Tuesday, 13 May 2025
Lite

3 ตุลาคม พ.ศ. 2436 ฝรั่งเศสบังคับสยาม ลงนามยกดินแดน ต้องเสียพื้นที่ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ในวิกฤตการณ์ ร.ศ.112

วันนี้ เมื่อ 129 ปีก่อน เป็นอีกหนึ่งวันที่ลูกหลานไทยต้องจดจำ เมื่อสยามต้องกลืนเลือดทำสนธิสัญญา กับฝรั่งเศส ที่เรียกว่า “สนธิสัญญาสันติภาพ” ซึ่งเกิดขึ้นในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2436 ที่ทำให้ไทยเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง 

ในครั้งนั้น ฝรั่งเศส ได้บังคับสยามลงนามยอมรับว่าดินแดนบนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงเป็นของฝรั่งเศส เพื่อแลกกับเมืองจันทรบุรีที่ฝรั่งเศสยึดไว้เป็นหลักประกัน 

โดยหลังจากการลงนามนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว ทรงพยายามแก้ไขปัญหาอย่างเต็มที่ ทั้งโดยวิธีทางการทูต การทหาร และการแสวงหาความช่วยเหลือจากมหาอำนาจอื่น จนทรงพระประชวรและทรงคิดว่าอาจสวรรคต ยิ่งไปกว่านั้นการเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงในวิกฤตการณ์ ร.ศ.112 ส่งผลทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสียพระราชหฤทัยอย่างสุดซึ้ง จนถึงกับน้ำพระเนตรไหล 

แต่ในที่สุดพระองค์ก็ทรงหักพระทัยได้ ทรงรับสั่งเป็นเชิงปรารภว่า "การเสียเขตแดนแต่เพียงเล็กน้อยตามชายพระราชอาณาจักรซึ่งเราเองก็ทำนุบำรุงรักษาให้เจริญเต็มที่ไม่ได้นั้น ก็เปรียบเหมือนกับเสียปลายนิ้วของเราไป ยังไกลอยู่ รักษาหัวใจกับตัวไว้ให้ดีก็แล้วกัน”

ส่องแฟชั่นสนามบิน ‘ณิชา-ณัฏฐณิชา’ ก่อนบินลัดฟ้าชมแฟชั่นโชว์ ณ กรุงปารีส

ต้องเรียกว่า 'สวยสะกด' 'สวยไม่แบ่งใคร' 'สวยแบบตะโกน' กันเลยทีเดียว เมื่อได้เห็นแฟชั่นสนามบินของ นักแสดงสาว ‘ณิชา ณัฏฐณิชา ดังวัธนาวณิชย์’ ที่กำลังเตรียมตัวบินลัดฟ้าไปชมแฟชั่นโชว์แบรนด์หรูอย่าง Valentino ที่กรุงปารีส

โดยสาวณิชามาในชุดเสื้อเบลเซอร์สีชมพูจากคอลเล็กชั่นล่าสุด Pink PP แมตช์กับกระเป๋า One Stud ที่มาในเฉดสีเดียวกัน
พร้อมสนีกเกอร์หนังสีชมพูที่มาเพิ่มความโดดเด่นสะดุดตาให้กับลุคนี้ที่สุด เรียกได้ว่าชมพู๊ชมพูไปทั้งตัว ไม่เกรงใจสาวปารีเซียงกันเลยเดียว

4 ตุลาคม พ.ศ. 2313 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงสถาปนา ‘กรุงธนบุรี’ เป็นราชธานี

วันนี้ เมื่อ 252 ปีก่อน สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงสถาปนาราชธานีแห่งใหม่ มีนามว่า กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร 

หลังการเสียกรุงศรีอยุธยา ครั่งที่ 2 เมื่อปี  2310 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงรวบรวมกำลังพลและกองทัพเรือจากเมืองจันทบุรี ล่องมาตามชายฝั่งจนถึงปากแม่น้ำเจ้าพระยา ทรงต่อสู้โจมตีค่ายโพธิ์สามต้นจนสามารถขับไล่ทหารพม่าออกจากอาณาจักรได้และสามารถกอบกู้กรุงศรีอยุธยาจากการยึดครองได้ ในเวลาเพียง 7 เดือน จากนั้นโปรดให้อัญเชิญพระบรมศพพระเจ้าเอกทัศมาประกอบพิธีโดยสังเขปและพระราชเพลิงพระบรมศพเรียบร้อย

