Tuesday, 13 May 2025
Lite

23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ย้อนรอยข่าวร้ายเหตุการณ์วิปโยคเขมร เหยียบกันตายงานลอยกระทงเกือบ 400 คน

23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 โลกต้องตื่นขึ้นมาพร้อมข่าวร้าย ที่สะเทือนใจคนไปทั่วโลก เมื่อคนเขมรเหยียบกันตายหลายร้อยศพ ในคืนสุดท้ายของงานลอยกระทง!

เช้าของวันนี้เมื่อ 12 ปีก่อน ทุกคนล้วนอยู่ในอาการเศร้าสลด เมื่อได้รับทราบข่าวว่ามีการเหยียบกันตายในกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ในคืนก่อนหน้านั้น ซึ่งมีรายงานในเบื้องต้นว่ามีประชาชนอย่างน้อย 347 คน!!! ถูกเหยียบจนเสียชีวิตในงานฉลองเทศกาลลอยกระทงคืนสุดท้าย!!

สำหรับที่เกิดเหตุ คือ บนสะพานที่เชื่อมระหว่างเกาะเพชร ที่ทอดตัวยาวตามแนวทะเลสาบเขมร หรือ โตนเลสาบ กับแผ่นดินใหญ่ โดยเป็นสะพานแคบ ๆ ความยาวประมาณ 80 เมตร เท่านั้น!!!

เหตุสลดเริ่มขึ้นตั้งแต่เวลาประมาณ  21.30 น. ของช่วงค่ำวันที่  22 พ.ย. 2553 และต่อเนื่องมาจนข้ามมาถึงวันที่ 23 พ.ย. 2553  ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของงานเทศกาลลอยกระทง วันประเพณีประจำปีของประเทศกัมพูชา ในช่วงวันเพ็ญเดือน  12 

สำหรับสาเหตุนั้น มีคำบอกเล่าของผู้อยู่ในเหตุการณ์มากมาย เช่นว่าในขณะที่มีผู้คนอัดแน่น อยู่บนเกาะและสะพานดังกล่าวก็มีผู้ร้องตะโกนว่า มีคนถูกไฟฟ้าช็อตหลายคน

และยังมีกลุ่มที่ตะโกนด้วยความคึกคะนองว่า สะพานใกล้จะพัง จนทำให้ผู้คนพากันตื่นตกใจ ก่อนจะพากันวิ่งหนีจนเกิดเหตุการณ์สลดขึ้น ขณะที่บางส่วนก็หนีตายด้วยการกระโดดลงไปยังทะเลสาบด้านล่าง

24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ครบรอบ 12 ปี ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จฯ เปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์

ครบรอบ 12 ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เสด็จฯเปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ รวมถึง สะพานภูมิพล 1 และสะพานภูมิพล 2

วันนี้เมื่อ 12 ปีก่อน ถือเป็นวันสำคัญของเมืองไทย เมื่อพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคไปทรงเปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ รวมถึง สะพานภูมิพล 1 และสะพานภูมิพล 2 ทั้งหมดเป็นโครงการในพระราชดำริที่ทรงตั้งใจแก้ปัญหาให้กับประชาชน

เวลา 16.30 น. ของวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จากอาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช ไปยังท่าเทียบเรือสมาคมศิษย์เก่าแพทย์ศิริราช โรงพยาบาลศิริราช จากนั้นประทับบนเรือพระที่นั่งอังสนา ซึ่งกองทัพเรือจัดถวาย ไปยังบริเวณปากคลองประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ ตำบลทรงคนอง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ โดยเรือพระที่นั่งแล่นผ่านท่าช้าง ปากคลองตลาด วัดอรุณราชวราราม พระราชวังเดิม สะพานพุทธ สะพานตากสิน สะพานกรุงเทพ และสะพานพระราม 9 ซึ่งมีประชาชนริม 2 ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จเป็นจำนวนมาก

25 พฤศจิกายน ‘วันวชิราวุธ’ น้อมรำลึกถึงวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

วันที่ 25 พฤศจิกายนของทุกปี กำหนดให้เป็น ‘วันวชิราวุธ’ เนื่องจากตรงกับวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 6 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 29 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และองค์ที่ 2 ในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง (สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี) พระราชสมภพเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 มีพระเชษฐภคินีและพระอนุชาร่วมพระมารดารวม 8 พระองค์ ซึ่งมีพระอนุชาองค์เล็กคือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7    

เมื่อพระชนมพรรษาเจริญครบเดือน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระนามว่า "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ" ในปี พ.ศ.2431 เมื่อมีพระชนมพรรษา 8 พรรษา ทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นเจ้าฟ้า "กรมขุนเทพทวาราวดี" ให้ทรงมีพระเกียรติยศเป็นชั้นที่ 2 รองจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร และได้มีพระราชพิธีโสกันต์ในเดือนธันวาคม พุทธศักราช 2435           

