Tuesday, 13 May 2025
Lite

เรื่องรักนักเรียนนายร้อย ตอนที่ 3 อย่างเราทำได้ก็เพียงแต่มอง

>> ความเดิมตอนที่แล้ว 

นักเรียนนายร้อยก. ได้ชื่อและที่อยู่ของนักเรียนพยาบาลแล้ว แต่ทว่า...นักเรียนนายร้อยส. ก็ได้ชื่อและที่อยู่ไปเหมือนกัน ซ้ำร้ายยังมาขอจากเขมิกา นักเรียนพยาบาลสาวสวยที่นักเรียนนายร้อยก. หมายตาไว้อีกด้วย แบบนี้...เรียกว่าคู่แข่งหัวใจชัดๆ!!

>> ขอเล่าเรื่องก่อนเข้าเนื้อหา << 

นักเรียนนายร้อยไม่ได้แค่เรียนและทำกิจกรรมในเขาชะโงก ที่นครนายกเท่านั้น แต่ยังมีกิจกรรมภายนอกอีกด้วย เช่นกีฬาเหล่า คือแข่งกีฬาระหว่างนักเรียนทหาร-ตำรวจด้วยกัน ส่วนใหญ่จะจัดที่สนามศุภัชลาศัย การสวนสนามราชวัลลภที่ลานพระราชวังดุสิต หรือลานพระบรมรูปทรงม้าในวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ในช่วงต้นเดือนธันวาคมของทุกปี การร่วมพิธีถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในวันเฉลิมพระขนมพรรษาของในหลวง รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 ที่สนามหลวง เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมด้านบำเพ็ญสาธารณประโยชน์และการกุศลที่ทำร่วมกับนักเรียน นักศึกษาภายนอก หรือแม้แต่นักเรียนนักศึกษาพยาบาลของเหล่าทัพ เช่น กิจกรรมพัฒนาสังคม ก็คล้ายๆ กับกิจกรรมพัฒนาชนบท หรือออกค่ายของมหาวิทยาลัยทั่วไปครับ

>> พูดคุย << 

อ่านมาถึงตอนที่ 3 แล้ว...ผมมานั่งคิดๆ ดู ผมคิดว่าผู้อ่านคงจะอึดอัดกับชื่อย่อนักเรียนนายร้อย อย่าง ก. ข. ค. เพราะมันเหมือนลุงหนวดในมาลัยไทยรัฐ คอลัมน์หาคู่ในหนังสือพิมพ์สมัยก่อนยังไงยังงั้นเลย

ผมเลยขอใช้โอกาสนี้ตั้งชื่อใหม่เลยละกัน ผู้อ่านจะได้รู้สึกเหมือนจริงหน่อย ทั้งที่ผมเองก็ไม่อยากให้ผู้อ่านอินกับเรื่องนี้มาก เพราะทั้งหมดคือนิยายครับ

สำหรับชื่อพระเอกของเรื่องผมขอตั้งชื่อว่า 'นักเรียนนายร้อยกรกฎ' ส่วนผู้ร้ายใช้ชื่อว่า 'นักเรียนนายร้อยสุเทวา' และตัวตลกประจำเรื่องชื่อ 'นักเรียนนายร้อยยุทธ' ฉายาจ้ำ อย่างนี้นะครับ เป็นอันเข้าใจตรงกัน แต่ถ้าผู้อ่านไม่ชอบผมจะเปลี่ยนชื่อตัวละครทุกตอนไปเลยนะ ดีไหมครับ??

