Tuesday, 13 May 2025
Lite

11 พฤศจิกายน พ.ศ.2411 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรก

วันนี้เมื่อ 154 ปี ก่อน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรก ขณะพระชนมายุเพียง 15 พรรษา

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 และสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ประสูติ เมื่อวันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 ทรงพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฎว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพยมหามกุฎ บุรุษรัตนราชรวิวงศ์ วรุตมพงศ์บริพัตร ศิริวัฒนราชกุมาร 

ทรงได้รับการสถาปนาเป็นเจ้าฟ้าต่างกรม มีพระนามกรมว่า กรมหมื่นพิฆเณศวรสุรสังกาศ หลังจากทรงผนวชเป็นสามเณรทรงได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธยขึ้นเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ฯ กรมขุนพินิตประชานาถ ทรงเป็นพระราชปิโยรสที่สมเด็จพระบรมชนกนาถโปรดให้เสด็จอยู่ใกล้ชิดติดพระองค์เสมอเพื่อให้มีโอกาสแนะนำสั่งสอนวิชาการต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิชารัฏฐาภิบาล ราชประเพณีและโบราณคดี นอกจากนั้นยังทรงศึกษาภาษามคธ ภาษาอังกฤษ การยิงปืนไฟ กระบี่กระบอง มวยปล้ำ รวมทั้งการบังคับช้างอีกด้วย

Swap & Go เปลี่ยนแบตฯ ‘ทันใจ-ไม่ต้องชาร์จ’ ตอบโจทย์ไรเดอร์สายพันธุ์ใหม่ หัวใจอีวี

แม้ทุกวันนี้กระแสรถยนต์พลังงานไฟฟ้าอีวีจะมาแรงแค่ไหน แต่ก็อย่าลืมว่ารูปแบบพาหนะในเมืองไทยที่หลายคนใช้กันในชีวิตประจำวัน ก็ไม่ได้มีเพียงแค่รถยนต์ 4 ล้อ เท่านั้น หากแต่ยังมีสายไรเดอร์ 2 ล้อ ที่หวังอยากจะมีโอกาสสัมผัสอีวีสองล้อที่ตอบสนองต่อไลฟ์สไตล์การขับขี่แบบไม่สะดุดรวมอยู่ด้วย

อย่างไรก็ตาม ปัญหาเล็ก ๆ ที่อาจจะกลายเป็นเรื่องใหญ่ในบางเวลาของไรเดอร์ที่หันมาซบสองล้ออีวี คือ ความเร่งรีบที่สวนทางกับความไม่ทันใจในการเติมพลังงานสะอาด 100% นี้ เพราะทุกนาทีในการรอชาร์จ อาจทำให้พวกเขาผิดพลาดหรือหลุดโอกาสจากภารกิจต่างๆ ที่รัดตัวเอาได้ง่ายๆ

ทว่า ปัญหานี้ถูกคลี่คลาย หลังจากไม่นานมานี้ Swap & Go โดย บริษัท สวอพ แอนด์ โก จำกัด บริษัทย่อยของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการเครือข่าย Battery Swapping หรือ การสลับแบตเตอรี่ที่ได้มาตรฐานสากลแก่ผู้ใช้งานรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าแบบไม่ต้องรอชาร์จ ได้กลายคำตอบที่จะช่วยไรเดอร์อีวีได้อย่างชัดเจนขึ้น หลังจาก Swap & Go ได้เปิดให้บริการเหล่าไรเดอร์เปลี่ยนแบตฯ ได้ตลอดวัน 

ส่วนวิธีการใช้งานนั้น ก็ง่ายมากๆ แค่เพียงดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Swap & Go และเชื่อมต่อกับ รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า เพื่อตรวจสอบปริมาณแบตเตอรี่ จากนั้นก็ค้นหาตำแหน่งของสถานี (ปตท.) โดยในแอปฯ จะมีระบบนำทางเราไปยังสถานีที่อยู่ใกล้ตัวเรามากที่สุด 

ข้อควรรู้ ‘ขับขี่มือใหม่’ สายพลังงานสะอาด ‘ชาร์จ’ รถ EV ต้องทำแบบนี้ ‘ปลอดภัย-ไฟแรง’

ปัจจุบันระบบนิเวศของยานยนต์ไฟฟ้า EV ได้เริ่มไหลเวียนเข้ามาสู่ชีวิตประจำวันของผู้คนอย่างเรา ๆ ได้ใช้งานมากขึ้นเรื่อย ๆ

แต่อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องตระหนักไม่น้อยไปกว่าเฟสของ ‘การใช้งาน’ ในผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในตลาด เช่น ตัวรถยนต์ มอเตอร์ แบตเตอรี่ หรือแม้แต่ที่ชาร์จ ก็คือ เรื่องของมาตรฐานของห่วงโซ่ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับ EV

