เปิดตัวขุนพล ‘พรรคใหญ่’ ชิงชัยเก้าอี้ ส.ส. พังงา ใครได้หมายเลขไหน? อย่าจำผิด!!
สำหรับ 2 เขตของจังหวัดพังงา ตามการแบ่งเขตของ กกต. มีดังนี้

สำหรับ 2 เขตของจังหวัดพังงา ตามการแบ่งเขตของ กกต. มีดังนี้
เมื่อวันที่ 28 เม.ย. 66 นายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า เข้าร่วมดีเบต ‘เวลาของเศรษฐกิจปากท้อง’ ทางช่อง 3 ดำเนินรายการโดย นายสรยุทธ สุทัศนะจินดา โดยได้หยิบยกประเด็นค่าไฟแพงมาดีเบต โดยนายกรณ์ กล่าวว่า ปัญหาเรื่องค่าไฟฟ้าแพง รัฐบาลแก้ได้ทันที แต่ไม่ยอมแก้ เพราะเกรงใจนายทุนใหญ่ และโครงสร้างระบบพลังงานมีปัญหา เพราะค่าไฟ สะท้อนปัญหาระบบโครงสร้างของเศรษฐกิจเรา พรรคชาติพัฒนากล้า เรียกร้องมาตั้งแต่ค่าการกลั่น ราคาน้ำมันแพงเกินจริง ถ้าแก้วันนั้นสามารถลดราคาทันที 8 บาท ก็ไม่ทำ เราเสนอให้เก็บภาษีลาภลอย ก็ไม่ทำ ซึ่งเรื่องนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานไม่ชี้แจง และไม่ยอมมาขึ้นเวทีดีเบตที่ไหนเลย ค่าไฟฟ้ามีปัญหาตั้งแต่เดือนมีนาคม ถ้าดำเนินการตอนนั้น วันนี้ก็ไม่ต้องมาเสนอ กกต.ขอใช้งบกลางเพื่อช่วยลดภาระให้กับประชาชน ซึ่งมันไม่ใช่ทางออก
นายกรณ์ กล่าวว่า ปัญหาค่าไฟเป็นประเด็นที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานยังไม่ได้ตอบ คือ ค่าก๊าซที่ทาง กฟผ.ซื้อแพงกว่าปิโตรเคม เพราะต้นตอปัญหามาจากการผูกขาด ต้องมาดูว่าใครมีอำนาจขายก๊าซแต่เพียงผู้เดียว ดูว่าใครถือหุ้นใหญ่ จะได้แก้ปัญหาเรื่องนี้ได้ตรงจุด พรรคชาติพัฒนากล้าเราเสนอให้ยกเว้นค่าเอฟทีไปเลย 3 เดือน เพราะขณะนี้ต้นทุนก๊าซลดลงอย่างรวดเร็ว กำลังการผลิตในอ่าวไทยก็มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น และตอนที่ผลิตได้ลดก็เพราะความผิดพลาดที่มีการโอนสัมปทานให้เชฟรอน ทำให้ต้องไปนำเข้าก๊าซแอลเอ็นจี ในช่วงที่มีราคาแพงมากเนื่องจากภาวะสงคราม มันไม่ใช่ความผิดของประชาชน แต่ถูกโยนให้แบกภาระต้นทุนค่าไฟอย่างไม่เป็นธรรม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในระหว่างที่การดีเบตดำเนินการไปอย่างเข้มข้น นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้โทรศัพท์เข้ามาเพื่อขอชี้แจง โดยผู้เข้าร่วมดีเบตทุกคนต้องการให้นายสุพัฒน์พงษ์ เข้ามาชี้แจงเอง แต่เจ้าตัวบอกติดภารกิจที่พรรคจึงไม่สะดวก จึงขอชี้แจงทางโทรศัพท์แทน ซี่งนายกรณ์ ได้ถามว่า ทำไมถึงเพิ่งเริ่มคิดเยียวยาค่าไฟในช่วงนี้ ซึ่งในสุพัฒน์พงษ์ กล่าวว่า ได้ดำเนินการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางมาตั้งแต่ปีที่แล้ว และที่ต้องขึ้นค่าไฟเดือนพฤษภาคม ก็เพราะกว่าจะทราบว่าต้นทุนค่าไฟเท่าไรคือวันที่ 1 เมษายน ซี่งนายกรณ์ บอกว่าตนทราบว่า กกพ.มีมติจะขึ้นค่าไฟตั้งแต่เดือนมีนาคม เป็นไปไม่ได้ที่ท่านจะทราบเดือนเมษายน เพราะมติ กกพ.ออกมาวันที่ 22 เมษายน ที่ผ่านมา มีการอนุมัติราคาใหม่มาแล้ว พอมีการท้วงติงท่านก็ลนลานมาแก้ปัญหาลดราคาให้ประชาชน 2 สตางค์ แต่ไม่ได้มีมาตรการชดเชยเยียวยาให้กับประชาชนแต่อย่างใด