ขณะทรงพระเยาว์ พระองค์ได้ทรงศึกษาความรู้จาก พระศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) พระยาอิศรพันธ์โสภณ (หนู อิศรางกูร ณ อยุธยา) และหม่อมเจ้าประภากร ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาบำราบปรปักษ์ ทั้งในพระบรมมหาราชวัง และโรงเรียนสวนกุหลาบ จนเมื่อมีพระชนมพรรษา 12 พรรษา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เสด็จไปทรงศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ นับเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่ทรงได้รับการศึกษาจากต่างประเทศ

วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2451 ก่อตั้ง โรงเรียนเกษตราธิการ ต้นกำเนิดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 

วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2451 โรงเรียนเกษตราธิการ ได้ถือกำเนิดขึ้น ณ วังประทุมวัน โดยที่กระทรวงเกษตราธิการได้ทำการรวบรวมโรงเรียนที่อยู่ในสังกัดของกระทรวง 3 โรงเรียน คือ โรงเรียนแผนที่ (จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2425) โรงเรียนกรมคลอง (จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2448) และโรงเรียนวิชาการเพาะปลูก เป็นโรงเรียนเดียวกันเพื่อผลิตคนเข้ารับราชการในกรมกองต่างๆ ของกระทรวงเกษตราธิการ ถือได้ว่าเป็นหลักสูตรระดับอุดมศึกษาวิชาเกษตรศาสตร์ หลักสูตรแรกของประเทศไทย โดยได้เริ่มดำเนินการสอนหลักสูตรใหม่นี้ในปี พ.ศ. 2452

ต่อมาโรงเรียนกระทรวงเกษตราธิการจากเดิมที่สังกัดกระทรวงเกษตราธิการจึงย้ายมาสังกัดกระทรวงธรรมการ ในปี พ.ศ. 2456 โดยใช้ วังวินด์เซอร์ เป็นสถานที่ทำการเรียนการสอนของโรงเรียนกระทรวงเกษตราธิการที่ยุบเข้ารวมกับโรงเรียนข้าราชการพลเรือน (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปัจจุบัน)

คุ้มครองผู้ใฝ่ดี ‘พระสยามเทวาธิราช’ บุคลาธิษฐาน เทพยดาผู้คุ้มครองสยามประเทศ

ประเทศไทยนั้นมีความหมิ่นเหม่ในการเสียบ้าน เสียเมืองตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ อาจจะเบาบางการรุกรานจากด้านพม่าแต่กับประเทศมหาอำนาจทางตะวันตกที่ใช้การค้าขายมาเป็นปัจจัย บ้านเมืองใดไม่รู้ทันเหตุการณ์ภายนอกประเทศว่าทางตะวันตกมีอำนาจจากเรือปืน ใครไม่รู้จักโอนอ่อนผ่อนปรนก็ล้วนแล้วแต่ตกเป็นเมืองขึ้น ทั้งฝั่งซ้ายและขวาของเมืองสยามล้วนไม่มีรอดพ้น (อันนี้ไม่ขอพาดพิงเรื่องของผู้รู้ที่ออกมาแสดงทัศนคติเรื่องเราไม่เก่งภาษาอังกฤษเพราะเราไม่ได้เป็นเมืองขึ้น น่าตีปากจริงๆ) 

เรามีดีอันใด?  มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์สิ่งไหน? หรือเราจะมีเทพยดาคุ้มครองประเทศให้ปลอดภัย 

วันนี้ขอเล่าเรื่องเทวดาผู้คุ้มครองประเทศไทยบ้างนะ…

ใช่ครับ!! ผมกำลังจะเล่าถึง ‘พระสยามเทวาธิราช’ แต่เรื่องนี้แล้วแต่วิจารณญาณของแต่ละบุคคลนะครับ ผมไม่ก้าวล่วง 

โดยในช่วงสิงหาคมของปีก่อนมี ‘เพจราษฎรสเปช’ (หรือ ‘เปรต’ ดี) เล่าประวัติศาสตร์ได้ น่าปวดหัวมาก โยง ‘พระสยามเทวธิราช’ เป็น ‘ผี’ เพียงเพราะไปเห็นภาพ พระสยามเทวาธิราช ที่มีรูปร่างคล้ายรัชกาลที่ 4 (อันนั้นเขาเรียกพระป้าย) เลยทึกทักไปเองว่า ‘เป็นลัทธินับถือผีสาง’ โดยส่วนตัว (ซึ่งแล้วแต่วิจารณญาณนะครับ) มันก็ถูกเรื่อง ‘ผี’ แต่มัน ‘ไม่ใช่ลัทธิ’ หากแต่มันคือ ‘ความเชื่อ’ ที่แตกต่างไปจากศาสนาหลัก มันเป็นเฉพาะของภูมิภาค (ที่ไอ้บางพวกยังทะลึ่งไปกราบฝาส้วม กินขี้ เชื่อแต่เรื่องไม่จริงได้เลย แอบแรงเล็กน้อย) ซึ่งนับเป็นเรื่องตลกของคนที่ไม่ได้เรียนประวัติศาสตร์ อะไรเลย 