ไม่นานมานี้ ท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ก็สั่งเดินหน้าขับเคลื่อนนโยบาย EV อย่างต่อเนื่อง โดยเร่งรัดให้สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) นำมาตรฐานแบตเตอรี่ไฟฟ้า ทั้งมอเตอร์ไซค์ และรถยนต์ รวมทั้งสถานีชาร์จ เสนอบอร์ดเพื่อขอความเห็นชอบในการบังคับใช้มาตรฐาน โดยกำหนดให้เป็นสินค้าควบคุมเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค

สาระสำคัญที่น่าสนใจในเฟสนี้ คงอยู่ที่เรื่องของพลังงานเสียมาก โดยเฉพาะในส่วนของสถานีชาร์จ หรือแม้แต่ที่ชาร์จตามบ้าน ซึ่งหากใช้อย่างไม่รู้เท่าทัน แทนที่รถยนต์ไฟฟ้าจะช่วยปันเงินส่วนต่างที่แพงหูฉี่จากน้ำมันมาเข้ากระเป๋า อาจทำให้เราต้องควักเงินเพิ่มเพื่อไปดูแล อุปกรณ์เกี่ยวเนื่องต่อการใช้งานอีวีนั้น ๆ ก็เป็นได้

วันนี้ ผมเลยถือโอกาสแนะแนวทางการชาร์จแบตฯ รถยนต์ไฟฟ้าที่ควรรู้สำหรับทุกท่านที่เริ่มเข้าสู่สังคมพลังงานสะอาด 100% กันสักเล็กน้อยครับ 

สำหรับการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้านั้น หลัก ๆ ก็จะมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 3 แบบ คือ…

>>การชาร์จแบบธรรมดา (Normal Charge)
เป็นการชาร์จไฟฟ้าจากตัวเต้ารับโดยตรง และเต้ารับต้องติดตั้งใหม่เฉพาะการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าเท่านั้น โดยเป็นการใช้ไฟบ้านที่เป็นกระแสสลับ (AC) ใช้ระยะเวลาในการชาร์จประมาณ 12 ถึง 16 ชั่วโมง

เศษซากคณะราษฏร มายาคติแห่งความก้าวหน้า ที่ใช้สถาบันมา ‘ย่ำยี’ สืบทอด ‘ร่างทรง’ จนประเทศชาติยากจะไปต่อ

จริง ๆ เรื่องนี้น่าจะเป็นเรื่องที่เอามาเล่าในช่วงประมาณเดือนมิถุนายนหรือในช่วงใกล้วันรัฐธรรมนูญ แต่เอาเข้าจริง ๆ หยิบมาเล่าทวนความสักหน่อยก็น่าจะดี เรื่องของ ‘คณะราษฎร’ ที่มีหลายกลุ่มหัวก้าวหน้ายึดถือเป็นไอดอล และทำทุกอย่างเพื่อจะสานต่อปณิธานของคนกลุ่มนี้ โดยเฉพาะเรื่องของการล้มล้างระบอบพระมหากษัตริย์และยึดทรัพย์สินของพระองค์มาเป็นของพวกพ้องตัวเองโดยวิธีสร้างเรื่องปลอม ๆ ตลอดเวลา ช่างก้าวหน้าจริง ๆ 

คณะราษฎรเริ่มต้นด้วยกลุ่มนักเรียนหัวนอกรุ่นก่อตั้ง 7 คน ที่กรุงปารีส นำโดยนายปรีดี พนมยงค์ อันนี้หลาย ๆ ท่านคงทราบแล้ว ผสมกับทหารหัวนอกจากเยอรมันนำโดยเชษฐบุรุษ พระยาพหลพลพยุหเสนา และ พระยาทรงสุรเดช ผู้เป็นมันสมองหลักในการจัดการกำลังพล

เขาบอกกันว่าหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ที่เขาว่ามันคือประชาธิปไตย เอาเข้าจริงๆ แล้วมันคือการปกครองแบบคณาธิปไตยที่ใช้การเลือกตั้งแบบปลอม ๆ จัดตั้งขึ้นมา ส่วนอำนาจจริง ๆ อยู่ในกลุ่มบุคคลเพียงไม่กี่คนผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันขึ้นมาใช้

