Tuesday, 13 May 2025
Lite

เรื่องรักนักเรียนนายร้อย ตอนที่ 7 ได้อย่าง…เสียอย่าง

>> เล่าเรื่องนักเรียนนายร้อย 
ในช่วงเทอมที่เป็นการฝึกวิชาทหาร มีวิชาที่นักเรียนนายร้อยจะเรียนเพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการรับราชการในอนาคต และเป็นเครื่องหมายที่ติดตัวไปตลอดชีวิต คือการฝึกหลักสูตรกระโดดร่ม ในตอนปลายปีชั้นปีที่ 3 อีกหลักสูตรคือการฝึกเป็นผู้นำหน่วยทหาร หรือจู่โจมซึ่งจะฝึกในปลายปีชั้นปีที่ 4

>> ความเดิมเมื่อตอนที่แล้ว 
กรกฎและจ้ำได้ไปหาเขมมิกาและสาวิตรีที่วิทยาลัย จากนั้นก็ได้ไปทานข้าวด้วยกัน กรกฎรู้สึกมีความสุขมากอย่างบอกไม่ถูก แต่ว่า…สุเทวาดันรู้ข่าวเข้า ก็เลยอยากจะพาเขมิกาไปดูหนังบ้าง แถมยังเดินมาบอกกันซึ่งๆ หน้าอีก แบบนี้…เปิดฉากท้ารบชัดๆ

เมื่อสุเทวาบอกแบบนั้น การแข่งขันเพื่อยึดครองที่ว่างในหัวใจของเขมิกาเริ่มขึ้น และก็เป็นอย่างที่เขาพูดไว้ สุเทวาได้พาเขมิกาไปดูหนังที่เซ็นทรัล ลาดพร้าว แล้วกลับมาเล่าเรื่องไปดูหนังกับเขมิกาให้เพื่อนๆ ที่โรงเรียนฟัง

สัปดาห์ต่อมา
ที่โรงเรียนมีกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ของชมรมที่ทำร่วมกับวิทยาลัยพยาบาลทุกเหล่า กิจกรรมคือ การไปเลี้ยงอาหารเด็กที่บ้านมุทิตาแถวๆ สมุทรปราการ กรกฎได้พบกับเขมิกาอีกครั้ง และไปทำกิจกรรมร่วมกัน (คือไปเลี้ยงอาหารเด็กนะครับ ผู้อ่านอย่าคิดเป็นอย่างอื่น) กรกฎชอบนะที่ได้เห็นแววตาและรอยยิ้มของเขมิกา เวลาที่เธอตักอาหารให้เด็ก

และสุเทวาก็ไม่พลาด พอรู้เรื่องที่กรกฎได้อยู่กับเขมิกา เมื่อเจอกับกรกฎก็รีบเข้ามาบอกทันที

“...อาทิตย์หน้า ผมจะชวนเขมิกาไปเที่ยวเทค เดอะพาเลซ…”

เป็นความเหมือนที่แตกต่าง ระหว่าง กรกฎและสุเทวานั้นก็คือ กรกฎชวนเขมิกาไปทำบุญ แต่สุเทวาชวนไปเที่ยว เขมิกาก็มีมารยาทซะเหลือเกิด เธอไม่ได้ปฏิเสธในน้ำใจของทั้งสองคน และเลือกที่จะไปกับทั้งสองคน แบบว่าไม่เลือกใครให้ชัดเจน

มิวสิค “...ได้อย่างก็ต้องเสียอย่าง เลือกเดินบนทางสักทางได้ไหม เลือกมาว่าจะรักใครก็อยากให้เธอตัดใจเสียที...”

ผู้อ่านพอจะจำรุ่นพี่ปี 2 ที่พาเขมิกามางานกีฬาเหล่าได้ไหม พี่คนนี้ชื่อ ‘จามินทร์’ ตอนนี้อยู่ชั้นปีที่ 4 แล้ว

จามินทร์รู้ว่า กรกฎ กับสุเทวา แย่งสาวคนเดียวกัน และก็เป็นคนเดียวกับที่เขาเคยพามาในงานกีฬาเหล่า 
ก็เลยเข้ามาคุยกบกรกฎ

“พี่เห็น น้องกับสุเทวา ขัดแย้งกันเรื่องเขมิกา พี่ว่าเป็นเพื่อนกันไม่น่าจะขัดแย้งเพราะผู้หญิงคนเดียวนะ พี่รู้จักน้องเขมิกาดีเพราะเคยทำงานชมรมค่ายอาสาด้วยกัน น้องเขาเป็นคนน่ารักอัธยาศัยดี พี่ยังชอบเลย” 

กรกฎฟังที่จามินทร์พูดก็หน้าเจื่อนลง คิดในใจ เจอคู่แข่งอีกแล้ว แต่เหมือนจามินทร์จะรู้ตัว เขาจึงหยุดไปนิดหนึ่งก่อนพูดต่อ 

“ชอบในฐานะพี่น้องนะ อย่าคิดมากน่า” พูดจบจามินทร์ก็ตบที่ไหล่ของกรกฎเบาๆ

อย่างที่เคยเล่าไว้ว่าเวลาผ่านไป 3 ปี รัฐบาลและทหารที่เดินขนานกันมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง สายใยที่เคยผูกพันก็ขาดสะบั้นลงเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 เกิดการปฏิวัติในนาม รสช. ที่เล่าให้ฟังคือแค่เปรียบเทียบช่วงเวลาเท่านั้นครับ

ในช่วงนั้นผมเรียนปี 3 แล้วและกำลังจะขึ้นปี 4 ผมต้องไปเรียนที่ลพบุรีในหลักสูตรกระโดดร่ม การเรียนเป็นระยะเวลาประมาณเดือนกว่าๆ 

ส่วนกรกฎก็ส่งจดหมายไปขอกำลังใจจากเขมิกา โดยได้ส่งรูปหล่อๆ ของเขาในชุดฝึกใส่หมวกเหล็ก ติดร่มที่ด้านหลังไปให้เธอด้วย