จากนั้นพระองค์ได้เสด็จสำรวจความเสียหายของบ้านเมือง และประทับแรมในพระนคร ณ พระที่นั่งทรงปืน ทรงพระสุบินนิมิตว่า พระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา “มาขับไล่ไม่ให้อยู่” พระเจ้าตากสินมหาราชทรงเล่าให้ขุนนางทั้งหลายฟัง แล้วดำรัสว่า

“เราคิดสังเวชเห็นว่าบ้านเมืองจะร้างรกเป็นป่า จะ มาช่วยปฏิสังขรณ์ทํานุบํารุงขึ้นให้บริบูรณ์ดีดังเก่า เมื่อเจ้าของเดิม ท่านยังหวงแหนอยู่แล้ว เราชวนกันไปสร้างเมืองธนบุรีอยู่เถิด แล้วตรัสสั่งให้เลิกกองทัพกวาดต้อนราษฎร แลสมณพราหมณาจารย์ ทั้งปวงกับทั้งโบราณขัติยวงษ์ซึ่งยังเหลืออยู่นั้น ก็เสด็จกลับลงมาตั้งอยู่ ณ เมืองธนบุรี”

เรื่องเมืองธนบุรีนี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงแสดงความคิดเห็นไว้ว่า

“…ที่เจ้าตากลงมาตั้งเมืองธนบุรีเป็นราชธานี ครั้งนั้นเหมาะแก่ประโยชน์ทุกอย่าง ถ้าหากว่าสมเด็จพระอดีตมหาราชได้มาขับไล่เจ้าตากมิให้ตั้งอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา ก็ขับไล่ด้วยไมตรีจิต ตักเตือนมิให้พลาดพลั้งไปด้วยเห็นแก่เกียรติยศ

5 ตุลาคม ‘วันนวัตกรรมแห่งชาติ’ เทิดพระเกียรติ ในหลวง รัชกาลที่ 9 พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย

วันที่ 5 ตุลาคม ของทุกปี กำหนดให้เป็นวันนวัตกรรมแห่งชาติ เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 รำลึกถึงพระอัจฉริยภาพและพระปรีชาสามารถด้านนวัตกรรม

เมื่อวันจันทร์ที่ 5 ตุลาคม 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการดำเนินโครงการของศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ และทรงได้มีพระราชดำรัสแสดงถึงความเป็นนวัตกรรมของ “โครงการแกล้งดิน” ที่ไม่มีใครทำมาก่อนและทั้งนี้ได้ทรงพระราชทานพระราชดำริให้ทำเป็นตำรา คือ “คู่มือปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดเพื่อการเกษตร” สำหรับที่จะใช้พัฒนาพื้นที่ดินเปรี้ยวอื่น ๆ ต่อไป

'THAI FIGHT วชิราวุธ' ศึกใหญ่มวยไทย ฉลองครบรอบ 111 ปี โรงเรียนสุภาพบุรุษ

'THAI FIGHT วชิราวุธ' โดย สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ภายใต้การนำของ พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา นายกสมาคมฯ ร่วมน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ฉลองครบรอบ 111 ปี โรงเรียนสุภาพบุรุษ วชิราวุธวิทยาลัย สืบสานกีฬาลูกผู้ชาย

โดยเต็มไปด้วยยอดมวยดังมากมาย อาทิ แสนชัย, ไทรโยค, สุดสาคร, เต็งหนึ่ง, ป.ต.ท., กิตติ, น้องโอ, เพชรธงชัย, เวโร และฟ้าลิขิต เตรียมขึ้นชกบนสังเวียน

ในวันอาทิตย์ที่ (16 ตุลาคม 2565) ณ เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ ฟร้อนท์ กรุงเทพมหานคร เริ่มถ่ายทอดสดเวลา 18.00 - 21.40 น. ทางช่อง 8 (กดเลข 27) ประตูเปิดเวลา 16.00 น. ชมฟรี (ที่นั่งมีจำนวนจำกัด) ผู้เข้าชมต้องสวมหน้ากากอนามัย และเว้นระยะห่าง