นายกรณ์ กล่าวด้วยว่า ในสมัยรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี มีการลงนามในสัญญากับเอกชนผลิตไฟฟ้า 5,000 เมกะวัตต์ ในช่วงที่เป็นรัฐบาลรักษาการ ซึ่งเป็นความผิดปกติ และผิดพลาด ที่ทำให้ต้นทุนค่าไฟที่เพิ่มขึ้น แล้วโยนภาระนี้ให้ประชาชนแบกมันไม่เป็นธรรม เราตกอยู่ในสภาพที่ทุนใหญ่อยู่เหนือการเมืองผูกขาดมาโดยตลอด ทางออกในเรื่องนี้ คือ ต้องเปลี่ยนผู้มีอำนาจในรัฐบาลที่เชื่อมโยงกับทุนผูกขาด เพื่อให้การเมืองเป็นอิสระจากทุนผูกขาดทุกรูปแบบ
เมื่อวันที่ 28 เม.ย. 66 ที่จังหวัดจันทบุรี ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย คณะผู้บริหาร และแกนนำพรรค อาทิ น.ส.มนัญญา ไทยเศรษฐ์ ได้ลงพื้นที่ช่วย นายธวัชชัย อนามพงษ์ ผู้สมัคร ส.ส.จันทบุรี เขต 1 เบอร์ 6 หาเสียง โดยนายอนุทิน และคณะ ได้เข้ากราบสักการะ และขอพรศาลพระเจ้าตากสินมหาราช และศาลเจ้าพ่อหลักเมืองจันทบุรี ก่อนร่วมหารือสมาคมอัญมณี และเครื่องประดับ สมาคมสว่างกตัญญูธรรมสถาน จากนั้น ขึ้นรถแห่รอบเทศบาลเมืองจันทบุรี และบริเวณโดยรอบตลาดน้ำพุ – ตลาดโต้รุ่ง – บริเวณสนามทุ่งนาเชย ก่อนลงพื้นที่พบปะประชาชนบริเวณชุมชน โดยได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นจำนวนมาก
นายอนุทิน กล่าวว่า การลงพื้นที่เพื่อช่วยผู้สมัครแนะนำนโยบาย และสร้างกำลังใจให้กับผู้สมัคร ไปจนถึงการเข้ามารับฟังปัญหาของประชาชน เพื่อไปหาทางแก้ไข สำหรับผู้สมัครของพรรคภูมิใจไทย คุณสมบัติเด่นๆ คือ ทุกคนมีความผูกพันกับชาวบ้าน รู้ปัญหา ทำงานเป็น มีประสบการณ์ เราเลือกคนที่เหมาะสมในการรับใช้ประชาชน เราก็หวังว่าถ้าเรามีโอกาสได้เข้าไปทำงาน ก็มั่นใจว่าสิ่งที่เราเสนอประชาชน เราทำได้แน่นอน การมาจังหวัดจันทรบุรี นโยบายที่เสนอ ได้แก่ การพักหนี้ 3 ปี หยุดต้น ปลอดดอกเบี้ย คนละไม่เกิน 1 ล้านบาท เงินกู้ฉุกเฉิน 50,000 บาท นโยบายกลุ่มนี้ มันมาจากที่เรามองว่าโควิด-19 สร้างผลกระทบให้กับพี่น้องคนไทยจำนวนมากที่ต้องไปกู้เงินมาใช้ในการดำรงชีวิต เงินที่ไปกู้นั้นกลายมาเป็นดอกเบี้ย ที่ทำให้พี่น้องขยับลำบาก เราเลยเสนอทางออก ให้พวกเขาได้เวลาได้คิด ได้หายใจ นี้คือที่มาของนโยบายพักหนี้ ส่วนเรื่องเงินกู้ฉุกเฉิน เราเชื่อว่า ทุกคนสามารถเกิดอุบัติเหตุกับชีวิตได้ และบางคน เลือกไปกู้หนี้นอกระบบ กลายมาเป็นดอกเบี้ยมหาศาล ภาครัฐ ต้องเข้าไปช่วยเหลือ
เมื่อไม่นานมานี้ ในรายการ THE STANDARD NOW MINI DEBATE จัดวงดีเบต 4 นักการเมืองหญิง จากทั้ง 4 พรรคการเมือง ผ่าน ‘นโยบายสะท้อนจุดยืนพรรค’ ผู้สมัครร่วมดีเบต ได้แก่ ดร.ลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย และรักษาการโฆษกพรรคเพื่อไทย, นางอมรรัตน์ โชคปมิตต์กุล กรรมการบริหารพรรคก้าวไกล, ดร.มัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข อดีตกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ และผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ และ ดร.บุณณดา สุปิยพันธุ์ ผู้สมัคร ส.ส.กทม. (เขตบางพลัด-บางกอกน้อย) พรรคพลังประชารัฐ
โดยหนึ่งในประเด็นดีเบตที่ดุเดือดอยู่ที่มาตรา 112 ซึ่งได้สอบถามต่อ นางอมรรัตน์ โชคปมิตต์กุล กรรมการบริหารพรรคก้าวไกล ต่อจุดยืนในการแก้ไขมาตรา 112 ว่ายังแก้แน่นอนใช่หรือไม่?