26 ตุลาคม พ.ศ. 2560 พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

26 ตุลาคม วันครบรอบ 5 ปี พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวง รัชกาลที่ 9

พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นพระราชพิธีที่รัฐบาลไทยจัดขึ้นเพื่อแสดงความอาลัยเป็นครั้งสุดท้าย ภายหลังการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จัดขึ้น ณ พระเมรุมาศ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ระหว่างวันที่ 25 – 29 ตุลาคม พ.ศ. 2560 

โดยวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2560 เป็นวันถวายพระเพลิง คณะรัฐมนตรีจึงกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษ และเนื่องในวาระครบรอบ 1 ปี กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ได้มอบหมายให้กรมศิลปากร(ศก.) ดำเนินการจัดกิจกรรมรำลึก “พระสถิตในดวงใจตราบนิรันดร์” ในโอกาสครบ 5 ปี พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เพื่อเป็นการน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยอย่างหาที่สุดมิได้ ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 25 ต.ค. – 2 พ.ย. 2561 

27 ตุลาคม พ.ศ. 2477 ไทยประกาศเลิกใช้ เงินพดด้วงทุกชนิด เหตุเศรษฐกิจขยายตัวผลิตเงินพดด้วงไม่ทัน

27 ตุลาคม พ.ศ. 2447 ประกาศเลิกใช้ เงินพดด้วง ทุกชนิด เนื่องจากความต้องการเงินตราไทยมีมากเพราะการค้าระหว่างประเทศขยายตัว การผลิตเงินพดด้วงไม่ทันใช้ 

ในหลวง รัชกาลที่ 5 จึงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ออกประกาศลงวันที่ 27 ตุลาคม 2447 มีความสำคัญว่า ได้โปรดให้สั่งว่า เงินพดด้วงซึ่งได้จำหน่ายออกจากพระคลังฯ ใช้กันแพร่หลายอยู่ในพระราชอาณาจักรเวลานี้ มีลักษณะปลอมแปลงได้ง่าย สมควรให้เลิกใช้เงินพดด้วงเสีย โดยตั้งแต่วันที่ 28 ตุลาคม 2447 เป็นต้นไป ให้เลิกใช้เงินพดด้วงทุกชนิด ยกเป็นเงินตราที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

สำหรับ เงินพดด้วง ทางราชอาณาจักรสุโขทัย ล้านนา กรุงศรีอยุธยา ได้ผลิตคิดค้นเงินตราขึ้นใช้ในระบบเศรษฐกิจ พร้อมกันนั้นก็ยอมรับเงินตราของต่างชาติด้วย เงินตราที่ใช้ในอาณาจักรล้านนา ได้แก่ เงินไซซี เงินกำไล เงินเจียง เงินท้อก เงินดอกไม้ ส่วนราชอาณาจักรสุโขทัยและอยุธยาได้ผลิตเงินพดด้วง ซึ่งมีลักษณะเฉพาะของตนเองขึ้นใช้ และใช้เบี้ยหอยแทนเงินปลีกย่อย บางครั้งเบี้ยหอยขาดแคลนก็ได้ผลิตเบี้ยโลหะและประกับดินเผาขึ้นใช้ร่วมด้วย

ภายหลังราชอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาสลายลง กรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ถือกำเนิดขึ้นตามลำดับ ก็ยังคงใช้เงินพดด้วงเช่นครั้งกรุงศรีอยุธยา จนกระทั่งถึงรัชกาลที่ 4 การเปิดประเทศสยามสู่อารยประเทศ มีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบเงินตราให้เป็นสากล นำไปสู่การผลิตเงินตราในลักษณะเหรียญกลมแบนออกใช้เป็นครั้งแรก ต่อมารัชกาลที่ 5 จึงทรงประกาศยกเลิกการใช้เงินพดด้วง นับตั้งแต่นั้นเงินตราไทยจึงคงเป็นลักษณะเป็นเหรียญกลมแบนต่อเนื่องมาจนถึง ปัจจุบัน

ยอดสตรีมเพลงลิซ่าบน Spotify แตะ 1,000 ล้านครั้ง ไวที่สุดในประวัติศาสตร์ K-Pop โดยใช้เวลาแค่ 411 วัน