ส่วนเขมิกาก็ส่งรูปกลับมาเป็นรูปถ่ายคู่ในงานกิจกรรมวันเลี้ยงเด็กที่บ้านมุทิตา และพร้อมอวยพรให้กำลังใจ…กรกฎมีความสุขและมีกำลังใจมาก 

อ่าา…ผมไม่ได้เล่าถึงจ้ำเลย ผู้อ่านน่าจะคิดถึงกันพอสมควร

จ้ำนั้นมีความสุขกับสาวิตรี แบบสบายๆ ไร้คู่แข่ง ทั้งสองคิดไกลและวางแผนอนาคตร่วมกันว่าหลังจากสาวิตรีจบแล้ว 1 ปีก็พอดีที่จ้ำจบแล้วและจะแต่งงานกัน (นักศึกษาพยาบาลเรียน 4 ปี ส่วนนักเรียนนายร้อยเรียน 5 ปีครับ)

ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี ที่พวกเราผ่านการฝึกหลักสูตรกระโดดร่มและปลอดภัยทุกคน

20 พฤศจิกายน วันกองทัพเรือ วันที่รากฐานการทหารเรือได้หยั่งรากลง กองกำลังหลักปกป้องน่านน้ำไทย

วันที่ 20 พฤศจิกายนของทุกปี ถือเป็น ‘วันกองทัพเรือ’ น้อมรำลึกในหลวง ร.5 เสด็จเปิด ‘โรงเรียนทหารเรือ’ รากฐานหยั่งรากสู่กองกำลังหลักดูแลและปกป้องน่านน้ำไทย

สืบเนื่องจากเหตุการณ์รบทางเรือในวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2436 เหตุการณ์สิ้นสุดด้วยการที่ไทยต้องถูกปรับ และสูญเสียดินแดนบางส่วนไปเป็นบทเรียนอันมีค่าสำหรับประเทศที่จะต้องรีบเร่งปรับปรุงทั้งองค์วัตถุและบุคลากร

ใน พ.ศ. 2436 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงส่งพระโอรสหลายพระองค์ไปศึกษาวิชาด้านการปกครอง การทหารบกและการทหารเรือ ณ ประเทศในทวีปยุโรปเพื่อนำวิชามาปรับปรุงแก้ไขบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองทัดเทียมอารยประเทศ ในโอกาสนี้ได้ทรงส่งสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ไปศึกษาวิชาการทหารเรือ ณ ประเทศอังกฤษเป็นพระองค์แรก และได้ทรงสำเร็จการศึกษาจากประเทศอังกฤษ เสด็จถึงกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2443 แล้วทรงพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศเป็นนายเรือโท นับว่าเป็นพระราชโอรสพระองค์แรกที่เป็นนายทหารเรือที่ทรงสำเร็จการศึกษาจากประเทศอังกฤษ

ต่อมาเมื่อสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ทรงได้รับพระราชทานเลื่อนพระอิสริยยศขึ้นจนถึง นายพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ พระองค์ท่านได้ทรงพระอุตสาหะวิริยะอย่างแรงกล้าที่จะให้คนไทยมีความรู้ความสามารถในกิจการทหารเรือ เพื่อเข้ารับราชการแทนชาวต่างประเทศสมตามพระราชประสงค์ของพระราชบิดาได้โดยสมบูรณ์และด้วยพระเกียรติคุณของพระองค์ท่านที่ได้รับทรงบากบั่นก่อสร้างกองทัพเรือไทยให้แข็งแกร่งขึ้นนี้จึงเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่พระองค์ท่านได้รับการขนานนามจากกองทัพเรือในรัชกาลปัจจุบัน เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2536 ว่า 'พระบิดาของกองทัพเรือไทย'

21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527 ‘เขาทราย แกแล็คซี่’ คว้าเข็มขัดแชมป์โลก WBA ก่อนสร้างตำนานป้องกันแชมป์แบบไร้พ่าย

วันนี้ เมื่อ 38 ปีก่อน ‘เขาทราย แกแล็คซี่’ ชนะน็อก ‘ยูเซปิโอ เอสปินัล’ นักมวยชาวโดมินิกัน กระชากเข็มขัดแชมป์โลก WBA มาครองได้สำเร็จ ก่อนจะสร้างตำนานป้องกันแชมป์ 19 ครั้ง แบบไร้พ่าย

เขาทราย แกแล็คซี่ มีชื่อจริงว่า สุระ แสนคำ เป็นมวยถนัดซ้าย (Southpaw) ได้รับฉายาในไทยว่า ซ้ายทะลวงไส้ เป็นอดีตนักมวยแชมป์โลกชาวไทย เป็นแชมป์โลกคนที่ 9 ของไทย และเป็นแชมป์โลกสมาคมมวยโลก (WBA) คนที่ 4 ของไทย ในรุ่นซูเปอร์ฟลายเวท (115 ปอนด์) ทั้งนี้ ในช่วงที่เขาทรายครองตำแหน่งแชมป์โลกของ สมาคมมวยโลก (WBA) จะเรียกพิกัด 115 ปอนด์ว่า จูเนียร์แบนตัมเวท

เขาทรายครองตำแหน่งแชมป์โลกตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527 จากการชนะน็อก ‘ยูเซปิโอ เอสปินัล’ นักมวยชาวโดมินิกัน ในยกที่ 5 และจวบจนถึงวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2534 เขาทรายป้องกันตำแหน่งได้ถึง 19 ครั้งติดต่อกัน มีสถิติป้องกันตำแหน่งโดยชนะน็อก 16 ครั้ง ชนะคะแนนเพียง 3 ครั้ง และได้ประกาศแขวนนวมในฐานะแชมป์โลกผู้ไม่เคยแพ้ใคร ตลอดระยะเวลาที่ครองตำแหน่ง 2,628 วัน หรือ 7 ปี 2 เดือน 30 วัน

ชักศึกเข้าบ้านภาค 2 ความขัดแย้งของตระกูล รักต่างขั้วอำนาจ ลุกลามการเมืองระหว่างประเทศ