นางอมรรัตน์ กล่าวว่า “แก้ไขแน่นอน เพราะมาตรา 112 เป็นกฎหมายที่ปิดปาก ต้องแก้ไข เพื่อทำให้ทุกคนสามารถพูดคุยในประเด็นนี้ได้อย่างเสมอภาค”
ภายหลังนางอมรรัตน์ ตอบคำถามเสร็จ ด้าน ดร.มัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ก็ได้โต้กลับว่า...
“มาตรา 112 เป็นกฎหมายทางด้านความมั่นคง และสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ ถ้าเราไม่แตะต้อง ไม่ไปยุ่งเกี่ยว ก็จะไม่มีอะไรเกิดขึ้นในเรื่องของการทำผิดกฎหมาย เมื่อสักครู่ คุณอมรรัตน์ บอกว่า เราทุกคนควรพูดเรื่องนี้ได้อย่างเสมอภาค หมายความว่า คุณจะพูดเสมอเจ้าเลยหรือ?
ขณะนี้เราทุกคนที่นั่งอยู่ตรงนี้ นั่งพูดกันได้อย่างเสมอภาค แต่พวกเราทุกคนก็มีกฎหมายหมิ่นประมาทส่วนบุคคลคุ้มครองอยู่ หากดิฉันด่าคุณอมรรัตน์ แล้วผิดกฎหมายหมิ่นประมาท คุณก็สามารถไปแจ้งความดิฉันได้ นี่คือ กฎหมายหมิ่นประมาทที่ดูแล คุ้มครองบุคคลเดินดินทั่วๆ ไป อย่างที่ดิฉันเคยไปหมิ่นประมาทคุณยิ่งลักษณ์ เขาก็ฟ้องดิฉัน 5 ปี และดิฉันก็ชนะคดี แต่ดิฉันต้องเสียเวลาไปตั้ง 5 ปี นี่คือกฎหมายหมิ่นประมาทบุคคลทั่วไป
ดิฉันเป็นแค่คนธรรมดา ดิฉันยังมีกฎหมายนี้ดูแลเลย แล้วเหตุใดสถาบันสำคัญของชาติ จะไม่มีกฎหมายคุ้มครองดูแล มันชัดเจนอยู่แล้วว่า ประเทศไทยเราเป็นสังคมที่มีอารยธรรม มีวิถี และวัฒนธรรม
อย่างที่ประเทศฝรั่งเศส เขาก็มีกฎหมายที่จำเป็นต่อผู้นำของประเทศเขา อเมริกาก็มีกฎหมายคุ้มครองผู้นำเช่นกัน เคยมีคนไปหมิ่นประมาทภรรยาของบารัค โอบามา เขาก็โดนฟ้องเหมือนกัน
เมื่อวันที่ 28 เม.ย. 66 ที่ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) พร้อมแกนนำพรรค นายสันติ พร้อมพัฒน์ เลขาธิการพรรค, นายวิรัช รัตนเศรษฐ รองหัวหน้าพรรค, ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ประธานยุทธศาสตร์การเลือกตั้งภาคเหนือ, นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ เหรัญญิกพรรค, นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ และแกนนำภาคใต้, นายคณิศ แสงสุพรรณ ทีมนโยบายพรรค ปราศรัยนำเสนอนโยบาย และแนะนำผู้สมัคร ส.ส.สงขลา ทั้ง 9 เขต ได้แก่
เขต 1 นายภวัต นิตย์โชติ เบอร์ 7
เขต 2 นายอดิสัณห์ ชัยวิวัฒน์พงศ์ เบอร์ 6
เขต 3 นายอาทิตย์ สุวิทย์ เบอร์ 5
เขต 4 นายชนนพัฒฐ์ นาคสั้ว เบอร์ 1
เขต 5 นายญาณพง เพชรบูรณ์ เบอร์ 6
เขต 6 นายอนุกูล พฤกษานุศักดิ์ เบอร์ 5
เขต 7 นายธเนศ ล่องนาวา เบอร์ 7
เขต 8 นายธีรพงศ์ ดนสวี เบอร์ 3
เขต 9 นายล่องหิ้น ทิพย์แก้ว เบอร์ 2
ทั้งนี้ ได้มีประชาชนมาร่วมรับฟังการปราศรัยเต็มความจุศูนย์ประชุมฯ พร้อมส่งเสียงเชียร์เบอร์ 37 และโบกธงโลโก้พรรคเพื่อให้กำลังใจ
พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า พรรค พปชร.นำเสนอนโยบายที่เป็นประโยชน์ ทั้งเพิ่มเงินบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 700 บาทต่อเดือน ลดราคาพลังงาน ทั้งราคาน้ำมัน ราคาแก๊ส และค่าไฟฟ้า ทันทีที่เข้ามาเป็นรัฐบาล เพื่อมอบความสุขให้ประชาชนด้วยความจริงใจ จะทำทุกอย่างเพื่อให้ประชาชนอยู่ดีกินดีขึ้น
นอกจากนี้ ยังมีนโยบายดูแลทุกช่วงวัย ‘แม่ บุตร ธิดา ประชารัฐ’ แจกเงินคนท้อง เดือนละ 10,000 บาท เป็นเวลา 5 เดือนจนกว่าจะคลอด และเงินช่วยดูแลบุตรเดือนละ 3,000 บาท จนถึง 6 ขวบ เพื่อให้สตรีมีขวัญกำลังใจในการช่วยกันเพิ่มประชากร รวมถึงนโยบาย มีเราไม่มีแล้ง มีน้ำไม่มีจน มีที่ดินทำกิน ไม่มีจน เราจะทำให้ประชาชนทั่วทั้งประเทศมีที่อยู่ที่อาศัย และมีเงินสนับสนุนเงินให้เกษตรกร ทั่วประเทศ จำนวน 30,000 บาท ทั้ง 8 ล้านครอบครัว เพื่อแก้ปัญหาความยากจน
ด้านนายนิพิฏฐ์ กล่าวปราศรัยว่า ถ้าเลือกพรรค พปชร.หมายความว่า ประชาชนเลือกตัวแทนที่จะเข้าไปเป็นรัฐบาลที่จะมาดูแลพวกเราอย่างเต็มศักยภาพ ทำให้ชีวิตของชาวใต้ยกระดับขึ้น ขอให้ทุกคนคิดว่า การเลือกตั้งครั้งนี้จะได้รับอะไรคืนมา ประเทศไทยวันนี้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ พรรคพลังประชารัฐจึงเล็งเห็นความสำคัญของผู้สูงอายุในประเทศไทยทุกคน ด้วยการมอบสวัสดิการดูแลเป็นรายเดือน รวมไปถึงอนาคตของลูกหลานของเรา ก็ต้องได้รับการดูแลตั้งแต่คลอดออกมา และต้องมีการศึกษาที่ดี เพื่อที่จะได้เติบโตไปอย่างมีศักยภาพและจะเป็นกำลังในการพัฒนาประเทศไทยของเราต่อไป ซึ่งคนทั้ง 2 กลุ่มถือว่าเป็นกลุ่มเปราะบาง ปกป้องให้พวกเขาเดินไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคงและเข้มแข็ง
นางนฤมล กล่าวว่า เรามั่นใจว่าเราจะได้รับความเมตตาจากพี่น้องที่นี่ ผู้สมัครครั้งนี้แม้หน้าตาจะเปลี่ยนไป แต่เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น การเลือกตั้งครั้งนี้ทุกพรรคการเมืองมีนโยบายที่จะเข้ามาดูแลสวัสดิการของประชาชน แต่พรรค พปชร.เป็นพรรคแรกที่พูดแล้วทำจริง ตั้งแต่ปี 62 และครั้งนี้ก็เช่นกัน เราต้องการจะเข้ามาดูแลพี่น้องประชาชนคนไทยทั้งประเทศ ให้เข้าถึงสวัสดิการขั้นพื้นฐาน ที่เป็นสิ่งจำเป็นในการใช้ชีวิตประจำวัน เด็กเกิดมาก็ต้องได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ ประชาชนทั่วไปต้องได้รับการส่งเสริมให้มีอาชีพ เพื่อที่เขาจะสามารถสร้างรายได้ด้วยตัวเองให้ได้ สิ่งนี้ภาครัฐก็จะต้องเข้าไปดูแลเช่นกัน