ซึ่งหากไม่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี 2475 ไม่นานสยามก็จะต้องมีรัฐธรรมนูญ และมีการเลือกตั้งเช่นกัน เพราะโลกเปลี่ยนไป ทัศนคติของคนเปลี่ยนไป ซึ่งตามประวัติศาสตร์ที่บันทึกไว้ ก็ชี้ชัดว่าสยามใกล้จะมีรัฐธรรมนูญแล้ว โดยไม่ต้องมีการใช้กำลัง เพียงแต่พวกที่กลัวจะตกขบวนรถไฟ ชิงกระทำการก่อนเพื่อให้พวกตนได้กุมอำนาจ พอได้อำนาจแล้วทำอะไรต่อมาติดตามกัน 

ถ้าไม่มีคณะราษฎร...ประเทศไทยคงไม่ต้องสูญเสียกษัตริย์ ถึง 2 พระองค์... รัชกาลที่ 7 คงไม่ต้องเสด็จฯ ต่างประเทศและสวรรคตที่นั้น และ รัชกาลที่ 8 คงไม่ต้องสวรรคต เพราะการลอบปลงพระชนม์ ที่เกิดจากการแก่งแย่งชิงดีในทางการเมืองของคณะราษฎรและการที่กลุ่มบุคคลที่ไม่แน่ใจว่าจะเรียกอะไรดี เพราะชื่อมันเยอะเหลือเกิน แต่ที่รู้ ๆ บูชาคณาจารย์ที่เรียกกลุ่มว่ากลุ่มนิติราษฎร พยายามใส่ร้าย ร.9 ในกรณีการลอบปลงพระชนม์นั้นก็เพราะต้องการทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์และคืนชีพ ‘คณะราษฎร’ จึงดำเนินการเสี้ยมในทุก ๆ ทาง โดยเฉพาะกรณีการเรียกร้องให้ยกเลิก ม.112 อย่างข้าง ๆ คู ๆ แล้วเรียกหรู ๆ ใหม่ว่า ‘การปฏิรูป’

กลับมาที่หลัง 24 มิถุนายน 2475  ที่คณะราษฎร ยึดอำนาจ (การปกครอง) จากรัชกาลที่ 7 เสร็จแล้วก็พยายามจะตามมายึดพระราชทรัพย์ เพราะเพิ่งรู้ว่ารัฐไทยขณะนั้นยากจน เพราะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก บีบคั้นพระองค์ท่านจนสละราชสมบัติ ในพ.ศ.2477สละราชสมบัติได้เดี๋ยวเดียว รัฐบาลก็รีบหาทางจัดการทรัพย์สินของพระมหากษัตริย์ โดยมุ่งจะยึดเอา ‘พระคลังข้างที่’ 

โดยออกเป็นกฎหมายชื่อว่า ‘พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พุทธศักราช 2479’ และเริ่มใช้บังคับตั้งแต่ 15 มิถุนายน 2479 เป็นต้นมา พ.ร.บ.ฉบับนี้ ได้แยกทรัพย์สินหรือสิทธิ ออกเป็นสองส่วนคือ ‘ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์’ .. ‘ทรัพย์สินส่วนพระองค์’ และ ‘ทรัพย์สินส่วนสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน’ เอาจริง ๆ ก็ก่อนหน้าปฏิวัติ ในหลวงรัชกาลที่ 5 ท่านแยกไว้แล้วว่าอันไหนทรัพย์ส่วนพระองค์ อันไหนทรัพย์ของแผ่นดิน แต่คณะราษฎรเขาไม่แคร์

หลังจากออก พรบ. นายปรีดี พนมยงค์ ซึ่งเป็นรัฐมนตรีคลังในขณะก็ตั้งกรรมการขึ้นมาตรวจสอบบัญชีพระคลังข้างที่แล้วพบว่าเงินหายไปหลายรายการ เอาจริง ๆ นะครับ ‘พระคลังข้างที่’ นั่นมันเป็นเงินของพระองค์ พระองค์จะเอาไปใช้ทำอะไรมันก็เรื่องของพระองค์ ซึ่งก็ปรากฏว่า เป็นการไปซื้อประกันภัย และเป็นเงินฝากในต่างประเทศตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5

รัฐบาลของฝ่ายผู้ก่อการได้ยื่นฟ้อง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นจำเลยที่ 1 และสมเด็จพระนางเจ้า รำไพพรรณี เป็นจำเลยที่ 2 ให้ชดใช้เงินแก่กระทรวงการคลัง เป็นจำนวนทั้งสิ้น 6,272,712 บาท 92 สตางค์และขอให้ศาลยึดทรัพย์ของจำเลยไว้ (วังศุโขทัย) ศาลไม่อนุมัติ รัฐมนตรี ก็สั่งย้ายอธิบดีศาลแพ่งไปเสีย แล้วให้หลวงกาจสงคราม (นายพลตุ่มแดง) นำหมายศาลไปปิดและยึดทรัพย์ในวังศุโขทัย ในที่สุดศาลก็มีคำสั่งให้รัชกาลที่ 7 เป็นฝ่ายแพ้คดี (พิพากษาหลังสวรรคต) รัฐบาลสั่งยึดทรัพย์และขายทอดตลาดวังศุโขทัย แต่ขายไม่ได้ สุดท้าย กระทรวงสาธารณสุขมาเช่าใช้ จน พ.ศ. 2493 แต่สุดท้ายทางการก็ได้ถวายวังศุโขทัยคืนแด่สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีเพื่อเป็นที่ประทับต่อไป

