Tuesday, 13 May 2025
Lite

เรื่องรักนักเรียนนายร้อย ตอนที่ 2 คู่แข่งหัวใจ

>> ความเดิมตอนที่แล้ว
เหล่านักเรียนนายร้อยมาร่วมงานเลี้ยงโต๊ะจีนที่ทางการจัดขึ้น โดยในงาน นักเรียนนายร้อยก. ได้เจอกับนักเรียนพยาบาล และพวกเขาก็ได้นั่งร่วมโต๊ะเดียวกัน

“เชิญครับ โต๊ะนี้ว่างครับ” นักเรียนนายร้อยจ้ำ ลุกขึ้นแล้วกล่าวเชื้อเชิญด้วยน้ำเสียงยินดีแบบสุดๆ กลุ่มของนักเรียนพยาบาลจึงเดินเข้ามาและนั่งร่วมโต๊ะกับนักเรียนนายร้อยก. และนักเรียนนายร้อยจ้ำ 

และนี่ก็ถึงเวลาเปิดตัวตัวร้ายของเรื่องนี้แล้วครับ โดยผู้ร้ายของเรื่องก็คือ นักเรียนนายร้อยส. นั่นเอง 

นักเรียนนายร้อยส. นั่งอยู่โต๊ะข้างๆ ใกล้ๆ โต๊ะของนักเรียนนายร้อยก. โดยที่นักเรียนนายร้อยส. ก็มองไปที่นักเรียนพยาบาลคนเดียวกับที่นักเรียนนายร้อยก. แอบมองอยู่เช่นกัน

ไม่นานนัก อาหารว่างก็ถูกนำมาเสิร์ฟ บนจานมีอาหารหลากหลาย เช่น ข้าวเกรียบ ฮอตด็อก ไข่เยี่ยวม้า และเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ทุกคนที่นั่งอยู่ต่างคนต่างมองอย่างจดๆ จ้องๆ กัน หลังจากนั้นก็ปล่อยหมัดเข้าหากัน ฝ่ายแดงเริ่มก่อนด้วยการแย็บที่ใบหน้า (บรรยากาศเหมือนพากย์มวย ฮา)

แต่ในความเป็นจริงแล้ว ทุกคนสงวนท่าทีไม่ยอมเสียเชิง ต่างค่อยๆ ใช้ตะเกียบคีบอาหารมาใส่ที่จานอย่างระมัดระวัง 

ส่วนนักเรียนนายร้อยจ้ำนั้น เริ่มก่อนไม่รั้งรอใคร ใช้ตะเกียบคืบอาหารเข้าปากแล้วกล่าวเชิญชวนทุกคน 

“ทานเลยครับ อร่อยทุกอย่างเลยครับ” นักเรียนนายร้อยจ้ำพูดด้วยน้ำเสียงอู้อี้ เพราะอาหารที่เต็มปาก

ส่วนนักเรียนนายร้อยก. ก็ได้จังหวะเหมาะๆ จึงเป็นฝ่ายกล่าวเปิดการสนทนาก่อน

"ชื่ออะไรครับ?"

"ชื่อเขมิกาค่ะ" เสียงหวานๆ ตอบออกมาเบาๆ

พอเห็นว่าสาวที่ตัวเองชอบยอมคุยด้วย ซ้ำยังยอมบอกชื่อ นักเรียนนายร้อยก. ก็ถามอีกคำถาม เขาสังเกตจากอินทรธนูบนบ่าของเขมิกา ตัวอักษรและตัวเลขโลหะสีเงินที่เขียนว่า 'นพต ๑'

“อยู่ปีหนึ่งหรือครับ?” 

