงเศรษฐกิจจีน – มองโกเลีย – รัสเซีย


ที่มา : https://www.xinhuathai.com/china/353900_20230425

‘พท.’ ชูนโยบายเชิงรุก เร่งเจรจาการค้า ตอบโจทย์เศรษฐกิจ หวังขยายฐานตลาดสินค้าไทยสู่เวทีโลก สร้างเม็ดเงินให้ชาติ

(28 เม.ย. 66) พรรคเพื่อไทยให้ความสำคัญด้านต่างประเทศที่จะเชื่อมไทยเชื่อมโลก เปิดตลาดสินค้าเกษตรใหม่ ๆ เร่งเจรจาการค้า กอบกู้เกียรติภูมิประเทศในเวทีโลก เพื่อให้ประชาชนได้ประโยชน์อย่างแท้จริง

นายนพดล ปัทมะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และผู้สมัคร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงนโยบายต่างประเทศของพรรคเพื่อไทยในการเลือกตั้งครั้งนี้ว่า จะเป็นนโยบายเชิงรุกที่ตอบโจทย์เศรษฐกิจ ให้เป็นการต่างประเทศที่กินได้ เกิดประโยชน์ตกถึงมือประชาชน

ถ้าพรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาล จะมีแนวนโยบายดังนี้
1.) ฟื้นฟูบทบาทของไทยในเวทีโลก บนพื้นฐานของกฎบัตรสหประชาชาติ กฎหมายระหว่างประเทศและปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

2.) กำหนดท่าทีของประเทศอย่างสมดุลในพลวัติภูมิรัฐศาสตร์โลก โดยไทยจะเป็นผู้ส่งเสริมสันติภาพ และความรุ่งเรืองอย่างแข็งขันในประชาคมโลก เพื่อผลประโยชน์ร่วมกันของทุกฝ่าย

3.) ปกป้องผลประโยชน์ของคนไทย และธุรกิจไทยในต่างประเทศอย่างเข้มแข็ง

4.) หนังสือเดินทางไทยแข็งแรง เดินทางง่ายได้ทั่วโลก เร่งเจรจายกเว้นวีซ่าให้พาสปอร์ตไทย

5.) นโยบายต่างประเทศที่กินได้ เชื่อมโลกเชื่อมไทย เปิดตลาด เพิ่มรายได้จากการค้าชายแดน เร่งเจรจาข้อตกลงทางการค้า FTA กับอียูและอังกฤษ ผลักดัน soft power ทางการทูตไทย และพลัง soft power ด้านอื่น ๆ ของไทย

‘บิ๊กตู่’ จ่อ ฟื้นประชุม JTC หลังการค้าไทย-อินเดียคืบหน้า หวังแก้อุปสรรคทางการค้า หนุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจยิ่งขึ้น

(4 พ.ค. 66) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ติดตามการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการผลักดันความร่วมมือด้านการค้าระหว่างไทยกับอินเดียจนมีความคืบหน้าอย่างเป็นรูปธรรม โดยเมื่อวันที่ 20 เม.ย.ที่ผ่านมา คณะผู้แทนไทยได้เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (Joint Trade Committee: JTC) ไทย – อินเดีย ครั้งที่ 13 ที่กรุงนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย ถือเป็นการประชุมครั้งแรกในรอบ 20 ปี นับจากการประชุมเมื่อปี 2546

นายอนุชา กล่าวว่า การประชุม JTC ถือเป็นกลไกสำคัญในการหารือแนวทางการส่งเสริมการค้าและการลงทุน และแก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้า รวมทั้งผลักดันความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกัน ซึ่งในปี 2563 ไทยและอินเดียตกลงรื้อฟื้นการประชุม JTC ขึ้นใหม่ ภายหลังว่างเว้นมานานเกือบ 2 ทศวรรษ เนื่องจากทั้งสองประเทศเข้าสู่การเจรจา FTA ไทย – อินเดีย และ FTA อาเซียน – อินเดีย โดยการประชุม JTC ในครั้งนี้ มีวาระการหารือที่สำคัญเกี่ยวกับการลดอุปสรรคทางการค้า และส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับอินเดีย

สำหรับผลลัพธ์การประชุมในครั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องในหลักการที่จะใช้การลงนามและตราประทับอิเล็กทรอนิกส์ในหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า รวมทั้งผลักดันการใช้ QR Code ผ่านการเชื่อมโยงระบบ Unified Payments Interface (UPI) ของอินเดียกับระบบพร้อมเพย์ (PromptPay) ของไทย เพื่อรองรับการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยว ตลอดจนส่งเสริมความร่วมมือด้านการถ่ายทำภาพยนตร์และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top