ยังไม่รวมกรณีหลังจากที่นายปรีดีเป็นผู้สำเร็จราชการอีกหลายกรณี จนกระทั่งอำนาจเปลี่ยนมือมาสู่คณะราษฎรสายทหาร จอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งท่านผู้นี้คือไอดอลของเด็กอ้วน 3 นิ้ว อันมีวีรกรรมที่แจกแจงได้อย่างสนุก อย่างแรกคงต้องพุ่งเป้าไปที่การสร้างสัญลักษณ์ของตนเทียมอย่างเจ้า มีคฑาตราไก่ของตนเอง นำรูปของตนและภรรยาขึ้นเป็นรูปเคารพแทนพระมหากษัตริย์ พยายามสร้างตำแหน่งใหม่อย่าง สมเด็จเจ้าพญาชาย สมเด็จเจ้าพญาหญิง ซึ่งเป็นระบบฐานันดรที่คณะพวกเขาบอกว่าไม่ดี แต่ก็ทำซะเอง !!!! 

13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 เกิดเหตุก่อการร้าย ณ กรุงปารีส คร่า 153 ชีวิต ร้ายแรงสุดนับแต่สงครามโลกครั้งที่ 2

ค่ำคืนของวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ.2558 เกิดเหตุก่อการร้ายในกรุงปารีสและเมืองแซ็ง-เดอนี (ย่านชานกรุงปารีสทางทิศเหนือ) ประเทศฝรั่งเศส โดยฝีมือของกลุ่มก่อการร้าย ISIL

ในช่วงกลางคืนของวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 เกิดเหตุก่อการร้ายซึ่งประกอบด้วยการกราดยิง การระเบิดฆ่าตัวตาย และการจับตัวประกันในกรุงปารีสและเมืองแซ็ง-เดอนี (ย่านชานกรุงปารีสทางทิศเหนือ) ประเทศฝรั่งเศส เริ่มตั้งแต่เวลา 21:16 น. ตามเวลายุโรปกลาง เกิดเหตุกราดยิงผู้คน 6 จุด และระเบิดฆ่าตัวตายอีก 4 จุด รวมถึงที่บริเวณใกล้กับสตาดเดอฟร็องส์ (สนามกีฬาแห่งชาติ) ซึ่งกำลังมีการแข่งขันฟุตบอลนัดกระชับมิตรระหว่างทีมชาติฝรั่งเศสกับทีมชาติเยอรมนี การโจมตีที่ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดอยู่ที่โรงมหรสพบาตากล็อง (Bataclan) ที่ซึ่งผู้ก่อเหตุได้จับผู้ชมคอนเสิร์ตเป็นตัวประกันและเผชิญหน้ากับตำรวจจนสิ้นสุดลงเมื่อเวลา 00:58 น. ของวันที่ 14 พฤศจิกายน

จากเหตุการณ์นี้ มีพลเรือนเสียชีวิตอย่างน้อย 153 คน โดย 89 คนในจำนวนนี้อยู่ที่โรงมหรสพบาตากล็อง และมีผู้ได้รับบาดเจ็บระหว่างเหตุโจมตีอีก 352 คน โดยมี 99 คนที่ได้รับการระบุว่ามีอาการสาหัส นอกจากพลเรือนที่ประสบความสูญเสียแล้วยังมีผู้ก่อเหตุเสียชีวิต 7 คน และทางการกำลังค้นหาผู้ร่วมก่อเหตุที่ยังหลบหนี 

12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 เครื่องบินซาอุฯ – คาซัคฯ ชนสนั่นกลางอากาศ เสียชีวิตหมดยกสองลำ รวม 349 ชีวิต

วันนี้ของเมื่อ 26 ปีก่อน หรือเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 ได้เกิดอุบัติเหตุเครื่องบินชนกันกลางอากาศที่ประเทศอินเดีย ส่งผลให้ผู้โดยสารของทั้งสองลำ เสียชีวิตทั้งหมด รวม 349 คน