“ค่ะ” เขมิกาตอบคำถามด้วยน้ำเสียงหวานๆ เช่นเดิม ท่าทางของเธอดูเคอะเขิน แต่ก็ไม่ได้แสดงออกมากนัก

ทั้งสองคุยกันได้แค่นั้น อาหารอีกหลายจานก็ถูกนำมาเสิร์ฟบนโต๊ะแบบรัวๆ ทว่านักเรียนนายร้อยก.ไม่ได้สนใจอาหารเท่าไหร่นัก ต่างจากนักเรียนนายร้อยจ้ำที่เมามันกับรสชาติของอาหารอย่างไม่สนใจเพื่อนร่วมโต๊ะเท่าไรนัก แต่ยังคงหยอดมุกตลกให้คนในโต๊ะได้หัวเราะโดยตลอด

แต่สิ่งที่ทั้งสองคนคิดเหมือนกันคือ ในวันนี้อะไรจะเกิดขึ้นก็ตาม พวกเขาจะต้องได้ชื่อและที่อยู่ของนักเรียนพยาบาลให้ได้ เพื่อภารกิจที่สำเร็จลุล่วงตามความมุ่งหมายของทางราชการ (ว่าเข้าไปนั่น)

ในเวลาเดียวกันนั้น นายกรัฐมนตรี กับรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกลาโหม (พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ และพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ) ก็เดินทางมาถึง 

ทั้งสองท่านเดินทักทาย นักเรียนนายร้อยและนักเรียนพยาบาลทุกโต๊ะ โดยเสียงหัวเราะอย่างมีความสุขเกิดขึ้นตลอดทั้งงาน (ตอนนั้นเป็นปี 2531 ครับ แต่หลังจากนี้อีก 3 ปี ก็ไม่มีบรรยากาศเช่นนี้แล้ว เมื่อกองทัพและรัฐบาลเริ่มห่างเหินและเดินทางเป็นเส้นขนานกัน และนำไปสู่การปฏิวัติในปี 2534)

วิธีการของแต่ละคนอาจแตกต่างกัน แต่จุดมุ่งหมายเดียวกัน 

นักเรียนนายร้อยก. ใช้วิธีเนียนๆ คุยเลียบๆ เคียงๆ ไปเรื่อยๆ แบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อไม่ให้เหยื่อตกใจตื่น (ล้อเล่นครับ) จนเขาขอชื่อและที่อยู่ของเขมิกาได้สำเร็จ

ส่วนนักเรียนนายร้อยจ้ำนั้น ก็เดินหน้าปฏิบัติการถามจริง ตอบตรง กับสาวน้อยอีกคนที่มีบุคลิกสนุกสนานมากที่สุดคนเดียวในโต๊ะ

“เราเป็นเพื่อนกันไหม คบกันไปดูใจกันก่อนแล้วค่อยเป็นแฟนกัน ถ้าถูกใจก็คบกันไป เพราะฉันเป็นคนไม่สนอะไรแบบสบาย สบาย สบาย” นักเรียนนายร้อยจ้ำพูดไปพลาง ร้องเพลงไปพลาง

เธอคนนี้ชื่อ สาวิตรี เธอเป็นคนสวย แต่ไม่ค่อยห่วงสวยสักเท่าไหร่ อีกทั้งยังเอียนเอียงไปทางตลกมากกว่า (หมายถึงเป็นคนตลก)

ขณะที่ทั้งโต๊ะกำลังสนุกสนาน หัวเราะ พูดคุยกันไปเรื่อยๆ จู่ๆ นักเรียนนายร้อยส. ที่นั่งอยู่โต๊ะข้างๆ ก็ลุกขึ้นแล้วเดินมาที่โต๊ะของนักเรียนนายร้อยก. และนักเรียนนายร้อยจ้ำ

นักเรียนนายร้อนส. เข้ามาใกล้กับเขมิกา แล้วโค้งตัวลงเล็กน้อย สบตา ก่อนกล่าวเบาๆ ว่า 

“สวัสดีครับ ผมชื่อส. ผมอยากรู้จักคุณ ผมขอชื่อและที่อยู่ของคุณครับ ที่โต๊ะผมมีแต่นักเรียนพยาบาลปีสองที่ดูเหมือนจะแก่กว่าผมทั้งนั้นครับ อีกอย่างถ้าคุณไม่ช่วยผม ผมโดนทำโทษแน่ๆ” นักเรียนนายร้อยส. ทำเสียงเอื่อยๆ สั่นๆ จนน่าเห็นใจ เมื่อพูดจบก็ยื่นสมุดและปากกาที่พกมาด้วยให้กับเขมิกา