“เมื่อ 4 ปีที่แล้ว เราพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ครั้งนี้หลังจากวันที่ 14 พ.ค.เมื่อเราเข้าไปเป็นรัฐบาลบริหารประเทศต่อ จะพัฒนาเศรษฐกิจภาคใต้ ผลักดันให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ให้มีความเจริญมากขึ้น จึงขอฝากผู้สมัครทั้ง 9 คน ของพรรค”
ดร.หิมาลัย ผิวพรรณ ผู้ประสานงานพรรครวมไทยสร้างชาติ และ ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการตำรวจ สภาผู้แทนราษฎร ถามนายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ผู้สมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กรณีดรามางานศพคุณพ่อของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล บนเวทีไทยรัฐดีเบต ที่จัดขึ้นที่ภาคเหนือ เมื่อวันที่ 28 เม.ย. 66 ว่า “ผมถามคุณวิโรจน์คำเดียว ตกลงหัวหน้าพรรคคุณไปงานศพทันหรือไม่ทันครับ...แต่ผมก็ชื่นชมคุณพิธาที่เป็นคนประนีประนอมนะครับ เพราะถ้าตอบทัน ก็เกรงคุณสรยุทธจะเสียใจ ถ้าตอบไม่ทัน ก็เกรงคุณแหม่มสุริวิภาจะเสียใจ ก็เลยตอบทันครึ่ง ไม่ทันครึ่ง”
แม้เวลาของการหาเสียงเลือกตั้งจะเหลืออยู่เพียง 10 กว่าวัน แต่สำหรับสนามเลือกตั้ง 10 เขต ของนครศรีธรรมราช ถือเป็นสนามหินสำหรับทุกพรรคการเมือง ไม่ใช่สนามหญ้า หรือถนนที่โรยด้วยกลีบกุหลาบ ไม่เว้นแม้แต่พรรคการเมืองเก่าอย่างประชาธิปัตย์ที่เคยยึดครองเมืองคอนมายาวนาน
การเลือกตั้งปี 2562 พรรคประชาธิปัตย์ได้มีแค่ 4 ที่นั่งจากทั้งหมด 8 ที่นั่ง กล่าวได้ว่า ได้มาแค่ครึ่งเดียว ยกให้พลังประชารัฐไปครึ่งหนึ่ง คือ ดร.รงค์ บุญสวยขวัญ สายัณห์ ยุติธรรม สัญหพจน์ สุขศรีเมือง และมาได้เพิ่มอีก 1 ในการเลือกตั้งซ่อม แทนเทพไท เสนพงศ์ ที่อาญาสิทธิ์ ศรีสุวรรณ ได้รับเลือกตั้งเข้ามาแทนในครึ่งเทอดหลัง
กล่าวสำหรับการเลือกตั้งครั้งนี้ (2566) นครศรีธรรมราชได้ ส.ส.เพิ่มจาก 8 คน เป็น 10 คน แน่นอนว่ามีพรรคการเมืองหลายพรรคหมายมั่นปั้นมือว่าจะต้องมาแย่งเก้าอี้ตรงนี้ไป และมีหลายพรรคการเมืองหวังว่าจะปักธงในเมืองคอนให้ได้ แน่นอนว่าประชาธิปัตย์ในฐานะเจ้าของพื้นที่เดิมจะต้องรักษาฐานไว้ให้ได้ และทำอย่างไรจะขยายฐานเพิ่มขึ้นจาก 4 เป็น 5 เปึน 6 เป็น 7 หรือมากกว่า
แต่ไม่ง่ายสำหรับสถานการณ์ที่เปราะบาง มีหลายพรรคการเมืองจ้องเข้ามายึดครองแทน ทั้งพลังประชารัฐ, รวมไทยสร้างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพรรคภูมิใจไทย และหรือพรรคก้าวไกล, เพื่อไทย
กล่าวสำหรับพรรคภูมิใจไทย หมายมั่นปั้นมือว่าจะต้องปักธงเมืองคอนให้ได้ โดยเฟ้นหาตัวผู้สมัครฯ จัดจ้านมาลงสนาม และขุนพลที่เข้ามาคุมทัพ คือ ‘อารี ไกรนรา’ อดีต ส.ส.พรรคเพื่อชาติ ซึ่งถูกวางตัวให้เป็นมือวาง ขุนพลมือหนึ่งเข้ามาคุมยุทธศาสตร์นครศรีธรรมราช ด้วยความเป็นคนทุ่งใหญ่ แห่งตระกูล ‘ไกรนรา’