เรื่องนี้เอง ผมเคยนำมาเล่ามาแล้วครั้งหนึ่งใน Meet THE STATES TIMES โดยไปโยงกับความเรื่องการไหว้ผีบ้าน นับถือผีเมือง (ผีเสื้อเมือง ทรงเมือง หลักเมือง ก็ล้วนแล้วอยู่ในหลักนี้) แต่กระนั้นการไหว้ดังนี้มันก็ไม่ใช่จะเพิ่งเกิดมา แต่มันเป็นความเชื่อที่มีอยู่อย่างยาวนานคู่ดินแดนอุษาคเนย์ ซึ่งคติความเชื่อเรื่องเทวดาผู้คุ้มครองบ้านเมืองนั้นเป็นความเชื่อที่สืบต่อกันมาอย่างยาวนาน และสร้างความร่มเย็นให้เกิดแก่บ้านเมืองนั้นๆ มานับร้อย นับพันปี 

อย่างภาคอีสานนั้นจะมีความเชื่อเรื่อง ‘มเหสักข์’ ซึ่งถือว่าเป็น ‘ผีผู้ทรงศักดิ์’ หรือ ‘เทวดาผู้คุ้มครองบ้านเมือง’ ให้อยู่อย่างร่มเย็น เป็นสุข โดยจังหวัดอย่าง ขอนแก่น, มหาสารคาม, ร้อยเอ็ด ฯลฯ ก็มีศาลมเหสักข์ ภาคเหนือเขาก็มี ‘ผีเสื้อเมือง’ ในหลายพื้นที่ ในกรุงเทพฯ ก็มี ‘พระเสื้อเมือง’ ในศาลหลักเมืองกรุงเทพ ฯ  โดย ‘มเหสักข์’ ก็คือเทพยดาผู้ให้ความร่มเย็นแก่จังหวัดนั้นๆ ส่วน ‘พระสยามเทวาธิราช’ นั้นก็มีคติที่เหมือนกัน เพียงแต่ท่านเป็นเทวดาที่ยกชั้นสูงขึ้นมาจากเทวดาผู้คุ้มครองเมือง เป็นเทวดาที่รวมเมืองต่างๆ ไว้ด้วยกัน ปกครองเมืองต่างๆ ไว้ด้วยบารมี โดยอาจจะเรียกได้ว่า เป็น ‘มเหสักข์หรือบุคลาธิษฐานแห่งสยามประเทศ’ เป็น ‘เทวดาผู้คุ้มครองประเทศ’ 

‘พระสยามเทวาธิราช’ เป็นเทวรูป หล่อด้วยทองคำสูง 8 นิ้ว กว้าง 2 นิ้ว ประทับยืนทรงเครื่องกษัตริยาธิราช ทรงฉลองพระองค์อย่างเครื่องของเทพารักษ์ มีมงกุฎเป็นเครื่องศิราภรณ์ พระหัตถ์ขวาทรงพระแสงขรรค์ พระหัตถ์ ซ้ายยกขึ้นจีบดรรชนีเสมอพระอุระ

หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล ทรงเล่าว่า “พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดการศึกษาประวัติศาสตร์ มีพระราชดำริว่า ประเทศไทยมีเหตุการณ์ที่เกือบจะต้องเสียอิสรภาพมาหลายครั้ง แต่เผอิญให้มีเหตุรอดพ้นภยันตรายมาได้เสมอ คงจะมีเทพยดาที่ศักดิ์สิทธิ์คอยอภิบาลรักษาอยู่ สมควรที่จะทำรูปเทพยดาองค์นั้นขึ้นสักการบูชา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ ปั้นหล่อเทวรูปขึ้น ถวายพระนามว่า ‘พระสยามเทวาธิราช”ประดิษฐาน ณ พระที่นั่งทรงธรรมในหมู่พระที่นั่งพุทธมณเฑียร ในพระอภิเนาว์นิเวศน์’ 

ต่อมาในสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงโปรดเกล้าฯ ให้รื้อหมู่พระที่นั่งพุทธมหามณเฑียรรวมทั้งพระที่นั่งทรงธรรม โปรดให้อัญเชิญ องค์พระสยามเทวาธิราชไปประดิษฐานอยู่ในเรือนแก้วทำด้วยไม้จันทน์ ลักษณะแบบวิมานเก๋งจีน มีคำจารึกเป็นภาษาจีนที่ผนังเบื้องหลัง แปลว่า ‘ที่สถิตแห่งพระสยามเทวาธิราช’ (暹國顯靈神位敬奉) อยู่ในมุขกลางของพระวิมานไม้แกะสลักปิดทอง ตั้งอยู่เหนือลับแลบังพระทวารเทวราชมเหศวร์ ตอนกลางพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระบรมมหาราชวัง จวบจนทุกวันนี้

มีความเชื่อกันว่า ‘พระสยามเทวาธิราช’ ทรงเป็นประมุขของเทพารักษ์ที่ปกปักษ์รักษาบ้านเมือง มีเทพบริวารสำคัญ ได้แก่ พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง และพระหลักเมือง เป็นต้น ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระจอมกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงเคารพบูชาพระสยามเทวาธิราชเป็นอย่างสูง ทรงถวายเครื่องสักการะเป็นประจำทุกวัน และทรงถวายเครื่องสังเวยทุกวันอังคารและวันเสาร์ก่อนเวลาเพล กับโปรดเกล้าฯ ให้จัดพิธีสังเวยเทวดาในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 อันตรงกับวันขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติแบบโบราณด้วย ทั้งเป็นที่ร่ำลือกันว่าพระสยามเทวาธิราชนั้นศักดิ์สิทธิ์เป็นอย่างมาก