เหตุการณ์สุดสลดดังกล่าว เกิดขึ้นจากเครื่องบินลำหนึ่ง เป็นเครื่องบินโดยสารที่เดินทางจาก ‘คาซัคสถาน’ และกำลังจะลงจอดที่ท่าอากาศยานนานาชาติ ‘อินทิรา คานธี’ กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย

เกิดชนกันกับเครื่องบินโดยสารอีกลำหนึ่งคือสายการบินของซาอุดีอาระเบีย ที่ขึ้นบินจากท่าอากาศยานเดียวกัน โดยมีปลายทางคือ ‘ซาอุดีอาระเบีย’

โดยตำแหน่งที่เกิดอุบัติเหตุอยู่ใกล้กับเมืองจรรขีทาทรี รัฐหรยาณา ประเทศอินเดีย เหตุการณ์นี้จึงเป็นที่รู้จักกันในภาษาอังกฤษว่า ‘เหตุเครื่องบินชนกันกลางอากาศที่จรรขีทาทรี’

ผลคือ ผู้โดยสารและลูกเรือบนเครื่องบินทั้งสองลำรวมทั้งสิ้น 349 คนเสียชีวิตทั้งหมด!!

นั่นจึงทำให้เหตุการณ์นี้ ถือเป็นอุบัติเหตุเครื่องบินชนกันกลางอากาศที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในโลก เป็นอุบัติเหตุทางการบินที่ร้ายแรงที่สุดในประเทศอินเดีย และเป็นอุบัติเหตุทางการบินที่ร้ายแรงที่สุดเป็นอันดับที่ 3 ในโลก รองจากเหตุการณ์เครื่องบินชนกันที่ท่าอากาศยานเตเนริเฟในหมู่เกาะคะแนรี ประเทศสเปนในปี พ.ศ. 2520 และอุบัติเหตุเจแปนแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 123 ตกที่ประเทศญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2528

สำหรับเหตุการณ์นี้ เครื่องลำหนึ่งเป็นเครื่องบินโบอิง 747 ของสายการบินซาอุดีอาระเบียนแอร์ไลน์ หรือเที่ยวบินที่ 763 ส่วนอีกลำหนึ่ง คือ เครื่องบินอิลยูชิน อิล-76 ของสายการบินคาซัคสถานแอร์ไลน์ หรือ เที่ยวบินที่ 1907

รายละเอียดของเครื่องบินทั้งสองเที่ยวบินนี้ คือ เที่ยวบินที่ 763 เป็นเที่ยวบินเดินทางจากท่าอากาศยานนานาชาติอินทิรา คานธี กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย โดยมีกำหนดลงจอดที่ท่าอากาศยานนานาชาติอัซเซาะฮ์รอน เมืองอัซเซาะฮ์รอน ทางตะวันออกของประเทศซาอุดีอาระเบีย ก่อนจะเดินทางต่อไปยังท่าอากาศยานนานาชาติสมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลอะซีซ เมืองญิดดะฮ์ ทางตะวันตกของซาอุดีอาระเบีย

โดยใช้เครื่องบินโบอิง 747-168 บี หมายเลขทะเบียน HZ-AIH ขณะที่เกิดเหตุเครื่องบินลำนี้มีอายุ 14 ปี 10 เดือน มีผู้โดยสารบนเครื่องบินลำนี้ 289 คน และลูกเรือ 23 คน

ผู้โดยสารส่วนใหญ่เป็นชาวอินเดีย ซึ่งเดินทางไปทำงานหรือไปแสวงบุญที่ซาอุดีอาระเบีย และมีชาวต่างชาตินอกเหนือจากอินเดียและซาอุดีอาระเบียอยู่ด้วย 17 คน

ส่วนเที่ยวบินที่ 1907 เป็นเที่ยวบินเดินทางจากท่าอากาศยานนานาชาติชิมเคนต์ เมืองชิมเคนต์ ทางตอนใต้ของประเทศคาซัคสถาน มายังท่าอากาศยานนานาชาติอินทิรา คานธี กรุงนิวเดลี

โดยใช้เครื่องบินอิลยูชิน อิล-76ทีดี หมายเลขทะเบียน UN-76435 โดยขณะเกิดเหตุเครื่องบินลำนี้มีอายุ 4 ปี ในรายงานข่าวแต่แรกนั้นระบุว่ามีคนบนเครื่องบินทั้งหมด 39 คน

อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ของสายการบินคาซัคสถานแอร์ไลน์ได้แจ้งว่ามีคนบนเครื่องบินเพียง 37 คน โดยเป็นลูกเรือ 10 คน และผู้โดยสาร 27 คน

ซึ่งเที่ยวบินนี้เป็นเที่ยวบินเหมาลำ โดยมีบริษัทเสื้อผ้าแห่งหนึ่งในประเทศคีร์กีซสถานเป็นผู้เช่า ผู้โดยสาร 13 คนบนเครื่องบินลำนี้ถือสัญชาติคีร์กีซ