ชักศึกเข้าบ้านภาค 2 “กูต้องตายเพราะอยากมีเมียแหม่ม” ความขัดแย้งของตระกูล รักต่างขั้วอำนาจ ลุกลามการเมืองระหว่างประเทศ” 

จากตอนที่แล้วที่เล่าถึงเหตุการณ์ระทึกระหว่างวังหลวงและวังหน้า ลามไปถึงการดึงเอาชาติมหาอำนาจตะวันตกในช่วงเวลานั้นคืออังกฤษ เข้ามาวุ่นวายในกิจการบ้านเมือง ก่อนที่เหตุจะระงับไปด้วยวิธีทางการทูตและการประนีประนอมกันเพื่อบ้านเมือง อาการเหมือน ณ ปัจจุบันที่กลุ่มคนจำนวนเล็กๆ รับใบสั่งมาสร้างความปั่นป่วน จากเรื่องความขัดแย้งของอำนาจทางการเมือง ที่จะลามไปถึงนานาชาติเพื่อดึงชาติตะวันตกเข้ามายุ่มย่ามภายใน เรื่องนี้ก็คล้ายๆ กัน 

ตัวละครสำคัญจากภาคแรกที่ลามมาภาคนี้ได้แก่ 'สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)' ท่านผู้สำเร็จราชการต้นรัชกาลที่ 5 และ 'โทมัส ยอร์ช น็อกซ์'กงสุลแห่งอังกฤษประจำประเทศสยาม และตัวเอกของภาคนี้ 2 ท่านคือ พระปรีชากลการ (สำอาง อมาตยกุล) ขุนนางหัวก้าวหน้า บุตรของพระยากสาปนกิจโกศล (โหมด อมาตยกุล) เสนาบดีสำคัญสมัยรัชกาลที่ 4 และ 'แฟนนี่ น็อกซ์' บุตรสาวของ มร.น็อกซ์ กงสุลอังกฤษ

เรื่องต้องย้อนกลับไปกล่าวถึงความขัดแย้งกันของตระกูลขุนนาง 2 ตระกูล คือ 'ตระกูลบุนนาค' ซึ่งมากล้นบารมี ส่วนอีกตระกูลที่พอจะเทียบเคียงบารมีได้ก็คงเป็น 'ตระกูลอมาตยกุล' ข้าแผ่นดินตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยร้อยร้าวเล็กๆ เริ่มมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 โดย พระยากสาปนกิจโกศล ขณะยังเป็นขุนนางหนุ่ม ผู้มีความรู้เชิงช่างสูง ไปวิจารณ์ 'สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ' (ทัต บุนนาค) เมื่อครั้งยังเป็น พระยาศรีพิพัฒน์ฯ เรื่องการซ่อมแซมกำแพงอุโบสถวัดพระเชตุพนฯ ว่าซ่อมอย่างไม่ถูกต้อง หลังจากนั้นก็มีเหตุกำแพงถล่มทับคนงาน จนล้นเกล้ารัชกาลที่ 3 ถึงกับทรงบริภาษเหน็บเรื่องนี้จึงทำให้ตระกูลบุนนาคเสียหน้า 

เรื่องถัดมาพระยาเจริญราชไมตรี (ตาด อมาตยกุล) ผู้เป็นน้องชาย ผู้เป็นหนึ่งในสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ชำระคดีฉ้อโกง โดยมีคดีโกงเงินเข้าพระคลังของ 'กรมนา' ซึ่งเสนาบดีกรมนาในขณะนั้นคือ 'พระยาอาหารบริรักษ์ (นุช บุญหลง)' หลานของ 'สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์' ซึ่งความผิดคดีนี้ทำให้ พระยาอาหารบริรักษ์ต้องถูกออกจากราชการ ริบราชบาทว์ ถูกเฆี่ยน จำคุกและได้มีการพาดพิง 'สมเด็จเจ้าพระยาฯ' แต่ไม่ระคายเคืองท่าน แต่คดีนี้ทำให้ 'สมเด็จเจ้าพระยาฯ' จำแน่ๆ เพราะท่านไปจัดหนักในคดีของ 'พระปรีชากลการ' (ข้อขัดแย้งต้นรัชกาลที่ 5 ไว้ผมจะเล่าในบทความถัดๆ ไปนะครับ) 

เกริ่นมาซะยาว ตอนนี้มาดูที่ตัวเอกของภาคนี้ 'พระปรีชากลการ' (สำอาง อมาตยกุล) บุตรชายคนที่ 2 ของพระยากสาปนกิจโกศล จบวิศวกรรมศาสตร์จากสกอตแลนด์ เป็นข้าราชสํานักหนุ่มรุ่นใหม่ที่ในหลวง ร.5 ทรงโปรดปรานมากคนหนึ่ง ด้วยผลงาน เช่น ประดิษฐ์ซุ้มจุดด้วยไฟแก๊สถวายในงานเฉลิมพระชนมพรรษา และเป็นนายงานสร้างตึกแถวบนถนนบำรุงเมือง ฯลฯ จนได้เป็นหนึ่งในคณะสภาที่ปรึกษาในพระองค์ ซึ่งประกอบด้วยพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่จำนวน 49 คน มีหน้าที่ถวายคำปรึกษาส่วนพระองค์ สืบสวนข้อเท็จจริงในราชการต่างๆ เพื่อกราบบังคมทูลและถวายความเห็นให้ทรงทราบ สอดส่องเหตุการณ์สำคัญในบ้านเมือง รวมไปถึงการชำระความฎีกาที่มีผู้นำมาถวาย ถือได้ว่าเป็นกำลังสำคัญของ 'วังหลวง' ที่กำลังปฏิรูปและพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง 