พระราชพิธีบวงสรวงใหญ่ ‘พระสยามเทวาธิราช’ ตามประเพณีกำหนดไว้ในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ของทุกปี อันเป็นวันขึ้นปีใหม่ตามจันทรคติแบบโบราณ ส่วนเครื่องสังเวยที่ใช้บูชาพระสยามเทวาธิราชตามประเพณีโบราณที่ปฏิบัติสืบต่อกันมานั้นประกอบด้วย หัวหมู เป็ด ไก่ เมี่ยงส้ม ทองหยิบ ฝอยทอง ส้มเขียวหวาน องุ่น มะตูมเชื่อม มะพร้าวอ่อน กล้วย หอมจันทร์ ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว ผลทับทิม และเทียนเงิน เทียนทอง ความสอดคล้องทางความเชื่อและพิธีกรรมของการบูชาพระสยามเทวาธิราช กับการ ‘ไหว้-พลี’ ให้กับ ‘พระขพุงผี’ ทำให้ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อธิบายว่า การบูชา ‘พระสยามเทวาธิราช’ เข้าลักษณะเป็น ‘พิธีผี’ ประการหนึ่ง…

“...การเซ่นสังเวยพระสยามเทวาธิราช การสังเวยเทพารักษ์ต่างๆ พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง พระหลักเมือง เหล่านี้จะเรียกว่าเกี่ยวกับศาสนาใดก็ไม่ได้ เพราะเทวดาเหล่านี้ก็ไม่มีในศาสนาพราหมณ์ ในศาสนาพุทธก็ไม่มี เห็นจะเป็นความเชื่อของคนไทยโดยเฉพาะที่นับถือผีมาตั้งแต่โบราณ...”

ความเชื่อเรื่องผีบ้านผีเมืองเมืองนี้ นับเป็นสิ่งที่แพร่หลายไปทั่วในกลุ่มวัฒนธรรมไทยและใกล้เคียง ซึ่งเป็นการบูชาผีบรรพบุรุษ แต่มิใช่บรรพบุรุษของชาวบ้านทั่วไป หากเป็นผีเจ้าเมืองที่เป็นผู้สร้างเมืองและเคยปกครองเมืองมาก่อน และเจ้าเมืองรุ่นหลังก็อัญเชิญให้ผีเจ้าเมืองผู้ผูกพันกับชุมชนให้ช่วยปกปักคุ้มครองรักษาบ้านเมือง ฉะนั้นเรื่องนี้จบไป แต่มันก็มีเรื่องอื่นที่วุ่นวายกับ พระสยามฯ ท่านไปอีก 

การไปวุ่นวายกับ ‘พระสยามเทวาธิราช’ ท่านนั้นก็มีในช่วงหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 มีการเปลี่ยนชื่อประเทศสยามเป็นประเทศไทย (จอมพล ป. ผู้พิบูลสงคราม นั่นเอง)  และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (ก็ ‘ปรีดี พนมยงค์’ นั่นแหละ) ได้หารือกับทางสำนักพระราชวังเรื่องการเปลี่ยนนาม ‘พระสยามเทวาธิราช’ เป็น ‘พระไทยเทวาธิราช’ ในครั้งนั้น โดยไปขอความเห็นจากทางกรมศิลปากร ซึ่งกรมศิลปากรมีความเห็นว่า…

“ให้คงชื่อเดิมไว้ แต่ยกเลิกการสังเวยประจำปีหรืองานพิธีอื่นๆ เกี่ยวกับพระสยามเทวาธิราช แต่ถ้าไม่สามารถยกเลิกพิธีการที่เกี่ยวข้อง กรมศิลปากรก็มีข้อเสนอให้ 2 แนวทางคือ ให้เปลี่ยนชื่อเป็น ‘พระไทยเทวาธิราช’ หรือสร้าง พระไทยเทวาธิราชขึ้นมาอีกองค์ ในที่สุดคณะรัฐมนตรีลงความเห็นว่า ให้คงไว้ตามเดิมเพราะ ‘พระสยามเทวาธิราช’ ก็ไม่ได้มีการทำพิธีเป็นทางการแต่อย่างใด” (ผมขอกราบกรมศิลปากรและคณะรัฐมนตรี  1 คำรบ !!!) 