ที่มา : https://www.facebook.com/story.php?story_fbid=5603927149667548&id=137994476260870&m_entstream_source=permalink

6 ตุลาคม พ.ศ.2519 เหตุการณสังหารหมู่นักศึกษา หนึ่งในวันสุดอัปยศในประวัติศาสตร์ไทย

วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่า เป็นวันสุดอัปยศเมื่อเจ้าหน้าที่รัฐบาลและกลุ่มฝ่ายขวาหลายกลุ่มร่วมมือกันก่อการสังหารหมู่นักศึกษาและประชาชน ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

จุดเริ่มต้น สืบเนื่องจากเหตุการณ์ประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยของประชาชนในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ได้ทำให้รัฐบาลเผด็จการทหารของจอมพลถนอม กิตติขจร พ้นจากอำนาจ และต้องเดินทางออกนอกประเทศพร้อมจอมพลประภาส จารุเสถียร และพ.อ.ณรงค์ กิตติขจร

แต่นับตั้งแต่กลางปี 2518 มีสัญญาณว่าเผด็จการทหารกลุ่มเดิมกำลังวางแผนที่กลับคืนสู่อำนาจอีกครั้ง และในวันที่ 19 กันยายน 2519 จอมพลถนอม ที่ถูกขับไล่ออกนอกประเทศและลี้ภัยอยู่ที่สหรัฐฯ ได้เดินทางกลับประเทศไทยด้วยการบวชเป็นสามเณรเข้ามา โดยอ้างต่อสาธารณชนว่าตนจะอยู่ใต้ร่มกาสาวพัสตร์ มิได้มุ่งแสวงหาอำนาจ และต้องการมาเยี่ยมบิดาที่ใกล้ถึงแก่กรรม

สามเณรถนอมออกจากสนามบินมุ่งตรงไปยังวัดบวรนิเวศวิหารเพื่อเข้ารับการอุปสมบท แต่มวลชนจำนวนมากยังไม่เชื่อว่าสามเณรถนอมปรารถนาความหลุดพ้นจริงๆ (สุดท้ายเขาก็สึกในปีต่อมา ก่อนเรียกร้องให้รัฐบาลคืนทรัพย์สินของเขาที่ถูกยึดไปด้วยข้อหาทุจริต) จึงพากันออกมาประท้วง

แต่นักกิจกรรมถูกตอบโต้กลับอย่างรุนแรง ในวันที่ 24 กันยายน พ.ศ.2519 พนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคถูกฆ่าแขวนคอขณะออกไปปิดใบประกาศประท้วงการกลับมาของถนอม จากนั้นในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2519 นักศึกษาได้แสดงละครแขวนคอเพื่อประท้วงการใช้ความรุนแรง ซึ่งเชื่อว่าเจ้าหน้าที่รัฐมีส่วนเกี่ยวข้อง และต่อต้านความพยายามใด ๆ ที่จะนำพาประเทศกลับสู่ระบบเผด็จการอีกครั้ง

วันต่อมา 'ดาวสยาม' หนังสือพิมพ์ฝ่ายขวาได้กล่าวหานักศึกษาที่แสดงละครแขวนคอว่าหมิ่นพระบรมโอรสาธิราช พร้อมด้วยข้อหาล้มสถาบันกษัตริย์ ภาพจากหนังสือพิมพ์ดาวสยาม (ซึ่งมีการถกเถียงกันว่ามีการตกแต่งภาพหรือไม่ และหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นฉบับอื่นมีส่วนสมคบคิดกับดาวสยามหรือไม่) ถูกนำไปปลุกระดมให้ลูกเสือชาวบ้านและกลุ่มฝ่ายขวาอื่น ๆ เข้าปิดล้อมธรรมศาสตร์ ที่มีนักศึกษานับพันคนชุมนุมประท้วงกันอยู่

วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 คือวันที่เกิดเหตุการณ์ที่น่าเศร้าสลดที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทยเมื่อกองกำลังติดอาวุธซึ่งมีเจ้าหน้าที่รัฐอย่างตำรวจตระเวนชายแดน และลูกเสือชาวบ้านเป็นแกนนำได้ใช้กำลังเข้าทารุณกรรม และสังหารชีวิตของนักศึกษาอย่างไร้ปราณี ด้วยข้อหาเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ โดยมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 46 ราย (บางแหล่งอ้างถึงหลักร้อยราย)