เมื่อถึง พ.ศ. 2416 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ทําเหมืองทองคำที่บ่อทองเมืองกบินทร์บุรี ได้จัดตั้งเครื่องจักรทําทองที่เมืองกบินทร์บุรี และสร้างตึกที่จะจัดตั้งเครื่องจักรที่เมืองปราจีนบุรีอีกแห่งหนึ่ง โดยมีพระปรีชาฯเข้าไปดำเนินการจนสำเร็จ ต่อมาเมื่อถึง พ.ศ. 2419 พระยาอุไทยมนตรี (ขริบ) ผู้ว่าราชการเมืองปราจีนบุรีถึงแก่กรรม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระปรีชาฯ ว่าราชการเมืองปราจีนบุรีแทนต่อไป 

'บิ๊กตู่' ชวนขยายระยะเวลา 'โคเซ็น' ปั้นบุคลากรคุณภาพ เพิ่มศักยภาพคนรองรับเทคโนโลยียุคใหม่ และ EEC

การประชุมเอเปค 2022 ที่จัดขึ้นในประเทศไทยนั้น ถือเป็นความสำเร็จของรัฐบาลที่ทำให้ ไทยนั้นก้าวขึ้นสู่เวทีผู้นำเศรษฐกิจ งานนี้มีผู้นำเขตเศรษฐกิจ ผู้นำประเทศต่างๆ มากมาย ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นมหาอำนาจที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจโลก และหนึ่งในนั้นก็คือ ‘คิชิดะ ฟูมิโอะ’ นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่น ประเทศแห่งเทคโนโลยี ผู้นำแห่งอุตสาหกรรมล้ำยุค นายกฯ ของญี่ปุ่นนั้น ได้เข้าหารือทวิภาคีไทย-ญี่ปุ่น กับ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของไทย ในโอกาสเยือนไทยเพื่อร่วมการประชุมเอเปค APEC 2022 THAILAND โดยไทยนั้นพร้อมเป็นหุ้นส่วนกับญี่ปุ่นในการพัฒนาเทคโนโลยีด้านพลังงาน และส่งเสริมการลงทุนในธุรกิจพลังงานคาร์บอนต่ำ ผ่านข้อเสนอความร่วมมือทางด้านพลังงาน หรือ ‘ไวท์เปเปอร์’ ซึ่งก็สอดรับกับนโยบายเศรษฐกิจ BCG ของประเทศไทย 

และญี่ปุ่นนั้นก็พร้อมที่จะใช้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ของอาเซียน ไทยกับญี่ปุ่นในอนาคตก็จะยกระดับความสัมพันธ์เป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์กันอย่างรอบด้าน โดยจะดำเนินการให้เป็นรูปธรรมอย่างเร่งด่วน 

'ฝนธิป ศรีวรัญญู' สร้างชื่อใน Mrs.Heritage International 2022 ที่มาเลเซีย คว้า 2 รางวัลใหญ่ ตอกย้ำ Soft Power ไทยสุดแกร่ง

(19 พ.ย.65) วัฒนธรรมไทย Soft Power ไทย โดยคนไทยได้คว้ารางวัลใหญ่อีกครั้ง จาก 'ฝนธิป ศรีวรัญญู' คว้ารางวัลทรงคุณค่าในงานประกวด Mrs.Heritage International 2022 ซึ่งเธอได้กล่าวคำขอบคุณต่อทุกแรงเชียร์ว่า...

ฝนขอขอบคุณทุกแรงเชียร์ แรงโหวต แรงสนับสนุนน ในการประกวดที่ประเทศมาเลเซียนะคะ 

22 พฤศจิกายน พ.ศ.2531 ท่อนซุงและโคลนถล่ม ‘กะทูน’ อ.พิปูน โศกนาฏกรรมครั้งใหญ่จากภัยธรรมชาติ

ย้อนไปเมื่อ 34 ปีก่อน เกิดโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่จากภัยธรรมชาติ หลังฝนตกหนักพัดพาดินโคลนและท่อนซุง ถล่มหมู่บ้านในตำบลกะทูน อ.พิปูน จ.นครศรีธรรมราช คร่าชีวิตหลายร้อยคน

เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531 ที่ตำบลกะทูน อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช เกิดเหตการณ์ดินโคลนและท่อนซุงที่ไหลมากับน้ำถล่มบ้านเรือนเสียหายไปกว่า 1,500 หลัง พื้นที่การเกษตรอีก 6,150 ไร่ มีผู้เสียชีวิตถึง 700 คน ผู้คนที่รอดชีวิตต้องย้ายออกจากที่อยู่อาศัยเดิม และไม่สามารถกลับเข้าไปอยู่ได้อีก

ก่อนเกิดเหตุการณ์ครั้งนั้นราว 3-4 วัน ได้เกิดพายุดีเพรสชั่น มีฝนตกปรอยๆ ต่อเนื่องมาหลายวัน ทำให้ดินบนภูเขาซับน้ำไว้จนชุ่มโชก และเมื่อฝนยังเพิ่มปริมาณน้ำอีกไม่หยุด ดินที่รับน้ำหนักไว้มากจนเกินกำลัง ก็ลื่นไถลลงมาตามทางลาด ทำให้ดินที่อยู่ด้านล่างต้องถล่มลงมาด้วย พร้อมต้นไม้ป่าและต้นยางพาราที่ชาวบ้านขึ้นไปปลูกไว้บนเขาถูกถอนรากถอนโคน กลายเป็นอาวุธของกระแสน้ำกวาดบ้านเรือนและชีวิตผู้คนไปกับกระแสน้ำ อีกทั้งยังมีโคลนดินตามมาถล่มทับ

นอกจากนี้ ตำบลกะทูนซึ่งภูมิประเทศเป็นแอ่งรับน้ำมีพื้นที่ 70 ตารางกิโลเมตรนี้ มีลำธารหลายสายรับน้ำจากเชิงเขาโดยรอบมารวมลงในคลองกระทูน แต่มีทางน้ำไหลออกกว้างเพียง 70 เมตรเท่านั้น เมื่อถูกต้นไม้บนเขาและไม้ในสวนที่ชาวบ้านปลูกไหลมาปิดทางน้ำออก ระดับน้ำในแอ่งกะทูนจึงสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ฝังกลบทุกสิ่งทุกอย่างและทุกชีวิตไว้ใต้น้ำ