‘ไกรนรา’ ถือเป็นตระกูลใหญ่ย่านทุ่งใหญ่ ทุ่งสง และด้วยชื่อเสียงของ ‘อารี’ ถือว่าขายได้ ‘อารี’ ก้าวเดินออกจากเพื่อชาติ เดินเข้าสู่ภูมิใจไทย ด้วยเหตุผล คือ ‘ภูมิใจไทย’ คือคำตอบสำหรับคนใต้ ยิ่งมีวลีโดนใจ “พูดแล้วทำ” ยิ่งประทับใจ และภูมิใจในการก้าวเดินไปกับภูมิใจไทย
‘อารี’ คาดหวังว่าในช่วงบั้นปลายของชีวิตในวัย 70 ปี จะได้มีโอกาสกลับมารับใช้แผ่นดินเกิด เคยทำงานเพื่อที่อื่นมาเยอะมากแล้ว วันนี้เวลานี่ขอโอกาสกลับบ้าน มาทำงานเพื่อถิ่นกำเนิด
ตั้งแต่ก้าวเข้ามาในภูมิใจไทย ‘อารี’ ลุยพื้นที่มา 4 เดือน ดึงทีมงานเก่า-ใหม่ เข้ามาร่วมทีม
10 ผู้สมัครผ่านการคัดเลือก กลั่นกรองแบบ ‘คั้นหัวกะทิ’ มาแล้ว มากความรู้ มากประสบการณ์ พร้อมก้าวเดินรับใช้ชาติ-แผ่นดิน ด้วยลมหายใจของนักการเมืองที่พร้อมจะเสียสละ
“พรรคภูมิใจไทย คาดหวังทุกเขตทั้ง 10 เขตเลือกตั้ง สู้เต็มที่ ส่วนจะแพ้-ชนะ เป็นอำนาจของประชาชน และวันนี้พรรคภูมิใจไทย ถือเป็นคู่แข่งสำคัญในทุกเขตเลือกตั้ง” อารี กล่าว
(29 เม.ย. 66) น.ส.จิตภัสร์ กฤดากร หรือ ‘ตั๊น’ รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ผู้สมัคร ส.ส แบบบัญชีรายชื่อ ได้ลงพื้นที่หาเสียงให้กับนายกาญจน์ ตั้งปอง ผู้สมัคร ส.ส.ตรัง เขต 4 เบอร์ 2 พร้อมด้วย น.ส สุณัฐชา โล่สถาพรพิพิธ อดีต ส.ส.ตรัง ผู้สมัคร ส.ส.ตรัง เขต 3 เบอร์ 2 ณ ตลาดสดย่านตาขาว อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง โดยมีพี่น้องประชาชน พ่อค้า แม่ค้า ในตลาดให้การต้อนรับ มอบดอกไม้ และถ่ายภาพเป็นจำนวนมากก่อนเดินทางกลับกรุงเทพฯ
ผู้สื่อข่าวรายงานจากสนามบินตรังว่า ระหว่างที่ น.ส จิตภัสร์ เดินทางกลับ กทม. ได้พบกับพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะประธานคณะกรรมการกำหนดแนวทางและยุทธศาสตร์พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) และแคนดิเดตนายกฯพรรค รทสช.ที่ได้เดินทางมายังจังหวัดตรังเพื่อช่วยสมาชิกพรรคหาเสียง จึงได้ทักทายกันบริเวณประตูทางออก โดย พล.อ.ประยุทธ์ ได้อวยพร น.ส จิตภัสร์ว่า ขอให้โชคดี หายป่วยจากอาการบาดเจ็บจากการโดดร่ม และขอให้ช่วยกันทำการเมืองสร้างสรรค์ ทั้งนี้ มีประชาชนทั่วไปให้ความสนใจทั้ง พล.อ.ประยุทธ์ และ น.ส จิตภัสร์ ร่วมขอถ่ายภาพไว้เป็นที่ระลึกด้วย
(29 เม.ย. 66) ‘สวนดุสิตโพล’ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศต่อกรณี “คนไทยนิยมพรรคการเมืองใด (ก่อนเลือกตั้ง)” ระหว่างวันที่ 10-20 เมษายน 2566 เก็บข้อมูลทางภาคสนาม จำนวน 162,454 คน เป็นเพศชาย จำนวน 74,073 คน ร้อยละ 45.60 เพศหญิง จำนวน 88,381 คน ร้อยละ 54.40 โดยมีอายุระหว่าง 18 – 30 ปี จำนวน 31,627 คน ร้อยละ 19.47 อายุ 31 – 50 ปี จำนวน 72,808 คน ร้อยละ 44.82 และอายุ 51 ปีขึ้นไป จำนวน 58,019 คน ร้อยละ 35.71