การที่กองกำลังตำรวจตระเวนชายแดนซึ่งมิได้ประจำการอยู่ในกรุงเทพฯ ได้เคลื่อนพลเข้ามากวาดล้างนักศึกษาในครั้งนี้ ทางรัฐบาลของนายเสนีย์ ปราโมช ยืนยันว่ามิได้เป็นผู้ออกคำสั่ง และยังอ้างว่าเขามิได้มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับการสังหารหมู่ โดยกล่าวว่า ทางรัฐบาลสั่งให้เจ้าหน้าที่จับกุมตัวนักศึกษาที่มีส่วนกับการแสดงละครแขวนคอเท่านั้น มิได้สั่งให้ยิงนักศึกษาแต่อย่างใด

เหตุสังหารหมู่ที่เกิดขึ้น กลายเป็นข้ออ้างให้ พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดในขณะนั้น ประกาศยึดอำนาจ พร้อมกล่าวประณามนักการเมือง และความไร้ประสิทธิภาพของระบอบประชาธิปไตย

7 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ย้อนเหตุการณ์สลายม็อบพันธมิตรฯ ความรุนแรงที่นำไปสู่การบาดเจ็บและเสียชีวิต

ย้อนอดีต 7 ตุลาคม พ.ศ. 2551 อีกหนึ่งหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทย กับเหตุการณ์ชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยหรือกลุ่มคนเสื้อเหลือง ที่ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจสลายการชุมนุม มีผู้บาดเจ็บ 443 คน เสียชีวิต 2 คน

ในช่วงปี 2551 ในสมัยพรรคพลังประชาชนเป็นรัฐบาล เกิดการชุมนุมทางการเมืองของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่การเคลื่อนขบวนแบบดาวกระจาย การปิดกั้นเส้นทางโดยรอบทำเนียบรัฐบาล หรือกระทั่งการเข้าบุกยึดทำเนียบรัฐบาล แม้จะมีความพยายามยุติการชุมนุม มีการเผชิญหน้า แต่ก็ไม่ได้เกิดการปะทะกันอย่างรุนแรง ระหว่างเจ้าหน้าที่กับกลุ่มผู้ชุมนุม

กระทั่งถึงวันที่ 7 ตุลาคม 2551 ซึ่งเป็นวันที่นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น จะต้องกล่าวแถลงนโยบายต่อรัฐสภา กลายเป็นวันที่เกิดการปะทะกันรุนแรงที่สุด ระหว่างเจ้าหน้าที่กับกลุ่มผู้ชุมนุม ที่ปิดล้อมโดยรอบอาคารรัฐสภา มีการใช้แก๊สน้ำตาเพื่อจะเปิดทางให้รัฐมนตรี และ ส.ส. ที่อยู่ในรัฐสภา สามารถเดินทางออกมาได้ หลังการแถลงนโยบายเสร็จสิ้น ซึ่งการสลายการชุมนุมในครั้งนั้น ทำให้ผู้ชุมนุมบาดเจ็บ และเสียชีวิต เป็นที่มาของการตัดสินคดีในวันนี้

8 ตุลาคม วันคล้ายวันประสูติ ‘พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์’ ทรงพระเจริญ

ข้าพระพุทธเจ้า คณะผู้บริหารและพนักงาน สำนักข่าวออนไลน์ The States Times

8 ตุลาคม พ.ศ. 2525 วันประสูติ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ เป็นพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี กับวีระยุทธ ดิษยะศริน เป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร กับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และเป็นพระภาคิไนยในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระประวัติ
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ หรือพระนามลำลองว่า พระองค์หริภา ประสูติเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2525 ณ พระตำหนักใหม่ สวนจิตรลดา เป็นพระธิดาพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี กับนาวาอากาศเอกวีระยุทธ ดิษยะศริน มีพระขนิษฐาหนึ่งพระองค์ คือพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ

9 ตุลาคม พ.ศ. 2538 ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช นายกรัฐมนตรีคนที่ 13 ของไทย ถึงแก่อสัญกรรม