'อันเฆลา อัลวาเรซ' คุณยายวัย 95 เติมฝันให้ชีวิต คว้า ‘ศิลปินหน้าใหม่ยอดเยี่ยม’ เวทีลาตินแกรมมี อวอร์ดส์

เมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2565 บนเวทีประกาศรางวัลของวงการเพลงจากประเทศแถบลาตินอเมริกาและประเทศที่ใช้ภาษาสเปนและโปรตุเกสเป็นหลักครั้งล่าสุดที่ลาสเวกัส สหรัฐอเมริกา อันเฆลา อัลวาเรซ ได้สร้างประวัติการณ์ของการวงการเพลงด้วยการขึ้นรับรางวัล ‘ศิลปินหน้าใหม่ยอดเยี่ยม’ คนล่าสุด ในวัย 95 ปี คู่กับ ซิลวานา เอสตราดา ศิลปินรุ่นหลานวัย 25 ปี

ทั้ง ‘อัลวาเรซ’ และ ‘เอสตราดา’ ต่างเป็นผู้ชนะบนเวทีทั้งคู่ แต่ ‘อัลวาเรซ’ ได้กลายเป็นผู้สร้างประวัติศาสตร์ของเวทีลาตินแกรมมี อวอร์ดส์ ด้วยการเป็นผู้เข้าชิงและผู้ชนะรางวัลบนเวทีนี้ที่อายุมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา

อัลวาเรซ ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ระหว่างรับรางวัลโดยอุทิศรางวัลนี้ให้พระผู้เป็นเจ้าและประเทศคิวบา บ้านเกิดที่รักยิ่งของเธอ ซึ่งเธอกล่าวว่า จะไม่มีวันลืมไปตลอดชีวิต

ศิลปินหน้าใหม่วัย 95 ปี ยังตบท้ายว่า “สำหรับคนที่ยังทำฝันให้เป็นจริงไม่ได้ แม้ว่าชีวิตนี้ยากนัก แต่มันมีทางออกเสมอ ฉันสัญญาว่าคุณจะสมหวังได้ด้วยความรักและศรัทธา ไม่มีคำว่า ‘สายเกินไป’ ตามด้วยการลุกขึ้นยืนปรบมือให้เกียรติอย่างยาวนานจากผู้ร่วมงาน

‘Jiwaru DAYS’ เพลงพิเศษเพื่อ BNK48 รุ่นแรก ความทรงจำสุดท้าย ก่อนแยกย้ายไปตามฝันตน

ดูเหมือน Jiwaru DAYS เพลงใหม่ของวง BNK48 ที่ถูกร้อยเพลงขึ้นมาเป็นเพลงของรุ่น 1 โดยเฉพาะนี้ กำลังส่งสัญญาณแห่งการจากลาระหว่าง ‘เหล่าโอตะ’ และ ‘พวกเธอ’ BNK48 1ST Generation 

Jiwaru DAYS เป็นบทเพลงที่สะท้อนถึงความรัก ความผูกพัน และมิตรภาพที่ดีของ BNK48 รุ่นแรก และน่าจะเป็นอีกบทเพลงที่ชวนให้คิดถึงเรื่องราวในวันวาน จนเรียกน้ำตาจากเมมเบอร์และแฟนๆ ได้ทั่วทั้งงานที่จะจัดขึ้นแบบในช่วงปลายปีนี้ ก่อนที่ BNK รุ่นแรกจะแยกย้ายไปตามเส้นทางของตัวเอง

คิดๆ แล้วก็ใจหาย!! เพราะนี่ คือ โมเมนต์ที่อาจจะทำให้แฟนคลับได้สัมผัส 2 ห้วงอารมณ์ในช่วงเวลาเดียวกัน ทั้ง ‘ความสุข’ + ‘ความเศร้า’ ใต้วินาทีแห่งการจากลาที่คงไม่มีใครอยากจะให้มันเกิดขึ้น แต่สุดท้ายมันก็ฉุดรั้งเอาไว้ไม่ได้ คงจะเหลือไว้แค่เพียงภาพความทรงจำของวันเก่าๆ ที่ผ่านมาร่วมกัน เมื่อนึกถึงทีไร ก็จะมีแต่ความสุข เหมือนกับความหมายของชื่อเพลง ‘Jiwaru Days’ 

โดยซิงเกิลพิเศษนี้ จะเน้นสื่อสารถึงเรื่องราวการจากลาของกลุ่มเพื่อนที่มีความผูกพันร่วมกัน เสมือนเป็นบทสรุปตลอด 6 ปีที่ผ่านมาของกลุ่มเด็กสาวผู้พกความฝันอันยิ่งใหญ่ในหัวใจ กอดคอกันก่อร่างสร้าง BNK48 ให้เป็นที่รู้จักอย่างทุกวันนี้ จนถึงปัจจุบันที่พวกเธอจะต้องแยกย้ายกันไปเติบโตในเส้นทางใหม่และรับบททดสอบอีกขั้นในหนทางข้างหน้า ซึ่งสไตล์ของเพลงจะมาในแนว J-pop จังหวะสนุกสนาน แบบฉบับ 48 Group เน้นเมโลดี้เพราะๆ น่ารักๆ...ถึงได้บอกไงว่า เป็นการจากลาที่จะเต็มไปด้วยความสุขผสมความเศร้าแบบไม่ต้องปฏิเสธ!! 