ระหว่างที่ คาซัคสถานแอร์ไลน์เที่ยวบินที่ 1907 ใกล้ถึงท่าอากาศยานนานาชาติอินทิรา คานธี ได้แจ้งต่อเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศของเดลีตามปกติ ซึ่งเจ้าหน้าที่สั่งให้เที่ยวบินที่ 1907 ลดระดับลงมาที่ 15,000 ฟุต

หากแต่ในขณะนั้น ซาอุดีอาระเบียนแอร์ไลน์เที่ยวบินที่ 763 ก็ได้ทำการขึ้นบินจากท่าอากาศยาน และมุ่งหน้าไปในเส้นทางบินเดียวกัน ซึ่งสวนทางกับเที่ยวบินที่ 1907

เสี้ยวนาทีนั้น เจ้าหน้าที่จึงสั่งให้เที่ยวบินที่ 763 ไต่ระดับขึ้นไปที่เพดานบิน 14,000 ฟุต เที่ยวบินที่ 1907 เมื่อลดระดับถึง 15,000 ฟุตแล้วก็รายงานต่อเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจร

เจ้าหน้าที่ได้แจ้งเตือนเที่ยวบินที่ 1907 ว่าเที่ยวบินที่ 763 กำลังมุ่งหน้าสวนทางกัน อย่างไรก็ตาม ที่จริงแล้วเที่ยวบินที่ 1907 ไม่ได้รักษาระดับความสูงอยู่ที่ 15,000 ฟุต หากแต่กำลังลดระดับลงมาโดยในขณะนั้นอยู่ที่ระดับความสูง 14,500 ฟุตและกำลังลดระดับต่อไปอีก

เหตุร้ายบังเกิด เมื่อปรากฏว่าเที่ยวบินที่ 1907 ลดระดับลงไปอีกประมาณ 310 ฟุต ที่สุดทั้งคู่จึงได้ชนเข้าอย่างจัง โดยที่เจ้าหน้าที่ควบคุมการจราจรทางอากาศ ยังไม่ทราบด้วยซ้ำว่าเครื่องบินทั้งสองลำชนกันแตกระเบิดเป็นเสี่ยง ๆ ไปแล้ว

14 พฤศจิกายน ของทุกปี เป็นวัน ‘พระบิดาแห่งฝนหลวง’ น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ในหลวง ร.9

67 ปีแห่งการกำเนิดฝนหลวงพระราชทาน นับจากวันที่ 14 พฤศจิกายน 2498 เป็นวันที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรางมีทรงมีพระราชดำริที่จะคิดค้น วิจัย หาวิธีการทำฝนหลวงเพื่อแก้ไขปัญหาความทุกข์ยากของเกษตรกรและประชาชนทั่วไปที่ประสบภัยแล้ง

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำริที่จะคิดค้น วิจัย หาวิธีการทำฝนหลวงเพื่อแก้ไขปัญหาความทุกข์ยากของเกษตรกรและประชาชนทั่วไปที่ประสบภัยแล้ง ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2545 เฉลิมพระเกียรติพระองค์ท่าน ในฐานะทรงเป็น 'พระบิดาแห่งฝนหลวง' และกำหนดให้วันที่ 14 พฤศจิกายนของทุกปีเป็น 'วันพระบิดาแห่งฝนหลวง' เพื่อร่วมน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นหาที่สุดมิได้ และจารึกไว้เป็นวันสำคัญของประวัติศาสตร์ชาติไทย       

เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระราชดำริโครงการฝนหลวงขึ้นเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 ทรงศึกษาค้นคว้าและวิจัยทางเอกสาร ทั้งด้านวิชาการ อุตุนิยมวิทยา และการดัดแปรสภาพอากาศ โครงการพระราชดำริฝนหลวง เป็นโครงการที่ก่อกำเนิดจากพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงห่วงใยในความทุกข์ยากของพสกนิกรในท้องถิ่นทุรกันดาร จากพระราชกรณียกิจในการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกรในทุกภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง นับแต่เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ ทำให้ทรงพบเห็นว่า ภาวะแห้งแล้งได้มีแนวโน้มรุนแรงขึ้นตามลำดับ เพราะการตัดไม้ทำลายป่า เป็นสาเหตุให้สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้แก่ราษฎรในทุกภาคของประเทศ ส่งผลถึงความเสียหายต่อเศรษฐกิจโดยรวมของชาติ คิดเป็นมูลค่ามหาศาลในแต่ละปี  