ศาสตราจารย์ พลตรี หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช นายกรัฐมนตรีคนที่ 13 ของประเทศไทย เป็นผู้ก่อตั้งพรรคประชาธิปัตย์ พรรคกิจสังคม หนังสือพิมพ์สยามรัฐ และเป็นนักเขียน 

โดยในวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ทางองค์การยูเนสโกได้ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์เป็นบุคคลสำคัญของโลกใน 4 สาขา ได้แก่ การศึกษา วัฒนธรรม สังคมศาสตร์ และสื่อสารมวลชน ในวาระครบรอบ 100 ปี ชาตกาล พ.ศ. 2554

ในบทบาทนักเขียน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ได้เขียนนวนิยาย สี่แผ่นดิน, ไผ่แดง, กาเหว่าที่บางเพลง, ซูสีไทเฮา, สามก๊กฉบับนายทุน, ราโชมอน, ฮวนนั้ง, โจโฉ, นายกตลอดกาล รวมเรื่องสั้น เช่น มอม, เพื่อนนอน, หลายชีวิต หนังสือสารคดี เช่น ฉากญี่ปุ่น, ยิว, เจ้าโลก, สงครามผิว, คนของโลก, ชมสวน, ธรรมคดี, น้ำพริก, ฝรั่งศักดินา, สรรพสัตว์, สัพเพเหระคดี, ข้อคิดเรื่อง เกิด แก่ เจ็บ ตาย, โครงกระดูกในตู้, พม่าเสียเมือง, ถกเขมร, เก็บเล็กผสมน้อย, เบ้งเฮ็ก ผู้ถูกกลืนทั้งเป็น, เมืองมายา, เรื่องขำขัน, กฤษฎาภินิหารอันบดบังมิได้, คนรักหมา, ตลาดนัด, นิกายเซน, บันเทิงเริงรมย์, วัยรุ่น, สงครามเย็น, อโรคยา, สยามเมืองยิ้ม, ห้วงมหรรณพ รวมถึงบทละครเวทีเรื่อง ลูกคุณหลวงและราโชมอน

เรื่องรักนักเรียนนายร้อย ตอนที่ 1 : รักแรกพบที่โต๊ะจีน

ในที่สุดผมก็ได้เข้ามาเรียนในโรงเรียนนายร้อยแล้วครับ ซึ่งผมเป็นนักเรียนนายร้อย จปร. รุ่นที่ 40 และเป็นนักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 29

ต้องบอกก่อนว่าการจะเข้ามาเรียนที่โรงเรียนนายร้อยได้ มันไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ผมต้องอาศัยความมานะและอดทนพอสมควรกว่าจะพาตัวเองที่มีความฝันให้เข้ามาเรียนที่โรงเรียนแห่งนี้ ซึ่งที่นี่ก็มีทั้งการเรียนและการฝึกนะครับ ในส่วนของวิชาการเรียนก็มีทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ สังคมศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และอื่นๆ อีกมากมายเลย หรือจะบอกว่าการเรียนที่นี่เหมือนกับนักศึกษาระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยทั่วไปก็ไม่ผิด นอกจากนี้ก็มีการเรียนวิชาทหารด้วย ใช้เวลา 1 ปี แบ่งเป็น 2 เทอมนะครับ

ในส่วนของการฝึกที่ผมได้บอกไป ที่นี่จะฝึกวิชาทหาร โดยจะมีฝึกในเทอมสุดท้ายในหน่วยทหารต่างๆ ทั่วประเทศ

โรงเรียนนายร้อยแห่งนี้เป็นโรงเรียนประจำ หรือเรียนอีกแบบก็คือ ‘โรงเรียนกินนอน’ ซึ่งจะมีที่พักในโรงเรียน มีการปกครองดูแลจากนายทหารปกครอง และนักเรียนนายร้อยรุ่นพี่ๆ อีกมากมาย

ต้องขอบอกก่อนเลยว่าการอยู่ที่โรงเรียนนายร้อยเป็นเวลา 5 ปี ทำให้ผมได้ปรับเปลี่ยนบุคลิกภาพ แนวคิด และอุดมการณ์ในชีวิตในเวลาต่อมา

ถ้าผู้อ่านอยากรู้เรื่องราวโดยละเอียด และมีความสนุกสนานอย่างไร ก็คงต้องหาหนังสือ best sellers ในยุคหนึ่งมาอ่านดูครับ โดยหนังสือชื่อว่า 'กว่าจะเป็นนายร้อย จปร.'