สำหรับวง BNK48 ซึ่งมีเพลงที่โด่งดังอย่างมากจาก Koisuru Fortune Cookies (คุ้กกี้เสี่ยงทาย) ภายใต้บริษัท independent Artist Management (iAM) เป็นวงไอดอลของประเทศไทย ที่มีแนวคิดเหมือนวงพี่ AKB 48 จากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมี Concept ชวนฝันแก่แฟนๆ คือ ‘ไอดอลที่คุณสามารถไปพบได้ (Idols you can meet)’ 

คอนเซปต์นี้สำคัญมากนะคะ เพราะเป็นการเปลี่ยนความคิดแบบเก่าที่ปกติแฟนคลับจะสามารถพบเจอเกิร์ลกรุ๊ปทั่วไปได้เฉพาะตามงานคอนเสิร์ต หรือรายการโทรทัศน์เท่านั้น แต่วง BNK48 นั้นจะพยายามลดระยะห่างระหว่างสมาชิกและแฟนคลับ โดยการเพิ่มการปฏิสัมพันธ์ด้วยหลากหลายวิธี ได้แก่ การสร้างโรงละครประจำวงที่มีการแสดงทุกสัปดาห์ การจัดตั้งงานจับมือ การถ่ายทอดสดในไลฟ์สตูดิโอ (ตู้ปลา) ฯลฯ 

ส่วนที่มาของชื่อ BNK48 (เผื่อใครยังไม่ค่อยคุ้น) มาจาก BANGKOK หรือ กรุงเทพมหานคร และเลข ‘48’ มาจากนามสกุลของ โคตาโระ ชิบะ ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท เอเคเอส โดยคำว่า ‘ชิ’ และ ‘บะ’ เป็นคำพ้องเสียงของภาษาญี่ปุ่น สามารถแปลความหมายได้เป็นเลข ‘4’ และ ‘8’ ตามลำดับ

BNK 48 เป็นหนึ่งในวงน้องสาวที่มีอยู่ 12 วง โดยมีสถานะเป็นวงน้องสาวต่างประเทศลำดับที่ 2 ของ AKB 48 ซึ่งวงเหล่านี้มีรูปแบบการจัดการและลักษณะคล้ายๆ กันหลายประการ เช่น การก่อตั้งโรงละครประจำวง, การจัดกิจกรรมร่วมกันอย่างงานเลือกตั้งเซ็มบัตสึ และหากวงน้องสาวมีต้นกำเนิดนอกประเทศญี่ปุ่น ก็จะมีการออกซิงเกิลเพลงที่เป็นการแปลจากเพลงต้นฉบับของวงพี่สาวให้อยู่ในฉบับภาษาท้องถิ่น เป็นต้น รวมไปถึงระบบแลกเปลี่ยนสมาชิกที่เปิดโอกาสให้สมาชิกวงสามารถย้ายไปเป็นสมาชิกวงอื่นในเครือเดียวกันได้ นอกจากนี้ วง BNK 48 ยังมีวงน้องสาวเป็นของตัวเองในประเทศไทยคือ CGM 48 ซึ่งก่อตั้งเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2562 โดยมีที่ตั้งและทำกิจกรรมอยู่ที่ จังหวัดเชียงใหม่เป็นหลัก

ทั้งนี้ BNK48 ได้เริ่มเปิดรับสมัครสมาชิกครั้งแรกเมื่อกลางปี พ.ศ. 2559 และเปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2560 พร้อมกับซิงเกิลแรกในชื่อ อยากจะได้พบเธอ ด้วยสมาชิก 30 คน ทั้งนี้ สมาชิกของวงนั้นมีจำนวนไม่แน่นอน เนื่องจากมีการเปิดรับสมาชิกรุ่นใหม่และมีการจบการศึกษาอยู่ตลอดเวลา 

จากนั้นในช่วงแรกได้มีการประชาสัมพันธ์วงผ่านรายการโทรทัศน์ BNK48 Senpai และผลงานเพลงตามงาน Roadshow ต่างๆ จนมีชื่อเสียงขึ้นในปี พ.ศ. 2560 ในผลงานเพลง ‘คุกกี้เสี่ยงทาย’ รวมถึงกิจกรรมที่เกิดขึ้นในไทยครั้งแรกอย่าง งานจับมือ, งานถ่ายรูปคู่ หรือ 2-shot, งานเลือกตั้งเซ็มบัตสึ และการแสดงในโรงละคร ทำให้วงเป็นที่กล่าวถึง และมีผลงานต่างๆ ตามมาทั้งตัวบุคคลและทีม ตั้งแต่งานเพลง การแสดงซีรีส์ และภาพยนตร์ ตลอดช่วง 6 ปีที่ผ่านมา จนเกิดปรากฏการณ์ ‘เหล่าโอตะ’ (แฟนคลับ) ที่ตามติดพวกเธอมากขึ้นๆ และกลายเป็นวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อไอดอลวงอื่นๆ ที่มีแฟนคลับน่ารักๆ จนศิลปิน ไอดอล มีพลังในการผลิตผลงานออกมาอย่างต่อเนื่อง จนถือเป็นการเปิดหน้าประวัติศาสตร์ครั้งใหญ่ให้แก่วงการไอดอลไทยกันเลยทีเดียว 

สำหรับเมมเบอร์รุ่นที่ 1 วง BNK48 มีทั้งหมด 22 คน ได้แก่ เฌอปราง-เฌอปราง อารีย์กุล, โมบายล์-พิมรภัส ผดุงวัฒนะโชค, เนย-กานต์ธีรา วัชรทัศนกุล, น้ำหนึ่ง-มิลิน ดอกเทียน, ปัญ-ปัญสิกรณ์ ติยะกร, เจนนิษฐ์-เจนนิษฐ์ โอ่ประเสริฐ, มิวสิค-แพรวา สุธรรมพงษ์, ตาหวาน-อิสราภา ธวัชภักดี, อร-พัศชนันท์ เจียจิรโชติ, ปูเป้-จิรดาภา อินทจักร, จ๋า-ณปภัช วรพฤทธานนท์, ไข่มุก-วรัทยา ดีสมเลิศ, แก้ว-ณัฐรุจา ชุติวรรณโสภณ, น้ำใส-พิชญาภา นาถา, ก่อน-วฑูศิริ ภูวปัญญาสิริ, จิ๊บ-สุชญา แสนโคต, มายด์-ปณิศา ศรีละเลิง, เคท-กรภัทร์ นิลประภา, มิโอริ-มิโอริ โอคุโบะ, ซัทจัง-สวิชญา ขจรรุ่งศิลป์, เจน-กุลจิราณัฐ วรรักษา และเปี่ยม-รินรดา อินทร์ไธสง 