เขมิกาทำหน้างงๆ ปนตกใจ ไม่คิดไม่ฝันว่าวันนี้จะมาเจอเหตุการณ์แปลกๆ เช่นนี้ แต่ถึงอย่างนั้นก็ยอมเขียนข้อมูลลงในสมุดเล่นนั้นให้กับ นักเรียนนายร้อยส. ไป

นักเรียนนายร้อยจ้ำเห็นแบบนั้นจึงแอบกระซิบกับ นักเรียนนายร้อยก. ว่า 

“ไอ้ส. ใส่เกือก มันมาได้ไงวะ?”

17 ตุลาคม ‘วันตํารวจแห่งชาติ’ วันสำคัญของผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ รำลึกถึงผู้ยึดมั่นรับใช้ประชาชน

วันตํารวจแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 17 ตุลาคมของทุกปี ถือเป็นอีกหนึ่งวันสำคัญของไทย 

เดิมทีวันตำรวจแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 13 ตุลาคมของทุกปี เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2458 โดยเป็นวันประกาศรวม 'กรมพลตระเวน' กับ 'กรมตำรวจภูธร' เป็นกรมเดียวกัน เรียกว่า 'กรมตำรวจ' ซึ่งภายหลังได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น 'สำนักงานตำรวจแห่งชาติ' กรมตำรวจจึงได้ยึดถือเอาวันที่ 13 ตุลาคม ของทุกปีเป็น วันตำรวจ และได้มีการประกอบพิธี วันตำรวจ อย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2492 ซึ่งในขณะนั้น พล.ต.อ. หลวงชาติ ตระการโกศล เป็นอธิบดีกรมตำรวจและ จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี

จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2560 พล.ต.อ. จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ในขณะนั้นมีคำสั่งให้เปลี่ยนแปลงวันตำรวจไทย ให้เป็นวันที่ 17 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันสถาปนาสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (17 ตุลาคม พ.ศ. 2541) เนื่องจากวันที่ 13 ตุลาคม ตรงกับวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จึงเปลี่ยนแปลงเพื่อเป็นการแสดงความเคารพเทิดทูนพระองค์

ทั้งนี้ หากย้อนไปที่ประวัติของตำรวจไทย กิจการตำรวจได้กำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ โดยพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราระเบียบการปกครองบ้านเมืองเป็น 4 เหล่า เรียกว่า จตุสดมภ์ ได้แก่ เวียง วัง คลัง นา และพร้อมกันนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีกิจการตำรวจขึ้น โดยให้ขึ้นอยู่กับเวียง อันมีเจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์ สมุหนายก อัครมหาเสนาบดี เป็นผู้บังคับบัญชา

สำหรับกิจการตำรวจในขณะนั้น แบ่งออกเป็นตำรวจพระนครบาล ตำรวจภูธร ส่วนตำรวจหลวงให้ขึ้นอยู่กับวัง มีเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี ศรีรัตนมณเฑียรบาล เป็นผู้บังคับบัญชา และทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตราศักดินาของตำรวจไว้เป็นบรรทัดฐานในบทพระอัยการ ระบุตำแหน่งนายพลเรือน เช่นเดียวกับข้าราชการฝ่ายอื่น

นอกจากนี้ ยังมีเอกสารหลายชิ้นที่แสดงว่าบุคคลที่จะเป็นตำรวจได้นั้นต้องคัดเลือกจากผู้ที่มีชาติกำเนิดสืบเชื้อสายมาจากตระกูลที่ได้ทำคุณงามความดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และต้องเป็นบุคคลที่ทรงวางพระราชหฤทัย การบังคับบัญชาตำรวจก็ต้องขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์โดยเฉพาะแต่พระองค์เดียว ทำให้กิจการตำรวจในยุคนี้จะจัดตั้งเพื่อให้ทำหน้าที่ในวงจำกัด และมิได้ขยายไปยังส่วนการปกครองทั่วประเทศเท่าไหร่นัก แต่เมื่อเหตุการณ์บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไป มีการติดต่อกับชาวต่างประเทศมากขึ้น กรมตำรวจจึงได้รับความสนใจที่จะปรับปรุงรูปแบบเพื่อให้เป็นไปตามแบบอย่างประเทศตะวันตก