โดยสำรวจในพื้นที่กรุงเทพฯ จำนวน 13,368 คน ร้อยละ 8.23 ภาคกลาง จำนวน 43,023 คน ร้อยละ 26.48 ภาคเหนือ จำนวน 27,664 ร้อยละ 17.03 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 53,865 ร้อยละ 33.16 และภาคใต้ จำนวน 24,534 คน ร้อยละ 15.10
พรรคการเมืองที่นิยมมากที่สุดในช่วงก่อนเลือกตั้ง คือ พรรคเพื่อไทย ร้อยละ 41.37 รองลงมาคือ พรรคก้าวไกล ร้อยละ 19.32 พรรคภูมิใจไทย ร้อยละ 9.55 พรรครวมไทยสร้างชาติ ร้อยละ 8.48 พรรคพลังประชารัฐ ร้อยละ 7.49 พรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 7.30 พรรคไทยสร้างไทย ร้อยละ 2.41 พรรคเสรีรวมไทย ร้อยละ 1.74 พรรคชาติไทยพัฒนา ร้อยละ 1.25 และพรรค อื่น ๆ ร้อยละ 1.09
เมื่อพิจารณาจำแนกตามอายุ พบว่า กลุ่มอายุ 18-30 ปี นิยมพรรคก้าวไกลมากที่สุด ร้อยละ 50.20 กลุ่มอายุ 31-50 ปี และกลุ่มอายุ 51 ปีขึ้นไป นิยมพรรคเพื่อไทยมากที่สุด ร้อยละ 44.59 และ ร้อยละ 44.92 ตามลำดับ
เมื่อพิจารณาจำแนกตามภูมิภาค พบว่า ในพื้นที่กรุงเทพฯ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นิยมพรรคเพื่อไทยมากที่สุด ร้อยละ 41.99, ร้อยละ 42.11, ร้อยละ 49.24 และร้อยละ 48.92 ตามลำดับ ส่วนภาคใต้นิยมพรรคประชาธิปัตย์มากที่สุด ร้อยละ 24.20
จากผลการสำรวจครั้งนี้ ภาพรวมกระแสความนิยมของพรรคเพื่อไทยแม้จะลดลงเล็กน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจของสวนดุสิตโพลช่วงก่อนยุบสภา แต่ก็ยังคงเป็นที่นิยมในทุกภูมิภาคแม้แต่ในภาคใต้ก็ถือได้ว่าได้รับผลตอบรับที่ไม่แย่นัก ส่วนพรรคก้าวไกลกระแสความนิยมเพิ่มขึ้นในทุกภูมิภาคก็ต้องมาติดตามกันต่อว่าจะเปลี่ยนกระแสเป็นคะแนนในวันเลือกตั้งจริงได้เท่าใด ส่วนพรรคอื่น ๆ กระแสความนิยมไม่ต่างจากเดิมมากนัก
(29 เม.ย. 66) ที่พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) นางดรุณวรรณ ชาญพิพัฒนชัย พร้อมด้วยนายจิตกร บุษบา ทีมโฆษกศูนย์อำนวยการเลือกตั้ง พรรคประชาธิปัตย์ ร่วมกันแถลงข่าวว่า ขณะนี้ในภาพรวมยังพบการทำลายป้ายหาเสียงของพรรคในเขตกรุงเทพฯ บางพื้นที่โดนเก็บและนำป้ายของผู้สมัครของพรรคอื่นมาติดตั้งแทน โดยเฉพาะพื้นที่ของผู้สมัครหน้าใหม่ ถือเป็นบรรยากาศการหาเสียงที่ไม่สร้างสรรค์ และที่สำคัญเป็นการทำผิดกฎหมายอาญา