แต่กระนั้นพิธีการบวงสรวง ‘พระสยามเทวาธิราช’ ก็ไม่ได้มีอย่างสม่ำเสมอดังเช่น ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง นี่กระมังทำให้ประเทศชาติเต็มไปด้วยความวุ่นวาย คณะราษฎรแก่งแย่งอำนาจกัน มีการใช้ประเทศเป็นเครื่องงัดข้อกันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และเหตุการณ์ใหญ่อีกหลายต่อหลายครั้งกระทบไปถึงความมั่นคงของชาติและราชบัลลังก์ 

ปรินเซสรอยัล พระเจ้าลูกเธอในล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 ผู้ทรงสิริโฉมงดงามราวกับเทวดา

‘ปรินเซสรอยัล’ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร 
พระเจ้าลูกเธอในรัชกาลที่ 5 ผู้ทรงสิริโฉมงดงามราวกับเทวดา ผู้เป็นดัง ‘ศรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์’

หลังจากเล่าเรื่องหนักๆ มาหลายตอนแล้ว ในตอนนี้ผมจะขอย้ายฝั่งมาเล่าเรื่องของพระเจ้าลูกเธอในล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระราชธิดาพระองค์นี้ของพระองค์ได้รับการยกย่องเรื่องของความงาม พระกริยาอันเรียบร้อย ทรงเป็นราชเลขานุการิณีในพระองค์พระพุทธเจ้าหลวงและได้มีโอกาสตามเสด็จประพาสต้นหลายครั้ง ผมกำลังจะเล่าเรื่องของ ‘สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร’ นั่นเอง 

สมเด็จฯ เจ้าฟ้า กรมหลวงศรีรัตนโกสินทรเป็นพระราชธิดาพระองค์ที่ 19 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี เมื่อเวลา 09.21 น. ของวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2420 ถือเป็นทูลกระหม่อมหญิงพระองค์แรกในเศวตฉัตร (เมื่อทรงครองราชย์แล้ว) ชาววังจึงเรียกว่า ‘ทูลกระหม่อมหญิง’ โดยไม่ต้องเอ่ยพระนามเนื่องจากทรงอาวุโสสูงสุดพระองค์แรก

เล่ากันว่าก่อนที่พระองค์จะประสูตินั้น มีเจ้านายสตรีคือพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภาพรรณี พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ยังเป็นทาริกาอยู่ เล่าขานนิยมชมชื่นกันในหมู่ชาววังและเจ้านายว่ามีพระรูปโฉมสวยงามนัก ครั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชธิดาพระองค์นี้ ความที่ทูลกระหม่อมหญิงมีพระรูปโฉมงดงาม ถึงกับพระบิดารับสั่งกับพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ว่า “ฉันไม่แพ้เธอแล้ว กรมพิชิตฯ” หมายความว่าทรงมี ‘ลูกสาว’ สวยไม่แพ้พระธิดากรมหลวงพิชิตฯ แต่ที่สำคัญคือพระองค์มีพระพักตร์และพระรูปโฉมคล้ายคลึงกับสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี พระบรมราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (อันนี้ผมจะเล่ายืนยันตอนท้าย) 

แต่ความ ‘งามเหมือนเทวดา' ที่แม้จะยังความปีติโสมนัสให้สมเด็จพระบรมชนกนาถและพระชนนีเป็นอย่างยิ่งนั้น ในอีกด้านหนึ่ง ก็ทำให้ทรงวิตกกังวลอย่างยิ่งเช่นกัน เพราะความงามบริสุทธิ์ พระฉวีผุดผ่องไม่มีไฝฝ้าราคี ในสมัยโบราณมีความเชื่อกันว่า ผู้ที่เกิดมางดงามมากยากจะเลี้ยงให้รอดชีวิต จนเวลาผ่านมาจนพระชนมายุขวบเศษ ก็มีเหตุการณ์ที่ทำทั้ง 2 พระองค์คลายพระปริวิตก กล่าวคือ ในขณะที่สมเด็จพระบรมชนกนาถกำลังอุ้มส่งให้พระชนนีนั้น ได้ทรงดิ้นไปมาจนพระขนง (คิ้ว) ถูกชามแก้วบนโต๊ะเสวยถึงกับเป็นแผลพระโลหิตตก กันแสงลั่นพระตำหนัก พระบรมวงศ์ฝ่ายในจึงปลอบว่า “ความวิตกกังวลว่าจะมีพระชนมายุสั้นนั้น เป็นอันผ่านไปแล้วเพราะทรงมีบาดแผลแล้ว” (อันนี้เป็นความเชื่อโบราณนะครับ)  

เมื่อพระชนม์ได้ 11 พรรษา ได้รับพระราชพิธีโสกันต์เต็มยศ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท มีสวด 3 วัน สมโภช 3 คืน เสร็จพระราชพิธีแล้วตอนฟังสวดทรงเครื่องขาวพระเกี้ยวยอด สมเด็จพระบรมชนกนาถทรงรับและส่งพระกรทุกคราว ระหว่างสมโภชทรงแต่งพระองค์สีต่างกันทั้ง 3 วัน เมื่อทรงเครื่องสวมชฏา รัชกาลที่ 5 ถึงกับออกพระโอษฐ์ว่า “ลูกพ่องามเหมือนเทวดา” 