โดยในปี พ.ศ. 2405 สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการปรับปรุงกิจการตำรวจครั้งสำคัญ กล่าวคือ มีการจัดตั้งกองตำรวจขึ้นเป็นครั้งแรกตามแบบอย่างยุโรป เรียกว่า กองโปลิศ โดยจ้างชาวมลายูและชาวอินเดียเป็นตำรวจ เรียกว่า คอนสเตเปิล โดยให้มีหน้าที่รักษาการณ์แต่ในเขตกรุงเทพมหานครชั้นใน และขึ้นอยู่กับสังกัดกรมพระนครบาล

ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการปรับปรุงกองโปลิศ และจัดตั้งตำรวจภูธรขึ้นเป็นทหารโปลิศ ในปี พ.ศ. 2419 เพื่อให้เป็นกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยในส่วนภูมิภาค และให้สามารถปฏิบัติการทางทหารได้ด้วย โดยได้ว่าจ้างนาย G. Schau ชาวเดนมาร์ก เป็นผู้วางโครงการ

18 ตุลาคม วันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

วันที่ 18 ตุลาคม ตรงกับวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพุทธเลิศหล้านภาลัย ประสูติแต่สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 ตรงกับวันขึ้น 14 ค่ำเดือน 11 ปีชวด

เมื่อพระชนมายุ 9 พรรษา สมเด็จพระบรมชนกนาถทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งพระราชพิธีลงสรง ได้เฉลิมพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า “สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ สมมุติเทววงศ์ พงศ์อิศวรวรกกระษัตริย์ ขัตติยราชกุมาร”

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงผนวชอยู่ 27 พรรษา จึงทรงลาผนวชเสด็จขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อสันตติวงศ์ เป็นรัชกาลที่ 4 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2394 ขณะพระชนมายุ 47 พรรษา

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับการเฉลิมพระปรมาภิไธย ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกว่า “พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” และมีพระนามตามจารึกในพระสุบรรณบัฏว่า

“พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎสุทธิ สมมุติเทพยพงศวงศาดิศรกษัตริย์ วรขัตติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาติสังสุทธิเคราะหณี จักรีบรมนาถ อดิศวราชรามวรังกูร สุจริตมูลสุสาธิตอุกฤษฐวิบูลย บุรพาดูลยกฤษฎาภินิหารสุภาธิการรังสฤษดิ ธัญญลักษณ วิจิตรโสภาคสรรพางค์ มหาชโนตมางคประนตบาทบงกชยุคคล ประสิทธิสรรพสุภผลอุดม บรมสุขุมาลยมหาบุรุษยรัตน ศึกษาพิพัฒนสรรพโกศล สุวิสุทธิวิมลศุภศีลสมาจารย์ เพ็ชรญาณประภาไพโรจน์ อเนกโกฏิสาธุ คุณวิบุลยสันดาน ทิพยเทพวตาร ไพศาลเกียรติคุณอดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์เอกอัครมหาบุรุษ สุตพุทธมหากระวี ตรีปิฎกาทิโกศล วิมลปรีชามหาอุดมบัณฑิต สุนทรวิจิตรปฏิภาณ บริบูรณ์คุณสาร สัสยามาทิโลกยดิลก มหาปริวารนายกอนันต์ มหันตวรฤทธิเดช สรรพพิเศษ สิรินธรมหาชนนิกรสโมสรสมมติ ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปดลเศวตฉัตราดิฉัตร สิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเศกาภิษิต สรรพทศทิศวิชิตวิไชย สกลมไหศวรินมหาสยามินทร มเหศวรมหินทร มหาราชาวโรดม บรมนารถชาติอาชาวศรัย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์ อุกฤษฐศักดิอัครนเรศราธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการสกลไพศาลมหารัษฎาธิเบนทร ปรเมนทรธรรมมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบรมบพิตร พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว”