ทั้งนี้ ระหว่างทางที่เคยเสด็จพระราชดำเนิน ทั้งภาคพื้นดิน และทางอากาศยาน พระองค์ทรงสังเกตเห็นว่า มีเมฆปริมาณมากปกคลุมท้องฟ้า แต่ไม่สามารถก่อรวมตัวกันจนเกิดเป็นฝนได้ เป็นเหตุให้เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงระยะยาวทั้ง ๆ ที่เป็นช่วงฤดูฝน ทรงคิดคำนึงว่า น่าจะมีมาตรการทางวิทยาศาสตร์ที่จะช่วยให้เมฆเหล่านั้นก่อรวมตัวกันจนเกิดเป็นฝนได้ ทรงเชื่อมั่นว่า ด้วยลักษณะของกาลอากาศ ภูมิอากาศ และภูมิประเทศของประเทศไทยซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาคเขตร้อน และอยู่ในอิทธิพลของฤดูมรสุมของทวีปเอเชีย โดยเฉพาะฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งเป็นฤดูฝน และเป็นฤดูเพาะปลูกประจำปีของประเทศไทย จะสามารถดัดแปรสภาพอากาศให้เกิดเป็นฝนตกได้ 

รอยยิ้มใต้ทะเล คอนโดปะการังระบบนิเวศแห่งใหม่ใต้แท่นขุดน้ำมัน ที่พี่ไทยคิดไว้แล้ว ผ่านแนวคิด 'ทะเลเพื่อชีวิต'

ระบบนิเวศแห่งใหม่ด้วยแท่นขุดน้ำมันที่ปลดประจำการแล้ว เปลี่ยนแท่นขุดน้ำมันสู่บ้านหลังใหม่ของสิ่งมีชีวิตทางทะเล

'บ้านหลังใหม่ของเหล่าสัตว์ทะเล' สร้างระบบนิเวศแห่งใหม่ด้วยการเปลี่ยนแท่นขุดน้ำมันเป็นปะการังเทียมให้เหล่าน้อง ๆ 

ส่วนใหญ่คนมักจะคิดว่าแท่นขุดเจาะน้ำมันเป็นเหมือนกับปราสาทของเหล่าตัวร้ายจากในการ์ตูนหรือหนัง เพราะคนยังติดภาพจำที่ว่าแท่นขุดเจาะน้ำมันเหล่านี้อาจจะไปสร้างทับบ้านของเหล่าน้อง ๆ สัตว์ทะเลหรือไม่ก็ทำให้ระบบนิเวศในบริเวณนั้นเกิดความเสียหาย

แต่ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ ถ้าจะบอกว่าแท่นขุดน้ำมันเหล่านี้มันถูก ‘คิดค้น’ มาเพื่อเป็นบ้านของสิ่งมีชีวิตทางทะเลด้วยนะ

เรื่องมันเป็นอย่างนี้ เมื่อประมาณ 2 อาทิตย์ก่อนผมได้ไปเจอเข้ากับวิดีโอตัวหนึ่งในยูทูป เขาเล่าเกี่ยวกับเรื่องของโครงการ 'Rigs-to-Reef' หรือการเปลี่ยนแท่นขุดเจาะที่ปลดประจำการแล้วให้กลายเป็นปะการังเทียมเพื่อให้สิ่งมีชีวิตทางทะเลได้เข้ามาตั้งรกรากใต้แท่นขุดเจาะ

แล้วมันมีข้อดีอะไรหลาย ๆ คนอาจจะสงสัย เพราะถ้าพูดถึงของเทียมมันก็ต้องดีไม่เท่าของแท้อยู่แล้ว แต่ผมบอกเลยว่าไม่ใช่แบบนั้นถึงจะขึ้นชื่อว่าปะการังเทียมแต่จริง ๆ แล้วมันมีข้อดีมากกว่าปะการังแท้ ๆ อีกนะ ก็อย่างเช่น ...

‘รุสลัน เจ๊ะมะ’ จากมหาบัณฑิต สู่ ‘เกษตรกร’ สายผสมผสาน แสวงสุขที่แท้จริง ตามรอยหลัก ‘เศรษฐกิจพอเพียง’ 

อย่างที่เราทราบกันดี ‘เศรษฐกิจพอเพียง’ เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทย 

ซึ่งแนวคิดนี้ตั้งอยู่บนรากฐานของวัฒนธรรมไทย เป็นทางสายกลางที่เหมาะสมกับการยึดถือในการดำเนินชีวิต โดยมีหลักความไม่ประมาท คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเอง ตลอดจนใช้ความรู้และคุณธรรม เป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต ที่สำคัญจะต้องมี ‘สติ ปัญญา และความเพียร’ ซึ่งจะนำไปสู่ ‘ความสุข’ ในการดำเนินชีวิตอย่างแท้จริง