ตามโบราณราชประเพณี พระขัตติยราชนารีต้อง ‘งด’ เสด็จฯ ออกข้างนอกเมื่อทรงโสกันต์แล้ว ต้องเก็บตัวอยู่ฝ่ายในและต้องทรงสะพัก (ห่มผ้า) แต่ทูลกระหม่อมหญิงทรงกันแสง เพราะปรารถนาจะรับใช้สมเด็จพระบรมชนกนาถทางฝ่ายหน้าอีก ถึงกับไปกราบบังคมทูลพระกรุณา ‘รับสั่งให้เป็นเด็กต่อ’ พระองค์โปรดไปตามนั้น แต่ยอมเพียง ‘เมื่ออายุครบ 18 เมื่อใดพ่อจะไม่ยอมลูกหญิงอีก’ ทูลกระหม่อมหญิงจึงได้รับใช้เบื้องพระยุคลบาทอย่างใกล้ชิดมาจนครบเวลา

หลังจากนั้นเป็นต้นมา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร ทรงศึกษาและปฏิบัติตนเป็นเจ้านายฝ่ายในตามอย่างโบราณราชประเพณีอย่างเคร่งครัด นอกจากนั้นยังทรงศึกษาภาษาอังกฤษจาก ‘ครูมีทินและครูทิม’ จนแตกฉาน พระองค์มีพระปรีชาสามารถด้านการถักนิตติง (Knitting) และแท็ตติง (Tatting) ระดับรางวัลงานประกวดเลยทีเดียว พระองค์เป็นผู้ประดิษฐ์พวงมาลัยที่ผูกห้อยจากริบบิ้นเป็นพระองค์แรก พระองค์โปรดการถ่ายภาพ สามารถล้างและอัดภาพได้ด้วยพระองค์เอง โดยภาพถ่ายของพระองค์ก็ได้รับรางวัลจากการประกวดเช่นเดียวกัน (เอาสิ !!!! ) งานพระนิพนธ์ พระองค์มีพระนิพนธ์จำนวนหนึ่ง หนึ่งในนั้นคือ "ฉันท์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงวิสุทธิกระษัตริย์" ในรูปแบบอินทรวิเชียรฉันท์ 11 คือเรียกได้ว่า ทรงมีความสามารถครบจบในพระองค์

กลับมาที่ความงามและพระจริยาวัตรของพระองค์ที่ชาววังเล่าต่อๆ กันมานั้น ผมจะยกมาให้ได้อ่านกันสักหลายๆ ตัวอย่างดังนี้…

หม่อมเจ้าจงจิตรถนอม ดิศกุล บันทึกไว้เมื่อครั้งเกษากันต์ว่า “ข้าพเจ้าพอใจจะอยู่กับ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงศรีรัตนโกสินทร เมื่ออยู่ในวังเคยทรงเล่าประทานว่า ข้าพเจ้าไปเดินตามทูลกระหม่อมหญิงติดอกต้องใจที่จะอยู่กับท่าน ไปงานในวังครั้งใดก็มุ่งที่จะไปเฝ้าทูลกระหม่อมนี้อยู่เสมอ”

หม่อมเจ้ามารยาตรกัญญา ดิศกุล บันทึกไว้ว่า “ในชั่วชีวิต 5 ขวบของข้าพเจ้า ยังไม่เคยเห็นใครที่งามและน่ารักเหมือนพระองค์ท่านเลย”

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ บันทึกไว้ใน ‘เกิดวังปารุสก์’ ว่า “ข้าพเจ้าจำได้ว่าท่านงามมาก แต่ค่อนข้างจะน่ากลัว ครั้งหนึ่งข้าพเจ้าไปเรียกท่านผิดว่าทูลหม่อมป้าหญิง เลยถูกท่านเอ็ดเอาว่า อะไรทูลหม่อมป้าชายมีที่ไหน”

หม่อมราชวงศ์สุดใจ บรรยงกะเสนา ผู้ที่ได้มาพึ่งพระบารมีทูลกระหม่อมหญิงมาตั้งแต่อายุ 11 ปี จนถึงสิ้นพระชนม์ ได้เขียนเล่าถึงทูลกระหม่อมหญิงว่า “พระรูปพระโฉมงดงามยิ่ง พระมรรยาท พระอิริยาบถ ก็ได้ยินแต่คนสรรเสริญ และยอพระเกียรติ ว่าด้วยพระกุศลที่ได้ทรงทำไว้แต่หนหลังบันดาลให้งามพร้อมทั้งพระรูปโฉม พระนิสัย และน้ำพระทัย เป็นยอดขัตติยนารี”

สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ยังทรงชมว่า “พี่หญิงช่างงามจริง แม้ท่าบ้วนน้ำหมากก็ไม่เหมือนใคร”

งามขนาดที่ “สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร” ซึ่งพระชันษาเยาว์กว่าเพียงไม่กี่เดือนทรงมีพระหฤทัยผูกพัน เหตุที่มีพระทัยสนิทเสน่หา สืบเนื่องมาจากความใกล้ชิดเมื่อครั้งทรงรับใช้เบื้องพระยุคลบาทพระราชชนกด้วยกัน เมื่อเกิดวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 โดยทรงแสดงความในพระทัยออกมาเป็นสักวา ที่หน้าพระที่นั่งคราวหนึ่ง เชื่อว่าเป็น พ.ศ. 2437 ซึ่งเจ้านายและชาววังแอบจำต่อกันมา ความว่า…