19 ตุลาคม ‘วันเทคโนโลยีของไทย’ เทิดพระเกียรติพระอัจฉริยภาพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงเป็นพระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย หลังทรงพระกรุณาบัญชาการปฏิบัติการทำฝนสาธิตด้วยพระองค์เอง เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2515

นอกจากจะทรงเป็นนักปกครองแล้ว พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ยังทรงมีอัจฉริยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จนเป็นที่ประจักษ์ไปทั่วโลก ด้วยเหตุนี้ประเทศไทยจึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และได้กำหนดให้ วันที่ 19 ตุลาคม เป็นวันเทคโนโลยีของไทย 

สาเหตุที่กำหนดให้วันที่ 19 ตุลาคม เป็นวันเทคโนโลยีของไทย เนื่องจาก เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2515 หรือเมื่อ 50 ปีที่แล้ว ด้วยพระปรีชาสามารถในการค้นคว้าทดลองและปฏิบัติการทำฝนหวังผล ให้ตกในพื้นที่เป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ประเทศสิงคโปร์ที่กำลังประสบภาวะแห้งแล้งอย่างรุนแรงเช่นเดียวกับสภาวะแห้งแล้งในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ได้แก่ จังหวัดเพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ในขณะนั้น ขอส่งนักวิทยาศาสตร์มาสังเกตการณ์และขอรับถ่ายทอดประสบการณ์และความเชี่ยวชาญใน การปฏิบัติการทำฝนหวังผลในประเทศไทย 

ในการนี้ทรงพระกรุณารับบัญชาการปฏิบัติการสาธิตด้วยพระองค์เอง ทรงกำหนดให้อ่างเก็บน้ำของเขื่อนแก่งกระจาน อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งมีพื้นที่ผิวน้ำเพียง 46.5 ตารางกิโลเมตรหรือ 1,162.5 ไร่ เป็นพื้นที่เป้าหมายหวังผลในการปฏิบัติการทำฝนสาธิตครั้งนี้ ซึ่งเป็นเป้าหมายที่เล็กที่สุดเท่าที่เคยปฏิบัติการค้นคว้าทดลองและปฏิบัติการทำฝนหวังผลที่ผ่านมา ทรงปฏิบัติการฯสาธิต ในวันที่ 19ตุลาคม 2515 ณ ศูนย์บัญชาการฯ สันเขื่อนแก่งกระจาน ทรงสามารถบังคับหรือชักนำฝนให้ตกลงสู่อ่างเก็บน้ำเขื่อนแก่งกระจานอย่างแม่นยำภายในเวลาประมาณ 5 ชั่วโมงนับจากเริ่มปฏิบัติการ เป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาและเป็นที่น่าอัศจรรย์แก่นักวิทยาศาสตร์สิงคโปร์ และข้าราชบริพารที่เป็นข้าราชการและข้าราชบริพารระดับสูงที่เฝ้าฯ สังเกตการณ์อยู่ ณ ที่นั้น ต่างประทับใจในพระมหากรุณาธิคุณและพระปรีชาสามารถ  

การสาธิตฝนครั้งนั้น ถือเป็นต้นกำเนิดเทคโนโลยีฝนหลวงที่พัฒนาเป็นการทำฝนมาถึงปัจจุบัน และเพื่อจารึกไว้เป็นเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติไทย ในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2543  คณะรัฐบาลจึงมีมติให้เทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเป็น 'พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย' และกำหนดให้วันที่ 19 ตุลาคมของทุกปีเป็น 'วันเทคโนโลยีของไทย' เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดีและรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอด โดยได้ทรงศึกษาค้นคว้าวิจัย และทรงนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ตลอดจนเป็นการแสดงเทคโนโลยีที่คิดค้นประดิษฐ์ และพัฒนาโดยคนไทย เพื่อเป็นการกระตุ้นให้สาธารณชนเกิดความเชื่อมั่นและเข้าร่วมพัฒนาเทคโนโลยีของไทย