แน่นอนว่า พระองค์ไม่ได้พระราชทานปรัชญานี้สำหรับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ฉะนั้น ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มคนชนชั้นใด ก็สามารถประยุกต์เอาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตได้

เช่นเดียวกันกับ ‘รุสลัน เจ๊ะมะ’ อดีตเยาวชนสานใจไทยสู่ใจใต้ รุ่นที่ 1 ชาว อ.บันนังสตา จ.ยะลา ผู้มีความเชื่อมั่นต่อปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 แม้ว่าเขาจะจบการศึกษา มหาบัณฑิตด้านนิติศาสตร์อิสลาม จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติมาเลเซีย แต่เขาก็กลับมาที่ประเทศไทย ซึ่งเป็น ‘บ้านเกิด’ เพื่อทำเกษตรผสมผสานตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

“เคยมีคนถามเยอะเลยครับว่าเรียนจบสูง ทำไมไม่ทำในด้านที่จบมา ผมก็เลยบอกว่า บางคนถนัดไปเรียนด้านนี้ แต่กลับมาทำด้านอื่นได้ เพราะว่า ความรู้ที่ได้มา ก็เอามาทำในส่วนนี้ก็ได้เหมือนกัน”

หาก ‘รุสลัน’ เลือกที่จะทำงานตามสายที่จบมา เขาอาจจะได้มีโต๊ะนั่งทำงานที่สบายกว่านี้ แต่เขากลับเลือกที่จะเดินตามพระประสงค์ของพระเจ้าที่เขาศรัทธาและเดินเข้าสวนเกษตรที่เป็นมรดกตกทอดจากพ่อของเขา 

“ผมจบนิติศาสตร์อิสลามที่ประเทศมาเลเซียครับ เมื่อประมาณ 4-5 ปีที่แล้ว ส่วนตอนนี้ก็ทำสวน เป็นเกษตรกร ใช้เศรษฐกิจพอเพียง มีปลูกข้าวโพด ข่า ขมิ้น สัปปะรด และอีกหลายๆ อย่าง เป็นเกษตรผสมผสาน ทำมาประมาณ 2 ปีแล้วครับ”

ส่อง BMW i7 xDrive60 M Sport รถคันหรูคู่ควรผู้นำระดับโลก เตรียมรับ-ส่ง ผู้นำประเทศที่เข้าร่วมประชุมเอเปค 2022

BMW ส่งมอบรถยนต์ซีดานพรีเมียมไฟฟ้ารุ่นล่าสุดที่เพิ่งเปิดตัวในประเทศไทย บีเอ็มดับเบิลยู i7 xDrive60 M Sport (First Edition) จำนวน 21 คัน ในฐานะโมบิลิตี้ พาร์ตเนอร์สำหรับการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค 2022 อย่างเป็นทางการ เพื่อใช้ต้อนรับและอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคในช่วงระหว่างการประชุมการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค (APEC Economic Leaders' Meeting 2022: AELM 2022) ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 18-19 พฤศจิกายน 2565 นี้ 

เราลองมาดูรถคันนี้กันดีกว่า ว่า BMW รุ่นนี้มีอะไรเด็ด ถึงขั้นถูกใช้เป็นพาหนะหลักในการต้อนรับผู้นำเอเปค 

BMW i7 สะท้อนวิสัยทัศน์การเป็นผู้นำ ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าคู่ 2 ตัว พละกำลังสูงสุด 552 แรงม้า ที่ 5,000 – 12,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 745 นิวตันเมตร ที่ 0-5,000 รอบ/นาที ทำงานร่วมกันขับเคลื่อน 4 ล้อ xDrive แบตเตอรี่ Lithium-ion ขนาด 101.7 kWh มอเตอร์ไฟฟ้าด้านหน้า มีกำลัง 262 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 365 นิวตันเมตร มอเตอร์ด้านหลัง มีกำลัง 317 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 380 นิวตันเมตร ชาร์จไฟจนเต็ม วิ่งไกล 625 กิโลเมตร

ระบบชาร์จพลังงานไฟฟ้า รองรับการชาร์จด้วยหัวชาร์จแบบ Type 2 / CCS Combo กระแสสลับ AC สูงสุด 11 kW / กระแสตรง DC Fast Charging 195 kW หรือ จาก 10-80% ใช้เวลา 34 นาที หรือ ชาร์จ 10 นาที วิ่งได้ไกล 170 กิโลเมตร อัตราเร่ง 0-100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใน 4.7 วินาที ความเร็วสูงสุด 240 กิโลเมตรต่อชั่วโมง


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top