ได้ยลพักตร์ลักขณาสุดาพี่        จะหาไหนไม่มีเสมอสอง
เสงี่ยมงามทรามสงวนนวลละออง        ไฉนน้องไร้คู่อยู่เอกา
ถ้าอยู่ได้ก็จะอยู่เป็นคู่ชื่น            สำราญรื่นร่วมจิตขนิษฐา
จะบนบวงสรวงเทพเทวา            ขอให้สมปรารถนาครานี้เอย

26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 ในหลวง ร. 9 - พระราชินี เสด็จฯ ม.รามคำแหง ทรงเปิด พระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

วันนี้ เมื่อ 47 ปีก่อน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้เสด็จพระราชดำเนินเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 ถือเป็นวันประวัติศาสตร์ที่สำคัญของมหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดพระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

พร้อมทั้ง พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตมหาวิทยาลัยรามคำแหงรุ่นแรก ณ บริเวณหน้าสำนักหอสมุดกลางฯ มหาวิทยาลัยรามคำแหงจึงถือ เอาวันที่ 26 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันสถาปนามหาวิทยาลัยอย่างเป็นทางการ 

หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานปริญญาบัตรแล้ว ได้พระราชทานพระบรมราโชวาทแก่บัณฑิต
ความตอนหนึ่งว่า... 

27 พฤศจิกายน ของทุกปี ถือเป็น ‘วันสาธารณสุขแห่งชาติ’ สืบเนื่อง ร.6 ทรงก่อตั้ง ‘กรมสาธารณสุข’

วันที่ 27 พฤศจิกายน 2461 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงจัดตั้งกรมสาธารณสุขขึ้นแทนกรมประชาภิบาล

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงจัดตั้งกรมสาธารณสุขขึ้นในกระทรวงมหาดไทย แทนกรมประชาภิบาล โดยให้รวมกองบัญชาการ กองสุขศึกษา กองสาธารณสุข กองยาเสพติดให้โทษ กองโอสถศาลารัฐบาล กองบุราภิบาล เข้าด้วยกัน แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น กรมสาธารณสุข เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2461 โดยมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาชัยนาทนเรนทรเป็นอธิบดีกรมสาธารณสุข องค์แรก นับเป็นวาระแรกที่มีการใช้คำว่า 'สาธารณสุข' จึงถือว่า วันที่ 27 พฤศจิกายน ของทุกปี เป็น 'วันสถาปนาการสาธารณสุข'

EQS 500 4MATIC AMG Premium เบนซ์ไฟฟ้า ประกอบในไทย เปิดราคาไว้ 7,900,000 บาท

เมอร์เซเดส-เบนซ์ EQS 500 4MATIC AMG Premium ยนตรกรรมพลังงานไฟฟ้า 100% รุ่นแรกที่ประกอบในโรงงานเมอร์เซเดส-เบนซ์ ประเทศไทย ที่ผสานทั้งเทคโนโลยี ดีไซน์ ฟังก์ชันการใช้งาน และการเชื่อมต่อเข้าด้วยกันอย่างกลมกลืนซึ่งเมอร์เซเดส-เบนซ์ได้เปิดไลน์การผลิตภายในประเทศไทยอย่างเป็นทางการไปแล้ว

โดยรถยนต์คันนี้รังสรรค์ขึ้นด้วยแพลตฟอร์มของยานยนต์ไฟฟ้าใหม่ในทุกรายละเอียด ทั้งการออกแบบโครงสร้างทางวิศวกรรม เรื่อยไปจนถึงดีไซน์ภายนอกและภายในที่สะท้อนเอกลักษณ์ของความเป็นยานยนต์สำหรับโลกอนาคตจากเมอร์เซเดส-เบนซ์ มาพร้อมขุมพลังไฟฟ้า 100% จากมอเตอร์ไฟฟ้าคู่พร้อมความจุของแบตเตอรี่ขนาด 108.4 kWh ให้กำลังสูงสุด 449 แรงม้า พร้อมแรงบิดสูงสุด 828 นิวตันเมตร ให้อัตราเร่งที่ยอดเยี่ยมจาก 0-100 กิโลเมตร/ชั่วโมงในเวลา 4.8 วินาที พร้อมทำความเร็วสูงสุดได้ 210 กิโลเมตร/ชั่วโมง 

'Isan Gastronomy: แซ่บนัวครัว' รวมตัว 9 เชฟระดับประเทศ รังสรรค์เมนูเด็ด @Food by Fire จองด่วน!! จำนวนจำกัด

ปรากฏการณ์ของการรวมตัว 9 เชฟยอดฝีมือระดับประเทศ ที่พร้อมจะรังสรรค์เมนูอีสานให้แซ่บนัวพร้อมฉีกทุกกฎเพื่อรสชาติใหม่ที่คุณไม่เคยได้ลิ้มลอง ในงาน 'Isan Gastronomy: แซ่บนัวครัว' เปิดรอบพิเศษรวม 9 เชฟยอดฝีมือระดับประเทศและนานาชาติ ที่ท่านจะได้รับประทานอาหารครบสูตรฉบับอีสาน เปิดประสบการณ์ที่แตกต่างกันไปแบบสุดขั้ว หากยังคงลังเลใจกับการเลือกคอร์สด้านบน สามารถเลือกวันนี้ได้อย่างครบรส ซึ่งเมนูจะแตกต่างไปจากเดิม อาทิ ปีกไก่ออนซอน, ทาโก้ บักมี่, ข้าวปุ้นแกงอีสาน และเมนูอื่นๆ สุด Top secret จากเชฟ โดยมีรายละเอียดดังนี้...