‘ดร.ดิลก’ พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ กรมหมื่นสรรควิไสยนรบดี เจ้าชายนักเศรษฐศาสตร์คนแรกแห่งสยามที่คนไทยควรรู้จัก

หลังจากจบการประชุมเขตเศรษฐกิจ APEC 2022 เรื่องทางเศรษฐศาสตร์ก็ประดังประเดเข้าในหัวผม แต่มีเรื่องหนึ่งที่เด่นชัดและผมอยากนำมาเขียนเล่า ให้ท่านผู้ติดตามได้รู้จักกับ เจ้าชาย ‘นักเศรษฐศาสตร์’ ผู้รอบรู้ทางด้าน ‘ภูมิศาสตร์เศรษฐกิจ’ ของเมืองไทย และเป็นท่านแรกๆ ที่เขียนหนังสือเกี่ยวกับเศรษฐกิจของสยาม แต่ติดที่ว่าท่านทรงอาภัพด้วยทรงมีพระชนมายุค่อนข้างสั้น และเหตุแห่งการสิ้นพระชนม์นั้นไม่น่าจะที่จะมีใครอยากเอ่ยถึงนัก

พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 44 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาทิพเกสร เมื่อวันเสาร์ เดือน 6 ขึ้น 9 ค่ำ ปีวอก ฉศก จ.ศ. 1246 ตรงกับวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2427 โดยเจ้าจอมมารดาเจ้าทิพเกสร นับเป็นเจ้านายฝ่ายเหนือท่านแรกที่เข้ามาเป็นบาทบริจาริกาในพระพุทธเจ้าหลวง ท่านเป็นหลานทวดของพระเจ้ากาวิละ พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 1 เหตุที่ทรงมีสายพระโลหิตสัมพันธ์กับเจ้านายฝ่ายเหนือเช่นนี้จึงได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระราชบิดาว่า ‘ดิลกนพรัฐ’ อันมีความหมายว่า ‘ศรีเมืองเชียงใหม่’ 

พ.ศ. 2440 พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐได้ทรงเข้าเรียนที่โรงเรียนวอร์เรนฮิลล์ เพื่อศึกษาในระดับประถมศึกษาตอนปลาย ก่อนที่จะย้ายไปเรียนที่โรงเรียนมัธยมชาร์เตอร์เฮ้าส์ ทั้งๆ ที่โรงเรียนมัธยมกินนอนที่อีตัน ได้ตกลงรับเข้าศึกษาแล้ว โดยเหตุผลที่พระยาวิสุทธสุริยศักดิ์ ผู้ดูแลการศึกษาของพระราชโอรสในอังกฤษขณะนั้น มีความเห็นว่าพระเจ้าลูกยาเธอยังขาด ‘ความพร้อม’ ที่จะไปเรียนที่อีตัน 

ต่อมาในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2443 พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ ได้เสด็จกลับกรุงเทพฯ เพราะเจ้าจอมมารดาเจ้าทิพเกสรป่วยหนักและถึงแก่อนิจกรรม คราวนั้นพระเจ้าลูกยาเธอฯ ได้ประทับอยู่เมืองไทยนานถึง 8 เดือน จนกระทั่งเสร็จสิ้นงานศพของพระมารดา จึงได้เสด็จกลับไปศึกษาต่อที่อังกฤษในเดือนมิถุนายน 2444 การว่างเว้นการเรียนไปนานหลายเดือน ทําให้พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐทรงเรียนตามพระสหายในชั้นเรียนไม่ทัน จึงต้องทรงย้ายไปเข้าเรียนที่โรงเรียนมัธยมของเอกชนที่ ‘แครมเม่อร์’ 

ในปีเดียวกันนี้ ปรากฏว่าพระองค์เจ้าดิลกนพรัฐทรงมีความขัดแย้งกับพระยาประสิทธิศัลยการและนายเวอร์นี ซึ่งได้รับหน้าที่ผู้ดูแลการศึกษาของบรรดาพระราชโอรสในอังกฤษ ณ ขณะนั้น พระองค์เจ้าดิลกฯ ได้ทรงมีลายหัตถ์ ถึงพระยาสุริยานุวัตร (เกิด บุนนาค) ปรารภถึงปัญหาการศึกษาเล่าเรียนว่าไม่ต้องพระประสงค์ที่จะอยู่โรงเรียนของเอกชน พระยาสุริยานุวัตร อัครราชทูต ณ กรุงปารีส ได้มีหนังสือกราบบังคมทูลความว่า ผู้ดูแลฯ มักจะตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ไปโดยไม่รับฟังเหตุผลจากพระเจ้าลูกยาเธอฯ 

ในหลวง ร.5 ทรงมีพระราชดําริว่า พระยาสุริยานุวัตร ดูเหมือนจะเชื่อพระเจ้าลูกยาเธอฯ มากเกินไป และทรงกล่าวถึงพระราชโอรสว่าเมื่อกลับเมืองไทยก็มิได้แสดงความเฉลียวฉลาด และก็ไม่ค่อยจะแข็งแรงด้วย หากเป็นผู้มีความเพียร ดังนั้นเมื่อเรียนที่อังกฤษมีปัญหาก็ควรจะให้ย้ายไปเรียนที่เยอรมัน แม้จะต้องเริ่มต้นกันใหม่ก็คงจะไม่ ‘ถอยหลังเข้าคลองเท่าไรนัก’ 

การย้ายไปเรียนเยอรมันนี่แหละถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของเจ้าชายนักเศรษฐศาสตร์ พระองค์ย้ายไปศึกษาที่เยอรมนีในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2444 โดยทรงเข้าศึกษาในโรงเรียนมัธยมที่เมืองฮาลเล ภายใต้การควบคุมดูแลของ ดร. ตริน ศาสตราจารย์ชาวเยอรมัน โดยพระองค์ทรงสําเร็จชั้นมัธยมศึกษาภายในเวลาเพียง 2 ปีเท่านั้น