20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ทำรัฐประหารซ้ำ ล้มรัฐบาลธานินทร์ กรัยวิเชียร

20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุดและหัวหน้า คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ล้มรัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร

รัฐประหาร 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 เป็นการรัฐประหารอีกครั้งหนึ่งที่เกิดขึ้นในประเทศไทย โดยผู้ที่นำการรัฐประหาร คือ พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุดและหัวหน้า คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ล้มรัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร

เหตุเนื่องจากการที่คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินที่นำโดย พล.ร.อ.สงัด ได้ทำการรัฐประหารเมื่อปี พ.ศ. 2519 เนื่องจากในเหตุการณ์ 6 ตุลา และแต่งตั้ง นายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี โดยรัฐบาลนายธานินทร์มีภารกิจสำคัญที่จะต้องกระทำคือ การปฏิรูปการเมืองภายในระยะเวลา 12 ปี ซึ่งทางคณะปฏิรูปฯเห็นว่าล่าช้าเกินไป ประกอบกับสถานการณ์ต่าง ๆ ในประเทศยังไม่สงบดีด้วย ดังนั้นจึงกระทำการรัฐประหารซ้ำอีกครั้ง ซึ่งอาจเรียกว่าเป็นการ รัฐประหารตัวเอง เพื่อกระชับอำนาจก็ว่าได้

โดยมีประกาศในการรัฐประหารไว้ดังนี้ การบริหารงานของรัฐบาล นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ไม่อาจแก้ปัญหาสำคัญของประเทศทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และอุตสาหกรรม ให้ลุล่วงไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งการปิดกั้นเสรีภาพทางความคิดเห็นของประชาชน ตลอดจนท่าทีของรัฐบาลในการลอบวางระเบิดใกล้พลับพลาที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่จังหวัดยะลา

21 ตุลาคม วันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

21 ตุลาคม พ.ศ. 2443 วันพระราชสมภพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ‘สมเด็จย่า’ ของปวงชนชาวไทย

วันที่ 21 ตุลาคม ของทุกปี นอกจากจะเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีแล้ว ยังเป็นอีกหลายวันสำคัญของประเทศไทย พระราชกรณียกิจของ 'สมเด็จย่า' ที่ทรงมีต่อชาวไทยและประเทศชาตินั้น ใหญ่หลวงนัก ทรงมีพระวิริยะอุตสาหะสูงในการทรงงาน เพื่อประโยชน์สุขของปวงชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า ได้ทรงอุทิศพระวรกายและสละเวลาให้แก่ประชาชน ตลอดมา โดยมิได้ทรงเห็นแก่ความเหนื่อยยากส่วนพระองค์

วันพยาบาลแห่งชาติ

เนื่องด้วยสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงสำเร็จการศึกษาวิชาการพยาบาล และตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ทรงปฏิบัติพระราชภารกิจในการพัฒนาสุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตของประชาชนเปี่ยมล้นด้วยพระเมตตา และด้วยพระวิริยะอุตสาหะ นำสิริสุขแก่ปวงชนทุกก้าวพระบาทที่เสด็จไปถึง สมควรเป็นแบบอย่างแก่ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ให้ตระหนักในภารกิจของวิชาชีพแห่งตนว่าเป็นงานบริการสุขภาพที่มีความสำคัญ และมีคุณค่าแก่สังคม ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าวแล้วนี้ กระทรวงสาธารณสุข ได้เสนอขอความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรี ให้วันที่ 21 ตุลาคม ของทุกปีเป็น วันพยาบาลแห่งชาติ ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2533 เป็นต้นมา

วันสังคมสงเคราะห์แห่งชาติ
สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยฯ นั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานเงินจำนวนหนึ่งล้านบาทเป็นทุนริเริ่มการสร้างตึกทำงานของสภาสังคมสงเคราะห์ฯ และได้พระราชทานนามตึกนี้ว่า 'ตึกมหิดล' เพื่อเทิดทูนพระเกียรติคุณในด้านสังคมสงเคราะห์ของสมเด็จพระบรมราชชนก โครงการที่สำคัญที่สุดของสภาสังคมสงเคราะห์ฯ คืออุดมการณ์ที่รัฐรับเป็นอุดมการณ์ของชาติ คือ 'โครงการแผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง' ซึ่งมีที่มาจากพระบรมราชปณิธานในพระปฐมบรมราชโองการที่ว่า 'เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม'