ทำเอาชาวบลิ้งค์ปลื้มปริ่ม กรี๊ดแตกกันยกด้อมเลย หลังมีการรายงานว่า ช่องทางสตรีมเพลงใน Spotify ของลิซ่า ลลิษา มโนบาล หรือ ลิซ่า BLACKPINK มียอดการเข้าถึง 1,000 ล้านสตรีมไวที่สุดในประวัติศาสตร์ K-Pop แบบไม่แบ่งชายหญิง ไม่แบ่งกลุ่มและเดี่ยว ไม่แบ่ง Gen ไม่ต้องจัดอันดับแค่ในค่าย แต่คือไวที่สุดใน K-pop ใช้เวลาเพียงเเค่ 411 วันเท่านั้นด้วยเพลงเพียง 3 เพลง ในฐานะศิลปินเดี่ยว

โดย 3 เพลงของลิซ่าที่อยู่ใน Spotify ได้แก่ เพลง MONEY, LALISA และเพลง SG ที่ร่วมกับ DJ Snake 

ซึ่งหลังจากที่มีรายงานนี้ออกมา ชาวบลิ้งค์ทั่วโลกต่างพากันติดเเฮชเท็ก #LISA1BillionOnSpotify เพื่อแสดงความยินดี และชื่นชมความสามารถของลิซ่าในครั้งนี้ด้วย


ที่มา : https://cloutnews.com/lisa-of-blackpink-becomes-the-fastest-k-pop-artist-to-reach-1-billion-streams-on-spotify/

28 ตุลาคม พ.ศ.2539 สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 และเจ้าชายฟิลิป เสด็จเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ

วันนี้ เมื่อ 26 ปีที่แล้ว สมเด็จพระบรมราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร และเจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ พระราชสวามี เสด็จเยือนไทยอย่างเป็นทางการ ในฐานพระราชอาคันตุกะ ในหลวง รัชกาลที่ 9

วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ.2539 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง ให้การถวายเลี้ยงพระกระยาหารค่ำแด่สมเด็จพระบรมราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร และเจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ พระราชสวามี เสด็จเยือนไทยอย่างเป็นทางการ ในฐานะพระราชอาคันตุกะ ในระหว่างวันที่ 28 ตุลาคม - 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2539 เนื่องในโอกาสปีกาญจนาภิเษก ฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ของในหลวง รัชกาลที่ 9 ซึ่งถือเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชสมบัติเป็นระยะเวลายาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย

29 ตุลาคม ของทุกปี วันภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยแห่งชาติ ร่วมตระหนักในคุณค่าภูมิปัญญาประจำชาติ

วันที่ 29 ตุลาคม ของทุกปีเป็นวัน 'ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยแห่งชาติ' เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ที่ทรงจารึกตำราแพทย์แผนไทยให้เป็นภูมิปัญญาของชาติ

เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อม แก่ปวงชนชาวไทยนานัปการ พระราชกรณียกิจที่สําคัญในการรวบรวมองค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยมาเผยแพร่ในวงกว้าง ทําให้ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยเป็นรากฐานของชาติไทย และตามหลักฐานจารึกแผ่นศิลาว่าด้วยการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร ครั้งรัชกาลที่ 3 จ.ศ. 1193 ตรงกับวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2374

30 ตุลาคม พ.ศ. 2370 วันสถาปนา ‘ท้าวสุรนารี’ เชิดชูหญิงกล้าเมืองนครราชสีมา

วันนี้เมื่อ 195 ปีก่อน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ‘คุณหญิงโม’ เป็นท้าวสุรนารี วีรกรรมหญิงไทยที่ประวัติศาสตร์ต้องจารึก!!