พ.ศ. 2446 เมื่อมีพระชันษา 15 ปีบริบูรณ์ และได้ประทับอยู่ในยุโรปมาแล้วกว่า 6 ปี พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ ได้ทรงเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยมิวนิคในหลักสูตรวิชา ‘เศรษฐกิจการเมือง’ ซึ่งก็คือ ‘เศรษฐศาสตร์’ ในปัจจุบันนั่นเอง 

ภายหลังที่ได้ทรงศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยมิวนิคเป็นเวลา 2 ปี ก็ได้ทรงย้ายไปศึกษาในแขนงวิชาเดียวกัน ณ มหาวิทยาลัยทึบบิงเงิน ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่มีชื่อเสียงของเยอรมนีตอนใต้อีกแห่งหนึ่ง พระองค์ได้ทรงสำเร็จการศึกษาในหลักสูตรปริญญาเอกทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่งเรียกเป็นภาษาเยอรมันว่า ‘ดอกเตอร์วิทสตาตส์วิสเซนชัฟท์’ (เยอรมัน: Doktor der Wirtschafts-wissenschaften) ใน พ.ศ. 2450 ขณะทรงมีชันษาได้ 23 ปี 

โดยวิทยานิพนธ์ของพระองค์มีชื่อว่า Die Landwirtschaft in Siam โดย Dilock Prinz Von Siam แปลว่า ‘การเศรษฐกิจในประเทศสยาม โดย พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ’  ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2449/2450 ซึ่งในสมัยนั้นการศึกษา ‘ภูมิศาสตร์เศรษฐกิจ’ เป็นที่สนใจ โดยเฉพาะประเทศในภูมิเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ยังมีการศึกษาอยู่ค่อนข้างน้อย ก่อนหน้านี้หนังสือเล่มนี้หายากมากๆ แต่ปัจจุบันได้รับการแปลและสามารถหาอ่านได้ มีทั้งสิ้น 5 บท โดยสรุปเนื้อหาได้ดังนี้... 

บทแรก เป็นเรื่องกว้างๆ ทางด้านภูมิศาสตร์ของสยาม อันรวบรวมเอารัฐไทรบุรี, กะลันตัน และตรังกานู  เข้าไว้ด้วย ซึ่งในขณะนั้น ยังเป็นส่วนหนึ่งของพระราชอาณาจักรสยามอยู่

บทที่สอง ทรงกล่าวถึงระบบกฎหมาย พระเจ้าแผ่นดินและบรมวงศานุวงศ์ เจ้าเมืองออก ขุนนาง ข้าราชการ ราษฎร ไพร่และทาส ในแต่ละส่วนนั้นก็ยังซอยย่อยลงไปอีกตามลำดับชั้น ทรงให้รายละเอียดเกี่ยวกับแรงงานเกณฑ์ไว้เป็นจำนวนมาก ตลอดถึงทั้งข้อสังเกตบางประการในเรื่องไพร่สม ซึ่งเป็นที่น่าสนใจต่อนักประวัติศาสตร์มากๆ 

ในบทต่อมา ทรงอธิบายการเศรษฐกิจของชาวสยาม ทรงกำหนดอธิบายประเทศสยามว่า เป็นรัฐเกษตรกรรมแท้ๆ โดยมีปัจจัย 3 ประการคือ...
- สยามขาดแคลนแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ เช่น เหล็ก
- อยู่ในเขตอากาศร้อนไม่เหมาะกับการอุตสาหกรรม 
- เกษตรกรรมขยายต่อเนื่อง ได้ผลตอบแทนที่ง่ายและดีกว่า

ทรงตั้งข้อสังเกตว่า อุปสรรคอันใหญ่หลวงต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของสยามก็คือการขาดแคลนเงินทุน ทั้งทรงกล่าวถึงการปฏิรูประบบการจัดเก็บภาษีแหละให้ทบทวนฐานรายได้ของรัฐเสียใหม่ด้วย รวมไปถึงการถือครองที่ดินและการเสียภาษีที่ดิน (โคตรทันสมัย !!!!) เพื่อนำเงินภาษีเหล่านั้นมาเป็นแหล่งเงินทุนในการพัฒนาเศรษฐกิจ 

ทั้งยังได้เขียนถึงปัญหาผู้ใช้แรงงานสยาม ซึ่งถูกแย่งงานจากคนจีน ที่มีค่าแรงถูกและต้นทุนอื่นๆ ต่ำ โดยเหตุผลที่พระองค์ได้ทรงบันทึกไว้ ช่างเป็นภาพที่ชัดในหัวผมมากๆ ดังนี้…

“ชาวสยามยอมอดยากหิวโหยเสียดีกว่าที่จะยอมมีชีวิตแบบพวกกุลีจีน พวกเขายะโสกับความเป็นอิสระ เขาจะยอมเชื่อฟังก็แต่ในสิ่งที่เข้ากับเขาได้เท่านั้น นี้...ผู้ใช้แรงงานชาวสยามรักสนุกเฮฮา ผ้านุ่งห่มดีๆ แลของสวยของงาม...พวกเขาพร้อมเสมอที่จะชวนญาติมิตรมาร่วมวงกินอาหารมื้อใหญ่ มีมโหรีแลฟ้อนรำบำเรอ พวกเขายินดีที่จะจ่ายประดาสิ่งที่เขามีอยู่ทั้งหมดออกไป จะมีก็แต่ต่อเมื่อเขาจำเป็นจะต้องใช้เงินอีกคราวเท่านั้น เขาจึงจะหวนกลับไปทำงานกันอีก...อ่านแล้วคุ้นๆ กับปัจจุบันนี้พอสมควรเลย ใช่ไหม ???? (ทุกวันนี้เป็นแรงงานพม่า กัมพูชา ฯลฯ) 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top