24 ตุลาคม พ.ศ. 2488 องค์การสหประชาชาติ (UN) ได้รับการสถาปนาอย่างเป็นทางการ

24 ตุลาคม พ.ศ. 2488 องค์การสหประชาชาติ หรือ ‘ยูเอ็น’ (United Nation : UN) ได้รับการสถาปนาอย่างเป็นทางการ จึงถือเอาวันที่ 24 ตุลาคม ของทุกปีเป็น ‘วันสหประชาชาติ’

24 ตุลาคม พ.ศ. 2488 องค์การสหประชาชาติ หรือ 'ยูเอ็น' (United Nation : UN) ได้รับการสถาปนาอย่างเป็นทางการ หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง โดยมีประเทศสมาชิกผู้เริ่มก่อตั้ง 51 ประเทศ นำโดยประเทศมหาอำนาจของโลกอย่าง สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต และจีน ลงนามให้สัตยาบันรับรอง 'กฎบัตรสหประชาชาติ' (United Nations Charter) ซึ่งเป็นธรรมนูญของสหประชาชาติมีผลบังคับใช้ 

25 ตุลาคม พ.ศ. 2473 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกแห่งกรุงสยาม

วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2473 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จฯ พระราชทานปริญญาบัตร ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งนับเป็นครั้งแรกของสยามประเทศ

วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2473 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จฯ พระราชทานปริญญาบัตรเวชศาตรบัณฑิต (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นแพทยศาสตรบัณฑิต) ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งนับเป็นครั้งแรกของไทยที่มีการพระราชทานปริญญาบัตร ณ ห้องประชุมตึกบัญญาชาการ (ตึก 1 ค ณะอักษรศาสตร์ปัจจุบัน) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีเสด็จพระราชดำเนินเข้าสู่ห้องประชุม พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร-เสนาบดีกระทรวงธรรมการ ทูลเกล้าฯ ถวายฉลองพระองค์ครุยบัณฑิตพิเศษแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานครุยกิตติมศักดิ์แก่ข้าราชการของมหาวิทยาลัย 2 ท่าน คือ

1.) บัณฑิตชั้นโท (มหาบัณฑิตในปัจจุบัน) ทางวิทยาศาสตร์แก่พระยาภะรตราชา(หม่อมหลวงทศทิศ อิศรเสนา) ผู้บัญชาการ (อธิการบดีในขณะนั้น)

2.) บัณฑิตชั้นเอก (ดุษฎีบัณฑิตในปัจจุบัน) แก่ศาสตราจารย์ น.พ. A.G.Ellis คณบดีคณะแพทยศาสตร์ (ต่อมาเป็นอธิการบดีของจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ระหว่าง พ.ศ. 2478-2479)

22 ตุลาคม พ.ศ. 2499 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

22 ตุลาคม พ.ศ. 2499 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ทรงผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และเสด็จฯ ไปประทับ ณ พระตำหนักปั้นหย่า วัดบวรนิเวศวรวิหาร

ก่อนที่จะถึงวันพระราชพิธีทรงผนวช ในวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2499 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้มีพระราชทานกระแสพระราชดำรัสในการที่จะทรงผนวชแก่พระบรมวงศานุวงศ์ คณะองคมนตรี คณะทูต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ข้าราช ซึ่งเข้าเฝ้าฯ ณ พระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัย แจ้งข้อพระราชดำริที่จะบรรพชาอุปสมบท และขอให้ทุกฝ่ายสมัครสมานกันรักษาประเทศ ทรงขอบใจรัฐบาลที่รับภาระเตรียมการบรรพชาอุปสมบท