ท้าวสุรนารี มีนามเดิมว่า 'โม' หรือท้าวมะโหโรง เป็นชาวเมืองนครราชสีมาโดยกำเนิด เกิดเมื่อปีระกา พ.ศ. 2314 มีนิวาสสถานอยู่ ณ บ้านตรงกันข้ามกับวัดพระนารายณ์มหาราช (วัดกลางนคร) ทางทิศใต้ของเมืองนครราชสีมา เป็นธิดาของนายกิ่มและนางบุญมา มีพี่สาวหนึ่งคนชื่อ แป้นาผล ไม่มีสามี จึงอยู่ด้วยกันจนวายชนม์ มีน้องชายหนึ่งคน ชื่อ จุก

31 ตุลาคม ของทุกปี เป็น ‘วันออมแห่งชาติ’ ส่งเสริมให้คนไทยมีนิสัยรักการออม

วันที่ 31 ตุลาคมของทุกปี เป็นวันออมแห่งชาติ และเป็นวันแห่งการประหยัดและการออมของโลก หรือที่เรียกว่า World Thrift Day โดยกำหนดครั้งแรกเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2467

ในระดับโลกนั้น ทุกๆ ปีจะมีวันที่เรียกว่า ‘วันออมโลก (World Thrift Day)’ ซึ่งจะตรงกับวันสุดท้าย ของเดือนตุลาคมของทุกปี โดยกำหนดขึ้นเป็นครั้งแรกในการประชุมที่มิลาน ประเทศอิตาลี เมื่อ ค.ศ. 1924 เพื่อให้ประชาชนเห็นถึงความสำคัญของการออม

เรื่องรักนักเรียนนายร้อย ตอนที่ 4 Love Letter

>> ความเดิมเมื่อตอนที่แล้ว 

กรกฎเห็นเขมิกามาเชียร์กีฬากับรุ่นพี่ปี 2 แต่เขาไม่ได้เข้าไปทักเธอ เพราะหาโอกาสเหมาะๆ ไม่ได้ แต่ที่น่าเจ็บในคือศัตรูหัวใจของเขาอย่างสุเทวา กลับหาโอกาสเข้าหาเขมิกาได้ก่อนเขานั่นเอง!!

ผมขอเล่าถึงชีวิตของนักเรียนนายร้อยชั้นปีที่ 1 ซึ่งก็คงคล้ายกับเฟรชชี่ในมหาวิทยาลัย ยังไม่รู้ประสีประสา อ่อนต่อโลก ต้องได้รับการสั่งสอนอบรมและแนะนำจากรุ่นพี่ ไม่มีสิทธิ์มีเสียงอะไร รุ่นพี่หรือนายทหารสั่งให้ทำอะไรก็ต้องทำตาม

เข้าตามตำหรับเพลงๆ หนึ่งที่ร้องว่า “...~อยู่อย่างคนไม่มีสิทธิ์ ก็ผิดตั้งแต่วันที่เราเกิด...จะเจ็บอย่างไรก็จะทน~...”

ภารกิจที่สองของรุ่นพี่เริ่มขึ้น เมื่อพี่ชั้นห้ามายืนที่หน้าแถวพวกเราที่หน้ากองร้อยตึกสี่เหลี่ยมประดับลายอิฐ ที่พักของเราในตอนเช้าก่อนที่เราจะเดินไปทานข้าว 

“น้องชั้นปีที่หนึ่ง วันนี้มีภารกิจต่อเนื่องมามอบให้น้องๆ ทำครับ ครั้งที่แล้วคงจำกันได้พวกเราได้ชื่อที่อยู่ของเหล่าพยาบาลแล้ว ภารกิจต่อไปคือการเขียนจดหมายไปหาเธอเหล่านั้น เขียนเสร็จแล้วไม่ต้องใส่ซอง ติดแสตมป์ ให้เอามาอ่านหน้าแถวให้เพื่อนได้ฟังว่า สำนวนใครเห่ยบ้าง เดี๋ยวค่าซองกับแสตมป์พี่ออกให้ ข้อสำคัญต้องให้เขาตอบกลับมาไม่งั้นก็ไม่ต้องกลับบ้าน”

ถือว่าเป็นอีกหนึ่งภารกิจการฝึกนะครับ ถ้ามองเป็นการเกลี้ยกล่อมฝ่ายตรงข้าม อาจหมายถึงการเจรจาต่อรองก่อนที่จะเกิดสงครามในอนาคต ถ้าทำสำเร็จก็ไม่ต้องก่อสงครามให้มีใครบาดเจ็บล้มตาย (นับเป็นวิธีการสอนโดยการปฏิบัติที่แยบยลอย่างยิ่งยวด 55)