นางดรุณวรรณ กล่าวว่า การจงใจทำลายป้ายถือเป็นการทำผิดกฎหมายอาญา มาตรา 358 ฐานทำให้เสียทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ไม่ว่าจะเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง หรือประชาชนทั่วไปก็มีโทษในอัตราเดียวกัน เนื่องจากป้ายหาเสียงในการเลือกตั้งถือเป็นทรัพย์สินของผู้สมัคร การปลดป้ายหาเสียงไปทิ้งทำลายจึงเป็นการทำให้เสียทรัพย์ พรรคประชาธิปัตย์จึงยืนยันเอาผิดและดำเนินคดีกับผู้เกี่ยวข้องเพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่าง และต้องการเห็นการหาเสียงเป็นไปอย่างสร้างสรรค์ แข่งขันกันด้วยนโยบาย และตัวผู้สมัคร ซึ่งท้ายที่สุดประชาชนจะเป็นผู้ตัดสิน
โดยนายธีรวิทย์ ภูมิดิษฐ์ ผู้สมัคร ส.ส.เขตบางเขน จตุจักร หลักสี่ เบอร์ 5 กล่าวว่า ป้ายหาเสียงของตนที่ถูกเก็บ ถูกทำลาย ส่วนใหญ่ติดตั้งอยู่บริเวณซอยรัชดา 36 แยก 11 มีการนำปากกามาขีดเขียนเพื่อทำลายป้ายและระบุว่า จะเลือกพรรคการเมืองอื่น ล่าสุดยังพบว่า มีการตัดป้ายหาเสียงบางส่วนของตนเพื่อนำไปติดบังโคลนรถมอเตอร์ไซค์ ตนจึงได้แจ้งความดำเนินคดีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ซึ่งกรณีนี้พบตัวผู้กระทำผิดจึงได้พูดคุย ยอมถอนแจ้งความเนื่องจากผู้กระทำผิดได้ขอโทษ และระบุว่ารู้เท่าไม่ถึงการณ์ บางกรณียังอยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อมูลเพื่อหาตัวผู้กระทำผิด ซึ่งตนได้ยื่นหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งภาพถ่ายและภาพจากกล้องวงจรปิด มั่นใจว่าจะสามารถเอาผิดกับผู้กระทำได้อย่างแน่นอน
“เมื่อเราเข้ามาทำงานการเมือง ก็ควรทำให้ใสสะอาด ไม่ควรมีการทำลายป้ายหาเสียงของพรรคคู่แข่ง ซึ่งการลงสมัครรับเลือกตั้งนั้นก็เหมือนการแข่งขันอย่างหนึ่ง ผมเองก็เป็นนักกีฬาที่ร่วมแข่งขันในรายการระดับโลกมาแล้ว จึงยึดถือเรื่องความมีน้ำใจนักกีฬา และทุกคนต้องเคารพกติกาการแข่งขัน” นายธีรวิทย์ กล่าว
ขณะที่ นพ.พลวิทย์ เจริญพงศ์ ผู้สมัคร ส.ส. เขตทวีวัฒนา ตลิ่งชัน เบอร์ 3 กล่าวว่า ป้ายหาเสียงของตน พบว่ามีการทำลายด้วยการนำแผ่นพับของผู้สมัครพรรคการเมืองอื่นมาติดที่ป้ายหาเสียงของตนหลายป้าย รวมทั้งขีดเขียน ทำลาย ให้เกิดความเสียหายในหลายพื้นที่เช่นกัน และหลังจากแถลงข่าวเสร็จตนจะได้นำหลักฐานที่ปรากฎไปแจ้งความเพื่อดำเนินคดีต่อไป
“ผมในฐานะผู้สมัครหน้าใหม่ มาลงสมัครครั้งนี้ต้องการแข่งขันตามกฎกติกา แต่การกระทำเช่นนี้ เป็นการกระทำที่ไม่น่ารัก และไม่ให้เกียรติ การที่ผมทำตามกฎ ซึ่งมีการกำหนดจำนวนป้ายไว้ แต่การที่ป้ายของผมมาถูกทำลายแบบนี้ ก็ยิ่งทำให้จำนวนป้ายหาเสียงของผมลดน้อยลง เรื่องนี้ไม่ควรเกิดขึ้นกับใครไม่ว่าจะเกิดกับผมหรือผู้สมัครท่านอื่นๆ” นพ.พลวิทย์ กล่าว