เอาล่ะครับ มาฟังเรื่องรักจากนักเรียนนายร้อยกันดีกว่า ต้องบอกเลยว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องแต่งนะครับ ผมขอสมมติว่า พระเอกของเรื่องชื่อ 'นักเรียนนายร้อย ก.' มีพระเอกก็ต้องมีผู้ร้ายนะครับ ผู้ร้ายมีชื่อว่า 'นักเรียนนายร้อย ส.' และมีตัวตลกชื่อ 'นักเรียนนายร้อยจ้ำ' นะครับผม

เหตุการณ์เริ่มต้นขึ้นเมื่อ ปลายปี 2531 สมัยที่พลเอกชาติชาย ชุณหวัณ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครับ ในตอนนั้นได้มีนโยบายที่จะทำให้นักเรียนนายร้อยได้รู้จักกับนักเรียนพยาบาลของทุกเหล่าทัพ เพื่อให้ได้ใช้ประโยชน์ในการประสานงานช่วยเหลือกันในยามสงคราม (อันนี้ผมคิดเอง)

แต่ก็มีคนบางส่วนบอกว่า เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณของกองทัพ ถ้าสมมติว่า มีใครได้รักและแต่งงานกันก็จะใช้บ้านเพียงหลังเดียว ไม่ต้องใช้บ้านหลายหลังเหมือนกับคนที่เป็นโสด (มีรุ่นพี่บอกผมมาครับ)

นักเรียนนายร้อย ก. นักเรียนนายร้อย ส. และนักเรียนนายร้อยจ้ำ ก็เป็นนักเรียนนายร้อยปีที่ 1 เรียกว่าเล็กสุดในโรงเรียนเลยครับ แต่ก็ถูกกำหนดให้มาร่วมในงานในครั้งนี้ด้วย 

ณ ห้องนอนนักเรียนนายร้อย 

หลังจากอาบน้ำจนสบายตัว ประแป้ง ทาโรลออน และฉีดน้ำหอมจนฟุ้งทั่วตัวแล้ว นักเรียนนายก. และนักเรียนนายร้อยจ้ำ ก็ได้มานั่งคุยกันในเรื่องภารกิจแปลกๆ ที่ได้ยินมา

“เฮ้ย ก. หัวหน้าหมู่บอกว่า วันนี้ต้องได้ชื่อและที่อยู่ พยาบาลที่จะมากินเลี้ยงงานคืนนี้” นักเรียนนายร้อยจ้ำพูดขึ้น ทว่านักเรียนนายร้อย ก. กลับไม่ได้รู้สึกตื่นเต้นใดๆ

“แล้วไงต่อ?” นักเรียนนายร้อย ก.ถามกลับด้วยน้ำเสียงเรียบๆ 

“ภารกิจคือ ให้พยาบาลตอบจดหมายมาให้ได้” นักเรียนนายร้อย จ้ำ อธิบายให้เพื่อนฟังต่อ 

“เรียกว่า จีบให้ได้ ว่างั้นใช่ไหม?” นักเรียนนายร้อย ก.ถามกลับอย่างรู้ทัน

“ใช่” นักเรียนนายร้อย จ้ำ ตอบ

“เวลามันสั้นแค่นี้จะเป็นไปได้อย่างไง?” นักเรียนนายร้อย ก. ตั้งคำถาม ทว่านักเรียนนายร้อยจ้ำไม่ได้รู้สึกว่าสิ่งที่เพื่อนถามเป็นอุปสรรคแต่อย่างใด

นักเรียนนายร้อยจ้ำ หวีผมปาดซ้ายขวาสองครั้งที่หน้ากระจกเล็กๆ ในตู้เสื้อผ้า ก่อนตอบเสียงดังว่า

“ด้วยหน้าตาและภารกิจที่ได้รับมอบ ไม่มีอะไรที่นักเรียนนายร้อยทำไม่ได้หรอกนะ” 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top