นักเรียนนายร้อยแต่ละคนรีบเขียนจดหมายแล้วนำมาอ่านหน้าแถวก่อนส่งไปหานักเรียนนักศึกษาพยาบาล ทำตามขั้นตอนที่รุ่นพี่กำหนดไว้ทุกประการ และทุกคนได้กลับบ้าน เร็วบ้าง ช้าบ้าง ทั้งนี้ก็ขึ้นกับจดหมายที่ตอบกลับมา เช่น นักเรียนนายร้อยจ้ำที่ได้กลับบ้านก่อนใครๆ เพราะสาวิตรีนั้นไม่เล่นตัว เอ้ย ตอบจดหมายมาเร็ว

ส่วนของกรกฎเขียนจดหมายไปหาเขมิกาถึง 3 ฉบับแต่ก็ไม่ได้รับจดหมายตอบกลับแม้แต่ฉบับเดียว นั่นก็หมายถึงว่า เขาจะไม่ได้กลับบ้านติดต่อกันสามอาทิตย์เลย 

...จะทำอย่างไงดี? 

1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2432 วันก่อตั้ง ‘โรงพยาบาลคนเสียจริต’ โรงพยาบาลจิตเวชแห่งแรกในประเทศไทย

วันนี้เมื่อ 132 ปีที่แล้ว ประเทศไทยกำเนิด ‘โรงพยาบาลคนเสียจริต’ เป็นแห่งแรก เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2432

สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยาเป็นโรงพยาบาลจิตเวชแห่งแรกใน ประเทศไทย ก่อตั้งโดยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2432 โดยมีชื่อว่า 'โรงพยาบาลคนเสียจริต' ตั้งอยู่ที่ปากคลองสาน 

โรงพยาบาลคนเสียจริต ทำการรักษาผู้ป่วยโดยแพทย์ประจำ และแพทย์แผนไทย ต่อมามีผู้ป่วยจำนวนมากขึ้น ประกอบกับสถานที่คับแคบ นายแพทย์ไฮเอ็ด เจ้ากรมแพทย์สุขาภิบาล กระทรวงนครบาล ซึ่งถือว่าเป็นผู้อำนวยการคนแรกของโรงพยาบาลได้เสนอให้รัฐบาลซื้อที่ดิน และบ้านของเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) หรือเจ้าคุณทหาร ที่ดินของนายเปียราชานุประพันธ์และที่ดินใกล้เคียงของราษฎรอื่น ๆ รวมเนื้อที่ 44 ไร่ครึ่งเพื่อสร้างโรงพยาบาลแห่งใหม่

ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถาบันฯ ในปัจจุบัน คือ อยู่ที่ริมคลองสานด้านตะวันตกตอนใต้ ห่างจากสถานที่เดิมประมาณ 600 เมตร การสร้างโรงพยาบาลคนเสียจริต อยู่ภายใต้การควบคุมของพระยาอายุรเวชวิจักษ์ (หมอคาธิวส์) ซึ่งเป็นผู้ช่วยเจ้ากรมแพทย์สุขาภิบาล ท่านได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้วางรากฐานโรงพยาบาลจิตเวชให้เป็นแบบตะวันตกอย่างแท้จริง โดยให้การบำบัดรักษาตามหลักวิชาการในสมัยนั้น พร้อมทั้งให้การดูแลผู้ป่วยด้วยความเมตตา กรุณา และมีมนุษยธรรม ในด้านสภาพแวดล้อมของโรงพยาบาลมีความร่มรื่นด้วยไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ไม้ดอก ไม้ใบสีสวย เรือนผู้ป่วยเป็นห้องมีลูกกรงสายบัว โปร่ง ไม่มีหน้าต่าง หลังคาสังกะสีทาสีแดง


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top