- เชฟคำนาง-ณัฎฐภรณ์ คมจิต / ร้านเฮือนคำนาง
- เชฟไพศาล ชีวินศิริวัฒน์ และ เชฟจิ๊บ-กัญญารัตน์ ถนอมแสง / ร้านแก่น
- เชฟหนุ่ม - วีระวัฒน์ ตริยเสนวรรธ์ / ร้าน Samuay and Son
- เชฟแหวว น.อ.หญิง วิบูลรัตน์ เอี่ยมปรเมศ /ร้าน Mother Chef
- เชฟจ๋า-น้ำทิพย์ ภูศรี / ร้าน ภาข้าว (Phakao)
ป้าเชฟ-ศิโรรัตน์ เถาว์โท / ร้านหมก
- Mr. Kan Bright San และ Saiful Huda /Executive Chef : Ad Lib Hotel Khon Kaen

และเชฟอีก 3 ท่าน จะได้เพิ่มเติมความพิเศษในเมนูอีสานสุดแซ่บ

เชฟคำนาง-ณัฎฐภรณ์ คมจิต ร้านเฮือนคำนาง มาเยือนเฮือนคำนาง ต้อนรับด้วย ‘พาข้าว’ สำรับอาหารธรรมดาที่คนอีสานมักกินกัน แต่จะเต็มไปด้วยประสบการณ์ใหม่ที่ใครหลายคนอาจจะยังไม่เคยลิ้มลองมาก่อน มาพร้อมกับวัตถุดิบพิเศษตามฤดูกาลจากทั่วทั้งอีสาน ปรุงให้เข้ากับภูมิปัญญาทั้งศาสตร์และศิลป์ของแผ่นดิน จนได้รสชาติอาหารอีสานดั้งเดิม รังสรรค์และเสนอผ่านการบอกฮักด้วยพาข้าว ที่จะมอบความอิ่มเอมให้แขกผู้มาเยือนแผ่นดินอีสานในครั้งนี้ ถูกนำเสนอโดย เชฟคำนาง-ณัฎฐภรณ์ คมจิต แห่งเฮือนคำนาง จากจังหวัดขอนแก่น

เชฟ Kan Bright San จะมาร่วมรังสรรค์อาหารสุดนัว ด้วยนิสัยที่ชอบลงมือคิดและครีเอท วางแผนเมนู ใหม่ๆ ด้วยตัวเองอยู่เสมอ จึงเกิดเป็นเทคนิคพิเศษให้ทุกการทำอาหาร และยังสามารถสร้างสรรค์อาหารได้หลากหลายวัฒนธรรม ทั้งอิตาเลียนฝรั่งเศส และเอเชีย รวมถึงการเสิร์ฟจานเด็ดในครั้งนี้ด้วยเมนูไฮไลต์ที่พร้อมเสิร์ฟด้วยคอนเซปต์ 'Thai amuse'

เชฟ Saiful Huda ถือเป็นเชฟผู้คร่ำหวอดในวงการ Pastry Chef มีประสบการณ์มานานกว่า 20 ปี ทั้งด้านการรังสรรค์ช็อกโกแลต เค้ก งานน้ำตาล และขนมปังและที่สำคัญมีความเชี่ยวชาญในด้านการบริหารทีมงานจัดเลี้ยงจัดงาน ร้านอาหารระดับมิชลิน และงานแต่งงาน อีกทั้งมีความสามารถเฉพาะทางด้านสถาปัตยกรรม Pastry Modern Art

ลิ้มรสการนำเสนอเฉพาะตัวเชฟแต่ละท่าน ที่ 'แซ่บ-นัว-คัก' ถึงแก่นวัตถุดิบ ณ ห้องอาหาร Food by Fire บนชั้น 27 โรงแรม Ad Lib Khon Kaen เลือกลิ้มรสและดื่มด่ำประสบการณ์สุดนัวได้ทั้ง Lunch และ Dinner ของวันที่ 9-11 ธันวาคม 2565 เพียงรอบละ 40 ท่าน

*เปิดให้จองผ่าน Eventpop วันที่ 22 พฤศจิกายน 2565

*พิเศษ! Exclusive Isan Grand Brunch วันที่ 12 ธันวาคม 2565 รวมตัว 10 เชฟ และที่สุดของ Chef’s Isan Signature เปิดเพียงรอบเดียวรับจำนวน 150 ท่านเท่านั้น


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top