ครั้นเสร็จพระราชพิธีภายใน พระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัยแล้ว จึงเสด็จฯ มายังพระที่นั่งสุทไธสวรรค์พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จออกสีหบัญชร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำรัสว่า

“ข้าพเจ้ามีความยินดีที่ท่านทั้งปวงได้มาประชุมกัน ณ ที่นี้ ขอถือโอกาสแจ้งดำริ ที่จะบรรพชาอุปสมบทให้อาณาประชาราษฎรทราบทั่วกัน

อันพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นศาสนาประจําชาติของเรา ตามความอบรมที่ได้รับมาก็ดี ตามศรัทธาเชื่อถือส่วนตัวของข้าพเจ้าก็ดี เห็นเป็นศาสนาที่ดีศาสนาหนึ่ง มีคําสั่งสอนให้คนประพฤติตนเป็นคนดี ทั้งเพรียบพร้อมด้วยบรรดาสัจธรรมอันชอบด้วยเหตุผลน่าเสื่อมใสยิ่งนัก  ข้าพเจ้าเคยคิดอยู่ว่า ถ้าโอกาสอำนวยก็น่ารักได้อุปสมบทในพระศาสนาตาม ประเพณีสักเวลาหนึ่ง ซึ่งมักเป็นทางสนองพระเดชพระคุณพระราชบุพการีตามคตินิยมอีกโสดหนึ่งด้วย 

และนับตั้งแต่ข้าพเจ้าได้ขึ้นครองราชสมบัติสืบสันตติวงศ์มาเป็นเวลาช้านานพอสมควรแล้ว น่าจะเป็นโอกาสที่จะทําตามความตั้งใจไว้นั้นได้แล้วประการหนึ่ง อนึ่ง การที่สมเด็จพระสังฆราชซึ่งทรงมีพระคุณูปการในส่วนตัวข้าพเจ้าได้หายประชวรในครั้งหลังนี้ ก่อให้เกิดความปิติยินดีแก่ข้าพเจ้าเป็นอันมาก มาคํานึงเห็นว่า ถ้าในการที่ข้าพเจ้าจะอุปสมบทนี้ ได้พระองค์ท่านเป็นพระอุปัชฌาย์ด้วยแล้ว ก็จะเป็นการแสดงออกซึ่งความศรัทธา เคารพ ของข้าพเจ้าที่มีอยู่ในพระองค์ท่านได้อย่างเหมาะสมด้วยอีกประการหนึ่ง อาศัยเหตุเหล่านี้จึงได้ตกลงใจจะอุปสมบทในวันที่ 22 เดือนนี้

23 ตุลาคม วันปิยมหาราช

วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 นับเป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์ที่สร้างความเศร้าโศกให้กับประเทศไทยครั้งใหญ่หลวง เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ พระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 4 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระนางเจ้าฟ้ารำเพยภมราภิรมย์ (สมเด็จพระเทพศิรินทรา พระบรมราชินี) เมื่อพระชนมายุได้ 9 พรรษา ทรงได้รับสถาปนาขึ้นเป็น 'กรมหมื่นพิฆเนศวรสุรลังกาศ' ต่อมาเมื่อพระชนมายุได้ 13 พรรษา ทรงได้รับสถาปนาขึ้นเป็น 'กรมขุนพินิตประชานาถ' บรมราชาภิเษกครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411 ทรงพระนามว่า 'พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว'

เนื่องจากขณะนั้นมีพระชันษาเพียง 16 ปี ยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะ สมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) จึงเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน และสถาปนากรมหมื่นบวรวิชัยชาญ พระโอรสองค์ใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญพระมหาอุปราช

ระหว่างที่สมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เป็นผู้สำเร็จราชการอยู่นั้น สมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ก็ทรงใช้เวลาศึกษาเล่าเรียนศิลปวิทยาเป็นอันมาก เช่น โบราณราชประเพณี รัฐประศาสน์ โบราณคดี ภาษาบาลี ภาษาอังกฤษ วิชาปืนไฟ วิชามวยปล้ำ วิชากระบี่กระบอง และวิชาวิศวกรรม


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top